พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช

กระทู้: พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช

    พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งชมพูทวีปครองราชย์ ณ ราชธานี คือ พระนครปาฏลีบุตร ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพินทุสารกับพระนางธรรมา แห่งราชวงศ์โมริยะ (สันสกฤตเรียกเมารยะ) ประสูติใน พ.ศ. ๑๘๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา ทรงเป็นอุปราชของพระเจ้าพินทุสาร เสด็จไปครองแคว้นอวันตี ณ นครอุชเชนีทรงเสกสมรสกับพระนางเวทิสามหาเทวี ทรงมีพระโอรสองค์แรกเมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา คือ เจ้าชายมหินทะ และมีพระราชธิดาองค์แรก คือ พระนางสังฆมิตตา เมื่อพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา
    พ.ศ. ๒๑๔ พระเจ้าพินทุสารเสด็จสวรรคต เจ้าชายอโศกมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา ได้เสด็จกลับพระนครปาฏลีบุตร ทำสงครามชิงราชสมบัติได้สำเร็จเสด็จเสวยราชสมบัติ และราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ พร้อมกับทรงสถาปนาพระนางอสันธิมิตตาเป็นพระอัครมเหสี
    เดิมพระเจ้าอโศกถวายทานแก่พวกอาชีวกตามอย่างพระราชบิดา ต่อมาไม่ทรงพอพระทัยปฏิปทาของพวกนักบวชเหล่านั้น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๒๔ ทรงได้พบสามเณรชื่อนิโครธ กล่าวกันว่าเป็นพระราชภาคิไนยแท้ ๆ ของพระองค์เอง (คือ เป็นโอรสของเจ้าชายสุมนะ องค์รัชทายาท พระเชษฐาที่พระเจ้าอโศกทรงปลิดพระชนมชีพเพื่อแย่งราชสมบัติ)
    ทรงอาราธนาสามเณรนิโครธให้เข้ามาในพระราชฐาน สามเณรนิโครธได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าอโศก หลังได้ฟังธรรมแล้ว ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ ทรงพระราชทานทรัพย์จำนวนมากเพื่อทำทานทุกวันและเมื่อทรงทราบจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระว่าเคยมีพระสถูปในพระพุทธศาสนาถึง ๘๔,๐๐๐ แห่ง จึงทรงโปรดให้สร้างวัดเท่ากับจำนวนนั้น โดยโปรดให้สร้างวัดอโศการามที่เมืองปาฏลีบุตรด้วย
    เมื่อพระราชกุมาร คือ เจ้าชายมหินท์ และเจ้าหญิงสังฆมิตตา ทรงมีอายุ ๒๐ และ ๑๘ ตามลำดับ ทรงโปรดให้ผนวชในพระพุทธศาสนา โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระมหินท์ และพระธรรมปาลเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าหญิงสังฆมิตตา
    พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้รับพระราชูปถัมภ์ให้จัดทำตติยสังคายนาขึ้น เพื่อขจัดอลัชชีและพวกมิจฉาทิฏฐิที่ปลอมแปลงมาบวชในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งกล่าวกันว่า พระภิกษุผู้ทรงคุณธรรมปฏิเสธที่จะร่วมสังฆกรรมกับพวกอลัชชีกับเดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนา
    ตติยาสังคายนาสำเร็จในปีที่ ๑๗ แห่งรัชกาล พระเจ้าอโศกรับสั่งว่า “ บัดนี้คระสงฆ์บริสุทธิ์แล้ว ขอพระคุณเจ้าจงประกอบอุโบสถสังฆกรรมเถิด”
    แต่นั้นจึงทรง ส่งพระสมณทูตไปประกาศศาสนา ๙ สาย คือ
    ๑. พระมัชฌันติกะ ไปกัษมีระและคันธาระ
    ๒. พระโยนธรรมรักขิต (เชื้อสายกรีก) ไปอปรันตกะ
    ๓. พระมัชฌิมะ ไปหิมวันตะประเทศ (แถบภูเขาหิมาลัย)
    ๔. พระมหารักขิตะ ไปแคว้นโยนะ (เข้าใจว่าจะเป็นราชอาณาจักรแบกเตรียทางทิศพายัพ)
    ๕. พระมหาธรรมรักขิตะไปแคว้นมหาราษฏร์
    ๖. พระรักขิตะไปแคว้นวนวาสี (กรรณาฏเหนือ)
    ๗. พระมหานามะ ไปมหิสมณมณฑล (ไมซอร์)
    ๘. พระโสณะและพระอุตตระไปสุวรรณภูมิ
    ๙. พระมหินท์ พร้อมด้วยศิษย์พระโมคคัลลีบุตรติสสะอีก ๔ รูป คือ พระอิฏฐิยะ พระอุตติยะ พระสมพละ และพระภัทรสาละ ไปประกาศศาสนาในลังกาต่อมาได้ทรงโปรดให้พระสังฆมิตตาเถรีนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยาไปปลูก ณ เมืองอนุราธปุระ ที่ประเทศลักา พร้อมทั้งให้อุปสมบทแก่เหล่ากุลสตรีในลังกาที่ประสงค์จะเป็นภิกษุณี
    พระเจ้าอโศก ทรงโปรดให้สร้างจารึกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑ ปีที่ ๑๒ ในรัชกาล ทรงสร้างวัดครบ ๘๔,๐๐๐ แห่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๕
    พ.ศ. ๒๔๗ พระอัครมเหสี คือพระนางอสันธิมิตตาสวรรคต พ.ศ. ๒๕๐ ทรงสถาปนาพระนางติษยรักษิตาเป็นพระอัครมเหสี ในปี พ.ศ. ๒๕๒ พระนางติษยรักษิตา ไม่พอพระทัยที่พระเจ้าอโศกทรงให้ความสนพระทัย เอาพระทัยใส่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา) จึงได้พยายามทำลายล้างต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระเจ้าอโศก ทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก ทรงใช้ความพยายามสุดกำลังความสามารถชุบชีวิต ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้สำเร็จ
    พระเจ้าอโศกมหาราชเสวยราชย์รวมทั้งสิ้น ๓๗ ปี (พ.ศ. ๒๑๘ - พ.ศ. ๒๖๐) ในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “ พระเจ้าธรรมาโศกราช” และคัมภีร์ทีปวงศ์ เรียกพระองค์ว่า “ปิยทัสสี” เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕ เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าอโศกแล้ว ราชวงศ์โมริยะ ก็ค่อยเสื่อมสูญหายไปในที่สุด


    จารึกศิลา ๒๘ หลัก

    จารึกถ้ำแห่งเขาบาราบาร์
    ก. ถ้ำไทรนี้ อันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี พระราชทานแล้วแก่เหล่าอาชีวิกะทั้งหลาย เมื่อทรงอภิเษกแล้วได้ ๑๒ พรรษา
    ข. ถ้ำแห่งนี้ (ซึ่งอยู่) ในเขาขลติกะ อันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี พระราชทานแล้วแก่เหล่าอาชีวิกะทั้งหลาย เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๑๒ พรรษา
    ค. (บัดนี้) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีทรงอภิเษกแล้วได้ ๑๙ พรรษา “ถ้ำในเขตขลติกะแห่งนี้ซึ่งเป็นที่โปรดปรานยิ่ง อันข้าฯ ประทานแล้ว เพื่อเป็นที่พักพิงแห่งเหล่าบรรพชิตทั้งหลาย ให้พ้นจากอุทกภัยในฤดูฝน”

    จารึกหลักศิลา แห่งพระราชเทวี (อัลลาหะบัด)

    มหาอำมาตย์ทั้งหลายทั่วทุกสถาน พึงได้รับแจ้งตามกระแสพระราชดำรัส แห่งพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพว่า “สิ่งใดใดก็ตาม ที่เป็นของอันพระทุติยราชเทวี พระราชทานแล้ว ณ ที่นี้ จะเป็นป่ามะม่วงก็ดี เป็นสวนก็ดี เป็นโรงทานก็ดี หรือ แม้สิ่งอื่น ๆ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันพอจะนับได้ (ว่าเป็นของที่พระนางพระราชทาน) สิ่งนั้น ๆ ย่อมเป็นสมบัติของพระนางนั้นเอง” โดยอาการอย่างนี้ให้พึงถือว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นของ อันพระทุติยราชเทวี พระนามว่า การุวากีผู้เป็นชนนีของตีวระ พระราชทานแล้ว.

    ศิลาจารึกแห่งไพรัต

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีแห่งมคธได้ทรงอภิวาทพระภิกษุสงฆ์แล้วตรัสปราศรัยกับพระภิกษุสงฆ์จำนงความไร้อาพาธ และความอยู่สำราญ
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายย่อมทราบว่าโจมมีความเคารพและเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์มากเพียงใด
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ สิ่งใดก็ตามที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวงล้วนเป็นสุภาษิตทั้งสิ้น
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ก็ข้อที่โยมควรจะชี้แจงนั้นคือข้อที่ว่า “ พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ตลอดกาลนาน ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ” โยมสมควรจะกล่าวความข้อนั้น
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ มีธรรมบรรยายอยู่ดังต่อไปนี้คือ:-
    ๑. วินยสมุกฺกํส - หลักธรรมดีเด่นในพระวินัย
    ๒. อริยวาส – ความเป็นอยู่อย่างพระอริยะ
    ๓. อนาคตภย – ภัยอันจะมีในอนาคต
    ๔. มุนิคาถา – คาถาของพระจอมมุนี
    ๕. โมเนยฺยสุตฺต – พระสูตรว่าด้วยโมเนยฺยปฏิปทา
    ๖. อุปติสฺสปญฺหา – ปัญหาของอุปติสส และ
    ๗. ข้อความที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้ในราหุโลวาท อันว่าด้วยเรื่องมุสาวาท

    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ โยมมีความปรารถนาในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมบรรยายเหล่านี้ว่า ขอพระภิกษุผู้เป็นที่เคารพ และพระภิกษุณีทั้งหลายเป็นอันมากพึงสดับ และพิจารณาใคร่ครวญในธรรมบรรยายเหล่านี้อยู่โดยสม่ำเสมอเป็นประจำ แม้อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายก็ (พึงสดับและนำมาพิจารณาใคร่ครวญอยู่เสมอ ๆ) เช่นกัน
    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้แล โยมจึงให้เขียนจารึกนี้ขึ้นไว้ เพื่อประชาชนทั้งหลายจักได้รู้เข้าใจถึงความมุ่งหมายในใจของโยม.


    ศิลาจารึก ฉบับน้อย

    จารึกฉบับเหนือ

    พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้ :-
    นับเป็นเวลานานกว่าสองปีครึ่งแล้วที่ข้า ฯ ได้เป็นอุบาสก แต่กระนั้นข้าฯ ก็มิได้กระทำความพากเพียรจริงจังเลย และนับเป็นเวลาได้อีก ๑ ปีเศษแล้ว ที่ข้าฯ ได้เข้าสู่สงฆ์ และได้กระทำความพากเพียรอย่างจริงจัง
    แต่ก่อนมาจนถึงบัดนี้ ทวยเทพทั้งหลายในชมพูทวีปยังไม่มีความสนิทสนมกลมกลืนกับมนุษย์ทั้งหลาย แต่บัดนี้ทวยเทพเหล่านี้ (อันข้าฯ) ได้กระทำให้มาสนิทสนมกลมกลืนกับมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ข้อนี้ย่อมเป็นผลแห่งความพากเพียร และผลนี้ อันบุคคลผู้เป็นใหญ่เท่านั้นจะพึงบรรลุถึง ก็หามิได้ แม้แต่บุคคลเล็กน้อยต่ำต้อยเมื่อพากเพียรอยู่ก็สามารถประสบสวรรค์อันไพบูลย์ได้เพื่อประโยชน์อันนี้ ข้าฯ จึงได้ทำประกาศนี้ขึ้นไว้ ขอชนทั้งหลาย ทั้งคนต่ำต้อยเล็กน้อย และคนผู้เป็นใหญ่จงพากันกระทำความพากเพียรเถิด แม้ชนชาวเขตแดนข้างเคียงทั้งหลายก็จงพากันทราบความข้อนี้ และขอความพากเพียรนี้จงดำรงอยู่ชั่วกาลนาน เพราะว่าประโยชน์ที่มุ่งหมาย จักเพิ่มพูนขึ้นอีกมากมายและจักเจริญไพบูลย์ขึ้นอย่างน้อยที่สุดถึงหนึ่งเท่าครึ่ง
    อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงจารึกความข้อนี้ขึ้นไว้ตามภูผาโขดหินทั้งหลายในเมื่อมีโอกาส และ ณ ที่นี้ (ภายในแว่นแคว้นของข้าฯ) มีหลักศิลาอยู่ ณ สถานที่ใดก็ตาม พึงให้เขียนจารึกไว้ที่หลักศิลานั้น พึงกระจายข้อความนี้ ให้แพร่หลายออกไปทั่วทุกหนทุกแห่งที่อำนาจปกครองของท่านทั้งหลายแผ่ไปถึงโดยให้เป็นไปตามข้อแนะนำอันนี้
    ประกาศนี้ข้าฯ ได้กระทำแล้ว เมื่อเดินทางอยู่นอกพระนครหลวงการเดินทางนี้ข้าฯ ได้ดำเนินมาแล้ว ๒๕๖ ราตรี.
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช

    ศิลาจารึก ฉบับน้อย
    จารึกฉบับใต้ ตอนที่ ๑

    พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้:-
    นับเป็นเวลานานเกินกว่าสองปีครึ่งแล้ว ที่ข้าฯ ได้เป็นอุบาสก แต่ตลอดเวลา ๑ ปี ข้าฯ มิได้กระทำความพากเพียรใด ๆ อย่างจริงจังเลย และนับเป็นเวลา ๑ ปีเศษแล้วที่ข้าฯ ได้เข้าหาสงฆ์ ข้าฯจึงได้ลงมือทำความพากเพียรอย่างจริงจัง (นับแต่นั้นมา)
    ตลอดระยะเวลา (ที่ผ่านมา) นี้ มนุษย์ทั้งหลายยังมิได้คลุกคลีสนิทสนมกันกับเทวดาทั้งหลายเลย แต่มาบัดนี้มนุษย์ทั้งหลายได้คลุกคลีสนิทสนม (กับทวยเทพทั้งหลาย) แล้ว ก็ข้อนี้ย่อมเป็นผลแห่งความพากเพียร (ในการทำความดี) (สวรรค์นั้น) มิใช่ว่ามหาบุรุษเท่านั้นจึงจะบรรลุถึงได้ แม้คนเล็กน้อยต่ำต้อยเมื่อพากเพียรอยู่ก็สามารถประสบสวรรค์อันไพบูลย์ได้เช่นกัน เพื่อประโยชน์นี้นั่นแล ข้าฯ จึงได้ให้ทำคำประกาศนี้ขึ้นไว้ ขอชนทั้งหลาย ทั้งที่ยากจนและมั่งมี จงกระทำความพากเพียรในเรื่องนี้ และชนชาวเขตแดนข้างเคียงทั้งหลายจงทราบความข้อนี้ด้วย ขอให้ความพากเพียรนี้ดำรงอยู่ชั่วกาลนานประโยชน์อันไพบูลย์ก็จักเจริญเพิ่มพูน และจักงอกงามขึ้นอีกอย่างน้อยที่สุดถึงหนึ่งเท่าครึ่ง
    คำประกาศนี้ ข้าฯ ได้กระทำแล้วในระหว่างการเสด็จประพาสนอกพระนครหลวงครั้งที่ ๒๕๖

    ตอนที่ ๒

    พระผู้เป็นเจ้าที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    “ท่านทั้งหลายพึงประพฤติปฏิบัติ ตามที่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพตรัสสอนไว้ เจ้าหน้าที่รัชชูกะทั้งหลายจักต้องได้รับคำสั่ง แล้วเขาจักสั่งต่อไปแก่ชนชาวชนบท และเจ้าหน้าที่ราษฎริกะทั้งหลายว่า พึงตั้งใจฟังมารดาบิดาพึงตั้งใจฟังครูทั้งหลายเช่นเดียวกัน พึงมีความเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายพึงกล่าวคำสัตย์ พึงเผยแผ่คุณธรรมเหล่านี้ให้แพร่หลายโดยทั่ว” ขอท่านทั้งหลายจงสั่งการตามพระดำรัสของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพด้วยประการฉะนี้
    อนึ่ง ท่านทั้งหลายพึงสั่งความอย่างเดียวกันนี้แก่ครูทั้งหลาย ผู้เดินทางด้วยช้างและแก่พราหมณ์ทั้งหลายผู้เดินทางด้วยรถในทำนองเดียวกันนี้ท่านทั้งหลายจงประกาศแก่ศิษย์ในปกครองทั้งหลาย ให้ทราบว่า โบราณประเพณีมีอยู่อย่างไร พึงตั้งใจฟังตามคำสอนว่าดังนี้ ให้มีความเคารพยำเกรงอย่างจริงจังต่อท่านอาจารย์ ของข้าฯ ที่เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมพึงแนะนำญาติทั้งหลายให้ปฏิบัติต่อญาติตามที่เหมาะที่ควร ประชาชนทั้งหลายเหล่านี้พึงได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติต่อศิษย์ในปกครองทั้งหลาย ตามที่เหมาะสมที่ควร ตามเยี่ยงอย่างโบราณประเพณีที่มีมา ขอให้คำประกาศนี้จงเป็นสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งความสำคัญ ขอท่านทั้งหลายจงสั่งความและประกาศแก่ศิษย์ในการปกครองทั้งหลายตามนี้
    พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้มีพระราชโองการดำรัสสั่งไว้ ด้วยประการฉะนี้.


    จารึกหลักศิลา ๗ ฉบับ
    จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๑

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ธรรมโองการนี้ ข้าฯ ได้ให้จารึกขึ้นไว้ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๒๖ พรรษา ประโยชน์ในดลกนี้และโลกหน้า ย่อมเป็นสิ่งที่จะพึงปฏิบัติให้สำเร็จได้โดยยากหากปราศจาก
    - ความเป็นผู้ใคร่ธรรมอย่างยิ่งยวด
    - การใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างยิ่งยวด
    - การตั้งใจฟังคำสั่งสอนอย่างยิ่งยวด
    - ความเกรงกลัว (ต่อบาป) อย่างยิ่งยวด และ
    - ความอุตสาหะอย่างยิ่งยวด
    บัดนี้ ด้วยอาศัยคำสั่งสอนของข้าฯ ความมุ่งหวังในทางธรรมและความฝักใฝ่ใคร่ธรรม ได้เจริญงอกงามขึ้นแล้วทุก ๆ วัน และจักเจริญงอกงามยิ่งขึ้นเรื่อยไป แม้บรรดาข้าราชการทั้งหลายของข้าฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีตำแหน่งสูงมีตำเหน่งปานกลาง ต่างพากันประพฤติตาม และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จโดยเหมาะสม เพื่อเป็นการชักจูงบุคคลที่ยังไม่มั่นคง (ให้มาประพฤติปฏิบัติกุศลกรรม) ตามที่ตนสามารถ (วรรคนี้อาจแปลอีกนัยหนึ่งว่า และข้าราชการเหล่านี้ก็เป็นผู้สามารถที่จะแนะนำชักจูงให้บุคคลอื่น ๆ มายอมรับนับถือคำสั่งสอนของข้าฯ ไปปฏิบัติตามด้วย) อนึ่ง มหาอำมาตย์แห่งเขตชายแดนทั้งหลาย (ได้แก่ เทศาภิบาล หัวเมืองชายแดน) ก็ได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้
    ต่อไปนี้ คือระบบวิธีในการปฏิบัติราชการ กล่าวคือ
    - การปกครองโดยธรรม
    - การวางระเบียบข้อบังคับ (หรือบัญญัติกฎหมาย)ให้เป็นไปโดยธรรม
    - การอำนวยความผาสุกแก่ประชาชนโดยธรรม
    - การช่วยปกป้องคุ้มครองโดยธรรม

    จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๒
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ธรรมเป็นสิ่งดีงาม ก็สิ่งใดเล่าชื่อว่าธรรม ธรรมนั้นได้แก่สิ่งต่อไปนี้คือ ความมีกิเลสน้อย ๑ การมีความดีมาก ๑ ความเมตตากรุณา ๑ การเผื่อแผ่แบ่งปัน ๑ ความสัตย์ ๑ ความสะอาด ๑
    ข้าฯ ได้มอบให้แล้ว ซึ่งดวงตาปัญญา (จักษุทาน) ด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมายหลายวิธี ข้าฯ ได้กระทำการอนุเคราะห์แล้วด้วยประการต่าง ๆ แก่เหล่าสัตว์ทวิบาล สัตว์จตุบาท ปักษิณชาติ และสัตว์น้ำทั้งหลาย ตลอดถึงการให้ชีวิตทาน แม้กรรมอันดีงามอื่น ๆ อีกหลายประการ ข้าฯ ก็ได้ประกอบแล้ว
    เพื่อประโยชน์นี้ ข้าฯ จึงได้จารึกธรรมโองการนี้ขึ้นไว้ ขอชนทั้งหลายจงได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนี้และขอจารึกธรรมนี้จงดำรงอยู่ตลอดกาลนานอนึ่งบุคคลใดตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนี้ บุคคลนั้นจักได้ชื่อว่า กระทำกรรมอันดีงามแล.

    จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๓
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นทีรักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    บุคคลย่อมมองเห็นเฉพาะแต่กรรมดีของตนอย่างเดียวว่า “ กรรมดีอันนี้เราได้กระทำแล้ว” แต่เขาไม่แลเห็นกรรมชั่วของตนเองว่า “กรรมชั่วนี้เราได้กระทำแล้ว” หรือเห็นว่า “กรรมอันนี้ได้ชื่อว่าเป็นกรรมชั่ว” ก็การที่จะพิจารณาเห็นในเรื่องนี้ว่า “สิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ย่อมชักนำไปสู่การกระทำบาป กล่าวคือ ความดุดัน ๑ ความโหดร้าย ๑ ความโกรธ ๑ ความถือตัว ๑ ความริษยา ๑ ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้ถูกติเตียน (หรือถึงความพินาศ) เพราะความชั่วเหล่านี้เป็นเหตุเลย” บุคคลจะต้องพิจารณาโดยรอบคอบว่า “สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เรา ในโลกบัดนี้ สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่เรา ในโลกเบื้องหน้า”

    จารึกหลักศิลาหลัก ฉบับที่ ๔
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ธรรมโองการนี้ ข้าฯ ได้ให้จารึกขึ้นไว้ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๒๖ พรรษา ข้าฯ ได้แต่งตั้ง (เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในตำแหน่ง) รัชชูกะขึ้นไว้ ให้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในหมู่ประชาชนจำนวนหลายแสนคน ข้าฯ ได้มอบอำนาจสิทธิ์ขาดในการพิจารณาตั้งข้อกล่าวหา หรือในการลงโทษ (ผู้กระทำความผิด) ให้แก่เจ้าหน้าที่รัชชูกะ เหล่านั้น ข้อนี้เพราะเหตุว่าเจ้าหน้าที่รัชชูกะทั้งหลายเมื่อมีความมั่นใจ และปราศจากความหวาดกลัว ก็จะพึงบริหารหน้าที่การงานให้เป็นไป พึงปฏิบัติกิจเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขของประชาชนในชนบท และกระทำการอนุเคราะห์แก่ประชาชนเหล่านั้น ข้าราชการเหล่านี้จักหยั่งทราบถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดความสุขและความทุกข์แก่ประชาชนด้วยเมื่อตนเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมแล้ว ก็จักช่วยชี้แจงสั่งสอนแก่ประชาชนชาวชนบทด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเหล่านั้นสามารถประสบประโยชน์สุขทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า
    เจ้าหน้าที่รัชชูกะทั้งหลาย ย่อมขวนขวายที่จะปฏิบัติหน้าที่สนองตามคำสั่งของข้าฯ ถึงแม้ข้าราชการทั้งหลาย (โดยทั่วไป) ของข้าฯ ก็จักปฏิบัติหน้าที่สนองตามความประสงค์ของข้าฯ เช่นกัน และข้าราชการเหล่านั้นจะช่วยชี้แจงแก่ประชาชนได้บ้างบางส่วน อันจะเป็นเหตุช่วยให้เจ้าหน้าที่รัชชูกะสามารถปฏิบัติการให้สำเร็จตามความประสงค์ของข้าฯ ได้
    เปรียบเหมือนว่าบุคคล เมื่อได้มอบหมายบุตรของตนให้แก่พี่เลี้ยงผู้สามารถช่วยดูแลแล้ว ย่อมมีความรู้สึกมั่นใจว่า “พี่เลี้ยงผู้ชำนาญจักสามารถคุ้มครองดูแลบุตรของเราได้ด้วยดี” ฉันใด เจ้าหน้าที่รัชชูกะของข้าฯ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมได้รับการแต่งตั้งไว้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแห่งประชาชนชาวชนบท ด้วยมุ่งหมายว่า เจ้าหน้าที่เหล่านั้น เมื่อเป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัว มีความมั่นใจ และไม่อึดอัดใจ ก็จะพึงบริหารหน้าที่การงานให้เป็นไปได้ด้วยเหตุผลเช่นนี้ ข้าฯ จึงมอบอำนาจสิทธิ์ขาดในการจับกุมหรือในการลงโทษให้แก่เจ้าหน้าที่รัชชูกะทั้งหลาย
    อนึ่ง สิ่งต่อไปนี้เป็นข้อที่ปรารถนา คือ ควรจะมีความสม่ำเสมอเป็นแบบแผนเดียวกัน ในการพิจารณาไตร่สวนอรรถคดีในศาล และความสม่ำเสมอเป็นแบบเดียวกันในการตัดสินลงโทษ
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช

    อีกประการหนึ่ง ในเรื่องนี้ ข้าฯ ยังได้มีโองการไว้ต่อไปอีกว่า สำหรับคนที่ถูกจองจำคุมขังอยู่ และเมื่อได้รับการพิจารณาโทษแล้วถูกตัดสินประหารชีวิต ข้าฯ อนุญาตสิทธิพิเศษให้เป็นเวลา ๓ วัน ระหว่างระยะเวลานี้ บรรดาญาติของผู้ต้องโทษจักได้ร้องให้ (เจ้าหน้าที่รัชชูกะ) บางท่านพิจารณาไต่สวน(เป็นการทวนย้อนหลัง) เพื่อช่วยชีวิตนักโทษเหล่านั้น (คือ ทำการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษประหาร) ถ้าแม้ไม่มีผู้มายื่นคำขอให้พิจารณาสอบสวนคดีใหม่อีก นักโทษเหล่านั้นก็จะ (ได้รับโอกาสให้) ทำการบริจาคทาน หรือรักษาอุโบสถอันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในโลกหน้า ทั้งนี้เพราะข้าฯ มีความปรารถนาอยู่อย่างนี้ว่า แม้ในยามที่ถูกจองจำคุมขังอยู่ นักโทษเหล่านั้นก็จะได้สามารถบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สุขในโลกเบื้องหน้าด้วย และในหมู่ประชาชนก็จะมีการประพฤติปฏิบัติคุณธรรมต่าง ๆ ความสำรวมใจ และการจำแนกแจกทานเพิ่มพูนขึ้นด้วย

    จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๕


    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ข้าฯ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๒๖ พรรษา ได้ออกประกาศให้สัตว์ทั้งหลายต่อไปนี้ เป็นสัตว์ปลอดภัยจากการถูกฆ่า กล่าวคือ นกแก้ว นกสาลิกา นกจากพราก หงส์ นกน้ำ นันทิมุข1 นกน้ำคราฏะ ค้างคาว มดแดงมะม่วง เต่าเล็ก ปลาไม่มีกระดูก ตัวเวทาเวยกะ ตัวคังคาปุฏกะ ปลากระเบน เต่า และกบ3กระต่ายที่อยู่ตามค่าคบไม้4 กวางเร็ว วัวตอน สัตว์ที่อาศัยหากินในเรือน แรดนกพิราบขาว5 นกพิราบบ้าน และบรรดาสัตว์สี่เท้าทั้งปวงที่มิใช่สัตว์ใช้งานและมิใช่สัตว์สำหรับบริโภค
    แม่แพะ แม่แกะ และแม่หมู ที่กำลังมีท้องก็ดี กำลังให้นมอยู่ก็ดีย่อมเป็นสัตว์ที่ไม่พึงฆ่า และแม้ลูกอ่อนของสัตว์เหล่านั้นที่อายุยังไม่ถึง ๖ เดือน ก็ไม่พึงถูกฆ่าเช่นกัน ไม่พึงกระทำการตอนไก่ ไม่พึงเผาแกลบที่มีสัตว์มีชีวิตอาศัยอยู่ ไม่พึงเผาป่าเพื่อการอันหาประโยชน์มิได้ หรือเพื่อการทำลายสัตว์ ไม่พึงเลี้ยงชีวิตด้วยชีวิต
    ไม่พึงฆ่าและขายปลา เนื่องในวันเพ็ญที่ครบจาตุรมาส6 ทั้ง ๓ และในวันเพ็ญแห่งเดือนติษยะ 7 คราวละ ๓ วัน คือในวันจาตุททสี วันปัณณรสี และวันปาฏิบท (ในที่นี้หมายถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และแรม ๑ ค่ำ ) และในทุกวันอุโบสถ เป็นการเสมอไป อนึ่ง ในวันดังกล่าวมานี้ ไม่พึงฆ่าแม้เหล่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในป่าช้างและในเขตสงวนปลาของชาวประมง
    ในดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ (ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ) ก็ดี ในดิถีที่ ๑๔ และ ๑๕ ก็ดี ในวันติษยะ และวันปุนัพสุ8 ก็ดี ในวันเพ็ญครบจาตุรมาสทั้งสามก็ดี และในวันมงคลทั้งปวงไม่พึงทำการตอนวัว แม้ถึงแกะ แพะ หมู และเหล่าสัตว์อื่น ๆ ที่เคยตอนกันอยู่ ก็ไม่พึงทำการตอน (ในวันเช่นนั้น) ไม่พึงทำการประทับตราม้าและโค ในวันติษยะและวันปุนัพสุ ในวันเพ็ญครบจาตุรมาส และตลอดทุกวันในปักษ์แห่งวันเพ็ญครบจาตุรมาสนั้น
    ตราบถึงบัดนี้ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๒๖ พรรษา ข้าฯ ได้สั่งให้มีการพระราชทานอภัยโทษแล้วรวม ๒๕ ครั้ง.

    จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๖
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ข้าฯ เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๑๒ พรรษา จึงได้เริ่มจารึกธรรมโองการขึ้นไว้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ประชาชนทั้งหลาย ประชาชนเหล่านั้น เมื่อไม่ฝ่าฝืนธรรมโองการนั้นก็จะพึงประสบความเจริญงอกงามแห่งคุณธรรม
    ข้าฯ ย่อมพิจารณาสอดส่องอยู่ว่า ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของประชาชนทั้งหลาย จะมีได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ๆ ข้าฯ ปฏิบัติเช่นนี้ต่อหมู่ญาติทั้งหลาย ฉันใด ข้าฯ ก็ปฏิบัติต่อหน้าหมู่ชนผู้ใกล้ชิด และหมู่ชนที่ห่างไกลฉันนั้น เมื่อเห็นว่าข้าฯ จะนำความสุขมาให้แก่ชนเหล่าไหนได้อย่างไร ข้าฯ ก็จะจัดดำเนินให้เป็นไปอย่างนั้น ข้าฯ สอดส่องดูแลกลุ่มชนทุกพวกทุกหมู่สม่ำเสมอเช่นเดียวกันหมดดังนี้ แม้ถึงลัทธิศาสนาทั้งหลาย ทั้งปวง ข้าฯ ก็ได้กระทำการเคารพนับถือทั่วกันหมด ด้วยวิธีการเคารพบูชาต่าง ๆ แบบต่าง ๆ ชนิด แต่ข้อที่ข้าฯ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การได้เข้าไปพบปะถึงกัน
    ธรรมโองการนี้ ข้าฯ ได้ให้จารึกขึ้นไว้เมื่ออภิเษกแล้วได้ ๒๖ พรรษา.

    จารึกหลักศิลา ฉบับที่ ๗ (พบที่หลัก Delhi –Topra แห่งเดียว)
    ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    ตลอดกาลยาวนานล่วงมาแล้ว ได้มีพระราชาหลายองค์ทรงปรารถนาว่า “ ทำไฉนประชาชนทั้งหลายจะพึงเจริญก้าวหน้าด้วยความเจริญทางธรรม” แต่ประชาชน ก็หาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นด้วยความเจริญทางธรรมตามสมควรไม่
    ๒. ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ข้าฯ ได้เกิดมีความคิดขึ้นว่า ตลอดกาลยาวนานล่วงมาแล้ว ได้มีพระราชาหลายพระองค์ทรงปรารถนาว่า “ทำไฉนประชาชนทั้งหลายพึงเจริญก้าวหน้าด้วยความเจริญทางธรรม” แต่ประชาชนก็หาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นด้วยความเจริญทางธรรมตามสมควรไม่ ก็แลด้วยอุบายวิธีอันใดหนอ ประชาชนทั้งหลายจะพึงประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยอุบาย วิธีอันใดหนอ ประชาชนทั้งหลายจะพึงเจริญก้าวหน้า ด้วยความเจริญทางธรรมตามสมควรด้วยอุบายวิธีอันใดหนอ ข้อฯ จะพึงยกระดับประชาชนขึ้นด้วยความเจริญทางธรรมได้บ้าง
    ๓. ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ดังนี้
    ข้าฯ ได้เกิดมีความคิดขึ้นว่า “ข้าฯ จักจัดให้มีการประกาศธรรม ข้าฯ จักจัดให้มีการอบรมสั่งสอนธรรมประชาชนทั้งหลาย ครั้นได้สดับธรรมนี้แล้วก็จักพากันประพฤติปฏิบัติตาม จักยกระดับตนเองสูงขึ้น และจักมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น ด้วยความเจริญทางธรรมอย่างมั่นคง
    เพื่อประโยชน์นี้ ข้าฯ จึงจัดให้มีการประกาศธรรม และสั่งให้มีการอบรมสั่งสอนธรรมขึ้นเป็นหลายแบบหลายอย่าง เพื่อให้ข้าราชการทั้งหลายที่ข้าฯ ได้แต่งตั้งไว้ดูแลประชาชนจำนวนมาก จักได้ช่วยกันแนะนำสั่งสอนบ้างช่วยอธิบายขยายความให้แจ่มแจ้งออกไปบ้าง แม้เจ้าหน้าที่รัชชูกะ ข้าฯ ก็ได้แต่งตั้งไว้ดูชีวิตหลายแสนชีวิต เจ้าหน้าที่รัชชูกะเหล่านั้น ก็ได้รับคำสั่งจากข้าฯ ว่า “ท่านทั้งหลาย จงอบรมสั่งสอนประชาชนให้เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมอย่างนี้ ๆ”
    ๔. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นทีรักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ว่า
    เมื่อได้พิจารณาใคร่ครวญในเรื่องนี้ โดยถ่องแท้แล้วนั่นแล ข้าฯ จึงให้ประดิษฐานหลักศิลาจารึกธรรมขึ้นไว้ แต่งตั้งธรรมมหาอำมาตย์ขึ้นไว้ และจัดให้มีการประกาศธรรม
    ๕. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    แม้ตามถนนหนทาง ข้าฯ ก็ได้ให้ปลูกต้นไทรขึ้นไว้เพื่อจักได้เป็นร่มเงาให้แก่สัตว์และมนุษย์ทั้งหลายให้ปลูกสวนมะม่วงให้ขุดข่อน้ำไว้ทุกระยะกึ่งโกรสะให้สร้างที่พักคนเดินทางขึ้นไว้1 และให้สร้างอ่างเก็บน้ำจำนวนมากมายขึ้นไว้ในที่ต่าง ๆ เพ่อการใช้สอยแห่งสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย แต่การใช้ประโยชน์เช่นนี้ยังจัดว่าเป็นสิ่งเล็กน้อย พระราชาทั้งหลายในกาลก่อนก็ดี ตัวข้าฯ ก็ดีต่างก็ได้บำรุงประชาชนทั้งหลายให้มีความสุขด้วยวิธีการบำรุงสุขประการต่าง ๆ แต่ที่ข้าฯ ได้กระทำการเช่นนี้ ก็ด้วยความมุ่งหมาย ข้อนี้ คือ เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตามธรรม
    ๖. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    แม้ธรรมมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ข้าฯ ก็ได้มอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ มากหลายประการ อันจะเป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์ทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลาย และธรรมมหาอำมาตย์เหล่านั้นได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหมู่ชนผู้นับถือลัทธิศาสนาทั้งปวง และเพื่อประโยชน์แก่คระสงฆ์ข้าฯ ก็ได้มีคำสั่งว่า ให้มีเจ้าหน้าที่ธรรมมหาอำมาตย์ที่มีหน้าที่ (เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคณะสงฆ์) แม้สำหรับพวกพราหมณ์และอาชีวิกะทั้งหลายก็เช่นกัน ข้าฯ ก็ได้มีคำสั่งว่า ให้มีเจ้าหน้าที่ธรรมมหาอำมาตย์ ซึ่งจักมีหน้าที่รับผิดชอบ (เกี่ยวกับผลประโยชน์ ของพราหมณ์และอาชีวิกะเหล่านั้น) สำหรับในหมู่นิครนถ์ทั้งหลายก็เช่นกัน ข้าฯ ก็ได้มีคำสั่งไว้ว่า ให้มีเจ้าหน้าที่ธรรมมหาอำมาตย์ซึ่งจักมีหน้าที่รับผิดชอบ (เพื่อผลประโยชน์ของนิครนถ์เหล่านั้น) แม้สำหรับในหมู่ชนผู้นับถือลัทธิศาสนาต่าง ๆ ข้าฯ ก็ได้มีคำสั่งไว้ว่า ให้มีเจ้าหน้าที่ธรรมมหาอำมาตย์เหล่านั้น ซึ่งจักมีหน้าที่รับผิดชอบ (เพื่อผลประโยชน์ของลัทธิศาสนาเหล่านั้นด้วย) เจ้าหน้าที่มหาอำมาตย์ตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบรักษาหน้าที่อันเฉพาะของตน ๆ เท่านั้น ส่วนพวกธรรมมหาอำมาตย์นี้ ข้าฯ มอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งกิจการเหล่านี้ด้วย และมีหน้าที่เกี่ยวกับลัทธิศาสนาทั้งหลายอื่นทั้งหมดด้วย
    ๗. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้ และพวกอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำการจำแนกแจกทาน ทั้งในนามของข้าฯ เอง และในนามแห่งพระราชเทวีทั้งหลายทั่วทุกสำนักฝ่ายในของข้าฯ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้สามารถจัดดำเนินการกิจต่าง ๆ ที่มุ่งหมายจนเป็นที่น่าพอใจได้ ด้วยวิธีการมากมายหลายประการทั้งใน (พระนครหลวง) นี้ และในส่วนต่าง ๆ (ของประเทศ)
    อนึ่ง ในส่วนแห่งโอรสของข้าฯ และเจ้าชายอื่น ๆ ซึ่งประสูติแต่พระราชเทวีทั้งหลาย ข้าฯ ก็ได้สั่งให้กระทำการ (จำแนกแจกทาน) เช่นนี้ โอรสของข้าฯ เหล่านี้ จักเป็นผู้ฝักใฝ่ในการจำแนกแจกทาน อันจะเป็นการช่วยส่งเสริมหลักการในทางธรรม และการประพฤติปฏิบัติตามธรรม
    หลักการในทางธรรม และการประพฤติปฏิบัติตามธรรมเหล่านี้กล่าวคือ ความเมตตากรุณา ๑ การเผื่อแผ่แบ่งปัน ๑ ความสัตย์ ๑ ความสะอาด ๑ ความสุภาพอ่อนโยน ๑ และความเป็นสาธุชน ๑ จะพึงเจริญเพิ่มพูนขึ้นในหมู่ประชาชน
    ๘. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    กรรมดีใด ๆ ก็ตามที่ข้าฯ ได้กระทำแล้ว ประชาชนทั้งหลายก็ได้พากันประพฤติปฏิบัติกรรมดีนั้น ๆ ตามอย่างแล้ว และยังคงดำเนินตามกรรมดีนั้น ๆ อยู่ต่อไป ด้วยการกระทำเช่นนั้น ประชาชนทั้งหลายก็ได้มีความเจริญงอกงามขึ้นแล้ว และยังจักเจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก ด้วยการเชื่อฟังมารดา บิดา การเชื่อฟังครูทั้งหลาย การปฏิบัติชอบต่อท่านผู้เฒ่าชรา การปฏิบัติชอบต่อพราหมณ์ และสมณะ ต่อคนยากจน และคนตกทุกข์ตลอดถึงคนรับใช้ และคนงานทั้งหลาย
    ๙. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดังนี้
    ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ความเจริญงอกงามแห่งธรรมย่อมเกิดมีขึ้นได้ด้วยวิธีการสองประการ คือ ด้วยการบัญญัติกฎข้อบังคบในทา
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25552
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี