เจดีย์ ๔ ประเภท
๑ ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม ฯลฯ เป็นธาตุเจดีย์
๒ บริโภคเจดีย์ บรรจุอัฏฐบริขาร เช่น บาตร จีวร ของพระพุทธเจ้า เสนาสนะที่อยู่อาศัย เช่น กุฎี วิหาร ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ ลำธาร สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อังคารสถูป ตุมพสถูป พระแท่นดงรัง (กาญจนบุรี) รอยพระบาท(สระบุรี)
๓ ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรมคำสอน เช่น ใบลาน แผ่นศิลาจารึก ตู้พระไตรปิฎก หนังสือธรรม
๔ อุทเทสิกเจดีย์ สร้างไว้เป็นที่ระลึก ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ภายใน เช่น พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูป เจดีย์ทราย โลหปราสาท(วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ)
ต่อมาพระมหากัสสปะเห็นว่า พระบรมสารีริกธาตุอาจสูญหายหรือเป็นอันตราย จึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด (ยกเว้นเมืองรามคาม เพราะพญานาคจะอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในมหาเจดีย์ สำนักมหาวิหาร เกาะลังกา) ไปบรรจุไว้ในห้องใต้ดิน ลึก ๘๐ ศอก จารึกข้อความลงในแผ่นทองว่า ในอนาคต พระเจ้าอโศกมหาราช จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุแจกจ่ายไปทั่วชมพูทวีป ยังมีข้อความที่บานประตูจารึกไว้ว่า ในอนาคตจะมีพระยาเข็ญใจองค์หนึ่ง มารื้อห้องพระบรมสารีริกธาตุ จงเอาท่อนแก้วมณีนี้สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุเถิด (พระยาเข็ญใจ หมายถึง พระเจ้าอโศกมหาราช)
สังคายนาครั้งที่ ๑ (ปฐมสังคายนา)
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน พระมหากัสสปะได้ชักชวนพระอรหันตเถระทำสังคายนาครั้งที่ ๑ เพื่อร้อยกรองรวบรวมพระธรรมวินัยไว้เป็นหมวดหมู่ รวม ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก(พระสูตร) พระอภิธรรมปิฎก(พระปรมัตถ์)
ประธาน พระมหากัสสปะ
ปรารภเหตุ พระสุภัททะ วุฑฒบรรพชิต(พระผู้บวชเมื่อแก่)ดูหมิ่นพระธรรมวินัย
วันที่ทำ พระพุทะเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน
สถานที่ทำ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ใกล้ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์
เวลาที่ทำ ทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ
ประชุมสงฆ์ พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป
ผู้ปุจฉา พระมหากัสสปะ
ผู้วิสัชนาพระวินัย พระอุบาลี
ผู้วิสัชนาพระสูตร พระอานนท์
ผู้วิสัชนาพระอภิธรรม พระอานนท์
ผู้อุปถัมภ์ พระเจ้าอชาตศัตรู
สังคายนาครั้งที่ ๒ (ทุติยสังคายนา)
ประธาน พระยสกากัณฑบุตรเถระ
ปรารภเหตุ ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี ขัดแย้งเรื่องวัตถุ ๑๐ ประกา
วันที่ทำ พระพุทธเจ้านิพพานได้ ๑๐๐ ปี
สถานที่ทำ วาลุการาม เมืองเวสาลี
เวลาที่ทำ ๘ เดือนจึงสำเร็จ
ประชุมสงฆ์ ๕๐๐ รูป
ผู้ปุจฉา พระสัพพกามีเถระ
ผู้วิสัชนา พระเรวตะเถระ
ผู้อุปถัมภ์ พระเจ้ากาลาโศกราช เมืองเวสาลี
สังคายนาครั้งที่ ๓ (ตติยสังคายนา)
ประธาน พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ปรารภเหตุ เดียรถีย์ ๖๐,๐๐๐ คนปลอมบวชเพื่อหวังลาภสักการะ
วันที่ทำ พระพุทธเจ้านิพพานได้ ๒๓๔ ปี
เวลาที่ทำ ทำอยู่ ๙ เดือน จึงสำเร็จ
ประชุมสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป
ผู้ปุจฉา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ผู้วิสัชนา พระมัชฌันติกเถระ กับ พระมหาเทวเถระ
ผู้อุปถัมภ์ พระเจ้าอโศกมหาราช(พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช) เมืองปาฏลีบุตร
สังคายนาครั้งที่ ๓ ทำให้ศาสนาแพร่หลาย เพราะพระเจ้าอโศกมหาราชร่วมกับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระศาสนายังแคว้นต่างๆรวม ๙ สาย สายที่มายังดินแดนสุวรรณภูมิ (พม่า ไทย ลาว) มีพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระเป็นหัวหน้า มีหลักฐานยืนยันคือ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
สังคายนาครั้งที่ ๔ (จตุตถสังคายนา)
ประธาน พระมหินทเถระ
ปรารภเหตุ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป (ทำในลังกาทวีป)
วันที่ทำ พระพุทธเจ้านิพพานได้ ๒๓๖ ปี
เวลาที่ทำ ทำอยู่ ๑๐ เดือน จึงสำเร็จ
ประชุมสงฆ์ ๘๐๐ รูป
ผู้อุปถัมภ์ พระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ
สังคายนาครั้งที่ ๕ (ปัญจมสังคายนา)
ประธาน พระพุทธัตถะเถระ
ปรารภเหตุ ในอนาคตจะหาผู้ท่องจำพระพุทธพจน์(มุขปาฐะ)ไม่ได้ จึงต้องจารึก เป็นตัวอักษรลงในใบลาน
วันที่ทำ พระพุทธเจ้านิพานได้ ๔๕๐ ปี
สถานที่ทำ ถ้ำอาโลกเลณะ ลังกาทวีป
ผู้อุปถัมภ์ พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย
การสังคายนาครั้งที่ ๕ ทำให้ศาสนาตั้งมั่น เพราะมีการจารึกคำสอนลงในใบลาน เป็นครั้งแรก (จารึกคำสอนเป็นภาษาบาลี อักษรสิงหล
Bookmarks