คู่มือพุทธประวัติ

กระทู้: คู่มือพุทธประวัติ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒)
    เมื่อสาวกมีมากถึง ๖๐ รูป จึงส่งสาวกไปประกาศศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวโลก ด้วยพระดำรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบท เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนเป็นอันมาก แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมที่งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) เพราะผู้ที่รู้ธรรมมีอยู่ แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรมเช่นกัน”

    ทรงอนุญาตการอุปสมบทแก่สงฆ์
    พระสงฆ์ ๖๐ รูป ที่ส่งไปประกาศศาสนา ไม่สามารถทำการอุปสมบทกุลบุตรที่เลื่อมใสปรารถนาจะบวชได้ ต้องพามาเฝ้าพระศาสดาให้ทรงอุปสมบทให้ ทำให้ได้รับความลำบากในการไป-มา พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์บวชกุลบุตรได้ เรียกการบวชนี้ว่า ติสรณคมนูปสัมปทา โดยให้ผู้ต้องการบวชปลงผม-หนวด-คิ้ว แล้วกล่าวคำปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ผู้บวชด้วยวิธีนี้เป็นคนแรกคือ พระปุณณมันตานีบุตร มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นอุปัชฌาย์ ทำให้การอุปสมบทเกิดขึ้น ๒ วิธี คือ
    เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระศาสดาประทานเอง
    ติสรณคมนูปสัมปทา ทรงอนุญาตแก่สาวก

    พบภัททวัคคีย์
    พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ เพื่อโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง ระหว่างทางทรงประทับใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ที่ไร่ฝ่าย พบภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ คน โอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี กำลังตามหาหญิงคนหนึ่ง ทรงถามว่า “จะแสวงหาตนดีหรือแสวงหาหญิงดี” ทั้งหมดรับว่า ”แสวงหาตนดี” จึงแสดงอนุปุพพิกถาและอริสัจ ๔ โปรดทั้งหมดบรรลุธรรมขั้นสูงสุดไม่เกินขั้นอนาคามี ทรงประทานอุปสมบทให้แล้ว ส่งไปประกาศศาสนายังเมืองปาวา หรือปาฐา ทางตอนใต้ของแคว้นโกศล เป็นรุ่นที่ ๒ (พระภัททวัคคีย์ต่อมาได้ฟังธรรมชื่อ อนมตัคคสูตร ได้สำเร็จพระอรหันต์ทั้งหมด) แล้วเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง คณาจารย์ใหญ่แห่งลุ่มน้ำเนรัญชราต่อไป

    โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
    ชฎิล คือ นักบวชนอกศาสนา เกล้าผมเป็นกระเซิง บูชาไฟ มี ๓ พี่น้อง คือ
    ๑. อุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐ คน ตั้งอาศรมอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา
    ๒. นทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐ คน ตั้งอาศรมอยู่แม่น้ำคงคา
    ๓. คยากัสสปะ มีบริวาร ๒๐๐ คน ตั้งอาศรมอยู่ ตำบลคยาสีสะ
    ทรงโปรดชฎิล ๓ พี่น้องด้วยพระธรรมเทศนา ชื่อ อาทิตตปริยายสูตร ณ ตำบลคยาสีสะ จนบรรลุพระอรหันต์ทั้งหมด(๑,๐๐๓ รูป)

    ใจความย่อของอาทิตตปริยายสูตร
    กล่าวถึงไฟ ๓ กอง คือ ๑.ราคัคคิ ไฟคือราคะ ๒. ไทสัคคิ ไฟคือโทสะ ๓. โมหัคคิ ไฟคือโมหะ ที่เกิดจากการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก ทำให้จิตใจเร่าร้อนเพราะเพลิงกิเลส


    โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
    พระพุทธเจ้าทรงพาพระชฏิล ๑,๐๐๓ รูป เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ โดยมีพระประสงค์ ๒ ประการคือ
    เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงในแคว้นมคธ
    เพื่อเปลื้องปฏิญาณที่ประทานแก่พระเจ้าพิมพิสาร
    ประทับอยู่ที่ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มทางทิศตะวันตกของเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ๑๒ นหุต (๑ นหุต เท่ากับ ๑ หมื่น) เข้าเฝ้า บริวารบางคนแสดงอาการไม่เคารพ เพราะไม่ทราบว่าระหว่างพระพุทธเจ้ากับอุรุเวลกัสสปะ ใครคือศาสดากันแน่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้พระอุรุเวลกัสสปะลุกขึ้นชี้แจงให้ทุกคนทราบ พระอุรุเวลกัสสปะจึงประกาศว่า “พระองค์เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นสาวกผู้ฟังคำสอนของพระองค์” ทุกคนจึงสิ้นสงสัยพากันแสดงความเคารพพระพุทธเจ้า ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริสัจ ๔ โปรดพระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพารบรรลุโสดาปัตติผล ๑๑ นหุต อีก ๑ นหุต ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

    ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร ๕ อย่าง
    ๑. ขอให้อภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินในแคว้นมคธนี้
    ๒. ขอให้พระอรหันต์เสด็จมาสู่แคว้น
    ๓. ขอให้ได้นั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
    ๔. ขอให้พระอรหันต์แสดงธรรม
    ๕. ขอให้รู้ธรรมของพระอรหันต์นั้น
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    ถวายเวฬุวันมหาวิหาร
    พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ๑,๐๐๓ รูป เสด็จไปเสวยภัตตาหารในวัง ทรงถวายสวนไม่ไผ่(มีกระแตชุกชุม) ให้เป็นที่ประทับของพระศาสดาและพระสงฆ์สาวก เรียกว่า เวฬุวันมหาวิหาร แทนลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มซึ่งอยู่ไกลเกินไป เวฬุวันเป็นสถานที่กว้างใหญ่ ไม่ไกลจากชุมชน เงียบสงัดไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน ควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย เวฬุวันมหาวิหารจึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่สงฆ์ได้เสด็จไปประทับ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ดังนั้นเวฬุวันฯ จึงเป็นสถานที่แห่งแรกในแคว้นมคธ ที่ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา
    พระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายทานแก่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกตลอดมา แต่ไม่ได้อุทิศส่วนบุญให้หมู่ญาติที่ตายไปเกิดเป็นเปรต คืนหนึ่งเปรตได้ปรากฏตัวให้เห็น พร้อมกับพูดว่า ทุ ส น โส (หัวใจเปรต) พระศาสดาทรงแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญไปให้ด้วยบทว่า อทาสิ เม อกาสิ เม เป็นต้น พอเปรตได้อนุโมทนาส่วนบุญก็มีความสุขขึ้น นับว่าพระเจ้าพิมพิสารได้ทำ ปุพพเปตพลี คือ การอุทิศส่วนบุญให้หมู่ญาติที่ล่วงลับไป เป็นพระองค์แรก
    เวฬุวันมหาวิหาร เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับนอกพรรษามากกว่าวัดอื่น

    อัครสาวกออกบวช
    มาณพจากตระกูลพราหมณ์ ๒ คน เป็นเพื่อนกัน คนหนึ่งชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของนางสารี และพราหมณ์วังคันตะ อยู่บ้านนาลันทา เมืองราชคฤห์ คนนิยมเรียกตามชื่อมารดาว่า สารีบุตร อีกคนหนึ่งชื่อโกลิตะ เป็นบุตรของนางโมคคัลลี และพราหมณ์โกลิตะ นิยมเรียกกันว่า โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคคัลลี มีบริวารร่วมกัน ๒๕๐ คน วันหนึ่งขณะเที่ยวชมมหรสพเกิดความสลดใจ
    โกลิตะ “วันนี้ดูท่านไม่ร่าเริงเหมือนวันก่อนๆ”
    อุปติสสะ “คนพวกนี้อีกไม่ถึงร้อยปีก็ตายหมด ดูการละเล่นไม่เห็นมีประโยชน์อะไรควรแสวงหาธรรมความหลุดพ้นดีกว่า(โมกขธรรม)” จึงพาบริวารไปสมัครเป็นศิษย์ขอสัญชัยปริพาชก ไม่พอใจในคำสอนของอาจารย์ จึงนัดกันว่า ถ้าใครพบอาจารย์ที่สอนดีกว่านี้ให้บอกกัน วันหนึ่ง อุปติสสะพบพระอัสสชิกำลังเดินบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ถามว่า “สมณะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ท่านบวชในสำนักของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน”
    พระอัสสชิ “พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา”
    อุปติสสะ “ศาสดาของท่านสอนอย่างไร”
    พระอัสสชิ “เราเพิ่งบวชได้ไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมให้ละเอียดลึกซึ้งได้”
    อุปติสสะ “เอาย่อๆพอได้ใจความก็แล้วกัน”
    พระอัสสชิ แสดงอริยสัจ ๔ แบบย่อๆว่า


    เย ธมฺมา เหตุปปฺภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณฯ
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาตรัสอย่างนี้
    อุปติสสะ ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้นำไปบอกโกลิตะๆได้ดวงตาเห็นธรรม ทั้งสองพร้อมด้วยบริวาร ๒๕๐ คน ชวนกันไปลาอาจารย์สัญชัย บอกให้ทราบว่าจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ชวนอาจารย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยแต่ได้รับการปฏิเสธ
    สัญชัย “เราเป็นเจ้าสำนักใหญ่โต จะต้องไปเป็นศิษย์ใครอีก”
    ศิษย์ “ทุกคนพากันไปเฝ้าพระศาสดาหมด อาจารย์จะอยู่ทำไม”
    สัญชัย “ในโลกนี้คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก”
    ศิษย์ “คนโง่มาก คนฉลาดน้อย”
    สัญชัย “คนโง่มาสำนักเรา คนฉลาดจะไปสำนักพระสมณโคดม เราจะอยู่ต้อนรับคนโง่ พวกเจ้าไปกันเถอะ”
    อุปติสสะกับโกลิตะพร้อมด้วยบริวาร พากันไปเฝ้าพระศาสดาที่เวฬุวันมหาวิหาร ฟังธรรมแล้วทูลขออุปสมบท ฝ่ายภิกษุผู้เป็นบริวารบรรลุพระอรหันต์ก่อนเมื่อบวชได้ ๒-๓ วัน ส่วนพระโมคคัลลานะบวชได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรที่บ้าน กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ นั่งโงกง่วงอยู่ พระศาสดาแสดงอุบายแก้ง่วง ๘ ประการ และธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา (ตัณหักขยธรรม) ท่านพิจารณาตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในวันนั้น
    อุบายแก้ง่วง ๘ ประการ
    ๑. เมื่อมีสัญญาใดให้ใส่ใจในสัญญานั้นให้มาก
    ๒. ถ้าไม่หายให้พิจารณาธรรมที่ฟังแล้วหรือเรียนแล้ว
    ๓. ถ้าไม่หายให้สาธยายธรรมอย่างละเอียดพิศดาร
    ๔. ถ้าไม่หายให้ยอนหูทั้งสองข้างแล้วเอามือลูบตัว
    ๕. ถ้าไม่หายให้ยืนขึ้นเอาน้ำลูบตัว เหลียวดูทิศทั้งหลาย
    ๖. ถ้าไม่หายให้ใส่ใจถึงแสงสว่างอย่างกลางวัน
    ๗. ถ้าไม่หายให้เดินไปเดินมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก
    ๘. ถ้าไม่หายให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงขวา มีสติสัมปชัญญะว่าจะลุกขึ้นไว้ในใจ
    -เราจะไม่ชูงวง(ถือตัว)ไปสู่สกุล
    -เราจะไม่พูดคำเป็นเหตุเถียงกันเป็นเหตุให้พูดมาก
    -เราจะหลีกเร้นตามสมณวิสัย(ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
    ฝ่ายพระสารีบุตร เมื่อบวชได้ ๑๕ วัน ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ เวทนาปริคคหสูตร ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ทีฆนขะ อัคคิเวสนโคตร หลานชายของท่าน ที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ ได้สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนทีฆนขะ บรรลุโสดาปัตติผลได้แสดงตนเป็นอุบาสก
    พระศาสดาทรงประทานตำแหน่งอัครสาวกแก่พระเถระทั้งสองคือ พระสารีบุตรผู้เลิศด้วยปัญญา เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะ ผู้เลิศด้วยฤทธิ์ เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย ณ เวฬุวันมหาวิหาร ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เวลาบ่าย ท่ามกลางพระสงฆ์ ที่ประชุมกันอยู่ ณ ที่นั่น ๑,๒๕๐ รูป ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (ธรรมนูญหรือหัวใจของพุทธศาสนา) ๓ ประการ คือ
    สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง (เว้นชั่ว)
    กุสลสฺสูปสมฺปทา การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ประพฤติดี)
    สจิตฺตปริโยทปนํ การชำระใจของตนให้ผ่องใส (ทำใจให้ผ่องใส)
    วันนั้น เรียกว่า วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ
    พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกัน
    มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
    พระสงฆ์เหล่านั้นบวชในสำนักพระศาสดา (เอหิภิกขุอุปสัมปทา)
    วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๓
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    คุณสมบัติของพระอัครสาวก
    พระสารีบุตร
    ๑. รู้จักสังเกต
    ๒. รู้กาลควรไม่ควร
    ๓. มีกิริยามรรยาทดี
    ๔. มีความกตัญญูต่อพระอัสสชิและราธพราหมณ์ (บวชให้ราธพราหมณ์)
    ๕. มีปัญญา สามารถแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อริยสัจ ๔ ได้ละเอียดใกล้เคียงพระพุทธเจ้า
    ๖. มีความสุภาพ ไม่ทะนงตนว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ มีตำแหน่งสูง
    พระโมคคัลลานะ
    ๑. มีฤทธิ์มาก สามารถปราบคนพาลเกเรให้ยอมจำนนได้ เช่น นันโทปนันทนาคราช
    ๒. มีมรรยาทงาม เมื่อเข้าไปสู่สกุลก็ไม่ทำให้สกุลเดือดร้อน เหมือนภมร(แมลงผึ้ง) เคล้าแต่เกษรดอกไม้ ไม่ทำให้ดอกไม้ชอกช้ำ
    ๓. เป็นนวกัมมาทิฏฐายี(นายช่างหรือสถาปนิก) เคยควบคุมการก่อสร้างวัดบุพพารามของนางวิสาขา

    เปรียบเทียบระหว่างพระอัครสาวก-พระพุทธเจ้า
    พระสารีบุตร เปรียบเหมือน มารดาผู้ให้กำเนิด
    พระโมคคัลลานะ เปรียบเหมือน พี่เลี้ยงนางนมที่เลี้ยงทารกให้เจริญเติบโต
    พระสารีบุตร เป็นหัวหน้า ฝ่ายทักษิณ (ฝ่ายขวา)
    พระโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า ฝ่ายอุดร (ฝ่ายซ้าย)
    พระสารีบุตร สอนกุลบุตรให้ตั้งอยู่ในมรรคผลเบื้องต่ำ คือโสดาปัตติผล
    พระโมคคัลลานะ สอนให้กุลบุตรตั้งอยู่ในมรรคผลที่สูงกว่านั้น
    พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือน ธรรมราชา (จอมทัพธรรม)
    พระสารีบุตร เปรียบเหมือน ธรรมเสนาบดี (แม่ทัพธรรม)
    พระสงฆ์อื่นๆ เปรียบเหมือน ธรรมเสนา (ทหารแห่งกองทัพธรรม)
    พระสารีบุตร นิพพานเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ก่อนพระพุทธเจ้า ๖ เดือน ด้วยโรคปัตขันทิกาพาธ(ลงโลหิต) ที่ห้องเกิดของท่าน อัฐิของท่านถูกบรรจุไว้ที่ซุ้มประตูวัดเชตวันมหาวิหาร
    พระโมคคัลลานะ ถูกพวกเดียรถีย์ทำร้ายร่างกาย (ด้วยอำนาจกรรมเก่า) นิพพานที่ตำบลกาฬศิลา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ อัฐิของท่านบรรจุไว้ที่ซุ้มประตูวัดเวฬุวันมหาวิหาร

    พี่น้องร่วมตระกูลของพระสารีบุตร
    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๖ คน เป็นหญิง ๓ คน ชาย ๓ ออกบวชหมดทุกคน คือ
    ๑. นางจาลา ๔. พระจุนทะ
    ๒. นางอุปจาลา ๕. พระอุปเสนะ
    ๓. นางสีสุปจาลา๖. พระเรวตะ

    ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ
    พระมหากัสสปะ เดิมชื่อปิปผลิ เป็นบุตรของกบิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปโคตร บ้านมหาติฏฐะ ในเมืองราชคฤห์ มีฐานะร่ำรวย เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับภัททกาปิลานี อายุ ๑๖ ปี บุตรสาวของโกลิยโคตร ชาวเมืองราชคฤห์มีฐานะร่ำรวยพอๆกัน แต่งงานแล้วไม่มีบุตรด้วยกัน เมื่อบิดามารดาสิ้นชีวิตแล้ว ท่านได้ดูแลทรัพย์สมบัติและกิจการค้าแทนบิดามารดาของท่าน ต่อมาเกิดเบื่อหน่ายที่ต้องรับผิดชอบการงานที่คนอื่นทำไม่ดี จึงพร้อมกันออกบวชอุทิศพระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่งในโลก (การบวชของท่านคล้ายๆการบวชแบบ สันยาสีของพราหมณ์ เมื่อแต่งงานมีบุตร ๑ คนจึงออกบวช) ปิบผลิแยกทางกับภรรยาไปพบพระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นพหุปุตตนิโครธ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทด้วยการให้รับโอวาท ๓ ข้อคือ
    กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงใจในภิกษุผู้เฒ่าและปานกลางอย่างแรงกล้า
    เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วพิจารณาเนื้อความ
    เราจะไม่ละสติไปในกายคือ พิจารณากายเป็นอารมณ์(กายคตาสติ)
    การบวชวิธีนี้สงเคราะห์เข้าใน เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ท่านเคยได้รับเกียรติจากพระพุทธเจ้าด้วยการแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิระหว่างกันและกัน และได้รับยกย่องว่า เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ยินดีในเสนาสนะสงัด มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ ท่านเคร่งครัดในธุดงค์ ๓ ข้อ ๑.เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๒. อยู่ป่าเป็นวัตร ๓. ห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จนได้รับเอตทัคคะ(ยกย่อง) จากพระพุทธเจ้าว่า เลิศทางปฏิบัติธุดงค์ ท่านสำเร็จพระอรหันต์เมื่อบวชได้ ๘ วัน เป็นพระเถระที่มีใจดี รักเด็กจนได้รับยกย่องว่า เป็นขวัญใจเด็กๆ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านกำลังเดินทางจากเมืองปาวาและท่านต้องสลดใจยิ่งขึ้นเมื่อพระหลวงตา ชื่อ สุภัททวุฑฒบรรพชิต ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านพูดดูหมิ่นพระพุทธเจ้าว่า “นิพพานเสียได้ก็ดี” ท่านเป็นประทานในงานถวายพระเพลิงพุทธสรีระและทำปฐมสังคายนา ปกติท่านชอบอยู่ป่า แต่เมื่อพระพุทะเจ้าปรินิพพานแล้ว จึงมาจำพรรษาที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร เพื่อดูแลพระสงฆ์แทนพระพุทธ้า ท่านนิพพานเมื่ออายุได้ ๑๒๐ ปี ระหว่างภูเขา ๓ ลูก (กุกกูฏสัมปาตบรรพต)

    เกียรติคุณของพระมหากัสสปะ
    ๑. เคร่งครัดในธุดงค์
    ๒. ไม่ทำตัวคุ้นเคยกับสกุล
    ๓. มีเมตตากรุณาไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
    ๔. มักน้อยสันโดษ แม้พระศาสดาให้ท่านรับคหบดีจีวร ฉันในที่นิมนต์และให้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ท่านก็ไม่ปรารถนา
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  4. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    พระศาสดาถูกตำหนิ
    ในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีบุคคลที่มีชื่อเสียงออกบวชหลายท่าน เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ ฯลฯ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าถูกชาวมคธติเตียนว่าทำลายสกุล เพราะบวชให้เด็กหนุ่มจนหาผู้สืบสกุลไม่ได้ ต่อมาเสียงคัดต้านก็หายไป เพราะเป็นความปรารถนาของผู้บวชเอง ไม่ใช่พระองค์บังคับให้บวช

    ทรงอนุญาตให้ถวายเสนาสนะ
    เมื่อมีผู้ถวายวัดเป็นครั้งแรก(พระเจ้าพิมพิสาร) ต่อมาราชคหกเศรษฐีได้ถวายวิหาร ๖๐ หลัง ให้เป็นที่อาศัยของหมู่สงฆ์ ภายในเวฬุวันมหาวิหารนั้น พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ถวายเสนาสนะแก่พระสงฆ์ได้ ๕ ประเภท คือ
    ๑. วิหาร กฎีมีหลังคา
    ๒. อัฑฒโยค โรงหรือร้านมีหลังคาซีกเดียว
    ๓. ปราสาท เรือนเป็นชั้นๆ
    ๔. หัมมิยะ เรือนหลังคาดัด
    ๕. คูหา ถ้ำ


    ทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่
    เมื่อพระสงฆ์มีมากขึ้น สมควรให้ร่วมกันรับผิดชอบในสังฆกรรมต่างๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบอำนาจให้พระสงฆ์อุปสมบทกุลบุตรเป็นคณะ ไม่ใช่เป็นบุคคลดังแต่ก่อน เรียกการอุปสมบทนี้ว่า “ญัตติจุตุตถกรรมวาจา” โดยระบุจำนวนสงฆ์ไว้ดังนี้
    ถ้าอุปสมบทในเขตมัธยมประเทศ ต้องประชุมสงฆ์ตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป(ทสวรรค)
    ถ้าอุสมบทในเขตปัจจันตประเทศ ต้องประชุมสงฆ์ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป (ปัญจวรรค)’
    ให้ยกเลิกการอุปสมบทแบบติสรณคมนูปสัมปทา โดยให้นำไปใช้บรรพชาสามเณรแทน ผู้ที่บรรพชาด้วยวิธีนี้เป็นคนแรกได้แก่ ราหุล ส่วนผู้ที่อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาเป็นคนแรกได้แก่ ราธพราหมณ์ โดยมีพระสารีบุตร เป็นพระอุปัชฌาย์

    ประวัติพระราธเถระ
    ราธะ เกิดในสกุลพราหมณ์ ในเมืองราชคฤห์ เมื่อแก่ตัวลงลูกหลานไม่เลี้ยงดูจึงไปอาศัยพระอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ต่อมาพระสารีบุตรได้บวชให้เพราะระลึกถึงในบุญคุณของราธะที่เคยตักบาตรท่านทัพพีหนึ่ง ราธะเมื่อบวชแล้ว เป็นคนว่าง่าย ฟังธรรมเทศนาจากพระศาสดาเรื่องขันธ์ ๕ เป็นมาร จนสำเร็จพระอรหันต์ ได้รับยกย่องว่า เลิศทางปฏิภาณ

    เรื่อง ทิศ ๖
    พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเด็กหนุ่มชื่อ สิงคาลมานพ ชาวเมืองราชคฤห์ กำลังยืนไหว้ทิศทั้ง ๖ อยู่ในเวลาเช้าวันหนึ่ง ตรัสถามว่า
    “เหตุใดเธอจึงไหว้ทิศ”
    มานพ “พ่อสั่งไว้ก่อนตายว่าให้ไหว้ทิศ”
    พระพุทธเจ้า “พระอริยเจ้าไม่สอนให้ไหว้ทิศ”
    มานพ “ท่านสอนไว้อย่างไร โปรดบอกด้วยเถิด”
    พระพุทธเจ้า “ก่อนอื่นผู้ไหว้ทิศต้องเว้นจากกรรมกิเลส ๔ อย่าง อคติ ๔ อย่าง อบายมุข ๖ อย่าง เสียก่อนแล้วจึงไหว้ทิศทั้ง ๖ ดังนี้
    ๑. ทิศบูรพา คือทิศเบื้องหน้า ได้แก่บิดามารดา
    ๒. ทิศทักษิณ คือทิศเบื้องขวา ได้แก่ครูอาจารย์
    ๓. ทิศปัจจิม คือทิศเบื้องหลัง ได้แก่บุตรภรรยา
    ๔. ทิศอุดร คือทิศเบื้องซ้าย ได้แก่มิตรอำมาตย์
    ๕. เหฏฐิมทิศ คือทิศเบื้องล่าง ได้แก่บ่าวไพร่
    ๖. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน ได้แก่สมณพราหมณ์
    มูลเหตุทำเทวตาพลี
    เป็นประเพณีของพราหมณ์ต้องทำพลีกรรมแก่เทวดา พระพุทธเจ้าทรงตรัสแนววิธีทำเทวตาพลีแก่ สุนิธพราหมณ์และวัสสการพราหมณ์ ณ บ้านปาฏลิคาม เมืองปาตลีบุตร แคว้นมคธว่า ให้บริจาคทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ทรงวางไว้เป็นแบบสำหรับการทำเทวตาพลีโดยทั่วไป แต่ไม่สมควรที่อริยสาวกผู้ครองเรือนจะพึงกระทำ
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    เสด็จแคว้นสักกะ
    แคว้นสักกะหรือสักกชนบท ตั้งอยู่ตอนเหนือของชมพูทวีป มีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านมีเขตแดนจรดแคว้นวัชชีและแคว้นมคธ ปกครองโดยสามัคคีธรรม มีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประมุข เมื่อพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้ว ประทับที่เวฬุวันมหาวิหาร พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบการตรัสรู้ ปรารถนาจะเห็นพระโอรส(พระพุทธเจ้า) ทรงสั่งอำมาตย์พร้อมด้วยบริวารไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จแคว้นสักกะ เมืองกบิลพัสดุ์รวม ๙ ครั้ง พวกอำมาตย์ได้พากันบวชหมดทุกครั้ง มิได้นำความไปกราบทูลให้ทรงทราบเลย ต่อมาทรงส่ง กาฬุทายีอำมาตย์ให้ไปทูลเชิญอีกเป็นครั้งที่ ๑๐ กาฬุทายีพร้อมด้วยบริวารพากันบวชหมดเหมือนทุกครั้ง แต่ครั้งนี้กาฬุทายีได้ทูลเชิญพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก เสด็จยังแคว้นสักกะเป็นผลสำเร็จ (กาฬุทายีได้แต่งคำประพันธ์กราบทูลพระพุทธเจ้าถึง ๖๔ คาถา) เมื่อถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ (ฤดูร้อน) พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่สงฆ์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ รูป เสด็จจากเวฬุวันมหาวิหารสู่เมืองกบิลพัสดุ์เป็นระยะ ๖๐ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กม.) โดยเสด็จวันละ ๑ โยชน์ เป็นเวลา ๖๐ วัน จึงถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ประทับที่นิโครธาราม ที่หมู่พระญาติสร้างถวาย ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อลดทิฐิมานะของหมู่พระญาติพระเจ้าสุทโธทนะเห็นอัศจรรย์ จึงกราบพระพุทธเจ้าเป็นครั้งที่ ๓ ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษ (ฝนสีแดง ลื่น ไม่เปียก) ตกลงท่ามกลางหมู่พระญาติ ตรัสเรื่องมหาเวสสันดรชาดก (พระชาติสุดท้ายก่อนตรัสรู้) วันรุ่งขึ้นเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยหมู่สงฆ์ พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จมาห้าม ทรงแสดงสุจริตธรรม โปรดพระบิดาว่า ธมฺมญจเรสุจริตํ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต เป็นต้น พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาปัตติผล
    วันที่สอง เสด็จไปโปรดด้วยสุจริตธรรม พระบิดาบรรลุสกทาคามีผล พระนางปชาบดีโคตมีบรรลุโสดาปัตติผล
    วันที่สาม โปรดด้วยธรรมปาลชาดก พระบิดาบรรลุอนาคามิผล เสด็จพร้อมด้วยอัครสาวกทั้งสองโปรดพระนางยโสธรา พิมพา จนบรรลุโสดาปัตติผล ด้วยจันทกินนรีชาดก
    วันที่สี่ เสด็จงานอภิเษกสมรสระหว่างนันทกุมาร(พระอนุชาต่างมารดา) กับนางชนบทกัลยาณี ทรงให้นันทกุมารอุปสมบท ณ นิโครธาราม ทรงแสดงภาพนิมิตให้พระนันทะเห็นว่าความงามไม่มีสิ้นสุดเกิดความเบื่อหน่าย บำเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ (หนามยอกเอาหนามบ่ง)
    ในวันที่เจ็ด พระนางยโสธรา พิมพา ให้ราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติ พระศาสดาทรงประทานทรัพย์ภายในอันประเสริฐ คืออริยทรัพย์แก่ราหุลกุมาร ทรงมอบให้ พระสารีบุตรบรรพชาราหุลกุมารเป็นสามเณรด้วยวิธี ติสรณคมนูปสัมปทา เป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ ๗ พรรษาเท่านั้น พระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวการบรรพชาทรงโทมนัส เสียใจพระทัย เสด็จไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอว่า “ขออย่าได้บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาตอีกเลย” ทรงประทานพรให้ตามที่ทูลขอ พระพุทธเจ้าประทับที่นิโครธารามครบ ๗ วันจึงเสด็จกลับเวฬุวันมหาวิหาร ฝ่ายสามเณรราหุลเมื่ออายุครบ ๒๐ พรรษา ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะฟังธรรมเทศนาชื่อ จุลลราหุโลวาทสูตร ได้รับยกย่องว่าเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ท่านนิพพานก่อนพระสารีบุตร ๗ วัน ณ ดาวดึงส์สวรรค์
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  6. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    พระพุทธเจ้าเสด็จเมืองกบิลพัสดุ์ ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ โปรดพระเจ้าสุทโธทนะและหมู่ญาติ
    ครั้งที่ ๒ ห้ามหมู่ญาติเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณี
    ครั้งที่ ๓ เสด็จเยี่ยมพระเจ้าสุทโธทนะขณะประชวรแล้วทรงแสดง อนิจจตาทิปฏิสังยุตเทศนา จนพระบิดาบรรลุอรหันต์และนิพพานไน ๗ วันต่อมา

    เสด็จแคว้นโกศล
    แคว้นโกศล มีเมืองหลวงชื่อสาวัตถี มีแม่น้ำจิรวดีไหลผ่าน ต่อมาได้รวมเอาแคว้นกาสีเข้าเป็นแคว้นเดียวกัน มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นกษัตริย์ปกครอง มีอำนาจมากทัดเทียมกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
    ในเมืองสาวัตถีมีคหบดีใจบุญคนหนึ่งชื่อ สุทัตตะ แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า อนาถปิณฑิกเศรษฐี แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา วันหนึ่งท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีไปเยี่ยมพี่เขยที่เมืองราชคฤห์ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่า สีตวัน เมืองราชคฤห์ ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ บรรลุโสดาปัตติผลแล้วปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ได้สละทรัพย์ ๕๔ โกฏิสร้างเชตวันมหาวิหาร ถวายพระพุทธเจ้าๆเสด็จจำพรรษาที่วัดนี้ถึง ๑๙ พรรษา นานกว่าวัดอื่น ท่านได้รับยกย่องว่า เลิศทางบริจาคทาน คู่กับอุบาสิกาอีก่านหนึ่ง คือ นางวิสาขา ที่สร้างวัดบุปพารามถวาย

    เจ้าชาย ๖ พระองค์ออกบวช
    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ เจ้าชายจากศากยวงศ์ ๕ พระองค์คือ ๑.ภัคคุ ๒.กิมพิละ ๓.ภัททิยะ ๔.อนุรุทธะ ๕.อานนท์ รวมนายภูษามาลา หรือช่างกัลบก(ช่างตัดผม) อีก ๑ คน ชื่อ อุบาลี เจ้าชายจากโกลิยวงศ์ ๑ พระองค์คือ พระเทวทัต รวมเป็น ๖ เจ้าชาย ๑ คนใช้
    พระภัคคุและกิมพิละ บวชแล้วไม่ปรากฏผลงาน
    พระภัททิยะ เคยเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเล็กๆในแคว้นสักกะ บวชแล้วชอบเปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ได้รับยกย่องว่า ตระกูลสูงสุด
    พระอนุรุทธะ เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ มีพี่ชายชื่อ มหานามะ น้องสาวชื่อ โรหิณี ชีวิตเมื่อก่อนบวชมีแต่ความสุขสบาย คำว่า ไม่มี ไม่เคยได้ยิน ได้รับยกย่องว่า เลิศทางทิพพจักขุญาณ(ตาทิพย์) เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปเดียวที่เฝ้าอยู่ใกล้ชิดในวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
    พระอุบาลี ได้รับอนุญาตให้บวชก่อน เพื่อกำจัดทิฐิมานะของ ๖ เจ้าชาย เพราะต้องกราบไหว้อุบาลีที่บวชก่อน ได้รับยกย่องว่า เลิศทางวินัย(เป็นนักกฎมาย) ท่านทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยปิฎก ในการทำปฐมสังคายนา
    พระอานนท์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ กับพระนางกีสาโคตมี เป็นอนุชา(ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่อง ๕ อย่าง คือ มีสติ มีคติ มีธิติ (ความเพียร) เป็นพหูสูต เป็นพุทธอุปัฏฐาก บรรลุโสดาปัตติผลในสำนักของพระปุณณมันตานีบุตร ได้รับยกย่องว่า เป็นคลังพระสัทธรรม สำเร็จพระอรหันต์(กิเลสนิพพาน) หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ เป็นผู้วิสัชนาพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก เมื่อครั้งปฐมสังคายนา นิพพานเมื่ออายุ ๑๒๐ ปี ด้วยการเหาะขึ้นไปเหนือแม่น้ำโรหิณี แล้วนิพพานกลางอากาศ (ขันธนิพพาน)
    พระเทวทัตต์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา บวชแล้วบรรลุฌานโลกีย์ ถูกลาภสักการะครอบงำ คิดจะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ปลงพระชนม์พระบิดาคือพระเจ้าพิมพิสารและลอบทำร้ายพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง คือ
    ๑. จ้างนายขมังธนูลอบยิง
    ๒. กลิ้งหินจากยอดเขาคิชกูฏให้ทับพระองค์
    ๓. ปล่อยช้างนาฬาคีรีให้ทำร้าย
    ต่อมาพระเทวทัตต์ได้ทูลขอบัญญัติ ๕ ประการ (วัตถุ ๕ ประการ) คือ
    ๑. ให้พระบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๒. ห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ๓. อยู่โคนไม้เป็นวัตร
    ๔. อยู่ป่าเป็นวัตร
    ๕. ไม่ฉันเนื้อสัตว์(มังสวิรัติ)
    เมื่อพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต จึงพาพระสงฆ์แยกจากพระพุทธเจ้า ตั้งตัวเป็นศาสดา (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นอนันตริยกรรม) ต่อมาพระเทวทัตต์อาพาธหนัก สำนึกผิดเดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เชตวันมหาวิหาร แต่ถูกแผ่นดินสูบเสียก่อน ก่อนตายได้ถวายกระดูกคางของตนเป็นพุทธบูชา พระเทวทัตต์เมื่อชดใช้กรรมในนรกอเวจีหมดสิ้นแล้ว จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าพระนามว่า อัฏฐิสสระ พระเทวทัตต์ทำอนันตริกรรม ๒ ข้อ
    ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต (โลหิตุบาท)
    ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน(สังฆเภท)
    พฤติกรรมของพระเทวทัตต์ตรงกับสำนวนว่า ต้นตรง ปลายคด หรือสว่างมา มืดไป
    ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรู ต่อมาได้สำนึกผิด จึงให้หมอชีวกโกมารภัจพาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ชีวกัมพวัน สดับพระธรรมเทศนาแล้วมีความเลื่อมใส ปฏิญาณพระองค์เป็นอุบาสก ทรงให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เช่น การทำปฐมสังคายนา เป็นต้น
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  7. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    พระพุทธบิดานิพพาน
    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ภูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ทรงทราบว่าพระบิดาประชวรหนัก ได้เสด็จเยี่ยมพระบิดาพร้อมด้วยพระนันทะ พระอานนท์ พระราหุล และพระสงฆ์เป็นจำนวนมาก ทรงแสดงอนิจจตาทิปฏิสังยุตเทศนา (เทศนาว่าด้วยความไม่เที่ยง เป็นต้น) จนพระบิดาสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพานภายใน ๗ วันต่อมา พระพุทธเจ้าทรงรับเป็นประธานงานพระราชทานเพลิงศพพระบิดา ทรงมอบให้พระมหากัสสปะจัดเตรียมสถานที่ ให้พระสารีบุตรจัดถวายน้ำสรงพระศพ
    พระนางปชาบดีโคตมีออกบวช
    พระนางปชาบดีโคตมี ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ณ นิโครธาราม ทูลขออุปสมบทถึง ๓ ครั้ง แต่พระศาสดาไม่ทรงอนุญาต ครั้งที่ ๔ พร้อมด้วยขัตติยนารีชาวศากยะประมาณ ๕๐๐ คน ปลงผมห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พากันไปยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูกูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเมืองเวสาลี พระอานนท์ทราบข่าวจึงไปกราบทูลขออนุญาตให้พระนางปชาบดีโคตมีและคณะได้อุปสมบท ทรงตรัสว่า “อานนท์ ถ้าพระนางปชาบดีจะรักษา ครุธรรม ๘ ประการได้ เราจะอนุญาต” พระศาสดาได้แสดงครุธรรม ๘ ประการ ให้พระอานนท์ฟังก่อนเพื่อนำรายละเอียดไปบอกพระนางปชาบดีทราบอีกต่อหนึ่ง
    ครุธรรม ๘ ประการ
    ๑. ภิกษุณีแม้บวชได้ ๑๐๐ พรรษา ต้องกราบไหว้ภิกษุผู้บวชได้วันเดียว
    ๒. ภิกษุณีต้องไม่อยู่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุจำพรรษา
    ๓. ภิกษุณีต้องทำอุโบสถกรรมและรับโอวาทจากพระภิกษุทุกกึ่งเดือน
    ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วต้องทำปวารณากรรมในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (อุภโตสงฆ์ ภิกษุ-ภิกษุณี)
    ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนักต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
    ๖. ภิกษุณีต้องอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ขณะเป็นสามเณรีต้องรักษาศีลข้อ ๑-๖ ไม่ให้ขาดเป็นเวลา ๒ ปี จึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ เรียกว่า นางสิกขมานา
    ๗. ภิกษุณีจะด่าว่าภิกษุไม่ได้
    ๘. ภิกษุณีต้องรับฟังคำสอนจากภิกษุเพียงอย่างเดียว จะสอนภิกษุไม่ได้
    พระนางปชาบดี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ พระพุทธเจ้าจึงประทานอุปสมบทให้ทั้งหมด (บวชด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ สงเคราะห์เข้าใน เอหิภิกขุอุปสัมปทา) ได้รับยกย่องว่า เลิศทางรัตตัญญู

    พระนางยโสธรา พิมพา ออกบวช
    เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะนิพพานแล้ว เจ้ามหานามะ ได้ครองราชสมบัติแทน ส่วนพระนางยโสธรา พิมพา ได้อุปสมบทเป็นภิกษุณี ณ เชตวันมหาวิหาร ได้พระนามใหม่ว่า พระนางภัททากัจจานาเถรี เลิศทาง อภิญญา ๖

    โปรดพุทธมารดา
    เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหารย์ ปราบพวกเดียรถีย์ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๘ ใต้ต้นมะม่วงในป่าใหญ่ เมืองสาวัตถี จนพ่ายแพ้ (หัวหน้าเดียรถีย์ชื่อบูรณกัสสปะ เกิดความอับอายใช้หม้อข้าวผูกคอตัวเองโดดน้ำตาย) แล้วเสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระพุทธมารดาด้วยความกตัญญูกตเวที ประทับที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ ใต้ต้นปาริชาติ ทรงแสดงอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดาและหมู่เทวดาจนสำเร็จโสดาปัตติผลตลอดระยะเวลา ๓ เดือนในพรรษานั้น (พรรษาที่ ๗) ออกพรรษาแล้วเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกทางบันใดแก้ว เชิงบันไดทอดลงที่ประตูเมืองสังกัสสนคร เรียกว่า อจลเจดีย์ ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศใดทิศนั้นจะแลดูโล่งไม่มีอะไรปิดบัง ทำให้ชาวโลกทั้ง ๓ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก มองเห็นซึ่งกันและกัน เราจึงเรียกวันนั้นว่า วันเทโวโรหนะ หรือ วันพระเจ้าเปิดโลก
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  8. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    โปรดองคุลีมาล (ขุนโจร ๙๙๙)
    องคุลีมาล เดิมชื่อ อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตแห่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ในวันที่อหิงสกะเกิด คลังอาวุธในพระนครลุกโชติช่วงเป็นเปลวไฟ บิดาทายว่า จะเป็นโจรฆ่าคนเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อเพื่อแก้เคล็ดว่า “อหิงสกะ” แปลว่า ไม่เบียดเบียน ต่อมาบิดาส่งไปเรียนวิชาในสำนักตักสิลา ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งยุให้อาจารย์ฆ่าเสีย อาจารย์จึงให้อหิงสกะไปฆ่าคน ๑,๐๐๐ คน แล้วจะสอนมนต์พิเศษให้(วิษณุมนต์) อหิงสกะ ได้ฆ่าคนถึง ๙๙๙ คน แล้วตัดนิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอ จึงมีชื่อเรียกว่า องคุลีมาล แปลว่า มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย ต่อมาพบพระพุทธเจ้าจึงวิ่งไล่ฆ่าหวังจะตัดนิ้วมาร้อยมาลัยให้ครบ ๑ พันแต่ไล่ไม่ทัน พลางพูดว่า “พระหยุดก่อน พระหยุดก่อน” ทรงตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว เธอซิยังไม่หยุด” (หมายถึง หยุดจากการทำความชั่ว) องคุลีมาลกลับได้สติ ทิ้งดาบก้มลงกราบ พลางกราบทูลว่า “นานเหลือเกินพระเจ้าข้ากว่าจะเสด็จมาโปรด” ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านมีความสามารถพิเศษเสกคาถาทำน้ำมนต์ให้หญิงคลอดบุตรง่าย (เป็นพระนักผดุงครรภ์) ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า ต้นคด ปลายตรง หรือ มืดมา สว่างไป(ท่านมีชื่อเรียกอีอย่างหนึ่งว่า คักคมันตานีบุตร เพราะท่านเป็นบุตรของปุโรหิตชื่อ คักคะ และนางมันตานี)

    คาถาทำน้ำมนต์ให้คลอดบุตรง่าย
    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปตา เตน สจฺเจน โสตฺถิเต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส
    ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาโดยอริยชาติ ยังไม่รู้สึกตัวว่าแกล้งปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยอำนาจสัจจะวาจานั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอและครรภ์ของเธอเถิด

    ทรงปรารภถึงความชรา
    พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงบำเพ็ญพุทธกิจถึง ๔๕ พรรษา ทรงปรารภถึงพระสรีระร่างกายของพระองค์ว่า ชราลงไปโดยลำดับ เหมือนเกวียนชำรุดซ่อมแซมไว้ด้วยไม้ไผ่ทรงจำพรรษาสุดท้าย(พรรษาที่๔๕) ที่บ้านเวฬุวคาม เมืองเวลาสี ออกพรรษาแล้ว เสด็จไปประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี ก่อนเสด็จจากเมืองเวสาลีไป ทรงหันพระพักตร์มองเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย (มองแบบช้างเหลียวหลัง เรียกว่า นาคาวโลก)

    ทรงทำนิมิตโอภาส
    พระศาสดาทรงทำนิมิตโอภาส (ทำเหมือนบอกใบ้) เพื่อให้พระอานนท์ทูลอาราธนาให้พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่ต่อไปอีก ๑ กัปป์ รวม ๑๖ ครั้ง ๑๖ ตำบล ด้วยการรับสั่งว่า “อานนท์ ถ้าบุคคลใดเจริญอิทธิบาทภาวนา ๔ ประการ จะมีอายุยืนยาวอยู่ได้ตลอดกัปป์หนึ่งหรือนานกว่านั้น”
    ในกรุงราชคฤห์ ๑๐ ตำบล คือ
    ๑. เขาคิชกูฏ
    ๒. โคตมนิโครธ
    ๓. เหวสำหรับทิ้งโจร
    ๔. ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภาระ
    ๕. กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิริ
    ๖. เงื้อมสัปปิโสณทิกา ป่าสีตวัน
    ๗. ตโปทาราม
    ๘. เวฬุวนาราม
    ๙. ชีวกัมพวนาราม
    ๑๐.มัททกุจฉิมิคทายวัน
    ในเมืองไพศาลี ๖ ตำบล
    ๑. อุเทนเจดีย์
    ๒. โคตมเจดีย์
    ๓. สัตตัมพเจดีย์
    ๔. พหุปุตตเจดีย์
    ๕. สารันทเจดีย์
    ๖. ปาวาลเจดีย์
    พระอานนท์ไม่ทราบในพุทธประสงค์จึงมิได้ทูลอาราธนา

    ปลงอายุสังขาร
    พระศาสดาประทับอยู่ที่ปาวาลเจดีย์ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ทรงตัดสินพระทัยว่า จะปรินิพพาน จึงทรงประกาศว่า “นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน” จึงเรียก ปลงอายุสังขาร
    เหตุแห่งแผ่นดินไหว ๘ อย่าง (ตรัสกับพระอานนท์)
    ๑. ลมกำเริบ
    ๒. ผู้มีฤทธิ์บันดาล
    ๓. พระโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์
    ๔. พระโพธิสัตว์ประสูติ
    ๕. พระตถาคตตรัสรู้
    ๖. พระตถาคตแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    ๗. พระตถาคตปลงอายุสังขาร
    ๘. พระตถาคตปรินิพพาน
    ทรงแสดงอภิญญาเทสิตธรรม (โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ)
    พระศาสดาประทับที่เมืองเวสาลี ทรงอภิญญาเทสิตธรรมหรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการแก่หมู่สงฆ์ (กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี)
    อภิญญาเทสิตธรรม(ธรรมที่แสดงเพื่อความรู้ยิ่ง) หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ -
    -สติปัฏฐาน ๔
    -สัมมัปปธาน ๔
    -อิทธิบาท ๔
    -อินทรีย์ ๕
    -พละ ๕
    -โพชฌงค์ ๗
    - มรรคมีองค์ ๘


    ทรงแสดงอริยธรรม ๔ ประการ
    พระศาสดาประทับอยู่ที่ภัณฑุคาม เมืองเวสาลี ทรงแสดงอริยธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ โปรดหมู่สงฆ์ (นักเรียนโปรดทราบว่า เหตุการณ์ตอนนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินของพระพุทธเจ้าไปยังเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เพื่อปรินิพพานที่เมืองนี้)

    เสด็จผ่านหมู่บ้าน ๓ หมู่บ้าน คือ หัตถีคาม อัมพคาม และชัมพุคาม
    ทรงแสดงมหาปเทส ๔ แก่หมู่สงฆ์ที่อานันทเจดีย์ แขวงโภคนคร ใจความโดยย่อ คือ “สิ่งใดเป็นธรรมวินัย สิ่งนั้นเป็นคำสอนของพระศาสดา สิ่งใดไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย สิ่งนั้นมิใช่คำสอนของพระศาสดา”
    เสด็จถึงเมืองปาวา เมืองหลวงของแคว้นมัลละ ประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ กัมมารบุตร(บุตรนายช่างทอง) รุ่งเช้าตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เสวยภัตตาหารที่บ้านของนายจุนทะ กัมมารบุตร เป็นอาหารประเภทสุกรมัทวะ หรือมังสะสุกรอ่อน เรียกว่าปัจฉิมบิณฑบาต (บิณฑบาตมื้อสุดท้าย) ทำให้อาพาธกำเริบขึ้นอีก ทรงอาเจียรเป็นโลหิต เรียกว่าโรคปักขันธิกาพาธหรือลงพระโลหิต ทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ ทรงกำจัดอาพาธนั้นด้วย อิทธิบาทภาวนา ทรงแสดงธรรมโปรดนายจุนทะได้บรรลุโสดาปัตติผล

    เสด็จผ่านแม่น้ำ ๓ สาย
    เสด็จถึงแม่น้ำสายที่ ๑ (ไม่ปรากฏชื่อ) ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำเพื่อดื่มบรรเทาความกระหาย ปุกกุสะ มัลลบุตร โอรสของกษัตริย์มัลละ ศิษย์ของอาฬารดาบสเดินสวนทางมา พบพระศาสดาจึงถวายผ้าสิงคิวรรณ ๒ ผืน (ผ้าสิงคิวรรณเป็นผ้าราคาแพง สีเหลืองเหมือนทอง) ทรงแบ่งให้พระอานนท์ผืนหนึ่ง แต่พระอานนท์ได้ทูลถวายพระศาสดาทั้ง ๒ ผืน ทรงนุ่งห่มผ้าทั้ง ๒ ผืน พระอานนท์เห็นพระฉวีวรรณของพระศาสดาผ่องใสยิ่งกว่าทุกครั้ง ทรงตรัสว่า กายของตถาคตจะงามบริสุทธิ์ ๒ ครั้งคือ
    ๑. ในคืนที่จะตรัสรู้
    ๒. ในคืนที่จะปรินิพพาน
    เสด็จถึงแม่น้ำสายที่ ๒ ชื่อ กกุธานที ตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าใครจะตำหนิจุนทะเกี่ยวกับเรื่องถวายสุกรมัทวะแก่พระองค์ ขอให้ช่วยกันชี้แจงปลอบโยนจุนทะให้สบายใจ ตรัสเรื่องการถวายอาหาร ๒ อย่าง มีผลเสมอกัน คือ
    ๑. อาหารบิณฑบาตที่เสวยแล้วตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ (นางสุชาดาถวาย)
    ๒. บิณฑบาตที่เสวยแล้วปรินิพพาน (นายจุนทะถวาย)
    เสด็จถึงแม่น้ำสายที่ ๓ ชื่อ หิรัญวดี เสด็จข้ามแม่น้ำสายนี้ ถึงเมืองกุสินาราในเวลาเย็น บรรทมเหนือแท่นปรินิพพาน ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ (บางตำราว่าระหว่างนางรังทั้งคู่) ณ สาลวโนทยาน หันพระเศียรไปทางทิศอุดร(ทิศเหนือ) การบรรทมครั้งนี้เป็นการบรรทมครั้งสุดท้าย จะไม่เสด็จลุกขึ้นอีก เรียกว่า อนุฏฐานไสยาสน์

    ตรัสเรื่องการบูชา ๒ อย่าง
    ในขณะที่พระองค์ประทับบนแท่นปรินิพพาน ดอกไม้นานาพันธุ์ เช่น ดอกสาละ ดอกมณฑารพ เป็นดอกไม้จากสวรรค์ ได้ร่วงหล่นมาบูชาพระองค์ ตรัสเรื่องการบูชา ๒ อย่างกับพระอานนท์ คือ
    ๑. อามิสบูชา การบูชาด้วยอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน
    ๒. ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอน (ทรงยกย่องปฏิบัติบูชา


    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  9. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    ตรัสเรื่องสตรีเพศ
    ๑. ไม่ดูไม่เห็นเป็นดีที่สุด

    ๒. เมื่อจำเป็นต้อดูต้องเห็น การไม่พูดด้วย เป็นดีที่สุด
    ๓. เมื่อจำเป็นต้องพูดด้วย ต้อมีสติมั่นคง อย่าให้กิเลสตัณหาครอบงำได้

    ทรงเปิดโอกาสให้เทวดา
    พระพุทธองค์ทรงไล่พระอุปวาณะ ที่กำลังถวายงานพัด ให้ลูกไปเสียจากที่นั้น เพราะนั่งบังเทวดา เป็นการเปิดโอกาสให้เทวดาได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด

    สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง
    สังเวชนียสถาน คือสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ๔ แห่ง ที่ทำให้เกิดความสังเวช, (ความรู้สึกเตือนสำนึกในความไม่ประมาท) คือ
    ๑. สถานที่ประสูติ
    ๒. สถานที่ตรัสรู้
    ๓. สถานที่แสดงปฐมเทศนา
    ๔. สถานที่ปรินิพพาน
    ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า เป็นสถานที่ที่พุทธบริษัทควรดูควรเห็น ทำให้เกิดความสังเวช ผู้ใดสักการะด้วยใจศรัทธา เมื่อสิ้นชีวิตจะไปเกิดบนสวรรค์

    วิธีปฏิบัติในพระสรีระ(พระศพ)
    พระอานนท์ “ข้าพระองค์จะปฏิบัติในพระสรีระอย่างไร”
    พระพุทธเจ้า “เธออย่าเดือดร้อนไปเลย เป็นหน้าที่ของกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี จัดทำเอง”
    พระอานนท์ “ถ้าเขาเหล่านั้นไม่ทราบจะทำประการใด”
    พระพุทธเจ้า “ให้ปฏิบัติเหมือนพระศพพระเจ้าจักรพรรดิ ห่อด้วยผ้าใหม่ ซับด้วยสำลี ๕๐๐ ชั้น วางไว้ในรางเหล็ก รดด้วยน้ำมัน มีฝาเหล็กปิดครอบไว้ แล้วเชิญขึ้นสู่จิตกาธาร ถวายพระเพลิงแล้ว ให้เชิญพระอัฐิธาตุบรรจุไว้ในสถูป ณ ทาง ๔ แพร่ง เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน”

    ถูปารหบุคคล ๔ จำพวก
    ถูปารหบุคคล คือบุคคลผู้ควรสร้างสถูปบรรจุอัฐิไว้สักการบูชา มี ๔ จำพวก คือ
    ๑. พระพุทธเจ้า
    ๒. พระปัจเจกพระพุทะเจ้า
    ๓. พระอรหันตสาวก
    ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ


    ประทานโอวาทแก่พระอานนท์
    พระอานนท์เสียใจที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ไปยืนเหนี่ยวกปิสีสะ (ไม้มีลักษณะคล้ายศีรษะวานร บางแห่งเรียกสลักเพชร) ร้องให้อยู่ ทรงปลอบใจพระอานนท์ว่า “ดูก่อนอานนท์ เราเคยบอกว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วแปรปรวนไปและแตกสลายในที่สุด เป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด อานนท์ เธออุปัฏฐากตถาคตมานาน เธอเป็นคนมีบุญ หมั่นทำความเพียรต่อไป ไม่ช้าจะสำเร็จพระอรหันต์ เมื่อตถาคตนิพพานได้ ๓ เดือน”
    ตรัสสรรเสริญพระอานนท์
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ทรงมีพระอุปัฏฐากที่ดีไม่เกินไปกว่าพระอานนท์
    พระอานนท์เป็นบัณฑิต รู้กาลใดควรไม่ควร เมื่อจะเข้าเฝ้าตถาคต อานนท์จะจัดให้พุทธบริษัทได้เข้าเฝ้าอย่างเหมาะสม
    เมื่อพุทธบริษัทได้เห็นพระอานนท์ก็ยินดี เมื่อได้ฟังอานนท์แสดงธรรมก็ชื่นชม ไม่เบื่อหน่าย อานนท์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ๕ อย่าง คือ เป็นพหูสูต ๑ มีสติ๑ มีคติ๑ มีธิติ๑(ความเพียร) เป็นพุทธอุปัฏฐาก๑
    พระอานนท์เคยขอพร ๘ ประการ ก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก คือ
    ๑. อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒. อย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓. อย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับ
    ๔. อย่าให้ข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
    ๕. ขอให้เสด็จไปในที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
    ๖. ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าได้เมื่อมาถึง
    ๗. ถ้าข้าพระองค์มีความสงสัยให้ทูลถามได้ตลอดเวลา
    ๘. ถ้าแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอให้แสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์
    พระอานนท์ขอพร ๔ ข้อแรก เพื่อป้องกันคำครหานินทาว่า พระอานนท์รับใช้พระศาสดาเพราะเห็นแก่ลาภ
    พระอานนท์ขอพรข้อ ๕-๗ เพื่อป้องกันคำครหานินทาว่า พระอานนท์รับใช้พระศาสดาถึงเพียงนี้ยังไม่ได้รับการอนุเคราะห์จากพระศาสดาเลย
    ส่วนข้อสุดท้าย เพื่อป้องกันคำครหานินทาว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้าเหมือนเงาตามตัว ยังไม่รู้ว่า พระธรรมเทศนาเรื่องนี้ทรงแสดงที่ไหน เป็นต้น (พรข้อที่ ๘ ทำให้พระอานนท์ได้ยินได้ฟังมาก มีความรู้กว้างขวาง กลายเป็นพหูสูต)

    ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา
    พระอานนท์ทูลถามว่า ทำไมพระองค์จึงเสด็จมาปรินิพพานที่เมืองกุสินาราซึ่งเป็นเมืองเล็ก ทรงตรัสว่า เมืองกุสินาราในอดีตเป็นเมืองใหญ่ ชื่อกุสาวดี มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าสุทัสสนะ เป็นประมุข กว้าง ๗ โยชน์ ยาว ๑๒ โยชน์ คับคั่งด้วยผู้คน กึกก้องไปด้วยเสียง ๑๐ ชนิด ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ ๑.เสียงช้าง ๒.เสียงม้า ๓.เสียงรถ ๔.เสียงกลอง ๕.เสียงตะโพน ๖.เสียงพิณ ๗.เสียงขับร้อง ๘.เสียงกังสดาร ๙.เสียงสังข์ ๑๐.เสียงเรียกกันบริโภคอาหาร
    พระศาสดารับสั่งให้พระอานนท์นำข่าวปรินิพพานไปบอกมัลละกษัตริย์ พวกมัลละกษัตริย์พากันมาเฝ้าพระศาสดา พระอานนท์ได้จัดให้เข้าเฝ้าเป็นคณะ ทำให้เสร็จเร็วขึ้น
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  10. *8q* said:

    Re: คู่มือพุทธประวัติ

    โปรดสุภัททปริพาชก
    สุภัททปริพาชก นักบวชนอกศาสนา มีความสงสัยเรื่องครูทั้ง ๖ ว่าเป็นอรหันต์จริงหรือไม่ จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า ถูกพระอานนท์ห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง ทรงรับสั่งให้สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้า ตรัสว่า “สุภัททะ ศาสนาใดสอนเรื่องมรรคมีองค์ ๘ ศาสนานั้นจะไม่ว่างจากพระอรหันต์” สุภัททะได้ทูลถามปัญหาอีก ๓ ข้อ คือ ๑.รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่ ๒.สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ ๓.สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่ ทรงตรัสว่า รอยเท้าในอากาศไม่มี ศาสนาไหนไม่มีมรรคมีองค์ ๘ สมณะก็ไม่มีในศาสนานั้น สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย สุภัททะเลื่อมใสทูลขออุปสมบท มีระเบียบสำหรับนักบวชนอกศาสนาว่า ก่อนบวชต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือน สุภัททะ ยินดีปฏิบัติตามแม้จะอยู่นานถึง ๔ ปี พระศาสดาอนุโลมให้เป็นพิเศษโดยไม่ต้องอยู่ติดถิยปริวาส รับสั่งให้พระอานนท์เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ เมื่อบวชแล้วฟังพระธรรมเทศนาเรื่องมรรคมีองค์ ๘ จากพระศาสดา ได้สำเร็จพระอรหันต์ในคืนนั้น เป็นปัจฉิมสาวก(สาวกรูปสุดท้าย) ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาแทนเราเมื่อเรานิพพานแล้ว” ตรัสให้พระผู้น้อยพูดกับพระผู้แก่พรรษากว่าว่า ภันเต(ท่านผู้เจริญ) หรือ อายัสมา (ท่านผู้มีอายุ) ส่วนพระผู้แก่พรรษากว่าพูดกับพระผู้อ่อนพรรษากว่าว่า อาวุโส (ท่านผู้มีอายุ) ตรัสให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ (การไม่ว่ากล่าว ไม่สั่งสอน ไม่พูดด้วย) แก่พระฉันนะหัวดื้อ ต่อมาสงฆ์ให้ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ ทำให้พระฉันนะสำนึกผิด เลิกดื้อรั้นตั้งแต่นั้นมา ทรงเปิดโอกาส ให้พระสงฆ์ซักถามข้อสงสัยต่างๆพระสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอริยบุคคลทั้งสิ้น จึงไม่มีผู้ใดสงสัยหรือเคลือบแคลงในพระรัตนตรัยแต่อย่างใด

    ปัจฉิมโอวาท
    “ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด (วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ)” พระดำรัสนี้ เรียกว่าปัจฉิมโอวาท (อัปมาทธรรม) จัดเป็นปัจฉิมเทศนาด้วย ทรงสรุปพระธรรมคำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ลงในความไม่ประมาท

    ปรินิพพาน
    เมื่อประทานปัจฉิมโอวาทแล้วไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงกระทำปรินิพพานกรรมด้วยอนุบุพพวิหาร ๙ โดยลำดับ เริ่มตั้งแต่ ฌานที่๑(ปฐมฌาน)—ฌานที่ ๒(ทุติยฌาน)---ฌานที่ ๓(ตติยฌาน)---ฌานที่ ๔(จตุตถฌาน)---ฌานที่ ๕ (อากาสานัญจายตนะ)---ฌานที่ ๖(วิญญาณัญจายตนะ)---ฌานที่๗(อากิญจัญญายตนะ)---ฌานที่ ๘(เนวสัญญาณาสัญญายตนะ)---ฌานที่๙(สัญญาเวทยิตนิโรธ) เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๙ สัญญาและเวทนาดับ ทรงมีพระอาการเหมือนคนสิ้นลมหายใจแล้ว พระอานนท์เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จึงถามพระอนุรุทธะๆตอบว่า ยังเจริญสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ต่อจากนั้นทรงถอยกลับจากฌานที่ ๙ ลงมาตามลำดับ จนถึงฌานที่ ๑ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๒-๓-๔ ออกจากฌานที่ ๔ ยังไม่ถึงฌานที่ ๕ ก็ปรินิพพาน (นิพพานในระหว่างฌานที่ ๔ กับฌานที่ ๕ หรือระหว่างจตุตถฌานกับอากาสานัญจายตนะ) ในเวลาปัจฉิมยาม ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี รวมพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา
    ผู้กล่าวธรรมสังเวช (สังเวคกถา)
    ๑. ท้าวสหัมบดีพรหม “สัตว์ทั้งปวง ล้วนทอดทิ้งร่างกายไว้ถมปฐพี แม้องค์พระศาสดาก็ยังเสด็จดับขันธปรินิพพาน”
    ๒. ท้าวโกสีย์สักกเทวราช “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดแล้วย่อมย่อมดับไป การสงบระงับแห่งสังขารเป็นสุข”
    ๓. พระอนุรุทธะ กล่าว ๒ คาถา “พระพุทธเจ้าทรงมีพระทัยมั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ได้สิ้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ปรินิพพานแล้ว ดุจประทีปที่โชติช่วงได้ดับไปฉะนั้น”
    ๔. พระอานนท์ “เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เกิดอัศจรรย์มีโลมาชูชัน ปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี