ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

กระทู้: ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว suchat

    suchat said:

    ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

    การสรงน้ำพระที่ถูกต้องตามประเพณี มิใช้สาดน้ำไปสู่องค์พระอย่างที่บางแห่งปฏิบัติ แต่จะใช้วิธีตักน้ำจากสลุงเทสู่ รางริน ซึ่งเป็นทางให้น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ไหลไปสรงองค์พระ อันถือว่าเป็นการสรงน้ำที่ถูต้องตามประเพณี น้ำที่สรงองค์พระจะไหลไปสู่ภาชนะที่รองรับไว้ และถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านนาในอดีตนำมาประพรมศีรษะ ร่างกายหรือที่อยู่อาศัยเพื่อควาเป็นสิริมงคล ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิตและครอบครัวของตนสืบไป

    ชาวลำปาง จึงยึดถือประเพณีสรงน้ำองค์พระแก้วมรกตดอนเต้าสืบมาตลอด การจัดขบวนแห่สลุงหลวง เพื่อรับน้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแต่โบราณซึ่งปัจจุบันสภาพแวดล้อมแตกต่างจากอดีต สืบเนื่องมาจากความเจริญทำให้สิ่งที่ดีงามลบเลือนหายไปมาก






    และสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของชาวลำปางอีกประการหนึ่งคือ " สลุงหลวงเงิน" ทำด้วยเงินหนัก 38 กิโลกรัม หรือ 2,533 บาท มีความกว้าง 89 เซนติเมตร สูง 49 เซนติเมตร ชาวลำปางได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนถึง 432,398 บาท เพื่อจัดสร้างสลุงหลวงเงินขึ้นในปี 2533

    ที่ส่วนรอบๆ ขอบด้านบนภายนอกจารึกเป็นภาษาพื้นเมืองล้านนา มีข้อความว่า "สลุงแก่นนี้จาวเมืองลำปางแป๋งต๋านไว้ใส่น้ำอบ น้ำหอม ขมิ้น ส้มป่อย สระสรงองค์พระเจ้าแก้วดอนเต้า เวียงละกอนในวันปี๋ใหม่เมือง เพื่อค้ำจุนพระศาสนา ฮอดเติงห้าปันวรรษา" แปลว่า "สลุงหลวงใบนี้ชาวเมืองลำปางจัดสร้างถวายไว้ใส่น้ำอบ น้ำหอม ขมิ้ม ส้มป่อย เพื่อสรงพระเจ้าแก้วดอนเต้า แห่งเวียงละกอน ในวันปีใหม่เมืองลำปาง เพื่อค้ำจุนพระศาสนา จวบจนห้าพันพรรษา"

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างสลุงหลวง เพื่อใช้เป็นภาชนะใส่น้ำสรงพระแก้วมรกตดอนเต้า องค์พระศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่บ้านคู่เมืองลำปาง โดยจัดสร้างให้มีความใหญ่โต สมศักดิ์ศรีมีความแข็งแรง ทนทาน สอดคล้องกับการใช้สอยในพิธีที่จัดขึ้น เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของชุมชนชาวลำปาง และเป็นการรักษาวัฒนธรรมให้สืบไป และเพื่อเป็นการสร้างจุดเด่นและเอกลักษณ์ให้แก่เมืองลำปาง ให้เป็นสมบัติประจำเมือง โดยมีพิธีบายศรีสู่ขวัญสลุงหลวงเงินของชาวลำปาง ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2533 ในขบวนแห่สลุงหลวงเงิน พิธีบายศรีสู่ขวัญครั้งนั้นประกอบด้วย

    เจ้านายในราชตระกูล ณ ลำปาง ถือขันเงิน
    รำฟ้อนพื้นเมืองและดนตรีโตกเส้ง
    ผู้ร่วมขบวนแต่งกายล้านนา
    แคร่แห่สลุงหลวงเงิน
    ต่อมาทางชมรมเทิดมรดกเขลางค์นคร ได้จัดสร้างฐานสลุง ทำด้วยไม้แกะสลักและประดิษฐ์เป็นรูปเทวดารอบๆ ฐานขึ้นอีก 6 องค์ ในปี 2534 ประกอบเป็นฐานสูง ขนาด 91 เซนติเมตร กว้าง 80 เซนติเมตร บุด้วยเงินบริสุทธิ์หนัก 1,500 บาท (23 กิโลกรัม) หุ้มโดยรอบ ดูแล้วเป็นสลุงตั้งบนแท่นแลดูสง่างามเข้ากันเป็นอย่างดีทั้งตัวสลุงและฐาน ในปีเดียวกันชาวลำปางได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างบังวันโลหะเงิน เป็นเครื่องประดับสลุงอีกอย่างหนึ่ง

    กำหนดงาน
    จัดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์

    กิจกรรม / พิธี
    ขบวนแห่สลุงเริ่มจากการแห่ตุง (ธง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยสีสันในขบวนแห่ตุงแต่ละผืน มีความหมายในตัว มีทั้งตุงสีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม สีส้ม สีเหลือง เขียวสลับลายชมพูและฟ้า ผู้แห่ในขบวนส่วนใหญ่ประกอบด้วยชายฉกรรจ์ โพกผ้าขาวไว้บนศีรษะ เปลือยกายท่อนบนส่วนท่านล่างบางคนนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดงบ้าน สีดำบ้าง ในขณะทีบางคนนุ่งกางเกงขายาวสีขาว มีผู้ร่วมขบวนแห่รับร้อยคนแลดูตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น

    ต่อจากขบวนตุงกันตระการตา เป็นขบวนเครื่องสายและเครื่องเป่าที่คอยประโคมให้ขบวนแห่ครบเครื่อง ทั้งสีสันอันสดสวย และเสียงเครื่องดนตรีขับกล่อมที่สร้างมนต์ตราตรึงให้ผู้พบเห็นได้เข้าถึงพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ และเคร่งขรึมนี้ได้ง่ายขึ้น

    ต่อจากนั้นเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในขบวนแห่ คือ ชาวลำปางจะอาราธนาพระเจ้า แก้วมรกตและพระเจ้าแก่นจันทร์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างสูงของชาวลำปางร่วมในงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ของเมืองลำปาง เพื่อให้ผู้คนชาวลำปางได้ร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ จากสลุงหลวงเงินสู่ลำรางสรงน้ำต่อไปตามลำดับ

     
  2. รูปส่วนตัว suchat

    suchat said:

    Re: ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

    ก่อนวันสงกรานต์ คือในวันที่ 12 เมษายน ขาวลำปางจะจัดขบวนแห่งที่เรียกว่า สลุงหลวง หรือขันเงินใบใหญ่
    นำน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญไปสรงพระเจ้าแก้ว วัดพระธาตุลำปางหลวง
    ที่อัญเชิญมาให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย


    สาวน้อยนำขบวน พร้อมขันเงินเตรียมไปสรงน้ำพระ

    .....
    ฟัอนนำขบวน ที่คนภาคอื่นมักบอกว่าสวย แต่คนเมืองส่วนหนึ่งไม่ค่อยจะยอมรับ
     
  3. รูปส่วนตัว suchat

    suchat said:

    Re: ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

    ขบวนเฉลิมพระเกียรติฯ อลังการด้วยร่มทรงสูง
    อีกมุม มีข่างภาพให้ความสนใจมถ่ายภาพหลายคน เพราะบริเวณหลังวัดประตูป่อง มีกำแพงวัดเป็นแบคกราวด์
    เสริมบรรยากาศให้ถ่ายรูปได้ค่อนข้างดี
     
  4. รูปส่วนตัว suchat

    suchat said:

    Re: ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

    ขบวนอัญเขิญเครื่องสักการะไปสรงน้ำพระเจ้าแก้ว
     
  5. รูปส่วนตัว suchat

    suchat said:

    Re: ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง

    ขบวนเครื่องสักการะจะประกอบด้วยหลักๆได้แก่
    สุ่มดอก หรือต้นดอก หรือหลักบายศรี เป็นเครื่องสักการบูชาประเภทหนึ่ง ที่ใช้ใบไม้ ดอกไม้
    ตกแต่งคล้ายกับบายศรี ทำรูปลักษณะเหมือนกรวย หรือเป็นพุ่ม
    หมากสุ่ม คือ การนำผลหมากที่ผ่าซีกแล้วเสียบร้อยด้วยปอหรือด้ายผูกไว้เป็นพวงตากแห้งเก็บไว้กิน
    ซึ่งคนทางเหนือเรียก “หมากไหม” มาปักคลุมโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นต้นพุ่มไว้
    หมากเบ็ง มีลักษณะเดียวกับหมากสุ่ม แต่ใช้ผลหมากดิบหรือหมากสุกทั้งลูกแทน มีจำนวน ๒๔ ลูก
    ผูกติดตรึงโยงไว้กับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม ลักษณะการผูกโยงตรึงกันนี้ คนเหนือเรียกว่า
    “เบ็ง” จึงเป็นที่มาของชื่อต้นพุ่มชนิดนี้
    ต้นเทียน มีการนำเทียนเล่มเล็กๆ มาผูกห้อยกับโครง เพื่อให้พระสงฆ์เก็บนำไปใช้สอยได้เลย
    สะดวกกว่าต้นผึ้งที่ต้องสะสมไปหล่อเทียนเอง
    สาวๆในขบวนแห่
     
  6. รูปส่วนตัว suchat

    suchat said:

    Re: ประเพณีแห่สลุงหลวง จ.ลำปาง


    ปิดท้ายด้วยสลุงหลวง ที่สวยงาม สำหรับหมากเบ็ง ไม่รู้ว่าทำไม
    จีงต้องเป็น 24 ลูกแต่ในภาพที่เห็นน่าจะมีมากกกว่า 24 ลูก คงเพื่อให้สวยงาม


    ปิดท้ายอย่างทางการเป็นขบวนของ ปูนซิเมนต์ไทยลำปาง
    ขอบคุณเจ้าของภาพ : ภาพโดย : psuka49 อีเมล์ : psuka49@hotmail.com
    ที่มาข้อมูล : http://www.lampang108.com/wb/read.php?tid-268.html