ล่องสะเปา
อันหมายถึง เรือสำเภาในภาษาพื้นเมือง โดยคำเรียกดังกล่าวได้ให้ชื่อตามเอกลักษณ์ของ สะเปา ที่ชาวบ้านได้จัดทำขึ้นจากคติความเชื่อที่ว่า การล่องสะเปาคือการทำทานให้แก่ผู้ล่วงลับ ขั้นตอนประดิษฐ์สะเปาของชาวล้านนา ได้แก่การใช้กาบกล้วย มะละกอ ไม้ไผ่ หรือกระดาษแก้วใส ตกแต่งและประดับประดาด้วยดอกไม้ หรือใช้กระดาษสีตัดเป็นลวดลายต่างๆ ติดด้านข้างลำสะเปา นอกจากนี้ยังมีสิ่งของอื่นๆ ที่มักใส่ลงไปในสะเปาด้วย เช่น ข้าวสุก กล้วย อ้อยควั่น ข้าวต้มจิ้ม น้ำตาล เกลือ ยาสูบ หมาก พลู ดอกไม้ ธูป เทียน และรูปสัตว์ต่างๆ เป็นต้น เพราะเชื่อกันว่าผู้ล่วงลับที่ได้อุทิศส่วนกุศลหรือทำทานไปให้ จะนำสิ่งของเหล่านั้นไปใช้ในอีกภพหนึ่ง


ประเพณีในคืนวันเก่าแก่จะย้อนกลับมาอีกครั้ง ภายใต้ชื่องาน ล่องสะเปาจาวละกอน ประจำปี 2549 ระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายนนี้ ที่บริเวณฝายน้ำแม่วังเฉลิมพระเกียรติ (เขื่อนยาง) ตามแบบฉบับพื้นเมือง โดยชาว จ.ลำปาง จะร่วมกันตกแต่งบ้านเรือนด้วยตุงและโคมตามแบบฉบับล้านนา พร้อมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าพื้นเมือง และจัดทำกระทงเป็นรูปเรือสำเภาเช่นขนบโบราณ
ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวถึงแผนงานในการฟื้นฟูประเพณีครั้งนี้ว่า เทศบาลต้องการวางรากฐานให้กระทงรูปเรือสำเภาเอกลักษณ์ประจำ จ.ลำปาง กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และพื้นฟูวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมให้ลูกหลานได้สืบทอดแล้ว ยังถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองลำปาง
งานล่องสะเปา ยังมีความน่าสนใจจากขบวนประกวดสะเปารถ สะเปาประดิษฐ์ การประกวดละอ่อนน้อยสะเปาคำ การตกแต่งเมืองด้วยประทีปโคมไฟล้านนา การละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ที่หาชมได้ยาก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีนาฏศิลป์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากประเทศเนปาลมาแสดงให้ชาวลำปางและนักท่องเที่ยวได้ชมฟรีตลอดงานอีกด้วย




ภาพที่ 7 ขบวนแห่งานล่องสะเปา...(ลอยกระทง) ของจังหวัดลำปางเจ้า



ภาพที่6


ภาพที่ 5


ภาพที่ 4

MORE : http://www.lampang108.com/wb/read.php?tid-20.html