ประวัติของภิกษุณี

กระทู้: ประวัติของภิกษุณี

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    ประวัติของภิกษุณี

    ประวัติของภิกษุณี

    โดย...พระปิฏกโกศล ( นิกร มโนกโร ป.ธ. ๙ )



    คำว่า ภิกษุณี หมายถึงผู้หญิงที่ได้รับการอุปสมบทหรือพระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เป็นบริษัทฝ่ายบรรพชิตคู่กับภิกษุ หญิงผู้จะบวชเป็นภิกษุณีต้องผ่านพิธีการรับเข้าหมู่อย่างเข้มงวดกวดขัน มีขั้นตอนและใช้เวลานาน โดยขั้นตอนแรกเปิดโอกาสให้หญิงผู้สมัครใจทดลองวิถีชีวิตนักบวช รักษาศีล ๑๐ ข้อ เรียกว่าสามเณรี พอถึงอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ให้รักษาอนุธรรม ๖ ข้อ[๑] อย่างเคร่งครัดตลอด ๒ ปี ในระหว่างนี้หากล่วงละเมิดศีลข้อใด ต้องเริ่มต้นรักษาใหม่ จนมีอายุครบ ๒๐ปีบริบูรณ์ เรียกว่า สิกขมานา จากนั้นเมื่ออายุครบกำหนดต้องได้รับความยินยอมจากภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้เธอบวชเป็นภิกษุณีต่อไป แล้วขอบวชจากสงฆ์สองฝ่าย ผู้ขอบวชต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน เช่นเป็นสตรีที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีพันธะใดๆ มีผู้ให้คำรับรอง มีบริขารพร้อม ในการบวชจะต้องทำต่อหน้าสักขีพยานหลายคนและได้รับเสียงสนับสนุน สนับสนุนเป็นเอกฉันท์ เมื่อบวชแล้วต้องรักษาศีล ๓๑๑ ข้อ ในการครองชีพ ภิกษุณีจัดเป็น พรหมจาริณี มีความเป็นอยู่ต่างจากผู้ครองเรือน ต้องปลงผมตัดเล็บไม่ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องของหอม มีเครื่องแต่งตัวโดยเฉพาะอย่างจำกัดเพียง ๕ ผืนย้อมน้ำฝาด ด้านที่อยู่อาศัย ต้องอยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่อยู่ภิกษุ มีชีวิตอยู่ง่ายๆ ใช้ปัจจัย ๔ เท่าที่จำเป็น ต้องเคารพเชื่อฟังภิกษุ ฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน ไม่ด่าว่าภิกษุ หากมีอธิกรณ์เกิดขึ้นจะต้องประพฤติมานัต เพื่อออกจากครุกาบัติจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย และต้องอยู่จำพรรษาปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
    ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นภายหลังบริษัทอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ล่วงพรรษาที่ ๑๕[๒] เมื่อเกิดภิกษุณีสงฆ์รวมเป็นบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ แม้ในระยะหลังจะไม่มีการกล่าวถึงภิกษุณีมากนัก แต่มีหลักฐานที่ศึกษาได้จากโบราณคดีและประวัติศาสตร์ระบุว่ามีภิกษุณี เช่นว่าหลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดีย พระสังฆมิตตาเถรี พะราชธิดาของพระอโศกมหาราช บวชเป็นภิกษุณีและได้เดินทางไปประกาศศาสนาที่ประเทศศรีลังกา

    ไม่มีการกล่าวถึงภิกษุณีมากนัก แต่มีหลักฐานที่ศึกษาได้จากโบราณคดีและประวัติศาสตร์ระบุว่ามีภิกษุณี เช่นว่าหลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดีย พระสังฆมิตตาเถรี พะราชธิดาของพระอโศกมหาราช บวชเป็นภิกษุณีและได้เดินทางไปประกาศศาสนาที่ประเทศศรีลังกา



    วิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี

    วิธีอุปสมบทในพระพุทธศาสนามี ๘ วิธี มีวิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี คือ ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา และทูเตนอุปสัมปทา[๓]



    ๑. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางปชาบดีโคตมี มีบันทึกไว้ว่า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ พระนางประชาบดีโคตมีเสด็จเข้าเฝ้าและทูลขออนุญาตให้สตรีออกบวชในพระธรรมวินัยได้ แต่ไม่ทรงอนุญาตทรงตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงพระเกศานุ่งห่มผ้ากาสายะเสียเอง ออกเดินทางพร้อมเจาหญิงศากยะจำนวนมากไปยังเมืองเวสาลี ได้มายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทและพระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากมาพบเข้า สอบถามทราบความแล้วจึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า แต่กระนั้นก็ยังถูกพระองค์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง ที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถบรรลุพระโสดาปัตติผลถึงพระอรหันต์ได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าได้ พระอานนท์อ้างเหตุผลนั้นทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระมาตุจฉาเคยเลี้ยงพระองค์มาในสมัยทรงพระเยาว์ จากนั้นพระอานนท์จึงขอให้สตรีออกบวชได้ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีจะต้องรับปฏิบัติครุธรรม ๘ ข้อ และถือว่าครุธรรม ๘ ข้อนี้ เป็นกรอุปสมบทของพระนาง[๔]
    <!-- / message --><!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ครุธรรม คือ ธรรมอันหนัก เป็นหลักปฏิบัติสำหรับนางภิกษุณีที่จะต้องปฏิบัติตลอดชีวิต

    มี ๘ ข้อ ได้แก่

    ๑. ภิกษุณีแม้บวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องกราบภิกษุแม้ผู้บวชในวันเดียว

    ๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้

    ๓. ภิกษุณีต้องไปสอบถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน

    ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจสงสัย

    ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย ฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๑๕ วัน

    ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา

    ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าปริยายไรๆ

    ๘. ภิกษุณีต้องไม่ว่ากล่าวภิกษุ แต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
    ๒. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา

    วิธีนี้ทรงมีพุทธานุญาตให้เป็นวิธีอุปสมบทของภิกษุณีโดยประกอบด้วยจตุตถกรรมวาจา ๒ ครั้ง คือ อุปสมบทในสำนักภิกษุครั้งหนึ่งจากนั้นไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีสงฆ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามพุทธานุญาตว่า ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย[๕] จึงจะถือได้ว่าเป็นภิกษุณีถูกต้องตามพุทธบัญญัติ

    สตรีผู้ปรารถนาบวชด้วยวิธีนี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้ปรารถนาจะต้องมีศรัทธาที่แน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ต้องมีความอดทนอย่างแรงกล้าทั้งกายใจจึงจะสามารถผ่านขั้นตอนการอุปสมบทวิธีนี้ได้ ซึ่งต้องอาศัยการเตรียมตัว ๒ ปี แยกเป็น ๔ ตอน คือ

    ๒.๑ ขั้นเป็นสามเณรี สตรีผู้ปรารถนาเข้ามาบวช ต้องได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ผู้หญิงเรียกว่า สามเณรี โดยมากอายุไม่ครบ ๒๐ รับการบรรพชาในสำนักภิกษุณีถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร[๖]

    ๒.๒ ขั้นเป็นสิกขมานา ต้องรักษาสิกขาบท ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี[๗] มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ นางสิกขมานาก็คือสามเณรีนั่นเอง แต่อายุถึง ๑๘ ปีแล้ว อีก ๒ ปี จะครบกำหนดอุปสมบท ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติคือ ยอมให้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ กำหนดอุปสมบท ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติคือ ยอมให้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ไม่มีเวลาล่วงเลย ตลอด ๒ ปีเต็ม ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่งต้องสมาทานตั้งต้นใหม่ตลอด ๒ ปี เมื่อรักษาไม่ขาดเลยครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จะสมมติให้อุปสมบทสิกขมานาได้นางสิกขมานานี้อยู่ในอันดับรองภิกษุณีลงมาแต่เหนือสามเณร

    ๒.๓ ขั้นขออุปสมบท สตรีผู้เป็นสิกขมานารักษาสิกขาสมมติ ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี ตามพระพุทธานุญาตและได้รับสมมติจากสงฆ์เพื่ออุปสมบทแล้ว จึงควรได้รับการอุปสมบทต่อไป ดังพุทธานุญาตว่า เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาผู้ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี[๘]

    ๒.๔ การขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธบัญญัติว่า เราอนุญาตให้ภิกษุบวชภิกษุณี[๙] ดังนั้น เมื่อผ่านการอุปสมบทจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์แล้ว ภิกษุณี (ปวัตตินี) จะพาเธอผู้เป็นอุปสัมปทาเปกขา ไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ต่อไป
    <!-- / message --><!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ๓. ทูเตนอุปสัมปทา[๑๐]

    วิธีนี้ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทอย่างเดียวกับวิธีอัฏฐวาจิกาทุกอย่าง ต่างแต่ผู้ปรารถนาจะบวชไม่สามารถไปรับอุปสมบทในสำนักของภิกษุได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีภัยอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้ต้องการจะบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ส่งนางภิกษุณีตัวแทนของสตรีผู้ได้รับอุปสมบทจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวไปสำนักภิกษุสงฆ์ ตัวแทนที่ทำหน้าที่เป็นทูตในการให้อุปสมบทนั้น จะต้องเป็นผู้ฉลาดสามารถที่จะสามารถทำกิจของตนดังกล่าวให้สำเร็จได้



    ภิกษุณีในพระพุทธศาสนา

    ความหมาย

    ภิกษุณี หมายถึง พระผู้หญิงหรือสตรีที่บวชในพระพุทธศาสนา ในนิกายเถรวาท รักษาศีล ๓๑๑ ข้อ ภิกษุณีมีสภาพแตกต่างจากผู้ครองเรือน มีชีวิตอยู่โดยอาศัยผู้อื่นเลี้ยงดูเช่นเดียวกับภิกษุ ภิกษุณีต้องปลงผม ตัดเล็บ ไม่ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องหอม ครองผ้าย้อมน้ำผาดเพียง ๕ ผืน อยู่อาศัยในอาวาสใกล้กับภิกษุ และรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน

    ภิกษุณี หมายถึง หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ
    (พระ,ธรรรปิฏก ป.อ.ปยุตฺโต,พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘)

    ภิกษุณี หมายถึง หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันไม่มีแล้ว (คณะผู้จัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ, พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์วัฒนาพานิช (พิมพ์ครั้งที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐)

    ภิกษุณี หมายถึง พระผู้หญิงของพระพุทธศาสนา เป็นบริษัทที่ ๒ ในบริษัท ๔ เป็นพระที่บวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ จากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์ รักษาสิกขาบท (ศีล) ๓๑๑ สิกขาบท( พันตรี ป.หลงสมบุญ, พจนานุกรมไทย-มคธ ฉบับสำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร อาทรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๐)

    ประวัติความเป็นมาของ “ปฐมภิกษุณี”

    พระบาลีคัมภ์จุลวรรค พระวินัยปิฏกแห่งภิกษุณีขันธกะและในพระบาลีคัมภีร์อังคุตตรนิกาย อัฏฐนิบาต สันธานวรรคที่ ๑ แห่งโคตมีสูตร มีเรื่องเล่าโดยพิสดารว่า

    หลังจากที่พระพุทธเจ้า ทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดาแล้ว ยังประทับอยู่ ณ วิหารนิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ

    วันหนึ่ง พระนางมหาปชาบดีโคตมี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ประทับยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทรงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอให้สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วเถิด พระเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามว่า “ดูก่อนพระนางโคตมี พระนางอย่าทรงพอพระทัยที่จะให้สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้เลย”

    พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้ทรงกราบทูลเป็นครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสห้ามอีกและพระนางจึงทรงกราบทูลเป็นครั้งที่ ๓ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสห้ามอีกเช่นเดียวกันเมื่อพระนางไม่ได้รับพระพุทธานุญาตให้สตรีบรรพชาใพระพุทธศาสนา ก็ทรงเป็นทุกข์เสียพระทัย มีพระพักตร์ไหลนองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกรรแสง พร้อมกับพลางถวายพระพรลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ต่อมาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม ในกรุงกบิลพัสด์ ตามพุทธประสงค์แล้ว จึงได้เสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลีและได้ทรงประทับ ณ กูฎาคารศาลา ในป่ามหาวันพระนครเวสาลี (บางแห่งเรียก ไพศาลี)

    ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี โปรดให้ปลงพระเกศาของพระนาง และทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ทรงตั้งเจตนาบรรพชาพร้อมกับนางสากิยาณีเป็นจำนวนมาก ได้เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปที่กูฎาคารศาลา ในป่ามหาวัน พระนครเวสาลี เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้ง ๒ พองพระกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี ทรงเป็นทุกข์เสียพระหทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอกวิหาร

    พระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีจึงถามว่า “ขอถวายพระพร เหตุไรพระนางจึงมีพระบาททั้ง ๒ ข้างพองขึ้นมีพระกายเกลือกกลั้วด้วยฝุ่นละอองทรงเป็นทุกข์เสียพระหทัยมีพระอัสสุชลไหลออกจากดวงพรพะเนตร เสด็จมาประทับยืนทรงกรรแสงอยู่ที่นี่ ขอถวายพระพร”

    พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้มีพระราชดำรัสตอบว่า “ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อนุญาตให้สตรีบรรพชา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเจ้าค่ะ”

    พระอานนท์เถระ ถวายพระพรว่า “ถ้าเช่นนั้น ขอพระนางจงทรงรออยู่ที่นี่สักครู่หนึ่ง จนกว่าอาตมาจะกราบทูลขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สตรีได้บรรพชาเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ขอถวายพระพร”

    หลังจากพระอานนท์กล่าวอย่างนั้นแล้ว จึงเจ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ สถานที่ที่สมควรแก่ตน แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้ง ๒ พอง พระกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี ทรงเป็นทุกข์ เสียพระหทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอกวิหาร ด้วยพระนางทรงน้อยพระหทัยว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบรรพชา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว “ขอประทานวโรกาส ขอให้สตรีได้บรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วเถิด พระเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า “อย่าเลยอานนท์ เธออย่าพอใจให้สตรีบรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้เลย”

    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  4. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    พระอานนท์เถระ ได้กราบทูลขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้สตรีได้บรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วเถิด พระเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามเช่นนั้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสห้าม พระอานนท์เถระ ก็ได้กราบทูลเหมือนอย่างนั้นเป็นครั้งที่ ๓ และพระองค์ก็ตรัสห้ามโดยนัยนั้นเหมือนกัน

    พระอานนท์เถระ คิดใคร่ครวญว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบรรพชาเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตที่ทรงประกาศไว้แล้ว ถึงอย่างไรก็ดีเราจะต้องกราบทูลขออนุญาตให้สตรีได้บรรพชา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วให้ได้” พอคิดใครครวญดังนี้แล้ว จึงกราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สตรีออกจากเรือนบรรพชาเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตที่ทรงประกาศไว้แล้ว อาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า “ดูก่อนอานนท์ สตรีได้บรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว ก็อาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้”

    พระอานนท์เถระ จึงกราบทูลขึ้นว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบรรพชาเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตที่ทรงประกาศไว้แล้ว สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมี

    พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีอุปการคุณมาก ทรงประคบประหงม เลี้ยงดู

    ทรงถวายข้าวป้อนและขีรธาราแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นับตั้งแต่พระชนนีของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสวรรคต ขอประทานวโรกาส ขอได้โปรดให้สตรีได้บรรพชาเถิด พระเจ้าข้า”

    “มีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสห้ามว่า อย่าเลยพระนางโคตมี (การบรรพชาของมาตุคาม) อย่าได้เป็นที่ทรงพอพระราชหฤทัยของพระนางเลยบริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ย่อมมี ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มิใช่หรือ

    “มีคำตอบว่า บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งปวงมี ๔ ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระราชประสงค์จะทรงกระทำพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ให้ทรงได้รับความยากลำบากเสียก่อนแล้วจึงทรงอนุญาต เพื่อทรงกระทำให้เห็นเป็นของสำคัญสตรีทั้งหลายจะได้คิดว่า บรรพชานี้พวกเราได้มาโดยยากแล้วจะรักษาบรรพชาไว้โดยชอบเพราะเราได้วิงวอนขอร้องแล้วมากครั้งจึงทรงอนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียดังนั้น”

    มีข้อความปรากฏ ในพระบาลีคัมภีร์จุลลวรรค พระวินัยปิฎก และพระบาลีคัมภีร์อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต กล่าวถึงเรื่องครุธรรม ๘ ประการ ต่อไปความว่า




    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงยอมรับ “ครุธรรม” (คือธรรมอันหนัก หรือหลักความประพฤติสำหรับภิกษุณีที่จะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต) ๘ ประการ เหล่านี้ จึงเป็นการอปสมบท คือ

    ๑. ภิกษุณีแม้บวชแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชในวันนั้น

    ๒. ภิกษุณีจะอยู่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้

    ๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถ และไปรับฟังโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

    ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ได้แก่ ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์

    ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่ายหนึ่งปักษ์(๑๕วัน)

    ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา ผู้ศึกษาธรรม ๖ ประการสิ้น ๒ ปีแล้ว

    ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่บริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ๘. ภิกษุณีจะว่ากล่าวภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้

    ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงยอมรักครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ ก็จะเป็นการอุปสมบทของพระนาง

    พระอานนท์เถระ จำครุธรรม ๘ ประการได้แล้ว จึงกลับไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี แล้วบอกพระนางว่า “ขอถวายพระพร พระนางทรงรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ ก็เป็นอันว่าพระนางได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีแล้ว ขอถวายพระพร”
    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    พระนางมหาปชาบดีโคตมี ตรัสตอบว่า “ข้าแต่พระอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเลยตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ของแต่งตัว อาบน้ำสระศีรษะแล้วได้ดอกบัว พวกดอกมะลิ หรือพวกดอกลำดวนแล้ว พึงประคองมือทั้งสองขึ้นรับตั้งไว้บนศีรษะด้วยความยินดี ฉันใด ดิฉันก็ยินดีรับครุธรรม ๘ ประการ ฉันนั้น เจ้าค่ะ”

    พระอานนท์เถระ ได้รับฟังดังนั้น จึงเข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว เป็นอันว่าพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอุปสมบทแล้ว พระเจ้าข้า”


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงรับครุธรรม ๘ ประการ ในกาลใด พระนางชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว ในกาลนั้น”

    ดังนั้น จึงนับได้ว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็น “ปฐมภิกษุณี” หรือ “ภิกษุณีรูปแรก” ในพระพุทธศาสนา





    มูลเหตุที่สตรีออกบวชในพระพุทธศาสนา

    ประเพณีโบราณของชาวอินเดียอย่างหนึ่ง ได้แก่ “การบวช” ถือว่าช่วงชีวิตของบุคคลหนึ่งที่เกิดในวรรณะสูง ๓ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ จะต้องได้ดำรงชีวิตให้ครบ ๔ ขั้น ที่เรียกว่า “อาศรม ๔“ ได้แก่

    ๑. ระยะถือพรหมจรรย์ เรียกว่า พรหมจารี

    ๒. ระยะครองเรือน เรียกว่า คฤหัสถ์

    ๓. ระยะออกไปอยู่ป่า เรียกว่า วนปรัสถ์

    ๔. ระยะสละสมบัติออกบวช เรียกว่า สันยาสี

    การประพฤติตามหลักอาศรม ๔ อย่างนี้ จะมุ่งเพียงฝ่ายชายเท่านั้น ฝ่ายหญิงนั้นได้ถูกห้ามศึกษาพระเวทซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ จึงทำให้สตรีไม่มีโอกาสออกบวช แต่ในพระพุทธศาสนาไม่ปิดโอกาสเช่นนั้น





    วิธีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธศาสนา ถือว่า การบวชเป็นความดี การบวช คือ การออกจากทุกข์ที่เกิดขึ้นและเป็นหนทางไม่ให้ความทุกข์ใหม่เกิดขึ้นอีก

    นักบวชในพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ภิกษุ” มีการดำเนินชีวิตคล้ายกับนักบวชประเภทสันยาสี คือ มีความเป็นอยู่เรียบง่าย นักบวชต้องปลงผมและหนวดเคราเกลี้ยงเกลา นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด นอนบนเตียงไม้ หรือแคร่ เที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิตบริโภคอาหารเพียงเพื่อเลี้ยงร่างกาย ให้มีกำลังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ การดำเนินชีวิตต้องอาศัยชาวบ้านนักบวชไม่สามารถหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ตามต้องการเมื่อต้องการของร้อนจะได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นจะได้ของร้อน ชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่ฝืดเคืองการบวชเป็นสิ่งกระทำได้ยากถึงแม้บวชแล้วความยินดีก็เป็นสิ่งกระทำได้ยากเช่นกันบวชเป็นเรื่องฝืนกระแสโลก
    <!-- / message -->



    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  6. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    อุปสัมปทา คือ การรับเข้าหมู่ หรือ วิธีบวชในพระพุทธศาสนา หมายถึง การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี วิธีอุปสมบท หรืออุปสัมปทาในพระพุทธศาสนามี ๘ วิธีคือ

    ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ โดยพระองค์ทรงเปล่งพระวาจาว่า
    “ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด “ เพียงเท่านั้นก็ชื่อว่าได้บวชแล้ว


    นอกจากนี้ หากหากมีผู้บวชคนเดียวใช้คำว่า “เอหิ ภิกขุ” แปลว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด

    จึงเรียกการบวชนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ผู้บวชมีหลายคนใช้คำว่า เอถ ภิกขโว ซึ่งก็ยังเรียกว่าการบวชแบบ“เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ดังเช่น อุปสัมปทาพระปัญจวัคคีย์ (บวชพระอัญญาโกณทัญญะ) ว่า เอหิ ภิกขุ และบวชพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ พระอัสสชิว่า เอถ ภิกขโว (วินย. ม.๔/๑๘–๑๙/๑๖–๑๗)

    ๒. ติสรณคมนปสัมปทา วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระสาวกจัดทำครั้งต้นพุทธกาล ซึ่งเวลานั้นคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก ทรงให้สาวกต่างรูปต่างเป็นอุปัชฌาย์บาชให้เป็นกุลบุตรผู้ประสงฆ์จะบวชต่อมาเปลี่ยนวิธีนี้ให้เป็นการบวชสามเณร

    ๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทำพิธีบวชให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวช และเป็นวิธีที่ใช้สืบกันมาจนถึงทุกวันนี้

    ๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้ทรงกระทำโดยการประทานโอวาทให้กุลบุตร ผู้ประสงค์จะบวชรับไปปฏิบัติวิธีนี้พระพุทธเจ้าประทานให้เป็นวิธีอุปสมบทของพระมหากัสสปะเพียงผู้เดียว

    ๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงทำด้วยการให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวชตอบปัญหาที่พระองค์ตรัสถาม เมื่อตอบปัญหาได้ก็เป็นอันว่าบวชแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าอนุญาตแก่
    โสปากสามเณร

    ๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้ที่พระพุทธทรงทำด้วยการให้ผู้ประสงค์จะบวชรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมี

    ๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา วิธีนี้เป็นวิธีบวชของภิกษุณี หมายถึง การบวชต้องกล่าววาจา ๘ ครั้ง คือ ทำญัตติจตุตถกัมมวาจา ๒ ครั้งฝ่ายละ ๔ ครั้ง กล่าวคือ จากฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑ ครั้ง และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์อีก ๑ ครั้ง

    ๘. ทูเตนอุปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงกระทำด้วยการให้ผู้แทนพระองค์ไปบวชแก่ผู้ที่ประสงค์จะบวช เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของนางคณิกา ชื่อ อัฑฒกาสี(วินัย.อ.๑/๔๕/๒๕๔)



    การให้อุปสมบทที่เป็นกรณีพิเศษนอกจากวิธีเหล่านี้ ใสฝ่ายภิกษุมีสามเณร ๒ รูป คือ สามเณร สุมนะกับสามเณรโสปากะ ได้บรรลุพระอรหัตผลขณะที่ท่านมีอายุ ๗ ปี ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุได้ในขณะนั้น เรียกวิธีบวชนี้ว่า ทายัชชอุปสัมปทา” (ธ.อ.๘/๙๙)



    วิธีอุปสมบทของภิกษุณี

    วิธีอุปสมบททั้ง ๘ วิธี ดังกล่าวแล้วข้างต้น มีวิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี ได้แก่

    ครุธรรม ปฏิคคหณูปสัมปทา ๑ อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา ๑ ทูเตนอุปสัมปทา ๑ ซึ่งจะศึกษาต่อไป

    ๑. ครุธรรมปฏิคคณูปสัมปทา

    วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดี ดังได้อธิบายไว้แล้วในข้อว่าด้วย “ประวัติความเป็นมาของปฐมภิกษุณี” สาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ กำกับไว้ ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระธรรมวินัย เหมือนคนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไม่ให้ไหลล้นออกไป จากการศึกษาพบว่า หากถือตามสภาพสังคมในสมัยนั้น พระองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวช แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถ โดยธรรมชาติที่จะบรรลุธรรมจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้

    การอุปสมบทด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการดังกล่าว ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก เพียงแต่ให้สตรีที่ต้องการอุปสมบทยอมรับว่า จะปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ อย่างเคร่งครัดจนตลอดชีวิต ก็เป็นอันว่าได้อุปสมบทเป็นในพระพุทธศาสนา วิธีนี้เป็นวิธีอุปสมบทสตรีในระยะแรก โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาท หรือครุธรรม ๘ ประการ คือ พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

    วิธีบวชด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา มีพระพุทธานุญาตให้เป็นการอุปสมบทแก่เจ้าหญิงศากยะ ซึ่งเป็นข้าราชบริพารของพระนางมหาปชาบดีโคตมี คือ ภายหลังจากที่พระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ทำการอุปสมบทเจ้าหญิงศากยะที่เหลือ ด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมวาจา หรือญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ส่วนกรรมวิธีในการอุปสมบทนั้นไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าจะมีวิธีการบวชอย่างเดียวกันกับวิธีอุปสมบทของราธพราหมณ์ คือ วิธีญัตติจตุตตกัมมวาจา เพราะสมัยนั้นเป็นระยะแรกที่ทรงมีพระพุทธานุญาตให้สตรีบวชได้จึงยังไม่มีการกำหนดแบบอย่างไว้โดยเฉพาะเพราะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

    การอุปสมบทด้วยวิธีนี้ เป็นการขออุปสมบทด้วยการประกาศขอความเห็นจากสงฆ์ ๓ ครั้ง รวมทั้งญัตติอีก ๑ ครั้ง เรียกอีกอย่างว่า “กรรมมีวาจาครบ ๔“เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้ามอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์ดำเนินการ ผู้อุปสมบทวิธีนี้ จะต้องมีพระอุปัชฌาย์และมีพระสงฆ์อื่น เป็นผู้ให้ความเห็นชอบ การอุปสมบทด้วยวิธีนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บวชราธพราหมณ์

    <!-- / message -->


    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  7. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ในพระไตรปิฎกบันทึกว่า สมัยที่พระสารีบุตรได้รับพระพุทธานุญาตให้อุปสมบทราธพราหมณ์พระสารีบุตรทูลถามว่า “จะให้พราหมณ์นั้นอุปสมบทอย่างไร” พระองค์จึงทรงตรัสว่า “ตั้งแต่วันนี้ไปเราห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรคมน์ซึ่งอนุญาตไว้แล้ว เราอนุญาตอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ ถึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา”

    การอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมวาจา หากเป็นสตรีก็ต้องเปลี่ยนคำตามลักษณะเพศ ดังนี้

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพระเจ้า นางนี้ชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของท่านชื่อนี้ หากสงฆ์มีความพรั่งพร้อม จงให้นางชื่อนี้ มีพระคุณเจ้าชื่อนี้เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบท นี้เป็นวาจาที่ประกาศให้สงฆ์รับทราบ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้ชื่ออย่างนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของท่านชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทนางชื่อนี้ มีพระคุณเจ้ารูปนี้เป็นพระอุปัชฌาย์ จงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นชอบ จงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนี้…..แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนี้….สงฆ์ได้อุปสมบทนางชื่อนี้ อันมีพระคุณเจ้ารูปนี้เป็นอุปัชฌาย์แล้ว เพราะสงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

    เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธีการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา ต่อมาเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นแบบแผน จึงได้เพิ่มคำกล่าวอุปสมบท การสอบถาม “อันตรายิกธรรม” การบอกนิสัย และการบอกอนุศาสน์ ดังที่ใช้อุปสมบทภิกษุอยู่ทุกวันนี้




    ๒. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา

    วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้เป็นวิธีอุปสมบทของภิกษุณี โดยประกอบญัตติจตุตถกัมมวาจา ๒ ครั้ง คือ อุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากนั้นไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีสงฆ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามพระพุทธานุญาต (วินัย.จูฬ.๗/๔๐๓/๒๓๔). ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย” จึงถือว่าเป็นภิกษุณีถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ

    สตรีผู้ปรารถนาจะบวชด้วยวิธีนี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้ปรารถนาจะบวชต้องมีศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา และต้องมีความอดทนอย่างแรงกล้าทั้งกายและใจจึงจะสามารถผ่านขั้นตอนการอุปสมบทด้วยวิธีนี้ได้ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการเตรียมตัว ๒ ปี แยกเป็น ๔ ขั้นตอน คือ

    ๒.๑ ขั้นเป็นสามเณรี

    สตรีผู้ปรารถนาจะเข้ามาบวช ต้องได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรผู้หญิงเรียกว่า “สามเณรี” โดยมากอายุยังไม่ครับ ๒๐ ปี รับการบรรพชาในสำนักภิกษุณีถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร ได้แก่

    ๑. งดเว้นจากการทำลายชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

    ๒. งดเว้นจากการถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

    ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์

    ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ

    ๕. งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

    ๖. งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

    ๗. งดเว้นจากการดูการฟ้อนรำขับร้อง และการประโคมดนตรี

    ๘. งดเว้นจากการลูบไล้ ทัดทรง ตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม

    ๙. งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ภายในยัดนุ่นสำลี

    ๑๐. งดเว้นจากการจับต้องเงินทอง(ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑).
    <!-- / message -->

    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  8. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    สิกขาบททั้ง ๑๐ ข้อ เป็นการปฏิบัติขั้นมูลฐาน เตรียมตัวสามเณรีไว้เพื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น เป็นการทดสอบจิตใจและความอดทนในระยะแรกของสตรีผู้ปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุ เพื่อให้คุ้นเคยกับวิถีชีวิตของนักบวชต่อไป

    ในภิกขุนีวิภังค์ มีพระพุทธบัญญัติว่า เราอนุญาตให้สักขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สตรีอายุ ๑๒ ปี ที่มีสามีแล้ว (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๐๙๕/๑๗๗). แสดงว่า สตรีที่ปรารถนาจะบวช หากมีครอบครัวแล้วต้องมีอายุอย่างน้อย ๑๒ ปี จึงจะบวชได้ ดังนั้น ผู้ปรารถนาจะบวช และมีอายุ ๑๒ ปีห่มผ้าเฉวียงบ่าเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ทำความเคารพ นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอสิกขาสมมติ ๓ ครั้ง

    (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๒๙/๑๗๘).

    ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าชื่อย่างนี้ มีอายุ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ต่อจากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

    ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อย่างนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อย่างนี้ มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ผู้มีอายุ ๑๒ ปี บริบูรณ์ นี้เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่ออย่างนี้ มีอายุ ๑๒ ปี บริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้มีอายุ๑๒ ปี จงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นชอบจงทักท้วง

    สงฆ์ใดให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ สงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

    จากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถจึงให้สามเณรีนั้นสมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ว่า “ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาทท คือ เว้นจากปาณาติบาต ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี จากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์ จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือสุราเมรัย จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”

    (วินัย.ภิกฺขุณี.๓/๑๐๙๖/๑๗๘).
    เมื่อได้สมาทานสิกขาทบ ๒ ข้อแล้ว สามเณรีนั้นชื่อว่า “สิกขมานา” หมายถึง “ผู้ที่กำลังศึกษาเพื่อเตรียมตัวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น” สิกขาทบ ๖ นี้ สิกขมานาต้องรักษาไม่ให้บกพร่องตลอดเวลา ๒ ปี จึงจะขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีได้ ในสารัตถทีปนี กล่าวว่า จริงอยู่ สามเณรี แม้มีพรรษา ๖๐ พรรษา ก็ยังต้องสมาทานสิกขาทบ ๖ข้อ ศึกษาอยู่นั่นเทียวโดยนัยมีอาทิว่า เราสมาทานไม่ล่วงละเมิดการเว้นจากปาณาติบาต ตลอด ๒ ปี เพราะว่าสิกขาบท ๖ ข้อนี้ การจะให้อุปสมบทสามเณรีผู้ไม่ได้สำเหนียกรักษาตลอด ๒ ปี หาควรไม่ (วินัย.ฎีกา.หน้า ๒๐๖) และเมื่อสิกขมานาผู้นั้น ได้ศึกษาครบ ๒ ปี ก่อนอุปสมบทต้องได้รับสมมติจากภิกษุสงฆ์เสียก่อนจึงจะขออุปสมบทได้ต่อไปดังพระบรมพุทธานุญาต (วินัย.ภิกขุนี. ๓/๑๑๐๑/๑๐๘). “เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่ตรีอายุ ๑๒ ปี บริบูรณ์ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แล้ว”

    ๒.๒ ขั้นเป็นสิกขามานา


    สตรีผู้ปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี ต้อรักษาสิกขาบททั้ง ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี มีอายุครับ ๑๘ ปีบริบูรณ์ นางสิกขมานา คือ “สามเณรี” นั่นเอง แต่อายุถึง ๑๘ ปีแล้วอีก ๒ ปี จะครับกำหนดอุปสมบทภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือ ยอมให้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ไม่มีเวลาล่วงเลย ตลอด ๒ ปีเต็ม ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทานตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี เมื่อรักษาไม่ขาดเลยครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จึงสมมติให้อุปสมบทสิกขมานาได้ นางสิกขมานานี้อยู่ในลำดับรองภิกษุณีลงมา เหนือสามเณรี

    สิกขมานา หรือ นางผู้กำลังศึกษา ห่มผ้าเฉวียงบ่าเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ทำความเคารพนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวขอสิกขาสมมติ หมายถึง ความตกลงยินยอมของภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้เธอผู้มีอายุ ๑๘ ปี บริบูรณ์ เริ่มรักษาสิกขาบท ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ก่อนจะได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป สิกขมานาพึงกล่าวต่อภิกษุณีสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

    ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าชื่ออย่างนี้ เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครับ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์
    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  9. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ต่อจากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถจะประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

    ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อย่างนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุครับ ๑๘ ปีบริบูรณ์ นี้เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ
    …สงฆ์ยอมให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีเต็ม แก่สามเณรีชื่อนี้ผู้มีอายุครับ ๑๘ ปี แม่เจ้ารูปใดเห็นชอบกับการให้สิกขาบทสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้มีอายุครับ ๑๘ ปี บริบูรณ์จงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นชอบ จงทักท้วง


    สงฆ์ได้ให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์สงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

    ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากปาณาติบาต ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี.. จากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์ จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือสุราเมรัย.จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลไม่ล่วงละเมิดตลอด๒ ปี (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๑๒๕/๑๘๙)

    เมื่อได้สมาทานสิกขาบทได้ทั้ง ๖ ข้อแล้ว สามเณรีนั้นชื่อว่า “สิกขมานา” หมายถึง ผู้กำลังศึกษาเพื่อเตรียมตัวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้นไป สิกขาบท ๖ ข้อนี้ สิกขมานาจะต้องรักษาไม่ให้บกพร่องตลอดเวลา ๒ ปี หากล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องเริ่มสมาทาน และนับเวลาปฏิบัติกันใหม่ ไปจนครบเวลา ๒ ปี จึงจะขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีได้



    เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงวางกฏเกณฑ์ไว้เช่นนี้

    ๑.เพื่อคัดเลือก และทดสอบสตรีผู้ปรารถนาจะบวชว่า จะมีจิตใจเข้มแข็งจริงจังเพียงใด เมื่อเข้ามาบวชแล้วจะสามารถอดทนความทุกข์ยาก ตลอดจนข้อปฏิบัติอื่นๆ-ได้หรือไม่ เพราะทรงตระหนักดีถึงสภาวะจิตของสตรีว่า มีความอ่อนไหวและอดทนต่อความลำบากได้ยาก

    ๒. เพื่อฝึกฝนอบรมผู้จะเข้ามาเป็นภิกษุณีให้มีความรู้ขั้นมูลฐาน จะได้มีความเฉลียวฉลาด เมื่อได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีแล้ว เพราะในช่วงที่เป็นนางสิขมานา ๒ ปี ต้องอยู่ใกล้ชิดกับนางภิกษุณีอื่นๆ จึงเป็นการเรียนรู้สมณจริยา และข้อวัตรปฏิบัติอย่างอื่นด้วย

    ๓. เพื่อป้องกันสตรีมีครรภ์ หรือมีบุตรอ่อนยังดื่มนมอยู่เข้ามาอุปสมบท จะได้ไม่ต้องคลอดและเลี้ยงดูบุตรในระหว่างเป็นภิกษุณี ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ประชาชนว่ากล่าวติเตียนได้ว่า มีสามี หรือประพฤติไม่เหมาะสมกับความเป็นสมณะ อันเป็นสามเหตุแห่งความเสื่อมเสียในพระพุทธศาสนา (ภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปะ มีครรภ์ก่อนบวช แต่นางไม่ทราบนางได้ไปบวชในกลุ่มภิกษุณีฝ่ายพระเทวทัต จึงเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น คือ คลอดบุตรขณะบวชเป็นภิกษุณี ถูกพระเทวทัตขับไล่ต้องไปอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ทรงวินิจฉัย จนเรื่องราวสงบลง.ธ.อ.๖/๑๑)




    ๔.เพื่อให้ภิกษุณีเกิดความหวงแหนในความเป็นสมณะองตน จะได้ไม่ต้องประพฤติเสียหายอันเป็นอันตรายต่อเพศพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก เพราะธรรมดาสิ่งที่ได้มายากย่อมจะมีคุณค่าสูง

    ๕. เพื่อป้องกันไม่ให้สตรีเข้ามาอุปสมบทมากจนเกิดไป อีกทั้งยังป้องกันการปลอมแปลงเข้ามาบวชอีกด้วย เสมอ บุญมา, ภิกษุณีในพระพุทธศาสนาสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติปีที่๑ มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔)

    “จากการศึกษาในสังคมอินเดียโบราณ พบว่า ประเพณีการแต่งงานของหญิงไม่มีกำหนดอายุที่แน่นอน บางรายพ่อกับแม่ของแต่ละฝ่ายก็อาจจองกันไว้แล้วตั้งแต่เด็ก จึงปรากฏว่า คนอินเดียจับคู่แต่งงานกันตั้งแต่เด็ก หรือตั้งแต่อายุยังเยาว์เลยทีเดียว

    ในสมันตปาสาทิกา กล่าวถึงเด็กอายุ ๑๐ ปี ที่แต่งงานแล้วปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี จะต้องรักษาสิกขาสมมติอีก ๒ ปี จนอายุครับ ๑๒ ปี จึงขอบวชได้ ถ้ามีอายุ ๑๑ ปี ก็ต้องอยู่รักษาสิกขาสมมติอีก ๒ ปี จนถึงอายุ ๑๓ ปี หรือถ้ามีอายุ ๑๒–๑๓-๑๔–๑๕–๑๖–๑๗–๑๘ ปี ก็ต้องอยู่รักษาสิขาสมมติคนละ๒ปี จนมีอายุครับ๑๔–๑๕–๑๖–๑๗–๑๘–๑๙–๒๐ปีซึ่งทุกรายจะต้องอยู่รักษาสิกขาสมมติคนละ๒ ปี

    จากการศึกษาพบว่าหญิงที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุณีครั้งพุทธกาลมี ๒ พวก คือ

    ๑. พวกหญิงโสดมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ อยู่รักษาสิขาบท ๖ ข้อ อีก ๒ ปี จนมีอายุ ๒๐ ปี จึงขออุปสมบทใหม่ต่อไปได้

    ๒. พวกหญิงที่มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี แต่มีสามี ปรารถนาจะบวชก็ต้องอยู่รักษาสิขาบท ๖ ข้อ จนครบ ๒ ปี แล้วจึงบวชต่อไปได้

    “หญิงที่มีสามีอายุ ๑๒ ปี ถือว่า เป็นผู้มีความรับผิดชอบในครอบครัวมาแล้ว สามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนหญิงโสดกำหนดอายุไว้ ๑๘ ปี บริบูรณ์ ต้องอยู่รักษาสิกขาบท ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี จนมีอายุครับ ๒๐ ปี บริบูรณ์ จึงจะขอสิกขาสมมติแล้วอุปสมบทต่อไปได้ แต่หญิงอายุ ๑๒ ปี ที่ยังโสดไม่อาจขอรักษาสิกขาบท ๖ ข้อ จนครบเวลา ๒ ปี แล้วขอบวชต่อไปได้ เพราะมีพุทธบัญญัติห้ามหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี บวช หากพระอุปัชฌาย์(ปวัตตนี)ให้หญิงอายุไม่ถึง ๒๐ ปี บวชมีโทษ เธอผู้บวชถือว่าเป็นอภัพพบุคคล คือ คนที่ไม่ควรให้บวช เรียกว่า วัตถุวิบัติ” (วินัย.ภิกขุนี. ๓/๑๑๒๐/๑๘๖).
    <!-- / message -->

    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  10. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ๒.๓ ขั้นขออุปสมบท

    สตรีผู้เป็นสิกขมานารักษาสิกขาสมมติ ๖ ข้อ ครับ ๒ ปี ตามพระพุทธานุญาต และได้รับสมมติจากสงฆ์เพื่ออุปสมบทแล้วจึงสมควรได้รับการอุปสมบทต่อไปดังพระบรมพุทธานุญาตว่า

    “เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานา ผู้ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครับ ๒ ปี”

    อนึ่งในการอุปสมบทของภิกษุณี ผู้บวชจะต้องมีปวัตตินีหรือพระอุปัชฌาย์ที่ฉลาดสามารถ รอบรู้ในพระธรรมวินัย มีคุณสมบัติตามพระพุทธบัญญัติคือ มีพรรษาครับ ๑๒ ปี ได้รับสมมติ จากภิกษุณีสงฆ์ให้บวชกุลธิดาได้

    ส่วนข้อปฏิบัติอื่นๆ ของปวัตตินีในการให้อุปสมบท อาทิ ห้ามบวชหญิงโสดที่มีอายุไม่ถึง ๑๒ ปี ห้ามบวบให้หญิงมีครรภ์ ห้ามบวชหญิงที่มีลูกอ่อน ห้ามบวชให้หญิงทุกๆปี อนุญาตให้บวชได้ปีละ๑ คน ห้ามบวชหญิงที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต ห้ามบวชหญิงที่เป็นโรคน่ารังเกียจ ห้ามบวชให้หญิงที่เป็นโจร ห้ามบวชสิกขมานาผู้ไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี และต้องได้รับสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนจึงบวชให้ได้ หรือถ้าจะบวชหญิงมีอายุ๑๒ปีที่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปีแล้ว ก็ต้องได้รับสมมติจากสงฆ์เช่นเดียวกันเมื่อให้การบวชต่อสหวีชนีหรือสัทธิวิหารินีแล้วต้องดูแลเอาใจใส่ให้การศึกษาอบรมเป็นเวลา ๒ ปี (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๑๒๐/๑๘๖. กล่าวถึงหน้าที่ของปวัตตินีที่พึงปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก)

    สิกขมานาห่มผ้าเฉวียงบ่า เข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ทำความเคารพ นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอ
    “วุฎฐานสมมติ” คือ “พ้นจากภาวะที่เป็นสิกขมานา” ต่อหน้าภิกษุณีสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

    ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอดเวลา ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์

    ต่อจากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกัมมวาจาว่า

    ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี แล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ผู้ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปีแล้ว นี้เป็นคำที่ประกาศให้สงฆ์ทราบ สงฆ์ก็จะได้ให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี แล้ว แม่เจ้ารูปใด เห็นชอบกับการให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อครบ ๒ ปี แล้ว จงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นชอบจงทักท้วง.

    สงฆ์ใดให้วุฏฐานสมมุติแก่สิขามานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ๒ ปีแล้ว พระสงฆ์เห็นชอบจึงนิ่ง ข้าวพระเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้
    เมื่อนางสิกขามานาได้วุฏฐานสมมุติจากภิกษุณีสงฆ์แล้ว จะต้องยึดถือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่งเป็น

    ปวัตตินี ได้แก่ เป็นผู้รับรองให้การอุปสมบท สิกขามานาผู้มีปวัตตินีแล้ว เรียกว่า “อุปสัมปทาเปกขา”หมายถึง “ผู้มุ่งการอุปสมบท”ในการอุปสมบทของอุปสัมปทาเปกขาปวัตตินีจะบอกบาตรจีวรแก่เธอแล้วบอกให้เธอออกไปพ้นเขตสงฆ์ จากนั้น ภิกษุนี้ผู้ฉลาดสามารถกล่าวสมมติตนเพื่อไปซักซ้อมถามอันตรายิกธรราม แก่อุปสัมปทาเปกขา ดังพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตเพื่อกล่าวสอนในที่แห่งหนึ่งแล้ว จึงถามอันตรายิกธรรม ในท่ามกลางสงฆ์” (วิ.จูฬ. ๗/๔๒๓/๒๕๕)

    ภิกษุณีที่ได้รับสมมติให้เป็นผู้ซักซ้อมอันตรายิกธรรม เรียกว่า “อนุสาวิกา” จะกล่าวสมมติตนว่า“ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง ข้าพเจ้าจักซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้” จากนั้น ภิกษุณีนั้นจะออกไปหาอุปสัมปทาเปกขาเพื่อทำการสอนว่า

    สิกขมานาชื่อนี้ เธอจงฟังนะ เวลานี้เป็นเวลาที่เธอต้องพูดตามสัตย์ เมื่อถูกถามท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เป็นจริง ถ้าเธอมีก็ตอบว่ามี ถ้าไม่มีก็จงตอบว่าไม่มี เธออย่าละเลย ภิกษุณีทั้งหลายจะถามเธออย่างนี้ว่า เธอเป็นคนที่ไม่ใช่ผู้ไม่มีอวัยวะเพศหรือ เป็นคนไม่ใช่สักแต่ว่ามีอวัยวะเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ที่ปราศจากโลหิต (ประจำเดือน) เป็นประจำหรือ ไม่ใช่ผู้มีโลหิตหรือ ไม่ใช่ผู้มี่มีผ้าซับในเสมอหรือ ไม่ใช่ผู้ที่มีน้ำมูตร(ปัสสาวะ) กะปริบกระปรอยหรือ ไม่ใช่ผู้ที่มีหงอนหรือ ไม่ใช่หญิงกระเทยหรือ ไม่ใช่หญิงคล้ายชายหรือ ไม่ใช่หญิงมีมรรคระคนกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ เธอเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคมองคร่อ(คล้ายโรคหืด) โรคลมบ้าหมู เธอเป็นหญิงมนุษย์หรือเป็นสตรีหรือ เป็นไทแก่ตัวเองหรือ มีหนี้สินหรือไม่ เป็นสตรีของพระราชาหรือไม่ ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาสามีแล้วหรือ มีอายุครับ ๒๐ ปีแล้วหรือ มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

    พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติระเบียบในการบวช ที่เรียกว่า “อันตรายิกธรรม” ไว้เป็นเกราะชั้นหนึ่งก่อน อันตรายิกธรรมเริ่มต้นที่การอุปสมบทของภิกษุแล้วประยุกต์ใช้กับภิกษุณี เหตุที่ต้องมีการวักถามกันก่อนภายนอกสงฆ์นั้น สืบเนื่องจากสมัยนั้นผู้บวชเกิดละอายเก้อเขิน ไม่อาจตอบคำถามบางอย่างได้ตามจริง พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ไปถามกันก่อนเป็นการส่วนตัว ถึงกระนั้น บางคนยังละอายอยู่พอถูกซักถามท่ามกลางสงฆ์ก็ตอบไม่ได้ หรือตอบไม่ตรงตามความจริง ดังนั้น จึงมีพระพุทธานุญาตให้ไปซักถามกันภายนอก ซึ่งห่างไกลจากหมู่ก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาถามท่ามกลางสงฆ์อีก

    เมื่ออนุสาวิกาออกไปซ้อมถามอันตรายิกธรรมแก่อุปสัมปทาเปกขาเสร็จ จึงกลับประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกัมมวาจาว่า (วิ.จูฬ. ๗/๔๒๔/๒๕๖-๒๕๗) “ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานามีชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ข้าพเจ้าสั่งสอนแล้ว หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง เธอควรเข้ามาได้”จากนั้น อนุสาวิกาเรียกอุปสัมปทาเปกขาเข้ามาท่ามกลางสงฆ์ ให้ทำความเคารพภิกษุณีในท่ามกลางสงฆ์แล้ว นั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำขออุปสมบทต่อสงฆ์ ๓ ครั้งว่า “ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด”

    <!-- / message --><!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี