ประวัติของภิกษุณี

กระทู้: ประวัติของภิกษุณี

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ต่อจากนั้น อนุสาวิกาจะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกัมมวาจาว่า

     “ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานามีชื่อย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเกปกขาชื่อนี้”

    จากนั้น อนุสาวิกาเริ่มถามอันตรายิกธรรมเหมือนกับที่ได้ซักซ้อมมาก่อนภายนอกสงฆ์ เมื่อถามอันตรายิกธรรมเสร็จ จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจาว่า

    ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย มีบาตรจีวรครบบริบูรณ์ อุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น
    ปวัตตินี ขออุปสมบทต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้อุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้ อันมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีอุปสมบท นี้เป็นวาจาที่ประกาศให้สงฆ์ทราบ…. สงฆ์ใดให้การอุปสมบทแก่อุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้ อันมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี เพราะสงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

    เมื่อเสร็จการสวดญัตติกัมมวาจา เป็นอันได้ชื่อว่า “เอกโตอุปสัมปทา” คือ “ผู้ได้รับอุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียว” ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุณีโดยสมบูรณ์ ดังพระพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้ผู้บวชโดยสงฆ์ฝ่ายเดียวในภิกษุณีสงฆ์ ได้บวชในภิกษุสงฆ์ต่อไป” ต้องดำเนินการอุปสมบทในชั้นต่อไปจากภิกษุสงฆ์

    ๒.๔ การขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์

    มีพระพุทธบัญญัติว่า“เราอนุญาตให้ภิกษุบวชภิกษุณี” ดังนั้น เมื่อผ่านการอุปสมบทจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์แล้ว ภิกษุณี(ปวัตตินี)จะพาเธอผู้เป็นอุปสัมปทาเปกขาไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ต่อไป พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มผ้าเฉวียงบ่า ทำความเคารพภิกษุทั้งหลาย นั่งคุกเข่า ประนมมือกล่าวคำขออุปสมบทต่อภิกษุสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

    ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ เป็นผู้ได้รับการอุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด

    ต่อจากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถจะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจาว่า



    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางผู้มีชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ได้รับการอุปสมบทแล้วจากสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางผู้นี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีขออุปสมบทต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้นางผู้มีชื่อนี้มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีอุปสมบท นี้เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ.. สงฆ์ได้ให้อุปสมบทนางผู้มีชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี เพราะสงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

    เมื่อจบการสวดญัตติจตุตถกัมมวาจา อุปสัมปทาเปกขาก็ได้ชื่อว่าสำเร็จเป็นองค์ภิกษุณี ตามประพุทธญัตติทุกอย่าง จากนั้น จึงวัดเงาแดด บอกฤดู บอกส่วนแห่งวัน บอกจำนวนสงฆ์ที่รวมประชุมเพื่อให้รู้ว่า การอุปสมบทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะที่เงาแดดอยู่ในระยะเท่าใด (การอุปสมบทของภิกษุในปัจจุบันใช้ “นาฬิกา” แทนการวัดเงาแดด) อยู่ในฤดูไหน อยู่ในส่วนแห่งวัน คือ เช้า สาย บ่าย และเพื่อรู้จำนวนสงฆ์ที่ประชุมให้อุปสมบท ต่อจากนั้น สงฆ์พึงมอบให้ภิกษุณีที่พามานั้นบอกอนุศาสน์คือ หลักสำคัญที่ภิกษุณีผู้บวชใหม่จะต้องเรียนรู้ เรียกว่า “นิสัย” และ “อกรณียกิจ”

    ดังพระพุทธานุญาตที่ตรัสว่า“พึงบอกนิสัย ๓ อย่าง และอกรณียกิจ ๘ อย่าง แก่ภิกษุณีนี้”

    นิสัย ได้แก่ สิ่งที่ภิกษุณีจะต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติมี ๓ อย่าง คือ

    ๑. บรรพชิตต้องอาศัยโภชนะ คือ อาหารที่หามาได้ด้วยลำแข้ง พึงอุตสาหะในข้อนี้ตลอดชีวิต

    ๒. บรรพชิตต้องอาศัยผ้าบังสุกุลจีวร พึงอุตสาหะในข้อนี้ตลอดชีวิต

    ๓. บรรพชิตต้องอาศัยน้ำมูตรเน่า พึงอุตสาหะในข้อนี้ตลอดชีวิต

    นิสัย ๓ ของภิกษุณี เหมือนนิสัยของภิกษุ ต่างแต่ว่านิสัยของภิกษุมี ๔ อย่าง ภิกษุณีไม่มีการอยู่โคนต้นไม้เหมือนภิกษุ ทั้งก็เพื่อสวัสดิภาพของภิกษุณีเอง
    <!-- / message -->

    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    อกรณียกิจ ได้แก่ กิจที่บรรพชิตไม่พึงทำ มี ๘ อย่าง คือ

    ๑. ไม่พึงเสพเมถุน คือ การร่วมประเวณี

    ๒. ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้

    ๓. ไม่พึงทำลายชีวิตมนุษย์ให้ตกล่วงไป

    ๔. ไม่พึงอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน

    ๕. ไม่พึงมีความกำหนัดยินดีในการลูบคลำจับต้อง

    ๖. หากรู้ว่า ภิกษุณีรูปใดเป็นอาบัติปาราชิก ต้องโจทด้วยตนเองหรือบอกแก่หมู่คณะ

    ๗. ไม่พึงประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ขับออกจากพระธรรมวินัย

    ๘. ไม่พึงมีความกำหนัดยินดีกับบุรุษผู้มีความกำหนัดยินดี เช่น จับมือ จับชายผ้ายืนด้วยกัน สนทนาด้วยกันเข้าสู่ที่มุงบังทอดกายแก่บุรุษนั้น

    (กรณียกิจ คือปาราชิก ๘ ของภิกษุณีวินัย.ภิกขุนี๓/๑-๖๗๔/๑-๑๔).

    เมื่อบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ เสร็จแล้ว ก็เป็นอันสำเร็จการให้อุปสมบทด้วยวิธี “อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา”

    ๓. ทูเตนอุปสัมปทา

    วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทอย่างเดียวกับวิธีอัฏฐวาจิกาทุกอย่าง ต่างแต่ว่าผู้ปรารถนาจะบวชไม่สามารถจะเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในสำนักของภิกษุได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้ต้องการจะบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

    ให้ส่งภิกษุณีตัวแทนของสตรีผู้ได้รับอุปสมบทจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวไปสำนักของภิกษุสงฆ์ตัวแทนซึ่งทำหน้าที่เป็นทูตในการให้อุปสมบท จะต้องเป็นผู้ฉลาดสามารถที่จะทำกิจของตนกล่าวให้สำเร็จได้ เมื่อผู้เดินทางไปถึงสำนักภิกษุณีสงฆ์แล้ว แจ้งความจำนงให้ทราบเมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกันจึงกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

    ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาแม่เจ้าชื่อนี้ ได้รับการอุปสมบทแล้วจากสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางผู้มีชื่ออย่างนี้ ขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด


    วิธีอุปสมบทด้วยทูต พระพุทธเจ้า ทรงมีพระพุทธานุญาตให้อุปสมบทแก่นางคณิกาคนหนึ่ง ชื่อ “อัฑฒกาลี” นางได้อุปสมบทในสำนักงานภิกษุณีแล้ว ปรารถนาจะเดินทางไปขอบวชในสำนักภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป นักเลงในย่านในจึงคอยดักหวังประทุษร้าย นี้เป็นสาเหตุให้มีการอุปสมบทโดยส่งตัวแทน

    จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา เมื่อประกาศจบแล้วจึงวัดเงาแดด บอกฤดู บอกส่วนแห่งวัน นับจำนวนสงฆ์ที่ประชุมในการอุปสมบทนั้น แล้วส่งผู้เป็นทูตให้เดินทางกลับไปบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีที่ได้รับการอุปสมบทใหม่ เท่านี้จึงเป็นอันเสร็จพิธีการให้อุปสมบทโดยใช้ทูต ดังพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้อุปสมบทโดยทูตได้บ้าง”







    สาเหตุการออกบวชของภิกษุณี

    จากการศึกษาถึงสาเหตุแห่งการออกบวชของภิกษุณีจำนวน ๗๓ รูป พบว่าออกบวชเพราะสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น บวชเพราะเลื่อมใสพระพุทธเจ้าก็มี เพราะฟังธรรมก็มี เพราะสาเหตุอื่นๆก็มี ซึ่งได้แก่ ความยุ่งยากในชีวิตครับครัว เบื่อชีวิตคฤหัสถ์ ออกบวชเพราะญาติ เป็นต้น

    เครื่องนุ่งห่มของภิกษุณี

    ในพระวินัยปิฎก แห่งภิกษุณีขันธกะ ได้กล่าวถึงเครื่องนุ่งห่มพระภิกษุรีว่า มี ๕ อย่าง คือ

    ๑. ผ้าสังฆาฏิ ผ้าซ้อนนอก

    ๒. ผ้าอุตราสงค์ จีวร คือ ผ้าห่ม

    ๓. อันตรวาสก สบง คือ ผ้านุ่ง

    ๔. ผ้ารัดอก

    ๕. ผ้าผลัดอาบน้ำ

    ศีลของภิกษุณี

    ในพระบาลีคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ แห่งพระวินัยปิฎก กล่าวถึงศีล (วินัย) ของภิกษุณีว่ามี



    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    ๓๑๑ สิกขาบท โดยแบ่งออกเป็น ๗ อย่าง คือ

    ๑. ปาราชิก มี ๔ สิกขาบท

    ๒. สังฆาทิเสส มี ๑๗ สิกขาบท

    ๓. นิสสัคคียปาจิตตีย์ มี ๓๐ สิกขาบท

    ๔. ปาจิตตีย์ มี ๑๑๖ สิกขาบท

    ๕. ปาฏิเทสนียะ มี ๖ สิกขาบท

    ๖. เสขิยวัตร มี ๗๕ สิกขาบท

    ๗. อธิกรณสมถะ มี ๗ สิกขาบท

    ในศีล ๓๑๑ สิกขาบทของนางภิกษุณีนั้น เป็นของนางภิกษุณีแท้ๆ เพียง ๑๓๐ สิกขาบท ส่วนอีก ๑๘๑ สิกขาบท นำมาจากศีล ๒๒๗ สิกขาบทของภิกษุ เหตุที่นำมา ๑๘๑ สิกขาบท ก็เพราะได้เลือกเฉพาะที่ใช้กันได้ทั้งภิกษุและภิกษุณี อันใดที่เป็นของเฉพาะภิกษุแท้ๆ ก็จะไม่นำมาใช้สำหรับภิกษุณีดูจากการเปรียบเทียบ ดังนี้

    ชื่อ ของภิกษุณี นำของภิกษุมาใช้ รวม

    ปาราชิก ๔ ๔ ๘

    สังฆาทิเสส ๑๐ ๗ ๑๗

    นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๑๒ ๑๘ ๓๐

    ปาจิตตีย์ ๙๖ ๗๐ ๑๑๖

    ปาฏิเทสนียะ ๘ - ๘

    เสขิยวัตร - ๗๕ ๗๕

    อธิกรณสมถะ - ๗ ๗

    รวมทั้งสิ้น ๑๓๐ + ๑๘๑ = ๓๑๑
    ภิกษุณีในประเทศไทย

    “…..ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีป ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของพระเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน ภิกษุณีสงฆ์ เจริญรุ่งเรื่องในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไปด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์




    คำอธิบาย

    พระไตรีปิฎก จะแจงเล่ม ข้อ หน้าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น วินย.จูฬ.๗/๔๐๓/๒๓ หมายถึงวินัยปิฎก จูฬวรรค เล่มที่ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๒๓๔

    อรรถกถา จะแจ้งเล่มหน้าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ธ.อ.๑/๑๒๖ หมายถึง ธัมมปทัฏฐกถา เล่ม ๑ หน้า ๑๒๖



    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  4. *8q* said:

    Re: ประวัติของภิกษุณี

    บรรณานุกรม



    พระพุทธโฆษาจารย์ สมันตปาสาทิกา นาม วินัยอัฏฐกถา ปฐโม ภาโค มหาวิภังควัณณนา กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๑๕

    พระธรรมปิฏก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๘

    พระสังเวย ธัมมเนตติโก ภิกษุณีกับการบรรลุอรหัตผล กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗

    สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหา-

    มกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๓๙

    พันตรี ป. หลงสมบุญ พจนานุกรมไทย-มคธ ฉบับสำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร อาทรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๐

    จำเนียร ทรงฤกษ์ ชีวประวัติพุทธสาวิกา ฉบับสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว กรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๑๕

    คณะผู้จัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์วัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐





    --------------------------------------------------------------------------------

    [๑] อนุธรรมคือสิกขาบท ๖ ข้อ ที่สามเณรีต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอด ๒ ปี ได้แก่ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ๒. ไม่ลักทรัพย์ ๓. ประพฤติพรหมจรรย์ ๔.ไม่พูดเท็จ ๕.ไม่ดื่มสุราเมรัย ๖.ไม่บริโภคอาหารเวลาวิกาล

    ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ เพราะประพฤติสิกขาจริยวัตร เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะสมญา เพราะปริญญา เพราะความหมายว่าเป็นเอหิภิกษุณี เพราะเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมณ์ เพราะเป็นผู้เจริญ เพราะเป็นพระเสขะ เพราะเป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบแก่ฐานะ (วินย.ภิกฺขุนี.๓/๖๕๘/๔)


    [๒] ในมธุรัตถวิลาสินีแสดงลำดับการจำพรรษาของพระพุทธเจ้าว่าในพรรษาที่ ๑๕ ทรงจำพรรษาที่นิโครธารามเมืองกบิลพัสดุ์. (พุทธ.อ.หน้า ๕)

    การจัดลำดับบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา จัดภิกษุณีอยู่ในอันดับรองจากภิกษุ เพราะอยู่ฝ่ายบรรพชิต แต่ถ้าจัดตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังภิกษุณีจะจัดอยู่ในอันดับสุดด้าย เพราะบริษัทนี้เกิดขึ้นในอันดับสุดท้ายและเกิดขึ้นด้วยความยากลำบากไม่เหมือนบริษัทอื่น ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพุทธบริษัทผู้ที่ทำหน้าที่จะทำหน้าที่สืบอายุพระพุทธศาสนาว่ามี ๔ จำพวก ได้แก่ พระสาวก พระสาวิกา อุบาสก และอุบาสิกา ในฝ่ายบรรพชิตคือสาวกกับสาวิกา ต้องเป็นพระเถระ หรือพระเถรี ทั้งมีวัยปูนกลางและวัยนวกะ มีความรู้เชี่ยวชาญฝึกฝนอบรมตนมาแล้วอย่างดี และสามารถปราบปรับวาทะคือข้อโต้แย้งจากฝ่ายตรงข้าม ในฝ่ายคฤหัสถ์คือ อุบาสกกับอุบาสิกาต้องเป็นทั้งประเภทพรหมจารีและพรหมจาริณี ที่มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรพชิต หลักฐานนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า พุทธบริษัทผู้จะสืบอายุพระพุทธศาสนาบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกได้นั้น นอกจากมีคุณธรรม มีความประพฤติอันเป็นคุณสมบัติภายในตนอย่างดีแล้ว จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลักคำสอนฝ่ายตนเองจนสามารถสอนคนอื่นได้ เอาชนะการรุกรานทางหลักธรรมจากลัทธิศาสนาอื่นๆ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นปัจจัยให้พระสาวก ต้องมีความรู้ความชำนาญในหลักลิทธิศาสนาและหลักวิชาอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย หากไม่ได้ศึกษามาก่อนต้องมาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง. (ที.ปา.๑๑/๑๗๕/๑๐๘).

    [๓] วินัย.อ.๑/๔๕/๒๕๔

    [๔] วินัย.จูฬ.๗/๔๐๒/๒๓๑,องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๕๑/๒๒๗

    [๕] วินัย.จูฬ.๗/๕๐๓/๒๓๔

    [๖] ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑

    [๗] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส, วินัยมุข เล่ม ๑ , หน้า ๑๖๗

    [๘] “อนุชานามี ภิกฺขเว ทฺว วสฺสานิ ฉสุ ธมฺเมสุ สิกฺขิตสิกฺขาย วุฏฺฐานสมฺมตึ ทาตํ” (วินย.ภิกฺขุนี.๓/๑๐๘๔/๑๗๓)



    [๙] “อนุชานามิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนิโย อุปสมฺปาเทตํ”(วินย.จูฬ.๑/๔๒๔/๒๕๘)

    [๑๐] วินย.อ.๑/๔๕/๒๕๔.



    http://www.agalico.com/board/showthr...t=29598&page=3




    <!-- / message -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. Admax said:
    สาธุครับพี่ 8q นานมากแล้วเนาะ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ