พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

กระทู้: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน


    เล่ม ๑
    หน้า ๑ (เมื่อมาถึงอภิธัมมปิฎก ท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจไว้ด้วยว่า
    ข้อความที่จะย่อต่อไปนี้ เป็นการกล่าว ถึงหลักธรรมล้วน ๆ
    ไม่มีพาดพิงถึงบุคคล, เหตุการณ์ และเรื่องราวต่าง ๆ จะขออุปมา

    พอเข้าใจเป็นการเปรียบเทียบ คือบุคคล คณะหนึ่งเดินทางไป

    โดยรถยนต์ วินัยปิฎก เปรียบเหมือนการกล่าวถึงจรรยา มารยาท
    ของบุคคลเหล่านั้น สุตตันตปิฎก เปรียบ เหมือนการกล่าวถึง

    เหตุการณ์ และบุคคล ตลอดจนข้อเตือนใจที่ได้พบปะระหว่างทาง
    ส่วนอภิธัมมปิฎก เลิกพูดถึงเรื่องบุคคล แต่ พูดถึงเครื่องยนต์กลไก

    ในรถยนต์ หรือส่วนประกอบต่าง ๆในร่างกายจิตใจคน เป็นวิชาล้วนๆ

    ซึ่งไม่มีนิทานหรือเรื่องสนุกอื่น ๆ ประกอบ โดยทั่วไปจึงรู้สึกกันว่า
    อภิธัมมปิฎกเข้าใจยาก แต่ถ้าสนใจศึกษาพิจารณาหรือทำความ
    เข้าใจตาม โดยไม่กลัวความยาก จนเกินไป ก็จะเกิดความเพลิดเพลิน


    ในธรรม ในหลักวิชา. ตามที่ได้สังเกตมาผู้ศึกษาอภิธรรม มักจะติดใจ
    เพลิดเพลินในความยาก แต่มีเหตุผลเกี่ยวโยงกันหลายแง่หลายมุม.
    เพราะฉะนั้น ในการย่อความต่อไปนี้ จะพยายามทำให้เข้าใจง่าย

    เท่าที่สามารถจะทำได้ ข้อความใดไม่ชัด จะทำคำอธิบายไว้ในวงเล็บ
    ในเชิงอรรถ เพื่อให้เข้าใจชัดขึ้น.


    ความจริง คำว่า อภิธรรม ซึ่งหมายถึงธรรมอันยิ่งนั้น มิใช่มีแต่
    ในอภิธัมมปิฎกเท่านั้น แม้ใน สุตตันตปิฎกก็มีอยู่ทั่วไป คือตอนใด
    พูดถึงหลักธรรมล้วน ๆ ไม่กล่าวถึงบุคคลและเหตุการณ์ ตอนนั้น

    ย่อมเป็นอภิธรรม ขอยกตัว อย่างข้อความในกินนิสูตร อันเป็น

    สูตรที่ ๓ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ และได้ย่อไว้แล้วในหน้า
    พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ ในเชิงอรรถ,

    หมายเลขที่ ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้ามีภิกษุ ๒ รูป
    พูดไม่ลงกัน ใน อภิธรรม
    ภิกษุ ( ผู้หวังจะระงับข้อโต้เถียง ) พึงเข้าไปหาภิกษุที่ว่าง่ายกว่า

    พูดให้รู้ถึงความต่าง กันโดยอรรถะพยัญชนะ เตือนอย่าให้วิวาทกัน

    อันไหนถือมาผิดหรือเรียนมาผิด ก็พึงกำหนดไว้แล้วกล่าวแต่ที่ถูก
    ธรรมถูกวินัย. คำว่าอภิธรรมในพระสูตรที่กล่าวนี้ อรรถกถาแก้ว่า
    ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ( ธรรมอันเป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ) ๓๗ ประการ


    มี สติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง เป็นต้น มีอริยมรรค ( ทางหรือ
    ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ) ๘ อย่างเป็นที่สุด เมื่อโพธิปักขิยธรรม
    มีความหมายเป็นอภิธรรมได้ เราก็เห็นได้ชัดว่า เพราะมีเนื้อหาเป็น
    ธรรมะล้วน ๆ นั้นเอง.


    ผู้ที่ทราบหลักการข้อนี้ จึงมองเห็นอภิธรรมได้ในเรื่องราวทุกอย่าง
    เป็นแต่ให้รู้จักถอดธรรมะ เป็นเท่านั้น ขอยกตัวอย่าง หลักธรรม
    ในพระสูตร ที่มีลักษณะเป็นอภิธรรม คือเป็นหลักธรรมล้วน ๆ

    ไม่เกี่ยวด้วยสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาอีกสักข้อหนึ่ง เพื่อให้เห็น
    ความเกี่ยวโยงอย่างน่าสนใจในธรรมะ คือเรื่องเวทนา.


    ๑. เวทนา หรืความรู้สึกอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขนั้น
    มีชื่อเรียกว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนาโดยลำดับ
    เรื่องนี้เป็นการแบ่งตามข้อเท็จจริงธรรมดา.


    ๒. เวทนา หรืความรู้สึกอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขนี้
    จัดว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป เพราะฉะนั้น

    สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม นับว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้
    ทั้งสิ้น. ข้อนี้ก็เป็นการกล่าวตามข้อเท็จจริง แต่ว่ามองในอีกแง่หนึ่ง
    คือแง่ที่ว่า ทนอยู่ไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นทุกข์.


    ๓. ในกรณีที่เวทนามีเพียง ๒ ข้อ คือพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    กล่าวโดยนัยหนึ่ง เวทนา คือความรู้สึกอารมณ์นั้น มี ๒ อย่าง
    เท่านั้น คือ สุข กับ ทุกข์. ก็เกิดปัญหาขึ้นว่าความรู้สึกเฉย ๆ

    คือไม่ทุกข์ไม่สุขจะเอาไปไว้ ที่ไหน ตอบว่า ความรู้สึกเฉย ๆ
    จัดเข้าในสุข คือเมื่อไม่ทุกข์ ก็จัดเข้าในสุขได้ นี่ก็เป็นการกล่าว
    ตามข้อเท็จจริงอีกแง่หนึ่ง.


    ๔. เกิดปัญหาขึ้นอีกว่า ทุกข์เป็นทุกข์นั้น ลงตัวอยู่แล้ว
    แต่สุขกับไม่ทุกข์ไม่สุข ทำไม จึงกลายเป็นทุกข์ไปได้
    ก็จะต้องตอบย้อนไปหาเหตุผลข้อที่ ๒ อีก คือจะต้องเข้าใจ
    ความหมายของคำว่า ทุกข์ ที่ชี้ไปถึงความ ทนอยู่ไม่ได้

    เพราะสุขก็ไม่คงที่ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ไม่คงที่ มีความแปรปรวนไป
    ทนอยู่ไม่ได้ จึงจัดว่าเป็นทุกข์. หลักวิชาดั่งกล่าวข้างบนนี้
    เป็นการวิเคราะห์ตามแนวพระสูตรล้วน ๆ แต่ก็มีลีลาเป็น

    อภิธรรมอยู่ในตัว, เพราะฉะนั้น ธรรมะอันยิ่ง ธรรมะล้วน ๆ หรือ
    อภิธรรมนั้นย่อมมีอยู่ แม้ในพระสูตร ถ้าเข้าใจความหมาย
    หรือ ถอดความได้ ).


    อภิธรรม ๗ คัมภีร์

    ชาวไทยนิยมเรียกอภิธัมมปิฎกว่า อภิธรรม ๗ คัมภีร์ ก็เพราะ
    อภิธัมมปิฎกแยกเป็นหัวข้อสำคัญ ๗ ข้อ คือ :-


    ๑. ธัมมสังคณี ว่าด้วยการ " รวมกลุ่มธรรมะ " คือจัดระเบียบ
    ธรรมะต่าง ๆ ที่กระจายกันอยู่มากมายมาไว้ในหัวข้อสั้น ๆ
    เทียบด้วยการนำเครื่องประกอบต่าง ๆ ของนาฬิกามาคุมกัน
    เข้าเป็นนาฬิกาทั้งเรือน มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๔.


    ๒. วิภังค์ว่าด้วยการ " แยกกลุ่ม " คือกระจายออกไปจากกลุ่มใหญ่
    เพื่อให้ เห็นรายละเอียด เช่น ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง แต่ละข้อนั้น
    แยกออกไปอย่างไรได้อีก เทียบด้วยการถอดส่วนประกอบ
    ของนาฬิกา ออกมาจากที่รวมกันอยู่เดิม มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๕.


    ๓. ธาตุกถาว่าด้วย " ธาตุ " คือสิ่งที่เป็นต้นเดิมในทางธรรม
    (โปรด เข้าใจว่า เป็นคนละอย่างกับธาตุทางวิทยาศาสตร์
    เพราะทางธรรมมุ่งคติสอนใจ สิ่งที่เป็นต้นเดิมทางธรรม จึง
    มีความหมายตาม คติธรรม ) มีเล่มเดียว คือเล่มที่ ๓๖ อนึ่ง
    เล่มที่ ๓๖ นี้ ยังมีปุคคลบัญญัติรวมอยู่ด้วย.


    ๔. ปุคคลบัญญัติว่าด้วย " การบัญญัติบุคคล " โดยกล่าวถึง
    คุณธรรมสูง ต่ำของบุคคล เช่น คำว่า " สมยวิมุตฺโต "
    "ผู้พ้นเป็นคราวๆ" คือบางคราวก็ละกิเลสได้ บางคราวก็ละไม่ได้

    " อสมย- วิมุตฺโต " " ผู้พ้นตลอดไปไม่ขึ้นอยู่กับคราวสมัย " ได้แก่
    ผู้ละกิเลสได้เด็ดขาด เป็นต้น รวมอยู่ในเล่มที่ ๓๖ เป็นอันว่าเล่มที่ ๓๖
    มี ๒ หัวข้อ.


    ๕. กถาวัตถุว่าด้วย " เรื่องของถ้อยคำ " คือการตั้งคำถามคำตอบ
    เพื่อชี้ให้ เห็นหลักธรรมที่ถูกต้องทางพระพุทธศาสนา มีเล่มเดียว
    คือเล่มที่ ๓๗.


    ๖. ยมกว่าด้วย " ธรรมะที่เป็นคู่ " คือการจัดธรรมะเป็นคู่ ๆ
    โดยอาศัยหลักการต่าง ๆ มี ๒ เล่ม คือเล่มที่ ๓๘ และ ๓๙.


    ๗. ปัฏฐานว่าด้วย " ที่ตั้ง คือปัจจัย ๒๔ " แสดงว่าอะไรเป็นปัจจัยของ
    อะไรในทางธรรม มี ๖ เล่ม คือเล่มที่ ๔๐, ๔๑, ๔๒, ๔๓, ๔๔ และ ๔๕ .
    เฉพาะเล่มที่ ๓๔ ซึ่งมีชื่อว่า " ธัมมสังคณี " ( รวมกลุ่มธรรมะ ) นั้น
    แบ่งออก เป็น ๕ หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้ :-


    ๑. หัวข้อที่เป็นกระทู้ธรรมหรือแม่บท ( มาติกา ) เท่ากับเป็นแก่นหรือ
    สาระสำคัญของ ธัมมสังคณี แต่มีย่อมาก จึงจำเป็นต้องมีหัวข้ออื่นๆ
    ต่อ ๆ ไปอีก ๔ ข้อ เพื่อช่วยขยายความ.


    ๒. คำอธิบายเรื่องจิตว่าเกิดขึ้นอย่างไร ( จิตตุปปาทกัณฑ์ )
    เป็นคำ อธิบายเพียงบางส่วนของมาติกาหรือแม่บท เฉพาะที่เกี่ยว
    กับจิตกับธรรมะที่เนื่องด้วยจิต ( ที่เรียกว่าเจตสิก )
    จัดว่าเป็นคำอธิบาย ที่พิสดารที่สุดกว่าหัวข้อทุก ๆ หัวข้อ.


    ๓. คำอธิบายเรื่องรูปคือส่วนที่เป็นร่างกาย ( รูปกัณฑ์ )
    เมื่อแยกพูด เรื่องจิตและเจตสิกไว้ใน ข้อที่ ๒ แล้ว จึงพูดเรื่องรูป
    หรือกายไว้ในข้อที่ ๓ นี้.


    ๔. คำอธิบายแม่บทหรือมาติกาที่ตั้งไว้ในข้อหนึ่ง หมดทุกข้อ
    ( นิกเขปกัณฑ์ ) เป็นการอธิบายบทตั้งทุกบทด้วยคำอธิบายขนาดกลาง
    ไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นเกินไป. ไม่เหมือนกับข้อ ๒ และข้อ ๓
    ซึ่งอธิบายเฉพาะบทตั้งเพียงบางบทอย่างพิสดาร.


    ๕. คำอธิบายแม่บทหรือมาติกาที่ตั้งไว้ในข้อหนึ่งแบบรวบรัด
    หมดทุกข้อ ( อัตถุทธารกัณฑ์ ) ๒ หัวข้อนี้อธิบายอย่างย่อมาก.

    เมื่ออ่านมาถึงเพียงนี้ ก็พอจะเห็นเค้าโครงแห่ง

    ธัมมสังคณี บ้างแล้ว ว่าแบ่ง ออกเป็น ๕ ส่วนอย่างไร และมีหลัก
    เกณฑ์ในการแบ่งหัวข้ออย่างไร ต่อนี้ไป จะขยายความให้เห็น
    เนื้อหาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ เป็นลำดับไป.


    ขยายความ เล่มที่ ๓๔ ธัมมสังคณี ( รวมกลุ่มธรรมะ )

    ๑. แม่บทหรือมาติกา
    แม่บทหรือมาติกานี้ แบ่งออกเป็น ๒ หัวข้อใหญ่ คือ
    อภิธัมมมาติกา ได้แก่ แม่บทหรือกระทู้ธรรมที่เป็นฝ่ายอภิธรรมอย่างหนึ่ง.
    สุตตันตมาติกา ได้แก่แม่บทหรือกระทู้ธรรมที่ฝ่ายพระสูตร
    คือนำ ธรรมะจากพระสูตรมาตั้งเทียบเคียงให้ดูอีกอย่างหนึ่ง.
    แม่บทฝ่ายพระสูตรไม่มีหัวย่อย คงกล่าวถึงชื่อธรรมะต่าง ๆ
    แต่ต้นจนจบ ส่วนแม่บทฝ่ายอภิธรรม แบ่งออกเป็นหัวข้อ
    ย่อย ๑๔ หัวข้อดังต่อไปนี้ :-
    ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม
    ( อภิธัมมมาติกา )
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

    ๑. แม่บท ว่าด้วยการจัดธรรมะเป็นหมวดละ ๓ ข้อ
    รวม ๒๒ หมวด ( พาวี- สติติกมาติกา )คือ :-



    (๑) ธรรมที่เป็นกุศล ( คือฝ่ายดี ), ธรรมที่เป็นอกุศล ( คือฝ่ายชั่ว ),
    ธรรมที่เป็นอัพยากฤต ( คือพระผู้มีพระภาคไม่ตรัสชี้ลงไปว่า
    เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะว่าเป็นกลาง ๆ ก็ได้ ) .


    (๒) ธรรมที่ประกอบด้วยเวทนา ( คือความรู้สึกอารมณ์ ) ที่เป็นสุข,
    ที่เป็นทุกข์, ที่ไม่ ทุกข์ไม่สุข.


    (๓) ธรรมที่เป็นวิบาก ( คือเป็นผล )
    ธรรมที่มีผลเป็นธรรมดา ( คือเป็นเหตุ ),
    ธรรมที่ ไม่เป็นทั้ง ๒ อย่างข้างต้น ( คือไม่ใช่ผล ไม่ใช่เหตุ ),


    (๔) ธรรมที่ถูกยึดถือและเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ,
    ธรรมที่ไม่ถูกยึดถือ แต่เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือ,
    ธรรมที่ไม่ถูกยึดถือและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ.


    (๕) ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง,
    ธรรมที่ไม่เศร้าหมอง แต่เป็น ที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง,
    ธรรมที่ไม่เศร้าหมองและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง.


    (๖) ธรรมที่มีวิตก ( ความตรึก ) และมีวิจาร ( ความตรอง ),
    ธรรมที่ไม่มีวิตก ( ความ ตรึก ) มีแต่ เพียงวิจาร ( ความตรอง ),
    ธรรมที่ไม่มีทั้งวิตก ไม่มีทั้งวิจาร.


    (๗) ธรรมที่ประกอบด้วยปีติ ( ความอิ่มใจ ),
    ธรรมที่ประกอบด้วยความสุข,
    ธรรมที่ ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความวางเฉย ).


    (๘) ธรรมที่ละได้ด้วยทัสสนะ
    ( =การเห็น, คือธรรมที่ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ),

    ธรรมที่ละได้ด้วยภาวนา
    ( =การอบรม, คือธรรมที่ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค,
    อนาคามิมรรค, อรหัตตมรรค ),
    ธรรมที่ละไม่ได้ด้วย ทัสสนะ ละไม่ได้ด้วยภาวนา.๓


    (๙) ธรรมที่มีเหตุอันพึงละได้ด้วยทัสสนะ ( ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ),
    ธรรมที่มีเหตุ อันพึงละได้ด้วยภาวนา
    ( ละได้ด้วยอริยมรรคทั้งสามเบื้องบน ),
    ธรรมที่มีเหตุอันพึงละไม่ได้ทั้งด้วยทัสสนะทั้งด้วยภาวนา. ๔


    (๑๐) ธรรมที่ไปสู่ความสั่งสมกิเลส, ธรรมที่ไม่ไปสู่ความสั่งสม
    กิเลส, ธรรมที่ไม่เป็น ทั้งสองอย่างนั้น.


    (๑๑) ธรรมที่เป็นของพระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา
    (ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคจนถึง อรหัตตมรรค รวม ๗ ประเภท ),
    ธรรมที่เป็นของพระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา ( ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ),
    ธรรมที่ไม่เป็นทั้งสอง อย่างนั้น.


    (๑๒) ธรรมที่เป็นของเล็กน้อย
    ( =ปริตตะ คือเป็นกามาวจร ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ),
    ธรรมที่เป็นของใหญ่ ( =มหัตคตะ คือเป็นรูปฌานหรืออรูปฌาน ),
    ธรรมที่ไม่มีประมาณ ( คือเป็นโลกุตตรธรรม ได้แก่ มรรค, ผล, นิพพาน ).


    (๑๓) ธรรมที่มีอารมณ์เล็กน้อย, ธรรมที่มีอารมณ์ใหญ่,
    ธรรมที่มีอารมณ์ไม่ประมาณ.


    (๑๔) ธรรมอันเลว ( อกุศลธรรม ), ธรรมอันปานกลาง
    ( ธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ที่ยังมีอาสวะ ), ธรรมอันประณีต
    ( โลกุตตรธรรม ).


    (๑๕) ธรรมที่เป็นฝ่ายผิดและแน่นอน, ธรรมที่เป็นฝ่ายถูกและแน่นอน,
    ธรรมที่ไม่แน่ นอน.๕


    (๑๖) ธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์, ธรรมที่มีมรรเป็นเหตุ,
    ธรรมที่มีมรรคเป็นใหญ่ ( อธิบดี ).


    (๑๗) ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น, ธรรมที่จักเกิดขึ้น.


    (๑๘) ธรรมที่เป็นอดีต, ธรรมที่เป็นอนาคต, ธรรมที่เป็นปัจจุบัน.


    (๑๙) ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอดีต, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคต,
    ธรรมที่มีอารมณ์เป็น ปัจจุบัน.


    (๒๐) ธรรมที่เป็นภายใน, ธรรมที่เป็นภายนอก,
    ธรรมที่เป็นภายในและภายนอก.


    (๒๑) ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน, ธรรมที่มีอารมณ์ภายนอก,
    ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน และภายนอก.


    (๒๒) ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้, ธรรมที่เห็นไม่ได้
    แต่ถูกต้องได้, ธรรมที่เห็น ไม่ได้และถูกต้องไม่ได้.


    ๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มเหตุ ( เหตุโคจฉกะ )
    มี ๖ คู่ คือ
    ๑. ธรรมที่เป็นเหตุ, ธรรมที่มิใช่เหตุ ;

    ๒. ธรรมที่มีเหตุ, ธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นต้น.


    ๓. แม่บทหรือบทตั้งหมวดสองข้อไม่สัมพันธ์กัน คู่น้อย
    ( จูฬันตรทุกะ)

    มี ๗ คู่ คือ

    ๑. ธรรมที่มีปัจจัย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ;

    ๒. ธรรมที่เป็นสังขตะ ( ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ) ; ธรรมที่เป็นอสังขตะ
    ( ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ) เป็นต้น.


    ๔. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มอาสวะ ( อาสวโคจฉกะ )

    มี ๖ คู่ คือ

    ๑. ธรรมที่เป็นอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ),
    ธรรมที่มิใช่อาสวะ ; ๒. ธรรมที่อาสวะ, ธรรมที่ไม่มีอาสวะ เป็นต้น.


    ๕. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มสัญโญชน์( สัญโญชนโคจฉกะ )

    มี ๖ คู่ คือ


    ๑. ธรรมที่เป็นสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่องผูกมัด ), ธรรมที่ไม่เป็นสัญโญชน์ ;

    ๒. ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์, ธรรมที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นต้น.

    ๖. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มคันถะ ( คันถโคจฉกะ )


    มี ๖ คู่ คือ


    ๑. ธรรมอันเป็นคันถะ ( กิเลสเครื่องร้อยรัด ), ธรรมที่ไม่เป็นคันถะ ;

    ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งคันถะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งคันถะ เป็นต้น.


    ๗. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มโอฆะ ( โอฆโคจฉกะ )


    มี ๖ คู่ คือ

    ๑. ธรรมอันเป็นโอฆะ
    ( กิเลสเครื่องทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ คือความ เวียนว่ายตายเกิด ),
    ธรรมอันไม่เป็นโอฆะ ;


    ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ เป็นต้น.


    ๘. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มโยคะ ( โยคโคจฉกะ )

    มี ๖ คู่ คือ

    ๑. ธรรมอันเป็นโยคะ ( กิเลสเครื่องประกอบหรือผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ),
    ธรรมที่ไม่เป็นโยคะ ; ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโยคะ,
    ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งโยคะ เป็นต้น.


    ๙. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มนิวรณ์ ( นิวรณโคจฉกะ )


    มี ๖ คู่ คือ


    ๑. ธรรมอันเป็นนิวรณ์ ( กิเลสเครื่องกั้นจิตรัดรึงจิต ), ธรรมอันไม่เป็น นิวรณ์ ;

    ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ เป็นต้น.


    ๑๐. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มปรามาส ( ปรามาสโคจฉกะ )


    มี ๕ คู่ คือ


    ๑. ธรรมอันเป็นปรามาส ( กิเลสเครื่องจับต้องในทางที่ผิดความจริง ),
    ธรรมอันไม่เป็นปรามาส เป็นต้น.


    ๑๑. แม่บทหรือบทตั้งหมวดสองข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่ใหญ่
    ( มหันตรทุกะ ) ๖


    มี ๑๔ คู่ คือ


    ๑. ธรรมที่มีอารมณ์, ธรรมที่ไม่มีอารมณ์ ; ๒. ธรรมที่เป็นจิต,
    ธรรมที่ มิใช่จิต เป็นต้น. ( ได้แปลคำอธิบายธรรมเหล่านี้ไว้

    เพียง ๙ คู่ ในหน้าในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก

    หมายเลข ๘๖-๙๔ เป็นการแปลตามคำ อธิบายแบบสั้น
    จากอัตถุทธารกัณฑ์ เล่มที่ ๓๔ นี้เอง ).


    ๑๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยอุปาทาน ( อุปาทานโคจฉกะ )


    มี ๖ คู่ คือ


    ๑. ธรรมอันเป็นอุปาทาน ( เป็นเหตุยึดถือ ), ธรรมอันไม่เป็นอุปาทาน ;


    ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ธรรมอันไม่เป็น
    ที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นต้น.


    ๑๓. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกิเลส ( กิเลสโคจฉกะ )


    มี ๘ คู่ คือ

    ๑. ธรรมอันเป็นกิเลส ( เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ),
    ธรรมอันไม่เป็นกิเลส ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส,
    ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลส.


    ๑๔. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยหมวด ๒ อันรั้งท้าย ( ปิฏฐิทุกะ )


    มี ๑๘ คู่ คือ


    ๑. ธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ
    ( ละด้วยการเห็น คือละด้วยโสดาปัตติ มรรคอันเห็นนิพพาน ),
    ธรรมที่ไม่พึงละด้วยทัสสนะ ;


    ๒. ธรรมที่พึงละด้วยการเจริญ
    ( ละด้วยการเจริญ คืออริยมรรคทั้งสาม เบื้องบน,
    ธรรมที่ไม่พึงละด้วยการเจริญ เป็นต้น.


    ( จบแม่บทฝ่ายอภิธรรม )
    &#39;๑&#39; . คำว่า อภิธัมม เขียนตามแบบบาลี, อภิธรรม เขียนตามแบบไทย
    ซึ่งแปลงมาจากสันสกฤต อภิธรฺม


    &#39;๒&#39; . อรรถกถาเรียกว่า " อัตถกถากัณฑ์ " โดยชี้แจงว่าศิษย์ของ
    พระสาริบุตรไม่เข้าใจ พระสาริบุตรจึงพา ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ให้ตรัสอธิบาย


    &#39;๓&#39; . ได้แก่สัญโญชน์ ๓ สำหรับข้อแรก, สัญโญชน์ ๓, ๕, ๑๐
    สำหรับข้อ ๒, และธรรมที่ฝ่ายกุศลและ กลาง ๆ
    สำหรับข้อ ๓ ดูคำอธิบายข้างหน้าและดูเชิงอรรถหน้า

    พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐

    ซึ่งมี เขียนไว้ดังนี้ว่า สัญโญชน์ ๓ คือสักกายทิฏฐิ ความเห็น
    เป็นเหตุถือตัวถือตน วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระรัตนตรัย

    และสีลัพพต- ปรามาส การลูบคลำศีลและพรต คือถือ
    โชคลาง หรือติดในลัทธิพิธี และดูหน้า
    ( พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ) ด้วย วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐


    &#39;๔&#39; . คำว่า เหตุ ในที่นี้ กล่าวตามสำนวนอภิธรรม หมายถึง
    สัมปยุตตเหตุ คือเหตุที่เกิดขึ้นผสม ได้แก่เหตุ ฝ่ายชั่วคือกิเลส
    ที่มาผสมกับนามธรรม และเป็นสมุฏฐานแห่ง
    กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม.


    &#39;๕&#39; . คำว่าแน่นอน ไม่แน่นอน หมายถึงแน่นอนในการให้ผล
    ฝ่ายผิดคืออนันตริยกรรม ๕ และความเห็นผิด อย่างแรง ฝ่ายถูก
    คืออริยมรรค ๔ ธรรมที่ไม่แน่นอน คือนอกจากสองข้อที่กล่าวแล้ว


    &#39;๖&#39; . คำว่า ไม่สัมพันธ์กัน คือในหมวดนี้ ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
    แต่เลือกธรรมะมากล่าวเป็นคู่ ๆ ไม่เหมือน หมวดที่มีคำว่า
    โคจฉกะ ซึ่งเป็นเรื่องประเภทเดียวกันตลอด


    คลิ๊ก เพื่ออ่านต่อครับ....








    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=30028
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

    หน้า ๒
    ข. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร

    ( สุตตันตมาติกา )
    ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในแม่บทของเล่มที่ ๓๔ นี้ แบ่งหัวข้อหรือแม่บทใหญ่ออกเป็นฝ่ายอภิธรรม กับฝ่ายพระสูตร เพื่อให้เทียบเคียงกันดู. แม่บทฝ่ายอภิธรรมมี ๑๒๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๓ ประเด็น มี ๒๒, หัวข้อละ ๒ ประเด็น มี ๑๐๐ ) ส่วน

    แม่บทฝ่ายพระสูตร มี ๔๒ หัวข้อ ( หัวข้อละ ๒ ประเด็น ) แต่ไม่มีคำอธิบายแม่บทฝ่ายพระสูตร คง นำมาตั้งไว้ให้ทราบเท่านั้น ดังจะนำมากล่าวสัก ๑๐ ข้อ คือ :-

    ๑. ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา, ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งอวิชชา ;
    ๒. ธรรมอันอุปมาด้วยสายฟ้า, ธรรมอันอุปมาด้วยเพชร ;
    ๓. ธรรมอันเป็นของคนพาล, ธรรมอันเป็นของบัณฑิต ;
    ๔. ธรรมดำ, ธรรมขาว ;
    ๕. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน, ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ;
    ๖. ธรรมคือคำร้องเรียก, ธรรมคือทางแห่งคำร้องเรียก ;
    ๗. ธรรมคือภาษาพูด, ธรรมคือทางแห่งภาษาพูด ;
    ๘. ธรรมคือบัญญัติ, ธรรมคือทางแห่งบัญญัติ ;
    ๙. นาม, รูป ;
    ๑๐. อวิชชา, ภวตัณหา ( ความทะยานอยากมี อยากเป็น ) เป็นต้น ฯลฯ.

    ( หมายเหตุ : ในบทตั้งหรือแม่บท ๑๖๔ หัวข้ออันแจกรายละเอียดออกไปเป็นฝ่ายพระ อภิธรรม ๒๖๖ ประเด็น, เป็นฝ่ายพระสูตร ๘๔ ประเด็น, รวมทั้งสิ้น ๓๕๐ ประเด็น แต่นำมาตั้งให้เห็นเพียง ๔๕ หัวข้อ หรือ ๑๓๘ ประเด็น ที่เหลือ

    ได้ละไว้ด้วยคำว่า เป็นต้น นั้น ด้วยเจตนาจะแสดงรายการหรือประเด็นที่สำคัญ ส่วนปลีกย่อยก็ผ่านไป. ความจริงเท่าที่พระท่านสวด ท่านสวดบทตั้งของคัมภีร์ " ธัมมสังคณี " คือพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ นี้ โดยทั่วไปนั้น คงสวด เพียง ๒๒

    หัวข้อแรก ที่แบ่งออกเป็นหัวข้อละ ๓ ประเด็น รวมทั้งสิ้น ๖๖ ประเด็นเท่านั้น ในที่นี้แสดงไว้ถึง ๔๕ หัวข้ออัน แบ่งออกเป็น ๑๓๘ ประเด็น เพื่อให้เห็นหน้าตาชัดเจนยิ่งขึ้น แท้จริงในการอธิบายรายละเอียดเป็นร้อย ๆหน้าในพระไตรปิฎก

    เล่มที่ ๓๔ เอง ก็อธิบายหนักไปในหัวข้อแรก ๓ ประเด็น คือ กุสลา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นกุศล ), อกุสลา ธมฺมา ( ธรรมอัน เป็นอกุศล ) อพฺยากตา ธมฺมา ( ธรรมอันเป็นอัพยากฤต คือเป็นกลาง ๆ ) เท่านั้น นอกจากนั้นก็เป็นคำอธิบายเรื่อง " รูป " กับ อธิบายบทตั้งอื่น ๆ อย่างสั้น ๆ ท่านผู้อ่านจึงชื่อว่ามิได้ผ่านสาระสำคัญไปในการย่อครั้งนี้ ).

    ๒. คำอธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ )
    ข้อความในกัณฑ์นี้ มี ๑๗๕ หน้า อธิบายเพียงหัวข้อแรก อันแบ่งเป็น ๓ ประเด็น คือธรรมอันเป็นกุศล, อกุศล, และอัพยากฤตหรือกลาง ๆ เท่านั้น. พึงทราบว่า ความมุ่งหมายยังแคบเข้ามาอีก คือธรรมทั้งสาม นั้น ท่านชี้ไปที่ จิต และสิ่งที่เนื่องด้วยจิต ที่เรียกว่า เจตสิก ดังหัวข้อย่อย ๆที่จะกล่าวต่อไปนี้ :-

    จิตทั่วไป
    ๑. จิตแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กุศลฝ่ายดี, อกุศลฝ่ายชั่ว, อัพยากฤต คือกลาง ๆ.

    จิตฝ่ายกุศล
    ๒. จิตที่เป็นกุศลหรือกุศลจิตแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ตามภูมิชั้นที่ ต่ำและสูง คือ :-

    ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นฝ่ายกุศล๑มี ๘

    ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ได้ ฌาน คือฌานที่เพ่งรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๕

    ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูปที่เป็นฝ่ายกุศล ( หมายถึงจิตที่ ได้อรูปฌาน คือฌานที่เพ่งนาม หรือสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ) มี ๔.

    ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ( หมายถึงจิตที่เป็นมรรค ๔ ) มี ๔.
    รวมเป็นจิตที่เป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายดี ๔ ประเภทใหญ่ แบ่งเป็น ๒๑ ชนิด.

    จิตฝ่ายอกุศล
    ๓. จิตที่เป็นอกุศลหรืออกุศลจิต มีประเภทเดียว คือกามาวจร คือจิตที่ ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม สูงขึ้นไปกว่านั้นไม่มีอกุศล. จิตที่เป็นอกุศลนี้ เป็นจิตประกอบด้วยความโลภ ๘, ความคิดประทุษร้าย หรือโทสะ ๒, ความหลงหรือโมหะ ๒ จึงรวมเป็น ๑๒ ชนิด.

    จิตที่เป็นกลาง ๆ
    ๔. จิตที่เป็นอัพยากฤตคือที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ หรือชี้ลงไปว่า เป็นกุศล หรืออกุศล จึงหมายถึงจิตที่เป็นกลาง ๆ หรือเรียกว่า อัพยากตจิต แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่เหมือนกุศล คือ จิตที่เป็นกลาง ๆ นี้ มีได้ทั้ง ๔ ภูมิ เช่นเดียวกับกุศลจิต คือ :-

    ( ๑ ) กามาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในกาม ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๓๔ ชนิด แบ่งเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๒๓, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นเพียงกิริยา ) ๑๑.

    ( ๒ ) รูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๑๐ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ( จิตที่เป็นผล ) ๕, กิริยาจิต ( จิตที่เป็นกิริยา ) ๕.

    ( ๓ ) อรูปาวจร คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในอรูป ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๘ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔, กิริยาจิต ๔.

    ( ๔ ) โลกุตตระ คือจิตที่พ้นจากโลก ที่เป็นอัพยากฤตหรือเป็นกลาง ๆ มี ๔ ชนิด คือเป็นวิบากจิต ๔.
    รวมทั้ง ๔ ประเภท คือกามาวจร ๓๔, รูปาวจร ๑๐, อรูปาวจร ๘ และโลกุตตระ

    ๔ จึงมีอัพยากฤตจิตหรือจิตที่เป็นกลาง ๆ ทั้งสิ้น ๕๖ ชนิด และเมื่อรวมกุศลจิต ๒๑, อกุศลจิต ๑๒, อัพยากตจิต ๕๖ จึงเป็นจิต ๘๙ ชนิด,๒ อนึ่ง เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอแสดงโดยแผนผัง ดังต่อไปนี้ :-



    &#39;๑&#39; . ที่ใช้คำว่า เป็นฝ่ายกุศลกำกับเพื่อไม่ให้หลงหัวข้อ เพราะในที่นี้กล่าวเฉพาะกุศลหรือฝ่ายดีเท่านั้น ยังมี ฝ่ายที่เป็นกลาง ๆ หรืออัพยากฤตที่แบ่งออกเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร และโลกุตตระเช่นกัน

    &#39;๒&#39; . มีข้อที่ควรกล่าวไว้ด้วย คือคำว่า อัพยากตะ เขียนตามบาลี, อัพยากฤต เขียนตามสันสกฤต มีความ หมายอย่างเดียวกัน และจิต ๘๙ ชนิด ถ้าแจกโดย

    พิสดาร ก็จะเป็น ๑๒๑ ชนิด คือจิตที่เป็นโลกุตตระ ( เป็นกุศล ๔ เป็นกลาง ๆ ๔ ) ๘ ชนิดนั้น คูณด้วยรูปฌาน ๔ จะได้ ๔๐. แม้จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ยังนับว่าย่อ เพราะอ่านต่อไปจะเห็นพิสดารกว่านี้

    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  4. *8q* said:

    Re: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

    หน้า ๓
    การนับจำนวนจิต
    ( ถ้าจะพูดอย่างรวบรัด จิตก็มีเพียงดวงเดียว เพราะไม่สามารถเกิดได้ขณะละหลายดวง แต่เพราะเหตุที่เกิดหลายขณะ และมีส่วนประกอบ คือความดีความชั่ว เป็นต้น ต่าง ๆ กัน จึงนับจำนวนได้มาก. ในพระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ แสดงการนับจำนวนไว้บางตอน เช่น จิตที่เป็นมหากุศลฝ่ายกามาวจร ๘, ส่วนรูปาวจร, อรูปาวจร และ โลกุตตระไม่ได้นับให้, ครั้นถึงอกุศลจิต ได้นับจำนวนให้อีกว่า มี ๑๒, ถึงอัพยากตจิต นับจิตที่เป็นมหาวิบาก ๘ นอกนั้นเป็น แต่บอกชื่อไว้ข้างท้าย การนับจำนวนที่แสดงในที่นี้ จึงเป็นการนับย่อเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่ตามที่มีในพระไตรปิฎกมีจำนวนพิสดาร มากกว่านี้. ได้เคยทำมาแล้วในพระสูตร คือ พระไตรปิฎกไม่ได้นับเป็นตัวเลขให้ แต่ผู้เขียนใส่ตัวเลขนับลงไปเพื่อเข้าใจง่าย กำหนดง่าย ).

    คำอธิบายในจิตตุปปาทกัณฑ์

    ได้กล่าวแล้วโดยใจความว่า จิตตุปปาทกัณฑ์ เป็นภาคอธิบายถาคแรกของ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ ซึ่งมีภาคบทตั้ง ๑ ภาค ภาคอธิบาย ๔ ภาค. การตั้งเคร้าโครงอธิบายของภาคแรก เจาะจงอธิบาย เพียงคำ ๓ คำ คือ กสุลา ธมฺมา ( กุศลธรรม ) อกุสลา ธมฺมา ( อกุศลธรรม ) และ อพฺยาตกา ธมฺมา ( อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) แล้วอธิบายเป็นเรื่องของจิต ส่วนการแบ่งเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ได้นำมาแบ่งภายใต้หัวข้อของกุศลธรรม, ภายใต้หัวข้อของอกุศลธรรมมีกามาวจรอยู่อย่างเดียว, ภายใต้หัวข้อของ อัพยากตธรรมหรือธรรมที่เป็นกลาง ๆ คงมีทั้งกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, และโลกุตตระ. ธรรมที่เป็นกลาง ๆ นั้น ได้แก่จิต ที่เป็นวิบากและเป็นกิริยา. เป็นอันว่า จิตตุปปทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรก เจาะจงอธิบายเรื่องจิตที่ดี ที่ไม่ดี และที่เป็นกลาง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้อธิบายเจตสิก คือธรรมที่เนื่องด้วยจิตพร้อมกันไปใน ตัวด้วย. ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นลีลาในการอธิบาย คำว่า ธรรมอันเป็นกุศล ในตอนแรกของจิตตุปปทกัณฑ์ :-
    " ธรรมอันเป็นกุศล เป็นไฉน ? "
    " ธรรมอันเป็นกุศล คือในสมัยใด จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ เกิดขึ้น ปรารภ อารมณ์ คือ รูป หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ ) หรือธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ), ในสมัยนั้นย่อม มี ( ธรรมะ ๕๖ อย่าง ) คือ :-
    " ๑. ผัสสะ ( ความถูกต้อง )
    ๒. เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข )
    ๓. สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) ๔. เจตนา ( ความจงใจ )
    ๕. จิตตะ ( จิต) ๖. วิตก ( ความตรึก)
    ๗. วิจาร ( ความตรอง ) ๘. ปีติ ( ความอิ่มใจ )
    ๙. สุข ( ความสบายใจ, ในที่นี้ไม่หมายเอาสุขกาย )
    ๑๐. จิตตัสส เอกัคคตา ( ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
    ๑๑. สัทธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเชื่อ )
    ๑๒. วิริยินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเพียร ) ๑๓. สตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสติ )
    ๑๔. สมาธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสมาธิ ) ๑๕. ปัญญินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือปัญญา )
    ๑๖. มนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ )
    ๑๗. โสมนัสสินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความสุขใจ )
    ๑๘. ชีวิตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือชีวิตความเป็นอยู่ )
    ๑๙. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจจ์ ๔ )
    ๒๐. สัมมาสังกัปปะ ( ความดำริชอบ ) ๒๑. สัมมาวายามะ ( ความพยายามชอบ )
    ๒๒. สัมมาสติ ( ความระลึกชอบ ) ๒๓. สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ )
    ๒๔. สัทธาพละ ( กำลังคือความเชื่อ ) ๒๕. วิริยพละ ( กำลังคือความเพียร )
    ๒๖. สติพละ ( กำลังคือสติ ) ๒๗. สมาธิพละ ( กำลังคือสมาธิ )
    ๒๘. ปัญญาพละ ( กำลังคือปัญญา ) ๒๙. หิรีพละ ( กำลังคือความละอายต่อบาป )
    ๓๐. โอตตัปปพละ ( กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป ) ๓๑. อโลภะ ( ความไม่โลภ )
    ๓๒. อโทสะ ( ความคิดประทุษร้าย ) ๓๓. อโมหะ ( ความไม่หลง )
    ๓๔. อนภิชฌา ( ความไม่โลภ ชนิดนึกน้อมมาเป็นของตน )
    ๓๕. อัพยาบาท ( ความไม่คิดปองร้าย ชนิดนึกให้ผู้อื่นพินาศ )
    ๓๖. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบแบบทั่ว ๆ ไป เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี )
    ๓๗. หิริ ( ความละอายต่อบาป ) ๓๘. โอตตัปปะ ( ความเกรงกลัวต่อบาป )
    ๓๙. กายปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๐. จิตตปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งจิต )
    ๔๑. กายลหุตา ( ความเบาแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๒. จิตตลหุตา ( ความเบาแห่งจิต )
    ๔๓. กายมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๔. จิตตมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งจิต )
    ๔๕. กายกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๖. จิตตกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งจิต )
    ๔๗. กายปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๔๘. จิตตปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งจิต )
    ๔๙. กายุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
    ๕๐. จิตตุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งจิต ) ๕๑. สติ ( ความระลึกได้ )
    ๕๒. สัมปชัญญะ ( ความรู้ตัว ) ๕๓. สมถะ ( ความสงบแห่งจิต )
    ๕๔. วิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง ) ๕๕. ปัคคาหะ ( ความเพียรทางจิต )
    ๕๖. อวิกเขปะ ( ความไม่ซัดส่าย คือความตั้งมั่นแห่งจิต )
    " อนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ากุศล. "
    ( ต่อจากนั้นเป็นคำอธิบายศัพท์แต่ละข้อ นี้เป็นเพียงคำอธิบายจิตดวงแรกใน ๘๙ ดวง ซึ่งมีธรรมประกอบ ๕๖ อย่าง กับได้หมวดเงื่อนไขไว้ว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นที่ไม่กล่าวไว้ แต่มิใช่รูปธรรม อิงอาศัยจิตดังกล่าว เกิดขึ้น ก็จัดเป็นกุศลจิตได้. ธรรมประกอบ ๕๖ อย่างนั้น ในภาคอธิบายต่อไป ได้ชี้ให้เห็นว่า จะย่อได้ อย่างไร หรือกำหนด หัวข้ออย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
    " ก็ในสมัยนั้นแล ย่อมมีขันธ์ ๔, อายตนะ ๒, ธาตุ ๒, อาหาร ๓, อินทรีย์ ๘, ฌาน มีองค์ ๕, มรรคมีองค์ ๕, ธรรมะอันเป็นกำลัง ๗, เหตุ ๓, ผัสสะ ๑, เวทนา ๑, สัญญา ๑, เจตนา ๑, จิต ๑, เวทนาขันธ์ ๑, สัญญาขันธ์ ๑, สังขารขันธ์ ๑, วิญญาณขันธ์ ๑, มนายตนะ (อายตนะคือใจ ) ๑, มนินทรีย์ ( อินทรีย์คือใจ ) ๑, มโนวิญญาณ- ธาตุ ( ธาตุรู้คือใจ ) ๑, ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, ธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, หรือแม้ธรรม เหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นกุศล. "
    ( คำอธิบายตอนนี้เป็นการมองธรรม ๕๖ อย่าง ซึ่งประกอบกับจิตดวงแรกอันเป็นกุศล ฝ่ายกามาวจรนั้นว่าจะเรียกเป็นอย่างไรได้บ้าง มองในทัสสนะไหนได้บ้าง. ขอยกตัวอย่างพอให้เข้าใจ คือในธรรมประกอบ ๕๖ ข้อนั้น จัดเป็นขันธ์ ๔ ได้ดังนี้. ข้อ ๒ คือเวทนา, ข้อ ๙ คือสุข, ข้อ ๑๗ คือโสมนัสสินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่ คือความสบาย ใจหรือความดีใจ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ( กองเวทนา ) ; ข้อ ๓ คือสัญญา ความจำได้หมายรู้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ( กองสัญญา ) ; ๕๐ ข้อ เว้นข้อที่ ๒, ๓, ๕, ๙, ๑๖, ๑๗, จัดเป็นสังขารขันธ์ ( กองสังขาร ) ; ข้อ ๕ คือจิต, ข้อ ๑๖ คือมนินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ จัดเป็นวิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ ). ในที่นี้ไม่จัดเป็นขันธ์ ๕ เพราะขาดรูป ไป ๑ เนื่องจากเป็นเรื่องของจิต แต่ก็สามารถจัดธรรมะถึง ๕๖ ข้อมารวมได้ ใน ๔ ข้อเท่านั้น. ตอนต่อไปแสดงอายตนะ ( บ่อ เกิดหรือที่ต่อ ) ๒ คือ ๑. มนายตนะ ( อายตนะคือใจ ) ๒. ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ). ในธรรม ๕๖ ข้อนั้น ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่๑๖ คือมนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ ) จัดเข้าในมนายตนะ นอกนั้นคืออีก ๕๔ ข้อ จัด เข้าในธัมมายตนะ. ตอนนี้ยิ่งรวบรัดกว่าตอนต้นอีก เพราะจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงใน ๒ อย่างได้. ข้อต่อไปจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงในธาตุ ๒ คือ ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่ ๑๖ คือมนินทรีย์ จัดเข้าในมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ), อีก ๕๔ ข้อที่เหลือ จัดเข้าในธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอธิบายที่ปรากฏในนั้นอีก ๕๔ ข้อที่เหลือ อันเคยจัดมาแล้วว่า ได้แก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์นั้น จัดเป็นธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมะที่รู้ได้ด้วย ใจ ) ดังนี้เป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้น ได้แสดงเรื่องอาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ เป็นต้น เป็นการชี้ไปว่า อาหาร ๓ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อ นั้น อินทรีย์ ๘ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อนั้นอย่างไรบ้าง คล้ายกับเป็นการสำรวจเครื่องจักรเครื่องยนต์ว่า อันไหนเป็นประเภทไหน เกี่ยวโยงกันอย่างไร เป็นการบริหารความคิดและความจำ, นี้เป็นคำอธิบายตอนที่ ๒ คือคำอธิบายตอนที่ ๑ เริ่มด้วยแสดงจิตดวง แรกที่เป็นกุศลแล้วแสดงธรรม ๕๖ อย่าง ที่เนื่องด้วยจิตดวงนั้น, ตอนที่ ๒ อธิบายว่า ธรรม ๕๖ อย่างนั้น จะเรียกชื่อย่อ ๆ หรือกำหนดหัวข้อ เป็นจำนวนอย่างไรบ้าง, คำอธิบายตอนที่ ๓ ตัดจำนวนเลขออก เรียกแต่ชื่อดังต่อไปนี้ )
    " ก็ในสมัยนั้น ย่อมมีธรรม,) มีขันธ์, มี อายตนะ, มีธาตุ, มีอาหาร, มีอินทรีย์, มีฌาน, มีมรรค, มีพละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ), มีเหตุ, มีผัสสะ, มีเวทนา, มีสัญญา, มี เจตนา, มีจิต, มีเวทนาขันธ์, มีสัญญาขันธ์, มีสงขารขันธ์, มีวิญญาณขันธ์, มีมนายตนะ, มีมนินทรีย์, มีมโนวิญญาณธาตุ, มี ธัมมายตนะ, มีธัมมธาตุ. อนึ่ง ในสมัยนั้น มีธรรมะเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูป อิงอาศัยกันเกิดขึ้น. ธรรมเหล่านี้ ก็ชื่อว่าเป็นกุศล ธรรม. "
    ( คำอธิบายตอน ๓ นี้ ตัดตัวเลขออกให้เข้าใจแต่ชื่อธรรมะ แล้วอธิบายว่า ธรรมะชื่อ นั้นได้แก่อะไร ).
    ธรรมะประกอบกับจิต

    ( ท่านผู้อ่านได้ทราบแล้วว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรกของบทตั้ง นั้น อธิบายเพียง คำว่า กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ( ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) โดยอธิบายจิตตาม ๓ หัวข้อนั้น และ ในขณะเดียวกันก็อธิบายธรรมะประกอบกับจิตทีละข้อด้วยว่า จิตชนิดไหนมีธรรมะประกอบอะไรบ้าง. เฉพาะจิตดวงแรกได้ แสดงให้เห็นแล้วว่ามีธรรมะประกอบ ๕๖ ข้อ และจิตดวงต่อ ๆ ไปก็มีเท่ากันบ้าง มากกว่าบ้าง น้อยลงบ้าง จะนำมากล่าวจน หมดทุกอย่าง ก็ไม่มีหน้ากระดาษพอ. แต่มีข้อสังเกตที่ใคร่ฝากไว้แด่ท่านผู้รักการค้นคว้า คือในปัจจุบันนี้เรามักไม่เรียนอภิธรรม จากอภิธัมมปิฎก แต่เรียนตำราย่อเนื้อความแห่งอภิธรรมที่ชื่อว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ท่านผู้อ่านภาษาบาลีได้ควรจะได้ติดตามสอบ สวนดูด้วย โดยตั้งใจเป็นกลาง ๆ อย่างปลงว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์นั้นถูกต้องดีแล้วหรือยังบกพร่อง อะไรอยู่ โดยเฉพาะเรื่องเจตสิก ๕๒ นั้น ก็คือธรรมะประกอบกับจิต ๕๒ ประการนั่นเอง ในพระอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จิตบางดวงมีธรรมประกอบถึง ๖๐ บางดวงก็มีไม่ถึง ควรจะได้สอบสวนเทียบเคียงดูว่า ที่ว่าเจตสิก ๕๒ นั้นสมบูรณ์ถูกต้องดี หรืออย่างไร หรือท่านรวมอะไรเข้ากับอะไร ตัดอะไรออก การด่วนลงความเห็นว่าอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์มี บกพร่อง ยังไม่เป็นการชอบ ควรจะได้ตรวจสอบค้นคว้าให้ละเอียดลออถี่ถ้วน ที่เสนอไว้นี้เพื่อให้ท่านผู้รักการค้นคว้าได้ พยายามขบคิดและสอบสวนเรื่องนี้ทำเป็นตำราขึ้น เพื่อเป็นทางเรืองปัญญาของผู้ใคร่การศีกษาต่อไป. ข้าพเจ้าผู้ทำหนังสือนี้ ยัง ไม่พร้อมที่จะทำการวิจัยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในเล่มนี้ ขอเสนอชักชวนผู้ชอบงานค้นคว้าให้ช่วยกันทำอีกส่วนหนึ่ง. ต่อไปนี้จะ แสดงจิตดวงอื่น ๆ จนจบชนิดของจิต และจะละเรื่องธรรมะที่ประกอบกับจิต แต่ละดวงไว้ไม่กล่าวถึง เพราะจะทำให้พระ- ไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนจบลงไม่ได้ใน ๑ เล่ม ตามที่ตั้งใจไว้ ).
    แสดงจิตจากลำดับที่ ๑ ถึง ๘๙

    ( ต่อไปนี้จะแสดงจิต ๘๙ ชนิดโดยลำดับ จากที่ ๑ ถึง ๘๙ ความจริงโดยพิสดาร มีหลายร้อยหลายพัน และพึงทราบว่า จากลำดับที่ ๑ ถึง ๒๑ เป็นกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๒๒ ถึง ๓๓ รวมเป็น ๑๒ เป็น อกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๓๔ ถึง ๘๙ รวม ๕๖ เป็นอัพยากตจิต คือจิตที่เป็นกลาง ๆ อนึ่ง ในจิตที่เป็นกลาง ๕๖ นี้เป็นวิบาก จิต คือจิตที่เป็นผล ๓๖ เป็นกิริยาจิต คือจิตที่เป็นกิริยา ๒๐ ) ดังต่อไปนี้ :-
    กุศลจิต ๒๑
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. *8q* said:

    Re: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

    ๑. กามาวจร ( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ๘
    ๑. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ ( ความรู้ ) เป็น อสังขาริก ( คือไม่ต้องมีสิ่งชักจูง จิตก็เกิดขึ้น ).
    ๒. จิตเหมือนข้อที่ ๑ แต่เป็นสสังขาริก ( คือต้องมีสิ่งชักจูง จิตจึงเกิดขึ้น ).
    ๓. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส แต่ ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๔. จิตเหมือนข้อที่ ๓ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๕. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ คือไม่ดีใจไม่เสียใจ ) ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๖. จิตเหมือนข้อที่ ๕ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๗. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา แต่ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๘. จิตเหมือนข้อที่ ๗ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๒. รูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในรูป ) ๕
    ๙. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๑ ประกอบด้วยวิตก ( ความตรึก ), วิจาร ( ความตรอง ), ปีติ ( ความ อิ่มใจ ), สุข, เอกัคคตา ( ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ).
    ๑๐. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๒ ประกอบด้วยวิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา.
    ๑๑. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๓ ประกอบด้วยปีติ, สุข, เอกัคคตา.
    ๑๒. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๔ ประกอบด้วยสุข, เอกัคคตา.
    ๑๓. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๕ ประกอบด้วยอุเบกขา (ความวางเฉย) กับเอกัคคตา.
    ( หมายเหตุ : มีเรื่องแทรกที่ใคร่อธิบายไว้ในเรื่องจิตอันเป็นกุศลฝ่ายรูปาวจรไว้ ประกอบประกอบการพิจารณาของผู้ใคร่การศึกษา คือการนับจำนวนจิตในรูปาวจรกุศล ที่นับไว้เพียง ๕ ในที่นี้ เป็นการนับ อย่างรวบรัดตามแบบอถิธัมมัตถสังคหะ แต่ถ้าจะแจกตามบาลีอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้จริง ๆ ก็หลายร้อยหลายพัน ผู้ศึกษา อภิธรรมที่ไม่เคยนับตามอภิธัมมปิฎกเลย ก็อาจเข้าใจว่า รูปาวจรกุศลจิตมี ๕ เท่านั้น แท้จริงที่นับว่ามีขันธ์ ๕ นับตามฌาน ๕ และย่นย่อ ถ้านับอย่างพิสดารจะเป็นดังนี้ :-
    ๑. ท่านแสดงฌาน ๔ เรียกจตุกกนัย ( นัยที่มี ๔ )
    ๒. แล้วแสดงฌาน ๕ เรียกปัญจกนัย ( นัยที่มี ๕ )
    ๓. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ดูปฏิปทา ๔ นัยแรกในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ) จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๑...หมายเลขที่ ๒.
    ๔. แล้วแสดงอารมณ์ ๔ ( ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์น้อย, ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์ไม่มีประมาณ, ฌานไม่มี ประมาณมีอารมณ์เล็กน้อย, ฌานไม่มีประมาณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ )
    ๕. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ผสมกัน เรียกว่าหมวด ๑๖ ( ๔?๔ = ๑๖ = โสฬสกะ )
    ๖. แล้วแสดงกสิณ ๘ ( ความจริงกสิณมี ๑๐ แต่ที่จะใช้เป็นอารมณ์ของรูปฌานได้ มีเพียง ๘ เว้นวิญญาณ กสิณและอากาสกสิณ )
    อรรถกถานับฌาน ๔ ฌาน ๕ เป็นหมวด ๙ ตั้งเกณฑ์เป็น ๑ ; คิดตามปฏิปทา ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามอารมณ์ ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามแบบผสมคือปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ตั้งเลข ๑๖ เมื่อนำเลขที่ตั้ง เป็นเกณฑ์ไว้มารวมกันจะได้ ๒๕, เลข ๒๕นี้ เมื่อนับตามฌาน ๔ จะได้ ๑๐๐ ( ๒๕?๔ = ๑๐๐ ), เมื่อนับตามฌาน ๕ จะได้ ๑๒๕ ( ๒๕?๕ = ๑๒๕ ) เพราะฉะนั้น เพียงนับธรรมดาทั้งฌาน ๔ และฌาน ๕ รวมกัน จะได้ฌานจิตถึง ๒๒๕ แต่ถือว่าฌาน ๔ รวมไว้ในฌาน ๕ จึงนับเพียง ๑๒๕ ก็ได้. คราวนี้เมื่อเอาอารมณ์ของฌานมาคูณ เช่น กสิณ ๘ ก็จะ ได้จิต ( ๑๒๕?๘ = ๑,๐๐๐ ) ดวง !
    แต่การแสดงอารมณ์ของฌานมิได้มีเพียงเท่านี้ ท่านยังแสดงอภิภายตนะ,วิโมกข์ ๓, พรหมวิหาร ๔, อสุภะ ๑๐. เมื่อเอาตัวเลขต่าง ๆ มาคูณเกณฑ์ ๑๒๕ ทุกประเภท แล้วนำมารวมกันจะได้ตัวเลขเป็นพัน ๆ ทีเดียว ทั้งตัวเลขเหล่านี้ อรรถกถาอัตถสาลินี ซึ่งแก้พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ก็นับให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย. จึงบันทึกไว้ในที่นี้ เพื่อให้เทียบเคียงคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะกับอภิธัมมปิฎกแท้ ๆว่า มี ต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างเหมือนกัน ).
    ๓. อรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในอรูป ) ๔
    ๑๔. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๑ )
    ๑๕. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๒ )
    ๑๖. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๓ )
    ๑๗. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๔ ),
    ๔. โลกุตตระ ( จิตพ้นจากโลก ) ๔
    ๑๘. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค ๑๙ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยสกทาคามิมรรค
    ๑๙. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอนาคามิมรรค ๒๑ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอรหัตตมรรค.
    ( หมายเหตุ : มีข้อที่น่าจะอธิบายแทรกไว้อีก คือเมื่อจบการแสดงอรูปาวจร- กุศลจิตแล้ว ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ได้ตั้งอธิบายกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจรซ้ำอีก โดยตั้งเกณฑ์อิทธิบาท คือธรรม อันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ ประการ คือฉันทะ ความพอใจ, วิริยะ ความเพียร, จิตตะ ความฝักไฝ่, วิมังสา การพิจารณาสอบ สวน แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น คืออย่างเลว, อย่างกลาง, และอย่างประณีต ( ๔?๓ = ๑๒ ) นำมาประกอบกับกุศลจิตที่ เป็นกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจร จนจบ. ครั้นถึงคราวแสดงกุศลจิตที่เป็นโลกุตตรธรรม ก็ตั้งเกณฑ์ฌาน ๔ และ ฌาน ๕ อันเป็นโลกุตตระ ( พ้นจากโลก ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้เร็ว, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้เร็ว ), แล้วแสดงสุญญตะ ( ความว่างเปล่า ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับ สุญญตะ, แล้วแสดงอัปปณิหิตะ ( ความไม่มีที่ตั้ง ) แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับอัปปณิหิตะ, ครั้นแล้วตั้งเกณฑ์การเจริญธรรม ที่เป็นโลกุตตระอีก ๑๙ ข้อ)๑๐ รวมเป็น ๒๐ ข้อทั้งโลกุตตรฌาน. เมื่อตั้งเกณฑ์ ๒๐ ข้อ ตั้งเกณฑ์แจกรายละเอียดข้อละ ๑๐ จึงเป็นโลกุตตรจิตที่เป็นกุศล ๒๐๐ ดวง หรือ ๒๐๐ นัย ( ดูอรรถกถา หน้าพระ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ซึ่งมีแสดงไว้ว่า กายวูปกาเสน จิตฺตวูปกาเสน เป็นคำนาม เมื่อเทียบกับ คุณศัพท์ วูปกฏฺฐ )๑๑ อนึ่ง การตั้งเกณฑ์ ๑๐ เพื่อนำมาคูณธรรมะ ๒๐ ข้อ คือ ๑. ปฏิปทา ๔ ล้วน ๆ ๒. สุญญตะล้วน ๆ ๓. สุญญตะกับปฏิปทาผสมกัน ๔. อัปปณิหิตะล้วน ๆ ๕. ปฏิปทา ๔ กับ อัปปณิหิตะผสมกัน รวม ๕ อย่าง คูณด้วยนัย ๒ คือฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ นัยหนึ่ง ๕?๒ = ๑๐ ดูอรรถกถาหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ หน้า ๒ เชิงอรรถหมายเลขที่ ๗ ต่อจากนั้นจึงแสดงมรรค ๔ ).


    &#39;๑&#39; . และหมายถึงรูปด้วย
    &#39;๒&#39; . แสดงจิตฝ่ายกุศล เพียงดวงแรกหรือชนิดแรกข้อเดียว ก็พ่วงเอาธรรมะอื่น ๆ มาถึง ๕๖ ข้อ
    &#39;๓&#39; . คำว่า กาย ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกาย หากหมายถึงกองหรือหมวดแห่งนามธรรม ๓ อย่าง คือ เวทนา, สัญญา, สังขาร หรือจะพูดแบบรวมก็คือ เจตสิก
    &#39;๔&#39; . เพิ่มขึ้นมากกว่าคำอธิบายตอนที่ ๒ เฉพาะคำว่า ธรรม แต่ก็อธิบายหมายความอย่างเดียวกันว่า ได้แก่ ขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    &#39;๕&#39; . โดยปกติรูปฌานมี ๔ แต่ถ้าจัดอย่างพิสดารมี ๕ มีหลักฐาน มีทางพระสุตตันตปิฎก
    &#39;๖&#39; . ฌานเล็กน้อย คือไม่สามารถเป็นปัจจัยแห่งฌานสูงขึ้นไป มีอารมณ์น้อย คือมีอารมณ์ที่เพ่งในขนาดจำกัด พึงทราบคำอธิบายนี้อีก ๓ ข้อโดยอนุโลม
    &#39;๗&#39; . อภิภายตนะมี ๘ ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐..ตรงที่คำว่าหมายเหตุ ในที่นี้ อภิภายตนะ มิได้แสดงตัวเลขไว้ เพราะท่านนำมาแสดงเพียงบางข้อ
    &#39;๘&#39; . วิโมกข์มี ๘ แต่นำมากล่าวเพียง ๓ ข้อแรก ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) สรูปเกี่ยวกับวิโมกข์ ๘
    &#39;๑๐&#39; . คือมรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะ, ธรรมะ, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต อันเป็นโลกุตตระ
    &#39;๑๑&#39; . การนับจิตเฉพาะโลกุตตรกุศลถึง ๒๐๐ ดวงนี้ ย่อเหลือเพียง ๔ เท่านั้น
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  6. *8q* said:

    Re: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

    หน้า ๔
    อกุศลจิต ๑๒
    เกิดจากความโลภเป็นมูล ๘

    ๒๒. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ), เป็นอสังขาริก ( ไม่มีสิ่ง ชักจูงก็เกิดขึ้น )
    ๒๓. จิตเหมือนข้อ ๒๒ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )
    ๒๔. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก
    ๒๕. จิตเหมือนข้อ ๒๔ แต่เป็นสสังขาริก
    ๒๖. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยทิฏฐิ, เป็นอสังขาริก
    ๒๗. จิตเหมือนข้อ ๒๖ แต่เป็นสสังขาริก
    ๒๘. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก
    ๒๙. จิตเหมือนข้อ ๒๘ แต่เป็นสสังขาริก.
    เกิดจากโทสะเป็นมูล ๒

    ๓๐. จิตประกอบด้วยโทมนัส ( ความไม่สบายใจ ) ประกอบด้วยปฏิฆะ ( ความขัดใจ ), เป็นอสังขาริก ( ไม่ มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )
    ๓๑. จิตเหมือนข้อ ๓๐ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น ).
    เกิดจากโมหะเป็นมูล ๒

    ๓๐. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยความสงสัย
    ๓๑. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยอุทธัจจะ ( ความฟุ้งสร้าน ).
    อัพยากตจิต ๕๖
    ( วิบากจิต ๓๖ กิริยา ๒๐ ) วิบากจิต ๓๖

    ๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายกามาวจร ๑๖
    ๓๔. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์
    ๓๕. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
    ๓๖. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
    ๓๗. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์
    ๓๘. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยสุข มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์
    ( หมายเหตุ : จากข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๓๘ รวม ๕ ข้อนี้ เรียกว่าวิญญาณ ๕ อันเป็นวิบาก คือเป็นผล ของกุศล ).
    ๓๙. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, และโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์
    ๔๐. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจหรือสบายใจ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์
    ๔๑. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป จนถึงธรรมเป็นอารมณ์ ( มีอารมณ์ ครบ ๖ )
    ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึง ๔๑ รวม ๘ ข้อนี้ เป็นวิบากจิตธรรมดา ส่วนอีก ๘ ข้อต่อไปนี้ เรียกว่ามหาวิบาก ).
    ๔๒. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ, เป็นสังขาริก ( ไม่มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )
    ๔๓. เหมือนข้อ ๔๒ ต่างแต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )
    ๔๔. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๔๕. เหมือนข้อ ๔๔ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๔๖. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๔๗. เหมือนข้อ ๔๖ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๔๘. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๔๙. เหมือนข้อ ๔๘ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๒. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศล ฝ่ายรูปาวจร ๕
    ๕๐. วิบากจิตในฌานที่ ๑ ๕๑. วิบากจิตในฌานที่ ๒
    ๕๒. วิบากจิตในฌานที่ ๓ ๕๓. วิบากจิตในฌานที่ ๔
    ๕๔. วิบากจิตในฌานที่ ๕
    ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๕๐ ถึง ๕๔ รวม ๕ ข้อนี้ เป็นการย่ออย่างรวบรัด ถ้าจะแจกอย่างพิสดาร ก็จะต้องแยกเป็นฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ อีกนัยหนึ่ง แล้วแจกไปตามกสิณ ตามอย่างที่หมายเหตุไว้ท้ายจิตข้อ ๑๓ ).
    ๓. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายอรูปาวจร ๔
    ๕๕. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา
    ๕๖. วิบากจิตที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา
    ๕๗. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
    ๕๘. วิบากจิตที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
    ๔. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายโลกุตตระ ๔
    ๕๙. โสดาปัตติผลจิต ๖๐. สกทาคามิผลจิต
    ๖๑. อนาคามิผลจิต ๖๒. อรหัตตผลจิต
    ( หมายเหตุ : วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระนี้ก็เช่นกัน ย่อแบบสั้นที่สุดจะได้เพียง ๔ แต่ถ้ากล่าวอย่าง พิสดารตามตัวหนังสือจะได้ประมาณ ๒๐๐ ตามแบบที่หมายเหตุไว้ในข้อที่ ๒๑ ).
    วิบากจิตฝ่ายอกุศล

    ๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของอกุศล ๗
    ๖๓. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์
    ๖๔. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
    ๖๕. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
    ๖๖. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์
    ๖๗. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์
    ๖๘. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
    ๖๙. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และ ธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์ ( คือมีอารมณ์ครบ ๖ )
    ( หมายเหตุ : วิบากจิตฝ่ายอกุศล ๗ ข้อ ตั้งแต่ข้อ ๖๓ ถึง ๖๙ นี้ พึงเทียบดูกับวิบากจิตฝ่ายกุศล ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๔๑ ดูด้วยว่า ในที่นี้ขาดไป ๑ ข้อ คือมโนวิญญาณธาตุ อันประกอบด้วยโสมนัส. นอกจากนั้นหนังสือ อภิธัมมัตถสังคะ เรียกชื่อจิตดวงที่ ๖๘ ว่า สัมปฏิจฉันนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา จิตดวงที่ ๖๙ว่า สันตีรณะ อันประกอบ ด้วยอุเบกขา ).
    กิริยาจิต ๒๐

    ๑. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายกามาวจร ๑๑
    ๗๐. มโนธาตุที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์
    ๗๑. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส มีอารมณ์ครบ ๖
    ๗๒. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา มีอารมณ์ครบ ๖
    ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๗๐ ถึง ๗๒ นี้ อภิธัมมัตถสังคหะเรียกอเหตุกกิริยาจิต แต่เรียกชื่อต่างไป ตามลำดับดังนี้ ปัญจทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา มโนทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา และหสิตุปบาทจิต คือจิตคิดยิ้มแย้ม อันประกอบด้วยโสมนัส ).
    ๗๓. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก
    ๗๔. เหมือนข้อ ๗๓ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๗๕. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๗๖. เหมือนข้อ ๗๕ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๗๗. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๗๘. เหมือนข้อ ๗๗ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๗๙. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
    ๘๐. เหมือนข้อ ๗๙ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
    ๒. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายรูปาวจร ๕
    ๘๑. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๑ ๘๒. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๒
    ๘๓. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๓ ๘๔. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๔
    ๘๕. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๕
    ๓. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายอรูปาวจร ๔
    ๘๖. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา
    ๘๗. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา
    ๘๘. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
    ๘๙. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา.
    ( หมายเหตุ : เป็นอันสรูปว่า ลำดับจิตตามที่แสดงในอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จัดลำดับโดยชาติ คือกุศล อกุศล และอัพยากฤต ( เฉพาะอัพยากฤต แยกเป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ) จึงมีลำดับไม่เหมือนกับหนังสืออภิธัมมัตถ- สังคหะ นอกจากนั้นในจิตที่เป็นรูปาวจร และโลกุตตระ ยังแสดงจิตพิสดารมากมาย จึงควรกำหนดง่าย ๆ ดังนี้ อย่างย่อธรรมดา จิตมี ๘๙ ชนิด อย่างพิสดารธรรมดา มี ๑๒๑ ชนิด อย่างพิสดารเต็มรูป มีนับจำนวนพัน ).
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  7. *8q* said:

    Re: พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน

    ๓. คำอธิบายเรื่องรูป ( รูปกัณฑ์ )

    คำอธิบายเรื่องรูป หรือรูปกัณฑ์นี้ เป็นส่วนที่ ๓ คือส่วนที่ ๑ เป็นมาติกา หรือบทตั้ง ส่วนที่ ๒ เป็นคำ อธิบายเรื่องจิตเกิด ( จิตตุปปาทกัณฑ์ ) ส่วนที่ ๓ จึงถึงลำดับที่จะอธิบายเรื่องรูป.
    ในการอธิบายคำว่า รูป นี้ ท่านตั้งคำถามขึ้นก่อนว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( อัพยากฤต ) เป็นไฉน แล้วแก้ว่า ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ( โดยใจความ ) ได้แก่ธรรม ๔ อย่าง คือ วิบาก, กิริยา, รูป, และอสังขตธาตุ ( นิพพาน ).
    ( หมายเหตุ : คำว่า วิบาก, กิริยา โดยตรง ได้แก่จิตหรือวิญญาณขันธ์ที่เป็นผล และเป็นกิริยาโดย อ้อมย่อมหมายคลุมถึงเจตสิกหรือเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และสังขารขัน์ ซึ่งเกิดขึ้นผสมกับจิตที่เป็นวิบากหรือกิริยานั้นด้วย ).
    ครั้นแล้วได้ตั้งปัญหาเฉพาะคำว่า รูป ว่าได้แก่อะไร แล้วแก้ว่า ได้แก่มหาภูตรูป ( รูปใหญ่ คือธาตุทั้งสี่ ) และอุปาทายรูป ( รูปอาศัย คือจะปรากฏได้ก็ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ )
    ครั้นแล้วได้แสดงบทตั้ง ( มาติกา ) เกี่ยวกับรูป ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑ ต่อจากนั้น จึงอธิบายบท ตั้งนั้นทุกหมวด. ต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างรูปในหมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๑.
    หมวดที่ ๑ ( เอกกะ )

    รูปทุกชนิด มิใช่เหตุ ( มิใช่เหตุฝ่ายดี เพราะมิใช่อโลภะ อโทสะ อโมหะ มิใช่เหตุฝ่ายชั่ว เพราะมิใช่ โลภะ โทสะ โมหะ ) ไม่มีเหตุ ( ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นมูล เหมือนอกุศล หรือ กุศล เพราะเป็นกลางๆ ) นอกจากนี้ยังแสดงคำอธิบายรูป ๔๒ บท รวมเป็น ๔๔ บท.
    หมวดที่ ๒ ( ทุกะ )

    รูป ที่อาศัย มีอยู่ รูป ที่มิได้อาศัย มีอยู่ ( รูปที่อาศัย คืออุปาทารูป รูปที่มิได้อาศัย คือมหา ภูตรูป ) นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๑๐๓ คู่ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๐๔ คู่.
    หมวดที่ ๓ ( ติกะ )

    รูปใดเป็นไปในภายใน รูปนั้นเป็นอุปาทารูป, รูปใดเป็นไปในภายนอก รูปนั้นเป็นอุปาทารูป ( รูปอาศัย ) ก็มีเป็นโนอุปาทารูป ( มิใช่รูปอาศัย ) ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๓ อย่างต่าง ๆกันอีก ๓๐๒ หมวด ๒ รวมทั้ง สิ้นจึงเป็น ๓๐๓ หมวด ๓ ( คำว่า อุปาทารูป และอุปาทายรูป ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ความหมายอย่างเดียวกัน ).
    หมวดที่ ๔ ( จตุกกะ )

    รูปใดเป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือก็มี, รูปใดไม่เป็นรูปอาศัย รูปนั้นถูกยึดถือก็มี ไม่ถูกยึดถือ ก็มี. นอกจากนั้นอธิบายถึงรูปที่แบ่งออกเป็น ๔ อย่างต่าง ๆ กันอีก ๒๒ หมวด ๔ รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๒๒ หมวด ๔.
    หมวดที่ ๕ ( ปัญจกะ )

    ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุลม, และรูปอาศัย ( รวมเป็น ๕ ).
    หมวดที่ ๖ ( ฉักกะ )

    รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, และด้วยใจ ( รวมเป็น ๖ ).
    หมวดที่ ๗ ( สัตตกะ )

    รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย, ด้วยมโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ( รวมเป็น ๗ ).
    หมวดที่ ๘ (อัฏฐกะ )

    รูปที่พึงรู้ด้วยตา, ด้วยหู, ด้วยจมูก, ด้วยลิ้น, ด้วยกาย มีสัมผัสเป็นสุขก็มี มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี, ด้วยมโนธาตุ, และด้วยมโนวิญญาณธาตุ ( รวมเป็น ๘ โดยแยกรูปที่พึงรู้ด้วยกายออกเป็น ๒ ).
    หมวดที่ ๙ ( นวกะ )

    อินทรีย์ ( ธรรมชาติอันเป็นใหญ่ ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง ( อิตถินทรีย์ ), ชาย ( บุริสินทรีย์ ), ชีวิต ( ชีวิตินทรีย์ ), และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์. ( รวมเป็น ๙ เฉพาะข้อหลังที่ปฏิเสธว่าธรรมชาติซึ่งมิใช่อินทรีย์นั้น หมายถึงรูป อื่น ๆ ที่นอกจากอินทรีย์ ).
    หมวดที่ ๑๐ ( ทสกะ )

    อินทรีย์ คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, หญิง, ชาย, ชีวิต, และธรรมชาติ ซึ่งมิใช่อินทรีย์ อันถูกต้องได้ ( สัปปฏิฆะ ) ก็มี, อันถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) ก็มี ( รวมเป็น ๑๐ โดยแยกข้อสุดท้ายออกเป็น ๒ ).
    หมวดที่ ๑๑ ( เอกาทสกะ )

    อายตนะ ( ที่ต่อหรือบ่อเกิด ) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูก ต้องได้ด้วยกาย ) และรูปที่เห็นไม่ได้ ( อนิทัสสนะ ) และถูกต้องไม่ได้ ( อัปปฏิฆะ) เป็นของเนื่องด้วย ธัมมายตนะ (รู้ได้ด้วยใจ ) ( รวมเป็น ๑๑ ).

    ๔. นิกเขปกัณฑ์ ( คำอธิบายบทตั้งทุกข้อ )
    ๕. อัตถุทธารกัณฑ์
    ( คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ )

    หมวดใหญ่ทั้งสองได้นำมาตั้งไว้รวมกัน เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายบทตั้งหรือมาติกา เป็นแต่แบบแรก ยาว กว่า แบบหลังสั้นกว่า ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างคำอธิบาย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ทั้งสองแบบพอให้เห็น ตัวอย่าง.
    คำอธิบายกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์

    รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม ( การกระทำทางกาย, วาจา, ใจ ) อันมีความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล ( พึงสังเกตว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์แสดง กุศลธรรมเพียงแค่จิตกับเจตสิก แต่ในที่นี้ อธิบายกว้างออกมาถึงการกระทำทางกาย วาจา ใจ ด้วย ).
    คำอธิบายกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์

    กุศลในภูมิ ๔ ( กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ, อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ ) ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากุศล
    คำอธิบายอกุศลธรรมในนิกเขปกัณฑ์

    รากเหง้าแห่งกุศล ๓ คือความโลภ ความไม่โกรธ ความหลง, กิเลสที่มีเนื้อความอันเดียวกับความโลภ ความ โกรธ ความหลงนั้น, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ อันประกอบด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น, กายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม อันมีความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.
    คำอธิบายอกุศลธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์

    ความเกิดขึ้นแห่งจิตอันเป็นอกุศล ๑๒ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอกุศล.
    คำอธิบายอัพยากตธรรมในนิกเขปกัณฑ์

    วิบาก ( ผล ) ของธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ( อปริยาปันนะ), ที่เป็นเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ ธรรมที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่ผลของกรรม, รูปทั้งปวง, อสังขต- ธาตุ ( นิพพาน ). ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัพยากฤต ( เป็นกลาง ๆ ).
    คำอธิบายอัพยากตธรรมในอัตถุทธารกัณฑ์

    วิบากในภูมิทั้งสี่, กิริยาในภูมิทั้งสาม ( โลกุตตรภูมิไม่มีกิริยา ), รูป, นิพพาน ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากฤต.

    จบพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ธัมมสังคณี

    ( หมายเหตุ : ผู้เขียนมีความเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่สามารถแสดงคำอธิบายในบทตั้งในเล่มที่ ๓๔ ได้ หมดทุกข้อ แต่ก็ขอให้ท่านผู้อ่าน ซึ่งเคยผ่านหนังสือเรื่อง GUIDE THROUGH ABHIDHAMMAPITAKA (นำทางอภิธัมมปิฎก) ของพระนยายติโลกเถระ ชาวเยอรมันมาแล้ว โปรดเทียบเคียงดู จะเห็นได้ว่า ผู้เขียนย่อในที่นี้ พิสดารกว่ามาก ส่วนที่พระเถระ เยอรมันย่อนั้น บางตอนหนักไปในทางถอดข้อความในหนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งมิใช่พระอภิธัมมปิฎกมากกว่า ส่วนเล่มนี้ ถือแนวตามอภิธัมมปิฎก แต่เทียบให้เห็นบางส่วนของอภิธัมมัตถสังคหะ ความจำเป็นในการย่อแต่พอได้สาระสำคัญ และหน้า กระดาษจำกัด ทำให้ต้องจบข้อความในเล่มที่ ๓๔ ทั้งที่ยังมีข้อความบางตอนที่น่าสนใจอีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านก็ได้ ผ่านสาระสำคัญเกือบจะเรียกว่าสมบูรณ์ ).


    &#39;๑&#39; . มโนธาตุ มีอารมณ์เพียง ๕ คืออารมณ์ในใจ
    &#39;๒&#39; . มโนวิญญาณธาตุ มีอารมณ์ครบ ๖ พึงสังเกตทั้งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุไว้ในเรื่องจำนวน อารมณ์ด้วย
    &#39;๓&#39; . พึงสังเกตว่า วิบากจิตที่เป็นผลของอกุศลฝ่ายกามาวจร ยังไม่กล่าวถึงในที่นี้ ด้วยต้องการแสดงฝ่าย กุศลให้หมดก่อน แล้วจึงแสดงวิบากจิตที่เป็นผลของอกุศลภายหลัง
    &#39;๔&#39; . ความหมายของศัพท์ทั้งสี่ในอรูปาวจร
    &#39;๕&#39; . คำว่าวิบาก และกิริยา ได้แสดงมาแล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ทั้งสองนี้ เป็นอัพยากตจิต จึงยังคงเหลืออีก ๒ อย่างที่ยังมิได้อธิบาย คือรูป กับนิพพาน ในที่นี้จะอธิบายเรื่องรูป เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า รูป และนิพพาน ก็เป็น อัพยากฤตด้วย
    &#39;๖&#39; . อุปาทายรูป คือรูปที่จะปรากฏได้ ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ถ้าไม่มีธาตุ ทั้งสี่ ก็ไม่ปรากฏ ส่วนมหาภูตรูปไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เป็นของปรากฏได้ในตัวเอง


    ขอบคุนเพื่อนอกาลิโกครับ
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี