1. "อย่าเสียดายอะไรในโลกทั้งหมด" (เพราะเป็นอารมณ์ 2 คือ พอใจกับไม่พอใจ ซึ่งปิดกั้นมรรคผลนิพพานหมด) (พอใจเท่ากับโลภะและราคะ ไม่พอใจเท่ากับปฏิฆะหรือโทสะ)

2. "อย่าทิ้งอนิจจวะตะสังขารา" (คืออย่าทิ้งไตรลักษณ์และมรณานุสสติ ซึ่งสามารถระงับกิเลสได้อย่างฉับพลัน และฆ่ากิเลสทุกชนิดได้ในที่สุด)


3. "หากร่างกายไม่ดี ให้คลายจิตจากงานทางโลกทั้งปวง" (เพราะหากจิตเกาะกายก็คือเกาะทุกข์ ผลยิ่งทุกข์มากขึ้นให้ปฏิบัติตามข้อ 15 และ 16)

4. "สภาพจิตใกล้สิ่งไหนเกาะสิ่งนั้น รับสัมผัสสิ่งดีก็ยึดดี รับสัมผัสสิ่งเลวก็ยึดเลว" (จุดนี้สำคัญมากตอนใกล้จะตาย จิตเกาะบุญหรือความดีก็ไปสวรรค์ จิตเกาะบาปหรือความชั่วก็ไปนรก ผู้ไม่ประมาทจึงซ้อมตายและพร้อมตายอยู่เสมอ)

5. "อย่าฝืนกายเพราะยิ่งฝืนยิ่งทุกข์" (จุดนี้คืออริยสัจซึ่งเป็นปัญญาสูงสุดในพุทธศาสนา เพระทุกข์กายหรือทุกขสัจ ทรงให้กำหนดรู้ว่าธรรมดาของมันเป็นอย่างนี้แหละ ไม่มีใครแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ สิ่งที่ต้องฝืนคือสมุทัย ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ต่างหาก)

6. "ทุกข์ใดเกิดต้องพยายามหาเหตุให้พย แล้วปลดเสียให้ได้" (หรือใช้หลักอริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา ทั้งทางโลกและทางธรรม)

7. "อย่ามัวหลงศพเดินได้อยู่" (อย่าหลงส้วมเคลื่อนที่หรือหนังหุ้มขี้) เท่ากับจงอย่าหลงอย่าติดในร่างกายของเราและของผู้อื่น หากตัดได้ก็เท่ากับตัดสักกายทิฏฐิ จบกิจในพุทธศาสนาก็จบที่จุดนี้

8. "ตัดความกังวล ตัดความกลัวตายด้วยการพิจารณา" (การพิจารณาทำให้เกิดปัญญา ให้พิจารณาหาความจริงที่กายเราและจิตเราเป็นสำคัญ เมื่อพบแล้วให้ยอมรับความจริงนั้นๆ จนกว่าจิตจักวางความกังวลใจลงได้ จึงจักเข้าถึงอริยสัจอย่างแท้จริง)

9. "หากวางขันธ์ 5 ได้อย่างเดียวก็วางทุกสิ่งได้หมด" (คนฉลาดพระองค์สินสั้นๆ เพียงแค่นี้ก็จบกิจในพุทธศาสนาได้แล้ว เพราะสิ่งที่เรารักและหวง-ห่วงที่สุด ก็คือร่างกายที่เราอาศัยอยู่นี่แหละ)

10. "อย่าเพ่งโทษผู้อื่น อย่าสนใจจริยาของผู้อื่น" เพราะเป็นอุปกิเลสหรือสะเก็ดความดีในพุทธศาสนามีอยู่ 5 ข้อ คือ อย่าเสือก-อย่าซ่า-อย่าหลง-อย่าเป็นตำรวจและอย่าเป็นผู้แทน

11. "ตั้งอารมณ์ให้ถูกให้เป็นสัมมาทิฏฐิ" (เพราะหากตั้งอารมณ์ผิด ผลที่ได้จะผิดตลอด หากตั้งอารมณ์ถูก ผลที่ได้ก็จะถูกตลอด)

12. "อย่าทิ้งธาตุ 4, อาการ 32, อสุภกรรมฐาน, มรณานุสสติ, ไตรลักษณญาณและอานาปานุสสติ เท่ากับอนุสสติ สุดท้ายคือ กายคตานุสสติ, มรณานุสสติและอุปสมานุสสติ

13. "อย่าให้จิตว่างจากพระกรรมฐาน" (เพราะจิตมีสภาพเกาะ หากให้จิตเกาะความดีความชั่วก็เข้าไม่ได้ หรือเกาะบุญดีกว่าเกาะบาป)

14. "หนีภัยทุกชนิดหนีไม่พ้นหรอก เพราะป็นกฏของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอให้ผลไม่ผิดตัวด้วย" (ทรงเน้นสัทธรรมทั้ง 5 คือ ทุกข์ภัยจากการเกิด แ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ และมีความปรารถนาไม่สมหวัง)

15. "ซ้อมวางภาระขันธ์ 5 ไว้เสมอ หรือซ้อมตายและพร้อมที่จะตายอยู่เสมอ" (นี่คืออนุสสติสุดท้ายสำหรับผู้ไม่ประมาทในความตาย จิตมีความพร้อมที่จะเข้าสู่พระนิพพานอยู่เสมอ)

16. "เห็นทุกข์-เห็นโทษ-เห็นภัยจากการมีร่างกายไว้เสมอ" (จะมีผลให้เกิดนิพพิทาญาณ คือ เบื่อกาย เบื่อเกิด เพราะไม่อยากเกิดมาพบกับทุกข์ในโลกนี้อีก จิตจะมั่นคงในความไม่เกิด คือ นิพพานจุดเดียว)

17. "ให้หยุดอารมณ์ท่องเที่ยวเสีย" (เพราะอารมณ์ท่องเที่ยว คืออารมณ์เกาะโลกหรือเกาะทุกข์ จึงยากที่จะพ้นทุกข์)

18. "หากชีวิตยังอยู่ อย่าทิ้งการทำบุญ และการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกหรืออานาปานัสสติ"

19. "อย่าต่อเวรให้ตัดกรรม" (หากหวังจะไปพระนิพพานในชาตินี้)

20. "ยังเอาดีไม่ได้เพราะขาดสัจจะบารมี" (หากขาดหรืออ่อนในบารมีใด มีผลทำให้อีก 9 บารมีอ่อนตาม)

21. "ธรรมทานภายนอกกับธรรมทานภายใน มีผลแตกต่างกันมาก" เท่ากับ (สร้างพระภายนอกกับสร้างพระภายในมีผลแตกต่างกันสุดประมาณ พระภายนอกเราสร้างกันมานับไม่ถ้วนองค์ สร้างเท่าไหร่ก็พังหมดเท่านั้น เพราะตกอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์ แต่พระภายในตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ใครสร้างได้แล้วจะเที่ยงไม่เสื่อมไม่พังอีก เพราะพ้นอำนาจขแงพระไตรลักษณ์ได้อย่างถาวร คือ ไม่มีวันตกนรกหรืออบายภูมิ 4 อีกต่อไปตลอดกาล

ดังนั้น พวกเราจงเพียรพยายามเร่งสร้างพระภายในกันเถิด อย่ามัวหลงติดพระภายนอกกันจนขาดปัญญาบารมีเลยถึงพระนิพพานได้ช้าหรือยาก)

22. หลักปรมัตถทาน 3 ข้อ
ก) ต้องไม่เสียดายในทานที่ทำ
ข) ต้องไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
ค) ต้องไม่อธิษฐานขออะไรทั้งสิ้น นอกจากพระนิพพาน

จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ผู้อ่านเกิดปัญญา โดยยึดหลักว่าเห็น หรืออ่านหรือฟัง แล้วให้จำให้ได้เป็นประการแรก
ขั้นสอง นำธรรมนั้นมาคิด-พิจารณาด้วยสติ-ปัญญาของตนเองจนเข้าใจในธรรมนั้นๆ
ขั้นสาม นำธรรมนั้นๆ ไปปฏิบัติที่กายและจิตของตน อย่าไปยุ่งกับกายและจิตของผู้อื่น จนเกิดปัญญาหรือตัวรู้ขึ้นด้วยตนเอง คือ รู้วิธีกำจัดกิเลส-ตัญหา-อุปาทานและอกุศลกรรม ให้หมดไปจากจิตของตน ให้จำย่อๆ 4 คำว่า เห็น-จำ-คิด-รู้ หรืออ่าน-จำ-คิด-รู้ หรือ ฟัง-จำ-คิด-รู้

-----------------------------------------------------
คัดลอกมาจากหนังสือ "ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น"

โดย....หลวงพ่อฤาษี (พระราชพรหมยานมหาเถระ)
วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี

รวบรวบโดย : พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


ขอบคุนๆแคทครับ