วันเข้าพรรษา และดอกเข้าพรรษา

กระทู้: วันเข้าพรรษา และดอกเข้าพรรษา

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    วันเข้าพรรษา และดอกเข้าพรรษา


    วันเข้าพรรษา ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘


    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้


    โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา


    *** เพิ่มเติม ***

    "ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา"

    "ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา"

    การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
    การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
    แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

    ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น



    กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
    ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
    ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
    ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
    ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
    <!-- / message --><!-- sig -->
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: วันเข้าพรรษา และดอกเข้าพรรษา


    “..ดอกเข้าพรรษา..”


    งานวัฒนธรรมประเพณีหนึ่งเดียวในโลก "ตักบาตรดอกไม้"้ ที่พุทธศาสนิกชนชาว อำเภอพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ยึดถือสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล งานดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา ของทุกปี และที่แปลกอย่างยิ่งคือ ระหว่างวันเข้าพรรษาจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่ง และขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณแนวเขา โดยรอบมณฑป "รอยพระพุทธบาท" ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้นพี่น้องประชาชนชาวพระพุทธบาทจึงเรียกขานดอกไม้ชนิดนี้ว่า"ดอกเข้าพรรษา"

    เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษาของแต่ละปี จะมีดอกไม้ชนิดหนึ่ง ออกดอกสีขาว เป็นช่อเล็กๆ ถ้าดอกนั้น อยู่กับต้นก็จะดูธรรมดาไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร

    แต่เมื่อมีคนคิดสร้างสรรนำ ดอกไม้นี้มาจัดรวมกันเป็นชั้นๆ คล้ายบายศรี ก็ดูสวยงาม แปลกตา ไถ่ถามกันพึมพำว่า "ดอกอะไร" แปลกดี ดอกไม้ที่ว่านี้ เรียกกันว่า "หงส์เหิน" หรือ “ดอกเข้าพรรษา” เพราะ จะออกดอกในช่วงเข้าพรรษาพอดี คือ ระหว่าง พฤษภาคม - ตุลาคม อาจจะมีชื่อเรียก แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก) กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน) กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่) ก้ามปู (พิษณุโลก) ขมิ้นผี หรือ กระทือลิง (ภาคกลาง) ว่านดอกเหลือง (เลย)ดอกเข้าพรรษา (สระบุรี) ที่เรียกว่า "หงส์เหิน" เพราะดอกและเกสรจะมี ลักษณะเหมือนตัวหงส์กำลังจะบิน มีลีลาสง่างาม มีกลีบประดับเรียงตามช่อดอก

    แหล่งกำเนิด

    หงส์เหิน (Globba winiti) เป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่เกิดในป่าร้อนชื้น ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือ ขึ้นอยู่ตามชายป่า ซึ่งในป่าเมืองไทยมีพืชสกุล Globba ขึ้นกระจายอยู่ทุกภาค อาจมีมากถึง 40 ชนิด จากการสำรวจพบว่า แถบภาคเหนือและภาคกลาง มีความหลากหลายของพันธุ์สูงกว่าภาคอื่นๆ แต่ยังไม่มีการศึกษา ทบทวนด้านอนุกรมวิธาน สำหรับพื้นที่บริเวณภาคเหนือรายงานว่าพบ Globba 3 ช นิด คือ G.nuda, G.purpurascens และ G.reflexa บริเวณป่าทิศตะวันออกดอยสุเทพ นอกจากนี้ พบ G. reflexa หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า "ดอกคำน้อย" ขึ้นตามทุ่งหญ้าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ในภาคเหนือ ตั้งแต่ระดับความสูง 700 - 1,000 เมตร สำหรับ G.nuda พบในป่าผลัดใบ สำหรับ G.pupurascens. นี้จะสร้างหัวเล็กๆ (bulbil) ที่โคนกลีบเลี้ยง และรากจะงอกในขณะที่อยู่บนช่อ เมื่อหัวเล็กๆ นั้นโตเต็มที่ยังสำรวจพบ G.clarkel, G.obscura, G.platystachya. G.purpur-ascens และ G.reflexa ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อีกด้วย สำหรับ G.winitil หรือหงส์เหิน เป็นพันธุ์ที่มีกลีบประดับขนาดใหญ่สีม่วงเข้มและยังมีพันธุ์ที่มีกลีบประดับ สีขาว ซึ่งได้มีการนำ ไปปลูกประดับแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว
    รูปนี้ถูกลดขนาดลง กดที่เเถบนี้เพื่อดูขนาดเดิม ขนาดเดิมของรูป: 500x375 ขนาดของไฟล์: 63KB
    http://variety.teenee.com/foodforbrain/15645.html <!-- / message --><!-- sig -->
    __________________
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี