คติธรรมคำกลอน

กระทู้: คติธรรมคำกลอน

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    สวัสดีครับคุณเล็กและทุกๆท่าน
    คุณเล็กครับที่คุณเล็กแต่โคลงนั้นมันผิดหลักไปนิดนึงนะครับ
    ตรงที่บังคับเอกโทครับ และสัมผัสครับ

    อ้างอิง โพสต์ต้นฉบับโดยคุณ lek
    [glow=red,2,300][size=18pt]
    ก่อกรรมทำไปแล้ว เป็นผล
    ผิดถูกให้อดทน สิ่งรู้
    ปล่อยอดีตฝังจำ สิ้นแล้ว สิ้นไป
    ไม่ยึดไม่หลงไหล ให้ทิ้งให้วาง
    ตามที่ขีดเส้นใต้ไว้ครับ
    ลองมาเทียบกันฝังดูครับ


    นี่คือผังการแต่งโคลงสี่สุภาพครับ
    และที่แน่ๆผมก็ได้เอาลงไว้แล้วที่หัวข้อหลักการประพันธ์ในพระธรรมคำกลอนแล้วนะครับ
    ลองไปเปิดอ่านดูได้ครับ
    ในนั้นผมพยายามรวบรวมหลักการแต่งคำประพันธ์ต่างๆไว้ครับ
    ยังไงก็พยายามเข้านะครับสู้ๆครับ
    เป็นกำลังใจให้ครับ
    สวัสดีครับ
    [/glow][/size]
    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  2. lek said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    ขอบพระคุณขอรับท่านปีศาจฯ จะลองพยายามดูอีกครั้งขอรับ
    ครั้งแรกรู้สึกมันยากยังไงไม่รู้อ่ะขอรับ...ยังไม่ทันแต่ง..ก็ท้อแล้วอ่ะขอรับ
    แต่ยังไงก็สู้ขอรับ...ไม่ลองไม่รู้...ไม่ดูไม่เห็น..ไม่ทำไม่เป็น...ไม่ยึดไม่วางอ่ะขอรับ



    ครั้งแรกนั้นย่อมพลั้ง มีบ้าง
    อาจคลั่งใจติดค้าง อยู่ไซร้
    เป็นเหมือนดั่งหนทาง ข้ามฝั่ง พ้นแล
    ทนยิ่งขยันไว้ ย่อมได้ สายกลาง


    ท่านปีศาจฯขอรับ คำสามัญคืออะไรขอรับ ขอท่านโปรดชี้แนะให้ด้วยขอรับ ขอบพระคุณขอรับ
     
  3. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    สวัสดีครับคุณเล็กและทุกๆท่าน

    ที่คุณเล็กถามว่าคำสามัญนั้นคืออะไร
    ก็ตอบได้เลยว่าคำสามัญคือ
    คำที่ไม่มีวรรณยุกต์กำกับและต้องเป็นเสียงสามัญมั้งหมดครับ
    ตัวอย่างเช่น ไป ใน เป็น เรา เอา ขาม งาม นาน ฯลฯ
    นี่แหละครับคำสามัญ

    เอ้อ...อีกอย่างนะครับคุณเล็ก คำส้อยลงท้ายผิดนะครับ
    ผมก็ลืมบอกไป

    อย่างที่คุณเล็กลงว่า ข้ามฝั่ง พ้นภัย
    นั้นผิดนะครับ
    จะต้องเปลี่ยนคำว่า "ภัย" เป็นคำสร้อยตามนี้ครับ
    คำสร้อยที่นิยมใช้กันเป็นแบบแผนมีทั้งหมด 18 คำ

    1.พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล
    2.แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
    3.พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 ก็ได้
    4.เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
    5.เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
    6.นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
    7.นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
    8.บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้ เช่นนี้
    9.รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด
    10.ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
    11.เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
    12.ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
    13.แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
    14.ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
    15.แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
    16.อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตกกังวล
    17.เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ
    18.เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น เฮย มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน

    ขอบคุณที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%...B8%B2%E0%B8%9E
    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  4. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    คติธรรมของล้านนาเกี่ยวกับอายุ

    สิบปี๋ อาบน้ำ บ่ หนาว
    ซาวปี๋ แอ่วสาว บ่ ก้าย
    สามสิบปี๋ บ่ หน่ายสงสาร
    สี่สิบปี๋ ทำงานเหมือนฟ้าผ่า
    ห้าสิบปี๋ สาวน้อยด่า บ่ เจ็บใจ๋
    หกสิบปี๋ ไอเหมือนฟานโขก
    เจ็ดสิบปี๋ มะโหกเต๋มตั๋ว
    แปดสิบปี๋ ไค่หัวเหมือนไห้
    เก้าสิบปี๋ ไข้กะต๋าย บ่ ไข้กะต๋าย
    ร้อยปี๋ บ่ ตายกล๋ายเป๋นละอ่อน

    ลองพิจารณาดูนะครับ
    เดี๋ยวจะมาบอกที่หลังครับ
    สวัสดีครับ
    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  5. lek said:

    Re: คติธรรมคำกลอน


    ขอบพระคุณท่านปีศาจฯที่ช่วยอธิบายให้เข้าใจขอรับ
    ขออนุญาติแต่งคติธรรมที่ท่านปีศาจฯนำมาโพสต์ไว้นะขอรับ
    เชิญชี้แนะข้าน้อยด้วยนะขอรับ ขอบพระคุณอีกครั้งขอรับ
    สิบขวบนั้น ยังเด็ก เรียนศึกษา
    ยี่สิบมา ต้องการ คนเข้าใจ
    สามสิบแล้ว ยึดอยู่ ผู้สงสัย
    สี่สิบไว เร่งรีบ ทำแต่งาน

    ห้าสิบปี เริ่มปลง ในชีวิต
    มัวแต่คิด หกสิบ หยิบสงสาร
    เจ็ดสิบมา ผมหงอก ผิวหย่อนยาน
    แปดสิบผ่าน ป่วยไข้ รุมเร้าใจ

    เก้าสิบเยือน เหมือนเตือน ปลงสังขาร
    ทรมาน วังวน เร่งแก้ไข
    ร้อยปีนั้น กลับเด็ก ทารกไง
    คืนกลับไป เกิดตาย หรือดับพลัน
     
  6. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    .
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย ปีศาจ : 09-24-2012 เมื่อ 11:07 AM
    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  7. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน


    กลบทกบเต้นสลักเพชร

    กลบทกฎระบอบกอปรระเบียบ
    ลิขิตเทียบเลียบคิดถ้อยร้อยคำถึง
    มีร้อยพันมันร่วมพามารำพึง
    จนเกลากลึงจึงกลั่นกรองจองกลอนกานต์


    แหะๆไม่ได้แต่งกลบทซะนาน พอดีมีคนมาสะกิดตุ้นต่อมเลยขอนำเอามาลงไว้ที่นี่ด้วย
    สวัสดีครับ

    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  8. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    ขอผืนดินจงทับถมเถ้ากระดูกที่แหลกเหลว
    ขอสายน้ำจงพัดพารอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้จางหาย
    ขอสายลมจงปัดเป่าความสุขให้มลาย
    ขอเปลวไฟจงเผาผลาญร่างกายอันไร้วิญญาณให้สิ้นสูญ
    ขอความเงียบเหงา,อาดูร,โดดเดี่ยว,อ้างว้าง,ว่างเปล่าจงประสานเสียงบรรเลง
    ขอเสียงเพลงจงขับขานส่งวิญญาณสู่ที่อันไกลแสนไกล
    ขอราตรีอันแสนยาวนานจงขับกล่อมให้หลับใหลชั่วนิจนิรันดร์
    ...ขอเพียงเท่านี้พอ...
    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  9. ปีศาจ said:

    Re: คติธรรมคำกลอน

    กลบทสุภาษิต
    หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)

    กลอนแปด
    พาลทุพล ยลปราชน์ อาจเอิบจิต
    เข้าแข่งคิด ขันถ้อย ธรรมวิถี
    โวหารอ้าง ขวางหู หมู่กระวี
    ก็เลี่ยงลี้ หลีกรำคาญ ใช่การกล
    สุกรเกลือก เปือกปน ทุคนธชาติ
    สีหราช ผาดพิศ แสยงขน
    แสนรังเกียจ เกลียดไกล ไม่ใก้ลสกนธ์
    สุกรยล กระหยิ่มใจ หมายว่ากลัว
    อันผู้ที่ มีปัญญา ปรีชาชาติ
    ย่อมสามารถ รู้กระบวน อยู่ถ้วนทั่ว
    ที่ร้ายร้อน ผ่อนเบา ไม่เมามัว
    รักษาตัว ใจตั้ง ไม่จางเจือ
    เห็นท่านต่ำ แล้วอย่าก้ำ อย่าเกินนัก
    สมทบทัก ทับถม ให้ล้นเหลือ
    อัชฌาสัย ไมตรี ตรองใจเจือ
    ไว้ใยเยื่อ เผื่อหน้า ดีกว่าชัง
    พยัคฆ์ผอม ย่อมกวาง ประมาทหมิ่น
    ใช่จะสิ้น เขี้ยวเล็บ อย่าควรหวัง
    ถึงแรงน้อย ถอยถด ลดกำลัง
    พยศยัง ยากจะหาย เพราะลายคง
    หากโกรธเกรี้ยว เขี้ยวเล็บ สลัดลัด
    ตะกุยกัด ขบคั้น ไม่ทันผวง
    ครั้นรู้สึก นึกได้ สิใจงง
    ตะลึงหลง พลั้งท่า พาเสียที
    อุรคะราช อาจแผลง สำแดงฤทธิ์
    ลำพังพิษ เพียงภา ณุรังษี
    เสงี่ยมเงื่อง เชื่องแช่ม ในเชิงที
    ไม่ผลามผลี เลื้อยเลี้ยว ละลานลน
    แมลงป่อง พิษน้อย สักนิดหนึ่ง
    ทำปั้นปึ่ง ยกหาง ขึ้นลอยหน
    ลำพองจิต คิดเติบ กำเริบตน
    อวดสกนธ์ ไม่สังเกต กายประมาณ
    อันผู้ดี มีเชื้อ สกุลศักดิ์
    ย่อมออมพักตร์ พื้นพงศ์ ภูมิสัณฐาน
    ยาจกได้ ไอทรัพย์ สักเสี้ยวปาน
    ก็ทะยาน ยกยศ พยายาม
    สงวนศักดิ์ จะสมัคร สมานมิตร
    ประชุมชิด ชูชม ประชันสนาม
    พึงพินิจ พิศดู อย่าวู่วาม
    อย่าโจมจาม จาบจ้วง จงตรองการณ์
    ที่ต่ำช้า ทารุณ สกุลชาติ
    อย่าฝ่าฝัง สังวาส ภิรมย์สมาน
    อัชฌาศัย ฝ่ายพวก สันดานพาล
    มักร้ายราน ก้าวร้าว กำเริบใจ
    สุนัขเลี้ยง ล้อเล่น เช่นเคยคุ้น
    แม้มัวมุ่น มักลามตามนิสัย
    ไม่ลดหย่อน ผ่อนละ จังหวะใคร
    มีแต่ให้ อัปยศ ประหยัดตาม
    ที่แรงร้าย เริงร้อน อย่ารานตอบ
    พอห่อหอบ หิ้วได้ อย่าหาบหาม
    ที่เลี้ยวลด คดค้อม อย่าโค้งตาม
    ที่แนวหนาม หนาเดิน อย่าบุกบัน
    รู้ว่าพาล หาญห้าว อย่าก้าวก่อ
    เข้าต้านต่อ โต้ตั้ง ประชันขัน
    ถึงจวบเจียน จวนตัว จะพัวพัน
    จะเกียดกัน ออกไป ให้ไกลทาง
    สุนัขเล่น ไล่กัด สลัดหลีก
    ปลดเปลื้องปลีก ไปล่แปลง อย่าแซงขวาง
    อย่าคิดคบ ขบตอบ สุวาณวาง
    จะระคาง ข้างอัป- มงคลมี
    เรียนความรู้ เรียนได้ ด้วยใจรัก
    อุปนิสัย ใฝ่สมัคร ไม่เมินหนี
    ความเพียรเพิ่ม เติมต่อ ตั้งทวี
    อย่าเลี่ยงลี้ หลีกทิ้ง สติตน
    จะฝนทั่ง เป็นเข็ม ก็ฝนได้
    แต่อย่าให้ ละเพียร พึงหมั่นฝน
    พร้อมทรัพย์สิน โภคา วิชาชน
    อาศัยผล ความเพียร เป็นพื้นมา
    ผู้เกียจคร้าน การเพียร อาภัพซ้ำ
    เหมือนตักน้ำ ใส่ตะกร้า อย่าหวังหา
    ว่าจะขัง ขั้งค้าง อย่างจินดา
    เหลือปัญญา ที่จะคัด สันดานขบวน
    จะหวีผม ดูพอสม กับส่วนเกล้า
    พินิจเฝ้า ตามภูมิ พักตรสงวน
    ถ้าเกินนัก มักเขา จะเย้ายวน
    สำรวลสรวล เสซ้ำ ให้รำคาญ
    อันสุรา พาพลอย อร่อยรส
    แม้กินเพลิน เกินกำหนด ในอาหาร
    เป็นเครื่องยอ้ม ปลอมแปลง แต่งสันดาน
    พ้นประมาณ เมามาก มักงมงาย
    จะกอบกิจ คิดก่อน ให้รอบคอบ
    อย่าด่วนชอบ แต่ลำพัง ลำพองหมาย
    แม้เพลี่ยงพล้ำ ดังดุจ ประจานกาย
    ให้ก่อร้าย เกิดโรค กำเริบรัน
    สันดานชอบ เช่นเชื้อ เหมือนสื่อชัก
    จะดัดจิต คิดหัก ไม่เหหัน
    เหมือนเช่นงู รู้ตีน พวกเดียวกัน
    อันฝูงไก่ ไก่นั้น ย่อมเห็นนม
    อันเหล่าโจร โจรย่อม จะรู้เลศ
    ตามประเภท พรรคพวก นิยมสม
    ส่วนพวกปราชญ์ ปราชญ์ย่อม สมาคม
    ตามอารมณ์ ร่วมรัก เจริญใจ
    ไม่แผกผัน ชั้นเชิง ชาติชนิด
    ตามจริต หรือจะร้าง แรมนิสัย
    ไม่กลับเกลื่อน เคลื่อนคลาด สังวาสไกล
    ย่อมเป็นไป ตามสมัคร กระมลตน
    มณทกสถิตย์ นิตย์เนา ในสะโรช
    ประทุมโชค ช่อช้อย ตระการหน
    แบ่งเกสร ร่อนโรย วารีวน
    มิได้ยล รู้รส เรณูมาลย์
    ภมรเนา เขาเขิน เนินทุเรศ
    บินประเวศ มาแสวง นิวัตสถาน
    เหมือนชนเฉา เนาสำนัก เมธาจารย์
    มิได้พาน พบรส ธรรมนิพนธ์
    ปรีชาชาติ มาดอยู่ ให้ไกลถิ่น
    ก็ไม่สิ้น ควรเพียร ที่ขวายขวน
    เพราะอยากรู้ สู้ลำบาก ลำบนตน
    เที่ยวหาผล เพื่อสุข ไม่เสื่อมทราม
    สุวรรณหงส์ หลงระเริง ลานฉงน
    เข้าปะปน ปวงกา พาหยาบหยาม
    พาลายเลือน เลื่อนลด หมดสีงาม
    ถึงไม่ทราม ก็เหมือนเสื่อม ราศีทรง
    สีหราช ยาตรเยื้อง เข้าเคียงคู่
    กับโดผู้ ต่างพวก พิศวง
    สินธพเรียง เคียงลา ประลาดพงศ์
    ถึงจะคง เป็นอาชา ไม่น่ายล
    นักปราชญ์สู่ หมู่พาล พำนักพัก
    ใช่สำนัก ที่จะเนา สำนึงหน
    ถึงรู้ธรรม จำเหมือน ให้เตือนตน
    เพราะต่างคน ต่างนิสัย นิยมยิน
    อันเงินทอง ปองเพียง อสรพิษ
    ประจงจิต จองคะเน คะนึงถวิล
    เป็นที่มาด อาจใจ อยู่อาจิณ
    นิยมยิน อยากจะได้ ทุกใจคน
    เหล่าพาลร้าย ไพรี ผรุสจิต
    ย่อมปองคิด คอยปอง ประสงค์ผล
    ดูยิ่งยาก มากอย่าง ระวังตน
    พึงตรองยล ดูอย่า ชะล่าใจ
    ควรประกอบ ขอบเขื่อน เขตจังหวัด
    ยั้งประหยัด ยลท่า อัชฌาสัย
    เช่นวิถึ ที่สถิตย์ สถานใด
    สำนักใน เนานึก อย่ามัวมุฬห์
    พยัคฆ์ผอม ตรอมกาย กระหายเหยื่อ
    ไม่ควรเผื่อ แผ่จิต ให้ชิดคุ้น
    หากเมตตา อารี มีการุญ
    จะเจือจุน ก็อย่าใกล้ มิใช่การ
    พาละชาติ ยากจะอาจ รู้คุณคิด
    ทุกจริต หรือจะจง จำนงสมาน
    ล้วนโทษทุกข์ คลุกกลั้ว มัวสันดาน
    ปูนเบียบปาน ไปด้วยผล ทุพลใจ
    ประหยัดรั้ง รั้งรอ ระวังผิด
    คะนึงคิด ข้อเหตุ ให้ควรไข
    อารีรอบ ชอบเล่ห์ คะเนใน
    ให้แน่ใจ ตามจริต ชนิดชน
    ร่ำกล่าวกลั่น สรรกลอน กลบท
    สังเขปพจน์ เผยแสดง แถลงนุสนธ์
    โดยสารสอน งอนงาม ตามยุบล
    เบื้องนิพนธ์ พากย์ประเภท พิบูลประพันธ์
    เฉกสังคีต ดัดสี ดนตรีกล่อม
    บรรเลงถนอม ถนิมโสต สงวนขวัญ
    เพียงประทิน กลิ่นปรุง จรุงจันทร
    เฉลิมสรรพ์ ศุภอัตถ์ สวัสดี
    ต่างแว่นแก้ว แผ้วผ่อง ประไพพิศ
    ส่องพินิจ กายสกนธ์ ตระการฉวี
    สำเหนียกสำเนา เงาประจง ประจำมี
    ขอสมมุต ยุติที เท่านี้เอย

    http://www.baanjomyut.com/library/th...llabot/03.html
    เพราะเจ้ามาจากดิน
    แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
    แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
    ...ดิน...ที่เจ้าจากมา...
    http://learnkaweethai.blogspot.com
     
  10. paobunjin said:

    Re: คติธรรมคำกลอน


    ปีศาจราชาหมาป่าน้ำแข็งสีเงิน เอย
    (แหม กว่าจะจบ เหนื่อย อิอิ)
    สำบายดีบ่?
    การงานเป็นจะได๋พ่อง?
    ขอให้สนุก มีความสุขกับงาน เน้อ
    ลุงเปา
    ชีวิตของฉันมันสนุกดี มีทุกรสทุกชาด <br />มีพรแสวงเป็นเส้นทาง... <br />มีความสว่างแห่งธรรมะ เป็นเส้นชัย <br />ยังมีหัวใจเป็นปุถุชน ที่ยิ้มสู้อยู่เสมอ.... <br />ขอมีเธอเป็นเพื่อนใจ อยู่เคียงใกล้ทุกวันคืน.... <br />[COLOR=#c00000]มีความฝันในยามตื่น เพื่อพลิกฟื้นสู่ความจริง&nbsp; [/