สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

กระทู้: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 1
    องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตาราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๖
    ในรัชกาลที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๑๑ ปี
    พระนามเดิม ศรี พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน ประสูติ ไม่ปรากฏหลักฐาน ทรงอุปสมบท ณ วัดพนัญเชิง ตำบลคลองสวนพลู อำเภอกรุงเก่า(อำเภอพระนครศรี อยุธยาในปัจจุบัน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๒๕ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๓๓๖
    สมเด็จ พระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดระฆังโฆษิตาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๖ ดำรงตำแหน่ง อยู่ ๑๑ พรรษา น่าจะมีพระชนมายุไม่น้อยกว่า ๘๐ พรรษา
    พระ ประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏรายละเอียด พบแต่เพียงว่า เดิมเป็นพระอาจารย์ศรีอยู่ วัดพนัญเชิง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้หนีภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ เสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ได้อาราธนาพระองค์ให้มาอยู่ที่วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงธนบุรี
    ต่อ มาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๔ ได้ถูกถอดจากตำแหน่ง เนื่องจากถวายวิสัชนาเรื่อง พระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล เนื่องจากคฤหัสถ์เป็นหินเพศต่ำ พระสงฆ์เป็นอุดมเพศที่สูง ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจาตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ วิสัชนานี้ไม่ต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ จึงให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระสังฆราช ลงเป็นพระอนุจร
    เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ขึ้นครองราชย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์ดังเดิม และไปครองพระอารามตามเดิมด้วย ทรงเห็นว่าเป็นผู้มีความสัตย์ซื่อมั่นคง ดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต ควรแก่นับถือเคารพสักการะบูชา
    พระองค์ ทรงเป็นกำลังสำคัญในการชำระและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทั้งในด้านความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสามเณร การบูรณะปฏิสังขรณ์พุทธสถาน การชำระตรวจสอบพระไตรปิฎก ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
    งาน สังคายนาพระไตรปิฎกในครั้งนี้ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ ของราชอาณาจักรไทย กระทำเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๑ โดยนำพระไตรปิฎก ที่รวบรวมบรรดาพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ ตรวจชำระแล้วแปลงเป็นอักษรขอม จารึกลงลานประดิษฐานไว้ ณ หอพระมณเทียรธรรม และสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ ไว้ศึกษาทุกพระอารามหลวง เมื่อตอนต้นรัชกาล มาตรวจชำระ โดยอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะให้ดำเนินการ สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ ๓๒ คน ทำการสังคายนาที่ วัดนิพพานาราม แบ่งพระสงฆ์ออกเป็น ๔ กอง ดังนี้
    สมเด็จพระสังฆราช เป็นแม่กองชำระพระสุตตันปิฎก พระวันรัต เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก พระพิมลธรรม เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเศส พระธรรมไตรโลก เป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎก การ ชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้ใช้เวลา ๕ เดือน ได้จารึกพระไตรปิฎกลงลานใหญ่ แล้วปิดทองทึบ ทั้งปกหน้าปกหลัง และกรอบ เรียกว่า ฉบับทอง ทำการสมโภช แล้วอัญเชิญเข้าประดิษฐานในตู้ประดับมุก ตั้งไว้ในหอพระมณเทียรธรรม กลางสระในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม



    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 2
    องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๓๖-๒๓๕๙
    ในรัชกาลที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๒๓ ปี
    พระนามเดิม สุก พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน ประสูติ ประสูติ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลัก ฐานเอกสารต่างๆ ได้หายไป มา ปรากฏหลักฐานตอนที่มาอยู่วัด สลัก(วัดมหาธาตุ) โดยมีสมณศักดิ์ เป็น พระญาณสมโพธิ์ และได้ เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระธรรม เจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ ทรงอุปสมบท - ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๓๕๙ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ ปี
    สมเด็จ พระสังฆราช (สุก) เป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๖ ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๒๓ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๙ สันนิษฐานว่า มีพระชนมายุ ุเกิน ๘๐ ปี พระประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏหลัก ฐาน พระประวัติเมื่อครั้งกรุงธนบุรี ทรงเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสมโพธ อยู่วัดมหาธาตุ ฯ ถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๓ และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่พระพนรัตน อันเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จ พระสังฆราช (สุก) ขณะที่ทรงสมณศักดิ์ ที่พระพนรัตน ได้เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก ใน ครั้งที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทรเมื่อปีพ.ศ.๒๓๓๑ ทรงรอบรู้แตกฉานใน พระไตรปิฎก ทรงจัดระเบียบการสอบพระปริยัติธรรมเพื่อเป็นเปรียญ แบบ ๓ ชั้น คือ เปรียญตรี เปรียญโท และเปรียญเอก
    พระองค์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระราชวงศ์หลายพระองค์ด้วยกัน เช่น สมเด็จกรมพระราชวัง บวรมหาเสนานุรักษ์สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีฯ (นักองเอง) พระเจ้ากรุงกัมพูชาสมเด็จกรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาท สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
    ใน สมัยของพระองค์ ได้มีการส่งสมณทูตไทยไปสืบข่าวพระศาสนา ณ ลังกาทวีป เป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๘ หลังจากที่ว่างเว้นมา ๖๐ ปี จากสมัยกรุงศรีอยุธยา



    สมเด็จพระสังฆราชรูปที่ 3
    องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๕๙-๒๓๖๒ ในรัชกาลที่ ๒ รวมเป็นเวลา ๔ ปี พระนามเดิม มี พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน ประสูติ วันพุธที่ ๑๕ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปี มะเมีย จ.ศ.๑๑๑๒ พ.ศ. ๒๒๙๓ (ไม่ ปรากฏภูมิลำเนาเดิม) ทรงอุปสมบท
    ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๐ ปี
    สมเด็จ พระสังฆราช (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัด มหาธาตุยุวราชวังสฤษดิ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ทรง ดำรงตำแหน่งอยู่ ๔ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๒ เมื่อพระชนมายุได้ ๗๐ พรรษา
    พระ ประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่า ประสูติในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรี อยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๓ ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็นเปรียญเอก อยู่ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักชิต ซึ่งนับเป็น รูปแรกที่ได้ รับราชทินนามนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมลธรรม และได้เป็น พระพนรัตน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    พระองค์ ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในพระราชทินนามว่าสมเด็จพระอริยวงษาญาณซึ่งนับว่าได้รับพระราช ทินนามนี้เป็นพระองค์แรกต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงได้ทรงแก้ไขพระราชทินนาม ให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ ใช้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
    ใน สมัยของพระองค์ ได้เกิดมีอธิกรณ์ที่สำคัญคือ มีพระเถระผู้ใหญ่ ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง ๓ รูป จนถึงขั้นมีบุตร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นรักษ์ รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ทรงพิจารณาอธิกรณ์ ได้ความเป็นสัตย์ สมดังฟ้อง จึงได้ มีรับสั่งให้เอาตัวผู้กระทำผิดไปจำไว้ในคุก และได้ทรงเผดียงสมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จพระพนรัตน(อาจ) วัดสระเกศ ให้แต่งหนังสือโอวาทานุสาสน์เมื่อปีพ.ศ.๒๓๖๙ แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควร แก่สมณมลฑล คัด แจกไปทุกวัด เป็นทำนองสังฆาณัติ ส่วนการชำระความปาราชิก ก็สืบสวนกวดขันขึ้นมาแต่ครั้งนั้น
    สาระ สำคัญของหนังสือนี้ ว่าด้วยเรื่องพระอุปัชญาย์อาจารย์ พระราชาคณะพระถานานุกรม เอาใจใส่สั่งสอนพระ ภิกษุสามเณรให้อยู่ใน จตุปาริสุทธิศีล ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์จะต้องมีความรู้เรื่องพระวินัย และ สังฆกรรมเป็นอย่างดี และปฏิบัติให้ถูกต้อง
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ให้ ยิ่งขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระรัตนตรัย ในวันวิสาขบูชา จึงได้เกิด พิธีวิสาขบูชา มาตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
    ได้ มีการปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น ๙ ประโยค ผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป เรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ) การปรับปรุงครั้งนี้ ได้ใช้เป็นแบบแผนมาถึงปัจจุบัน




    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 4
    องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดราชสิทธาราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๔ ในรัชกาลที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๒ ปี พระนามเดิม สุก พระฉายา ญาณสํวโร นามสกุล - พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน ประสูติ วันศุกร์ เดือนยี่ พ.ศ.๒๒๗๖ ในรัชกาลของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยา ทรงอุปสมบท
    ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๓ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๔ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ ปี
    สมเด็จ พระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ อยู่ใน ตำแหน่ง ๓ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา
    พระองค์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย แขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา
    ใน รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้โปรดให้นิมนต์พระองค์มาอยู่ที่วัดพลับ และให้ เป็นที่พระญาณสังวรเถรพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าฯตั้งแต่ยังอยู่ที่ วัดท่าหอย การที่โปรดให้นิมนต์มาอยู่ที่วัดพลับ ก็เนื่องจากเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรี ซึ่งต่อ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดราช สิทธารามพระองค์ได้รับ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวรณ์เมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๙ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก ๔ ปีต่อมา เมื่อมีพระชนมายุได้ ๘๘ พรรษา
    ตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ
    นอก จากนั้น พระองค์ยังได้รับการถวายสมัญญาว่า สังฆราชไก่เถื่อน จากชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากการที่ พระองค์ทรงคุณธรรมทางวิปัสสนาธุระดังกล่าวแล้ว
    เมื่อ ครั้งเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ประมาณถึง สามหมื่น คนเศษ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยพระองค์ทรงศีลและ ให้ตั้งโรงทาน ส่วนสมเด็จพระสังฆราชทรงให้สังคายนาบทสวดมนต์ เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าว
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 5
    องค์ที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดสระเกศ
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๘๕ ในรัชกาลที่ ๒-๓ รวมเป็นเวลา ๒๐ ปี พระนามเดิม ด่อน พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน ประสูติ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปี มะเส็ง พ.ศ.๒๓๐๔ ในรัชกาลของ พระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา ทรงอุปสมบท - ดำรงตำแหน่ง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๕ สิ้นพระชนม์ วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ปี ขาล ตรงกับวันที่ ๒๓ กันยายน พ. ศ. ๒๓๘๕
    สมเด็จ พระสังฆราช (ด่อน)เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษด์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็นพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ดำรงตำแหน่ง ๒๐ พรรษาสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ มีพระชนมายุ ได้ ๘๑ พรรษา
    พระ ประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๔ ได้เป็นที่ พระเทพโมลี อยู่ที่วัดหงส์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ และได้เป็นที่ พระพรหมมุนี ในรัชสมัยสมเด็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมล ธรรม เมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๙ ต่อมาได้เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ในรัชกาลเดียวกันทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราช องค์สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุ
    ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ซึ่งทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗
    ใน ช่วงปลายสมัยของสมเด็จพระสังฆราชได้มีการชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจาร ครั้งใหญ่ได้ตัวมา ชำระสึกเสียจำนวนมาก ประมาณถึง ๕๐๐ รูปเศษที่หนีไปก็มีจำนวนมากและพระราชาคณะก็เป็นปาราชิก หลายรูป นับเป็นการชำระสะสางอลัชชีในคณะสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นถึงความ เสื่อมโทรมของคณะสงฆ์ในยุคนั้นและในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความเอา พระทัยใส่ในการคณะ สงฆ์ของพระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง




    สมเด็จพระสังฆราช รูป 6
    องค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒ ในรัชกาลที่ ๓ รวมเป็นเวลา ๗ ปี พระนามเดิม นาค พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน ประสูติ วันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปี ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา ทรงอุปสมบท - ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๖ สิ้นพระชนม์ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ สิริรวมพระชน มายุ ๘๖ ปี
    สมเด็จ พระสังฆราช (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัด ราชบูรณะราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ทรงดำรงตำแหน่ง อยู่ ๖ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๒ เมื่อพระ ชนมายุได้ ๘๖ พรรษา
    พระ ประวัติตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๐๑ เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมุนี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้เลื่อน เป็น พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ต่อมาเป็น พระธรรมอุดม และได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระพนรัตน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เนื่อง จากในระยะเวลาที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุกำลังอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงสถิต ณ วัดราชบูรณะตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ทำให้ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นอันเลิกไปตั้งแต่นั้นมา และสมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อครั้งก่อน เป็นสมเด็จ พระสังฆราช ก็ยังคงสถิตอยู่ ณ พระอารามนับสืบต่อไป เป็นแบบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน
    ได้ มีการส่งสมณทูตไปลังกาเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยทางเรือและเดินทางกลับในปีเดียวกัน พร้อมกับ ได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกมาอีก ๓๐ คัมภีร์ พร้อมทั้งมีภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ชาวลังกา ติดตามมาด้วยกว่า ๔๐ คน การที่มีพระสงฆ์ชาวลังกาเดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อยครั้ง จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ ขณะทรงผนวช และเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รับภาระต้อนรับดูแลพระสงฆ์ชาวลังกา ดังนั้นวัดบวรนิเวศ ฯ จึงมีหมู่กุฎีไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะลังกา




    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 7
    องค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ รวมเป็นเวลา ๒ ปี พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก (เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ องค์ที่ ๒๘) พระชนนี เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ภายหลังได้ เป็นท้าวทรงกันดาล) ประสูติ วัน เสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา ทรงอุปสมบท - ดำรงตำแหน่ง เมื่อ วันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี กุน ตรงกับวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ เดิมไม่ได้เรียกว่า สมเด็จ พระสังฆราช แต่เรียกว่า กรมสม เด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ แต่รัชกาลที่ ๖ ได้ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔) สิ้นพระชนม์ วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุ ๖๓ ปี
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรง เป็นพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์แรก กับเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก ที่ทรงได้รับสถาปนาให้ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔ ถึงปี พ.ศ. ๒๓๙๖ รวม ๒ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๓ มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวาสุกรีทรงผนวช เป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพน ฯ ทรงศึกษาหนังสือไทย และภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์ จนทรงมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
    ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ให้รวมวัดในแขวงกรุงเทพ ฯ ขึ้นเป็นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกลางแล้วได้สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ดำรง สมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง และทรงตั้งเป็นเจ้าคณะกลาง
    พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาสังฆปริณายก ทั่วพระราชอาณาเขต ให้จัดตั้ง พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษกที่วัดพระเชตุพนฯมีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ คล้ายกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทย
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องพระปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกหรือร่ายยาวมหาชาติซึ่งนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระ พุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์
    ใน ทางพระพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โดยทรงเลือกพระอิริยาบทต่าง ๆ จากพุทธประวัติเป็นจำนวน ๓๗ ปาง เริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา จนถึงปางห้ามมาร พระพุทธรูป ปางต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มากเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสเทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาลิลิตกระบวนพยุห ยาตราพระกฐินสถลมารค และชลมารค เป็นต้น
    ใน ทางอักษรศาสตร์ ก็ได้นิพนธ์เรื่องฉันท์มาตราพฤติ และวรรณพฤติ ตำราโคลงกลบท คำกฤษฎี เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นิพนธ์บทกวีอีกเป็นจำนวนมาก ที่ล้วนมีคุณค่าเป็นเพชรน้ำเอกทางวรรณกรรมของไทยตลอดมา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๓ นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายเกียรตินี้
    เมื่อ พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ อาจจะเนื่องจากไม่มีพระเถระรูปใด มีคุณสมบัติอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนาตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ตามพระราชประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ พระเถระที่จะทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จพระราชาคณะนั้น ก็เฉพาะผู้ทรงคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นพระอุปัชฌาย์เป็นอาจารย์เป็นที่ทรงนับถือเหมือนอย่างพระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์ หรือเป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่ามีอายุแก่กว่าพระชนมพรรษา แม้ว่าจะว่างสมเด็จพระสังฆราชแต่การ ปกครองคณะสงฆ์ก็สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากแต่โบราณมาพระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะ สงฆ์ โดยมีเจ้านาย หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่ง เจ้ากรมสังฆการี เป็นผู้กำกับ ดูแลแทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงทรงดำรงฐานะ ปูชนียบุคคล การปกครองในลักษณะนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลงไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ




    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 8
    องค์ที่ ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ – ๒๔๓๕ ในรัชกาลที่ ๔-๕ รวมเป็นเวลา ๓๙ ปี พระนามเดิม พระองค์เจ้าฤกษ์ พระฉายา ปญฺญาอคฺคโต นามสกุล - พระชนก กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระชนนี เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงอุปสมบท - ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ สิ้นพระชนม์ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ สิริรวมพระชนมายุ ๘๓ ปี
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๓๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๒ พรรษา เป็นพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ พระชมมายุได้ ๘๓ พรรษา
    เมื่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช อีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา ๑๕ ปี ในระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ ฯ ทรงดำรงพระอิศริยยศ เป็น พระจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดร เป็นที่สองรองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นครองราชย์ ก็ยังมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นระยะเวลาถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ ขณะดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ประสูติปี พ.ศ. ๒๓๕๒ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ ฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ณ สำนักวัดมหาธาตุ ฯ ทรงแตกฉานในภาษาบาลี พระนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีคือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธาน ซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลี นอกจากนี้ยังได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เป็นภาษาบาลีอีกหลายเรื่อง นับว่าพระองค์ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลี ที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ทรงเป็นพระราชาคณะ มีสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะสามัญ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกาย นับว่าทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติพระองค์แรก ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สอง รองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จ พระมหาสังฆปรินายก คือ สมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ทรงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ การที่เลื่อนพระอิศริยยศครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงรับถวาย มหาสมณุตมาภิเษกในที่สมเด็จพระสังฆราช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์สูงสุด เท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๒ พรรษา ด้วยเหตุผลที่ว่า เจ้านายชั้นเดียวกันสิ้นพระชนม์แล้วทั้งสิ้น มีเจ้านายผู้ใหญ่เจริญพระชนมายุเหลืออยู่แต่พระองค์เพียงพระองค์เดียว
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ นอกจากจะเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีแล้ว ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ ในด้านต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้ คือ
    - ด้านสถาปัตยกรรม ทรง ออกแบบพระปฐมเจดีย์ องค์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ - ด้านโบราณคดี ทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกรุ่นแรกของไทยได้ศึกษาและรวบรวมจารึกต่าง ๆ ในประเทศไทยไว้มาก และได้ ทรงอ่านจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ ที่เป็นอักษรขอม เป็นพระองค์แรก
    - ด้านประวัติศาสตร์ ทรงนิพนธ์ลิลิตพงศาวดารเหนือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ และพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เป็นต้น
    - ด้านดาราศาสตร์ ทรงพระนิพนธ์ ตำราปักขคณนา (คำนวนปฏิทินทางจันทรคติ) ไว้อย่างพิสดาร
    - ด้านวิทยาศาสตร์ ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวัน ติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย เรียกบันทึกนี้ว่า จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน
    - ด้านกวี ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี ไว้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นภาษาไทย ทรงนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น ได้ลงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ กาพย์เสด็จนครศรีธรรมราช ลิลิตพงศาวดารเหนือ เป็นต้น
    ทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย ทรงสร้างพระกริ่งที่เรียกกันว่า พระกริ่งปวเรศ ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่ง ในยุคต่อมาของไทย
    ด้าน พระศาสนา ทรงเป็นองค์ประธานชำระและแปลพระไตรปิฎก พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงกำหนดพระราชบัญญัติ และประกาศคณะสงฆ์ต่าง ๆ
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 9
    องค์ที่ ๙ สมเด็จพระสังฆราช (สา ป.ธ.๙) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๔๒ ในรัชกาลที่ ๕ รวมเป็นเวลา ๖ ปี พระนามเดิม สา พระฉายา ปุสฺสเทโว นามสกุล - พระชนก จัน เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี พระชนนี ศุข เป็นชาวตำบลไผ่ใหญ่ แขวง เมืองนนทบุรี ประสูติ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงอุปสมบท ครั้ง ที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๗๖ และได้ลา สิกขา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อ ผนวชครั้งใหม่ได้ ๗ พรรษา ก็ทรง สอบได้ ๙ ประโยค อีกครั้งหนึ่ง (คนจึงมักพูดว่า สมเด็จพระ สังฆราชสา ๑๘ ประโยค) ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ สิริรวมพระชนมายุ ๘๗ ปี สมเด็จ พระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์ สถิตมหาสีมาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๒ รวม ๖ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๘๗ พรรษา
    พระองค์ เป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี ประสูติเมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๖ ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้บรรพชาเป็นสามเณรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าฯ เดิมอยู่วัดใหม่บางขุนเทียนแล้วย้ายไปอยู่วัดสังเวชวิศยารามและไปเรียนพระ ปริยัติธรรมในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อนและ โยมบิดาของท่านเองซึ่งเป็นอาจารย์บอกหนังสือ อยู่ที่พระราชวังบวรดัวยกัน เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔ ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก แปลได้ ๒ ประโยคจึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่คนเรียกกันว่า เปรียญวังหน้า ซึ่งมีที่มาของชื่อนี้ว่าในการแปลพระปริยัติธรรมนั้นผู้เข้าแปลครั้งแรกต้อง แปลให้ได้ครบ ๓ ประโยคในคราวเดียวจึงจะนับว่าเป็นเปรียญถ้าได้ไม่ครบในการสอบครั้งต่อไปจะ ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ครั้งนั้นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ มีพระประสงค์ที่จะอุปการะภิกษุสามเณรที่เข้าสอบ มิให้ท้อถอย ดังนั้นถ้ารูปใดแปลได้ ๒ ประโยค ก็ทรงรับอุปการะไปจนกว่าจะสอบเข้าแปลใหม่ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค ภิกษุ สามเณร ที่ได้รับพระราชทานอุปการะในเกณฑ์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่า เปรียญวังหน้า
    พระองค์ ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ตั้งแต่เป็น สามเณร และได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่สำนักวัดราชาธิวาส จนพระชนมายุได้ ๑๘ ปี จึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม อีกครั้งหนึ่งและทรงแปลได้หมดทั้ง ๙ ประโยคได้เป็นเปรียญเอกตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณรนับเป็นสามเณร องค์แรกที่ได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    พระองค์ ได้อุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ฯ ทรงได้รับพระราชทาน แต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระอมรโมลีเมื่อปีพ.ศ.๒๓๘๒ พรรษา ๖ และทรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ผู้เป็นต้นวงศ์ของคณะธรรมยุติรูปหนึ่งใน ๑๐ รูป ต่อมาได้ลาสิกขาไปเป็นฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อุปสมบทใหม่ ที่วัดบวรนิเวศ ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ พระชนมายุได้ ๓๘ ปี เมื่ออุปสมบทแล้ว ว่ากันว่าได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่งและทรงแปลได้หมดทั้ง ๙ ประโยคจึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ ด้วยสมญานามว่า สังฆราช ๑๘ ประโยค ในคราวอุปสมบทครั้งที่ ๒ นี้ พระองค์ทรงเป็นพระอันดับอยู่ ๗ ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสาสนโสภณ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๑ รับประราชทานนิตยภัตรเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ แต่ถือตาลปัตรแฉกเสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ คนทั่วไปเรียกกันโดยย่อว่า เจ้าคุณสา
    พระองค์ ได้แต่งหนังสือเทศน์ขึ้นไว้สำหรับใช้อ่านในวันธรรมสวนะปกติและในวันบูชาแต่ง เรื่องปฐมสมโพธิ์ย่อ ๓ กัณฑ์จบสำหรับถวายเทศน์ในวันวิสาขบูชา๓วันๆ ละหนึ่งกัณฑ์และเรื่องจาตุรงคสันนิบาตกับ โอวาทปาติโมกข์สำหรับถวายในวันมาฆบูชาที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและยังได้ รจนาปฐมสมโพธิ์ภาคพิสดารสำหรับใช้เทศนาในวัด ๒ คืนจบอีกด้วยพระนิพนธ์ต่างๆของพระองค์ยังคงใช้ในการเทศนาและศึกษาเล่าเรียน ของพระภิกษุ สามเณร จนถึงปัจจุบัน
    เมื่อ สร้างวัดราชประดิษฐ์ ฯ เสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระองค์ ครั้งยังเป็นที่พระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศ ฯ มาครองวัดราชประดิษฐ์ ฯ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกพื้นแพรเสมอชั้นธรรม และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระธรรมวโรดม แต่คงใช้ราชทินนามเดิมว่า พระสาสนโสภณ ที่พระธรรมวโรดม ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะฝ่ายเหนือ
    ใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมจารึกไว้ด้วย อักษรขอม ด้วยการจารลงในใบลาน การคัดลอกทำได้ช้า ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย ไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียนไม่สะดวกในการเก็บรักษาและนำมาใช้อ่านทั้งตัว อักษรขอมก็มีผู้อ่านได้น้อยลง ตามลำดับ การพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย จะแก้ปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระเถระนุเถระมาประชุม ร่วมกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระพระไตรปิฎกแล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้นสมเด็จพระสังฆราช(สา)ขณะ ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่นเป็นรองอธิบดี จัดการทั้งปวงในการสังคายนาครั้งนี้ พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวน ๑๐๐๐ จบ ๆ ละ ๓๙ เล่ม ใช้เงิน ๒๐๐๐ ชั่ง พิมพ์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นที่เลื่องลือแพร่หลายไปทั่วโลก
    ใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเพิ่มอิสริยยศให้เป็น พิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อนมา คือทรงสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ นับว่าเป็นพระมหาเถระรูปที่ ๒ ที่ได้รับสถาปนาในพระราชทินนามนี้ อันเป็นพระราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อ พระองค์ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ พระองค์ไม่ได้รับพระราชนามพระสุพรรณบัตรใหม่ คงใช้พระสุพรรณบัตรเดิม แต่ได้รับพระราชทานใบกำกับ พระสุพรรณบัตรใหม่
    งานพระ นิพนธ์ของพระองค์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตรที่มีอยู่ ๒๐ สูตร หนังสือเทศนามี ๗๐ กัณฑ์ และเบ็ดเตล็ดมี ๕ เรื่อง
    พระองค์ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเลยตลอดรัชสมัย เป็นเวลาถึง ๑๑ ปี




    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 10
    องค์ที่ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๕-๖ รวมเป็นเวลา ๒๒ ปี พระนามเดิม มนุษย์นาคมานพ พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน นามสกุล - พระชนก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๔๗) พระชนนี เจ้าจอมมารดาน้อยแพ ประสูติ วันพฤหัสบดีที่๑๒ เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ ณ ตำหนักหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕ ทรงอุปสมบท วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๒ ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖ ขณะมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชได้ ๗๘ วันก็ทรงลาสิกขา ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒ สิ้นพระชนม์ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ สิริรวมพระชนมายุ ๖๒ ปี
    สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ดำรงพระอิสริยยศ ๒๒ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ พระชนมายุ ๖๒ พรรษา
    พระองค์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จในพระจอมเกล้า ฯ และเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓ พระนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนทรงผนวชเป็นสามเณร นอกจากนี้ยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษ และโหราศาสตร์ อีกด้วย
    เมื่อ พระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ๒ เดือนจึงลาผนวช ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒ แล้วมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อทรงผนวชได้ ๓ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมหน้าพระที่นั่ง ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงสถาปนาพระอิสริยยศ เป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และเป็นเจ้าคณะรอง ในธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔ พระองค์ได้ครองวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖
    ทรงเริ่ม พัฒนาการพระศาสนา โดยเริ่มต้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่ริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่ เรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย มีการสอบความรู้ด้วยวิธีเขียน ต่อมาจึงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ เรียกว่า นักธรรม ทรงจัดตั้ง มหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นการริเริ่มจัดการศึกษาของพระภิกษุ สามเณรแบบใหม่คือ เรียนพระปริยัติธรรม ประกอบกับวิชาการอื่น ที่เอื้ออำนวยต่อการสอนพระพุทธศาสนา ผู้ที่สอบได้จะได้เป็นเปรียญเช่นเดียวกับที่สอบได้ในสนามหลวง เรียกว่า เปรียญมหามงกุฎ แต่ได้เลิกไปในอีก ๘ ปีต่อมา ทรงออกนิตยสาร ธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนา ฉบับแรกของไทย ทรงอำนวยการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่วราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ที่จะขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังประชาชนทั่วราชอาณาจักร ทรงเห็นว่า วัดเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่คนไทยมาแต่โบราณกาล เป็นการขยายการศึกษาได้เร็วและทั่วถึง เพราะมีวัดอยู่ทั่วไป ในพระราชอาณาจักร ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน งานนี้มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยสนับสนุน พระองค์ดำเนินการอยู่ ๕ ปี ก็สามารถขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ชั้นประถมศึกษา ออกไปได้ทั่วประเทศ จากนั้นจึงให้กระทรวงธรรมการ ดำเนินการต่อไป
    ทรง ปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยดี เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเอง และประเทศชาติ จึงเกิด พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ขึ้น ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้จัดคณะสงฆ์ออกเป็น ๔ คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุติกา มีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะ และมีพระราชาคณะรอง คณะละหนึ่งรูป รวมเป็น ๘ รูป ทั้ง ๘ รูปนี้ยกขึ้นเป็น มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ และเป็นที่ปรึกษาในการพระศาสนา และการคณะสงฆ์ของพระมหากษัตริย์ มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นไปตามลำดับคือ เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และเจ้าอาวาส มีเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มหาเถรสมาคมเป็นเพียง ที่ทรงปรึกษา ขององค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้นกระทรวงธรรมการ จึงต้องทำหน้าที่สังฆราชโดยปริยาย
    พระองค์ ได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนากรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จกรมพระยา ทรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ ทั้งกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต
    ใน ปีต่อมาคือ ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระองค์ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีความว่า ควรถวายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์แก่พระองค์ ในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชให้เด็ดขาด เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เรียบร้อย หลังจากนั้นอีก ๖ เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้ทรงมอบการทั้งปวงซึ่งเป็นกิจธุระพระศาสนา ถวายแด่พระองค์ผู้เป็นมหาสังฆปรินายก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕
    พระองค์ ได้ทรงปรับปรุงการพระศาสนา และทางคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ เป็นอันมากโดยเริ่มงาน ตั้งแต่เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ในหัวเมืองต่าง ๆ เกือบทั่วราชอาณาจักร โดยกระทำอย่างต่อเนื่องทุกปีเกือบ ตลอดพระชนม์ชีพ ทำให้ทรงทราบความเป็นไปของคณะสงฆ์ และของประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ เป็นอย่างดี และนำข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ มาปรับปรุง แก้ไขในทุก ๆ ด้าน พอประมวลได้ดังนี้
    1. ด้าน การพระศาสนา พระองค์ได้พัฒนาภิกษุสามเณร ให้มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัย เพื่อจะได้แนะนำสั่งสอนประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทรงผลิตตำราและหนังสือทางพระพุทธศาสนา ที่คนทั่วไปสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ง่าย
    2. ด้าน การคณะสงฆ์ ทรงออกพระมหาสมณาณัติ ประทานพระวินิจฉัยและทรงวางระเบียบ แบบแผน เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรในด้านต่าง ๆ ให้ถูกต้องเป็นมาตรฐาน เช่น ระเบียบเกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์ การบรรพชาอุปสมบท การปกครองภิกษุสามเณรและศิษย์วัด การวินิจฉัยอธิกรณ์ ระเบียบเกี่ยวกับ สมณศักดิ์ พัดยศ นิตยภัต ดวงตราประจำตำแหน่ง เป็นต้น
    3. ด้าน การศึกษา ทรงปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันสมัย ทรงจัดการศึกษาพระปริยัติ ธรรมเพิ่มขึ้นจากแบบเดิมที่ศึกษาภาษาบาลี โดยให้ศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทยเรียกว่า หลักสูตร นักธรรม
    4. งานพระ นิพนธ์ พระองค์ทรงรอบรู้ภาษาต่าง ๆ หลายภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี โท เอก หลักสูตรบาลี ไวยากรณ์ทั้งชุด รวมพระนิพนธ์ทั้งหมดมีมากกว่า ๒๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังทรงชำระ คัมภีร์บาลีไว้กว่า ๒๐ คัมภีร์
    มี เหตุการณ์สำคัญในสมัยของพระองค์ประการหนึ่ง คือ ตั้งแต่โบราณมา ตำแหน่งพระประมุขแห่งสังฆมณฑล ที่เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชนั้น ไม่เคยมีพระราชวงศ์องค์ใดที่ทรงผนวชอยู่ได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งนี้ เพิ่งจะเริ่มมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ซึ่งไม่ได้เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช แต่เรียกพระนามตามพระอิสริยยศ ในฝ่ายพระบรมราชวงศ์ ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำหน้าพระนาม เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า




    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 11
    องค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ป.ธ. ๕ ) วัดราชบพิธ
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๒๕ สิงหาคม ๒๔๘๐ ในรัชกาล ๖-๗-๘ รวมเป็น เวลา ๑๗ ปี พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์ พระฉายา สิริวฑฺฒโน นามสกุล ชมพูนุช พระชนก กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ พระชนนี หม่อมปุ่น ประสูติ วันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๙ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
    ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๒๒ ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖ ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๙ พรรษา ๕๘
    สมเด็จ พระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงอิสริยยศ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑๖ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พระชนมายุได้ ๗๙ พรรษาพระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนเจริญผลกุล สวัสดิ์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ศึกษาที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา
    ทรง ผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดราชบพิธ ฯ ศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่ออุปสมบทแล้วได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสถาพรพิริยพรต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ทรงเป็นคณะกรรมการชุดแรก ของมหามงกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖
    พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้เป็นพระราชาคณะ ผู้ใหญ่เสมอ ชั้นเทพ
    พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์
    พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ ฯ เป็นพระองค์ที่ ๒
    พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลางและได้รับสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
    พ. ศ. ๒๔๕๓ ได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวงรวงศ์เธอกรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์เป็นสมเด็จ พระราชาคณะที่ สมเด็จพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
    พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปรินายก นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์แรก
    พระองค์ ทรงมีพระปรีชาสามารถ นับว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์ตำรา และหนังสือสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้มาก เช่น พจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย มหานิบาตชาดกต้นบัญญัติสามเณรสิกขาเป็นต้นพระนิพนธ์เหล่านี้ ยังใช้เป็นคู่มือในการศึกษาภาษาบาลี และศึกษาพระพุทธศาสนาของภิกษุสามเณรมาจนถึงปัจจุบัน
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  4. *8q* said:

    Re: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 12
    องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ป.ธ. ๕) วัดสุทัศนเทพวราราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ – ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ในรัชกาลที่ ๘ รวมเป็นเวลา ๖ ปี พระนามเดิม แพ พระฉายา ติสฺสเทโว นามสกุล พงษ์ปาละ พระชนก นุตร์ พระชนนี อ้น ประสูติ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ ณ บางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
    ทรงอุปสมบท ณ วัดเศวตฉัตร และเสด็จมาประทับ ณ วัดสุทัศน์ฯ ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๑ จำพรรษา ณ วัดทองนพคุณ ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ พรรษา
    สมเด็จ พระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อป ีพ.ศ.๒๔๘๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงค์ตำแหน่งอยู่ ๖ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา
    พระองค์มี พระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๙ เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน ธนบุรี เมื่อพระชนมายุได้ ๗ ปี ได้ไปศึกษาอักษรสมัยที่ วัดทองนพคุณ ในสำนักของสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑ อุปสมบท แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ ฯ ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๓ ครั้ง ได้เปรียญ ๕ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสมโพธิ
    พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพโมลี
    พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครไชยศรี
    พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานหิรัญบัฏ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรอง คณะกลาง
    พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ ฝ่ายอรัญญวาสี
    พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณ เป็นที่สมเด็จพระวันรัต
    เมื่อ มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อประสานนโยบายฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร ให้เป็นไปด้วยดี พระองค์ก็ได้บริหารงานคณะสงฆ์ให้ลุล่วงไป โดยแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภา ให้ดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติ แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับดังกล่าวโดยครบถ้วนด้วยดีทุกประการ





    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 13
    องค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น ป.ธ. ๗) วัดบวรนิเวศวิหาร
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘ – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ในรัชกาล ๘-๙ รวมเป็นเวลา ๑๓ ปี ๙ เดือน ๑๐ วัน พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น พระฉายา สุจิตฺโต นามสกุล นพวงษ์ พระชนก หม่อมเจ้าถนอม พระชนนี หม่อมเอม ประสูติ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕ การศึกษา พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๗
    ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๓๐ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๖๖ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรณาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปี ีพ.ศ.๒๔๘๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑พระชนมายุ ๘๖ พรรษา
    พระองค์ เป็นโอรสหม่อมราชวงศ์ถนอม และหม่อม เอมประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ฯ สยามมงกุฏราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เป็น คณะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ฯ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรณวัดบวรนิเวศฯ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ สอบได้เปรียญ ๗ ประโยค เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์
    พระองค์ ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสมาตั้งแต่ต้น คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมืองทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่างๆ พระราชทานแก่ พระภิกษุสงฆ์ไปไว้ใช้ฝึกสอนให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวงมา รวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมืองพระองค์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี
    พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระญาณวราภรณ์
    พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในพระราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษในพระราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา
    พ.ศ. ๒๔๗๑ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
    พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    พ.ศ. ๒๔๘๕ ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
    พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด
    เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวร ฯ ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พระองค์ก็ได้ทรงเป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุติ ที่สำคัญหลายประการ
    เมื่อ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ดังนี้
    1. การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
    2. การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์พระองค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฯ ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พระองค์ได้ทรงชำระ ๒ เล่ม คือ เล่ม ๒๕ และเล่ม ๒๖
    เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงชำระอรรถกถาชาดก ภาคที่ ๓ จากจำนวน ๑๐ ภาคที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้ชำระพิมพ์
    หนังสือ ที่ทรงรจนา ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ บทความต่าง ๆ รวมเล่ม ชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีธรรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา ๕๕ กัณฑ์
    พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จออกทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
    ในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย รัฐบาลสหภาพพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่า คือ อภิธชมหารัฏฐคุรุแด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐





    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 14
    องค์ที่ ๑๔ สมเด็จพระสังฆราช(ปลด ป.ธ. ๙) วัดเบญจมบพิตร
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๓ –๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๕ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๒ ปี พระนามเดิม ปลด พระฉายา กิตฺติโสภโณ นามสกุล เกตุทัต์ พระชนก ขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต) พระชนนี ปลั่ง ประสูติ วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ณ บ้านในตรอกหลังตลาด พาหุรัดติดกับวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร การศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙ ขณะเป็นสามเณร
    ทรงอุปสมบท วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะอายุได้ ๑๒ ปี ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๓ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมพระชนมายุ ๗๓ พรรษา ๕๓
    สมเด็จ พระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๒ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา
    พระองค์ มีพระนามเดิมว่าปลด ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ที่กรุงเทพมหานคร ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่วัดพระเชตุพน ฯ ทรงเริ่มเรียนภาษาบาลีตั้งแต่พระชนมายุ ๘ ปี เรียนมูลกัจจายน์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ประโยค ๑ ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้อยู่ที่วัดเบญจมบพิตรฯ ต่อมาได้เข้าแปลประโยค ๒ และประโยค ๓ ได้ ทรงสอบได้ประโยค ๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ ปี ประโยค ๕ ถึงประโยค ๗ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔,๑๕,๑๖ ปี ตามลำดับ ทรงสอบประโยค ๘ ได้เมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ ปี และประโยค ๙ เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒
    พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์
    พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที
    พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นเจ้าคณะแขวงกลาง จังหวัดพระนคร
    พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี
    พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ
    พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์
    พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม
    พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลกและเป็นประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมมุนี
    พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นสมเด็จพระราชา คณะตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฎที่ สมเด็จพระวันรัต
    พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นสังฆนายก
    พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้าและรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    พระองค์ทรงกระทำกิจทางพระศาสนามาโดยตลอด ด้วยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก ตลอดพระชนมชีพ พอประมวล สรุปได้ดังนี้
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. *8q* said:

    Re: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    1. ด้าน การปกครอง เริ่มตั้งแต่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะมณฑล กรรมการเถรสมาคม ประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช สังฆนายก และรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    2. ด้าน การศึกษา เริ่มตั้งแต่การศึกษาในสำนักวัดเบญจมบพิตร ฯ การศึกษาในมณฑลพายัพ ทั้ง ๗ จังหวัด และแขวงกลางจังหวัดพระนคร เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
    3. ด้าน การเผยแผ่ มีหนังสือธรรมที่ทรงนิพนธ์ พิมพ์ออกเผยแผ่ เป็นอันมาก เช่น มงคลภาษิต ปราภวภาษิต ศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งงานพระธรรมเทศนา ในโอกาสต่าง ๆ ที่ได้รับการยอย่องว่า มีสำนวนโวหารง่าย ๆ เป็นที่เข้าใจทราบซึ้ง
    4. ด้านการต่างประเทศ ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อการพระศาสนาหลายครั้ง คือ
      - พ.ศ. ๒๔๘๒ ไปตรวจการณ์คณะสงฆ์ ไทรบุรี และปีนัง แทนสมเด็จพระสังฆราช
      - พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาจตุตถสันนิบาต (สมัยไทย) โดยเป็นประธาน กระทำพิธีเปิดประชุมสังคายนา ณ สหภาพพม่า
      - พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลอง พุทธชยันตี ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกา และไปสังเกตการพระศาสนาในประเทศอินเดีย
      - พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นหัวหน้าคณะไปเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุ ณ วัดบุปผาราม เมืองปีนังสหพันธรัฐมาลายา
      - พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลองพระพุทธชยันตี ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น และในปีเดียวกันนี้ ได้นำพระสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้เสด็จไปมนัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ที่อินเดีย
      - พ.ศ. ๒๕๐๔ เสด็จไปสังเกตการพระศาสนา ในสหรัฐอเมริกา ตามคำทูลอาราชธนาของมูลนิธิเอเซีย
    5. งานด้านวิชาการและงานพิเศษ มีงานสำคัญคือ
      - ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ๔ คัมภีร์ คือ อรรถกถาอุทาน อิติวุตตก มหานิเทศ และจุลนิเทศ
      - ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์พระสุตตันคปิฎก ขุททกนิกาย ๓ คัมภีร์ คือ มหานิเทศ จุลนิเทศ และชาดก และได้ชำระคัมภีร์ สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย
      - ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เป็น ประธานกรรมาธิการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย จนจบพิมพ์เป็นเล่มได้จำนวน ๘๐ เล่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
      - เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้เป็นประธานสงฆ์ในงานรัฐพิธีฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษของไทย





    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 15
    องค์ที่ ๑๕ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ป.ธ. ๙) วัดสระเกศ
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๒ ปี พระนามเดิม อยู่ พระฉายา ญาโณทโย นามสกุล ช้างโสภา (แซ่ฉั่ว) พระชนก ตรุษ พระชนนี จันทน์ ประสูติ วันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชกาลที่ ๕ ที่เรือนแพ หน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี การศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
    ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๗ ณ วัดสระเกศ ทรงบรรพชา เมื่อพระชนมายุได้๑๒ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๒๙) ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๑
    สมเด็จ พระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๒ พรรษา สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา
    พระองค์ มีพระนามเดิมว่า อยู่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักของบิดาต่อมาได้มาศึกษาที่วัดสระเกศจนได้ บรรพชาเป็นสามเณรจึงได้ศึกษาภาษาบาลี มูลกัจจายน์
    พ.ศ. ๒๔๓๓ และ ๒๔๓๖ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค และ ๔ ประโยคตามลำดับ
    พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงอุปสมบทที่วัดสระเกศ
    พ. ศ. ๒๔๑๑,๒๔๔๓,๒๔๔๔ และ ๒๔๔๕ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ ๕,๖,๗,๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ ทรงเป็นเปรียญ ๙ ประโยค เมื่อพระชนมายุ ๒๘ พรรษา และเป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ จึงได้รับพระมหากรุณา ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งถึงอารามเป็นพิเศษ และได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
    เมื่อได้เปรียญ ๙ ประโยคแล้ว พระองค์ก็ทรงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสนามหลวง สอบไล่พระปริยัติธรรมตลอดมา
    พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระปิฎกโกศล
    พ.ศ. ๒๔๖๒,๒๔๖๘ เป็นแม่กองธรรมสนามจังหวัดนครราชสีมา
    พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที และเป็นแม่กองธรรมสนามจังหวัดกาญจนบุรี
    พ.ศ. ๒๔๖๕,๒๔๖๗ เป็นแม่กองธรรมจังหวัดภูเก็ต
    พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที
    พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเหนือ จังหวัดธนบุรี
    พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์ และเป็นกรรมการเถรสมาคม
    พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    พระองค์ ทรงอุปถัมภ์ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลี และนักธรรม ให้เจริญก้าว หน้ายิ่งขึ้น เป็นองค์อุปภัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาราชวิทยาลัย ตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ตลอดมา ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง วัดสระเกศ) จนสำเร็จเรียบร้อยดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน เป็นปูชนียสถานที่เริ่มสร้างมาแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศรีสง่าแก่กรุงเทพมหานครมาจวบถึงปัจจุบัน




    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 16
    องค์ที่ ๑๖ สมเด็จพระสังฆราช (จวน ป.ธ. ๙) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ –๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๔ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๖ ปี พระนามเดิม จวน พระฉายา อุฏฺฐายี นามสกุล ศิริสม พระชนก หงส์ พระชนนี จีน ประสูติ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
    ทรงอุปสมบท วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๐ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงบรรพชา วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๗ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ สิริรวมพระชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๔
    สมเด็จ พระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหารทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๘ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๗ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ พระชนมายุ ๗๔ พรรษา
    พระองค์มี พระนามเดิมว่า จวน ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐ พรรษา ได้เข้ามาศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดคฤหบดี จังหวัดธนบุรี พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ได้ไปศึกษาอยู่ กับพระมหาสมณวงศ์ ( แท่น โสมทัดโต ) เจ้าอาวาสวัดมหาสมณาราม ( วัดเขาวัง ) ที่วัดเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี พระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระอริยมุนี ( แจ่ม จตฺคสลฺโล ) ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
    พ. ศ. ๒๔๕๗ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้เป็นบรรณาธิการ หนังสือวารสารรายปักษ์สยามวัด ทำให้พระองค์มีความสามารถในการประพันธ์คำประพันธ์ต่าง ๆ มีโคลง ฉันท์ เป็นต้น
    พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงอุปสมบทเป็นภิกษุ ในปีเดียวกันนี้ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๖๑ สอบได้นักธรรมชั้นโท
    พ.ศ. ๒๔๖๒,๒๔๖๔ และ ๒๔๖๕ สอบได้เปรียญธรรม ๔,๕ และ ๖ ประโยค ตามลำดับ
    พ.ศ. ๒๔๖๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอก
    พ.ศ. ๒๔๖๗,๒๔๗๐ และ ๒๔๗๒ สอบได้เปรียญธรรม ๗,๘ และ ๙ ประโยค ตามลำดับ
    พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพระศาสนาเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้
    พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระกิตติสารมุนี

    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  6. *8q* said:

    Re: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ

    พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที เป็นประธานกรรมการบริหาร ในตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลราชบุรี

    พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ฉบับใหม่

    พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที

    พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นสมาชิกสังฆสภา และเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่

    พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นผู้รักษาการ ในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดบรมนิวาส

    พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์

    พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นผู้สั่งการในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ฯ

    พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระศาสนโศภณ

    พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นสังฆนายก ครั้งที่ ๑

    พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

    พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆนายก ครั้งที่ ๒

    พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช

    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
    1. ด้าน การศึกษา ทรงชำนาญในอักษรขอม อักษรพม่า อักษรมอญ และอักษรโรมัญ จากการที่ได้ ตรวจชำระ พระไตรปิฎกบางปกรณ์ตามที่ได้รับมอบ ซึ่งจะต้องสอบทานอักษรไทยกับต้นฉบับอักษรขอม เกี่ยวกับอักษรพม่า และอักษรโรมัน

      พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นกรรมการตรวจบาลีไวยากรณ์ในสนามหลวง

      พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมชั้นโท-เอกในสนามหลวง เป็นกรรมการตรวจบาลี ประโยค๔-๕-๖
      พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นปีที่เริ่มฟื้นฟูกิจการของมหามงกุฏราชวิทยาลัยในยุคใหม่ ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการหลายคณะ คือ อนุกรรมการตรวจชำระแบบเรียน เช่น นวโกวาท และ พุทธศาสนสุภาษิต กรรมการอำนวยการหนังสือธรรมจักษุกรรมการอุปนายกและนายกกรรมการมหามงกุฏราช วิทยาลัย ตลอดมาจนสิ้นพระชนม์
    2. ด้าน การต่างประเทศ เสด็จไปดูการพระศาสนาในประเทศลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย เนปาล ลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ตามคำเชิญของพุทธบริษัทของประเทศนั้น ๆ ทรงไปร่วมงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช (วัดเบญจมบพิตร) ไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔
    3. งานเผยแผ่พระศาสนา ได้ทรงดำเนินการมาโดยตลอดไปรูปแบบต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้
      พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงร่วมกับคณะมิตรสหาย ตั้งสมาคมพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก คือ พุทธสมาคม เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และส่งเสริมการศึกษา

      พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นพระคณาจารย์เอกทางเทศนา (ธรรมกถึก)

      พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการควบคุมการแปลพระไตรปิฎก

      พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นประธานกรรมการจัดรายการแสดงธรรมทางวิทยุในวันธรรมสวนะ
    4. งานพระนิพนธ์
      พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงแปลตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย เพื่อใช้เป็นตำรา

      พ.ศ. ๒๔๘๒ ทรงแต่ง รตนตฺตยปฺปภาวสิทฺธิคาถา แทน รตนตฺตยปฺปภาวาภิยาจนคาถา และได้ใช้สวดในพระราชพิธีต่อมา ยังมีพระนิพนธ์อีกมากกว่า ๑๐๐ เรื่อง เช่น มงคลในพุทธศาสนา สาระในตัวคน วิธีต่ออายุให้ยืน การทำใจให้สดชื่นผ่องใส และฉันไม่โกรธเป็นต้น มีพระธรรมเทศนาอีกหลายร้อยเรื่อง ที่สำคัญคือ มงคลวิเศษคาถา ที่แสดงในพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา



    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 17
    องค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ป.ธ. ๖) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕ – ๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑ ปี พระนามเดิม ปุ่น พระฉายา ปุณฺณสิริ นามสกุล สุขเจริญ พระชนก เน้า พระชนนี วัน ประสูติ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ณ ตำบลบ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๖
    ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๖๐ ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ ทรงบรรพชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี ได้บรรพชาที่วัดสองพี่น้อง พอได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขากลับไปช่วยบิดามารดาทำนา ๑ ปี แล้วจึงกลับมา บรรพชาใหม่ ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริรวมพระชนมายุ ๗๗ พรรษา ๕๖
    สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑พรรษาเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา
    พระองค์ มีพระนามเดิมว่า ปุ่น ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาในเบื้องต้น เรียนกับบิดาของท่าน จนอ่านออกเขียนได้ แล้วจึงไปเรียนภาษาบาลี อักษรขอม และมูลกัจจายน์ (กับพระอาจารย์หอม และอาจารย์ จ่าง) ที่วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อพระชนม์ได้ ๑๐ พรรษา (พระอาจารย์หอมได้พามาฝากให้เป็นศิษย์พระอาจารย์ป่วน) ได้มาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ฯ เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ได้ย้ายมาอยู่กับพระอาจารย์สด (พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ณ วัดพระเชตุพน แล้วกลับไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐
    พ.ศ. ๒๔๕๖ สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ. ๒๔๕๘ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ขณะเป็นสามเณร
    พ.ศ. ๒๔๖๒ สอบได้นักธรรมโท
    พ.ศ. ๒๔๖๓, ๒๔๖๖, ๒๔๗๐ สอบได้เปรียนธรรม ๔,๕ และ ๖ ประโยคตามลำดับ
    พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎก แผนกพระวินัย เป็นภาษาไทย
    พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รับพระราชทานสมศักดิ์ เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระอมรเวที เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นคณาจารย์เอกทางเทศนา
    พ. ศ. ๒๔๘๖ เป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาคบูรพา ( ๘ จังหวัด ภาคตะวันออก ) เป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค ๒ ( ๑๐ จังหวัดภาคกลาง ) และเป็นกรรมการสังคายนา พระธรรมวินัย
    พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นสมาชิกสังฆสภา
    พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุธี
    พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน และเป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    พ. ศ. ๒๔๙๑ เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ ๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เป็นกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการสังมาณัติระเบียบพระคุณาธิการ และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมดิลก
    พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๒ (ภาคบูรพาเดิม) และเป็นสภานายกสภาพระธรรมกถึก
    พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ ๒
    พ. ศ. ๒๔๙๔ เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ ๓ และ ๔ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๗ (๘ จังหวัดภาคกลาง) เป็นกรรมการเจ้าคณะตรวจการภาค และเป็นอนุกรรมการอบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ข้าราชการ และประชาชน
    พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระธรรมโรดม และเป็นสังฆมนตรี (ว่าการองค์การสาธารณูปการ) สมัยที่ ๕
    พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรี (ว่าการองค์การเผยแผ่) สมัยที่ ๖
    พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต และเป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
    พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก หนเหนือ และหนใต้
    พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นแม่กองงาน พระธรรมทูต
    พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ระหว่างที่พระองค์เสด็จเยือนลังกา
    พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
    ผล งานของพระองค์ นอกจากที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฎิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ และงานพิเศษต่าง ๆ ที่ได้รับมอบอย่างครบถ้วนแล้ว ยังมีงานด้านพระศาสนาที่ทรงริเริ่มพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
    งาน ด้านการก่อสร้าง และปฎิสังขรณ์ ทรงก่อสร้างและปฎิสังขรณ์ทั้งปูชนียสถานเช่น พระอาราม สาธารณสถาน เช่น พิพิธภัณท์ โรงเรียน โรงพยาบาล ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก
    งานด้านมูลนิธิ ทรงก่อตั้งและสนับสนุนมูลนิธิ ที่ดำเนินงานด้านธรรม ด้านวิชาการ และการศึกษา และด้านสาธารณูปการ เป็นจำนวนมาก
    งาน ด้านพระนิพนธ์ มีพระธรรมเทศนาจำนวนมาก วันสำคัญทางศาสนา ประมวลอาณัติคณะสงฆ์ สารคดี เช่น สู่เมืองอนัตตา พุทธชยันตี เดีย-ปาล ( อินเดีย-เนปาล ) สู่สำนักวาติกัน และนิกสัน และบ่อเกิดแห่งกุศล คือ โรงพยาบาล เป็นต้น ธรรมนิกาย เช่น จดหมายสองพี่น้อง สันติวัน พรสวรรค์ หนี้กรรมหนี้เวร ไอ้ตี๋ ดงอารยะ เกียรติกานดา คุณนายชั้นเอก ความจริงที่มองเห็น ความดีที่น่าสรรเสริญ อภินิหารอาจารย์แก้ว กรรมสมกรรม
    งาน ด้านต่างประเทศ ทรงไปร่วมประชุมฉัฎฐสังคายนาพระไตรปิฎก ณ ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ไปร่วมงานฉลองพุทธชยันตี (๒๕ พุทธศตวรรษ) ณ ประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นอกจากนี้ยังทรงไป และสังเกตุการณ์ พระศาสนาและเยือนวัดไทยในต่างประเทศ อีกเป็นจำนวนมาก





    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 18
    องค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ. ๔) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ –๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๑ ในรัชกาลที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน พระนามเดิม วาสน์ พระฉายา วาสโน นามสกุล นิลประภา พระชนก บาง พระชนนี ผาด ประสูติ วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ ๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๔
    ทรงอุปสมบท วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ณ วัดราชบพิธ ทรงบรรพชา วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ณ วัดราชบพิธใหม่ ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๐
    สมเด็จ พระสังฆราช (วาสนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ในตำแหน่ง ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา
    พระองค์ มีพระนามเดิมว่า วาสน์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่อำเภอนครหลวงจังหวัด พระนครศรีอยุธยาบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ วัดราชบพิธ เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมตามลำดับ สอบได้เปรียญ ๔ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๖๕ และ ๒๔๖๖ เป็นพระครูโฆสิตสุทธสร พระครูธรรมธร และพระครูวิจิตรธรรมคุณ ตามลำดับ และเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง
    พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นพระราชาคณะที่ พระจุลคณิศร ปลัดซ้ายของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัตน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นกรรมการคณะธรรมยุต
    พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นคณาจารย์เอกทางรจนาพระคัมภีร์ และเป็นสมาชิกสภาสังฆสภา
    พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตรวจการภาคกลาง และภาค ๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอพระนคร และเป็นกรรมการการสังคายนาพระธรรมวินัย
    พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี และรักษาการณ์ในหน้าที่เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ
    พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี
    พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ และเป็นเจ้าคณะตรวจการณ์ภาค ๑
    พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์
    พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นเจ้าคณะธรรมยุต ผู้ช่วยภาค ๑-๒-๖ และเป็นเจ้าคณะจังหวัด พระนครสมุทรปราการ กับ นครสวรรค์
    พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งเจ้าคณะธรรมยุต ภาค ๑-๒-๖ และเป็นอุปนายกกรรมการ มหามกุฎราชวิทยาลัยฯ
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และเป็นกรรมการเถรสมาคม
    พระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้
    - นายกกรรมการและนายกสภาการศึกษา มหามงกุฎราชวิทยาลัย
    - เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    - ประธานการศึกษาของคณะสงฆ์
    - ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
    - ประธารกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนา และมนุษยธรรม
    - เป็นองค์อุปถัมภ์ในกิจการด้านการพระศาสนา และการสงเคราะห์ในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น มูลนิธิสังฆ ประชานุเคราะห์ สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ศูนย์และชมรมพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช ( วาสนมหาเถร ) สถานสงเคราะห์คนชราวาสนะเวศน์ และมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช ( วาสนมหาเถร ) เป็นต้น

    งาน เผยแผ่ศาสนธรรม นับว่าเป็นงานหลักที่ทรงกระทำเป็นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ การสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในการสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี นับเป็นครั้งที่ ๓ ของประเทศไทย
    การ บรรยายธรรม ได้จัดให้มีพระธรรมเทศนาประจำวันธรรมสวนะในพระอุโบสถ เป็นประจำ การบรรยายสวดมนต์มีคำนำแปล ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ประจำวันพระแรม ๘ ค่ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๗
    การตรวจเยี่ยมพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศทั้ง ๗๓ จังหวัด เพื่อรับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
    การแต่งหนังสือและบทความต่าง ๆ เพื่อสอนพระพุทธศาสนาในระดับต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก
    การตั้งมูลนิธิต่างๆ เพื่อบำรุงพระอาราม
    งาน สาธารนูปการ ทรงสร้างและให้ความอุปถัมภ์ในการสร้างวัด โรงเรียน โรงพยาบาล และสาธารณสถานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น วัดแสงธรรมสุทธาราม จังหวัดนครสวรรค์ วัดโพธิทอง จังหวัดอยุธยา อาคารเรียนโรงเรียน ประชาบาลวัดสระกะเทียม นครปฐม โรงเรียนประชาบาลวัดโพธิทอง จังหวัดอยุธยา โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) จังหวัดอยุธยา ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสนาวนาราม หอนาฬิกา จังหวัดอยุธยา ศาลาที่พักริมทางหลวง ๘ แห่ง ศาลาทรงไทยหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ๒ หลัง และสถานสงเคราะห์คนชราวาสนเวศน์ จังหวัดอยุธยา สิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือ โรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ ในที่ดินที่กองทัพบกยกให้ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา งานสร้างพุทธมณฑล ให้สำเร็จเสร็จทันในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นผลงานสำคัญของพระองค์ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑
    งานพระ นิพนธ์ ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทิศ ๖ สังคหวัตถุ ๔ สัมปรายิกัตถประโยชน์ วัดของบ้าน พุทธศาสนคุณ พัฒนาใจ บุคคลหาได้ยาก มรดกชีวิต ความเติบโต วาสนาสอนน้อง จดหมายถึงพ่อ วาทแห่งวาสน์ คำกลอนสอนใจ วาสนคติ นิราศ ๒ ปี สวนดอกสร้อย สักวาปฏิทิน กลอนปฏิทิน อาจารย์ดี สมพรปาก คน-ระฆัง เรือ-สมาคม วัยที่เขาหมดสงสาร และบทความเรื่องบันทึกศุภาสินี เป็นต้น

    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  7. *8q* said:

    Re: สมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย

    สมเด็จพระสังฆราช รูปที่ 19
    [B][COLOR=#800000]องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ ป.ธ. ๙) วัดบวรนิเวศวิหาร
    ประวัติ ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน พระนามเดิม เจริญ พระฉายา สุวฑฺฒโน นามสกุล คชวัตร พระชนก น้อย พระชนนี กิมน้อย ประสูติ วันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงสอบได้ น.ธ. เอก พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
    ทรงอุปสมบท วัน ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๗๖ ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วได้ทรงทำทัฬหีกรรม(ญัตติซ้ำ) เป็นธรรมยุต ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต นพวงษ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ ทีปรักษพันธุ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๖๙ ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระโศภนคณาภรณ์
    พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้น ราช ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์
    พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง ที่พระสาสนโสภณ
    พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร

    สมเด็จ พระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิถลอดุลยเดช
    พระองค์ มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
    ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้
    พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
    พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค
    พ. ศ. ๒๔๗๖ อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติ และสอบไล่เปรียญธรรม ๕ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๗๗,๒๔๗๘,๒๔๘๑ และ ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๖,๗,๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ
    พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นสมาชิก สังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวักบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
    พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย
    พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
    พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามงกุฏราชวิทยาลัย
    พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
    พระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้
    พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
    พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม
    พ. ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
    พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
    พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ
    พ. ศ. ๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
    พ. ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฬ้า ฯ เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเวลาถึง ๑๕๒ ปี
    พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
    พ. ศ. ๒๕๒๘ เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
    ผลงานของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นเอนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้
    ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
    พ. ศ. ๒๕๐๙ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีบ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
    พ. ศ. ๒๕๑๑ เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘
    พ. ศ. ๒๕๑๔ เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศ ฯ
    พ.ศ. ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน ๔๓ คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
    พ. ศ. ๒๕๒๘ ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซียและในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชา กุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
    พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
    พ. ศ. ๒๕๓๘ เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาศทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
    ด้านสาธารณูปการ ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
    ปูชนียสถาน ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศ ฯ พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
    พระ อาราม ได้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง เชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง ชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล
    โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมัธยมญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี
    โรง พยาบาล ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาล และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม ชลบุรี และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร ทุกพระองค์ รวม ๑๙ แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง
    พระนิพนธ์ ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้
    ประเภท ตำรา ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค ๑-๒ สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทรบุรี นฤนาถ
    ประเภท พระธรรมเทศนา มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ ๕ กัณฑ์ ทศพลญาณ ๑๐ กัณฑ์ มงคลเทศนา โอวาทปาฎิโมข์ ๓ กัณฑ์ สังฆคุณ ๙ กัณฑ์ เป็นต้น
    ประเภท งานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท วินัยมุข พุทธประวัติ ภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น
    ประเภท ทั่วไป มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นการนับถือพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ ๔๕ พรรษาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ) วิธีปฎิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ พระพุทธศาสนากับสังคมไทย เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ) แนวปฎิบัติในสติปัฎฐาน อาหุเณยโย อวิชชา สันโดษ หลักธรรมสำหรับการปฎิบัติอบรมจิต การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ บัณฑิตกับโลกธรรม แนวความเชื่อ บวชดี บุพการี-กตัญญูกตเวที คำกลอนนิราศสังขาร และตำนาน วัดบวรนิเวศ เป็นต้น

    http://board.agalico.com/showthread.php?t=32474
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี