ประวัติวันสงกรานต์

กระทู้: ประวัติวันสงกรานต์

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    ประวัติวันสงกรานต์



    ประวัติวันสงกรานต์




    สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ



    สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี







    พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ







    การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ



    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: ประวัติวันสงกรานต์



    กิจกรรมในวันสงกรานต์




    การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย







    การสรงน้ำพระการรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา




    การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย







    การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้







    การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย







    การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่




    การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด



    http://www.mthai.com/scoop/uppic/img/yPr4ht5Mon33041
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  3. *8q* said:

    Re: ประวัติวันสงกรานต์

    สงกรานต์ 2553

    ปีขาล (เทวดาผู้หญิงธาตุไฟ) โทศก จุลศักราช 1372 ทางจันทรคติเป็นอธิกมาส (ปีทางจันทรคติที่มีเดือน 8 สองหน) ทางสุริยคติเป็นปกติสุรทิน

    วันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 เวลา 07 นาฬิกา 19 นาที 19 วินาที

    นางสงกรานต์ทรงนามว่า มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนม เนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จยืนมาเหนือหลังคัสพะ (ลา) เป็นพาหนะ

    วันที่ 16 เมษายน เวลา 11 นาฬิกา 18 นาที 36 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1372 ปีนี้ วันอังคารเป็นธงชัย วันพฤหัสบดีเป็นอธิบดี วันจันทร์เป็นอุบาทว์ วันเสาร์เป็นโลกาวินาศ

    ปีนี้ วันอังคารเป็นอธิบดีฝน บันดาลฝนให้ตก 300 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า นาคให้น้ำ 7 ตัว

    เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 5 ชื่อวิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิชาติ (ด้วงกับแมลง) จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง

    เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีเตโช (ไฟ) น้ำน้อย

    คำทำนายโบราณ วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันพุธ วันเนาตรงกับวันพฤหัสบดี วันเถลิงศกตรงกับวันศุกร์ ทำนายว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ผลไม้จะแพง พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก นางสงกรานต์ยืนมา จะทำให้เกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้

    สำหรับทางล้านนาก็มีคำพยากรณ์ว่า ถ้ามหาสงกรานต์ตรงกับวันพุธ ปีนั้นฝนบ่ตกทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อยข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันจันทร์และวันเสาร์มีโชค.

    http://variety.teenee.com/foodforbrain/25659.html
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  4. *8q* said:

    Re: ประวัติวันสงกรานต์

    นางสงกรานต์



    เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์

    จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาแต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น

    ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้
    นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

    วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
    ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

    วันจันทร์ ชื่อ โคราค
    ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

    วันอังคาร ชื่อ รากษส
    ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

    วันพุธ ชื่อ มัณฑา
    ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

    วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
    ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

    วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา
    ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

    วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
    ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง

    http://variety.teenee.com/foodforbrain/25660.html
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. *8q* said:

    Re: ประวัติวันสงกรานต์

    เรื่องน่ารู้ ก่อนลุยสงกรานต์



    1. สงกรานต์เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย กิจกรรมของสงกรานต์ไม่ได้มีแต่การเล่นน้ำเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมที่น่าจะทำอีกมาก เช่น การทำบุญ การทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณบ้าน ซึ่งนับเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งด้วย

    2. จุดประสงค์ของการรดน้ำ สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์นั้นคือ การอวยพรและขอพรกันด้วยน้ำ มิใช่ตั้งใจให้เป็นการเล่นหรือต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย

    3. การประแป้งดินสอพอง แต่เดิมเป็นเพียงการแต่งตัวตามสมัยนิยมของแต่ละคน ดังนั้นใครอยากประแป้งก็ประเอง ไม่ต้องไปประให้เขา การถูกเนื้อต้องตัวผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่มารยาทที่ดีของสุภาพชน อย่าทำเลย

    4. การรดน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องมี 2 ประเภท คือ
    - การรดน้ำผู้ใหญ( ธรรมเนียมดั้งเดิมนิยมว่าควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ) เป็นการรดน้ำเพื่อแสดง
    ความเคารพและขอพรจากท่าน เมื่อไปรดน้ำที่มือท่าน ไม่ต้องไปอวยพรท่าน เพราะเราเป็นเด็ก รอรับพรจากท่านก็พอ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ให้พรเอง
    - การรดน้ำผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยเดียวกันหรืออ่อนวัยกว่า เป็นการรดน้ำอวยพร ถ้าจะให้สุภาพควรขออนุญาตเสียก่อน แล้วจึงรดน้ำที่หัวไหล่ และสามารถกล่าวอวยพรได้ตามต้องการ ถ้าสนิทสนมกันอยู่แล้วก็สามารถรดน้ำและเล่นสนุกสนานได้ตามประสาเพื่อน แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในขอบเขตของมารยาท ศีลธรรม และความปลอดภัย

    5. น้ำที่นำมารดและสาดกันถือเป็นสิ่งที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงต้องเป็นน้ำสะอาด น้ำอบ น้ำหอมน้ำดอกไม้ ( ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำอบไทยเสมอไป น้ำอบฝรั่งก็ได้ ) แต่ไม่ควรใช้น้ำสกปรกหรือน้ำแข็งเด็ดขาด

    6. ของรดที่นำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ตามธรรมเนียมมักเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการอาบน้ำและการแต่งตัวเป็นหลัก เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู สบู่ น้ำหอม แป้ง ของเหล่านี้เป็นของหลักซึ่งจำเป็นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องให้ทุกอย่างที่กล่าวมา เลือกจัดให้ตามความเหมาะสม ส่วนของอื่นๆ เช่น ดอกไม้ ขนม นั้นเป็นของประกอบ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้

    7. การกราบเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง โดยการยอบตัวลง พนมมือ และก้มลงจนมือที่พนมไว้ ท้องแขน และศีรษะจดพื้น ตรงหน้าคนหรือสิ่งที่เราตั้งใจจะกราบ การกราบปกติไม่ต้องแบมือ ไม่ว่าสิ่งของหรือบุคคลนั้นจะเป็นที่เคารพอย่างสูงเพียงใด จะแบมือก็เฉพาะกราบพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์เท่านั้น

    8. การสรงน้ำพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ ไม่ควรรดน้ำลงตรงๆ ที่พระเศียรหรือส่วนศีรษะ ให้รดน้ำลงในส่วนอื่นๆ จะสุภาพเหมาะสมกว่า

    9. การรดน้ำ ดำหัว เป็นประเพณีของไทยภาคเหนือกลุ่มล้านนา ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างเป็นพิเศษจากภาคอื่นๆ คำว่าดำหัว เป็นภาษาถิ่น ไม่ควรนำไปใช้เรียกการรดน้ำสงกรานต์ของภาคอื่นๆ เพราะจะทำให้ผิดความหมาย

    10. สงกรานต์เป็นประเพณีของคนไทยทุกศาสนา ไม่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น การทำบุญก็เลือกถือปฏิบัติตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือได้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆเป็นของกลางๆใครๆก็ปฏิบัติได้

    11. สงกรานต์ปีหนึ่งมีหนเดียว ขอเชิญชวนให้แต่งกายแบบไทยๆ เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของเรา เท่ และ ไม่ร้อนดีด้วย




    ข้อมูลจาก หนังสือ อ.ส.ท. Young Traveller
    http://variety.teenee.com/foodforbrain/25661.html
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  6. khitk said:
    ประเพณีไทย รวบรวมไว้มีประโยชน์มากครับ