ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ

(หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)

(พิจารณาจีวร)

ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว นุ่งห่มจีวร,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ... เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ............... เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,

และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย.

(พิจารณาอาหาร)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันบิณฑบาต,

เนวะ ท๎วายะ, .............................. ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

นะ มะทายะ, ............................... ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย,

นะ มัณฑะนายะ, .......................... ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,

นะ วิภูสะนายะ, ............................ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,

แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ, ................................. เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา, ............................ เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พรัหมะจะริยานุคคะหายะ, .............. เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,

ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งเวทนาเก่าคือความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, . และไม่ทำเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,

อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา ดังนี้.

(พิจารณาที่อยู่อาศัย)

ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ใช้สอยเสนาสนะ,

ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ..... เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, ................. เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,
และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.

(พิจารณายารักษาโรค)

ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว บริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้,

ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพียงเพื่อบำบัดเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว, มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล,

อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ,

เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.



คัดลอกมาจาก
หนังสือสวดมนต์-ไหว้พระ-สาธยายธรรม