พิธีแต่งงานแบบภาคอีสาน นั้น ภาษาพื้นเมืองเขาจะเรียกกันว่า “กิน ดอง” ซึ่งมีความหมายว่า คู่บ่าวสาวจะดองกันเป็นวงศาคณาญาติต่อไปในภายภาคหน้า พิธีแต่งงานแบบภาคอีกสาน นี้ ถือเป็นประเพณีความรักระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สมัครใจรักใคร่และจะอยู่ กินเป็นสามีภรรยากัน “ประเพณีกินดอง” นั้นเริ่มต้นด้วยการสู่ขอ การหมั้น และ การแต่งงาน เช่น ในจังหวัดขอนแก่น พิธีนี้ฝ่ายชายจะต้องขึ้นไปบนเรือนของฝ่ายหญิงตามลำพังสองต่อสองในยามค่ำคืน ในขณะที่ทั้งสองกำลังสนทนากันอยู่นั้น ฝ่ายหญิงก็จะถือโอกาสทำงานไปด้วย เช่น ปั่นฝ้าย กรอไหม และ ทอเสื่อ เป็นต้น กระทั่งทั้งคู่มีความพึงพอใจซึ่งกันและกันจนถึงขั้นสู่ขอ

การสู่ขอ ภาษาพื้นเมืองเรียกกันว่า “การขอเมีย” คือ นับตั้งเเต่เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรักใคร่ตกลงปลงใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นสามีภรรยากัน ฝ่ายชายก็จะบอกกล่าวพ่อแม่ให้จัดญาติผู้ใหญ่เป็นเถ้าแก่และพ่อล่ามอีกคน หนึ่งถือดอกไม้ธูปเทียนไปร้องขอต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิงที่บ้านเพื่อไปตกลงกัน แต่ในกรณีที่กำหนดงานวันแต่งงานเนิ่นนานออกไปก็อาจจะทำพิธีหมั้นกันไว้ก่อน ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจในตัวกันและกันทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายชายจะต้องหาทองหมั้นมาวางประกันไว้ คือ จะเป็นทองรูปพรรณหรือเงินตามจำนวนที่ตกลงกันก็ได้ การเลี้ยงดูแขกจะแยกกันเลี้ยงคนละฝ่ายหรือจะเลี้ยงรวมกันก็ได้หรือให้ฝ่ายใด เลี้ยงแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ วันแต่งงานตามที่นิยมกันก็คือวันใดวันหนึ่งในเดือนคู่ข้างขึ้นคือ วันที่ ๒๔ และ ๖ เดือนยี่ ๔๖ และ ๑๒ เว้นแต่เดือนในระหว่างเข้าพรรษา คือ เดือน ๘-๑๑ ไม่มีธรรมเนียมแต่งงานกัน


เมื่อได้ฤกษ์กำหนดนัดตามที่ตกลงในเรื่อง สินสอดทองหมั้นซึ่งเรียกว่า “ค่าดอง” แล้ว ก็กำหนดวันแต่งงานกันเลยทีเดียว แต่ถ้าตกลงในเรื่องสินสอดกันไม่ได้ก็จะต้องเพียรต่อรองกันอีก ในรายที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็จะมีการหมั้นหรือไม่ต้องหมั้นก็ได้ นั่นคือในระหว่างที่รอพิธีการแต่งงานฝ่ายหญิงก็จะเตรียมเครื่องที่นอนหมอน มุ้งและเครื่องไหว้ผู้ใหญ่ให้พร้อมเพรียง ส่วนฝ่ายชายก็จะต้องเตรียมเงินทองเอาไว้ระยะนี้ชายจะไปมาหาสู่หญิงบ่อย ๆ ได้

พิธีแต่งงานแบบอีสาน นั้นจะต้องเริ่มก่อนวันกำหนดแต่งจริงที่บ้านหญิง โดยกำหนด “วันมื้อเต้า” เป็นวันเตรียมสิ่งของถัดไปอีกวันหนึ่งเป็น “วันมื้อโฮม” บางแห่งเรียก “มื้อสุกดิบ” วันนี้ญาติพี่น้องจะมาพร้อมกันและช่วยกันเตรียมงาน โดยในตอนเย็นมีพระสงฆ์มาทำพิธีสวดมนต์มีการฟังเทศน์ร่วมกันทั้งเจ้าบ่าวและ จ้าสาวเพื่อนำหลักธรรมไปปฏิบัติในการครองเรือนกันเช้าวันรุ่งขึ้นเป็นวัน แต่งงาน

อนึ่งในกรณีที่มีอุปสรรคในการแต่งงานจะเกิดขึ้น เช่น ไม่มีเงินค่าสินสอดก็ดีพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็ดี หากฝ่ายหญิงรักและเป็นใจกับฝ่ายชายแล้วชายก็จะนัดแนะเข้าหาหญิงการกระทำเช่น นี้เรียกว่า “ภารซู” ตกกลางคืนเมื่อชายเข้าหาหญิงแล้วฝ่ายหญิงก็จะต้องระมัดระวังไม่ให้ฝ่ายชาย หนีได้จนจวนสว่างฝ่ายหญิงก็จะต้องรีบไปบอกพ่อแม่ของตน

เมื่อบิดา มารดาของฝ่ายหญิงทราบก็จะต้องรีบไปปิดประตูขังฝ่ายชายไว้แล้วให้หาเถ้าแก่ ฝ่ายชายไปตกลงพูดจากัน ถ้าฝ่ายชายตกลงมั่นเหมาะยอมรับเลี้ยงดูฝ่ายหญิงเป็นภรรยาแล้วฝ่ายหญิงก็จึง จะปล่อยให้ฝ่ายชายกลับบ้าน แล้วการสู่ขวัญวันแต่งงานจึงจะเกิดขึ้นในภายหลังพิธีแต่งงาน ถ้าเจ้าบ่าวไปอยู่บ้านเจ้าสาวเขาเรียกว่า “ดองสู้” ตรงกับ ภาคกลางที่เรียกว่า “วิวาห์มงคล” โดยทำ พิธีแต่งงานที่บ้านหญิง ถ้าเป็น “ดองต้าน” ก็เรียกว่า “อาว หมงคล” คือฝ่ายหญิงไปอยู่กับฝ่ายชาย คือทำพิธีที่บ้านของหญิงก่อนแล้วไปทำพิธีที่บ้านของฝ่ายชายอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ ถึงวันงานพวกญาติพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียงก็จะมาช่วยเหลือกันตั้งแต่เช้า พร้อมกับนำข้าวปลาอาหาร สุราสิ่งของหรือเงินทองติดไม้ติดมือไปช่วยตามแต่ฐานะของตน นอกจากจะช่วยด้วยสิ่งของแล้วพวกเขาอาจจะช่วยด้วยแรงอีกด้วย เช่น ช่วยกันตักน้ำ ทำอาหาร ทำพาขวัญจีบหมาก และมวนบุหรี่ ฯลฯ ตามถนัด

เมื่อ ได้ฤกษ์พิธีแห่ตามที่อาจารย์ได้กำหนดไว้แล้วก็จัดเป็นขบวนแห่ไปยังบ้านเจ้า สาวทันที ขบวนแห่เจ้าบ่าวซึ่งเพรียบพร้อมไปด้วยพาขวัญ โดยการนำขันหมากและสินสอดไปด้วยอนึ่งพิธีแห่ของเจ้าบ่าวได้จัดเป็นขบวนแบ่ง ออกไว้เป็นอย่าง ๆ ดังนี้

กลุ่มหน้าเป็นพวกดนดรีพื้นเมืองพวกร้องพวก รำสนุกสนานรื่นเริงกันเต็มที่ต่อมาเป็นเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าว ถัดไปเป็นพาขวัญ ขันหมาก เครื่องบริวารและติดตามด้วยญาติพี่น้อง เถ้าแก่ พ่อล่าม ฯลฯ ครั้นในเมื่อถึงประตูบ้านเจ้าสาว ญาติฝ่ายหญิงจะปิดประตูบ้านไม่ยอมให้เข้าไปได้ง่ายจะมีการซักถามเพื่อเอา เคล็ดเอาฤกษ์ตามธรรมเนียมพร้อมกับมีการถามว่า

“มาทำไม?”

“มาขอลูกสาวบ้านนี้ เขาว่าเป็นคนดีคนร่ำรวยและคนขยันทำมาหากิน….”ฯลฯ พวกญาติฝ่ายชายตอบไป “เออ…ช่างสมกันเหลือเกินเน้อ” ญาติทางฝ่ายเจ้าสาวรีบตอบเพื่อให้สิริมงคลแก่งานด้วย และพูดต่อไปอีกว่า “ขอให้รวยทั้งคู่ เงินทองไหลมาเทมา เชิญ…เชิญ ข้างในบ้าน ฤกษ์งามยามดีเหลือเกิน…”



ครั้นแล้วฝ่ายหญิงก็จะรีบเปิดประตูยอมให้ฝ่ายชายเข้าไป ในการนี้ฝ่ายชายจะต้องให้รางวัลแก่ฝ่ายหญิงด้วยมีธรรมเนียมอยู่ว่า “เจ้า บ่าวก่อนจะขึ้นเรือนต้องล้างเท้าของตนบนใบตองกล้วยตีบและบนแผ่นหินซึ่งถือ เคล็ดว่าให้ฝ่ายชายมีใจหนักแน่นเหมือนแผ่นหินและให้มีความสนิทเสน่หากัน เหมือนผลกล้วยตีบซึ่งชิดกันมาก” จากนั้นญาติผู้หญิงที่มีการครองเรือนดีก็จะมารับพร้อมกับจูงมือเขยขึ้นบ้าน นำไปนั่งรอที่พาขวัญของตน ซึ่งตั้งเคียงคู่กับของหญิงท่ามกลางญาติมิตรสหายระหว่างนี้เถ้าแก่และพ่อแม่ ก็จะนำขันหมากไปมอบให้แก่เถ้าแก่ฝ่ายหญิง เมื่อตรวจดูสินสอดว่าครบถูกต้องแล้วก็จะรีบนำเจ้าสาวมาเข้าพาขวัญเจ้าสาวจะ ต้องนั่งทางซ้ายของเจ้าบ่าวเสมอ

ต่อจากนี้ก็ทำพิธีสู่ขวัญแต่งงานโดย ใช้วิธีแบบ “ประเพณีสู่ขวัญ” ซึ่งได้กล่าวมาแล้วเป็นหลัก แต่ไม่มีการพายเหล้า โดยหมอสูตรหรือพราหมณ์ชาวบ้านจะกล่าวคำสวดคำขวัญอวยพรเสร็จแล้วหมอสูตรได้ ป้อนไข่ คือนำไข่ต้มจากพาขวัญมาปอกแบ่งครึ่งให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวกินคนละครึ่งใบ โดยใช้มือขวาป้อนไข่ท้าวมือซ้ายป้อนไข่นางเสร็จแล้วก็ใช้ฝ้ายผูกข้อมือของ คู่บ่าวสาวพร้อมกับอวยพร

ด้วยพวกญาติ ๆ และแขกที่มาร่วมในงานทุกคนจะต้องผูกข้อมืออวยพรให้ทุกคน ต่อจากนี้ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวก็นำขันดอกไม้ ธูปเทียน ไปกราบไหว้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ทุก ๆ ฝ่ายและพร้อมกันนี้ท่านก็จะอวยพรให้คู่สมรส จงมีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

เสร็จพิธีตอนนี้แล้วญาติฝ่ายหญิงก็จะจูงมือเจ้าบ่าวไปยังห้อง ที่เตรียมไว้ให้สำหรับคู่บ่าวสาวเป็นการบอกว่านับแต่คืนนี้เป็นต้นไปเจ้า บ่าวจะต้องมานอนกับเจ้าสาวที่ห้องนี้ ส่วนญาติฝ่ายชายที่เป็นผู้หญิงก็จะจูงมือเจ้าสาวไปยังอีกห้องหนึ่งเพื่อเป็น การสู่พิธีรับขวัญต่อไป

ต่อมาอีก ๒-๓ วัน คู่สมรสจะต้องนำดอกไม้ ธูป เทียนไปไหว้ญาติพี่น้องวงศาคณาญาติชั้นผู้ใหญ่ที่เคารพนับหน้าถือตาทั้งสอง ฝ่าย พิธีไหว้ระยะนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า “ไหว้สมา” ซึ่งพวกญาติผู้ใหญ่ก็จะให้ทรัพย์สินเงินทองและอวยพรคู่สมรสให้มีความสุขความ เจริญและยั่งยืนตลอดไป


อนึ่งคู่สมรสเมื่ออยู่นานวันเข้าถ้าเกิด ทะเลาะวิวาทกันก็จะมีประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เขิง-ขอบ” แปลว่า “ร่อนและมัด” หมายถึงการพิจารณาตัดสินโดยจะเชิญญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาพิจารณาและปรึกษา กันว่า การบกพร่องในรื่องนั้น ๆ เป็นความผิดของผู้ใดเมื่อพิจารณาได้ความเป็นประการใดแล้วก็ให้ผู้อาวุโสที่ สุดเป็นผู้ว่ากล่าวให้ประนีประนอมคืนดีกันตลอดจนแนะนำอุบายที่จะประพฤติ ปฏิบัติให้ถูกต้องเข้าใจกันต่อไป เช่น ถ้าภรรยาผิดต่อสามี ผู้น้อยผิดต่อผู้ใหญ่ ก็ให้นำดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้ขอโทษขอโพยและรับรองที่จะไม่ประพฤติเช่น นั้นอีกต่อไป

ในกรณีถ้าพ่อแม่ทำผิดก็จะต้องรับที่จะแก้ไขไม่ให้ผิด ซ้ำอีกบางทีก็จะมีการสู่ขวัญเลี้ยงดูเถ้าแก่พ่อแม่ก็ได้เพื่อผูกน้ำใจซึ่ง กันและ กัน และถ้าปรากฏว่ายังมีการแตกร้าวกันอยู่อีกก็จะมีการพิจารณาดังนี้ทุก ๆ คราวไป ถ้าไม่อาจที่จะระงับได้ก็ให้ออกเหย้าออกเรือนหย่าขาดกันไปแล้วแต่กรณี ดังนี้ การหย่าร้างจึงเกิดขึ้นน้อยมากเว้นแต่ว่าจำเป็นจริง ๆ เพราะ “เขิง-ขอบ” กันหลายครั้งหลายหนแล้วไม่ได้ผลหรือคู่สมรสบกพร่องมีปมด้อยต่าง ๆ เช่นไม่มีลูกด้วยกันและเกียจคร้านต่อการงานเช่นนี้เป็นต้น

อนึ่งทุก คราวที่ให้ผู้ใหญ่ทำการ เขิง-ขอบ นี้จะต้องมีดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาท่าน ถ้ามีการปรับไหมสู่ขวัญเลี้ยงดูก็จะฟ้องให้ท่านรู้เห็นเป็นพยานด้วยทุกครั้ง ไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก oursiam.net
ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต