นำเสนอศัพท์ที่มีความหมายว่า อาจารย์ มี ๒ ศัพท์ คือ
๑. อาจริโย ( อา+จร จรเณ+อิ+ณฺย )
๒. นิสฺสยทายโก ( นิสฺสยสทฺทูปปท+ทา ทาเน+ณฺวุ )
ความหมายของคำว่า อาจารย์
๑. สิสฺสานํ หิตํ อาจรตีติ อาจริโย
แปล...ผู้บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่ศิษย์ ชื่อว่า อาจารย์
๒. อาทเรน จริตพฺโพติ อาจริโย
แปล...ผู้ที่ศิษย์ควรประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ชื่อว่า อาจารย์
๓. อภิมุขํ กตฺวา จริตพฺโพติ อาจริโย
แปล...ผู้ที่ศิษย์ควรปฏิบัติทำให้เป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า อาจารย์
๔. สิสฺสานํ หิตสุขํ อาภุโส จรตีติ อาจริโย
แปล...ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ศิษย์อย่างแน่วแน่ ชื่อว่า อาจารย์
๕. อาปาณโกฏิกํ กตฺวา จริตพฺโพติ อาจริโย
แปล...ผู้ที่ศิษย์ควรปฏิบัติตลอดชีวิต ชื่อว่า อาจารย์
๖. อาทิโต จาเรติ สิกฺขาเปตีติ อาจริโย
แปล...ผู้ที่ให้ศิษย์ศึกษาตั้งแต่ต้น ชื่อว่า อาจารย์
๗. นิสฺสยํ ททาตีติ นิสฺสยทายโก
แปล...ผู้ให้นิสสัย ชื่อว่า นิสสยทายกะ (ผู้เป็นที่พึงที่อาศัยในการศึกษา)
ในที่นี้ ครูอาจารย์ควรเป็นทั้งผู้นำและผู้ให้ คือ นำโดยการประพฤติดีเป็น
ตัวอย่างและให้วิชาความรู้ ให้คุณธรรมความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย วาจา ใจ
เพราะการสอนที่ดีคือ การทำเป็นตัวอย่าง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สอนอย่างไร
ทำอย่างนั้น ฉะนั้น ครูอาจารย์จึงควรเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และคุณธรรมก่อนด้วย

ครูอาจารย์ที่ดีควรมีคุณธรรม ๗ ประการ คือ๑
๑. ปิโย เป็นที่รัก
๒. ครุ น่าเคารพ
๓. ภาวนีโย น่ายกย่อง
๔. วตฺตา ฉลาดพูด
๕. วจนกฺขโม อดทนต่อคำพูด
๖. คมฺภีรํ กถํ กตฺตา สอนลึกซึ้ง
๗. โน จฏฺฅาเน นิโยชเย ไม่ชักนำไปในทางที่ไม่ควร
พระพุทธเจ้าตรัสหน้าที่ของครูอาจารย์ไว้ ๕ ประการ คือ๒
๑. สุวินีตํ วิเนนฺติ แนะนำดี
๒. สุคหิตํ คาหาเปนฺติ ให้เรียนดี
๓. สพฺพสิปฺปสฺสุตํ สมกฺขายิโน ภวนฺติ บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่าง
๔. มิตฺตามจฺเจสุ ปฏิเวเทนฺติ ยกย่องให้ปรากฏในมิตรสหาย
๕. ทิสาสุ ปริตฺตาณํ กโรนฺติ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าตรัสหน้าที่ของศิษย์ไว้ ๕ ประการ คือ
๑. อุฏฺฅาเนน แสดงความเคารพนับถือ
๒. อุปฏฺฅาเนน เข้าไปคอยรับใช้
๓. สุสฺสุสาย เชื่อฟัง
๔. ปาริจริยาย ดูแลปรนนิบัติ
๕. สกฺกจฺจํ สิปฺปปฏิคฺคหเนน ตั้งใจเรียนวิชาโดยเคารพ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ครูอาจารย์และศิษย์ ควรมีใจสนิทสนมซึ่งกันและกัน
เหมือนพ่อ(แม่)กับลูก จึงจะมีความเคารพยำเกรงและประพฤติกลมเกลียวกันดี.