ลานบุษปะ

กระทู้: ลานบุษปะ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: อุทยาน...ลานพฤกษา



    ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmos chinensis Lour.
    ตระกูล ANNONACEAE
    ชื่อสามัญ สายหยุด,สาวหยุด

    สายหยุด เป็นไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย พบได้ทั่วทุกภาคของไทย จึงมีชื่อเรียกของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันหลายชื่อ
    เช่น กล้วยเครือ(สระบุรี), สาวหยุด(ใต้), เสลาเพชร (สุราษฎร์ธานี), เครือเขาแกลบ (นครราชสีมา,เลย) เป็นต้น
    แต่ฝรั่งจะเรียกว่า Dwarf Ylang-Ylang



    ดอกสายหยุด จะมีกลีบดอก 6 กลีบโค้งเข้าหากันด้านใน ดูอ่อนช้อยสวยงามมาก จะออกดอกบริเวณใกล้ปลายยอด
    ออกดอกตลอดปี เมื่อออกดอกใหม่ๆ จะเป็นดอกสีเขียว เมื่อบานจะเป็นสีเหลือง ส่งกลิ่นหอมแรง ชื่นใจในตอนเช้า
    ได้กลิ่นแล้วรู้สึกสดชื่นมาก และกลิ่นหอมจะค่อยๆ ลดหายไป ในตอนสายๆ และจะหมดกลิ่นตอนใกล้ๆเที่ยง
    จึงเป็นที่มาของชื่อ “สายหยุด” (คือ ช่วงเวลาตอน “สาย” จะ “หยุด” ส่งกลิ่นหอมนั่นเอง)
    ส่วนชื่อ “สาวหยุด” นั้น ก็ว่ากันว่า น่าจะมาจากกลิ่นหอมหวาน ชื่นใจ หอมโชยไกล ของดอกสายหยุดนี่เอง
    ที่ทำให้ “สาว” ถึงกับต้อง “หยุด” เพื่อดมกลิ่นหอมชื่นใจนี้เลยทีเดียวเชียว




    ผล เป็นผลกลุ่มประกอบด้วยผลย่อย รูปยาวเรียว มีส่วนป่องเป็นกระเปาะ 7-8 กระเปาะ สลับกับส่วนคอด
    ผลอ่อนจะสีเขียวเมื่อแก่จะเริ่มเหลืองจนแดงและกลายเป็นสีดำในที่สุด
    การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ประโยชน์ เป็นไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม
    ถ้าปลูกไม่ให้เลื้อยก็ใช้ไม้ปักให้ต้นตรง ดัดแต่งให้เป็นพุ่ม ถิ่นกำเนิด จีนตอนใต้

    สายหยุดมีลักษณะของดอกและสีแตกต่างกันมากมายตามลักษณะของสายพันธุ์
    ลองมาดูกันนะคะว่า สายหยุดลักษณะดอกและสีแบบไหนจะสวยงามกว่ากัน


    สายหยุดกลีบบางยาวปลายบิดเกลียวสวยมากงามค่ะ


    สายหยุดกลีบางบิดเกลียวแต่สั้นกว่าแบบแรกค่ะ


    สายหยุดกลีบเริ่มม้วนเรียวเล็กลงแต่ปลายกลีบบิดเกลียวนิดๆค่ะ


    สายหยุดกลีบเรียวตรงค่ะ


    กลีบเรียวแต่โค้งเข้าหากันค่ะ


    กลีบเรียวเส้นเล็กมากค่ะ

     
  2. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: อุทยาน...ลานพฤกษา

    เนื่องจากสายหยุดเป็นไม้ในวงศ์เดียวกันกับกระดังงา ดังนั้นสายหยุดจึงมีลักษณะดอกหลายแบบ
    และมีหลายสีเช่นกันค่ะ ลองมาชมสายหยุดแต่ละพันธุ์กันดูนะคะแล้วจะร้องว่า..งามเหลือเกินค่ะ


    สายหยุดสีขาวไม่ทราบเมืองไทยมีหรือเปล่านะคะ


    สายหยุดสีเหลืองพันธุ์นี้ เหมือนดอกจำปาแต่เรียกว่าปาหนันค่ะ


    สายหยุด สีเหลืองพันธุ์นี้เมืองไทยเรียกว่า ส่าเหล้าปัตตานีเหลืองค่ะ


    ส่วนดอกนี้เป็นส่าเหล้าปัตตานีแดงค่ะ


    อันก็เป็นส่าเหล้าเหมือนกันค่ะ อย่างเพิ่งเมานะคะ อิ อิ


    สายหยุดสีแดงสดสวยดอกนี้ เมืองไทยมีแน่นอนค่ะ


    สายหยุดแดงกลีบบิดเกลียวพริ้วแบบนี้สวยมากค่ะ ไม่ทราบเรียกว่าอะไรค่ะ


    นี่ก็สายหยุดแดงค่ะ มองแล้วเหมือนดอกดองดึงส์ค่ะ


    สายหยุดสีม่วงค่ะ หาชมยากมากค่ะ



    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
     
  3. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: อุทยาน...ลานพฤกษา



    ชื่อวิทยาศาสตร์: Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari.
    ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
    ชื่อสามัญ: Climbing Ilang-Ilang
    ชื่อพื้นเมือง: กระดังงาจีน (ภาคกลาง), สะบันงาจีน (ภาคเหนือ), การเวก สะบันงาเครือ
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดียตอนใต้ ศรีลังกา จีน

    “กระดังงาจีน” เป็นไม้เลื้อยดอกหอมต่างถิ่น นำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานแล้ว
    แต่มักจะถูกเรียกชื่อผิดสลับสับสนกับ “การเวก” ซึ่งเป็นไม้เลื้อยดอกหอมพื้นเมืองของไทย
    เนื่องจากมีลักษณะต่างๆ คล้ายกันมาก ทั้งลักษณะของต้น ใบ ดอก แต่กระดังงาจีนไม่มีหนาม

    แต่หากสังเกตุอย่างละเอียดจะพบว่า ดอกของกระดังงาจีนจะมีขนาดดอกใหญ่กว่า
    กลีบดอกหนากว่า สีเหลืองเข้มกว่า และออกดอกดกกว่าการเวก
    ส่วนดอกการเวกชั้นกลีบจะห่างกลีบดอกจะกางกว่ากระดังงาจีน
    และจุดแตกต่างอีกจุดหนึ่งก็คือ ตามกิ่งและยอดอ่อนของกระดังงาจีนจะไม่มีขน
    ในขณะที่ยอดอ่อนของการเวกจะมีขนนุ่ม และใบของกระดังงาจีนจะผิวเรียบเป็นมัน



    กระดังงาจีน ออกดอกได้ตลอดทั้งปี ออกดอกง่าย ดอกดก และดอกใหญ่กว่าการเวก
    ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า จนทำให้การเวกแท้ๆ ของไทยเริ่มหายากมากขึ้นเรื่อยๆ




    กระดังงาจีนเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ดังนั้นการปลูกกระดังงาจีน จึงควรทำค้างหรือซุ้มที่ต้องแข็งแรงมาก
    และควรอยู่กลางแจ้ง หรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ จะออกดอกได้ดีกว่าอยู่ในที่ร่ม
    และควรหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพราะกระดังงาจีนจะแตกยอดและเลื้อยได้เร็วมาก
    เถาของกระดังงาจีน เลื้อยได้ไกล 15-20 เมตร มีมือเกาะเป็นรูปตาขอ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาเกลี้ยง
    ใบ สีเขียวอ่อน ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปรี หรือขอบขนาน ปลายแหลมมีติ่งทู่


    ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-5 ดอก โดยบานทีละดอก มี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ยาว 3-5 ซม. กลีบ
    ชั้นในสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย กลิ่นหอมแรงตอนเย็น เมื่อออกใหม่สีเขียว
    พอแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว หรือเหลือง ออกดอกตลอดปี
    ดอกกระดังงาจีน จะส่งกลิ่นหอมอ่อนตลอดทั้งวัน และจะหอมแรงในช่วงใกล้ค่ำ-กลางคืน
    ดอกบานได้วันเดียวก็โรย หากดอกโรยแล้วติดผล ผลจะติดเป็นกลุ่ม เมื่อผลแก่สามารถเก็บไปเพาะเมล็ดได้



    ผล กลุ่ม 4-20 ผล ผลย่อยมาก รูปไข่กลับหรือรูปรี สีเขียวเข้ม เมื่อสุกเป็นสีเหลืองคล้ำ ผิวเรียบ
    การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
    ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อให้ร่มเงา ปลูกได้ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน

    กระดังงาจีน คล้ายกับการะเวก แต่ไม่มีหนาม และดอกใหญ่กว่า ชื่อทั้งสองนี้มีการเรียกสับสนกันมานาน
    ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความคล้ายคลึงกันมากระหว่างพันธุ์ไม้คู่นี้ ปัจจุบันชื่อ กระดังงาจีน ค่อนข้างจะเลือนหายไป
    และเรียกกระดังงาจีนที่ปลูกให้ร่มเงาตามทางเดินเท้าในกรุงเทพฯว่า การะเวก

    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
     
  4. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: อุทยาน...ลานพฤกษา



    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys siamensis Miq.
    ชื่อวงศ์ : Annonaceae
    ชื่อสามัญ : Gara-Wek
    ชื่อพื้นเมือง : กระดังงาป่า,กระดังงาเถา, กระดังงัว, หนามควายนอน
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย



    การเวกเป็นไม้พื้นเมืองของไทย การเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่มีปุ่มตามลำต้น
    มีลักษณะต้น ใบ ดอก และผลคล้ายกระดังงาจีนมาก ต่างกันที่การเวกมีใบและดอกเล็กกว่า
    มีขนอยู่ทั่วไปตามกิ่ง ก้าน และใบมีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมาจากเถา การเวกเป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบสลับกัน
    ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสัน พื้นใบสีเขียวเข้มเป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก



    เถาบริเวณยอดอ่อนของการเวกจะมีขนอ่อนนุ่มสั้นขึ้นตามกิ่งก้าน เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล
    แต่ตามกิ่งและยอดอ่อนของกระดังงาจีนจะไม่มีขน


    หากสังเกตุดีๆกลีบดอกการเวกจะเห็นมีขนอ่อนสั้นๆด้วยค่ะ



    ดอกเดี่ยว ออกบนส่วนโค้งหรือปลายสุดของก้านช่อที่งอเป็นขอ กลิ่นหอม กลีบดอกมีขนมากกว่า
    และเนื้อกลีบแข็งกว่าดอกกระดังงาจีนกลีบดอกจะกางออก ดอกที่ออกใหม่มีสีเขียวเข้มมีขน
    เมื่อดอกแก่จะมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอม กลิ่นจะหอมจัดในตอนเย็น และตอนเช้ามืด
    เมื่อสายกลิ่นหอมจะหายไป ใบเรียงสลับ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นมัน เป็นไม้ไม่ผลัดใบ


    เมื่อดอกโรยจะติดผล มีผลเป็นกลุ่มสีเขียวเข้ม

    กระดังงาจีนต่างจากการเวกอย่างไร ต้องไปอ่านหนังสือของดร.ปรีชา เฉลิมกลิ่น
    ซึ่งอธิบายไว้ชัดเจน ท่านบอกว่า ส่วนใหญ่ที่เห็นปลูกเป็นซุ้มของกทมนั้น เป็นกระดังจีนทั้งนั้น


    ข้อมูลการเวก
    http://toptropicals.com/catalog/uid/..._siamensis.htm
    Artabotrys siamensis
    Family: Annonaceae Climbing ilang-ilang, Manorangini, Hara-champa,
    Kantali champaOrigin: Tropical Asia


    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย ทั่นยาย : 06-03-2013 เมื่อ 04:15 PM
     
  5. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: อุทยาน...ลานพฤกษา

    นอกจากกระดังงาจีนและการเวกที่เหมือนกันยังกับฝาแฝดแล้ว
    ก็ยังมีพี่น้องของการเวกและกระดังงาจีนอีกหลายสายพันธุ์ แต่ขอนำมาให้ชมสักสองสายพันธุ์นะคะ
    เพราะทั้งต้น ใบ ดอก คล้ายกันมาก ลองมาดูค่ะว่าพี่น้องของกระดังงาและการเวกหน้าตาจะเป็นอย่างไร

    เริ่มจาก


    กระดังงาสายพันธุ์ Artabotrys sp.


    นมงัว Artabotrys harmandii Finet & Gagnep


    นมชะนี Artabotrys burmanicus R. Br. ex Ker Gawl


    เปรียบเทียบลักษณะดอกการเวกและ กระดังงาสายพันธุ์ Artabotrys sp.


    เปรียบเทียบลักษณะดอกกระดังงาจีนและ กระดังงาสายพันธุ์ Artabotrys sp.


    เปรียบเทียบขนาดดอกนมชะนีกับการเวก


    เปรียบเทียบขนาดดอกของแต่ละชนิด


    รวมญาติทุกชนิดค่ะ แบบนี้จะเห็นชัดว่าดอกไหนคือพี่ใหญ่และดอกไหนคือน้องเล็ก อิ อิ



    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
     
  6. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: ลานบุษปะ

    แถมสายพันธุ์การเวกให้ชมอีกสามสี่สายพันธุ์ค่ะ


    ทั้งต้น ทั้งดอก และใบ คล้ายกระดังงาจีน และการเวกมาเลยค่ะ
    แต่ดอกเล็ก และกลีบดอกบางกว่า อยู่ในวงศ์ Artabotrys hexapetalus ค่ะ


    อยู่ในวงศ์ Artabotrys uncinata ต้น ดอก ใบ คล้ายการเวก แต่ไม่ใช่การเวก
    เพราะกลีบดอกจะบางกว่าการเวกมาก และขนาดดอกเล็กกว่ามากค่ะ


    อยู่ในวงศ์ Artabotrys uncinata คล้ายดอกด้านบน
    แต่กลีบดอกจะบางกว่า และดอกก็กลมและสั้นกว่าค่ะ


    อันนี้ชื่อไทยๆ ชื่อกล้วยเต่าผลเหลืองค่ะ อยู่ในตระกูลกระดังงาเช่นกันค่ะ
    ดอกเหมือนการเวกย่อส่วนน่ารัก..น่ากินจังเลยค่ะ อิ อิ


    กระดังงาม่วง violet Artabotrys


    ไม้วงศ์กระดังงาที่เกาะบอเนียวค่ะ Kinabatangan River

    ไม้ในวงศ์กระดังงาเป็นไม้วงศ์ใหญ่มากค่ะ มีมากมายเป็นร้อยสายพันธุ์ทั่วโลกจำกันไม่หวาดไม่ไหวค่ะ
    แต่หากใครที่ชอบต้นไม้ อยากจะลองศึกษาไว้เป็นความรู้ก็ลองเข้าไปที่ Link นี่นะคะ
    http://www.annonagarden.com/forum/kadangngas.php
    ไปทักทายทำความรู้จักกับไม้วงศ์กระดังงากันค่ะ แล้วจะทึ่งกับความมหัศจรรย์ของไม้วงศ์กระดังงาค่ะ



    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
     
  7. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: ลานบุษปะ



    5. ต้นไม้ประจำวันของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี

    คนเกิดวันพฤหัสบดีจะมีรูปร่างสง่างามทั้งชายและหญิง มีสติปัญญาดีฉลาดหลักแหลมเป็นเลิศ มีความละเอียดลึกซึ้ง ทำงานประณีต สนใจใฝ่หาความรู้สม่ำเสมอพูดจาฉะฉานมีหลักการ เชื่อในความคิดของตัวเองจนไม่ค่อยยอมรับฟังคนอื่น โกรธง่ายหายเร็ว
    เมื่อโต้เถียงกับใครอยากเป็นฝ่ายถูกแต่ไม่คิดจะเก็บมาเป็นอารมณ์ เพียงแค่อยากชนะเท่านั้น มีความมุ่งมั่น และตั้งใจสูง ตัดสินใจแล้วยากที่จะเปลี่ยนแปลง มีความทะเยอทะยานต้องการทั้งชื่อเสียง เกียรติยศ และฐานะ จะวางแผนอย่างรอบคอบ
    และอดทนรอคอยอย่างใจเย็น ชะตาชีวิตจะได้ดีมีเกียรติ มีทรัพย์ แต่จะมีทุกข์เรื่องเพื่อนฝูงหรือคู่ครอง เพราะเป็นคนเจ้าชู้ บริวารไม่ค่อยเชื่อฟัง ชะตาชีวิตต้องคอยค้ำชูผู้อยู่รอบข้างเสมอ ไม้มงคลของคนเกิดวันพฤหัสบดี คือไม้ที่มีดอกสีขาวบริสุทธิ์ จึงจะต้องโฉลก
    เพราะเป็นสีที่เสริมสร้างบารมี และเป็นสิริมงคลความรุ่งโรจน์ ไม้ดอกสีขาวทึ่ควรปลูกคือ



    มะลิ ถือเป็นไม้มงคลที่สูงค่าจึงนิยมใช้บูชาพระ ไม่ว่าจะเป็นมะละซ้อนหรือมะลิลา
    ก็เป็นสิริมงคลทางด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ มีความรักและความคิดถึง
    แก่บุคคลทั่วไป คนเกิดวันพฤหัสบดี พรรณไม้มงคล คือ มะลิ การเวก จำปา จำปี
    พุดซ้อน ราตรี กุหลาบขาว ดอกแก้ว บานชื่น พุทธรักษา ธรรมรักษา มะละกอ กล้วย
    พุดพิชชา โมก



    การปลูกมะลิเป็นมงคล
    คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดศิริมงคล เกิดความรัก
    ความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้มงคลที่ใช้บูชาพระ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ นอกจากนี้คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งคนไทยนิยมนำมาบูชาพระ



    ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกต้นมะลิ
    เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไป
    ทางดอกให้ปลูกในวันพุธ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรี
    ที่สูงศักดิ์ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี
    เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั่วไป



    มะลิ Mali Arabian Jasmins, Tuscan jasmine
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac (L.) Ait.
    วงศ์ OLEACEAE
    ชื่ออื่นๆ ไทย: มะลิลา (Mali-la) มะลิซ้อน (Mali-son)
    มาเลเซีย : เมอโลร์ ( Melur ) จีน : หมัว-ลี่-ฮัว (Mo-Li-Hua )
    อินเดีย : มอกรา ( Mogra ) ฟิลิปิน : มาลาตี (Melati )

    ถิ่นกำเนิด อินเดีย จีน มาเลเซีย ไทย



    มะลิ (Jasmine) เป็นต้นไม้เก่าแก่ เป็นพืชในสกุล Jasminum วงศ์ Loeaceae
    มะลิมีต้นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย ในภาคตะวันตกของจีนและทิเบต
    ซึ่งคือประเทศอินเดียนั่นเองบางแห่งบอกว่าดอกมะลิมีต้นกำเนิดจากทางเปอร์เชียและแคชเมียร์ (จริงๆแล้วแคชเมียร์เป็นของอินเดียมาก่อน) ต่อมานำเข้าไปในยุโรบผ่านทางสเปญ (Spain)เมื่อศตวรรษที่17 นี่เอง จะเห็นว่ามีการอ้างอิงถึงดอกมะลิ ที่สามารถพบได้ในงานเขียนภาษาจีน, ภาษาเปอร์เซียและอียิปต์โบราณ ในอินเดียเรียกมะลิว่า มอกรา ( Mogra) หรือ มอการา (Mogara) มักจะหมายถึง"ความหวังที่สูงส่ง" อาจเป็นเพราะว่าใช้บูชาพระ ในพิธีกรรมทางศาสนา ในงานแต่งงาน และใช้ประดับผมสตรีก็เป็นได้
    อาหรับโบราณเรียกมะลิว่า ยัสมิน (Yasmin ) หมายถึง "ของขวัญของพระเจ้า "หรือดอกไม้จากสวรรค์
    ประเทศจีนเรียกมะลิว่า หมัว-ลี่-ฮัว (Mo-Li-Hua ) หมายถึง "หญิงสาวสวยรวยเสน่ห์"
    ทางศาสนาฮินดูและศาสนามุสลิม चमेली (Jasmine) จะหมายถึง"กลิ่นหอมหวานแห่งความรัก"
    ทั่วโลกมีมะลิอยู่ทั้งหมดประมาณ 200 ชนิด (species)



    มะลิในภูมิภาคเอเซีย สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม คือ
    1 มะลิฤดูร้อน Summer ( Jasminum Officinale )
    2 มะลิฤดูหนาว Winter ( Jasminum Nudiflorum )



    มะลิฤดูร้อน (Jasminum Officinale ) เป็นพืชดอก มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น
    พบมากทั้งในยุโรป เอเชีย อาฟริกา และแถบแปซิฟิค ดอกมีกลิ่นหอมเย็น
    ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ
    ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน
    ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว
    มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอกแล้วแต่ชนิดพันธุ์
    ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี


    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย ทั่นยาย : 06-03-2013 เมื่อ 04:30 PM
     
  8. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: ลานบุษปะ

    ชนิดของมะลิที่พบในประเทศไทย
    มะลิเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง เพราะคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องบูชาพระและปัจจุบันทางราชการได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นสัญญาลักษณ์ประจำวันแม่แห่งชาติอีกด้วย
    ในหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544 ระบุว่าในประเทศไทย มีมะลิ (Jasminum) อยู่ 35 species 7 subspecies
    และ 4 varieties หรือเรียกง่ายๆ ว่ามีอยู่รวม 40 ชนิด



    จากซ้ายไปขวา ใบมะลิเมือง มะลิพิกุล มะลิลา มะลิฉัตร มะลิซ้อน

    สำหรับรายชื่อมะลิที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้ง 40 ชนิด เป็นมะลิที่มาจากต่างประเทศ 2 ชนิด
    คือ J. grandiflorum (L.) Kobuski จะขาน หรือ สถาน หรือ มะลิก้านแดง
    และ J. sambac (L.) Aiton มะลิลา, มะลิฉัตร, มะลิถอด, มะลิพิกุล, มะลิซ้อน
    เท่ากับว่า ที่เหลือ 38 ชนิด เป็นมะลิพื้นเมืองของไทย เช่น มะลิสยาม มะลิขน มะลิดอย
    มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิวัลย์ พุทธชาด ปันหยี เครือไส้ไก่ อ้อยแสนสวย และมะลิเขี้ยวงู
    นอกจากนี้ยังมีมะลิชนิดอื่นอีก เช่น มะลิไส้ไก่ มะลิฝรั่ง มะลิย่าน มะลิเถื่อน เป็นต้น
    มีการระบุโดยนักพฤกษศาสตร์ว่า มีมะลิประมาณ 9 ชนิดที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย
    และมี 8 ชนิด ที่ปลูกเป็นไม้ประดับ มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันคือ มะลิลา



    มะลิลา ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton
    ชื่อสามัญ: Arabian Jasmine, Jusmine, Kampopot
    ชื่ออื่น: มะลิซ้อน ,มะลิหลวง , มะลิขี้ไก่
    ชื่อวงศ์: Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย

    เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม
    กันใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ
    ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว
    ปลายกลีบมน ดอกสีขาวกลิ่นหอม
    มักจะเริ่มขยายกลีบและส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลาเย็น มะลิลาเป็นมะลิที่ปลูก
    เป็นการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน นิยมปลูกเพื่อเก็บดอกขายพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้า
    ในปัจจุบัน คือ พันธุ์ราษฎร์บูรณะ พันธุ์แม่กลอง และพันธุ์ชุมพร



    มะลิลาซ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac ( L. ) Ait.
    ชื่อสามัญ : Arabian jasmine , Japanese Rai
    ชื่ออื่นๆ : ข้าวแตก เตียมูน (ละว้า) มะลิ มะลิป้อม
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย

    มีลักษณะต้น ใบ และอื่นๆ คล้ายกับมะลิลามาก แต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า
    ออกดอกเป็นช่อ ๆ ละ 3 ดอก มีกลิ่นหอม และดอกกลางบานก่อนเช่นกัน แต่มะลิลาซ้อน
    จะมีดอกซ้อนกันประมาณ 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน ดอกมีขนาดประมาณ 3 – 3.5 เซนติเมตร



    มะลิถอด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum Sambac (L.) Ait.
    ชื่อสามัญ : Motia
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย

    ลักษณะโดยทั่วไปทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบและรูปแบบของใบจะคล้ายกับมะลิลาซ้อน
    แต่ใบของมะลิถอดจะเป็นคลื่นและใหญ่กว่า ออกดอกเป็นช่อ ๆ ละ 3 ดอก ดอกจะซ้อนกันมากกว่า
    คือ 3-5 ชั้น ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร
    ลักษณะเด่นคือเวลาดอกบานกลีบตรงกลางจะตูมเหมือนดอกบัวตูมเล็กๆเป็นที่สังเกตุได้ชัดเจน



    มะลิซ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac L.
    ชื่อสามัญ : Grand Duke of Tuscany
    ชื่ออื่นๆ : ข้าวแตก เตียมูน มะลิ มะลิป้อม
    วงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย

    ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายมะลิถอดและมะลิลาซ้อน แต่ใบจะมีลักษณะแคบกว่า
    ออกดอกเป็นช่อ ๆ ละ 3 ดอก กลีบดอกจะซ้อนกันมากกว่า 5 ชั้น และแต่ละชั้นจะมีกลีบดอก
    ตั้งแต่ 10 กลีบขึ้นไป ดอกมีสีขาว และมีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอกประมาณ 3-4 เซนติเมตร



    มะลิฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac (L) Alton.
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : อินเดียและตะวันออกกลาง

    ลักษณะโดยทั่ว ๆไปคล้ายกับมะลิทั้งสี่ชนิดที่กล่าวมาแล้ว ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย
    ออกดอกเป็นช่อ ๆ ละ 3 ดอก มีกลีบเลี้ยงเป็นเส้นสีเขียว โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 0.5-1.2 ซม.
    ปลายแยกเป็นกลีบดอกจะซ้อนเรียงเวียนโดยรอบ 3-4 ชั้น ห่างกัน ชั้นละ 0.2-0.4 ซม.
    เห็นได้ชัดเจนมีลักษณะคล้ายฉัตร จึงมักเรียกว่า "มะลิฉัตร " ดอกมีสีขาวนวล กลิ่นหอม
    ดอกมีขนาดเท่าดอกพิกุลคือมีขนาดประมาณ 1-1.4 เซนติเมตร



    มะลิพิกุล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum sambac Ait.
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : เป็นพันธุ์ไม้หอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ

    ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1-2 เมตร โตช้า ทรงพุ่มเตี้ยแจ้
    เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง ชอบแดดจัด

    ต้นกลายพันธุ์ มะลิต้นนี้เป็นมะลิสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับมะลิฉัตร
    แต่มีลักษณะคล้ายกับมะลิฉัตรจึงเรียกว่า"มะลิฉัตรพิกุล หรือมะลิพิกุล"
    ขนาดใบและดอกต่างกันไป ใบเรียงเป็นคู่ ใบรูปไข่สีเขียวอมเหลือง
    ลักษณะเด่นของมะลิสายพันธุ์นี้คือ ออกดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    หรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง 1-4 ดอก ดอกสีขาว มี 5-6 กลีบ
    กลีบดอกเรียงเวียน 3-4 ชั้น ปลายแหลม เหมือนดอกพิกุล
    ดอกบานนาน 1-2 วัน ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมเย็น




    มะลิพวง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum pubescens Willd.
    ชื่อสามัญ : Angelwing jasmine
    ชื่ออื่นๆ : มะลิซ่อม,มะลิเลื้อย
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae.
    ถิ่นกำเนิด : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
    พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์

    ปัจจุบัน คนเข้าใจว่า มะลุลี คือ “มะลิพวง” สายพันธุ์โบราณ เพราะลักษณะดอก ใบ
    และต้นคล้ายคลึงกันมาก ความจริงแล้วทั้ง 2 ชนิด เป็นคนละต้นกัน มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งคนทั่วไปจะไม่ทราบ แต่สำหรับเกษตรกรที่มีอาชีพเพาะขยายพันธุ์มะลิทั้ง 2 ชนิดขายจะรู้ข้อแตกต่างเป็นอย่างดี และบอกจุดให้สังเกตคือ ถ้าเป็น “มะลิพวง” สายพันธุ์โบราณ ใบจะรีกว้างและใหญ่กว่าใบของมะลุลี ที่จะเป็นรูปรียาวเล็กกว่าอย่างชัดเจน ดอกของมะลิทั้ง 2 พันธุ์ จะแตกต่างกันด้วย คือ ดอกของมะลุลีจะเป็นพวงใหญ่และดกกว่า
    รูปทรงของกลีบดอกใกล้เคียงกันมาก จึงทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นเดียวกัน อีกประเด็นหนึ่ง ได้แก่ มะลุลีมีชื่อรองเรียกว่า “มะลิพวง” ด้วยจึงยิ่งทำให้คนทั่วไป
    เชื่อมั่นว่าเป็นต้นเดียวกันอย่างแน่นอน ที่ต่างกันชัดเจนอีกจุดหนึ่งที่เกษตรกรบอกคือ
    กลิ่นหอมของดอก “มะลิพวง” สายพันธุ์โบราณ จะหอมแรงกว่ากลิ่นหอมของดอกมะลุลี
    จึงสามารถแยกแยะได้ตามที่กล่าวข้างต้น

    มะลิพวง สายพันธุ์โบราณ อยู่ในวงศ์ OLEACEAE เป็นไม้กึ่งเลื้อยเนื้อแข็งขนาดเล็ก
    กิ่งเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด เป็นมัน กิ่งก้านมีขนนุ่มสีน้ำตาลที่บริเวณกิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ที่ใบจะมีขนเห็นเด่นชัด ออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือ 3 ใบ ใบย่อยรูปรีแกมไข่
    ขนาดกว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 5-6 ซม.
    ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก
    มีดอกเป็นพวงแต่ไม่หนาแน่นเหมือนกับดอกมะลุลี ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอกตั้งแต่ 5 กลีบขึ้นไป
    จนกระทั่ง 7-8 กลีบก็มี แต่ละกลีบเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลีบแหลม ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ซม. เป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งวัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก
    ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งและตอนกิ่ง




    มะลุลี
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum multiflorum (Burman.f.) Andrews

    ชื่อพ้อง : J. pubescens Willd.
    ชื่อสามัญ : The star jasmine ,Angel-hair jasmine
    ชื่ออื่นๆ : มะลุลี, มะลิซ่อม ,มะลิเลื้อย
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae.
    ถิ่นกำเนิด : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ลักษณะเป็นไม้เถาขนาดเล็ก ต้น ใบ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่า ลำต้นมีสีเขียว กิ่งเปราะ
    ใบเดี่ยวเรียงเป็นคู่ตรงข้าม รูปไข่ปลายแหลม โคนใบมนป้าน ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-9 เซนติเมตร ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่ม

    ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นที่ปลายยอดหรือตามซอกใบใกล้ปลายยอด
    โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6-9 กลีบ กลิ่นหอมทั้งกลางวัน
    และกลางคืน ดอกบานพร้อมกันเกือบทั้งช่อ และบานทนอยู่ได้หลายวัน
    ออกดอกบานตลอดปี ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือกิ่งด้านข้าง ช่อค่อนข้างแน่น
    กลีบรองดอก สีเขียว 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบปลายแหลม มีขนนุ่มสีน้ำตาลคลุม
    กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2 ซม. ตอนปลายแยกเป็น 8-9 กลีบ
    ยาว 2 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก กลีบดอกมีชั้นเดียว ขนาดดอกประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร



    มะลุลีสีชมพู ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum multiflorum (Burm.f.) Andr.
    ชื่อสามัญ: Downy Jasmine, Star Jasmine
    ชื่ออื่น : มะลิไส้ไก่
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    “มะลุลีสีชมพู” เป็นไม้ดอกหอมในวงศ์มะลิ และเป็นชนิดเดียวกับมะลุลีธรรมดา
    แต่จะแตกต่างกันตรงที่ มะลุลีสีชมพูเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แต่มะลุลีธรรมดา
    จะเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยดอกมะลุลีสีชมพู จะมีช่อดอกกลมแน่น ออกดอกที่ปลายกิ่ง
    มีดอกย่อยประมาณ 9-15 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นซี่แหลมเรียว ยาว 6-8 มิลลิเมตร
    ดอกตูมสีชมพูเข้ม ดอกบานสีขาวสะอาด มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร
    มะลุลีสีชมพู จะออกดอกตลอดปี ดอกจะดกมากในช่วงฤดูฝน ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง
    ในวันถัดมา ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดทั้งวันและหอมแรงขึ้นในช่วงเย็น




    พุทธชาด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum auriculatum Vahl
    ชื่อสามัญ : Jusmine Vine, Star jasmine
    ชื่อพื้นเมือง : ไก่น้อย บุหงา ประหนัน
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดียตอนใต้ จีน

    ต้นพุทธชาดเป็นไม้กึ่งเลื้อย กึ่งต้น หรือเป็นไม้รอเลื้อย เป็นไม้ที่มีเถาแข็งมีอายุหลายปี
    กิ่งก้านที่ออกใหม่ ๆ จะมีสีเขียวสด กิ่งแก่จัดจึงจะเป็นสีน้ำตาล เถากลมเกลี้ยง กิ่งเปราะหักง่าย
    ออกใบตรงข้ามกันตามข้อต้น ใบเป็นใบประกอบชนิด ๓ ใบย่อย ซึ่งมักจะลดรูปลงเหลือเพียงใบเดียว
    บางใบอาจพบใบย่อยด้านข้างที่ลดรูปลงเหลือเป็นแผ่นเล็กๆ สีเขียว ๑-๒ แผ่น แผ่นใบรูปไข่
    หรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบมนทู่ หรือบางใบอาจมีติ่งแหลมเล็กน้อย ยาวเพียง ๒-๓ ซม. มีขนนุ่มๆ
    ออกดอกเป็นช่อโปร่งที่ปลายกิ่งและซอกใบ โคนกลีบดอกจะติดกันเป็นหลอด มีกลีบเลี้ยงสีเขียวรองรับอยู่
    ดอกสีขาว มี 6-8 กลีบ คล้ายมะลิลา แต่ขนาดเล็กกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางดอก ๑-๑.๕ ซม.
    ดอกจะบานและเริ่มส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ตอนเย็นเรื่อยไป กลิ่นหอมแรงกว่าดอกมะลิ



    พุทธชาดหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum fluminense Vahl subsp. gratissimum (Deflers) P.S.Green
    ชื่อสามัญ : Brazilian Jasmine
    วงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : นำเข้าจากต่างประเทศ

    พุทธชาดหลวง เป็นไม้ดอกหอมจากต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกนานแล้ว ใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ
    ซึ่งต่างจากมะลิในบ้านเรา พุทธชาดหลวง เป็นไม้เลื้อยดอกหอม ที่ปลูกเลี้ยงง่าย เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กเถาอ่อน
    สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางแล้วให้เลื้อยขึ้นซุ้มโครงเหล็กได้ดี
    ดอกออกเป็นช่อดอกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว คล้ายๆ กับดอกพุทธชาด
    แต่ว่าดอกจะใหญ่กว่า และกลิ่นหอมจะแตกต่างกัน ส่งกลิ่นหอมแรงมากในช่วงใกล้ค่ำและหอมโชยได้ไกล
    ดอกบานวันเดียวก็โรยพุทธชาดหลวงออกดอกได้ตลอดทั้งปี และดอกดกมากในช่วงฤดูฝน



    มะลิวัลย์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum adenophyllum Wall.
    ชื่อสามัญ Scented star jasmine, Climbing jasmine
    ชื่ออื่นๆ : ผักแส้ว , ไส้ไก่, ,มะลิป่า
    ชื่อวงศ์ Oleaceae
    ถิ่นกำเนิด : จากอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    มะลิวัลย์ เป็นพรรณไม้ป่าของไทยแท้แต่โบราณ เวลาดอกออกจะดูขวาพราวไปทั้งต้น ดอกมีกลิ่นหอมแรงไปไกล
    ในหนังสือพรรณไม้ประเทศไทยที่กรมป่าไม้จัดพิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๒๓ กล่าวถึงพันธุ์ไม้ป่าของไทยที่มีชื่อว่า
    มะลิวัลย์ ๓ ชนิด ในจำนวนนี้ที่พบได้บ้างมีเพียงชนิดเดียว เป็นชนิดที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับด้วย
    คือ มะลิวัลย์ (Jasminum adenophyllum Wall.) ซึ่งเป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม
    ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบเล็กกว่าและยาวกว่ามะลิอื่น ๆ ใช้ยอดเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือขึ้นร้าน
    ยอดอ่อนสามารถรับประทานได้ มีรากออกตามข้อ รากของมะลิวัลย์ใช้เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย
    ดอกเป็นช่อเล็กเพียง ๑ -๓ ดอก ตรงซอกใบ ก้านดอกสีเขียวอ่อน มีสีน้ำตาลเรื่อ กลีบเลี้ยงสีเขียวโคนเชื่อมติดกัน
    ปลายแยก 5-6 แฉก ปลายเรียวแหลม ดอกรูปเช็ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยก 8-9 แฉก
    กลีบดอกเล็กยาว สีขาวนวล ขนาดเล้นผ่านศูนย์กลางดอก ๒ - ๓ ซม.ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว

    บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เรื่อง อิเหนา ตอนหนึ่งบรรยายถึงมะลิวัลย์ไว้อย่างไพเราะยิ่ง
    มะลิวันพันพุ่มคัดค้าว
    ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า
    บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี่ยวกิ่งเหมือนชิงช้า
    ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว

    และสุนทรภู่ได้กล่าวถึงมะลิวัลย์ไว้ในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งว่า
    มะลิวันพันระกำขึ้นแกมจาก
    ได้สามวันกรรมพรากไปจากน้อง
    จำปีเคียงโศกระย้าผกากรอง
    พี่โศกเศร้าเฝ้าตรองกว่าสองปี

    อย่างไรก็ตาม มะลิที่เป็นไม้เลื้อยและไม้รอเลื้อยในป่าเมืองไทยยังมีอีกมาก
    ดังนั้น พันธุ์ไม้ ที่เรียกกันว่า มะลิวัลย์ จึงอาจหมายถึงมะลิชนิดอื่นๆ อีกก็ได้
    แต่ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด สิ่งที่เป็นลักษณะเด่นของมะลิวัลย์ก็คือ กลิ่นที่หอมชื่นใจนั่นเอง

    ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเวปไซด์ต่างๆค่ะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย ทั่นยาย : 06-07-2013 เมื่อ 04:40 PM
     
  9. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: ลานบุษปะ

    มะลิพื้นเมืองของไทย
    งานวิจัยการอนุรักษ์มะลิพื้นเมืองถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีมะลิพื้นเมืองอยู่มากมาย
    แต่หากขาดการอนุรักษ์ที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะทำให้มะลิพื้นเมืองบางชนิดสูญพันธุ์
    หรือเปลี่ยนสถานะเป็นชนิดที่หายากขึ้นได้ งานการวิจัยการอนุรักษ์มะลิพื้นเมืองจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
    เพื่อให้แต่ละชนิดยังมีอยู่มีชีวิตอยู่รอดได้ และในเวลาเดียวกันควรที่จะหาทางพัฒนาการใช้ประโยชน์มะลิพื้นเมือง
    แต่ละชนิดให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อเกษตรกรผู้ผลิตผู้จำหน่ายและผู้ใช้ประโยชน์โดยรวมในประเทศไทย

    มะลิพื้นเมืองของไทย ส่วนใหญ่มีดอกสีขาว มีกลีบดอกแหลมๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วประเทศ
    เมื่อชาวบ้านหรือผู้คนทั่วไปได้พบเห็น ก็ไม่ได้จำแนกหรือแยกออกจากกันว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
    แต่ก็จะเรียกรวมๆ กันไปว่า มะลิป่า มะลิเลื้อย มะลิวัลย์ มะลิเขี้ยวงู มะลิไส้ไก่
    เมื่อเดินทางไปสำรวจทั่วประเทศแล้ว จะพบว่า มีชื่อเหมือนๆ กัน แม้แต่ชื่อทางการก็ยังซ้ำกัน
    ทั้งๆ ที่เป็นคนละชนิดกัน ตัวอย่างเช่น ไส้ไก่ มีเรียกถึง 3ชนิด และยังมีชนิดที่เรียกว่า มะลิไส้ไก่อีก 1 ชนิด
    หรือถ้าจะพิจารณาคำว่าเขี้ยวงู ก็มีเรียกถึง 2 ชนิด และยังมีชื่อเขี้ยวงูเล็ก อีก 1 ชนิด
    ดังนั้น ชื่อของมะลิพื้นเมืองยังมีความสับสน จึงยังเรียกรวมๆ กันไปดังกล่าวแล้ว

    ความแตกต่างของมะลิพื้นเมืองแต่ละชนิด ทั้ง 38 ชนิด ที่มีขึ้นกระจายอยู่ทั่วประเทศ
    มีความแตกต่างกันอย่างไร นักพฤกษ-ศาสตร์มีข้อกำหนดอะไรที่นำมาใช้แยกมะลิออกจากกัน ดังเช่น

    1. ใช้จำนวนใบ สามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ มะลิชนิดที่มีใบเป็นใบเดี่ยว และมะลิที่มีใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ
    2. ใช้ลักษณะของเส้นแขนงใบเป็นเกณฑ์ ว่าเส้นแขนงใบคู่แรกเป็นร่องลึกเด่นชัดมากหรือไม่ หรือเส้นแขนงใบแต่ละคู่ไม่เด่นชัดเท่ากันหมดทั่วทั้งใบ
    3. ใช้จำนวนเส้นแขนงใบเป็นเกณฑ์ ว่าแต่ละใบมีเส้นแขนงใบเป็น 3,5, 7, 9 คู่ หรือมากกว่า
    4. ใช้ความยาวของกลีบเลี้ยงมาเป็นเกณฑ์ ว่ามีกลีบเลี้ยงยาว หรือปานกลาง หรือสั้น
    5. ใช้ความยาวของหลอดโคนกลีบดอกมาเป็นเกณฑ์ เมื่อเทียบกับความยาวของกลีบดอก ว่าสั้นกว่าหรือยาวกว่า
    6. ใช้จำนวนกลีบดอกมาเป็นเกณฑ์ ว่ามีจำนวนกลีบดอกเป็นเท่าใดเนื่องจากมะลิแต่ละชนิดมีจำนวนกลีบดอกตั้งแต่ 5 กลีบ จนกระทั่งถึงมากกว่า 10 กลีบ



    มะลิทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์
    ชื่อวงศ์ : OLEACEAE

    มะลิทะเลนี้เป็นต้นแกมเถาคล้ายเฟื่องฟ้า เป็นไม้รอเลื้อยดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน



    มะลิเลื้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum pubescens Willd.
    ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
    ชื่ออื่นๆ : มะลิซ่อม มะลิเลื้อย
    มีถิ่นกำเนิด : ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งก้านมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือ 3 ใบ
    ใบย่อยรูปรีแกมไข่ ขนาดกว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. ดอก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือกิ่งด้านข้าง
    ช่อค่อนข้างแน่น กลีบรองดอก สีเขียว 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบปลายแหลม มีขนนุ่มสีน้ำตาลคลุม
    กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2 ซม. ตอนปลายแยกเป็น 6-8 กลีบ ยาว 2 ซม. ดอกไม่มีกลิ่นหอม

    การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ที่ความสูงระดับน้ำทะเลจนถึง 200 ม. ปลูกได้ทั่วไป ออกดอกเกือบตลอดปี

    ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี

    ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3



    มะลิเขี้ยวงู หรือะลิก้านยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia bassacensis Pierre ex Gagnep.
    วงศ์ OLEACEAE

    พบเลื้อยพันตามไม้เตี้ย ๆ ตามพื้นป่า ไม่เลื้อยขึ้นไม้ใหญ่ ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
    ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-800 เมตร ทั่วทุกภาค ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก
    ทอดเลื้อยไปได้ไกล 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนสีเขียวและมีขนอ่อนนุ่มปกคลุม
    กิ่งแก่สีน้ำตาลปนเทา ผิวเรียบเกลี้ยง ออกดอกเป็นช่อแตกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง
    ช่อละ 1-3 ดอก กลิ่นหอมแรงในช่วงพลบค่ำจนถึงยามสาย ขนาดดอก 3 ซม. ดอกสีขาว
    ดอกเป็นหลอดรูปทรงแจกันสูง สีม่วงอมแดง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานเรียวแหลม 9-11 กลีบ
    สีขาวบริสุทธิ์ ดอกบานเต็มที่เพียง 1-2 วัน ก็ร่วงโรย โดยดอกจะทยอยบานมากเพื่อรับน้ำค้างในยามค่ำคืน
    แล้วบานเต็มที่ในช่วงเช้าเมื่อมีแสงแดดอ่อน ๆ ต่อเมื่อแดดรุนแรง ดอกก็จะเริ่มเหี่ยวเฉา
    โดยมีสีซีดลงและกลีบดอกห้อยลู่ วันรุ่งขึ้น..ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีฟางข้าว
    และมีกลิ่นเหมือนกลิ่นฟางแห้ง กลีบรองกลีบดอกเป็นซี่แหลม ๆ อยู่เป็นวงล้อมรอบดอก



    มะลิงาช้างชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum multiflorum cv.star Jasmine.
    ชื่อวงศ์ : OLEACEAE

    ลักษณะ เป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก พุ่มแน่น รูปทรงไม่ค่อยแน่นอน ดอกเป็นช่อ ปลายกลีบดอกแหลมง่อนคล้ายงาช้าง
    ดอกหอมอ่อนตลอดวัน ช่วงที่มีอากาศเย็นหรือแสงแดดอ่อนจะมีกลิ่นหอมมากกว่าช่วงที่มีอากาศร้อน



    มะลิหลวง ชื่อสามัญ : Angelwing jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum nitidum
    วงศ์ : Oleaceae

    เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่เกาะ Admiralty ของปาปัวนิวกินี
    ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1-2 เมตร มีอายุอยู่ได้หลายปี แตกกิ่งยอดจำนวนมากเป็นพุ่มแน่น
    ปลายกิ่งชูตั้งขึ้น กิ่งอ่อนมีสีเขียวและเปราะหักง่าย ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปหอก
    กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-9 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงเป็นมัน
    ดอกสีขาว ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกมีสีเขียวอมม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง
    โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน ยาว 1-1.5 เซนติเมตร
    ดอกอ่อนสีม่วงแดง เมื่อดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร ดอกเริ่มบานและส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็น
    จนถึงช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้น ดอกบานวันเดียวและโรยในช่วงเย็น ออกดอกดกตลอดปี



    ปันหยี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum rex Craib.
    ชื่อสามัญ : King Jasmine
    ชื่อพื้นเมือง : มะลิ ร.๕, มะลิวัลย์ดง (จันทบุรี)
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae

    ลักษณะทั่วไป: ต้นเป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกัน
    แต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกแบบตรงข้ามกัน
    ใบเรียงตรงข้ามตามก้านใบ ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง
    ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวดอกใหญ่ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว
    ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง 2-3 ดอก ขนาดดอก 4-4.5 ซม.กลิ่นไม่หอม



    เครือไส้ไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์: jasminum scandens (Retz.) Vahl
    ชื่อท้องถิ่น: เครือไส้ไก่ , โมกเครือ, เสี้ยวผี
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae
    ถิ่นที่พบ : ป่าชุมชนตำบลสำราญ

    ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา แตกกิ่งเป็นเถาขนาดเล็กจำนวนมาก มีเถายืดยาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ
    ใบรูปหอก กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร
    ช่อดอกสีขาว ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ 6 แฉก
    มีขนประปราย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกรูปขอบขนาด 6-8 แฉก
    เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็น ดอกบานวันเดียวแล้วโรย
    มีฤดูออกดอกอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม ออกดอกสีขาวโพลนเต็มต้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
    ผลกลมสีดำ มีเมล็ดเดียว ขยายพันธุ์โดยปักชำและตอนกิ่ง ปลูกเลี้ยงในที่ร่มรำไร ชอบความชื้นสูง



    มะลิไส้ไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum funale Decne.spp.funale
    ชื่อวงศ์ :Oleaceae)
    ถิ่นกำเนิด : นครราชสีมา อุบลราชธานี

    ไม้พุ่มรอเลื้อย พบมากตามป่าละเมาะโปร่ง ชอบแสงแดดจัด กลีบดอกสีขาว ปลายแยก 5 แฉก กลิ่นหอมอ่อน ผลสีเขียวออกเป็นคู่



    อ้อยแสนสวย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum rex
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae

    อ้อยแสยสวยเป็นมะลิที่อยู่ในตระกูลเดียวกับปันหยี ลักษณะเป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดงไม่มีขน
    กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 7-8 ดอก ดอกกลางบานก่อน
    ก้านดอกยาว กลีบดอกขาวชั้นเดียวปลายกลีบมน

    มะลิสยาม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum siamense Craib
    ชื่อพื้นเมือง : ดอกเสี้ยว, ไข่ไก่, มะลิเมา
    ชื่อวงศ์ : Oleaceae



    ต้นกึ่งเถาขนาดเล็ก ใบรูปไข่สีเขียวบาง เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ดอกเดี่ยวสีขาว
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย ทั่นยาย : 06-06-2013 เมื่อ 04:42 PM
     
  10. รูปส่วนตัว ทั่นยาย

    ทั่นยาย said:

    Re: ลานบุษปะ



    มะลิก้านแดง
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum grandiflorum Linn.
    ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
    ชื่ออื่นๆ : จะขาน จัสมิน พุทธชาดแดง สถาน มะลิก้านยาว มะลิเขียว
    ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งก้านสีเขียว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อใบออกตรงข้ามเป็นคู่ ก้านใบแผ่ออกเป็นครีบแคบๆ ใบย่อยมี 5-9 ใบ รูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
    ใบย่อยปลายก้าน มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม.
    ดอก สีขาวแกมม่วง ด้านหลังกลีบมีสีชมพูอมม่วง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    หรือกิ่งด้านข้าง ช่อดอกไม่แน่น กลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบ
    ปลายแหลม กลีบดอกตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-2.5 ซม.
    ตอนปลายแยกเป็น 5 กลีบ
    การกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยปลูกเป็นไม้ประดับ
    ปลูกได้ทั่วไป ออกดอกเกือบตลอดปี ประโยชน์ : เป็นไม้ดอกหอม สามารถนำไปสกัด
    ทำน้ำหอมได้

    ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3



    มะลิขน
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum craibianum Kerr
    ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
    ชื่ออื่นๆ :
    ลักษณะ : ไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม
    รูปไข่กลับหรือขอบขนานแกมรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมน
    ปลายใบแหลม แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 4-8 มม. ดอกสีขาวนวล
    แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 4-8 มม. ดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอมจาง
    ออกเป็นช่อสั้นตามยอดหรือซอกใบ จนำวน 3-5 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม.
    กลีบประดับเป็นเส้น กลีบรองดอกเป็นถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคน
    เชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 2 ซม. ปลายแยกเป็น 6-8 แฉก กว้าง 0.2 ซม.
    ยาว 1-1.5 ซม. เกสรผู้ 2 อัน
    การกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะทางในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามชายป่าดิบและบริเวณป่าโปร่ง
    ประโยชน์ : นิยมปลูกตามบ้านเป็นไม้ประดับและไม้มงคล ให้ดอกเกือบตลอดปี

    ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4



    มะลิช้าง
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum cordatum Ridl
    ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
    ชื่ออื่นๆ : เครือหนามข้อ

    มะลิช้างมีเขตการกระจายพันธุ์แคบๆ พบเฉพาะบริเวณคาบสมุทรมลายู
    และภาคใต้ของไทย พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา และสงขลา
    ขึ้นในป่าดิบชื้นตามเขาหินปูน ระดับความสูง 100-250 เมตร
    ลักษณะ : ไม้เถามีเนื้อไม้หรือไม้พุ่มทอดเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนละเอียด ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 1.3-5.5 ซม. ปลายใบเรียวแคบ มนหรือแหลมสั้นๆ ปลายใบมีติ่ง โคนใบกลมหรือรูปหัวใจตื้นๆ แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นโคนใบ 3-5 เส้น โค้งเป็นเส้นขอบใบ เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัดเจน ก้านใบยาวได้ประมาณ 5 มม. มีขนละเอียด ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกเดียว ใบประดับ 1 คู่ เป็นติ่งแหลมอ่อนๆ ยาวประมาณ 1 มม. ก้านดอกยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ หลอดกลีบสั้น ยาว 1.5-2 มม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปลิ่มแคบ ยาว 2-5 มม. มีขนละเอียดประปราย ดอกสีขาว หลอดกลีบยาว 1.7-3 ซม. กลีบดอกมี 6-8 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม กลีบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 0.9-1.7 ซม. เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดภายในหลอดกลีบดอก ก้านเกสรสั้นๆ ปลายอับเรณูมีรยางค์สั้นๆ รังไข่รูปถังเบียร์ ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ปลายแยก 2 แฉก ผลแบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ติดเป็นคู่ รูปรีเกือบกลม

    (ภาพ: นันท์นภัส ภัทรหิรัญไตรสิน; เขาลังตัง พังงา)



    ได้แนะนำมะลิฤดูร้อน ( Jasminum officinale ) ในประเทศไทยที่มีอยู่ 40 กว่าชนิด
    ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Asminum sambac ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ต่อไปนี้ขอแนะนำสายพันธุ์มะลิของต่างประเทศบ้าง
    ซึ่งมะลิของแต่ละประเทศนั้นก็สวยงามโดนเด่นแตกต่างกันไป เช่น จีน อินเดีย อัฟาริกา ปากีสถาน มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฯ
    ขอแนะนำให้รู้จักพอสังเขปดังนี้ค่ะ

    1 สายพันธุ์มะลิฤดูร้อน Jasminum officinale มีอยู่หลายชนิดและหลายประเทศ เช่น

    มะลิของจีน Jasmine of China

    Jasmine Gelsemium sempervirens ชนิดดอกซ้อนเวลาบานจะดูสวยโดดเด่นมากๆค่ะ


    ดอกบานเป็นช่อสวยงามขนาดนี้ค่ะ ตัดมาปักแจกันได้เลยนะคะเนี่ย



    ลักษณะของใบก็แปลกตา คล้ายๆใบหยี่หร่าที่ญี่ปุ่นเอามาทานแนมกับปลาดิบค่ะ



    มะลิชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมมากจึงนิยมนำดอกมาอบแห้งเพื่อใส่ในใบชา เป็นชากลิ่นมะลิค่ะ



    Jasmine Gelsemium sempervirens อีกชนิดหนึ่ง ดอกชั้นเดียวมีเกสรเด่นชัดมา
    ดอกเป็นช่อสวยมาก
    มีกลิ่นหอมมากจึงนิยมมำดอกมาอบแห้งใส่ใบชาเช่นกัน
    มะลิชนิดนี้มีทั้งในจีน และมาเลเซียค่ะ



    Jasminum officinale sambac"Hardy Jasmine" สายพันธุ์นี้มีทั้งไทย จีน และมาเลเซียค่ะ



    มะลิปากีสถาน Jasmine of Parkistan

    Jasminum officinale sambac of Parkistan

    ดอกสวยแปลกตาดี สายพันธุ์นี้เป็นของปากีสถานค่ะ

    Jasminum officinale sambac Belle of India



    Jasminum tortuosum


    Jasminum officinale Fiona Sunrise


    Jasmine, 'South African' Jasminum angulare


    Jasminum angulare – South African Jasmine อีกสายพันธุ์หนึ่ง
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย ทั่นยาย : 06-08-2013 เมื่อ 05:02 PM