นิทานกระต่ายกะเต่า ฉบับ MBA

กระทู้: นิทานกระต่ายกะเต่า ฉบับ MBA

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    นิทานกระต่ายกะเต่า ฉบับ MBA

    ลครั้งหนึ่ง เจ้าเต่ากับกระต่ายเถียงกันว่าใครเร็วกว่ากัน ทั้งคู่จึงตกลงที่จะวิ่งแข่ง ก็มีการกำหนดเส้นทางวิ่งแล้วก็เริ่มการแข่งขัน เจ้ากระต่ายนำโด่งมาไกลก็เลยชะล่าใจ คิดว่าพักผ่อนใต้ต้นไม้ซักกะแป๊บนึงก่อนแข่งต่อก็คงดี ไปๆมาๆก็ง่วงสิ ตื่นมาอีกทีเจ้าเต่าก็คว้าแชมป์ไปแล้ว
    นิทานตอนนี้สอนให้รู้ว่า ช้าๆแต่มั่นคงสามารถเอาชนะได้(เหมือนกัน) นี่เป็นเวอร์ชั่นเดะๆที่เราคุ้นหูกัน ไม่นานมานี้มีคนเล่าเวอร์ชั่นใหม่ที่น่าสนใจให้ฟัง ต่อเลยนะ....
    เจ้ากระต่ายสันหลังยาวก็รมณ์บ่จอยตามระเบียบที่แพ้ มันจึงค้นหาจุดอ่อนของตนเอง มันก็พบว่าความมั่นใจในตัวเองเกินไปบวกกับความขี้เกียจ ของมันนั่นแหละที่ทำให้แพ้ ถ้ามันไม่เผลอหลับซะอย่าง เต่าหน้าไหนจะเอาชนะมันได้
    มันจึงขอแก้ตัวใหม่อีกครั้ง เฮ้ย..เมื่อกี๊ฟลุ้คอ๊ะป่าว แน่จริง..ใหม่เด่ะ
    เจ้าเต่าก็ตกลง ย่อมได้ไอ้น้อง”.... แน่นอนว่าครั้งนี้ เจ้าเต่าโดนทิ้งไม่เห็นฝุ่น กระต่ายชนะขาดลอย
    เราได้ข้อคิดอะไรล่ะ... ต่อให้ช้าแต่ชัวร์ ยังไงก็แพ้เร็วและสม่ำเสมอ ถ้าเราเปรียบเทียบคนสองคนในองค์กรของเรา คนนึงช้าจริง ทำอะไรมีระบบระเบียบแบบแผน แต่ทำอะไรๆไม่เคยพลาด ไว้ใจได้แน่นอนในผลงานของเขา เทียบกับอีกคนนึงที่เร็วและก็พอไว้ใจได้ในสิ่งที่เขาทำ คนที่เร็วกว่ามักจะประสบความสำเร็จมีความเจริญก้าวหน้าในองค์กรนั้นๆมากกว่า (ซิกแซกไม่เป็น อะไรลัดได้ เร็วได้ก็ไม่กล้าเสี่ยงไม่กล้าทำ ผลงานก็เลยน้อยมั้ง)

    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: นิทานกระต่ายกะเต่า ฉบับ MBA

    ไอ้ช้าแต่ชัวร์น่ะมันก็ดีอยู่หรอก แต่ให้เร็วและพอใช้ได้นี่ดีกว่า.... เรื่องยังไม่จบแค่นี้ คราวนี้ถึงทีเจ้าเต่ามาหาจุดบกพร่องของตัวเองบ้าง และมันก็พบว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่มันจะชนะกระต่ายในเส้นทางการวิ่งแบบที่เป็นอยู่นี้ มันก็คิดอยู่ซักครู่หนึ่งก็ไปท้ากระต่ายแข่งใหม่ แต่ขอเปลี่ยนเส้นทางวิ่งซะหน่อย
    เจ้ากระต่ายก็ว่าย่อมได้อยู่แล้วเพ่
    พอการแข่งเริ่มปุ๊บ เจ้ากระต่ายก็ใส่เกียร์ห้อออกไปเต็มสปีดเลย จนกระทั่งไปถึงระหว่างทาง “เฮ้ย!!!..เวรกรรม ต้องข้ามแม่น้ำ ทำไงล่ะตู...” เส้นชัยอยู่ไม่ห่างจากฝั่งตรงข้ามเท่าไหร่เลย เจ้ากระต่ายมัวแต่เง็งว่าจะทำไงดี
    จนเจ้าเต่าคืบคลานมาทันแล้วก็จ๋อมลงน้ำว่ายข้ามฝั่งไปเข้าเส้นชัย
    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า.... พิจารณาจุดแข็งของตนให้ดีแล้วพยายามเปลี่ยนสนามการแข่งขันให้ ตนเองได้เปรียบมากที่สุด ย๊างงง ยังไม่พอ มีต่อ.... ด้วยน้ำใจนักกีฬา ครั้งนี้เจ้าเต่ากับกระต่ายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันแล้ว ต่างคนต่างมาระดมสมองคิดด้วยกัน หากทั้งสองร่วมมือกัน การแข่งแบบเมื่อครั้งล่าสุดจะช่วยให้ทำเวลาได้ดีขึ้น ดังนั้น พวกมันจึงคิดจะแข่งอีกครั้ง แต่แข่งคราวนี้เป็นแบบทีมเวิร์ค เริ่มต้นเจ้ากระต่ายก็แบกเต่าวิ่งไปด้วยความเร็วสูง จนถึงริมแม่น้ำแล้วเจ้าเต่าก็ให้กระต่ายขี่หลังว่ายข้ามไป พอข้ามฝั่งเจ้ากระต่ายก็แบกเจ้าเต่าวิ่งต่อจนเข้าเส้นชัยด้วยกัน

    ผลการแข่งครั้งนี้ สร้างความพึงพอใจให้กับทั้งสองฝ่าย(ตัว)มากกว่า การแข่งครั้งก่อนๆหน้านี้ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า.... การมีจุดแข็งและความสามารถโดดเด่นเฉพาะตัวเป็นสิ่งที่ดี แต่หากไม่รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ยังไงก็ไปไม่รอด เพราะมันจะมีบางสถานการณ์ที่เราเจ๋งคนอื่นเจ๊ง ในขณะที่บางสถานการณ์เราเจ๊งแต่คนอื่นเจ๋ง ทีมเวิร์คสำคัญตรงที่การกำหนดผู้นำให้เหมาะกับสถานการณ์ ให้ผู้ที่มีความถนัดกับสถานการณ์นั้นๆเป็นผู้นำกลุ่มในแต่ละช่วง สถานการณ์ที่เหมาะกับความสามารถของเขา นอกจากนี้เรายังได้บทเรียนอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า ไม่ว่าเต่าหรือกระต่าย ไม่มีใครที่คิดเลิกล้มหรือท้อแท้หลังจากความความล้มเหลวได้เกิดขึ้น กระต่ายแก้ไขจุดบกพร่องของตนเองโดยการทำงานที่หนักขึ้น และเพิ่มความมุมานะในงานของตนเองหลังจากพบความล้มเหลว ส่วนเต่าได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนใหม่ เพราะตัวมันเองได้ทำงานหนักที่สุดเท่าที่มันจะสามารถทำได้แล้วในชีวิต
    เมื่อเราพบกับปัญหาหรือความล้มเหลว บางครั้งเราก็ควรจะทำงานให้หนักขึ้นและมีความเอาใจใส่ในงานมากกว่าเดิม บางครั้งก็ควรเปลี่ยนแผนการทำงานและทดลองในสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างออกไป และในบางครั้งก็จำเป็นต้องทำทั้งสองอย่างเลย นอกจากนั้น กระต่ายกับเต่าก็ได้บทเรียนที่สำคัญอีกอย่างคือ เมื่อเราหยุดการแข่งขันกับตัวบุคคล
    แล้วหันมาแข่งขันกับสถานการณ์แทน พวกมันจะทำงานได้ดีขึ้นมาก
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี