ถกเถียงกันเรื่องศาสนา

กระทู้: ถกเถียงกันเรื่องศาสนา

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:

    ถกเถียงกันเรื่องศาสนา

    สวัสดีอีกครั้งครับมิตรธรรมทุกท่าน


    วันนี้มีเรื่องมาเรียนถามครับว่า หากอยู่ในสถานการณ์เกี่ยวกับการถกเถียงเรื่องศาสนากับผู้นับถือศาสนาอื่น เราควรจะปฏิบัติเช่นไรดี


    ก่อนอื่นก็คือได้คุยกับเพื่อนที่นับถือศาสนาอื่น ยกตัวอย่างเช่นเพื่อนผมเป็นคริสต์ เขาก็ถามผมว่า เชื่อในพระเจ้าไหม ผมก็บอกว่าไม่ เพราะผมเป็นพุทธ ทีนี้อย่างที่ทราบกันว่าคนคริสต์(ส่วนใหญ่)เวลาพูดเรื่องแบบนี้แล้ว จะค่อนข้างยาว และเหมือนการเชินชวนทุกวิถีทางให้เราเชื่อตามเขา ในกรณีนี้ ด้วยความที่ว่าทราบดีว่าต่อให้ชี้แจงไปก็จักเหมือนเป็นการทำให้ความเห็นไม่ลงรอยกัน จะนำไปสู่การตัดรอนซึ่งมิตรภาพได้ จึงทำแค่เพียงชี้แจงบางส่วนที่เขาถาม แต่ก็ชี้แจงเพียงสั้นๆ ถามคำตอบคำ ไม่อยากจะอธิบายอะไรให้ยืดยาว เพราะทางนี้ก็ไม่อยากจะไปก้าวก่ายความเชื่อ เพราะเขามาทางนี้แล้ว ถ้าเถียงไปอธิบายไปก็จะขัดแย้งกันอยู่แล้ว เพราะเราเป็นปุถุชนย่อมไม่ล่วงรู้ได้ว่าผู้นี้จะสามารถละทิ้งมิจฉาทิธฐิได้ไหมในเวลานี้ ถ้าพูดไปผิดกาลผิดเวลาก็อาจจะทำให้เขามองพระพุทธศาสนาแย่ลงก็เป็นได้ ก็เลยทำได้แค่ อือๆ เออๆ ออๆ ให้เขาพูดของเขาไป

    แต่มันก็เหมือนดูไม่แฟร์ กลายเป็นให้เขาเป่าหูเราฝ่ายเดียว โดยที่เราไม่สามารถโต้แย้งอะไรได้เลย


    อยากทราบว่าในกาลแบบนี้ พุทธศาสนิกชนควรจะปฏิบัติตัวเช่นไรถึงจะเรียกว่าเหมาะสมที่สุด

    หรือควรจะบอกเขาไปแต่ต้นดีว่า "เราอย่าพูดกันเรื่องนี้เลย มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะ เรามีความเชื่อแบบนี้ เขามีความเชื่อแบบนั้น ถ้าพูดกันไปเดี๋ยวจักเหมือนการเมือง จะเป็นเหตุให้ทะเลาะกัน ขัดแย้งกันได้ เพราะงั้นเอาเป็นว่าเราเคารพในความเชื่อแต่ละคนละกันนะ" อะไรอย่างนี้จะถือว่าสมควรไหม เพราะมันก็เหมือนเป็นเวลาให้เราได้ชักจูงผู้มีมิจฉาทิฎฐิมาสู่สัมมาทิฎฐิได้ แต่ก็เหมือนจะทำให้เขามองสัมมาทิฏฐิของเรานี้แย่ลงไปกว่าเดิมก็ได้เช่นกัน


    ส๊าาา ธุ ครับ
     
  2. Admax said:

    Re: ถกเถียงกันเรื่องศาสนา

    อ้างอิง โพสต์ต้นฉบับโดยคุณ chocobo


    อยากทราบว่าในกาลแบบนี้ พุทธศาสนิกชนควรจะปฏิบัติตัวเช่นไรถึงจะเรียกว่าเหมาะสมที่สุด

    หรือควรจะบอกเขาไปแต่ต้นดีว่า "เราอย่าพูดกันเรื่องนี้เลย มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะ เรามีความเชื่อแบบนี้ เขามีความเชื่อแบบนั้น ถ้าพูดกันไปเดี๋ยวจักเหมือนการเมือง จะเป็นเหตุให้ทะเลาะกัน ขัดแย้งกันได้ เพราะงั้นเอาเป็นว่าเราเคารพในความเชื่อแต่ละคนละกันนะ" อะไรอย่างนี้จะถือว่าสมควรไหม เพราะมันก็เหมือนเป็นเวลาให้เราได้ชักจูงผู้มีมิจฉาทิฎฐิมาสู่สัมมาทิฎฐิได้ แต่ก็เหมือนจะทำให้เขามองสัมมาทิฏฐิของเรานี้แย่ลงไปกว่าเดิมก็ได้เช่นกัน


    ส๊าาา ธุ ครับ
    - การที่คุณคิดที่จะพูดตอบกับเขาเช่นนี้มันก็ดีนะครับ เป็นการกล่าวเพื่อละความเบียดเบียนและเว้นว่างให้เกียรติในสิ่งที่กันและกันเคารพนับถือ

    - ผมมีวิธีเพิ่มเติมนิดหน่อยน่ะครับ ถ้าหากคุณได้ปฏิบัติเห็นแจ้งแล้วก็ยิ่งเป็นประโยชน์ครับแต่ควรไม่ควรอยู่ที่ดุลยพินิจของคุณนะครับ

    ยกตัวอย่างนะครับ ลองถามเขาบ้างว่าแนวทางการปฏิบัติที่องค์พระคริสต์สอนนั้นเป็นเช่นไรบ้าง แล้วพิจารณาตามไปผมเชื่อว่า..ทุกศาสนาต้องบอกว่าสอนให้เป็นคนดี เพื่อหลีกหนีจากทุกข์ หรือ ขึ้นเรือหลีกภัยพิบัติที่จะเกิดโลกแตกขึ้นเป็นต้น คุณก็เพียงกล่าวว่า ดีนะสอนให้เป็นคนดีโลกจะได้สงบสุขแต่ควรพูดด้วยจิตที่น้อมนำกุศลยินดีที่ศาสนาอื่นสอนให้คนเป็นคนดีเช่นกัน แล้วถามเขาว่าการเป็นคนดีที่พระคริสต์สอนเป็นเช่นไรบ้าง แล้วคุณก็รับรู้ไว้ ***การที่เรารับฟังเขาก่อนจะช่วยให้เราเห็นแนวทางการปฏิบัติของเขา สิ่งที่เขาเข้าใจอยู่ พร้อมหาข้อแก้ไขโต้แย้งได้ถูกและตรงครับ***

    ทีนี้คุณลองบอกเขานะครับว่า พระพุทธศาสนามีธรรมอันประเสริฐที่พระตถาคตได้ตรัสรู้แล้วนั้น อยู่บนความเป็นตรรกะ คือ ความเป็นเหตุ เป็นปัจจัย และ เป็นผลซึ่งกันและกัน เช่นเพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงดำเนินไป ผลจึงมีอยู่ และสิ่งนี้จึงดับไป หรือ เพราะสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้จึงมี พระตถาคตสอนให้เห็นตามจริงด้วยเหตุและผล การที่ตถาคตสอนว่าให้เป็นคนดีนั้น เพราะพระตถาคตสอนให้เราเว้นจากการเบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่น(ตรงนี้อาจจะบอกว่าเช่นการถือศีล 5 เป็นต้น) โดยสอนให้เรามีความคิดที่ดีเป็นกุศล มีการพูดจาที่ไพเราะน่าฟังมีเหตุมีผล มีการกระทำที่สำรวมควรแก่กาล รู้แยกแยะสิ่งต่างๆด้วยปัญญา รู้รับฟังไตร่ตรองมากกว่าที่จะแสดงออกตามความพร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อเหลวไหลไม่มีสาระ ตามความโลภของตนจนเบียดเบียนผู้อื่น พระพุทธศาสนามีธรรมสัจจ์จริง ๔ ข้อ คือ รู้ความเป็นทุกข์ เหตุและปัจจัยของทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ด้วยปัญญา มีทางอันประเสริฐคือมรรคมีองค์ ๘ สอนให้เราพิจารณาให้เห็นต้นเหตุของการเกิดทุกข์และใช้ปัญญาเรียนรู้พิจารณาเพื่อดับที่เหตุแห่งทุกข์เหล่านั้น...ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ตรงกับจริตสิ่งที่เป็นสภาพความดำเนินไปในชีวิตประจำวันของคุณ คุณจึงนับถือปฏิบัติและเปลี่ยนจากศาสนาพุทธไม่ได้เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็นประโยชน์แก่คุณ พึงรู้ได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
    อย่างเรื่องบาป-บุญในพระพุทธศาสนาเราไม่สามารถที่จะลบล้างบาปหรือแก้ไบปด้วยการสารภาพบาปได้ เพราะบุญกับบาปนั้นหากสิ่งใดมีมากกว่าก้จะส่งผลก่อนไม่สามารถหักล้างกันได้ เช่น มีน้ำอยู่ 1 แก้วตักเกลือใส่ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ น้ำนั้นเค็มไหม แม้เราจะไปบอกพระเจ้าว่าตักเกลือใส่ลงไปน้ำ แล้วน้ำนั้นจะยังเค็มอยู่ไหมหรือกลายเป็นจืดไป เปรียบน้ำเหมือนบุญ เกลือนั้นเป็นบาป ให้ไปสารภาพแก่พระเจ้านั้นนั้นก็ยังเค็มอยู่ดีใช่ไหมครับ แต่หากนำเกลือ 1 ช้อนโต๊ะนั้นไปเทในบึงกว้างน้ำในบึงจะเค็มไหมครับ ไม่เค็มใช่ไหม แต่หากนำเกลือนั้นเทลงไปเรื่อยๆๆ ถึงจะทีละนิดแต่เทลงในบึงทุกวัน วันละช้อนโต๊ะบ้าง หรือหลายช้อนโต๊ะบ้าง นานเข้าๆน้ำในบึงก็เค็มได้เช่นกันใช่ไหมครับต่อให้ไปสารภาพกับพระเจ้าน้ำในบึงก็ยังไม่หายเค็มใช่ไหมครับ นี่คือความเป็นเหตุปัจจัย และ ผล และความเป็นตรรกะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้
    แล้วบอกกับเพื่อนคุณว่าหากอยากจะรู้ทางพ้นทุกข์หรือวิถีและข้อธรรมอันประเสริฐที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ก็ลองให้เข้ามาศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนาดู คุณสามารถบอกกล่าวพื้นฐานให้ได้พระธรรมในพระพุทธศาสนากว้างมากมีหลายวิธีปฏบัติตามแต่จริตตน กล่าวประมาณนี้เป็นต้นครับ

    มีแนวทางคิดทบทวนย่อๆแบบ อริยะสัจ๔ ดังนี้ครับไม่รู้ว่าจะทำให้งงรึเปล่า อิอิ http://www.watkoh.com/board/index.php?topic=6587.0 อ่านเฉพาะกระทู้แรกนะครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  3. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:

    Re: ถกเถียงกันเรื่องศาสนา

    อนุโมทนาส๊าธุ ครับคุณ Admax

    แต่กลัวอธิบายกันไปแล้วมันจะไปกระตุ้นต่อมรักศาสนา จริงๆก็อยากจะอธิบายกันให้ละเอียดละออกันไปเลยข้างนึง แต่กลัวจะเสียเพื่อนกัน จึงจำใจต้องยอมปล่อยเขา อันนี้ก็รู้ึสึกไม่ดีเหมือนกันว่า อย่างนี้เราเห็นเพื่อนสำคัญกว่าการเผยแพร่พุทธศาสนา หรือการชักจูงบุคคลให้อยู่ในสัมมาทิฏฐิหรือเปล่า แต่พอมองดูอีกที มันก็เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นได้ว่า ถ้าเรากล่าวไปตอนนั้นจริงๆ เขาจะยอมรับฟังเราไหม เพราะคนที่ยึดถือความเชื่อแบบนี้แล้วความคิดย่อมปิดกั้นคนอื่น ทำตัวเป็นแก้วที่มีน้ำเต็ม เติมไปก็ล้น

    เลยรู้สึกลำบากใจ ไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี แต่ถ้าเอาเป็นใน "ฐานะ" ของพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท ควรจะทำเช่นไรกันดีหนอ
     
  4. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    สวัสดีคับ คุณโจ๋
    อนุโมทนาคับ คุณ Admax

    ก็เอาเป็นว่า...
    ถ้าเป็นการคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
    ซึ่งแน่นอนว่าในบางแง่มุมก็อาจสอดคล้องกัน
    แต่ในอีกบางแง่มุมก็แตกต่างกัน
    หากทั้งสองฝ่ายรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน...มันก็ไม่มีปัญหาอะไรน่ะคับ

    หมายความว่า
    จุดไหนที่แตกต่างกัน หากอธิบายกันได้ ก็อธิบายกันไป
    ต่างฝ่ายต่างอธิบายในส่วนของตนแล้ว...ก็จบแค่นั้น
    ต่างก็ต้องเคารพในความความเห็นของอีกฝ่าย
    สุดท้ายแล้วใครเห็นอย่างไร...ก็เห็นเช่นนั้นกันไป
    ไม่จำเป็นต้องหาข้อสรุปที่ตรงกันซะทุกอย่างอ่ะคับ

    ที่มันมักเกิดปัญหา
    ก็เพราะว่าแง่มุมไหนที่ต่างกัน
    ก็มักจะพยายามอธิบายให้อีกฝ่ายเห็นเหมือนตน...ยอมรับเหมือนตน
    ทีนี้ก็เลยอธิบายกันใหญ่ ไปๆ มาๆ ก็เลยกลายเป็นการถกเถียงกัน
    ต่างก็พยายามยกเหตุผลต่างๆ เพื่อให้อีกฝ่ายยอมรับ
    กลายเป็นโต้วาที บางทีก็เลยเถิดไปเป็นการปรามาส เย้ยหยัน
    ดูไปดูมาก็เลยเหมือนพยายามจะเอาชนะคะคานกันนั่นเอง

    การสนทนาต่างศาสนากันนั้น
    ควรหลีกเลี่ยงการโต้วาที...แต่...สำรวมวาที
    เพราะสรุปสุดท้ายแล้ว ไม่ใช่แพ้ ไม่ใช่ชนะ
    เพราะแต่ละคนได้เลือกทางเดินของตนแล้ว
    ส่วนใครจะเปลี่ยนทางเดิน หรือเดินทางเดิมของตนต่อไป
    ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยตนเองอ่ะคับ




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  5. Admax said:
    สาธุครับพี่เดฟที่แนะนนำสิ่งที่ควรรู้และกระทำเมื่อสนทนากับบุคคลต่างศาสนา
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ