ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ นครปฐม





ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ คือ ประเพณีทำบุญทอดผ้าป่าของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ที่ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ในอำเภอเมือง ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ และอำเภอดอนตูม ที่ตำบลเลาเต่าลำเหยตะโกสูง ดอนรวก ทุ่งผักกูด ฯลฯ

ช่วงเวลา
ประเพณีแห่ธงสงกรานต์จะจัดขึ้นในราวเดือนเมษายนหลังจากวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ผ่านไปแล้วสัก ๑ สัปดาห์ จัดขึ้นตามหมู่บ้านต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

ความสำคัญ
เนื่องด้วยชาวบ้านที่นับถือพุทธศาสนาพิจารณาเห็นว่าหลังจากสงกรานต์แล้ว เป็นเวลาว่างจากการทำนา และการทำบุญ ในระยะนั้นเว้นห่าง พระภิกษุอาจมีอาหารไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นฤดูแล้งไม่มีฝนตก เหมาะแก่การที่วัดแต่ละแห่งจะทำการปรับปรุงพัฒนา รื้อ ถอน ซ่อมแซมกุฎิเสนาสนะ และศาสนสถาน โบสถ์ ศาลา ให้มีความสมบูรณ์สวยงามเตรียมไว้ให้บริการแก่ชาวบ้านในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา จึงควรที่ชาวบ้านจะได้ทำการสนับสนุนวัดให้ได้มีเครื่องมือเครื่องใช้ และงบประมาณเงินทองไว้ใช้ดำเนินการดังกล่าวได้สะดวกยิ่งขึ้น ชาวบ้านจึงชักชวนกันสละทรัพย์สิ่งของนำไปมอบให้กับวัดใกล้บ้านของตน

กิจกรรม
ประเพณีเริ่มด้วยการบอกบุญ เรี่ยไรไปตามหมู่บ้านด้วยขบวนกลองยาว หรือ ดนตรีพื้นบ้านล่วงหน้าวันงาน ๑-๒ วัน วันแห่ธงไม่ได้กำหนดวันแน่นอน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของชาวบ้าน เช่นจะจัดในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านหยุดงาน และกลับจากโรงงานมาเยี่ยมพ่อแม่
ธงสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ ยาวประมาณ ๑๐ เมตรขึ้นไป ปลายธงมีกิ่งไผ่และที่สำหรับแขวนสิ่งของไว้ สิ่งที่จะนำมาแขวนที่ธงนั้นได้แก่ ผืนธงชาติและสิ่งของเครื่องใช้ที่มีลักษณะเป็นผืนพอจะแขวนได้ เช่น เสื่อ พรม ผ้าม่าน ซึ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางวัดจำเป็นต้องมีไว้ใช้ ชาวบ้านจะพับให้มีขนาดพอเหมาะที่จะแขวนกับปลายธงได้เพียง ๑ ชิ้นเท่านั้น ตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง
การแห่ธงชาวบ้านจะแห่ออกจากหมู่บ้าน นำขบวนด้วยเสาธงซึ่งมีคนแบกมาหลายคน ตามด้วยกลองยาวซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้าน และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การพัฒนาวัด ที่ขาดเสียไม่ได้ คือ พุ่มผ้าป่าที่ประกอบด้วยผ้าไตรสำหรับภิกษุนุ่งห่ม บาตร และตาลปัตร โดยเฉพาะธนบัตรที่ใช้ไม้คีบแล้วเสียบไว้กับต้นกล้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า "หางธง" วัดแต่ละวัดจะมีขบวนแห่ธง แห่มายังวัดหลายธง เช่น รอบ ๆ วัด มี ๕ หมู่บ้าน ในวันแห่ธงสงกรานต์จะแห่มาถึง ๕ ธง หรือ ๕ คณะพร้อม ๆ กัน
ความสนุกสนานที่ชาวบ้านชื่นชอบคือขบวนแห่ธง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์แตกต่างกันไป เช่น การแต่งกาย การร่ายรำ การแบกธงที่มีลีลาต่าง ๆ กัน เช่น ให้ชายหนุ่มขึ้นไปที่บนเสาธงแล้วโยนคันเสาธงขึ้นไปให้สูง พร้อมกับคนขี่นั้นให้ตกลงมาแล้วคอยรับ เป็นที่หวาดเสียว แต่ก็ถือว่าแสดงความกล้า และเกิดความสนุกสนาน เมื่อถึงวัดแล้วจะวนรอบโบสถ์ ๓ รอบ แล้วปักลงกับพื้นดิน ตกกลางคืนในงานจะมีมหรสพสมโภช รุ่งเช้าจึงทำพิธีถวายธงบนศาลาวัด เลี้ยงภัตราหารพระ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ แล้วมีการสรงน้ำพระเป็นเสร็จพิธี

สาระ
ประเพณีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยชาวบ้านทั้งหญิงชายช่วยกันจัดทำอุปกรณ์ในการแห่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์เพื่อการกุศล พร้อมทั้งวงดนตรีพื้นบ้าน ที่จะต้องมาช่วยกัน โดยไม่คิดเงินทอง นับเป็นความสามัคคีประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า การได้ทำบุญแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความสุข ทั้งปัจจุบันและอนาคต ก่อให้เกิดความสงบสุขโดยทั่วกัน


ขอขอบคุณที่มาคะ ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ คือ ประเพณีทำบุญทอดผ้าป่าของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ที่ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ในอำเภอเมือง ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ และอำเภอดอนตูม ที่ตำบลเลาเต่าลำเหยตะโกสูง ดอนรวก ทุ่งผักกูด ฯลฯ

ช่วงเวลา
ประเพณีแห่ธงสงกรานต์จะจัดขึ้นในราวเดือนเมษายนหลังจากวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ผ่านไปแล้วสัก ๑ สัปดาห์ จัดขึ้นตามหมู่บ้านต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

ความสำคัญ
เนื่องด้วยชาวบ้านที่นับถือพุทธศาสนาพิจารณาเห็นว่าหลังจากสงกรานต์แล้ว เป็นเวลาว่างจากการทำนา และการทำบุญ ในระยะนั้นเว้นห่าง พระภิกษุอาจมีอาหารไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นฤดูแล้งไม่มีฝนตก เหมาะแก่การที่วัดแต่ละแห่งจะทำการปรับปรุงพัฒนา รื้อ ถอน ซ่อมแซมกุฎิเสนาสนะ และศาสนสถาน โบสถ์ ศาลา ให้มีความสมบูรณ์สวยงามเตรียมไว้ให้บริการแก่ชาวบ้านในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา จึงควรที่ชาวบ้านจะได้ทำการสนับสนุนวัดให้ได้มีเครื่องมือเครื่องใช้ และงบประมาณเงินทองไว้ใช้ดำเนินการดังกล่าวได้สะดวกยิ่งขึ้น ชาวบ้านจึงชักชวนกันสละทรัพย์สิ่งของนำไปมอบให้กับวัดใกล้บ้านของตน

กิจกรรม
ประเพณีเริ่มด้วยการบอกบุญ เรี่ยไรไปตามหมู่บ้านด้วยขบวนกลองยาว หรือ ดนตรีพื้นบ้านล่วงหน้าวันงาน ๑-๒ วัน วันแห่ธงไม่ได้กำหนดวันแน่นอน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของชาวบ้าน เช่นจะจัดในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านหยุดงาน และกลับจากโรงงานมาเยี่ยมพ่อแม่
ธงสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ ยาวประมาณ ๑๐ เมตรขึ้นไป ปลายธงมีกิ่งไผ่และที่สำหรับแขวนสิ่งของไว้ สิ่งที่จะนำมาแขวนที่ธงนั้นได้แก่ ผืนธงชาติและสิ่งของเครื่องใช้ที่มีลักษณะเป็นผืนพอจะแขวนได้ เช่น เสื่อ พรม ผ้าม่าน ซึ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางวัดจำเป็นต้องมีไว้ใช้ ชาวบ้านจะพับให้มีขนาดพอเหมาะที่จะแขวนกับปลายธงได้เพียง ๑ ชิ้นเท่านั้น ตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง
การแห่ธงชาวบ้านจะแห่ออกจากหมู่บ้าน นำขบวนด้วยเสาธงซึ่งมีคนแบกมาหลายคน ตามด้วยกลองยาวซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้าน และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การพัฒนาวัด ที่ขาดเสียไม่ได้ คือ พุ่มผ้าป่าที่ประกอบด้วยผ้าไตรสำหรับภิกษุนุ่งห่ม บาตร และตาลปัตร โดยเฉพาะธนบัตรที่ใช้ไม้คีบแล้วเสียบไว้กับต้นกล้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า "หางธง" วัดแต่ละวัดจะมีขบวนแห่ธง แห่มายังวัดหลายธง เช่น รอบ ๆ วัด มี ๕ หมู่บ้าน ในวันแห่ธงสงกรานต์จะแห่มาถึง ๕ ธง หรือ ๕ คณะพร้อม ๆ กัน
ความสนุกสนานที่ชาวบ้านชื่นชอบคือขบวนแห่ธง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์แตกต่างกันไป เช่น การแต่งกาย การร่ายรำ การแบกธงที่มีลีลาต่าง ๆ กัน เช่น ให้ชายหนุ่มขึ้นไปที่บนเสาธงแล้วโยนคันเสาธงขึ้นไปให้สูง พร้อมกับคนขี่นั้นให้ตกลงมาแล้วคอยรับ เป็นที่หวาดเสียว แต่ก็ถือว่าแสดงความกล้า และเกิดความสนุกสนาน เมื่อถึงวัดแล้วจะวนรอบโบสถ์ ๓ รอบ แล้วปักลงกับพื้นดิน ตกกลางคืนในงานจะมีมหรสพสมโภช รุ่งเช้าจึงทำพิธีถวายธงบนศาลาวัด เลี้ยงภัตราหารพระ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ แล้วมีการสรงน้ำพระเป็นเสร็จพิธี

สาระ
ประเพณีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยชาวบ้านทั้งหญิงชายช่วยกันจัดทำอุปกรณ์ในการแห่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์เพื่อการกุศล พร้อมทั้งวงดนตรีพื้นบ้าน ที่จะต้องมาช่วยกัน โดยไม่คิดเงินทอง นับเป็นความสามัคคีประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า การได้ทำบุญแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความสุข ทั้งปัจจุบันและอนาคต ก่อให้เกิดความสงบสุขโดยทั่วกัน


ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.prapayneethai.com/th/trad...iew.asp?id=019