การข่มกิเลส..มีกี่อย่างอะไรบ้าง...ดีเจปีศาจ

กระทู้: การข่มกิเลส..มีกี่อย่างอะไรบ้าง...ดีเจปีศาจ

ป้ายกำกับ: ดีเจปีศาจ
  1. peesat9000 said:

    Post การข่มกิเลส..มีกี่อย่างอะไรบ้าง...ดีเจปีศาจ

    การที่เราปฏิบัติในการเจริญสติ จากวันที่เราต้องใช้ความอดทนอดกลั้นที่จะไม่ละเมิดผิดศีล(แต่ก็พลาดอยู่เนืองๆ..อิอิ)ในการละกิเลสแต่ละตัวในครั้งแรกๆเรารู้สึกว่ามันต้องใช้พลังใจมากมายที่จะละเลิก(เดี่ยวนี้ก็ใช้อยู่แต่ไม่เยอะ) แล้วมาสังเกตุจากอดีตกับปัจจุบันกับรู้สึกว่าจิตเราไม่ต้องใช้พลังใจมากมายอะไรเหมือนแต่ก่อนเหมือนกับว่ามันวางเฉยได้เยอะเลย(แทบไม่เห็นมันโผล่หัวมา) แต่ปัญหามันมีอยู่ตรงที่ ไอ้ตัวตะกอนนอนเนื่องอยู่นี่แระ ถ้ายืนระยะสั้นๆก็พอจะระงับมันได้แบบ ชิวๆ แต่ถ้ายืนระยะยาวๆมันชักจะไม่ไหว เลยอยากทราบจริงว่าไอ้ตัวที่มันทำให้เรารู้เฉยแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น มันเป็นการข่มด้วยอะไร ข่มด้วยศีลมันก็ยังพอมองเห้น แต่ไอ้ตัวเนี้ย มันใช้อะไรมาข่ม..หาคำตอบมาเป้นชาติแล้วว.....ผู้รู้ตอบด้วยเด้อ
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    การระงับหรือข่มกิเลสนั้น
    มีแสดงไว้โดยนัยยะต่างๆ เป็นลำดับน่ะคับ อย่างเช่น....

    - กิเลสอย่างหยาบ คือการกระทำทุจริต เบียดเบียนผู้อื่น
    ระงับไว้ด้วยศีล คือเป็นผู้มีปรกติด้วยกาย ด้วยวาจา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    ไม่กระทำทุจริตทางกาย ทุจริตทางวาจา เพื่อเบียดเบียนใคร

    โดยนัยยะหนึ่ง
    การระงับกิเลสไว้ได้ชั่วคราว เป็นขณะๆ ไป คือ ตทังคปหาน
    อย่างเช่น พอรู้ตัวว่าโกรธ ก็เกิดเมตตาเกิดขึ้นแทน
    เป็นการระงับไว้ด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม
    จึงระงับความโกรธไว้ได้ชั่วคราวในขณะนั้น
    เป็นต้นน่ะคับ



    - สำหรับกิเลสอย่างกลาง
    ยังไม่ถึงกับกระทำทุจริตทางกาย ทุจริตทางวาจา เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
    แต่เป็นนิวรณ์ที่รุมเร้า กลุ้มรุมจิตใจ
    ระงับไว้ด้วยสมาธิ คือมีจิตตั้งมั่นเป็นกุศลจิต
    ไม่หวั่นไหวไหลแล่นไปตามอำนาจกิเลสที่สุมรุมอยู่ในใจ
    ขณะใดที่เป็นกุศลจิต ขณะนั้นก็สงบจากกิเลส
    ปราศจากนิวรณ์กลุ้มรุมจิตใจ

    โดยนัยยะหนึ่ง
    การระงับกิเลสไว้ชั่วคราวอีกประการหนึ่ง คือ วิขัมภนปหาน
    ผู้ที่เห็นโทษภัยของอกุศล เห็นว่าในชีวิตประจำวันนั้นกุศลจิตก็ไม่ค่อยมั่นคงนัก
    เกิดกุศลจิตได้ประเดี๋ยวประด๋าว แล้วอกุศลจิตก็เกิดสืบต่ออีก
    จึงได้เจริญสมถภาวนา คือเจริญความสงบของจิตจากอกุศล
    ให้ตั้งมั่นเป็นกุศลจิตที่มั่นคงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดฌานจิต
    ก็ระงับนิวรณ์ไว้ได้ตราบเท่าที่ไม่เสื่อมน่ะคับ



    - ส่วนกิเลสอย่างละเอียดนั้น
    เป็นอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องฝังลึกในจิตใจ
    กิเลสชนิดนี้ไม่แสดงตัวปรากฏ
    แต่ว่าเป็นพืชเชื้อให้เกิดกิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างหยาบขึ้นน่ะคับ

    อนุสัยกิเลสนี้ ประหารสิ้นซากได้ด้วยปัญญา
    อันเนื่องด้วยวิปัสสนาญาณที่บริบูรณ์พร้อมเต็มกำลัง
    เหนือขึ้นไปจากโลกียปัญญา เป็นโลกุตตรปัญญา
    สามารถประหารอนุสัยกิเลสสิ้นซากในขณะที่มัคคจิตเกิดขึ้น
    พ้นจากความเป็นปุถุชน ขึ้นสู่อริยบุคคลตามระดับ
    คือตามกำลังของมัคคจิตที่ประหารกิเลสใดได้ในขณะนั้นน่ะคับ
    แบบนี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน คือดับกิเลสได้สิ้นซากเลยทีเดียว
    กิเลสใดที่ดับได้สิ้นซากแล้ว กิเลสนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยน่ะคับ



    ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน
    หากเป็นผู้ที่เจริญสติอยู่เสมอๆ
    ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิตที่เกิดแทนอกุศลจิตน่ะคับ

    อย่างเช่น ผู้ที่เจริญพรหมวิหารธรรม
    มีเมตตาจิตต่อผู้อื่น
    มีกรุณา ช่วยเหลือผู้อื่น
    มีมุทิตา ยินดีต่อผู้อื่น
    มีอุเบกขา คือใจที่เป็นกลาง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความชอบความชัง
    ต่างๆ เหล่านี้ก็ย่อมประกอบด้วยสติทั้งสิ้นน่ะคับ

    ถ้าขาดสติเสียแล้ว กุศลธรรมต่างๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้
    แม้ขันติซึ่งทนได้ต่ออกุศลก็ไม่เกิด

    ขณะที่ประกอบด้วยสติ
    ย่อมระลึกได้เป็นไปในกุศล ปิดกั้นอกุศลไว้ได้
    ซึ่งสติก็มีหลายขั้น สติที่ระลึกได้เป็นไปในทาน สติที่ระลึกได้เป็นไปในศีล
    และสติที่ระลึกรู้ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นสติปัฏฐาน

    สติปัฏฐาน นี้เมื่อเจริญขึ้นจนถึงพร้อม
    เกิดวิปัสสนาญาณซึ่งประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมทั้งหลายไปตามลำดับ

    อนุโมทนาคับ




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. Admax said:
    ศีล พรหมวิหาร๔ ช่วยรักษา กาย วาจา ใจ เจริญเป็นประจำจะเข้าถึงสภาพจิตผ่องใสที่ไม่เบียดเบียนทำร้ายใคร การใช้ในชีวิตประจำวันจะมีสติเป็นกำลังอันดับแรก เอสติเกิดพิจารณาดูตามนี้ครับ

    ๖. รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ
    การเจริญปฏิบัติในข้อนี้ต้องพึงปฏิบัติใน สติ ศีล พรหมวิหาร๔ เป็นหลัก จึงจะสามารถเข้าสู่สภาพจิตและการปฏิบัติในข้อนี้ได้ง่ายขึ้นโดยปราศจากการฝืนใจใดๆ เพราะข้อนี้จะใช้ความมี สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ขันติ รวมเข้าด้วย มีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ๖.๑ รู้จักหยุด คือ รู้จักหยุดคิดก่อนที่จะลงมือทำอะไร ให้ใช้สติระลึกรู้พิจารณาก่อนจะลงมือทำอะไร ให้รู้แยกแยะถูก-ผิด แยกแยะดี-ชั่ว ให้พิจารณาถึง ผลดี-ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น หรือ ผลตอบกลับมาที่เราจะได้รับ ในสิ่งที่เรากำลังคิดที่จะ พูด หรือ ทำ ลงไป ก่อนที่เราจะกระทำสิ่งใดๆลงไป
    ๖.๒ รู้ประมาณตนเอง คือ ต้องมองย้อนดูตนเองว่าผิดพลาด บกพร่องตรงไหนบ้าง ไม่สำคัญตัวเองจนมากเกินไป เหมือนว่าตัวเองเหนือกว่าใคร เก่งกว่าใคร อยู่สูงกว่าใคร หรือ เป็นคนสำคัญในทุกอย่างกับทุกคน แล้วพิจารณาแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
    ๖.๓ รู้จักพอ คือ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ใช่ได้คืบจะเอาศอก ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ละโมบโลภมาก อย่าอยากได้ต้องการไม่รู้หยุด ถ้าไม่รู้จักพอก็จะยิ่งสืบสานทะยานอยากไม่สิ้นสุด พอไม่ได้ตามปารถนานั้นก้อเป็นทุกข์ คิดว่าสิ่งที่ตนมีอยู่ก็มีค่ามากแล้วไม่ควรละเลย
    - ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติรู้จักใช้สติ แยกแยะ ไต่ตรอง ตรึกนึก คำนึงถึง สิ่งที่ถูกที่ควรก่อนการลงมือกระทำการใดๆมากขึ้น

    เพิ่มเติม http://www.watkoh.com/board/showthre...าบาง
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    มาขออนุโมทนาสาธุท่านเดฟกับคุณแอ้ดแมกซ์คับ

    ปัจจุบันก็ได้แค่ตทังคปหานไปชั่วขณะจิต ปหานไปก็กลับมาใหม่ ต้องอาศัยสติ เจริญสติให้กล้าขึ้นๆ จริงๆ จนกว่าจะถึงวันนั้นที่ปัญญาพร้อมบริบูรณ์จนประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมดับกิเลสเป็นสมุทเฉท

    ปัจจุบันก็คงได้แค่ตทังคปหานด้วยทานบ้าง ศีลบ้าง สติบ้าง ตามเหตุตามปัจจัยสินะครับ ...


    ตัวผมเองก็เฝ้ารำพึงรำพันตัดพ้อความเป็นเช่นนี้ไปวันๆว่า เมื่อไหร่หนอวันนั้นที่กิเลสจักดับเป็นสมุทเฉทจึงจักมาถึง ... ก็ต้องสั่งสมเหตุปัจจัยกันต่อไปเนอะครับ อิอิ
     
  5. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:


    สาธุๆๆคะ ทั้งท่านผู้ถามและท่านผู้ตอบ ขออนุโมทนาบุญด้วยคะ
    อิอิ เป็นห่วงแต่ผู้ถามนี่อ่ะจิ๊ กลัวจะไม่หายสงสัย กลัวจะไปสงสัยต่อถึงชาติหน้าอ่ะจิ๊ อิอิ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  6. Admax said:
    ผมขอเพิ่มเติมนะครับ หากเมื่อมีสติ ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน แล้วยังอัดอั้น อึดอัดใจอยู่ ลองพิจารณาดังนี้ครบั

    1. ผมเองก็กลับมาถือศีลได้ซักพักระยะหนึ่งโดยที่คำสอนของท่านโนอาร์กล่าวว่าหลสงปู่ชาสอนว่าให้มี "เจตนาที่จะมีศีล" ซึ่งทำให้ผมเกิดเป็นความหนักแน่นที่เราตั้งใจจะทำ
    2. หากทำด้วยเจตนาไปแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันยังมีกระตุ้นใจให้ทำผิดอยู่อีก ผมก็จะย้อนระลึกในแนวทางที่ผมเห้นมาจากกัมมัฏฐานคือ รู้ข้อดี-ข้อเสียของการมีศีลและไม่มีศีล รู้โทษของสิ่งที่เราละเมิดหรือทำอยู่นั้น เช่น กินเหล้าก็รู้โทษของเหล้า พิจารณาข้อเสียของเหล้ากินแล้วเราเสพย์สุขอย่างไร แต่ต้องสูญเสียอะไรแลกกันบ้าง การไม่ดิ่มเหล้าเราเสียอะไรไปบ้างแล้วได้อะไรกลับมาบ้างเป็นต้น ใช้สติหวนระลึกพิจารณาเพื่อให้ใจรู้ถึงโทษของมันจนรู้เบื่อหน่าย รู้จักพอในสิ่งนั้น

    - พิจารณาในข้อที่ 1-2 กลับไปกลับมาเรื่อยๆจะเกิดการคลายอาการที่จะละเมิดศีลนั้นลง

    3. หากเมื่อกระทำในข้อที่ 1-2 แล้ว แต่สภาพความรู้สึกที่ อัดอั้นใจ กรีดทะยานใจ อึดอัดใจ สั่นหวีดใจ อัดทะยานต้องการ นั้นยังทรงตัวอยู่ ให้หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆคุมสติและสมาธิจิตก่อน แล้วระลึกถึงความสงบ อบอุ่นผ่องใส เบาบาง ไม่นักอึ้ง ไม่ขุ่นมัวใจ ในสภาพจิตที่เรามีศีลนั้นมัน สะอาด สงบ ผ่องใน เบาบางขนาดไหน ไม่ต้องไปคิดเกรงกลัวว่าจะพลั้งพลาดสิ่งใด ไม่ต้องไปวาดระแวงใดๆ รู้แค่ว่ามันสดใน สงบ มีอารมณ์สุขกว่าที่เราพลั้งเผลอหรือตั้งใจที่จะกระทำสิ่งที่ผิดต่อตนเองและคนอื่น ทรงอารมณ์กุศลจิตจากการมีศีลนี้ให้ได้ จิตใจจะคลายสภาพที่ อัดอั้นใจ กรีดทะยานใจ อึดอัดใจ สั่นหวีดใจ อัดทะยานต้องการ นั้นได้

    4. ธรรมดาของคนปกติก็มีพลั้งพลาดผิดพลาดในศีล ศีลบริสุทธิ์จริงทำได้ยาก เป็นเพียงแต่พระโสดาบันขึ้นไปจึงคงอยู่ได้ด้วยความไม่ติดขัดใจ ท่านโนอาร์ก็สอนผมมาอย่างนี้เช่นกันครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ