ประวัติร.5ครับ
พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จ พระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลัง องค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพรชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อน ขึ้น เป็น กรมขุนพินิจประชานาถ ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึง ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบต่อจาก สมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2411 ขณะนั้น พระองค์ ทรงมี พระชนมายุ ย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็น พระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว





พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กับพระนางเธอพระองค์เจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ ซึ่ง ในโอกาสต่อมาก็ได้ปรากฏพระนาม พระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นสมเด็จพระราชชนนี พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอังคาร ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับ เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ทรงพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ซึ่งแปลว่า เค รื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณ พระองค์ทรงมีขนิษฐา ร่วมพระสมเด็จพระบรมราชินี ๓ พระองค์ คือ
๑. สมเด็จพระเจ้าน้องนางยาเธอเจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดี

มีพระชันมายุได้เพียง ๙ พรรษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ ๔ ต่อมา พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเฉลิมพระนามอัฐิ ให้เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์
๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี

ในรัชกาลที่ ๕ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงฯ และ เลื่อนพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นสกุล จักรพันธุ์
๓. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์

ในรัชกาลที่ ๕ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เลื่อนพระเกียรติยศในรัชกาลที่ ๖ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช และต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ทรงได้รับการสถาปนา พระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข สิ้นพระชนม์ ในรั ชกาลที่ ๗ เป็นต้นสกุล ภาณุพันธุ์


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ในขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระ คลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ ในวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอ มเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสู่ สวรรคต ในขณะซึ่ง เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุรียวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ได้สถาปนา กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระราชโอรสองค์ใหญ่ ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขึ้นเป็น พระมหาอ ุปราช ต่อมาก็ได้ปรากฏ พระนามว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ แล้วทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์ มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสี และ เจ้าจอมมารดา เพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ ไม่มี พระราชโอรส ธิดา เลย สำหรับ พระมเหสี ที่สำคั ญ จะกล่าวถึง มีดังนี้
๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี


(อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม อุบุติเหตุทางเรือที่เสด็จได้ล่มลง ทำให้ต้องสิ้นพระชนม์ พร้อมกับ พระธิดา ที่มีพระชนมายุ เพียง ๒ พรรษา เท่านั้น ส่วน สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ก็มีพรรชันษา ย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และก็กำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือน อยู่ดัวย อุบัติเหตุ เกิดที่ บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓
๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี


(อัครมเหสีองค์ที่ ๒) พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ต่อมาได้เลื่อนพระยศเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา
๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ


ทรงเป็น พระชนนี ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้รับพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔ ๐ (เสด็จครั้งแรก) พระองค์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี
สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดที่พระองค์ทรงครองราชย์ ถึง ๔๒ ปี นอกเหนือจากที่พระองค์ ทรงครองราชย์ ถึง ๔๒ ปี นอกเหนือจากที่ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์แล้ว พระองค์ยังทรงด้วยพระปรี ชาสามารถ อย่างเฉลียวฉลาดพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดา ชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้น มาได้แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ น่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายตามองทางไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนง วิชาการ การศึกษา การปกครอง การศาล การต่างประเทศ การสรธารณูปโภค ทั้งยังทรงสนพระทัยถึงความเป็ นอยู่ของประชาชน ทรงออกเยียมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จ สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประ เทศในยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องข องชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ก็ผ่อนคลายในที่สุด
ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิร ิยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรกกฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐ เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่วเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษ ัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม งานสุดคณานับยังทั้งประโยชน์ ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย

วันที่ ๒๓ ตุลาคม ทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ เป็นวันแห่งการรำลึกถึง พระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต ซึ่งเป็นประเพณีวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง วันรวมใจ เทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน

ขอบคุนครับhttp://board.agalico.com/showthread.php?t=16923