กระทู้ธรรม

กระทู้: กระทู้ธรรม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. lover said:

    Post กระทู้ธรรม

    ทางไปสนทนาธรรม--->>> คลิ๊ก !!!

    ทางไปฟังธรรมธรรม--->>> คลิ๊ก !!!

    ทางไปทำสูตรน้ำจิ้มและอาหาร--->>> คลิ๊ก !!!


    คู่มือดับทุกข์

    1. จงประพฤติศีล 5 ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด , ไม่ขโมยสิ่งของใคร, ไม่ประพฤติผิดในกาม ,ไม่โกหกหลอกลวงใคร,และไม่ดื่มสุราและสิ่งเสพติดมึนเมา

    2. แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควร สำหรับผู้เป็นฆราวาส และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ

    3. ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไร

    4. วิธีฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะไม่ปรารถนาที่จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือเทวดาอินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมจะไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จริงจะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น

    5. พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบายสำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า ๑ หายใจเข้านับ ๒ หายใจออกนับ อย่างนี้เรื่อยไป ที่แรกนับช้าๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันจะหยุดนับของมันเอง

    6. หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่าพุท หายใจออกว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นเพียงอุบายที่จะทำให้จิตใจหยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น

    7. แต่การฝึกแรกๆนั้น ท่านจะยังนับหรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ ตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีวาบ

    8. การฝึกสมาธิให้พยายามทำทุกวันๆ วันละ ๒-๓ ครั้ง แรกๆให้ทำครั้งละ ๑๕ นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มขึ้นจนถึงครั้งละ ๑ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ตามที่ปรารถนา

    9. ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับใหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใดนั่นแหละ คือ สัญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต

    10. เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่างๆต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใดๆที่กำลังให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึก พิจารณาปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบด้วยความมีสติ

    11. จงยกเอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหามันมาจากไหน? มันเกิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะอะไรท่านจึงหนักใจกับมัน ทำอย่างไรที่ท่านจะสามารถแก้ไขมันได้ ทำอย่างไรท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน

    12. การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสมควรอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตท่านมันจะค่อยๆรู้เห็นเอง และเกิดความคิดนึกรู้สึกสมควรฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่างๆอย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว

    13. ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาข้อธรรมะหัวข้อใดข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืนอะไร เพียงไหน ท่านจะได้อะไรจากชีวิตคือร่างกายและจิตใจนี้ ท่านจะอยู่ไปในโลกนี้นานเท่าไหร่ เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร ให้พยายามถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ

    14. หรือท่านอาจจะน้อมจิตไปสำรวมการกระทำของตัวเองที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนร่วมหรือไม่ หรือท่านได้ทำผิดพลาดไปบ้าง และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่ทำสิ่งที่ผิด จะพูดสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูดจะทำแต่สิ่งที่ดีๆที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของชีวิตท่านเอง

    15. จงเข้าใจว่าเป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือท่านจะฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลัง และมั่นคงสภาวะจิตเช่นนั้นเอง ที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่างๆหรือสิ่งต่างๆที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง

    16. สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความนึกคิด หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “ปัญญา”นั่นเอง

    17. จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะมาหมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น

    18. ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบเสียก่อน จากนั้นจึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์

    19. ท่านจะรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลายๆอย่างท่านไม่สามารถจะแก้ไขได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ตามสภาวะแวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือท่านจะต้องพยายามหาวิธีทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่าท่านได้ทำดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ช่างมัน จะหมดไปหรือไม่ก็ชั่งมัน ท่านจะได้หรือจะเสียก็ชั่งมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดีจะร้ายได้เสียมันก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน

    20. ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นได้ตามเหตุปัจจัยของมันเช่นเรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เพราะทุกสิ่งอย่างเป็นของไม่เทียงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาในโลกก็ล้วนแล้วแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิดมาจากอำนาจของเทวดาฟ้าดิน ที่ไหนเลย มันเป็นของธรรมดาที่มีอยู่ในโลกอย่างนี้เอง

    21. จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า “อนิจจตา” ซึ่งแปลว่าความไม่เทียงแท้ สิ่งที่มีปัจจัย ปรุงแต่ง ทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นของไม่เทียงแท้ทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะความเป็นของไม่เทียงของมันนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดีร้ายได้เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เทียงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่านรู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย

    22. จงรู้จักธรรมะที่ว่า “ทุกขตา” ซึ่งแปลว่า ความเป็นทุกข์ จงจำไว้ว่าชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรักและความผิดหวัง เหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่ทุกคน ทุกชาติภาษาในโลกนี้กำลังประสบอยู่

    23. จงรู้จักธรรมะที่ว่า “อนัตตตา” ซึ่งแปลว่าความไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา หรือ ความปรารถนาจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร ข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ยั่งยืนถาวรนั้น หมายความว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะมีอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นานก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมัน เท่านั้นเอง มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย

    24. เมื่อทุกสิ่งเป็นของไม่เทียง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวรนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหลอยากได้อยากเป็นอะไรในมันให้มากเรื่องไปโดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า

    25. ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น ๒ ช่วง คือช่วงแรก ต้องกำหนดจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ ๒ จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบ

    26. พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณาให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฏแห่งความไม่เที่ยงแท้ ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น

    27. จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง มันไม่เทียงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดีที่ถูกใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจหรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น

    28. จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายามรักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาจิตให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบและสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้จะทำให้จิตใจของท่านสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อนได้เป็นอย่างดีที่สุด

    29. จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกมาจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็รักษาให้สะอาดผ่องใสและไม่ถือมั่นไม่แบกเอาสิ่งต่างๆมาไว้ในใจ หนักใจเปล่าๆเลย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา

    30. จะคิดเรื่องอะไรก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้พวกเขาได้รับความสงบสุขในชีวิต คิดเพื่อที่จะทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด คิดเพื่อจะทำตัวเองและคนอื่น สัตว์อื่น มีความสุขและไม่มีความทุกข์เสมอ

    31. จงจำไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์ได้ นอกจากความคิดของท่านเอง ถ้าท่านคิดผิด ท่านจะทุกข์ ถ้าท่านคิดถูก ท่านจะไม่เป็นทุกข์

    32. จงอย่าเชื่อถืองมงายไร้เหตุผล เช่น เมื่อมีความทุกข์ หรือเกิดเรื่องไม่ดี ไม่น่าปรารถนาขึ้น ก็ไปบนบานเจ้าที่เจ้าทาง ไปไหว้จอมปลวก ไหว้ต้นไม้ใหญ่ๆฯลฯ ปรารถนาจะให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านหลงผิดคิดว่ามีอยู่ในสถานที่เหล่านั้น มาช่วยท่านให้พ้นทุกข์อย่างนี้เป็นต้น นี่คือความงมงาย จงละเลิกมันเสีย เพราะมันจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองทรัพย์สินและเสียเวลาโดยไม่ได้รับประโยชน์เลย พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เชื่อในสิ่งนั้น

    33. จงรู้ความจริงว่า เรื่องที่น่าพอใจและไม่พอใจนี้ เป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีในโลกนี้ บางทีท่านก็ได้ตามที่ปรารถนา แต่บางทีก็ไม่ได้ตามที่ปรารถนา มันเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้เอง อย่าตื่นเต้นดีใจหรือเสียใจไปกับมัน

    34. ตลอดเวลาที่ท่านกำลังทำกิจการงานอะไรอยู่ จงน้อมจิตให้มองเห็นความสงบที่ท่านเคยพบในการฝึกสมาธิและจงมองความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งอย่างภายนอก จงแยกมันให้ออกว่า สิ่งหนึ่งคือจิตอันสงบของท่าน อีกสิ่งหนึ่งคือความปรุงแต่งวุ่นวายของโลก สิ่งทั้ง ๒ นี้มันแยกกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน

    35. ถ้าท่านไม่มองหาความสงบ แต่หันไปอยากได้อยากดีอยากมีกับสิ่งภายนอก จิตท่านก็จะสับสนวุ่นวายและเป็นทุกข์ แต่ถ้าท่านมองเห็นความสงบสุขของจิต และควบคุมจิตไม่ให้เกิดความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอขึ้นมาแล้ว จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ใดก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวยหรือยากจนเพียงใดก็ตาม แต่จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการฝึกจิตด้วยวิธีการนี้

    36. จงใช้ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งปัญหานั้น หมายถึงความมีสติที่รู้จักประคับครองจิตให้สะอาดอยู่เสมอ รู้จักทำจิตให้ปล่อยวาง ทำจิตให้โปร่งเบา รู้เท่าทันว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าท่านจะไม่ทำไม่พูด ถ้าถูกท่านจะทำจะพูด และรู้จักพิจารณาหน้าที่ที่ท่านจะทำกับสิ่งนั้นๆคืออะไร แล้วก็ทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด พยายามแก้ปัญหานั้นให้สงบไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมและถูกต้องที่สุด โดยไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้จะทำให้ปัญญาของท่านคมชัดและจะไม่มีความทุกข์อยู่ในจิตเลย

    37. ท่านต้องรู้ว่า คนส่วนมากบนโลกนี้มีกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ดังนั้น บางทีเขาคิดถูกและทำถูก แต่บางทีคิดผิดและทำผิด บางทีก็โง่ บางทีก็ฉลาด เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องให้อภัยเขา ค่อยๆพูดกับเขา ไม่ด่าว่ารุ่นแรงกับเขา ท่านจะต้องใช้ปัญญาของท่านเข้าไปสอนเขาไปชักจูงเขาในทางที่ถูก นี่คือหน้าที่ของผู้มี ที่มีจิตใจเยือกเย็น และน่าเคารพกราบไหว้ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านจะไม่เป็นทุกข์ร้อนเลย แม้ว่าจะพบเห็นหรือเกี่ยวข้องกับคนมากมายหลายประเภทในโลกนี้อยู่เสมอ

    38. การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ในตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิอย่างนี้ คือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้น สูงสุดแล้วก็คือ ความรู้จักปล่อยวาง ไม่แบกหามภาระใดๆ มาไว้มนใจจนนอนไม่หลับ และเป็นทุกข์นั้นเอง

    39. จงจำไว้ว่า การฝึกสมาธินั้น แท้จริงแล้วท่านทำเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นเองที่จะเป็นตัวทำลายความทุกข์ใจให้หมดสิ้นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดไม่ใช่เพียงแค่ การอ้อนวอน อธิฐานเอา อะไรๆตามใจตัวเอง

    40. จงตั้งใจไว้ว่า ถ้าจะรู้สึกเป็นทุกข์หงุดหงิดเมื่อไร ท่านจะสลัดมันทิ้งเมื่อนั้น ท่านจะไม่เอาอารมณ์นั้นมาไว้ในใจของท่าน ถ้าท่านสลัดอารมณ์ไม่ดีหลุดไปได้เมื่อไร ท่านจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของท่านในนาทีที่ท่านสลัดอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายออกไปจากใจได้

    41. ในตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จงอย่าคิดอยากจะหายจากโรคนั้น แต่จงคิดว่า ท่านรักโรคไปตามเรื่องของมัน บางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านไม่เป็นโรคนี้ท่านก็ตายก็อยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเสียใจหรือหวาดกลัวต่อโรคนั้น

    42. จงตามดูความรู้สึกภายนอกจิตอยู่เสมอถ้าจะวิตกกังวลให้ตัดทิ้งเลย ถ้าหงุดหงิดตัดทิ้งเลย ถ้าจะห่วงอะไรก็ตัดทิ้งไปเลย ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอ ปัญญาของท่านก็จะสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ในจิต นี่แหละคือทรัพย์อันประเสริฐสุดในชีวิตของท่าน และสิ่งเลวร้ายต่างๆก็จะสลายตัวไปเองในที่สุด

    43. ปัญหาที่ทำให้ท่านหนักใจและเป็นทุกข์ จะไม่เกิดขึ้นในจิต ถ้าท่านทำให้จิตสลัดอารมณ์ดีร้ายเหล่านั้นอยู่เช่นนี้เสมอ

    44. สมาธิก็จะมั่นคงต่อเนื่องอยู่ในจิต แม้ท่านจะกำลังเดินเหินไปมา หรือทำการงานทุกอย่างอยู่ ถ้าหากว่าท่านพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้ สมาธิก็จะมั่นคงยิ่งขึ้น

    45. อย่าคิดจะให้สิ่งต่างๆ มันเป็นไปตามใจท่านทั้งหมด แต่จงคิดว่า มันจะเกิดเรื่องดีร้ายอย่างไรก็ให้มันเกิด ท่านจะพยายามหาทางแก้ไขมันไปตามความสามารถ แก้ได้ก็เอา แก้ไม่ได้ก็เอา เรื่องดีก็ทิ้ง เรื่องร้ายก็ทิ้ง สุขก็ทิ้ง ทุกข์ก็ทิ้ง แล้วจิตของท่านก็จะเป็นอิสละ และไม่เป็นทุกข์เลย

    46. ท่านจงอย่าไปปล่อยให้ความอยาก ความรักตัวหวงตัวเกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมชาติอย่างนั้นมันเป็นสิ่งสกปรก ที่จะบั่นทอนจิตใจของท่านให้ตกต่ำและเป็นทุกข์

    47. พอมีเวลาว่าง ท่านจงน้อมจิตเข้าสู่สมาธิที่สะอาดอยู่เสมอ แม้จะทำเพียงครั้งละ ๕ นาที สมาธิที่ถูกต้องก็เกิดขึ้นในจิตได้เช่นกัน และเพิ่มปริมาณความสงบสะอาดของมันขึ้นเรื่อยไป จิตของท่านจะมั่นคงแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นไป

    48. จงอย่าคิดว่า ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจที่จะควบคุมจิตของตนเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะการคิดอย่างนั้นเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย

    49. เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ ๑-๒ กลับไปกลับมา พร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า นี่มันคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์กับมัน เราควรจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้อย่างถูกต้อง

    50. การทำอย่างนี้จะทำให้ท่านเข้าใจสถานการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้องและท่านจะเกิดความคิดที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ปัญหานั้นได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง

    51. หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวาง อย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยท่านจะไม่เป็นทุกข์

    52. พอถึงเวลาก็นั่งสมาธิอีก

    53. พอออกจากสมาธิก็ตาม ตามดูจิตอีก และทำให้จิตปล่อยวางเรื่อยไป

    54. จงมองเห็นความไม่เที่ยงของทุกสิ่งอยู่เป็นประจำ

    55. จงยอมรับความเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเรื่องดีหรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน

    56. นี่คือการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก

    57. จงคิดเสมอว่า ชีวิตของท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาท เพราะความประมาทมันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึงสติปัญญาความหลุดพ้น

    58. ความหลุดพ้นทางจิตคือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม

    59. ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้ เรียกว่า “การปฏิบัติธรรม”นั่นเอง

    60. ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย

    61. อย่าเชื่อง่ายเกินไปอย่าคิดว่าใครพูดอย่างไรก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่า ต้องทำอย่างนี้ๆจึงจะถูกธรรมะของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นถูกต้อง หรือพูดว่า จิตกับใจ ต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจฯลฯ อย่างนี้ก็อย่าพึ่งเชื่อ เพราะนั้นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้

    62. แต่การฝึกทำให้จิตปล่อยวาง จนจิตมันปล่อยวางได้จริง มันไม่ยึดติดกับอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละจึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริงจากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น

    63. จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหลุดคิดปรุงแต่งแล้ว กำลังมั่นคงและความสงบของจิตก็จะบังเกิดขึ้น

    64. การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับหรือกำหนดอะไรซักอย่างหนึ่งอยู่อย่างเดียวต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นก็จะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง

    65. การฝึกจิตให้สงบและเกิดความคิดเท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือการปฏบัติธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด

    66. จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและสะอาด ให้หยุดคิดเรื่องปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละน้อยตามกาลเวลาของมันและจากประสบการณ์ของท่าน

    67. จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะสลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ท่านอยู่เสมอ

    68. อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบสะอาด

    69. มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอดถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง และอย่าถือมั่นมันไว้ในใจ

    70. จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวรหมายความว่า ท่านจะชนะทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่ามีคนมากลั่นแกล้งท่าน หรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม

    71. จงเชื่อว่าท่านทำดีแล้ว ถูกต้องแล้ว มันก็ดีถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยกย่องสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำให้ดีที่สุด ทำให้ถูกต้องที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านจะเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง

    72. จงพยายามเข้าหาอาจารย์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนให้ท่านรู้แจ้งในธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะที่เป็นเช่นนั้น จะช่วยให้ท่านได้สติปัญญา และรู้จักแนวทางการดำรงชีวิตของท่านอย่างถูกต้อง

    73. จงอย่าลืมหลักปฏิบัติที่ว่า หยุดคิดให้จิตสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ

    74. อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่านเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้นเขาก็จะเป็นทุกข์เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา

    75. จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้จะช่วยให้จิตใจท่านสะอาดและพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด

    76. จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัวตระหนี่ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา

    77. จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกให้เป็นเช่นนั้น

    78. การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจจย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะกับดวงวิญญาณต่างๆไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น

    79. อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มทุกสิ่ง ก็จะหมดไปทุกสิ่งในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงานและแสวงหาอะไรๆได้อย่างถูกต้อง

    80. ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านได้อะไรๆสมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยากนั่นแหละ ทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่ง คือวันที่สิ่งนั้นหายไปจากท่าน

    81. แต่ความทุกข์จะหมดไปเพราะมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละอย่างนี้เรื่อยไป

    82. ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมันและรอดูมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป

    83. จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้จะทำกิจการงานใดๆก็ตาม

    84. สมาธิเปรียบเสมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็กลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก

    85. เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฏขึ้นมาในจิตทันที

    86. จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวสามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย ท่านจึงจะชนะปัญหาในใจของท่านได้

    87. ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้นคือทางออกไปจากทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ทางอื่นหรือทางลัทธิ ความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกไปจากทุกข์ได้

    88. การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไรๆตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฏแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมา ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่ได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย

    89. อย่างไรก็ตามแม้ท่านจะได้อะไรๆที่ท่านปรารถนา แต่สิ่งนั้นจะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่งมันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้จะเป็นอะไรเลย

    90. เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร ก็จงให้สติคิดดูว่า อย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้นมา ด้วยความบริสุทธิ์ และถูกต้องและก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ ก็อย่าไปเป็นทุกข์กับมัน

    91. ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้อะไรเหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้น ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือมันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุกๆกรณี

    92. ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก

    93. เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าพึ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าพึ่งทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่ทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดพ้นออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันไม่ออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่า ท่านชนะมัน

    94. เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตใจมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า เราจะแก้ปัญหาอย่างไร? ไม่กี่น่าทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย

    95. เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่านี่คือภาวะธรรมดาที่มีในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นเสียอกเสียใจไปกับมันทำไม มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้องไปตื่นเต้นและจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้วท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย

    96. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา ทำไมเรื่องแบบนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา

    97. จงคิดเสมอว่า ไม่เรื่องดี ก็เลวเท่านั้นแหละที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำให้จิตเหนือมันด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์

    98. จงเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตนเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจจงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจอยู่ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ

    99. จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท่านต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจท่าน จิตใจของท่านก็จะเป็นอิสรเสรีก็ได้ถึงที่สุด

    100. ถ้าจะเกิดความส่งสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่าอย่าพึ่งส่งสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็นถึงความสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบและเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่าน

    101. ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สะอาดและสงบอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย

    102. เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่เอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ นับ ๑-๒ ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาที่จะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ

    103. เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิต


    เต้เลิวอร์………

    บัฑิน...หนุ่มไอที
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 06-24-2015 เมื่อ 03:12 PM
     
  2. lover said:

    กระทู้ธรรม

    กระทู้ธรรมชั้นตรี



    สีลํ โลเก อนุตฺตรํ

    ศีล เป็นเยี่ยมในโลก

    บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็น

    แนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบไป

    คำว่า ศีล คือการรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของมนุษย์ผู้ที่จะได้ชื่อว่า

    เป็นมนุษย์นั้นผู้นั้นอย่างน้อยต้องมีศีล ๕ มีไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด และ

    ไม่ดื่มสุราเสพยาเสพย์ติด ศีลชื่อว่าเป็นเยี่ยมในโลกเพราะเป็นเครื่องป้องกันโลกให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ศีล

    เป็นเครื่องขจัดความเบียดเบียนระหว่างตนกับผู้อื่นให้หมดไป ก่อความรักความเมตตาให้เกิดขึ้นในโลก

    ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสอย่างหยาบให้หมดไป เป็นขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นของการทำความดีให้บริสุทธิ์

    อยู่เสมอย่อมจะประสบแต่ความสุข ศีลเป็นความดีมีผลเป็นความสุข และผู้รักษาศีลศีลย่อมให้ผลความสุข

    ตราบเท่าที่เขารักษาศีลอยู่และนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า

    สุขํ ยาว ชรา สีลํ

    ศีล นำสุขมาให้ตราบเท่าชรา

    ศีล ในที่นี้มีหลายประเภท คือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ และศีล ๓๑๑ เพื่อนำอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติตาม

    คือในขั้นนั้นๆ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส และประณีตขึ้นโดยลำดับ หรือเรียงตามภูมิธรรมเพื่อพัฒนาไปสู่คุณธรรม

    เบื้อสูงและศีลยังนำความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติตาม สุขอันเกิดจากการรักษาศีลนั้น เช่นไม่กลัวต่อโทษแห่ง

    การประพฤติชั่ว ไม่ต้องกลัวตกอบาย มีนรก เป็นต้น ผู้ที่ปรารถนามีความสุขจึงไม่พึ่งพากันละทิ้งการรักษา

    ศีลเพราะว่าศีลเป็นบ่อเกิดเป็นเหตุนำ ความสุขความเจริญมาให้ตราบเท่าชราหรือจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ยก

    ตัวอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งศีลที่บริสุทธิ์ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จึงมี

    แต่ความสุขเกษมสำราญ มีความเบิกบานอยู่ทุกขณะ เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจึงไม่ควรมองข้าม เราจึง

    จึงควรทำตัวเป็นผู้มีปกติด้วยศีลอันเป็นที่รัก เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและเพื่อเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกและ

    ด้วยอานิสงส์ของการรักษาศีลเป็นปกติแล้ว ศีลย่อมนำความสุขมาให้ผู้ปฏิบัติตราบเท่าชรา แล

    สรุปความว่า ศีล คือการรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย เป็นคุณธรรมเบื้อต้น ที่จะทำให้คนเป็นมนุษย์

    คือผู้ประเสริฐ ทำให้ผู้รักษาศีลปราศจากศัตรูที่คอยเบียดเบียน ศีลเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางกาย

    ให้เรียบร้อย ศีลเป็นเครื่องรองรับความสุขความเจริญต่างๆ ศีลสร้างความร่มเย็นให้แก่ชาวโลกและตนเอง

    ศีลทำให้คนมีความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ให้สะอาด ศีลจึงเป็นความดีเยี่ยมในโลก และศีลนำความ

    สุขมาให้แก่ผู้รักษาตราบชรา สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า

    สีลํ โลเก อนุตฺตรํ

    ศีล เป็นเยี่ยมในโลก

    มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ


    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:28 PM
     
  3. lover said:
    กระทู้ธรรมชั้นเอก


    วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต

    สมคฺคา สขิลาโหถ เอสา พุทธานุสาสนี.

    ท่านทั้งหลายเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัยและความ

    ไม่วิวาทโดยความเป็นธรรมอันเกษมจากภัยแล้ว จงเป็นผู้

    พร้อมเพรียงมีความประนีประนอมกันเถิดนี้เป็นพระพุทธานุ สาสนี.

    ณ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความ แห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็น
    แนวทางแห่งการศึกษา และนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
    ใจความแห่งพุทธภาษิตนี้ แบ่งออกเป็นตอน ๆ ได้ดังนี้ คือ ทรงชี้โทษของความทะเลาะวิวาท
    บาดหมาง แตกสามัคคีกันว่า เป็นภัยอันหน้ากลัวประการ ๑ ทรงสรรเสริญการไม่วิวาทบาดหมาง มี
    ความสามัคคีปรองดองกันว่า เป็นธรรมอันเกษมจากภัยประการ ๑ ทรงเตือนให้เป็นผู้มีความสามัคคี
    ประนีประนอมแก่กันและกันประการ ๑ และตรัสว่า ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลาย จะได้อธิบายขยายความไปตามลำดับต่อไป
    ธรรมดามนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ จะเป็นชาติใดภาษาใดก็ตาม ตลอดจนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย
    ย่อมมีความเป็นอยู่เกี่ยวเนื่องกัน เป็นหมู่คณะนับตั้งแต่ครอบครัวหลายครอบครัวรวมเป็นหมู่บ้าน กับ
    ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศและทวีป ตลอดถึงโลก ความเป็นหมู่มนุษย์ในโลก คือมนุษย์ทุกชาติ ทุก
    ภาษาจะต้องเป็นอย่างนี้ทั้งโลก มนุษย์ทั้งหลาย จะอยู่โดยลำพังผู้เดียวก็หาได้ไม่ จำต้องเกี่ยวสัมพันธ์กัน
    ทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่นการงานบ้าง การเงินบ้าง การค้าบ้าง และการปกครองบ้าง ต้องติดต่อกันใน
    ทุกวิถีทางที่จะเป็นไปได้ เพราะการติดต่อกันด้วยประการใดประการหนึ่ง ดังกล่าวนี้เอง เป็นเหตุแห่ง
    ความเจริญ ความสุขสบายใจทั่วถึงกัน สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ทรงเห็นเหตุแห่งความวิวาท
    บาดหมางกัน และแตกสามัคคีกันว่า เป็นภัยใหญ่อันน่าจะพึงกลัว จึงตรัสเตือนคนทั้งหลายไว้ดังปรากฏ
    ในบทต้นแห่งคาถาในกระทู้นี้ โดยใจความว่าท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทกันโดยความเป็นภัยอัน
    จะพึงกลัว ดังนี้เป็นต้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณา เห็นเหตุอันนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้วจึงตรัส
    พระธรรมเทศนา แก่ภิกษุชาวโกสัมพี ผู้ก่อการทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งมีปรากฏในขุททกนิกายว่า
    ปเร จ น วิชานนฺติ มยเมตฺถ ยมาม เส

    เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ตโต สมฺมนฺติ เมธคา.

    ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะย่อมยับป่นปี้ในท่ามกลาง

    หมู่คณะ ชนเหล่าใดรู้สึกตัวได้ ความมั่นคงก็จะเกิด

    มีแก่ชนเหล่านั้น ความพร้อมบริบูรณ์ สมปรารถนาก็มีเอง

    พระตถาคตทรงชี้ถึงความย่อยยับป่นปี้อันมีอยู่ในหมู่คณะ ที่ทำการทะเลาะวิวาทซึ่งปราศจาก
    ความปรองดองกัน ย่อมประสบความเดือดร้อน และทรงตรัสย้ำว่าเมื่อเหล่าชนผู้ทำความวิวาท หมายมั่น
    แก่กันและกันกลับมองเห็นโทษโดยความเป็นภัยแล้ว ก็ย่อมระงับและปรองดองกันได้ เพราะชน
    เหล่านั้นทำความสามัคคีกัน เห็นความไม่วิวาทกันว่าเป็นคุณอันเกษมจากภัยอันใหญ่หลวง การที่หมู่
    ชนไม่วิวาทขาดสามัคคีก็คือ การอยู่ร่วมกันโดยสามัคคี ช่วยกันประกอบกิจการงาน เพื่อความสุขความ
    เจริญแก่กันและกัน มีเมตตาอารีช่วยเหลือ ตามสมควรแก่กำลังและความสามารถของตน ได้ชื่อว่าเป็น
    เหตุแห่งความสุขสบาย ไม่ต้องเกรงกลัวภัยและเป็นทางให้สำรวมระวัง ในสัตว์ผู้มีปาณะทั้งหลาย ก็จะ
    มีแต่ความเกษมสำราญ ไม่มีการก่อกรรมทำเข็นให้แก่ใคร ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จะอยู่หรือจะไปในที่ไหน ก็
    จะมีแต่ความสุขกายสบายใจไม่มีเวรภัย ทั้งนี้เพราะมีความไม่ทะเลาะวิวาทกันเป็นเหตุปัจจัย แห่ง
    ความสุข ปราศจากความทุกข์ทั้งปวง เพราะมนุษย์หรือสัตว์ทุกหมู่ทุกเหล่า ย่อมรังเกียดทุกข์ด้วยกัน
    ทั้งนั้น การอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคีปรองดอง ปราศจากการเพ่งโทษ แห่งกันและกันสมดังภาษิต
    ที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบทว่า
    น ปเรสํ วิโลมานิ นปเรสํ กตากตํ

    อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ.

    ไม่ควรใส่ใจถึงคำเสียดสีของผู้อื่น ไม่ควรเพ่งดูการงาน

    ที่ผู้อื่นทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ควรพิจารณาดูแต่การงาน

    ที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำของตนเท่านั้น

    เมื่อมาเพ่งถึงพุทธภาษิตนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าการที่พระพุทธเจ้าองค์ตรัสไว้ โดยมีพระประสงค์ มิ
    ให้เราใจใส่ต่อคำเสียดแทง เสียดสีว่าร้ายต่าง ๆ และมิให้เพ่งโทษติเตียน การงาน ของผู้อื่น อันเป็นเหตุ
    ให้เกิดการทะเลาะวิวาท แตกความสามัคคีกันเอง ให้เอาใจใส่ต่อหน้าที่ธุระของตน เพราะเมื่อเราทุก ๆ
    คน ต่างรู้หน้าที่การงานของตนแล้ว และสามารถที่จะปฏิบัติตามหน้าที่แล้ว ย่อมเป็นทางเจริญแห่ง
    ความงอกงามมีความสุขกายสบายใจ ปราศจากเวรภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะการกระทำนั้นเป็นเหตุ ก็แล
    ความสามัคคีนั้นได้แก่ ความพร้อมเพรียงกันอยู่ ๒ ประการคือ การสามัคคีประการ ๑ จิตสามัคคี
    ประการ๑
    กายสามัคคี คือ ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันทางกาย ได้แก่การช่วยเหลือกัน ทำกิจการงานของ
    กันและกัน ให้สำเร็จลุล่วงไป ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากของตนคือว่า พร้อมเพรียงใจช่วยกันทำ
    จิตสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกันทางจิต ได้แก่ความมีใจรักใคร่สนิทสนม หวังดีต่อกันไม่มี
    ความคิดเห็นแตกต่างกัน ด้วยอำนาจทิฎฐิมานะถือตัวถือตน
    กายและจิตที่พร้อมเพรียงช่วยกันประกอบการทำงานเช่นนี้ เรียกว่า สามัคคีพร้อมเพรียงกัน ความ
    พร้อมเพียงนี้จะเจริญงอกงามตั้งอยู่ถาวรได้ จักต้องมีคุณธรรมอื่น ๆ เข้ามาช่วยค้ำชูอุดหนุน ความ
    สามัคคีก็จะไม่เสื่อมสลายไป เช่น สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ ทาน การบริจาคแบ่งปันสิ่งของตนเอง
    ให้แก่ผู้อื่น ปิยวาจา เจรจาปราศรัย ด้วยถ้วยคำอันไพเราะ เสนาะโสต อัตถจริยา ประพฤติแต่สิ่งที่เป็น
    ประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น สมานัตตตา รู้จักวางตนให้สมกับฐานะตนไม่เย่อ หยิ่งจองหอง ทั้ง ๔
    ประการนี้ เป็นคุณธรรม เครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน ให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันเป็นต้น
    ก็จะมีแต่ความสุขสำราญด้วยกันทุกหมู่คณะ มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป สมดังพุทธสุภาษิต ที่มาในขุททก
    นิกาย อิติวุตตกะว่า
    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห

    สมคฺครโต ธมฺมฎฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ

    ความพร้อมเพรียงของหมู่นำมาซึ่งความสุข ความสนับสนุน

    คนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุข ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน

    ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสุภาษิตบทนี้ เป็นภาษิตสนับสนุนสามัคคีธรรม และคนผู้พร้อมเพรียงโดย
    นานาประการ มวลมนุษย์และหมู่สัตว์ ผู้ประกอบด้วยความสามัคคี หรือความพร้อมเพรียง ย่อม
    ปราศจากอันตรายทั้งหลาย และเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข มนุษย์เราถ้าประกอบด้วยสามัคคีธรรม และ
    ความพร้อมเพรียมกันแล้ว ก็ย่อมสามารถที่จะประกอบกิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จได้โดยสะดวก
    สรุปความว่า สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสสอนให้เห็นถึงโทษของการวิวาทบาดหมางกัน และ
    เห็นคุณค่าของความไม่ทะเลาะวิวาทกัน พร้อมทั้งทรงสอนให้ เป็นผู้พร้อมเพรียงประนีประนอมกัน
    ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นอนุศาสนี คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อบุคคลได้น้อมนำมาประพฤติ
    ปฏิบัติแล้ว ย่อมถึงความสุขเกษมห่างไกลจากภัยพิบัติโดยประการทั้งปวง ประสบแต่ความเจริญงอก
    งามไพบูลย์ทุกหมู่คณะ พระองค์ทรงยกย่องสามัคคีธรรม ว่าสามารถอำนวยผลให้กิจการทุกอย่าง
    สำเร็จได้ดังปรารถนาจริง สมดัง พุทธศาสนาสุภาษิต ที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นนั้นว่า
    วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต

    สมคฺคา สขิลาโหถ เอสา พุทธานุสาสนี.

    ท่านทั้งหลายเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาท

    โดยความเป็นธรรมอันเกษมจากภัยนั้นแล้วจงเป็นผู้พร้อมเพรียง

    มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพุทธานุสาสนี.

    มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ


    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:28 PM
     
  4. lover said:
    อภิธรรม ๗



    บทที่ ๑ ธมฺมสงฺคณี


    กุสลาธมฺมา

    ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล คือไม่มีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีสุขเป็นวิบากต่อไป

    อกุสลาธฒฺมา

    ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล คือมีโทษอันบัณฑิต ติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

    อพฺยากตา ธมฺมา

    ธรรมทั้งหลายที่เป็น อัพยากฤต คือท่านไม่พยากรณ์ว่า เป็นกุศล หรืออกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ

    กตเม ธมฺมา กุสลา

    ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน

    ยสฺมึ สมเย

    ในสมัยใด

    กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ

    จิตที่เป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น

    โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ

    เป็นไปกับโสมนัส ประกอบด้วยญาณ

    รูปารมฺมณํ วา

    ปรารภอารมณ์ คือรูป หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง

    สทฺทารมฺมณํ วา

    ปรารภอารมณ์ คือเสียง หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง

    คนฺธารมฺมณํ วา

    ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง

    รสารมฺมณํ วา

    ปรารภอารมณ์ คือรส หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง

    โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา

    ปรารภอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ สิ่งทีกายถูกต้อง หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง

    ธมฺมารมฺมณํ วา

    ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม เรื่องที่เกิดแก่ใจ หรือมี ธรรมเป็นอารมณ์บ้าง

    ยํ ยํ วา ปนารพฺภ

    ปรารภอารมณ์ใด ใด บ้างก็ดี

    ตสฺมึ สมเย

    ในสมัยนั้น

    ผสฺโส โหติ

    ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณ ย่อมมี ฯลฯ

    อวิกฺเขโป โหติ

    ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี

    เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา

    ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

    อิเม ธมฺมา กุสลา

    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล


    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 09:03 PM
     
  5. lover said:
    กระทู้ธรรมชั้นโท


    อิเธว กิตฺตึ ลภติ เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน

    สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร สีเลสุ สุสมาหิโต.

    ผู้มีปรีชา ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ย่อมได้ชื่อเสียงในโลกนี้

    ณ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความ แห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็น
    แนวทางแห่งการศึกษา และนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
    คำว่า ปัญญา คือ สภาวะที่รู้จักความเสื่อมและความเจริญ พร้อมกันทั้งเหตุและทั้งผล ความรอบรู้
    ในศิลปะวิทยาการ ตลอดถึงการทำกสิกรรม พานิชยกรรมและราชกิจเป็นต้น ก็เรียกว่า ปัญญา ความ
    ฉลาดรอบรู้ในกองสังขาร คือสิ่งที่เป็นปัจจัยปรุงแต่ง ขึ้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
    อนัตตา ก็เรียกว่า ปัญญา ลักษณะของปัญญานี้มีมากมายหลายประการ แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้วมี ๒
    ประการ คือ ๑ โลกิยปัญญา ๒ โลกุตตรปัญญา โลกิยปัญญานั้นได้แก่ ความฉลาดรอบรู้ในทางคดีโลก
    มีความฉลาดในศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุที่จะนำทรัพย์สมบัติ อิสิรยยศ และบริวารยศให้เกิด
    มีปรากฏแก่ตน จนถึงปัญญาอันสัมปยุตด้วยโลกิยมรรค โลกุตตรปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วย
    อริยมรรคมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ปัญญานี้มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีปัญญา ผู้มีปรีชา คือทำจิตของ
    ผู้นั้นให้สว่างไสวแลเห็นความเจริญและความเสื่อมสิ่งที่ควรละควรประกอบ
    ดุจคนที่มีจักษุเป็นปกติ รู้จักชนิดแห่งสิ่งของแลเห็นอะไรต่าง ๆก็ทราบได้ดีว่า
    สิ่งนั้นดีหรือไม่ดี ฉะนั้นผู้ที่จะรักษาตน และปกครองผู้อื่นให้เป็นไปโดยเรียบร้อยได้นั้นก็เพราะ
    อาศัยปรีชา ที่รู้จักทางเจริญ และความเสื่อม และรู้จักอุบายแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นแก่ตน
    สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเตือนไว้ในสคาภวรรค สังยุตตนิภายว่า ปญญา เจนํ ปสาสติ
    ปัญญาย่อมปกครองบุรุษ ผู้ที่ฉลาดไม่ควรประมาทในปัญญา พึ่งหมั่นฝึกฝนให้เจริญขึ้นโดยนิตย์
    นิรันดร์เพราะปัญญานั้นสามารถทำผู้คนให้มีความสุขความเจริญขึ้นโดยลำดับเมื่อปัญญาเจริญก็พึงตน
    ให้คงอยู่ในความสุขความเจริญเสมอไป สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในขุททกนิกายธรรมบทว่า
    โยคา เว ชายเต ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย

    เอตํ เทวฺธาปถํ ญฺตฺวา ภวาย วิภวายจ

    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ

    ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล ความสิ้นแห่งปัญญา

    เพราะความไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่ง

    แห่งความเจริญ และความเสื่อมนั้นแล้ว พึงตั้งตน

    ไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้

    ปัญญานั้นเป็นดังดวงแก้วของ นรชน การที่จะเกิดปัญญาได้นั้น ก็เพราะการประกอบขวนขวายใน
    ทิศทางที่ดีแสงพระอาทิตย์แสงพระจันทร์ หรือดวงประทีปจะส่องฉายไปได้ก็
    แต่ในสถานที่ที่ไม่มีอะไรปิดบัง ส่วนแสงของปัญญานั้น สามารถส่องไปในสถานที่ลี้ลับ
    ซึ่งไม่มีแสงอะไรจะส่องถึง เมื่อบุคคลประกอบด้วยปรีชาญาณ อันประกอบด้วยปัญญา มี
    สติสัมปชัญญะอันมั่นคง ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น แนะนำชักจูง แต่ในทางที่เป็น
    ประโยชน์ สิ่งใดเป็นประโยชน์แต่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นประโยชน์แก่ตนและเสีย
    ประโยชน์ผู้อื่น ท่านไม่แนะนำให้ทำสิ่งนั้น สิ่งที่ท่านแนะนำล้วนเป็นแต่เป็นประโยชน์และ
    เป็นธรรม บุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญานั้น ย่อมประกอบสรรพกิจที่ปราศจากโทษ เพื่อ
    เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่าย สมดังพุทธศาสนสุภาษิต ที่มาในขุททกนิกาย ชาดก
    และสคาถวรรคว่า
    ปญฺญฺา หิ เสฎฐา กุสลา วทนฺติ

    ปญฺญฺาชีวี ชีวิตมาหุ เสฎฺฐํ

    คนฉลาดกล่าวปัญญา แลประเสริฐสุด ปราชญ์ กล่าว

    ผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด

    ปัญญานั้นเป็นคุณชาติที่นักปราชญ์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตรัสสรรเสริญไว้โดยประการ
    ต่าง ๆตามที่บรรยายมาแล้ว ผู้ที่มีปัญญานั้น เมื่อรู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น จึงนับได้ว่า
    เป็นประเสริฐ และการที่จะเป็นผู้ประเสริฐได้นั้น จะต้องเป็นผู้ประกอบด้วยศีล คือ การรักษากายวาจา
    และใจให้เป็นปกติ มีกิริยามารยาทที่ปราศจากโทษทุจริต ปัญญากับศีลนั้นเป็นของคู่กันอยู่เสมอถ้ามีศีล
    ขาดปัญญาก็จะงมงายไป แต่ก็ยังเอาตัวรอดได้ ถ้ามีปัญญาแต่ขาด ศีลก็เอาตัวรอดไม่ได้ตรงกับคำสุภาษิต
    ที่ว่า “มีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด”
    สรุปใจความว่า ผู้มีปรีชาเห็นโทษแห่งการมิได้รักษาศีลว่ามีแต่ให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนแก่ตนและ
    ผู้อื่นและคุณแห่งการรักษาศีล ทำให้มีแต่ความสุขความเจริญไม่มีความทุกข์เดือดร้อน ย่อมได้รับลาภ ยศ
    สรรเสริญเกียรติคุณ ในชาตินี้ ดังนั้นจึงควรที่จะได้กระทำบำเพ็ญคุณงามความดีละความชั่วอันเป็นไปเพื่อ
    ความไม่มีประโยชน์นั้นเสีย สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นนั้นว่า
    อิเธว กิตฺตึ ลภติ เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน

    สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร สีเลสุ สุสมาหิโต.

    ผู้ที่มีปรีชา ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ย่อมได้ชื่อเสียง

    ในโลกนี้ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์

    ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง

    มีนัยดังพรรณนามาด้วยการฉะนี้ ฯ


    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:28 PM
     
  6. lover said:
    กลอนสรภัญญ์หอมศีลธรรม


    วันนี้เป็นวันรวม มีแต่ความเจริญธรรม

    แปดค่ำสิบห้าค่ำดี พวกเรานี้รักษาศีล

    ศีลธรรมของพระเจ้า ยกใส่เกล้าเท่าไว้เศียร

    ทำเพียรรักษาศีล ให้มันสิ้นกิเลสมาร

    ศีลนี้ถ้าใครมี รักษาดีจะหอมไกล

    หอมไกล้และหอมไกล หอมไปได้ทั้งเหนือลม

    หอมฮอดยังชั้นพรหม หอมอุดมทั่วโลกา

    หอมศีลหอมไปไกล หอมติดไปจนวันตาย

    ขอให้เราทั้งหลาย รักษาไว้ให้ดีเทอญฯ



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:29 PM
     
  7. lover said:
    บทที่ ๒. วิภงฺโค



    ปยฺจกฺขนฺธา

    ขันธ์ คือกองทั้ง ๕

    รูปกฺขนฺโธ

    รูปขันธ์ กองรูป ๑

    เวทนากฺขนฺโธ

    เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๑

    สญฺญากฺขนฺโธ

    สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๑

    สงฺขารกฺขนฺโธ

    สังขารขันธ์ กองสังขาร ๑

    วิญฺญาณกฺขนฺโธ

    วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ๑

    ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ

    ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปขันธ์เป็นไฉน

    ยงฺกิญจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ

    รูปอันใดอันหนึ่งเป็นอดีต ล่วงไปแล้ว เป็นอนาคตยังมิได้มา เป็นปัจจุบัน เกิดขึ้นอยู่ฉะเพาะหน้า

    อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา

    เป็นภายในหรือภายนอก

    โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา

    หยาบหรือละเอียด

    หีนํ วา ปณีตํ วา

    เลวหรือประณีต

    ยํ ทูเร วา สนฺติเก วา

    อันใด ในที่ไกลหรือในที่ใกล้

    ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา

    ประมวลย่นย่อรูปนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน

    อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ

    นี้พระตถาคตครัสเรียกว่ารูปขันธ์




    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:29 PM
     
  8. lover said:
    บทที่ ๔. ปุคฺคลปญฺญตฺติ



    ฉ ปญฺญตฺติโย

    บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้งทั้งหลาย ๖

    ขนฺธติปญฺญตฺ

    บัญญัติว่า ขันธ์

    อายตนปญฺญตฺติ

    บัญญัติว่า อายตนะ

    ธาตุปญฺญตฺติ

    บัญญัติว่า ธาตุ

    สจฺจปญฺญตฺติ

    บัญญัติว่า สัจจะ

    อินฺทฺริยปญฺญตฺติ

    บัญญัติว่า อิทรีย์

    ปุคฺคลปญฺญตฺติ

    บัญญัติว่า บุคคล

    กิตฺตาวตา ปุคคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ

    บัญญัติซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล กำหนดประมาณเท่าไร

    สมยวิมุตฺโต

    บุคคลผู้พ้นแล้วโดยสมัย คือบุคคลผู้ได้วิโมกข์ หรือสมาบัติ ๘ ตามกาล ตามสมัย และมีอาสวะบางเหล่าสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคล ๓ จำพวกเบื้องต้นผู้ได้สมาบัติ ๘

    อสมยวิมุตฺโต

    บุคคลผู้พ้นโดยไม่มีสมัย คือบุคคลผู้มิได้มีวิโมกข์ ๘ ตามกาล ตามสมัย แต่มีอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอสมยวิมุตต์ เพราะได้อริยวิโมกข์ตามลำดับขั้น อริยวิโมกข์ไม่มีสมัยกำเริบอีกได้

    กุปฺปธมฺโม

    บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ มีฐานะโอกาสจะอาศัยความประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้

    อกุปฺปธมฺโม

    บุคคลอันมีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือบุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่วชำนาญ ไม่มีฐานะโอกาสจะประมาทเสื่อมจากสมาบัตินั้นได้ ได้แก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งพระอริยบุคคลทั้งปวง ชื่อว่าอกุปปธัมมะ เพราะอริยวิโมกข์ของท่านเป็นธรรมไม่กำเริบอีกได้

    ปริหานธมฺโม

    บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบได้นั่นแล

    อปริหานธมฺโม

    บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมได้ คือบุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้นั่นแล

    เจตนาภพฺโพ

    บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อม เพราะเจตนาเอาใจใส่ คือ บุคคลผู้ได้รูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญ เมื่อเอาใจใส่อยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

    อนุรกฺขนาภพฺโพ

    บุคคลผู้ควรเพื่อถึงความไม่เสื่อมด้วยคอยรักษาไว้ คือบุคคลได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ ยังไม่คล่องแคล่วชำนาญเมื่อคอยรักษาอยู่ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น

    ปุถุชฺชโน

    บุคคลผู้เป็นปุถุชนมีกิเลสเกิดหนาแน่น คือบุคคลผู้ยังละสังโยชน์ ๓ เบื้องต้นยังไม่ได้ และไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น

    โคตฺรภู

    บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร คือบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมก่อน แต่จะก้าวเข้าสู่อริยธรรม โดยไม่มีธรรมอื่นขั้นระหว่าง ได้แก่ผู้ล่วงโคตร คือมณฑลบัญญัติปุถุชน จะย่างสู่โคตรอริยชน กำลังอยู่ในภาวะที่มิใช่ปุถุชน มิใช่อริยชน

    ภยูปรโต

    บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว ได้แก่พระเสขบุคคล ๗ และปุถุชนผู้มีศีล ปุถุชนกลังภัย ๔ คือทุคคติภัย ภัยคือทุคคติ วัฏฏภัย ภัยคือวน กิเลส กรรม วิบาก กิเลสภัย ภัยคือกิเลส อุปวาทภัย ภัยคือความติเตียน จึงงดเว้นบาป พระเสขบุคคลแม้ตั้งอยู่ในอริยมรรค อริยผล ก็ยังกลัวภัย ๓ เว้นทุคคติภัย

    อภยูปรโต

    บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว ได้แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ตัดภัยได้เด็จขาด

    ภพฺพาคมโน

    บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์เครื่องกั้น คือกรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ไม่ประกอบด้วยกิเลสสาวรณ์ เครื่องกั้นคือกิเลส ได้แก่ นิตยมิจฉาทิฏฐิไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เครื่องกั้นคือวิบาก ได้แก่อเหตุกปฏิสนธิ และทุเหตุกปฏิสนธิ เป็นผู้มีศรัทธา มัฉันทะ มีปัญญา ไม่บ้าใบ้เป็นภัพพบุคคล สมควรบรรลุมรรคผลได้

    อภพฺพาคมโน

    บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือบุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น ๓ อย่างนั้น เป็นผู้ปราศจากศรัทธาเป็นต้น เป็นอภัพพบุคคล ไม่สมควรบรรลุมรรคผล

    นิยโต

    บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลทำอนันตริยกรรม ๕ และบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ๒จำพวก เที่ยงแน่แท้ที่จะไปสู่นรก พระอริยบุคคล ๘จำพวก เที่ยงแน่แท้ต่อมรรคผลสูง ๆขึ้นไป และเที่ยงแน่แท้ต่อ อนุปปาทาปรินิพพาน

    อนิยโต

    บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้ คือบุคคลนอกจากนิยตบุคคลเหล่านั้นเพราะมีคติไม่แน่นอน

    ปฏิปนฺนโก

    บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ได้แก่ตั้งอยู่แล้วในมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น

    ผเลฏฺฐิโต

    บคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล คือบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยผล ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

    อรหา

    บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ด้วยการละโดยไม่มีส่วนเหลือ

    อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน

    บุคคลปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เบื้องปลายทั้ง ๔มี รูปราคะเป็นต้น



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-16-2014 เมื่อ 06:50 PM
     
  9. lover said:
    บทที่ ๕. กถาวตฺถุ



    ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

    สกวาที ถามว่า สัตว์ บุคคล ชายหญิงย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์หรือ

    อามนฺตา

    ปรวาที ตอบว่า ย่อมมีได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึง สัตว์บุคคล ชายหญิงไว้ในพระสูตร โดยสมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมุติ

    โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

    สกวาที ถามว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุดคือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์นั้นหรือ

    น เหวํ วตฺตพฺเพ

    ปรวาที ตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย เพราะสัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นไม่มีได้โดยปรมัตถ์สัจจะ คือความจริงโดยปรมัตถ์

    อาชานิ นิคฺคหํ

    สกวาทีกล่าวว่า ท่านจงยอมรับนิคคหะโทษ ควรข่มขี่ เพราะคำต้นกล่าวรับรองแล้ว แต่คำหลังกลับกล่าวปฏิเสธ

    หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน

    ถ้าสัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ไซร้

    เตน วต วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ

    ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแล พึงกล่าวว่าอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถอย่างยิ่ง คือปรมัตถ์นั้น

    มิจฺฉา

    สัตว์ บุคคล ชาย หญิงซึ่งท่านปรวาทีกล่าวแล้วในข้อนั้น ท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้นว่า สัตว์ บุคคล ชาย หญิง ย่อมมีได้โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดยอรรถ อย่างยิ่งสูงสุด คือปรมัตถ์ แต่ท่านกลับไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลังว่า อรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง อรรถอย่างยิ่ง คือ ปรมัตถ์ใด สัตว์ บุคคล ชาย หญิง นั้นย่อมมีได้ โดยอรรถแจ่มแจ้งเป็นจริง โดย อรรถอย่างยิ่ง คือปริมัตถ์นั้น คำของท่านนี้จึงผิด เพราะขัดแย้งกันเอง ถ้าจะไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาหลัง ก็ไม่พึงกล่าวรับรองในปัญหาต้นเสียก่อน ฉะนั้นสัตว์บุคคลชายหญิงซึ่งท่านกล่าวแล้ว อันท่านกล่าวรับรองในปัญหาต้น แต่ไม่กล่าวรับรองในปัญหาหลัง จึงผิดพลาดขัดแย้งกันแย้ง


    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:30 PM
     
  10. lover said:
    บทที่ ๖. ยมก



    เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

    ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

    สพฺเพ เต กุสลมูลา

    ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้งสิ้น

    เย วา ปน กุสลมูลา

    ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเป็นกุศลมูล

    สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา

    ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น

    เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

    ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

    สพฺเพ เต กุสลมูเลน

    ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น มีมูลเป็น

    เอกมูลา

    อันเดียวกันกับกุศลมูล

    เย วา ปน กุสลมูเลน

    ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีมูลเป็น

    เอกมูลา

    อันเดียวกันกับกุศลมูล

    สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา

    ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-17-2014 เมื่อ 01:20 PM