กระทู้ธรรม

กระทู้: กระทู้ธรรม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. lover said:
    บทที่ ๖. ยมก



    เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

    ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

    สพฺเพ เต กุสลมูลา

    ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้งสิ้น

    เย วา ปน กุสลมูลา

    ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเป็นกุศลมูล

    สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา

    ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น

    เย เกจิ กุสลา ธมฺมา

    ธรรมทั้งหลายเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

    สพฺเพ เต กุสลมูเลน

    ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น มีมูลเป็น

    เอกมูลา

    อันเดียวกันกับกุศลมูล

    เย วา ปน กุสลมูเลน

    ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีมูลเป็น

    เอกมูลา

    อันเดียวกันกับกุศลมูล

    สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา

    ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นกุศลทั้งสิ้น



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-17-2014 เมื่อ 01:20 PM
     
  2. lover said:
    บทที่ ๗.ปฏฺฐาน



    เหตุปจฺจโย

    เหตุเป็นปัจจัย เหตุที่ตั้งอยู่เฉพาะแห่งผล มี ๖ อย่าง ได้แก่ อกุศลเหตุ ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กุศลเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อกุศลเหตุเป็นปัจจัยแดนเกิดแห่งผล คืออุดหนุนให้เกิดนาม รูป หรือ จิต เจตสิก และรูปฝ่ายอกุศล กุศลเหตุเป็นปัจจัยแห่งนามรูปฝ่ายกุศล เหมือนอย่างรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ เป็นที่ตั้งอยู่ได้ของต้นไม้ และช่วยอุหนุนต้นไม้ให้งอกงาม

    อารมฺมณปจฺจโย

    อารมณ์เป็นปัจจัย อารมณ์เป็นเรื่องเจตสิกทั้งหลายยึดหน่วง มี ๖ อย่าง ได้แก่

    รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป สัททารมณ์ อารมณ์คือเสียง คันธารมณ์ อารมณ์คือกลิ่น รสารมณ์ อารมณ์คือรส โผฏฐัพารมณ์ อารมณ์คือโผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง ธัมมารมณ์ อารมณ์คือ ธรรม ได้แก่เรื่องของรูปเป็นต้นที่ได้ประสบแล้วในอดีต อารมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงต้องอาศัยยึดหน่วงอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างคนชราหรือทุพพลต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือกเป็นเครื่องยึดหน่วง จึงทรงตัวลุกขึ้นเดินไปได้

    อธิปติปจฺจโย

    อธิบดีเป็นปัจจัย อธิบดีคือธรรมที่เป็นใหญ่กว่าสัมปยุตตธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตน แบ่งเป็น ๓ ประเภทก่อนคือ

    อารัมมณาธิปติ อธิบดีคืออารมณ์ชนิดที่น่าปรารถนาอย่างแรง ๑ สหชาตาธิปติ อธิบดีคือธรรมที่เกิดร่วมกัน ๑ สหชาตาธิปติ มี ๔ อย่างคือ ฉันทาธิปติ อธิบดีคือฉันทะเจตสิก ความพอใจที่เกิดขึ้นในใจ วิริยาธิปติ อธิบดี คือวิริยะเจตสิก ความเพียรที่เกิดขึ้นในใจ จิตตาธิปติ อธิบดี คือความเอาใจใส่จดจ่อ วิมังสาธิปติ อธิบดีปัญญาเจตสิก ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาเกิดขึ้นในใจ อารมณ์อย่างแรงเป็นอธิปติปัจจัย เพราะทำให้นามธรรม คือจิตและเจตสิกน้อมไปยึดอย่างหนักหน่วง ส่วน อธิบดี ๔ มีฉันทะเป็นต้น เป็นอธิปติปัจจัยเพราะสามารถยังธรรม ซึ่งเกิดร่วมกับตน และนามธรรมอื่นซึ่งไม่สามารถจะเป็นอธิบดีได้ ให้น้อมไปตามอำนาจของตน

    อนนฺตรปจฺจโย

    ธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัย คือสามารถยังจิตตุปบาท (ความเกิดแห่งจิต) อันสมควรกันให้เกิดขึ้นในลำดับของตน ได้แก่ นามธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยอุดหนุนแก่นามธรรม คือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง ได้แก่ช่วยอุปการะให้เกิดขึ้นสืบต่อกันไปโดยไม่ว่างเว้น คือไม่มีระหว่างคั่นเว้นไว้แต่จุติจิตของพระอรหันต์

    สมนนฺตรปจฺจโย

    ธรรมที่เกิดเป็นลำดับสืบต่อกันเรื่อยไป ไม่มีธรรมอื่นมาคั่นระหว่างเลยทีเดียวเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมที่เกิดก่อนเป็น สมนันตรปัจจัยแก่นามธรรมที่เกิดภายหลัง คล้ายกับอนัตรปัจจัย

    สหชาตปจฺจโย

    ธรรมที่เกิดร่วมเป็นปัจจัย คือ ธรรมที่เกิดร่วมกันต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนกันเอง ด้วยอำนาจที่ยังธรรมที่เกิดร่วมกันให้เกิดพร้อมกัน เพราะเมื่อตนไม่เกิด แม้ธรรมที่เกิดร่วมกันก็ไม่เกิดขึ้นได้ เหมือนอย่างดวงไฟเกิดพร้อมกับแสงไฟ เมื่อไม่มีดวงไฟ แสงไฟก็มีขึ้นไม่ได้ เช่น นามขันธ์ ๔ มหาภูตรูป ๔ ปฏิสนธิหทัยวัตถุ เป็นสหชาตปัจจัย

    อญฺญมญฺญปจฺจโย

    ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย คือธรรมที่เป็นอุปการะโดยอุดหนุนกันและกันให้เกิดขึ้น เหมือนอย่างไม้ ๓ อัน ต่างพิงอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้ ได้แก่นามขันธ์ ๔ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๔ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ และปฏิสนธิหทัยวัตถุ ช่วยอุดหนุนกันและกันเกิดขึ้น

    นิสฺสยปจฺจโย

    ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย คือเป็นที่อาศัยโดยอธิษฐานการ คืออาการที่ตั้งมั่น ๑ เป็นที่อาศัยโดยนิสสยาการ คืออาการที่อ้างอิงอาศัย ๑ ธรรมเป็นนิสัยปัจจัยที่อาศัยโดยอาการที่ตั้งมั่นนั้นได้แก่ปฐวีธาตุ เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งธาตุอื่น วัตถุ ๖ มีจักขุเป็นต้น เป็นที่อาศัยตั้งมั่นแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เหมือนอย่างแผ่นดินที่อาศัยตั้งมั่นของต้นไม้เป็นต้นบนแผ่นดิน ธรรมเป็นนิสัยที่อาศัยโดยอาการที่อิงอาศัยนั้น ได้แก่นามขันธ์ ๔ เป็นที่อิงอาศัยกันและกัน อาโป เตโช วาโยก็เหมือนกัน เหมือนอย่างแผ่นผ้าเป็นที่อาศัยแห่งจิตกรรมภาพวาดเขียน

    อุปนิสฺสยปจฺจโย

    ธรรม เป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า ได้แก่อารมณ์อย่างแรงกล้า เหมือนอย่างอารมณ์ที่เป็นอธิปติปัจจัยเป็นที่อาศัย อย่างแรงกล้าให้เกิดธรรมที่เกิดจากอารมณ์นั้นเป็นปัจจัย เรียกว่าอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้าคือ อารมณ์ ธรรมที่เกิดเป็นลำดับ ไม่มีระหว่างคั่นอย่างแรงกล้าเหมือนอย่าง อนันตรปัจจัย เป็นอุปนิสสยปัจจัยให้เกิดธรรมที่เกิดจากธรรมนั้นเป็นปัจจัยโดยไม่มีระหว่างคั่น เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่น เหตุที่มาจนเป็นปกตินิสัยแล้ว ไม่เกี่ยวข้องด้วยอารัมณปัจจัย เป็นเหตุที่ตนทำให้เกิดขึ้นเอง เช่นกุศลธรรม อกุศลธรรมต่างๆ ก็ดี เป็นเหตุฝ่ายกุศลและอกุศล ที่เนื่องจากการเสวนาซ่องเสพบุคคลและอาหารเป็นต้นของตนก็ดี เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า คือเหตุที่ทำมาจนเป็นอุปนิสัยแล้ว

    ปุเรชาตปจฺจโย

    ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย คือธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังคงมีอยู่ไม่ดับไป ได้แก่รูปธรรมที่เกิดขึ้นก่อนแล้วยังไม่ดับไป เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตและเจตสิกให้เกิดขึ้น เปรียบเหมือนพระอาทิตย์และพระจันทร์เกิดขึ้นก่อนยังไม่ดับ สัตว์โลกทั้งหลายจึงได้อาศัยเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในโลก

    ปจฺฉาชาตปจฺจโย

    ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ได้แก่นามธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง เป็นปัจจัยปัจจัยอุดหนุนแก่รูปธรรมที่เกิดก่อนให้ตั้งอยู่ได้จนครบอายุ อายุของรูปธรรมเท่ากับอายุของจิต ๑๗ ดวง รูปธรรมที่เกิดก่อนจะตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๗ ขณะจิตนี้ ก็เพราะจิตและเจตสิกที่เกิดทีหลังอุปถัมภ์ให้ตั้งอยู่และให้เจริญ มีอุปมาเหมือนอย่างต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้ว จะตั้งอยู่และเจริญขึ้นได้ ก็ด้วยอาศัยน้ำฝนที่ ตกลงมา หรือเอาน้ำรดในภายหลัง หรือมีอุปมาเหมือนอย่างลูกนกแร้งที่ยังเล็ก บินไปหาอาหารมิได้ ก็ได้อาศัยเจตนาที่หวังอาหารนั่นเองบำรุงเลี้ยง จนกว่าจะบินออกไปหาอาหารเองได้

    อาเสวนปจฺจโย

    ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัย ได้แก่โลกิยชวนจิตที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่าเสพอารมณ์บ่อย ๆ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นเชื้อสายชาติเดียวกันให้เกิดขึ้น เช่นเมื่อกุศลชวนจิตดวง ๑ เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกุศลชวนจิตชนิดเดียวกันให้เกิดขึ้นเป็นดวงที่ ๒ เป็นปัจจัยอุดหนุนต่อกันไปดังนี้ จนถึงดวงที่ ๗ ซึ่งเป็นตัวเจตนาลงสันนิษฐานให้สำเร็จกิจอย่างหนึ่ง ๆ เหมือนอย่างบุคคลที่เรียนวิชาใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ย่อมเรียนวิชาอย่างเดียวกันต่อขึ้นไปได้ง่าย และเร็วขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการเรียนวิชาอย่างนั้น

    กมฺมปจฺจโย

    กรรมเป็นปัจจัย กรรมได้แก่เจตสิกธรรม คือเจตนา ความจงใจ เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงจิต เจตสิกธรรมที่เกิดในจิต กัมมชรูป รูปที่เกิดแต่กรรม และจิตตชรูป รูปที่เกิดแต่จิต ที่เกิดรวมกันเป็นสหชาตธรรม เช่นเมื่อจิตและเจตสิกรับรูปารมณ์เป็นต้น เกิดโลภจิตขึ้น กรรมคือเจตนาที่เป็นสหชาตเกิดร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงโลภจิตนั้นให้เข้ารับรูปารมณ์เต็มที่ เป็นเหตุให้แสดงอาการของโลภะออกมาทางกายวาจา ด้วยอำนาจโลภมูลเจตนา อีกอย่างหนึ่ง กรรมที่เป็น นานาขณิกะเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆกัน เป็นปัจจัยเพาะพืชพันธุ์ไว้ เมื่อกุศลเจตนา และอกุศลเจตนาเกิดขึ้นพร้อมกับจิตนั้นดับไปแล้ว กรรมคือเจตนานี้ยังเพาะพืชพันธุ์ไว้ มีอำนาจส่งผลให้ปรากฏขึ้ในภายหลัง

    วิปากปจฺจโย

    วิบากเป็นปัจจัย วิบากคือธรรมที่เป็นผลของกุศล และอกุศล ได้แก่วิบากนามขันธ์ ๔ หรือวิบากจิตเจตสิก เป็นปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน และเป็นปัจจัยอุดหนุนปฏิสนธิกัมมชรูปและจิตตชรูป วิบากเป็นปัจจัยอุดหนุนวิบากนี้ มีอุปมาเหมือนอย่างชราซึ่งเป็นวิบาก เกิดสืบมาจากชาติชรา ในตอนแรก ๆ ที่ติดมาตั้งแต่เป็นทารก เป็นปัจจัยอุดหนุนชราในตอนหลัง ๆ โดยลำดับ

    อาหารปจฺจโย

    อาหารเป็นปัจจัย สภาพที่นำผลมา คือประมวรมาซึ่งผลของตน ๆ ชื่อว่าอาหาร เป็นปัจจัยอุปถัมภ์รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย อาการปัจจัยนี้มี ๔ อย่างคือ

    กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่โอชาภายนอกที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ เป็นรูปอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนรูปกาย ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือเจตนาจงใจ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ สามข้อ(หลัง)นี้เป็นนามอาหาร เป็นปัจจัยอุดหนุนนามธรรม คือจิตเจตสิกที่ประกอบด้วยตน และอุดหนุนจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ซึ่งมีนามอาหารและจิตเจตสิกนั้นเป็นสมุฏฐาน อาหารเหล่านี้ เป็นปัจจัยอุดหนุนรูปธรรมและนามธรรมของสัตว์ทั่วทั้ง ๓๑ ภูมิ เพราะสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร

    อินฺทฺริยปจฺจโย

    อินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมที่เป็นใหญ่ คือกระทำซึ่งความเป็นใหญ่ยิ่งชื่อว่าอิทรีย์ มี ๒๒คือ

    จักขุนทรีย์ อิทรีย์คือ ตา โสตินทรีย์ อินทรีย์คือ หู ฆานินทรีย์ อินทรีย์ คือจมูก ชิวหินทรีย์ อินทรีย์ลิ้น กายินทรีย์ อินทรีย์คือกาย มนินทรีย์ อินทรีย์คือใจ อิตถินทรีย์ อินทรีย์คือหญิง ปุริสินทรีย์ อินทรีย์คือชาย ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต สุขินทรีย์ อิทรีย์คือสุข ทุกขินทรีย์ อินทรีย์คือทุกข์ โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโสมนัส โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์คือโทมนัส อุเปกขินทรีย์ อินทรีย์คืออุเบกขา สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือศัทธา วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือเพียร สตินทรีย์ อินทรีย์คือสติ สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือสมาธิ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์คือปัญญา อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อินทรีย์คือโสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ อินทรีย์คือโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตมรรค อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์คืออรหัตผล อินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๆ เช่นตา ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการเห็นรูป และยกเว้นอิตถีภาวะเสีย เหลือ ๒๐ เป็นปัจจัยและเป็นผลแห่งปัจจัยของกันและกัน

    ฌานปจฺจโย

    ฌานเป็นปัจจัย ฌานคือการเพ่งอารมณ์อย่างแน่วแน่ประกอบด้วยองค์เป็นปฐม คือ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา เป็นปัจจัยอุดหนุนนามขันธ์ ๔ และจิตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับตน อีกอย่างหนึ่ง ฌานมี ๒ คือ

    อารมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์ทางสมถภาวนา ลักขณูปนิชฌาน เพ่งลักษณะทางวิปัสสนาภาวนา คือไตรลักษณ์ ต่างเป็นปัจจัยอุดหนุนตามอำนาจของตน

    มคฺคปจฺจโย

    มรรคเป็นปัจจัย มรรคคือธรรมที่เป็นประดุจหนทาง เพราะเป็นธรรมนำให้มุ่งหน้าไปสู่สุคติ ทุคติ และนิพพาน องค์มรรค ๙ได้แก่

    ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา ทิฏฐิ องค์มรรคเหล่านี้ เว้น ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)ข้อที่ ๙ เหลือ ๘ เป็นฝ่ายกุศล องค์มรรค ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา ทิฏฐิ เป็นฝ่ายอกุศล และองค์มรรค ๘ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นปัจจัยอุดหนุนให้ไปสู่ สุคติ ทุคติ และนิพพานตามประเภท และอุดหนุนสหชาตธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนให้ ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันตน และ ให้ทำกิจ ตามหน้าที่ของตนๆ

    สมฺปยุตฺตปจฺจโย

    ธรรมที่สัมปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ประกอบพร้อมกัน ๔ ประการ คือธรรม ๒ อย่าง

    เมื่อเวลาเกิด ก็เกิดพร้อมกัน เมื่อเวลาดับ ก็ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน มีที่อาศัยอันเดียวกัน เรียกสัมปยุต ได้แก่ จิต และ เจตสิก ที่เป็นนามธรรมด้วยกัน เป็นปัจจัย และผลของปัจจัยของกันและกัน แม้จะมีหน้าที่ ต่างกันแต่ก็สัมปยุตประกอบกันได้สนิท ดังจะยกตัวอย่างนามขันธ์ ๔ เวทนาขันธ์ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ สัญญาขันธ์ ทำหน้าที่จำอารมณ์ สังขารขันธ์ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่รู้อารมณ์ แม้จะต่างหน้าที่กันแต่ก็สัมปยุตกันสนิท เหมือนอย่างเภสัชจตุมธุรส ประกอบด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย ๑ น้ำมันงา ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำตาล ๑ มีรสเข้ากันสนิทจนไม่อาจจะแยกรสออกจากกันได้

    วิปฺปยุตฺตปจฺจโย

    ธรรมที่วิปปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่สัมปยุตกันดังกล่าวในข้อก่อน เรียกวิปปยุตธรรม ได่แก่นามและรูป นามเป็นวิปปยุตธรรมของรูป รูปก็เป็นวิปปยุตตธรรมของนาม เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะของสัมปยุตธรรมครบทุกอย่าง ดังเช่น เมื่อจิตเกิด แม้จิตตชรูปจะเกิดด้วย แต่ก็ขาดลักษณะข้ออื่น ทั้งรูปและนามแม้จะเป็นวิปปยุตธรรมของกัน แต่ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนกันและกัน เพราะต่างอาศัยกันเป็นไป เหมื��างอาศัยกันเป็นไป เหมือนอย่างคน ๒ คน มิใช่ญาติกัน แต่ก็อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน อีกอย่างหนึ่ง วิปปยุตปัจจัยนี้ เปรียบเหมือนรส ๖ อย่างคือ หวาน๑ เปรี้ยว ๑ ฝาด ๑ เค็ม ๑ ขม ๑ เผ็ด ๑ รวมเป็นรสเดียวกันไม่ได้ แต่ก็อาศัยปรุงเป็นแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นปัจจัยอุดหนุนกันได้

    อตฺถิปจฺจโย

    ธรรมที่มีอยู่เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอยู่คือธรรมที่ปรากฏมีอยู่ในระหว่างอุปปาทะ (ความเกิด) ฐิติ (ความตั้งอยู่) ภังคะ (ความดับ) คือยังมีอยู่ในระหว่างนั้นยังไม่ดับไป ธรรมที่ชื่อว่ามีอยู่อย่างมีกำลังกล้า คือยังมีอยู่ในฐิติ ความตั้งอยู่ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมที่เป็นผลของตนให้เกิดขึ้น ข้อสำคัญเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ธรรมที่เป็นผลของตนให้ดำรงอยู่ เหมือนอย่างพื้นดินที่มีอยู่ อุปถัมภ์ต้นไม้ที่มีอยู่เหมือนกันให้งอกงามและตั้งอยู่ เช่นนามขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน มหาภูตรูป ๔ เป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน นามรูปในขณะปฏิสนธิเป็นอัตถิปัจจัยกันและกัน

    นตฺถิปจฺจโย

    ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีคือธรรมที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย อุดหนุนธรรมเช่นเดียวกันให้เกิดขึ้น สืบต่อไปในลำดับ ดังที่กล่าวแล้วในอนันตรปัจจัย เช่นจิต เจตสิกดวงที่ ๑ ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ดวงที่ ๒ เกิดสืบต่อไปในลำดับ ถ้าดวงที่ ๑ ไม่ดับ ดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้นมิได้ เหมือนอย่างแสงสว่างกับความมืด เมื่อแสงสว่างดับไป ความมืดจึงปรากฎขึ้นได้

    วิคตปจฺจโย

    ธรรมที่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ปราศจากไป คือธรรมที่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุดหนุนธรรมเช่นเดียงกันให้เกิดขึ้นในลำดับเช่นเดียวกับนัตถิปัจจัย

    อวิคตปจฺจโย

    ธรรมที่ไม่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่ปราศจากไป คือธรรมที่ยังไม่ถึงความดับ เป็นปัจจัยอุปการะที่ยังมีอยู่ด้วยกัน เช่นเดียวกับ อัตถิปัจจัย




    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:31 PM
     
  3. lover said:
    นิทานธรรมบท




    เศรษฐีเท้าแมว




    ในที่นี้จะนำเอานิทานธรรมบทมาเล่าเป็นเรื่องประกอบในเรื่องทานและเป็นการคลายเครียดไปในตัว ชื่อหัวข้อเรื่องเศรษฐีเท้าแมว ท่านผู้อ่านหลายคนคงจะคิดว่าท่านเศรษฐีมีเท้าอย่างแมว ความจริงแล้วหาได้ดป็นเช่นนั้นไม่ แต่ที่เรียกเศรษฐีเท้าแมวนั้น ขอเชิญท่านผู้อ่านหาคำตอบเองในธรรมนิทานเรื่องนี้ เรื่องนี้ปรากฏในธรรมบทภาค ๕ เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่


    เรื่องมีว่าอุบาสกผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วักเชตวัน ในกรุงสาวัตถี ได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคลบางคลให้ทานด้วยตนเองแต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อ

    เขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่โภคสมบัติ แต่ไม่ได้รับบริวารสมบัติ ในที่ที่เขาไปเกิด

    ส่วนคนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ทาน เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้รับโภคสมบัติ ในที่ที่เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองให้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไปเขาก็ได้รับทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่เขาไปเกิด"


    อุบาสกผู้นี้เป็นบัณฑิต ได้ฟังดังนั้นก็คิดจะทำบุญให้ได้รับผลครบทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ เขาจึงเข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์

    สาวกทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น

    พระพุทธเจ้าก็รับคำอาราธนา อุบาสกนั้นจึงได้เที่ยวป่าวร้องไปตามชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ชักชวนให้บริจาคข้าวสารและของต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารถวาย

    ก็ได้รับสิ่งของต่างๆมากบ้างน้อยบ้างตามฐานะของผู้บริจาค อุบาสกคนนั้เที่ยวป่าวร้องไปอย่างนี้ จนมาถึงร้านค้าของท่านเศรษฐีผู้หนึ่ง ท่านเศรษฐีเกิดไม่ชอบใจที่เห็น

    อุบาสกนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนั้น ท่านคิดว่า "อุบาสกคนนี้ เมื่อไม่สามารถถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งวัดเชตวันได้ ก็ควรจะถวายตามกำลังของ

    ตน ไม่ควรจะเที่ยวชักชวนคนอื่นเขาไปทั่วอย่างนี้"

    พระเหตุที่คิดอย่างนี้ แม้ท่านทำก็ทำด้วยความไม่เต็มใจ ได้หยิบของให้เพียงอย่างละนิดละหน่อย คือใช้นิ้ว ๓ นิ้วหยิบ ของนั้นจะหยิบได้สักเท่าไร เวลาให้น้ำผึ้งน้ำ

    อ้อยก็ให้เพียงไม่กี่หยด เพราะเหตุที่ท่านมือเบามาก หยิบของให้ทานเพียงนิดหน่อย คนทั้งหลายก็เลยตั้งชื่อว่า "เศรษฐีเท้าแมว" เป็นการเปรยบเทียบความเบาของมือ

    ท่านกับความเบาของเท้าแมว

    อุบาสกนั้นเป็นคนฉลาด เมื่อรับของจากท่านเศรษฐีจึงได้ยกไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ตนรับมาจากผู้อื่น เศรษฐีก็คิดว่า "อุบาสกนี้คงจะเอาเราไปเที่ยวประจาน

    เป็นแน่" เมื่อคิดอย่งนี้ จึงใช้ให้คนรับใช้ติดตามไปดู คนรบใช้ได้เห็นว่าอุบาสกนั้นนำเอาของของท่านเศรษฐีไปแบ่งใส่ลงในหม้อที่หุงต้มอาหารนั้นหม้อละนิด อย่าง

    ข้าวสารก็ใส่หม้อละเมล็ดสองเมล็ดเพื่อให้ทั่วถึง พร้อมกับกล่าวให้พรท่านเศรษฐีด้วยว่า "ขอให้ทานของท่านเศรษฐีจงมีผลมาก" คนรับใช้ก็นำความมาบอกนาย ท่าน

    เศรษฐีก็คิดอีกว่า " วันนี้เขายังไม่ประจานเรา พรุ่งนี้เวลานำอาหารไปถวายพระที่วัดเชตวัน เขาคงประจานเรา ถ้าเขาประจานเรา เราจะฆ่าเสีย" ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นท่านจึง

    เหน็บกริชซ่อนไว้ แล้วไปที่วัดเชตวัน ในเวลาที่อุบาสกและชาวเมืองช่วยกันอังคาสเลียงดูพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อช่วยกันถวายภัตตาหารแล้ว อุบาสกผู้นั้นได้

    กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เที่ยวชักชวนมหาชนให้ถวายทานนี้ ขอให้คนทั้งหลายผู้ที่ข้าพระองค์ชักชวนแล้ว บริจาคแล้ว ทั้งผู้บริจาค

    ของมากทั้งผู้บริจาคของน้อย จงได้รับผลมากทุกคนเถิด" ท่านเศรษฐีได้ยินแล้วก็ไม่สบายใจกลัวอุบาสกจะประกาศว่า ท่านเศรษฐีให้ของเพียงหยิบมือเดียว คิดอีกว่า

    "ถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา เราจะแทงให้ตาย" แต่อุบาสกนั้นกลับกราบทูลว่า "แม้ผู้ที่บริจาคของเพียงหยิบมือเดียว ทานของผู้นั้นก็จงมีผลมากเถิด" ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้น

    ก็ได้สติ คิดเสียใจว่า "เราได้คิดร้ายล่วงเกินอุบาสกนั้นอยู่ตลอดเวลา แต่อุบาสกนี้เป้นคนดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ขอโทษเขา เราก็เห็นจะได้รับกรรมหนัก" คิดดังนี้แล้วจึง

    เข้าไปหมอบแทบเท้าของอุบาสกนั้น เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมทั้งขอโทษ อุบาสกยกโทษให้ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นกิริยาอาการของท่านเศรษฐีอย่างนั้นก็ตรัสถาม

    ขึ้น เมื่อทราบแล้วจึงตรัสว่า "ขึ้นชื่อว่าบุญแล้ว ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเช่นนี้ ไม่ควรดูหมิ่น

    ว่า บุญนี้เล็กน้อย คนที่ฉลาดทำบุญอยู่ ย่อมเต็มด้วยบุญ เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไว้ ย่อมเต็มด้วยน้ำฉันนั้น"



    ในตอนท้ายพระพุทธองค์ตรัสพระคาถาว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต้มด้วยหยดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ที

    ละน้อยๆ ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉันนั้น"

    ท่านเศรษฐีได้ฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระธรรมเทศนาของพรผู้มีพระภาคเจ้านั้นประกอบด้วยประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราหมั่นฟังอยู่เสมอ

    และฟังด้วยความตั้งใจ ก็ย่อมได้ปัญญาดังเศรษฐีนี้เป็นตัวอย่าง

    จากเรื่องของท่านเศรษฐีผู้นี้ ทำให้ทราบว่าการให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับโภคสมบัติ การชักชวนผู้อื่นให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับบริวารสมบัติในที่ที่ตนไปเกิด

    เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญหรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ก็อย่าได้ขัดขวางห้ามปรามเขา เพราะการทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลถึง ๓

    ฝ่าย คือตนเองเกิดอกุศลจิตก่อน ๑ ทำลายลาภของผู้รับ ๑ ทำลายบุญของผู้ให้ ๑

    และจากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นชัดว่า สังฆทานนั้นมีผลมาก และมีอานาสงส์มาก การที่กิเลสคือความตระหนี่ได้ถูกขัดเกลาออกไป ทำให้จิตใจที่หนาอยู่ด้วยกิเลสเบาบาง

    ลงไปได้ชั่วขณะ นี่แหละ คืออานิสงส์ที่แท้จริงของบุญ ยิ่งกิเลสถูกขัดเกลาไปได้มากเท่าไร ทานของผู้นั้นก้มีอานสงส์มากเท่านั้น




    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:31 PM
     
  4. lover said:
    พระกีสาโคตมีเถรี


    พระกีสาโคตมีเถรี
    เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระกีสาโคตมีเถรี ถือกำเนิดในสกุลคนเข็ญใจในกรุงสาวัตถี บิดามารดาตั้งชื่อให้นางว่า
    “โคตมี” แต่เพราะความที่นางเป็นผู้มีรูปร่างผอมบอบบาง คนทั่งไปจึงพากันเรียกนางว่า
    “กีสาโคตมี”

    เงินทองของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน
    ในกรุงสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่งมีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึง ๔๐ โกฏิ แต่ต่อมา
    ทรัพย์เหล่านั้นกลายสภาพเป็นถ่านไปทั้งหมด เศรษฐีจึงเกิดความเสียดายเศร้าโศกเสียใจ กินไม่
    ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมไปจากเดิม มีสหายคนหนึ่งมาเยี่ยมเยียนได้ทราบสาเหตุความ
    ทุกข์ของเศรษฐีแล้ว จึงแนะนำอุบายที่จะให้ถ่านเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินเป็นทองดังเดิมว่า:-
    “แน่ะสหาย ท่านจงนำถ่านทั้งหมดนี้ออกไปวางที่ริมถนนในตลาด ทำทีประหนึ่งว่านำ
    สินค้าออกมาขาย ถ้ามีคนผ่านไปผ่านมาพูดว่า “คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
    เป็นต้น แต่ท่านกลับเงินเอาทองมานั่งขาย” ถ้าคนที่พูดนั้นเป็นหญิงสาว ท่านก็จงสู่ขอนางมา
    เป็นสะใภ้ แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่เธอ ท่านก็จงอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับเธอนั้น แต่ถ้าคนที่
    พูดเป็นชายหนุ่ม ท่านก็จงยกธิดาของท่าน ให้แก่เขาแล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขาโดยทำนอง
    เดียวกัน

    ถ่านกลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม
    เศรษฐีได้ฟังสหายแนะนำแล้วเห็นดีด้วย จึงทำตามสหายแนะนำทุกอย่าง ประชาชนที่
    ผ่านไปผ่านมาต่างก็พูดกันว่า ““คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ท่าน
    กลับมานั่งขายถ่าน”
    เศรษฐีตอบว่า “ก็เรามีแต่ถ่านอย่างเดียว สิ่งอื่น ๆ ของเราไม่มี”
    วันนั้น นางกีสาโคตมีเดินเข้าไปธุระในตลาดเห็นเศรษฐีแล้วนึกประหลายใจจึงถามว่า
    “คุณพ่อ คนอื่น ๆ คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อกลับ
    เงินเอาทองเล่า”
    “เงินทองที่ไหนกัน แม่หนู” เศรษฐีกล่าว
    “คุณพ่อ ก็ที่กองอยู่นี่ไง” พูดแล้วนางก็กอบเต็มมือให้เศรษฐีดู ทันใดนัน เศรษฐีก็เห็น
    ถ่านในกำมือของนางกลายเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ
    จากนั้น เศรษฐีได้สอบถามถึงสถานที่อยู่และตระกูลของนางแล้ว ได้สู่ขอนางมาทำพิธี
    อาวาหมงคลกับบุตรชายของตนแล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏินั้นให้แก่นาง ทรัพย์เหล่านี้ก็กลับเป็น
    เงินเป็นทองดังเดิม

    อุ้มศพลูกหาหมอรักษา
    นางได้อยู่ร่วมกับสามีจนมีบุตรหนึ่งคนในขณะที่บุตรของนางอยู่ในวัยพอเดินได้เท่านั้น
    ก็ถึงแก่ความตาย นางห้ามมิให้คนนำบุตรของนางไปเผาหรือไปทิ้งในป่าช้า เพราะนางไม่เคยเห็น
    คนตาย จึงอุ้มร่างบุตรชายที่ตายแล้วนั้นเที่ยวเดินถามตามบ้านเรือนต่าง ๆ ว่ามียารักษาบุตรของ
    นางบ้างหรือไม่ คนทั้งหลายพากันคิดว่า “นางคงจะเป็นบ้า จึงเที่ยวหายารักษาคนตายให้ฟื้น”
    อุบาสกผู้มีปัญญาคนหนึ่งเห็นกิริยาของนางแล้วก็คิดว่า “นางคงจะมีบุตรคนแรกจึงรัก
    บุตรมาก และคงจะไม่เคยเห็นคนตาย จึงไม่รู้ว่าความตายเป็นอย่างไร เราควรจะแนะนำทางให้
    นางดีกว่า” จึงกล่าวกับนางว่า:-
    “แม่หนู ฉันเองไม่รู้จักยารักษาลูกของเธอหรอก แต่พระสมณโคดม ขณะนี้ประทับอยู่ที่
    พระวิหารเชตวัน พระองค์ท่านรู้จักยาที่รักษาลูกของเธอได้”
    นางรู้สึกดีใจที่ทราบว่ามีคนสามารถรักษาลูกน้องของนางมให้หายได้ จึงอุ้มลูกน้อยรีบ
    มุ่งหน้าตรงไปยังพระวิหารเชตวัน เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วทูลถามหายาที่จะ
    มารักษาลูกของนางให้หายได้
    พระพุทธองค์รับสั่งให้นางไปหาเมล็ดพันธุผักกาดหยิบมือหนึ่ง มาเป็นเครื่อปรุงยา แต่
    มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ผักกาด ที่ได้จากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมก่อนเท่านั้นจึงสามารถใช้
    เป็นเครื่องปรุงยาได้

    พระศาสดาบอกยาให้
    ในดวงจิตของนางคิดว่า ของสิ่งนี้หาไม่ยาก นางอุ้มร่างลูกน้อยเข้าไปในหมู่บ้าน ออก
    ปากขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งแต่บ้านหลังแรกเรื่อยไป ปรากฏว่าทุกบ้านมีเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งนั้น
    แต่พอถามว่าที่บ้านนี้เคยมีคนตายหรือไม่ เจ้าของบ้านต่างก็ตอบเหมือนกันอีกว่า “ที่บ้านนี้ คนที่
    ยังเหลือยู่นี้น้อยว่าคนที่ตายไปแล้ว” เมื่อทุกบ้านต่างก็ตอบนอย่างนี้นางจึงเข้าใจว่า “ความตาย
    นั้นเป็นอย่างไร และคนที่ตาย ก็มิใช่ว่าจะตายเฉพาะลูกของเธอเท่านั้น ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย
    เหมือนกันหมด” นางจึงวางร่างลูกน้อยไว้ในป่าแล้วกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า “ไม่
    สามารถจะหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านเรือนที่ไม่เคยมีคนตายได้”
    พระพุทธองค์ได้สดับคำกราบทูลของนางแล้วตรัสว่า:-
    “โคตมี เธอเข้าใจว่าลูกของเธอเท่านั้นหรือที่ตาย อันความตายนั้นเป็นของธรรมดาที่มีคู่
    กับสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก เพราะว่ามัจจุราชย่อมฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยม
    ไปด้วยกิเลสตัณหา ให้ลงไปในมหาสมุทรคือ อบายภูมิ อันเป็นเสมือนว่าห้องน้ำใหญ่ ฉะนั้น”
    นางได้ฟังพระดำรัสของพระบรมศาสดาจบลงก็ได้บรรลุอริยผลดำรงอยู่ในพระโสดาบัน
    แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดารับสั่งให้ไปบรรพชาในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ นาง
    บวชแล้วได้นามว่า “กีสาโคตมีเถรี”
    วันหนึ่งพระเถรีได้ไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เห็นแสงประทีปที่จุดอยู่ลุกโพลงขึ้น
    แล้วหรี่ลงสลับกันไป นางจึงถือเอาดวงประทีปนั้นเป็นอารมณ์ กรรมฐานว่า “สัตว์โลกก็เหมือน
    กับแสนประทีปนี้ มีเกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ถึงพระนิพพานไม่เป็นอย่างนั้น”
    ขณะนั้น พระผู้มีประภาคประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎิ ทรงทราบด้วยพระญาณว่านาง
    กำลังยึดเอาเปลวดวงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐานอยู่นั้น จึงทรงแผ่พระรัศมีไปปรากฏประหนึ่ง
    ว่าพระองค์ประทับนั่งตรงหน้าของนางแล้วตรัสว่า:-
    “อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนเปลวดวงประทีปนี้
    แต่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะเดียวของผู้เห็นพระ
    นิพพาน ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานนั้น”
    เมื่อสิ้นสุดพระพุทธดำรัส นางก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ดำรงตนเป็นพระเถรีผู้เคร่งครัด
    ในการใช้สอยบริหาร ยินดีเฉพาะผ้าไตรจีวรที่มีสีปอน ๆ และเศร้าหมองเที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง
    ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงได้ประทานแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
    ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:32 PM
     
  5. lover said:
    เรื่องพระเทวทัต


    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัต ได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้


    ครั้งหนึ่งพระเทวทัตพำนักอยู่กับพระศาสดาที่กรุงโกสัมพี ขณะที่พำนักอยู่ ณ ที่นั้นพระเทวทัตมีความตระหนักว่าพระศาสดาทรงได้รับความเคารพ ความนับถือและลาภจากประชาชนมาก จึงมีความริษยาพระศาสดาและมีความปรารถนาอยากเป็นประมุขสงฆ์ วันหนึ่งขณะที่พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ที่วัดพระเวฬุวันนครราชคฤห์ ก็ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลว่าพระองค์ทรงชราภาพแล้วควรจะได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบคณะสงฆ์ให้แก่พระเทวทัตเสีย พระศาสดาทรงปฏิเสธข้อเสนอของพระเทวทัตโดยตรัสว่าพระเทวทัตเป็น “บุคคลกลืนกินน้ำลายของผู้อื่น” ต่อมาพระศาสดาได้ทรงขอให้พระสงฆ์ดำเนินการ “ประกาศนียกรรม” (ทำนองลอยแพไม่คบหาสมาคมด้วย) ต่อพระเทวทัต
    พระ เทวทัตมีความเดือดร้อนและประกาศว่าจะทำการแก้เผ็ดพระศาสดา ท่านได้พยายามสังหารพระศาสดาถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกไปว่าจ้างนายขมังธนูให้มาลอบยิง ครั้งที่สองขึ้นไปกลิ้งหินลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏเพื่อจะให้ทับพระศาสดา และครั้งที่สามปล่อยช้างนาฬาคิรีให้เข้าทำร้าย ทว่านายขมังธนูไม่สามารถทำร้ายพระศาสดาได้และได้เดินทางกลับไปหลังจากที่ได้ ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาจนได้บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว หินที่กลิ้งลงมาจากเขาคิชฌกูฏไม่สามารถทำร้ายพระศาสดาเพียงแต่มีสะเก็ดหิน แตกมากระทบแค่ทำให้พระโลหิตห้อเท่านั้น และเมื่อช้างนาฬาคีรีวิ่งมาจะทำร้าย พระศาสดาได้ทรงแผ่เมตตาให้จนช้างนั้น เชื่อง แต่พระเทวทัตก็ยังไม่ละความพยายาม ได้พยายามหาเล่ห์เพทุบายอย่างอื่น โดยได้พยายามทำลายสงฆ์ ด้วยการแยกพระบวชใหม่จำนวนหนึ่งไปอยู่ที่คยาสีสะ แต่อย่างไรก็ตามในที่สุดพระเหล่านี้ได้ถูกพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ พากลับมาได้สำเร็จ
    ต่อมาพระเทวทัตอาพาธหนัก เมื่อท่านอาพาธอยู่ได้ 9 เดือน ก็ได้ขอให้สานุศิษย์พาท่านมาเพื่อจะเฝ้าพระศาสดา พวกศิษย์จึงหามท่านมาขึ้นแคร่ที่วัดพระเชตวัน เมื่อพระศาสดาได้สดับว่าพระเทวทัตถูกหามมาเฝ้า ก็ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า พระเทวทัตไม่มีโอกาสที่จะได้เฝ้าพระองค์
    เมื่อพระเทวทัตและคณะเดิน ทางมาถึงที่สระในบริเวณพระเชตวัน พวกศิษย์ที่ทำหน้าหามได้วางแคร่ลงที่ริมสระและได้ลงไปอาบน้ำกันอยู่นั้น พระเทวทัตได้ลุกขึ้นจากแคร่แล้ววางเท้าลงที่พื้นดิน พลันเท้าทั้งสองข้างของท่านก็ถูกธรณีสูบจมหายลงไปในแผ่นดิน ที่พระเทวทัตไม่มีโอกาสได้เฝ้าพระศาสดาก็เพราะกรรมชั่วที่ท่านได้กระทำต่อ พระศาสดา หลังจากถูกธรณีสูบแล้วพระเทวทัตได้ไปเกิดในนรกขุมอเวจี อันเป็นนรกที่ถูกทรมานอย่างโหดร้ายรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
    จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาว่า


    อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ
    ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
    ปาปํ เม กตนฺติ ตปฺปติ
    ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโตฯ

    คนทำบาปย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
    คือย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
    ละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
    เขาเดือดร้อนในขณะมีชีวิตว่าเราทำบาปไว้แล้ว
    เมื่อไปสู่ทุคคติก็ย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้นอีก.


    เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมากบรรลุพระโสดาบันเป็นต้น พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่มหาชน.



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-15-2014 เมื่อ 08:32 PM
     
  6. lover said:
    พิธีสวดมาติกา


    การสวดมาติกา คือ การสวดบทมาติกาของอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์หรือที่เรียกว่า "สัตตัปปกรณาภิธรรม" ซึ่งมีการบังสุกุลเป็นที่สุด เป็นประเพณีนิยมจัดให้สงฆ์สวดในงานทำบุญหน้าศพย่างหนึ่ง เรียกโดยโวหารทางราชการในงานหลวงว่า "สดัปปกรณ์" แต่ราษฎรสามัญทั่วไปเรียกว่า "สวดมาติกา" โดยจัดเป็นพิธีต่อ จากสวดพระพุทธมนต์เย็นบ้าง ถ้ามีเทศน์ต่อจากสวดพระพุทธมนต์เย็น ก็จัดพิธีต่อจากสวดมาติกาต่อจากพิธีเทศน์และจัดให้มีต่อจากพิธีเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้นบ้างจัดให้มีก่อนฌาปนกิจศพบ้าง นับเป็นพิธีทำบุญแทรกในระหว่างงานทำบุญศพ ระยะใดระยะหนึ่งได้ทั้งนั้น ตามแต่ศรัทธาของเจ้าภาพจะพึงเห็นเหมาะและจัดให้มีในระยะไหน ระเบียบการจัดพิธีสวดมาติกานี้ ทั้งฝ่ายเจ้าภาพ และฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ ไม่พิสดารอะไร มีนิยมทำกันอยู่ดังนี้ต่อไปนี้

    ระเบียบพิธี

    1. ฝ่ายเจ้าภาพ เมื่อประสงค์จะให้พิธีสวดมนต์สวดมาติกาในงานบุญหน้าศพระยะใด ต้องการจำนวนพระสงฆ์เท่าไร พึงเผดียงสงฆ์ต่อเจ้าอาวาสในวัดที่ตนประสงค์ตามจำนวน โดยแจ้งกำหนดเวลาให้พระสงฆ์ทราบจำนวนพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีสวดมาติกานี้นิยมเท่าจำนวนอายุของผู้มรณะก็มี หรือในวัดที่พระสงฆ์ไม่มากนัก ก็นิยมเท่าจำนวนพระสงฆ์หมดทั้งวัด หรือน้อยกว่าที่กล่าวนี้จะกี่รูปได้

    2. เตรียมจัดที่สำหรับพระสงฆ์มาติกา ถ้ามีพิธีสวดมาติกา ต่อท้ายสวดพระพุทธมนต์ ใช้อาสนะที่จัดไว้สำหรับสวดพระพุทธมนต์ในงานนั้นเอง ไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรอีก แต่ถ้าอาสนะไม่พอกับจำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์ ก็ให้พระสงฆ์ขึ้นประกอบพิธีเป็นชุดๆ จัดชุดหนึ่งๆ พอเต็มอาสนะสงฆ์ ให้นั่งแถวเดียวหรือสองแถวสามแถวก็แล้วแต่ที่พอเพียงไร จบชุดหนึ่งแล้วชุดต่อไปนี้นั่งทำนองเดียวกัน จนครบจำนวนที่นิมนต์

    3. ฝ่ายภิกษุสงฆ์ผู้ประกอบพิธี เมื่อรับนิมนต์แล้วพึงเตรียมไปยังบริเวณพิธีตามกำหนด มีพัดไปด้วยทุกรูปเพื่อใช้ในพิธี ( แต่ในบางแห่งอาจไม่มีพัดครบทุกรูป ก็ให้หัวหน้าเพียงรูปเดียว) ได้เวลาขึ้นนั่งบนอาสนะพร้อมกันทั้งหมดหรือพร้อมกันเป็นชุดๆ ตามควรแก่อาสนะ ถ้างานหลวงใช้พัดยศ ต้องนั่งเรียง
    ตามศักดิ์พระที่เราถือ เมื่อพร้อมแล้วเจ้าภาพจุดธูปเทียนหน้าศพเป็นสัญญาณ (ถ้าไม่มีพิธีรับศีล เพรารับมาก่อนแล้ว ) พึงตั้งพัดพร้อมกันทุกรูป แล้วหัวหน้าสงฆ์นำสวดมาติกาดังนี้


    ก) นำสวด นโม...

    ข) นำสวดบท กุสุมา ธมฺมา...

    ค) นำสวด ปญฺจกฺขนฺธา... (เฉพาะงานหลวงหรืองานใหญ่เป็นพิเศษ)

    ฆ) นำสวดมนต์บท เหตุปจฺจโย...


    เมื่อจบแล้ววางพัด เพื่อให้เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล

    4. ผูกสายโยง เมื่อสงฆ์สวดบท เหตุปจฺจโย... ก่อนจบเจ้าภาพพึงลากผ้าภูษาโยงหรือสายโยงจากศพตรงหน้าพระ พอพระสวดจบก็ทอดผ้าภูษาโยงหรือสายโยงนั้นเท่าจำนวนพระสงฆ์บนอาสนะ

    5. ชักบังสุกุล พอเจ้าภาพทอดผ้าเสร็จ พระสงฆ์ทั้งนั้นพึงตั้งพัดชักบังสุกุลตามแบบที่กล่าวแล้วในหนังสือศาสนาพิธีเล่ม ๑ เสร็จแล้วเปลี่ยนมือจับพัดตามแบบสวดอนุโมทนาแล้วพึงอนุโมทนาด้วยบท

    ก) ยถา...

    ข) สพฺพีติโย...

    ค) ในงานหลวงหน้าพระที่นั่ง พระราชาคณะถวาย อดิเรก

    ฆ) อทาสิ เม...

    ง) ภวตุ สพฺพมงฺคล...

    จ) ในงานหลวงหน้าที่นั่ง พระราชาคณะถวายพระพรลา


    เจ้าภาพกรวดน้ำขณะพระสงฆ์ว่า ยถา.. พอพระสงฆ์ว่า สพฺพติโย... พึงพนมมือรับพร สำหรับงานราษฎรทั่วไป พิธีสงฆ์เว้นใช้ข้อ ค. และข้อ จ. นอกจากนั้นพึงใช้ตามลำดับ

    6. ถ้าพระสงฆ์ขึ้นสวดมาติกชุดแรกไม่หมด ยังมีจำนวนต้องขึ้นเป็นชุดที่ ๒ และที่ ๓ เป็นต้นไปอีกต่อไป ในระหว่างพระสงฆ์ชุดแรกอนุโมทนา เจ้าภาพพึงเก็บภูษาโยงหรือสายโยงเข้าที่ก่อน เพื่อให้พระสงฆ์ลงจากอาสนะและชุดใหม่ขึ้นอาสนะโดยสะดวกไม่ต้องลำบากด้วยการระวังจะข้ามภูษาโยงหรือสายโยงนั้น พระสงฆ์ชุดใหม่ขึ้นอาสนะเรียบร้อยแล้วก็ลากภูษาโยงหรือสายโยงออกลาดใหม่ และทอดผ้าทันที พระสงฆ์ชุดหลัง ๆ จะกี่ชุดก็ตามไม่ต้องสวดบทมาติกาอีก พึงชักผ้าผ้าสุกุลตามพิธีเท่านั้นแล้วออก ไม่ต้องสวดอนุโมทนาด้วย ทำดังนี้เป็นชุด ๆ จนถ้วนจำนวนพระสงฆ์ก็เป็นอันเสร็จพิธี.


    พิธีสวดแจง

    ในงานฌาปนกิจศพ มีนิยมของพุทธบริษัทอย่างหนึ่ง คือ จัดให้มีเทศน์สังคีติกถา หรือที่เรียกกันว่าสามัญว่า "เทศน์แจง" จะเทศน์ธรรมาสน์เดียว หรือเทศน์ ๓ ธรรมาสน์ โดยปุจฉาวิสัชนา ก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ และในการมีเทศน์สังคีติกถานี้ นิยมให้มีพระสงฆ์สวดแจงเป็นทำนองการกสงฆ์ในปฐมสังคายนาด้วย จำนวนพระสงฆ์สวดแจงนี้ ถ้าเต็มที่ก็นับรวมทั้งพระเทศน์ด้วยเต็ม ๕๐๐ รูป เท่าการกสงฆ์ในครั้งปฐมสังคายนา แต่ผู้มีกำลังน้อย หรือในที่ที่หาพระสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูปได้ยาก อาจลดส่วนพระสวดลงมาเหลือเพียง ๕๐ รูป หรือ ๒๕ รูป ก็มีน้อยกว่าหรือมากกว่ากำหนดดังกล่าวก็มี ถือกันว่าเป็นบุญพิธีพิเศษ ซึ่งอุปถัมภ์ให้พระสงฆ์ได้ทำสังคายนาครั้งหนึ่งแม้เป็นการสังคายนาพระธรรมวินัยจำลองมาจากปฐมสังคายนา ก็นับเป็นบุญพิเศษอยู่ ยากที่จะสามารถทำได้ทั่วถึง อีกประการหนึ่ง ก็เป็นอุปบายประชุมสงฆ์ เพื่อให้งานปลงศพนั้น ๆ คึกคักขึ้นเป็นพิเศษ นั้นเอง ที่เรียกว่า "เทศน์แจง" หรือ "สวดแจง" ในกรณีนี้ คงหมายถึงการแสดงธรรมแจกแจงวัตถุปละหัวข้อในพระไตรปิฎกออกให้
    ที่ประชุมได้ทราบ และสวดหัวข้อที่ตกลงแจกแจงละเอียดนั้นๆ เพื่อเป็นหลักท่องบ่นทรงจำกันต่อไป สำหรับพิธีเทศน์แจงคงปฏิบัติตามเรื่องในสังคีติกถา และระเบียบพิธีพระธรรมเทศนาซึ่งจะกล่าวข้าหน้าทุกประการ ส่วนพิธี สวดแจงนั้น มีระเบียบที่พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้


    ระเบียบพิธี



    1. ปกติการเทศน์แจงและสวดแจงจัดให้มีในงานฌาปนกิจก่อนหน้าเวลาฌาปณกิจในวัด หรือฌาปนสถาน ซึ่งที่นั้นมีศาลาหรือโรงทึมกว้างใหญ่พอสมควรแล้วฝ่ายเจ้าภาพร่วมกับทางวัดหรือผู้จัดการฌาปนสถานนั้น ๆ พึงจัดธรรมาสน์เทศน์และอาสนะสงฆ์ ตามจำนวนที่นิมนต์มาสวดให้เพียงพอก่อน

    2. ฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับนิมนต์ไปสวดแจง พึงไปถึงสถานที่พิธีก่อนกำหนดแล้วนั่งประจำที่ให้เรียบร้อย

    3. พอพระผู้เทศน์ขึ้นธรรมาสน์เทศน์เริ่มตั้งแต่ นโม เทศน์ต่อไปทุกรูปพึงประณมมือฟังเทศน์ด้วยความเคารพ เมื่อผู้เทศน์เผดียงให้สวด พึงสวดบทโดยลำดับ ดังนี้

    ก) สวดบทนมัสการ นโม

    ข) สวดบาลีพระวินัยปิฎก ยนฺเตน ภควตา...

    ค) สวดบาลีพระสุตตันตปิฎก เอวมฺเม สุเต...

    ฆ) สวดบาลีพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ กุสสลา ธมฺมา...


    ก่อนสวดพึงกำหนดให้รู้ว่าผู้เทศน์เผดียงให้สวดเป็นตอน ๆ เฉพาะพระวินัยก่อน หรือ เผดียงให้สวดทั้งหมด ถ้าให้สวดเป็นตอน ๆ พึงสวดตอนพระวินัยเริ่มต้นด้วย นโม และบาลีพระวินัยปิฎกตาม ข้อ ข. แล้วหยุดถึงตอนท่านเผดียงให้สวดพระสูตร จึงสวดเฉพาะตอนบาลีพระสุตตันตปิฎก ข้อ ค. เท่านั้น ครั้นท่านเผดียงให้สวดพระอภิธรรมในวาระต่อไป ก็สวดเฉพาะตอนบาลีพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์
    ข้อ ฆ. สองตอนหลังไม่ต้องตั้ง นโม อีก จบแต่ละตอนแล้วคงประณมมือฟังเทศน์ต่อไปจนจบ ไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรลุกออกก่อนเทศน์จบ


    4. เมื่อเทศน์จบแล้ว พระผู้เทศน์ซึ่งมีหน้าที่ ยถา อย่าพึ่ง ยถา รอให้พระสงฆ์ที่สวดแจงบังสุกุลก่อน (ในพิธีสวดแจงไม่ต้องมาติกาซ้ำอีกเพราะการสวดแจงเป็น การสวดบทมาติการ่วมไปด้วยแล้ว) เมื่อบังสุกุลจบหากมีไทยธรรมอื่นอีกนอกจากผ้าทอด ให้ถวายในระยะนี้ เสร็จแล้ว พระผู้เทศก์พึงตั้งพัด ยถา... อนุโมทนาบนธรรมาสน์นั้น พระสงฆ์ทุกรูปพึงรับ สพฺพีติโย...อทาสิ เม... และ ภวตุ สพฺพมงคล... พร้อมกัน พระผู้เทศก์รับไทยธรรมจากเจ้าภาพภายหลัง เป็นอันเสร็จพิธี



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-16-2014 เมื่อ 12:22 PM
     
  7. lover said:
    ยสะกุลบุตรออกบวช



    ในสมัยนั้น มีมาณพผู้หนึ่ง ชื่อว่า ยสะ เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสี บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงฆาร มีเรือน ๓ หลัง เป็นที่อยู่ประจำใน ๓ ฤดู อย่างผาสุก อิ่มอยู่ในกามสุขตามฆราวาสวิสัย ครั้งนั้น ในฤดูฝน พรรษากาลที่พระสัมพุทธเจ้า ทรงจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลแต่บ้านยสะมานพ ราตรีวันหนึ่ง ยสะมานพนอนหลับก่อน เหล่านางบำเรอและบริวารนอนหลับภายหลัง แสงชวาลาที่ตามไว้ยังสว่างอยู่ ยสะมานพตื่นขึ้นเห็นบริวารเหล่านั้นนอนหลับอยู่ ปราศจากสติสัมปชัญญะ แสดงอาการวิกลวิกาลไปต่าง ๆ บ้างกรน คราง ละเมอ เพ้อพึมพำ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีดังแต่ก่อน ปรากฏแก่ยสะมานพ เหมือนซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ยสะมานพเห็นแล้วเกิดความสลดใจ เบื่อหน่าย รำคาญ อยู่ในห้องไม่ติด ออกอุทานด้วยความสังเวชใจว่า “ ที่นี่วุ่นวาย ไม่เป็นสุข ” แล้วออกจากห้องสรวมรองเท้า เดินออกจากประตูเรือน ตรงไปทางที่จะไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ในเวลานั้น จวนใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสะมานพ เดินบ่นมาด้วยความสลดใจ ใกล้ที่จงกรมเช่นนั้น จึงรับสั่งเรียกด้วยพระมหากรุณาว่า "ยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ยสะ ที่นี่สงบ เป็นสุข ยสะ ท่านมาที่นี่เถิด" ฝ่ายยสะมานพได้ยินเสียงพระศาสดารับสั่งว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย สงบ เป็นสุข" ก็ดีใจ ถอดรองเท้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ด้วยความสบายใจ

    พระศาสดาตรัสเทศนาโปรดยสะมานพด้วย อนุปุพพิกถา แสดงถึงปฏิปทาเบื้องต้น ที่คฤหัสถ์ชนจะพึงสดับ และปฏิบัติตามได้โดยลำดับ คือ

    ๑. ทาน พรรณาความเสียสละ ให้ด้วยความยินดี เพื่อบูชาคุณของท่านผู้มีคุณ ด้วยความกตัญญู ด้วยความเคารพนับถือ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลฉันท์ญาติมิตร ด้วยความไมตรี ด้วยน้ำใจอันงาม เพื่ออนุเคราะห์ผู้น้อย ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ด้วยความกรุณาสงสาร

    ๒. ศีล พรรณาความรักษากาย วาจา เป็นสุภาพ เรียบร้อย เว้นจากการเบียดเบียนกัน เพื่อความสงบสุข ตามหลักแห่งมนุษยธรรม

    ๓. สวรรค์ พรรณาถึงอานิสงส์ของผู้บำเพ็ญทาน รักษาศีล จะพึงได้พึงถึงความสุข อย่างเทพเจ้าในสรวงสวรรค์ ยิ่งกว่าความสุขของมนุษย์

    ๔. กามาทีนพ พรรณณาถึงโทษของกาม ของผู้บริโภคกาม ทั้งในมนุษย์ทั้งในสวรรค์ เป็นช่องทางแห่งทุกข์โทษ เพราะวุ่นวาย ไม่สงบ เดือดร้อน ไม่รู้จักสิ้นสุด น่าระอา น่าเบื่อหน่าย

    ๕. เนกขัมมานิสงส์ พรรณาถึงอานิสงส์ของการหลีกออกจากกาม เหมือนคนออกจากเรือนไฟที่กำลังติดอยู่ ไม่เร่าร้อน สงบ เย็นใจ เป็นสุข ไม่มีภัยไม่มีเวรทุกประการ

    ฟอกจิตของยสะมานพ ให้ห่างไกลจากความยินดีในกามได้ธรรมจักษุ เหมือนผ้าที่ซักฟอกให้หมดมลทิน ควรจะรับน้ำย้อมได้แล้ว พระศาสดาจึงทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ , ทุกข์สมุทัย , เหตุให้ทุกข์เกิด, นิโรธ ความดับทุกข์ , และมรรคได้แก่ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ โปรดยสะมานพให้ได้เห็นธรรมพิเศษ ณ ที่นั่งนั้น

    ฝ่ายมารดาของยสะมานพ ทราบว่าลูกชายหาย มีความเศร้าโศก บอกแก่เศรษฐีผู้เป็นสามี ท่านเศรษฐีตกใจให้คนออกติดตามตลอดทางทุกสาย แม้ตนเองก็ร้อนใจ อยู่ไม่ติด ก็ออกติดตามด้วย เผอิญเดินทางผ่านมาใกล้ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เห็นรองเท้าของลูกก็จำได้ ดีใจ ตามเข้าไปหาจนถึงที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่

    พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ โปรดท่านเศรษฐี ให้เศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ท่านเศรษฐีได้เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยคนแรก ก่อนกว่าชนทั้งปวงในพระศาสนานี้

    ขณะที่พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ โปรดท่านเศรษฐี ยสมานพนั่งอยู่ในที่นั้น ได้ฟังเทศนาทั้งสองเรื่องนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งในที่นั่งนั้นเอง พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จอริยคุณเบื้องสูง เป็นพระอรหันต์ ณ ที่นั้น นับว่ายสะมานพ เป็น พระอรหันต์องค์แรกที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์ คือ ยังมิทันได้บวช ก็บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ซึ่งเป็นคุณสูงสุดในพระศาสนานี้

    ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดา ไม่ทราบว่า ท่านยสะสิ้นอาสวะแล้ว จึงกล่าวแก่ยสะว่า "พ่อยสะ มารดาของเจ้า ไม่เห็นเจ้า มีความเศร้าโศกพิไรรำพันยิ่งนัก เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด"

    ท่านยสะแลดูพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงตรัสบอกแก่เศรษฐีให้ทราบว่า "บัดนี้ ยสะ ได้บรรลุพระอรหัต เป็นพระอรหันต์แล้ว มิใช่ผู้ที่จะกลับคืนไปครองฆราวาสอีก"

    ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า "เป็นลาภอันประเสริฐของยสะแล้ว ขอให้ยสะได้รุ่งเรืองอยู่ในอนาคาริยวิสัยเถิด" แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดากับพระยสะให้ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนในเช้าวันนั้น ครั้นทราบว่า พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาด้วยอาการดุษณีภาพแล้ว ก็ถวายบังคมลากลับไปสู่เรือน แจ้งข่าวแก่ภรรยา พร้อมกับสั่งให้จัดแจงขาทนียะโภชนียาหารอันประณีต เพื่อถวายพระบรมศาสดา

    เมื่อท่านเศรษฐีกลับแล้ว ยสะมานพได้กราบทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุ พระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นพิเศษ ด้วยยสะมานพได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์แล้ว เพียงแต่ทรงรับให้เข้าอยู่ในภาวะของภิกษุ ในพระธรรมวินัยได้เท่านั้น ดังนั้น จึงตรัสพระวาจาแต่สั้น ๆ ว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด" ตัดคำว่า "เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ" ข้างท้ายออกเสีย ด้วยพระยสะถึงที่สุดทุกข์แล้ว

    ในเวลาเช้าวันนั้น พระบรมศาสดาก็มีพระยสะ เป็นพระตามเสด็จ ๑ รูป เสด็จไปยังเรือนท่านเศรษฐีตามคำอาราธนา ประทับนั่งยังอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวายเป็นอันดี มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาทรงแสดงอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้งสองนั้นได้ธรรมจักษุ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาของถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้เป็นอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา ก่อนกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในโลกนี้

    ครั้นได้เวลาภัตตกิจ มารดาบิดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ได้จัดการอังคาสด้วยชัชชโภชนาหารอันประณีตด้วยมือของตนเอง เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว พระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนา ให้อุบาสกอุบาสิกาทั้ง ๓ นั้น อาจหาญ ร่าเริงในธรรม เป็นอันดีแล้ว เสด็จกลับประทับยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ครั้งนั้น มีเศรษฐีบุตรชาวเมืองพาราณสี ๔ คน คือ วิมละ ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ ซึ่งเป็นสหายที่รักใคร่ของพระยสะ ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระยสะออกบวช เกิดความสนใจใคร่จะรู้ธรรมที่พระยสะมุ่งหมายประพฤติพรต ดังนั้น สหายทั้ง ๔ คน จึงพร้อมกันไปพบพระยสะถึงที่อยู่ พระยสะได้พาสหายทั้ง ๔ คนนั้นไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลให้ทรงสั่งสอน พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเศรษฐีบุตรทั้ง ๔ นั้น ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ ทั้งทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตผลในกาลต่อมา ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ในโลกเป็น ๑๑ องค์ด้วยกัน ทั้งพระบรมศาสดา

    ต่อมามีสหายของพระยสะ ซึ่งเป็นชาวชนบท ๕๐ คน ได้ทราบข่าวพระยสะออกบวช มีความคิดเช่นเดียวกับสหายของพระยสะทั้ง ๔ นั้น จึงไปหาพระยสะที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้สดับธรรมมีความเลื่อมใส ได้อุปสมบท และได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมดโดยนัยก่อน จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระศาสดาด้วยเป็น ๖๑ องค์



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-16-2014 เมื่อ 06:54 PM
     
  8. lover said:
    อภิสังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)

    1.ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร)

    2.อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่วได้แก่อกุศลเจตนาทั้งหลาย)

    3.อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน)

    สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง)

    1.กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก)

    2.วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร)

    3.จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา)

    สังขาร 3 ในหมวดนี้ มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัตินี้ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ

    สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ, สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม)

    1.กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย)

    2.วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา)

    3.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ)


    สังขาร 3 ในหมวดนี้ ได้ในความหมายของคำว่า สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-16-2014 เมื่อ 06:59 PM
     
  9. lover said:
    คำว่า อนุปุพพิกถา แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับตั้งแต่เบื้องต้นขึ้นไป มี ๕ คือ

    ๑. ทานกถา ถ้อยคำที่พรรณานาทาน
    ๒. สีลกถา ถ้อยคำที่พรรณนาศีล
    ๓. สัคคกถา ถ้อยคำที่พรรณนาสวรรค์
    ๔. กามาทีนวกถา ถ้อยคำที่พรรณนาอาทีนพคือโทษของกาม
    ๕. เนมขัมมานิสังสกถา ถ้อยคำที่พรรณนาอานิสงส์ของเนกขัมมะ คือ การออกจากกาม.

    ถ้อยคำที่พรรณนาทานนั้น ทาน แปลว่า ให้ เป็นชื่อของวัตถุแปลว่าวัตถุที่ให้ เป็นชื่อของเจตนาแปลว่าเจตนาเป็นเหตุให้ ทางพระพุทธศาสนาแสดงทานด้วยมุ่งให้บุคคลทำการบริจาค เป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ หรือ บูชา เป็นการเผื่อแผ่ความสุขให้แก่ผู้อื่นและด้วยมุ่งกำจัดโลภะคือความโลภ มัจฉริยะคือความตระหนี่ในจิตใจของตนด้วย แต่ว่าทานในพระพุทธศาสนาที่จะมีผลมากนั้นต้องประกอบด้วยวัตถุสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ คือสิ่งที่ให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้รับตามสมควร ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีโทษ เจตนาสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยเจตนา คือมีเจตนาดี ตั้งแต่เมื่อก่อนให้ ในขณะที่ให้ และในภายหลังที่ให้แล้ว กับปฏิคคาหกสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยปฏิคาหกคือผู้รับ หมายถึงว่าผู้รับก็ต้องเป็นผู้สมควร เช่น เป็นผู้ที่ควรอนุเคราะห์ เป็นผู้ที่ควรสงเคราะห์ เป็นผู้ที่ควรบูชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ทานที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญจึงต้องเป็นทานที่เรียกว่า มีการเลือกให้ ไม่ใช่ให้โดยไม่เลือก คือต้อง เลือกวัตถุ เลือกเจตนา เลือกบุคคลผู้รับ กับต้องดูให้พอเหมาะสม ไม่ทำตนเองให้ต้องลำบากเพราะการให้ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทานกถา พรรณนาทานนี้เป็นข้อที่ ๑.

    ต่อจากนั้นก็ทรงแสดง ศีล ตามศัพท์แปลว่า ปกติ หมายถึง ความปรกติทางกาย ปรกติวาจา ปรกติใจ ไม่ถูกกิเลสดึงไปให้ประพฤติทุจริตต่าง ๆ ฉะนั้น จึงต้องมี วิรัติเจตนา ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่วนั้น ๆ จึงจะเป็นศีล ศีลในพระพุทธศาสนานั้นอย่างต่ำก็คือ ศีล ๕ ไม่แก่ เจตนางดเว้นจากภัยหรือเวร ๕ ประการ ฉะนั้น ศีลจึงเท่ากับเป็นความไม่มีเวร ไม่มีภัย เมื่อรักษาศีล ก็เท่ากับว่า ทำอภัยทาน คือให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย และตัวผู้มีศีลเองก็เป็นผู้ไม่ก่อภัย ก่อเวรขึ้นแก่ตัวเองด้วย พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงศีลนี้ข้อที่ ๒.

    ต่อจากนั้น ก็ทรงแสดง สวรรค์ คำว่า สวรรค์ ก็ออกมาจากศัพท์บาลีว่า สคฺค แปลว่า ที่เป็นที่ข้องเป็นที่ติด ก็ได้ ที่เป็นที่มีอารมณ์อันเลิศ ก็ได้ ตามที่เข้าใจกัน สวรรค์เป็นโลกอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งบุคคลผู้ทำความดีจะ
    พึงเข้าถึงในเวลาที่สิ้นชีวิตไปจากโลกนี้แล้ว และในคัมภีร์ก็แสดงสวรรค์ไว้มาก เช่น สวรรค์กามาพจร ที่แปลว่า ชั้นที่ยังหยั่งลงในกาม ๖ ชั้น แต่สวรรค์ดั่งกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่มีแสดงไว้ในตำราเก่าก่อนพระพุทธศาสนา และมาถึงพระพุทธศาสนาก็ยังมีติดมาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา แต่ก็ติดมาไม่หมด คือติดมาบางส่วน.

    อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสวรรค์ในปัจจุบัน คือ ได้ตรัสไว้ในที่แห่งหนึ่ง มีความว่า สวรรค์ชั้น ผัสสาตนะ ๖ ชั้น อันเราเห็นแล้ว คือ สวรรค์เกิดขึ้นทางอายตนะ ที่ได้เกิดผัสสะ ได้แก่ – ในที่ใด มีรูปที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่จะพึงเห็นได้ด้วยตา ที่นั้นเป็นสวรรค์ชั้น ผัสสายตนะชั้นรูป

    ในที่ใด มีเสียงที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่จะพึงได้ยินด้วยหู ที่นั้นเป็นสวรรค์ชั้น ผัสสายตนะชั้นเสียง
    ในที่ใด มีกลิ่นที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่จะพึงสูดได้ด้วยจมูก ที่นั้นเป็นสวรรค์ชั้น ผัสสายตนะชั้นฆานะ
    ในที่ใด มีรสที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่จะพึงลิ้มได้ด้วยลิ้น ที่นั้นเป็นสวรรค์ชั้น ผัสสายตนะชั้นชิวหา
    ในที่ใด มีโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้อง ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่จะพึงกรทบถูกได้ด้วยกาย ที่นั้นเป็นสวรรค์ชั้น ผัสสายตนะชั้นกาย
    ในที่ใด มีธรรมคือเรื่องราวต่าง ๆ มีเรื่องรูป เรื่องเสียงเป็นต้น ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่จะพึงรู้ได้ด้วยใจ ที่นั้นเป็นสวรรค์ชั้น ผัสสายตนะชั้นธรรมะ คือชั้นเรื่องราว.
    ตามพระพุทธภาษิตนี้ เป็นอันทรงแสดงสวรรค์ ชี้ลงไปกลาง ๆ จะในเวลาไหน คือในบัดนี้ หรือในอนาคต ในโลกนี้ หรือในโลกหน้าก็ตามที เมื่อมีผลเป็นเช่นนี้อยู่ในที่ใด ในที่นั้นก็ชื่อว่าเป็นสวรรค์ เพราะจัดเป็นที่มีอารมณ์อันเลิศ มีอารมณ์ที่งดงาม และในขณะเดียวกันก็เป็นที่ข้องที่ติดเป็นอย่างยิ่งด้วย คือว่าเป็นที่ปรารถนาพอใจอย่างยิ่ง สวรรค์ดังกล่าวมานี้ จำต้องอาศัยทาน อาศัยศีลเห็นตุ พิจารณาดูตามกระแสปัจจุบัน ก็จะเห็นเข้าเรื่องกันได้กับสวรรค์ ๖ ชั้น ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสนั้น คือเมื่อต่างมีทานเฉลี่ยเผื่อแผ่ให้ความสุขแก่กันและกัน และมีศีลไม่เบียดเบียนกันและกัน ให้อภัยกันและกัน ก็จะต่างมีความสุขด้วยกัน เมื่อมีความสุขด้วยกันอยู่ ก็จะมีความเจริญตา เจริญหู เจริญจมูก เจริญลิ้น เจริญกาย เจริญใจ ปราศจากความทุกข์ ที่เกิดจากความคับแค้น และที่เกิดจากการเบียดเบียนกัน ก็เป็นผลที่เรียกได้ว่าสวรรค์อยู่แล้ว สวรรค์นี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นข้อที่ ๓.

    ต่อจากนั้นก็ทรงแสดง กามาทีนพ คือโทษของกาม สวรรค์ได้ชื่อว่าเป็นกาม คือเป็นที่รักใคร่ ที่ปรารถนา ที่พอใจ เป็นอย่างยิ่ง คำว่า กาม นั้น เป็นวัตถุที่เป็นภายนอกดั่งกล่าวนั้นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นชื่อของกิเลสในใจของบุคคล คือเป็นชื่อของความใคร่ ความปรารถนา ความพอใจ เมื่อมีความใคร่ ความปรารถนา ความพอใจ เป็นกิเลสกามในจิตใจ วัตถุข้างนอกจึงได้พลอยเป็นกามไปด้วย แต่ถ้าจิตใจไม่มีกิเลสกามอยู่ วัตถุข้างภายนอกก็เป็นวัตถุเฉย ๆ ไม่เป็นกามของผู้นั้น เหมือนอย่างบุคคลสามัญซึ่งมีกิเลสกามอยู่ในใจ เมื่อไปในที่ไหน ในที่นั้นก็เป็นกามของเขา เพราะว่าเป็นที่รักใคร่ ปรารถนา พอใจ แต่พระอรหันต์จะไปในที่ไหน ในที่นั้นไม่เป็นกามของท่าน เพราะว่าท่านไม่มีความรักใคร่ปรารถนาพอใจ สิ่งนั้น ๆ ก็คงเป็นวัตถุนั้น ๆ อยู่โดยธรรมชาติเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงกามจึงมีความหมายสอง หมายถึงวัตถุภายนอกก็ได้ หมายถึงกิเลสในใจก็ได้ แต่ว่าโดยปรกติเมื่อกล่าวอย่างสามัญ คำว่ากามเป็นชื่อของวัตถุภายนอก เพราะเป็นที่ใคร่ ที่ปรารถนา ที่พอใจของบุคคลทั่วไป สวรรค์ แม้จะมีอารมณ์อันเลิศสักเท่าไร แต่ก็ยังเป็นกาม คือเป็นที่น่าใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ และเป็นสิ่งที่ต้องมีความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไป มีเกิด มีดับเหมือนอย่างวัตถุทั้งปวงในโลกถึงจะเปลี่ยนแปลงไปช้า ในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น เมื่อไปมีความรักใคร่ปรารถนา พอใจมาก เมื่อสิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป ก็ยิ่งทำให้ต้องเป็นทุกข์มาก เพราะฉะนั้น อันนี้จึงชื่อว่า อาทีนพ คือ โทษของกาม ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้ให้เห็นเป็นข้อที่ ๔.

    ต่อจากนั้น ก็เป็นข้อที่ ๕ ทรงแสดง เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม การออกจากกามนั้น ออกทางกาย ได้แก่ การออกบวชประการหนึ่ง ออกทางใจ ได้แก่ การทำจิตใจให้เป็นสมาธิ จนสงบสงัดจากกาม จากอกุศลกรรมทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เป็นเหตุทำให้จิตใจสงบและมีความสุข ตัดกังวลห่วงใยอันเกี่ยวกับกามด้วยประการทั้งปวง พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงยกขึ้นโดยเป็นอานิสงส่ของเนกขัมมะเป็นข้อที่ ๕.

    เมื่อได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาทั้ง ๕ ประการนี้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า ผู้ฟังมีจิตแช่มชื่นผ่องใส ปราศจาก นิวรณ์ คือ กิเลสเครื่องกั้นจิต มีจิตบริสุทธิ์ผ่องใส สมควรที่จะรับพระธรรมที่สูงขึ้นไป เหมือนอย่างผ้าที่ซักให้สะอาดปราศจากมลทินต่าง ๆ ควรที่จะรับน้ำย้อมได้แล้ว จึงได้ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทรงชี้ทุกข์ ชี้สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ชี้นิโรธ ความดับทุกข์ ชี้มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โดยนัยดั่งในปฐมเทศนานั้น อริยสัจ ๔ นี้ เรียกว่า สามุกฺกํสิกธมฺมเทสนา คือ เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง เพราะได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยปรกติเมื่อได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ แล้ว ผู้ฟังก็เกิดดวงตาเห็นธรรม ที่ท่านแสดงว่าได้เป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนา.

    อนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ นี้ ตามประวัติในพระพุทธศาสนาปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่มนุษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ไม่ทรงแสดงแก่เทพยดาหรือภิกษุ และผู้ที่จะทรงแสดงนั้น เป็นผู้ที่มีจิตเลื่อมใส เบิกบาน ควรที่จะได้รับผลจากการฟัง ฉะนั้น จึงปรากฏว่าเมื่อได้ฟังจบลงแล้ว จึงได้รับผลคือได้ดวงตาเห็นธรรม.

    ดวงตาเห็นธรรมนั้น ตามศัพท์เรียกว่า ธมฺมจกฺขุ ท่านแสดงไว้ตรงกัน คือเห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ เรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือว่าเกิดธรรมจักษุ จะฟังเทศน์กัณฑ์ไหน ๆ ก็ตาม เมื่อเกิดดวงตาเห็นธรรม ก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างนี้ พิจารณาดูก็น่าเข้าใจว่า คือ เห็นทุกข์นั้นเอง เห็นเกิดดับเรียกว่าเห็นทุกข์ หรือว่าเห็นทุกข์ คือ เห็นเกิดดับ โดยมาเห็นแต่เกิด อย่างเห็นชีวิตของเราในบัดนี้ เรารู้จักกันแต่เกิด แต่ว่าไม่รู้สึกว่าจะดับ ดับนั้นเราคิดว่าอยู่ข้างหน้า คือว่ายังไม่มาถึง ในปัจจุบันก็คือเกิดและยังดำรงอยู่ ยังไม่เห็นดับเป็นคู่กันไป แต่ความเห็นที่จะเรียกว่าเห็นธรรมนั้น ต้องเห็นดับคู่ไปกับเกิดพร้อมกัน เมื่อเห็นดับคู่ไปกับเกิดพร้อมกันแล้ว กิเลสก็ไม่มีที่ตั้ง จะตั้งความชอบ ความชัง ไว้ที่ไหน ความชอบ ความชัง ที่เป็นกิเลสนั้นจะตั้งอยู่ได้ ต้องตั้งในสิ่งที่เราเห็นว่า ยังมีอยู่ ยังเป็นอยู่ คือในสิ่งที่ยังเกิดอยู่ แต่ว่าถ้าเห็นว่าดับเสียแล้ว กิเลสก็ไม่มีที่ตั้งชอบก็ไม่มีที่ตั้ง เพราไม่มีอะไรจะตั้ง เพราะเห็นว่าดับเสียแล้ว.

    ฉะนั้น โดยปรกติบุคคลจึงยังไม่ชื่อว่าเห็นทุกขสัจจะ จะเห็นก็เห็นเพียงนิดหน่อย ถ้าจะเห็นที่เป็นดวงตาเห็นธรรม จะต้องเห็นได้ตลอด คือเห็นถึงดับ และเห็นให้ได้ในปัจจุบัน เมื่อเห็นถึงดับได้ในปัจจุบัน กิเลสไม่มีที่ตั้งนั่นแหละ จึงชื่อว่าได้ดวงตาเห็นธรรม และผู้ที่ฟังเทศน์จะได้ดวงตาเห็นธรรมนี้ ท่านไม่ได้ฟังเพื่อมุ่งกำหนดว่า เทศน์ว่าอย่างไร เบื้องต้นแสดงอย่างไร ท่ามกลางแสดงอย่างไร ข้างท้ายแสดงอย่างไร คือไม่ได้มุ่งจะจำถ้อยคำ มุ่งแต่เพียงเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง การบรรลุในขั้นแรกในพระพุทธศาสนานั้น จะต้องเกิดดวงตาเห็นธรรมดั่งกล่าวมานี้ เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมในขั้นแรกนี้แล้ว พระพุทธเจ้าจึงจะทรงอบรมให้เกิดปัญญาสูงขึ้นไปอีกจนถึงที่สุด.



    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-17-2014 เมื่อ 01:23 PM
     
  10. lover said:
    ทางไปสนทนาธรรม--->>> คลิ๊ก !!!

    ทางไปฟังธรรมธรรม--->>> คลิ๊ก !!!

    ทางไปเสี่ยงเชียมชี--->>> คลิ๊ก !!!




    นิวรณ์ 5

    นิวรณ์ 5 หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

    1.กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่า

    ยินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)


    2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

    3. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้

    เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ

    ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป

    ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัด

    เป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)


    4. อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    ได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที


    ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่

    ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้


    5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้

    อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น


    นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

    นิวรณ์ทั้ง 5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัว

    ขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง

    5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน




    เต้เลิวอร์………
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-17-2014 เมื่อ 08:09 PM