กระทู้ธรรม

กระทู้: กระทู้ธรรม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. lover said:
    อธิจิตสิกขา

    ความหมายของสมาธิ

    อธิจิตสิกขา คือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตให้มีคุณภาพมีสมรรถภาพ และมีสุขภาพด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนา

    ซึ่งจัดเป็นหมวดที่สามในไตรสิกขา ในภาษาบาลี คำว่า ภาวนา หมายถึง การพัฒนาการอบรมบ่มนิสัย การสร้างความดี

    งาม การเพาะบ่มทางด้านจิตใจ จึงเป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างกว่าคำว่า สมาธิ หรือ meditation ที่เราใช้กันใน

    ภาษาอังกฤษ


    สมาธิภาวนาในทางพุทธศาสนา หมายถึงการแสวงหาประสบการณ์ทางจิตวิญญาณด้วยการฝึกปฏิบัติ มิใช่ด้วย

    การเรียนรู้หรือการทำความเข้าใจจากหนังสือหรือตำรา พุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็น

    มนุษย์ เพราะ จิต เป็นตัวกำหนดการกระทำทั้งทาง กาย วาจา ใจ ดังนั้น จิต จึงควรที่จะต้องได้รับการขัดเกลาและพัฒนา

    การปฏิบัติสมาธิโดยนัยดังกล่าวนี้จึงจะถือว่าเป็นการ " ภาวนา " ที่แท้จริง เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิเพื่อแสวงหา

    ความสงบระงับในชั่วขณะแล้ว ยังต้องเป็นไปเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยการลดละอาสวกิเลสทั้งหลาย เช่น ความอยาก

    ความใคร่ ความอิจฉา พยาบาท ความวิตก กังวล อวิชชา ความกระวนกระวาย ความเกรียจคร้านเฉื่อยชา และยังเป็นการ

    เพาะบ่ม จิตใจให้มี เมตตา ปัญญา พลัง สติ สมาธิ และมองเห็นสัจธรรม



    ประเภทของสมาธิ


    ในทางพุทธศาสนา การทำสมาธิ มี 2 ประเภท คือ สมาธิ ภาวนา กับ วิปัสนาภาวนา การปฏิบัติอย่างแรก

    เป็นการรวบรวมพลังจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่วนประเภทหลัง หมายถึงการนำผลที่ได้จากการทำสมาธิไปพิจารณาเพื่อการ

    รับรู้และทำความเข้าใจในสัจธรรม


    การปฏิบัติสมาธิภาวนา นอกจากเป็นวิธีการทำให้จิตเกิดความสงบ ( จิตวิเวก ) เกิดพลัง เพื่อควรแก่การใช้งานใน

    ชีวิตประจำวันแล้วยังเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติที่มีความมุ่งมั่นมานะพยายาม สามารถบรรลุฌานขั้นสูงที่เรียกว่า

    " อัปปนาฌาน " ซึ่งทางพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 8 ระดับ กล่าวคือ 4 ระดับแรกเรียกว่า รูปฌาน ส่วนอีก 4 ระดับที่สูงขึ้นไป

    เรียกว่า อรูปฌาน ซึ่งทั้งสองระดับนี้ จิตยังคงอยู่ภายใต้การปรุงแต่งที่เป็นอนิจจังแห่งโลกียธรรม



    ตามความเป็นจริง การปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นที่รู้จักกันมาก่อนที่จะมีพุทธศาสนา แต่พระพุทธองค์ทรงนำวิธีการนี้

    มาขัดเกลาและปรับปรุงให้เข้าสู่ระบบแห่งการปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปฏิบัติสมาธิภาวนาจะมีประโยชน์ในระดับ

    หนึ่งต่อการพัฒนาคุณภาพจิต แต่การทำสมาธิก็มิใช่เป็นวิธีที่จะนำไปสู่การดับทุกข์เข้าสู่กระแสนิพพานได้โดยตัวของมัน

    เอง ดังในพุทธประวัติก่อนที่พระองค์จะทรงบรรลุธรรมมรรคผลแห่งนิพพาน ทรงเคยฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาจากพระ

    อาจารย์ จนสำเร็จขั้นอรูปฌานในระดัเนวสัญญานาสัญายตนะมาแล้ว แต่ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ยังไม่พอพระทัยด้วยทรง

    เห็นว่า ฌานใน 2 ขั้น 8 ระดับดังกล่าวนี้ ยังไม่สามารถบรรลุธรรมชั้นสูงได้ ทรงเล็งเห็นว่าสมาธิภาวนาเป็นเพียงวิธีปฏิบัติ

    เพื่อทำจิตให้สงบในโลกียภาวะ ส่วนวิธีการที่จะชำระจิตให้บริสุทธิ์เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแห่งนิพพานได้นั้น จำเป็นจะต้อง

    กระทำโดยวิธีวิปัสสนาภาวนาเท่านั้น


    วิปัสสนาภาวนา เป็นวิธีปฏิบัติที่มีอยู่เฉพาะในทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างความสงบสุขทางจิตวิญญาณให้กับชาวโลก

    เป็นวิธีการวิเคราะห์จิตที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งสัมมาสติและสัมมาสมาธิในการแสวงหาสัจธรรม ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ

    สามารถรู้ได้โดยตนเองว่าสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่คงที่ ไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์และไม่มีตัวตน ในแง่สัจธรรมจึง

    มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดให้เรายึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งเหล่านั้นเป็น " ตัวเรา ของเรา " ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา จะสามารถ

    มองเห็น และตระหนักรู้ด้วยตนเองในความคิดที่เป็น กุศล หรือเป็น อกุศล ว่าเป็นเพียงกระบวนที่มีการเกิดดับอยู่

    ตลอดเวลา ทำให้สามารถมองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงในเรื่องของกิเลส ตัณหา คุณค่าแห่งความดีงาม บุญ บาป ดี ชั่ว เมื่อ

    เรานำมาศึกษาวิเคราะห์จนเล็งเห็นในสรรพสิ่งทั้งหลายว่า " มันเป็นเช่นนั้นเอง " ก็จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสัจ

    ธรรมเหล่านั้นจากความมานะพยายามในการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาดังกล่าวนั้นได้อย่างแท้จริงดังรายละเอียดที่ปรากฏอยู่

    ในหัวข้อของ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ ที่จะได้กล่าวต่อไป



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-19-2014 เมื่อ 02:00 PM
     
  2. lover said:
    อธิจิตสิกขา

    ความหมายของสมาธิ


    การฝึกสมาธิด้วยวิธีเจริญสติปัฏฐาน 4

    สติปัฏฐาน 4 ถึงแม้ท่านจะจัดเข้าเป็นโลกุตตรธรรมแล้วก็ตาม ก็ยังต้องหมายเอาตัวของเราทุกๆ

    คนที่เป็นโลกียอยู่นี่เอง หมายความว่า การจะปฏิบัติให้

    ได้ สติปัฏฐาน 4 ได้ก็จำต้องเริ่มจากที่กายใจของเรา เหมือนกับต้องมีสิ่งสมมุติก่อน แล้วจึงจะพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เป็นอนัตตา

    ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง-ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน4

    ได้แก่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นั่นเองผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐาน 4 แต่ละข้อนอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณ 5 แลทำความเลื่อมใสพอใจ

    ในการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่ให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีกที่เรายังมิได้เจริญ

    เพราะสติปัฏฐานทั้ง 4 เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งได้แล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ เพราะจะเป็น

    อุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐานนัยที่ 1-1 เมื่อเอาสติไปตั้งลงที่กาย แล้วให้เพ่งดูเฉพาะกายเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะกายให้เป็นธาตุ-อสุภ อันใดทั้งสิ้น แม้แต่คำว่า กาย หรือว่า ตน ก็ไม่

    ต้องไปคำนึง ให้ตั้งสติเพ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตแน่วแน่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว อารมณ์อื่นนอกนั้นมันก็จะหายไปเอง ในขณะนั้นจิตจะไม่ส่งส่ายไปในอดีต-อนาคต แม้แต่สมมุติ

    บัญญัติว่าอันนั้นเป็นนั่น อันนี้เป็นนี่ก็จะไม่มี กายที่จิตไปเพ่งอยู่นั้นก็จะเห็นเป็นสักแต่ว่า วัตถุธาตุอันหนึ่งเท่านั้น มิใช่เรา มิใช่เขา หรือ สัตว์ ตัวตน บุคคลอะไรทั้งนั้น นี่เรียกว่า จิตเข้า เอกัคค

    ตารมณ์ นั่นคือเข้าถึงสติปัฏฐานภาวนาโดยแท้เมื่อจิตไปเพ่งวัตถุอันนั้นอยู่โดยไม่ถอน สักพักหนึ่งแล้ว วัตถุอันนั้นก็หายวับไป เมื่อสติไม่มีที่หมาย สติก็หมดหน้าที่ สติก็จะหายไปพร้อมๆ กัน

    แล้วจิตกับวัตถุภาพนั้นก็จะรวมเข้าเป็นจิตอันเดียว ซึ่งลักษณะคล้ายๆ กับคนนอนหลับ แต่มิใช่หลับเพราะมันยังมีความรู้เฉพาะตัวมันอยู่ต่างหาก แต่จะเรียกว่าความรู้ก็ยังไม่ถูก เพราะว่ามัน

    นอกเหนือจากความรู้ทั่วไป นี่เรียกว่า เอกัคคตาจิต การเจริญสติปัฏฐานถึงที่สุดเพียงเท่านี้ สติปัฏฐานข้ออื่นๆ ก็เหมือนกัน

    อาการของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ถ้าหากว่า จิตไม่รวมเป็นหนึ่งแต่มีการเกิดเป็นสองหรือมากกว่า ตัวจิตจะถอนออกมา จะมีความวุ่นส่งส่ายลังเล หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐานเบื้อ

    ต้นก่อนจิตจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เอกัคคตาจิตนั้น คืออาการของจิตทำงาน จะต้องต่อสู้หรือผจญต่างๆ เมื่อจิตได้รวมเป็นเอกัคคตาจิตแล้ว ก็จะดำเนินพักผ่อนตามพอควรแก่เวลา แล้วจิตก็

    ออกตรวจ-จัดระเบียบ-ชมผลงานของตน-พร้อมๆ กับเกิดความปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงในผลของงานนั้นๆ

    ผลของการเจริญสติปัฏฐานทุกๆ ข้อ จะมีอาการคล้ายๆ กันทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีผิดกันบ้าง ซึ่งเป็นเพราะบุญบารมีนิสัยไม่เหมือนกัน

    ความจริงการงานของกายกับงานของจิตก็คล้ายๆ กัน ผิดที่งานของกายทำด้วยวัตถุ ที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จแล้วก็พัก ส่วนงานของจิตทำด้วยนามธรรม (ปัญญา) ที่ยังหลงไปยึดไม่รู้เท่า เข้าใจ

    ตามเป็นจริง เมื่อชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญาแล้ว ก็หมดหน้าที่แล้วก็ปล่อย วางพักเอง

    อนึ่ง ภาพนิมิตและความรู้ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังเจริญอยู่นี้ โดยมิได้ตั้งใจจะใหัมันเกิด แต่หากเกิดขึ้นเอง ด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ ตามจังหวะกำลังการเจริญนั้นๆ มิได้

    หมายความว่าทุกคนที่มาเจริญแล้วจะต้องเกิดภาพนิมิตก็หาไม่ เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะบุญบารมีนิสัยวาสนาของแต่ละคน และมิใช่แต่เรื่องภาพนิมิต เรื่องอื่นๆ ก็มีอีกแยะ

    ฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานควรอยู่ใกล้กับผู้ที่ฉลาดแลชำนาญในการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีเรื่องแลขัดข้องจะได้ตรงไหน ท่านจะได้ขี้แนะช่องทางได้ จะทำให้การเจริญสติปัฏฐานก้าวหน้าไป

    ได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-18-2014 เมื่อ 05:29 PM
     
  3. lover said:
    อคติ 4

    อคติ 4 หมายถึงสิ่งที่ไม่ควรไป ไม่ควรเดินไปหา ไม่ควรทำ ไม่ควรประพฤติ ซึ่งมีอยุ่ด้วยกันทั้งสิ้น 4 ประการ

    อคติ 4 อาจจะตีความหมายได้อีกมุมหนึ่งคือความลำเอียง ทั้ง 4 ประการ เหตุแห่งความลำเอียงก็เนื่องมาจากมนูษย์ยังตักกิเลสได้ไม่หมดนั่นเอง ยังมีความรัก ความชอบ ความโลภ ความ

    โกรธและความหลง อยู่นั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อมนุษย์เราจะทำอะไรก็มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้องก่อนเสมอ ทำให้เกิดความลำเอียงขึ้น

    อคติ 4 ประกอบด้วย

    1. ฉันทาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะรัก เพราะชอบเป็นพิเศษ

    2. โทสาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะชัง เพราะความเกลียดชัง ความไม่ชอบ

    3. ภยาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ

    4. โมหาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะไม่รู้(หลง)

    อคติ 4 หรือ ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ นับได้ว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่ปกครองคนอื่น คนที่เป็นหัวหน้างาน หัวหน้าครอบครัว ไม่

    ควรมีอคติทั้ง 4 ประการนี้อยู่ในจิตใจ มิฉะนั้นผู้ใต้ปกครองจะขาดความเชื่อมั่น ไม่มีความสุข ไม่มีความรู้สึกมั่นคงและอบอุ่น รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งจะนำไปสู่

    ความแตกแยกและความไม่สำเร็จ ไม่เจริญก้าวหน้าของการงานทั้งปวง




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-19-2014 เมื่อ 02:24 PM
     
  4. lover said:
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗




    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสติปัฏฐาน โดยเฉพาะในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ตั้งสติ หรือ สติตั้ง ตามดูธรรมะคือเรื่องในจิตใจ ได้ทรงแสดง

    นิวรณ์ ๕ ทรงแสดงขันธ์ ๕ ทรงแสดงอายตนะ ๖ และไม่ใช่ทรงแสดงจำเพาะ นิวรณ์ ขันธ์ อายตนะ ยังแสดงถึงวิธีปฏิบัติในการละนิวรณ์ ในการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ในการกำหนดรู้อายตนะ

    ภายนอกภายใน ภายในภายนอก และสังโยชน์ที่บังเกิดอาศัยอายตนะทั้ง ๒ มาประจวบกัน และการละสังโยชน์ จึงมีวิธีปฏิบัติธรรมะในข้อเหล่านั้น


    ธรรมะอันแสดงถึงวิธีปฏิบัติธรรม

    ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงวิธีปฏิบัติธรรมะในข้อเหล่านั้น คือในการละนิวรณ์เป็นต้นดังกล่าว จึงได้ตรัสหมวดโพชฌงค์ต่อไป โพชฌงค์นี้จึงเป็นหมวดธรรมะ

    สำคัญ อันแสดงถึงวิธีปฏิบัติธรรมะนั้นเอง ในการปฏิบัติธรรมะทั้งปวงที่จำแนกโดยปริยายคือทางแสดงต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น สมถกรรมฐาน กรรมฐานที่เป็นไปเพื่อสมถะคือความสงบใจ โดย

    วิธีทำสมาธิตั้งจิตมั่นให้เป็นอารมณ์อันเดียว วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานที่เป็นไปเพื่อวิปัสสนาความเห็นแจ้งรู้จริง อันเป็นวิปัสสนาปัญญา วิธีปฏิบัติทั้ง ๒ นี้ ก็ต้องเป็นโพชฌงค์นั้นเอง คือเป็น

    วิธีปฏิบัติในโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น โพชฌงค์จึงเป็นหลักธรรมะอันสำคัญ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมะพึงใช้ปฏิบัติ ตามแนวโพชฌงค์นั้น ในธรรมปฏิบัติทั้งปวง


    โพชฌงค์ ๗

    คำว่า โพชฌงค์ นั้นตามศัพท์แปลว่าองค์คุณ หรือองค์สมบัติแห่งความตรัสรู้

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้ว่า เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ คือธรรมะที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งมี ๗ ประการ อันได้แก่

    สติโพชฌงค์ หรือ สติสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือสติ

    ธัมมวิจยโพชฌงค์ หรือ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือธัมมวิจยะเลือกเฟ้นธรรม

    วิริยะโพชฌงค์ หรือ วิริยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือวิริยะความเพียร

    ปีติโพชฌงค์ หรือ ปีติสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือปีติความอิ่มเอิบใจ

    ปัสสัทธิโพชฌงค์ หรือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือปัสสัทธิความสงบรำงับ

    สมาธิโพชฌงค์ หรือ สมาธิสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือสมาธิความตั้งใจมั่น

    อุเบกขาโพชฌงค์ หรือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์ คืออุเบกขาความเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ สงบอยู่ในภายใน รวมทั้ง ๗ ประการ


    อาหารของโพชฌงค์ ๗

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอาหารของโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ไว้ ว่าเหมือนอย่างร่างกายต้องอาศัยอาหาร แม้โพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ก็ต้อง

    อาศัยอาหาร จึงจะบังเกิดขึ้นเจริญขึ้น และอาหารของโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์นี้ก็มี ๒ อย่าง คือ อาหารที่จำเพาะข้ออย่างหนึ่ง อาหารที่ทั่วไปแก่ทุกข้ออย่างหนึ่ง

    สำหรับอาหารที่ทั่วไปทุกข้อนั้นได้แก่การทำไว้ในใจ การกระทำให้มากโดยแยบคาย เรียกตามศัพท์แสงว่า โยนิโสมนสิการ พหุลีการ

    มนสิการ ก็คือทำไว้ในใจ พหุลีการ ก็คือการกระทำให้มาก โยนิโส ก็คือโดยแยบคาย ได้แก่โดยพิจารณาให้จับให้ได้ถึงต้นเหตุ อันหมายถึงว่าจับเหตุจับผล จับต้นจับปลายให้ถูก

    ต้อง


    ส่วนอาหารจำเพาะข้อนั้น

    ข้อที่ ๑ คือ สติ ตรัสแสดงเป็นกลางๆ ว่า ธรรมะทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งของสติ

    ข้อที่ ๒ ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัยเลือกเฟ้นธรรม ตรัสแสดงว่าคือธรรมะที่เป็นกุศลเป็นอกุศล ที่มีโทษไม่มีโทษ ที่เลวที่ประณีต และที่มีส่วนเทียบได้กับสีดำสีขาว

    ข้อ ๓ วิริยะ ความเพียร ก็ได้แก่ อารัมภธาตุ ธาตุคือความริเริ่ม นิคมธาตุ ธาตุคือความเริ่ม ธาตุคือความดำเนินไป ปรักมธาตุ ธาตุคือความดำเนินให้ก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด

    ข้อ ๔ ปีติ ตรัสแสดงว่าได้แก่ธรรมะที่เป็นที่ตั้งของปีติ

    ข้อที่ ๕ ปัสสัทธิ ตรัสแสดงว่าได้แก่กายปัสสัทธิสงบกาย ปัสสัทธิสงบใจ

    ข้อที่ ๖ สมาธิ ตรัสแสดงว่าได้แก่สมาธินิมิต นิมิตคือเครื่องกำหนดหมายแห่งสมาธิ และ อัพยฆะ อันได้แก่ความที่จิตไม่แตกแยกแบ่งแยก แต่มียอด

    เป็นอันเดียวไม่หลายยอด คือไม่แตกยอดมาก ก็คือจิตที่รวมเป็นหนึ่ง


    ข้อที่ ๗ อุเบกขา ตรัสแสดงว่าธรรมะที่เป็นที่ตั้งของอุเบกขา

    หลักโพชฌงค์ในหมวดนิวรณ์

    คราวนี้มาข้อที่ ๑ อาหารจำเพาะข้อ ได้แก่ธรรมะที่เป็นที่ตั้งของสติ ก็คือว่าสุดแต่จะปฏิบัติในข้อไหน ก็ต้องตั้งสติในข้อนั้น เช่นว่า จะปฏิบัติในข้อนิวรณ์

    ก็ต้องตั้งสติกำหนดนิวรณ์ คือต้องตั้งสติกำหนดกามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในกาม คือความชอบในจิตใจที่บังเกิดขึ้น ตั้งสติกำหนดพยาบาท คือความกระทบกระทั่ง หงุดหงิดโกรธแค้น

    ขัดเคือง มุ่งร้ายหมายขวัญ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ตั้งสติกำหนดให้รู้จักถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ตั้งสติกำหนดให้รู้จักอุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านรำคาญใจที่บังเกิด

    ขึ้นในจิตใจ ตั้งสติกำหนดให้รู้จักวิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ คือให้รู้จักว่าข้อไหนบังเกิดขึ้นอย่างไรในจิตใจ นี่เป็นสติสถานด้วย เป็นสติปัฏฐานด้วย และสืบต่อ

    เป็นสติสัมโพชฌงค์ด้วย อันนับว่าเป็นข้อแรก


    ธรรมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรม

    จึงมาถึงข้อที่ ๒ วิจัยคือเลือกเฟ้นธรรม ก็คือเลือกเฟ้นธรรมอันได้แก่นิวรณ์ทั้ง ๕ ข้อนี้ทุกข้อ ให้รู้จักว่านิวรณ์ทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล มีโทษ

    หรือไม่มีโทษ เลวหรือประณีต เป็นสิ่งที่มีส่วนเทียบด้วยสีดำหรือสีขาว เมื่อเลือกเฟ้นดูที่จิตแล้วก็ให้รู้ว่านิวรณ์ทั้ง๕ นี้เป็นอกุศลมีโทษ เลวมีส่วนเทียบด้วยสีดำ ดั่งนี้เป็นธัมมวิจัยคือเลือกเฟ้น

    ธรรม


    วิริยะ ความเพียร

    จึงมาถึงข้อ ๓ วิริยะคือความเพียร

    อันความเพียรนั้นกล่าวโดยย่อ ก็คือ ปหานะ เพียรละอย่างหนึ่ง ภาวนา เพียรอบรมให้มีขึ้นเป็นขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าเป็นอกุศล มีโทษ เลว มีส่วน

    เทียบด้วยสีดำ ก็ควรละ ไม่ควรเก็บไว้ แต่ถ้าเป็นกุศล ไม่มีโทษ ดี ประณีต มีส่วนเทียบด้วยสีขาว ก็อบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือรักษาไว้ และอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ให้เจริญขึ้น นิวรณ์นั้น

    เป็นอกุศล มีโทษ ดำ มีเป็นอกุศล มีโทษ เลว มีส่วนเทียบกับสีดำ จึงควรละ จึงปฏิบัติละเสีย ดั่งนี้ก็เป็นวิริยะโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์


    ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

    จึงมาถึงข้อ ๔ คือปีติ คือความอิ่มเอิบใจ คือเมื่อละนิวรณ์ได้ก็ย่อมจะมีปีติคือความอิ่มเอิบใจ เพราะว่าจิตใจที่มีนิวรณ์นั้น เป็นจิตใจที่เศร้าหมองไม่

    ผ่องใส เป็นจิตใจที่เครียด เป็นจิตใจที่มัวซัวไม่แจ่มใส เป็นจิตใจที่ไม่ตั้งมั่น ไม่แน่นอน กลับกลอกคลอนแคลน เพราะฉะนั้น จึงไม่มีปีติคือความอิ่มเอิบใจ แต่ว่าจิตใจที่ละนิวรณ์ได้ ที่พ้น

    นิวรณ์ได้แล้ว ย่อมเป็นจิตใจที่ใสสะอาด ที่ผุดผ่อง ผ่องใส จึงบังเกิดปีติคือความอิ่มเอิบใจ ดูดดื่มใจ


    จึงส่งถึงข้อที่ ๕ ปัสสัทธิ ความสงบกายความสงบใจ เมื่อกายใจสงบมีสุข ก็ส่งถึงข้อที่ ๖ คือสมาธิ จิตใจก็ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย แน่วแน่ เมื่อ

    ได้ข้อนี้ซึ่งเป็นข้อที่ ๖ ก็ส่งถึงข้อ ๗ คืออุเบกขา คือความที่จิตเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ในภายในด้วยปัญญา ที่ละยินดีละยินร้ายได้ สงบอยู่ในภายในเป็นอุเบกขา อันเป็นข้อที่ครบ ๗


    เพราะฉะนั้น แม้ในข้อนิวรณ์นี้ ก็ต้องอาศัยปฏิบัติตามหลักของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ จึงจะเป็นไปในการละนิวรณ์ได้ และได้ผลจากการละนิวรณ์

    ตามหลักของโพชฌงค์ดังกล่าว


    หลักโพชฌงค์ในหมวดขันธ์ ๕

    แม้ในหมวดที่แสดงขันธ์ ๕ ก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนให้กำหนดสติ พร้อมทั้งสติสัมโพชฌงค์ในขันธ์ ๕ ให้รู้จักว่าอย่างนี้รูป อย่างนี้เวทนา

    อย่างนี้สัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้วิญญาณ (เริ่ม ๑๗๕/๒) ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ ต่อไปก็ให้มีธรรมวิจัยเลือกเฟ้นธรรม ว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นธรรมะที่เป็นกลางๆ คือไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล

    ไม่ใช่มีคุณไม่ใช่มีโทษ ไม่ใช่เลวไม่ใช่ประณีต และไม่ใช่มีส่วนเทียบด้วยสีดำหรือสีขาว แต่เป็นกลางๆ


    เพราะเป็นวิบากขันธ์ คือขันธ์ที่เป็นวิบาก ซึ่งทุกๆ คนได้ขันธ์ ๕ นี่มาตั้งแต่เกิด ก็อาศัยขันธ์ ๕ นี้เอง ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง เพราะถ้าไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ทุก

    คนก็ไม่สามารถจะทำดีทำชั่วได้ ต้องอาศัยขันธ์ ๕ จึงทำดีทำชั่วได้ กรรมที่กระทำไปนั้น มีเป็นดี มีเป็นชั่ว แต่ว่าตัวขันธ์ ๕ เองเป็นเครื่องมือ ไม่ดี ไม่ชั่ว เช่นเดียวกับเครื่องมือทั้งหลาย เช่น

    ว่ามีดพร้าซึ่งเป็นเครื่องมือนั้น สุดแต่คนจะใช้ให้เป็นคุณ หรือให้เป็นโทษ เมื่อใช้ในการหัตถกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง หรือในทางอื่นให้เกิดเป็นประโยชน์นั้นๆ ก็เป็นการดี แต่

    เมื่อใช้ในทางทำร้ายซึ่งกันและกัน ก็เป็นความชั่ว อยู่ที่กรรมที่คนใช้เครื่องมือนี้กระทำขึ้นมา แต่ตัวมีดพร้าที่เป็นเครื่องมือเองนั้นเป็นกลางๆ ไม่ใช่เป็นของดีไม่ใช่เป็นของชั่วดังที่กล่าวแล้ว

    ฉันใดก็ดี ขันธ์ ๕ ก็ฉันนั้น เป็นกลางๆ


    เพราะฉะนั้น หน้าที่ซึ่งพึงปฏิบัติในขันธ์ ๕ นั้น ซึ่งเป็นความเพียร จึงไม่ใช่เป็นความเพียรเพื่อที่จะละ หรือความเพียรที่จะอบรม แต่ว่าเป็นความเพียรที่

    กำหนดรู้ กำหนดรู้ให้รู้จักว่า ความเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ เป็นอย่างนี้ ความดับไปของขันธ์ ๕ เป็นอย่างนี้ คือให้รู้จักธรรมดา อันได้แก่ความเกิดความดับของขันธ์ ๕ นี้เป็นความเพียรอันเป็นวิ

    ริยสัมโพชฌงค์


    และเมื่อได้ปฏิบัติด้วยความเพียรอันเป็นวิริยสัมโพชฌงค์ดั่งนี้ ก็ย่อมจะได้ปีติ เป็นปีติสัมโพชฌงค์ และก็จะได้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไปโดยลำดับ ฉะนั้นแม้ในหมวดขันธ์ ๕ นี้ วิธีปฏิบัตินั้นก็ต้องใช้วิธีปฏิบัติในโพชฌงค์ ๗ นี้นั้นเอง


    หลักโพชฌงค์ในหมวดอายตนะ

    และมาถึงหมวดอายตนะก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องใช้สติ เป็นสติปัฏฐาน เป็นสติสัมโพชฌงค์ กำหนดให้รู้จักว่านี่อายตนะภายใน นี่อายตนะภายนอก แล้วก็นี่

    อาศัยอายตนะภายในอายตนะภายนอกเกิดสัญโญชน์ขึ้นมา นี้เป็น สติสัมโพชฌงค์ ต่อไปก็ให้มี ธัมมวิจย เลือกเฟ้นธรรม หรือวิจัยธรรม เป็นข้อที่ ๒ คือให้รู้จักว่าสำหรับตัวอายตนะเองนั้นก็

    เป็นธรรมะที่เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เหมือนอย่างขันธ์ ๕ เพราะเป็นวิบากอายตนะ เช่นเดียวกับเป็นวิบากขันธ์ที่ทุกคนได้มาตั้งแต่เกิด แต่ว่าตัวสัญโญชน์นั้นคือความผูกใจ มีลักษณะเป็นความ

    ติดใจยินดี เป็นอกุศลธรรม มีโทษ เลว และมีส่วนเทียบด้วยสีดำ เพราะฉะนั้น จึงเป็นข้อที่ควรละ ดั่งนี้ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ จึงมาถึงวิริยสัมโพชฌงค์ ก็เพียรละสัญโญชน์เสีย และเมื่อ

    เพียรละก็ย่อมจะละได้ และเมื่อละได้ก็ย่อมได้ปีติ ได้ปัสสัทธิ ได้สมาธิ ได้อุเบกขา ไปโดยลำดับ เพราะฉะนั้น แม้ในข้ออายตนะ ๖ นั้น ก็ต้องอาศัยวิธีปฏิบัติคือโพชฌงค์ทั้ง ๗ ดังกล่าวมา

    นี้


    ฉะนั้น โพชฌงค์ ๗ จึงเป็นหลักธรรมสำคัญ ซึ่งต้องใช้ปฏิบัติมาตั้งแต่ในเบื้องต้น คือในหมวดสติปัฏฐาน ๔ นี้เอง ที่เป็นมหาสติปัฏฐานสูตร จำแนกแสดง

    หมวดกายไว้เป็นอันมาก หมวดจิต หมวดเวทนา และในหมวดธรรมะข้อ ๔ นี้เอง เป็นอันมาก ทุกข้อนั้นก็ตั้งต้นด้วยสติปัฏฐาน คือตั้งสติกำหนด และก็เลื่อนขึ้นเป็นสติสัมโพชฌงค์ ต้องใช้

    โพชฌงค์ทั้ง ๗ ข้อนี้ในทางปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ทุกข้อมา ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว


    คือตั้งแต่หมวดอานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออกมาทีเดียว ต้องอาศัยหลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้มาทุกข้อในเบื้องต้น และก็ต้อง

    อาศัยโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ เป็นหลักปฏิบัติต่อไปในข้อปลายต่อไปคืออริยสัจจ์ทั้ง ๔ โพชฌงค์จึงเป็นธรรมะ เป็นๆ หมวดธรรมที่เป็นหลักสำคัญ ดั่งนี้


    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-19-2014 เมื่อ 02:26 PM
     
  5. lover said:
    การฝันในทางพุทธศาสนาแบ่งเป็น 4 อย่าง


    1.กรรมนิมิต ผลกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนให้ผล คือกรรมที่เราทำทุกอย่างไม่ว่าดีหรือชั่ว จะรวมอยู่ที่จิตของเรา เพราะว่าการกระทำมันออกมาจากที่ใจ

    คิด (เจ้ากรรม) ส่วนนายเวรคือ เวรที่เป็นผลออกมาไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม

    ในบางครั้งพอกรรมจะให้ผล ก็จะต้องออกมาจากดวงจิตให้รับรู้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นบางครั้งบางขณะผลกรรมที่ทำนั้นก็แสดงออกมาให้เห็นทางความฝัน บางทีแสดงออกมาให้เห็นว่า เรา

    กำลังจะได้รับผลกรรมอะไร ดีหรือร้าย

    2.จิตนิวรณ์ จิตของเราพะวงหรือคำนึงถึงสิ่งใดหรือฝังจิตฝังใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากเกินไป อะไรที่ฝังใจเรามานาน ๆ เช่น เจ็บช้ำน้ำใจหรือฝังใจในความสุข เหล่านี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นเองโดย

    อาศัยความฝังใจหรือมีความโลภ โกรธ หลง เป็นมูลเหตุ เช่น ชอบเลขก็ฝันเป็นตัวเลข พอหลับก็ฝันเลยฟุ้งซ่าน

    3.เทพสังหรณ์ เทพเจ้า เทวาอารักษ์ ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรูกับเรามาดลจิตดลใจ หรือมาในขณะที่เราเคลิ้ม ๆ หรือเราเรียกว่า ?อุปจาระ? หรืออาจจะเป็นความปรารถนาดีของเทวดาทั้งหลาย

    ก็ได้ มาบอกเหตุมักจะเกิดขึ้นตอนใกล้ ๆ ฟ้าสาง ช่วงที่อาหารย่อยหมดแล้ว การฝังจิตฝังใจก็ไม่มีเป็นช่วงที่หลับแล้ว ครึ่งหลับครึ่งตื่น เป็นช่วงเทวดาบอกเหตุถ้าเทพสังหรณ์จะการฝันตอน

    ใกล้ฟ้าสาง

    4.ธาตุกำเริบ คนที่กินอาหารมากผิดปกติ ผิดความต้องการของร่างกาย ผิดกาล ผิดเวลา หรือทานอาหารเปรี้ยวจัด รสจัด ร้อนจัด เย็นจัด กินน้อยไปหรือกินมากไป ร่างกายจึงเกิดปฏิกิริย

    า พอหลับก็เริ่มฝัน ( กินมาก ถ่ายมาก นอนมาก ฝันมาก)



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 03:30 PM
     
  6. lover said:
    อุปกิเลส 16


    การพิจารณาจิต คือ ตามรู้จิตตลอดกาลตลอดเวลา ทั้งเมื่ออยู่ในอิริยาบถตามปกติและเมื่อตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราตั้งใจพิจารณา ตามดูจิตแล้ว เราจะมอง

    เห็นอาการของจิตต่าง ๆ ทำให้เข้าใจจริตนิสัยของตัวเองมากขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเองตามความเป็นจริง ก็จะเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง คือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ก็จะไม่

    หลงไปตามอามรณ์จิตเดิมแท้ของเราทุกคนเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติแต่กิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสหรืออกุศลมูล อันได้แก่ ราคะ

    โทสะ โมหะ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกันแล้วก่อตัวขึ้นมาเป็นอุปนิสัยต่าง ๆ มี 16 ลักษณะเรียกว่า อุปกิเลส 16 ได้แก่


    ๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว

    ๒. พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็น

    เพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๓. โกธะ คือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวน

    เรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ

    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดี

    ของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น

    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้

    ๗. อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมี

    มากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี

    ๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร

    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่าง

    หรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น

    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข

    ๑๑. ถัมภะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง

    ๑๒. สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเอง

    ผิด ก็ไม่ยอมแพ้

    ๑๓. มานะ คือความถือตัว ทะนงตน

    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

    ๑๕. มทะ คือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ

    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 03:37 PM
     
  7. lover said:
    ญาณ๑๖ หรือ โสฬสญาณ


    และ วิปัสสนาญาณ


    เป็นการรวบรวมลำดับญาณขึ้นในภายหลังโดยพระอรรถกถาจารย์ เพื่อเป็นการจำแนกให้เห็นลำดับญาณหรือภูมิรู้ภูมิธรรมทางปัญญาที่เกิดขึ้น,

    ในญาณทั้ง๑๖นี้ มีเพียงมรรคญาณ และผลญาณเท่านั้นที่เป็นญาณขั้นโลกุตระ คือ เหนือหรือพ้นจากทางโลก จึงหลุดพ้นหรือจางคลายจากทุกข์ตามมรรค,ตามผลนั้นๆ ส่วนที่เหลือยังจัด

    เป็นขั้นโลกียะทั้งสิ้น, นักปฏิบัติไม่ต้องปฏิบัติตามเป็นลำดับขั้น เป็นเพียงแค่การแสดงภูมิญาณในวิปัสสนาญาณต่างๆที่เกิดขึ้นเพียงเท่านั้น เพื่อให้เป็นเพียงเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือน

    สติ ในการปฏิบัติว่าดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางการวิปัสสนา กล่าวคือ เพื่อพิจารณาการปฏิบัติว่าเป็นไปเพื่อส่งเสริมหรือสั่งสมให้เกิดวิปัสสนาญาณต่างๆเหล่านี้ หรือไม่, อันญาณต่างๆ

    เหล่านี้ล้วนจักเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัยจากความรู้เข้าใจอันแจ่มแจ้งและการปฏิบัติเท่านั้น จึงยังให้เกิดญาณ ที่หมายถึง การรู้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งตามความเป็นจริงนั้นๆ ด้วยปัญญาจักขุ ที่

    หมายถึงปัญญานั่นเอง กล่าวคือ ไม่เห็นเป็นไปตามความเชื่อหรือความอยากความยึดของตนเอง แต่เห็นเป็นไปหรือเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่ง(ธรรม)นั้นๆด้วยปัญญา

    ส่วนวิปัสสนาญาณนั้น เป็นการจำแนกแตกธรรม ที่จัดแสดงเน้นว่าญาณใดในโสฬสญาณทั้ง ๑๖ ข้างต้น ที่จัดเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาหรือการปฏิบัติหรือวิธีการเรืองปัญญาในการดับ

    ทุกข์ ซึ่งได้จำแนกออกเป็น ๙ กล่าวคือ ข้อ ๔- ๑๒ ในโสฬสญาณนั่นเอง



    โสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖


    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ

    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป

    ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งในนามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย

    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์

    ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙

    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน

    ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค

    ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน

    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน

    ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส


    วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ


    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป

    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา

    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ

    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย

    ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย

    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง

    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร

    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

    ดังมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้


    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ สังขารปริเฉท ญาณหรือความรู้ความเข้าใจในรูปและนาม คือแยกออกด้วยความเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นรูปธรรม


    อันสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งใดเป็นนามธรรม อันเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอย่างถูกต้อง เหล่านี้เป็นความเข้าใจขั้นพื้นฐานในการพิจารณาธรรมให้เข้าใจยิ่งๆ

    ขึ้นไป (เป็นการเห็นด้วยปัญญาว่า สักแต่ว่า นาม กับ รูป ไม่มีตัวตนแท้จริง) - เรียกง่ายๆว่าเห็น นาม รูป

    ๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ ญาณที่เข้าใจในเหตุปัจจัย คือรู้เข้าใจว่านามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย พระอรรถกถาจารย์ในภายหลังๆเรียกว่าเป็น "จูฬ

    โสดาบัน" คือพระโสดาบันน้อย ที่ถือว่าเป็นผู้มีคติหรือความก้าวหน้าอย่างแน่นอนในพระศาสนา (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย) - เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน

    จึงเกิดขึ้น

    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณา พิจารณาเห็นการเกิด การตั้งอยู่อย่างแปรปรวน การดับไป คือเห็นด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ใน ความไม่เที่ยง,แปรปรวนและดับไปทั้งหลายตาม

    แนวทางพระไตรลักษณ์นั่นเอง (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่า ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง) - เห็นพระไตรลักษณ์

    ๔. อุทยัพพยญาณ (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการเกิดดับของขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์ หรือการเห็นการเกิดดับของรูปและนามนั่นเอง คือ

    พิจารณาจนเห็นตามความเป็นจริงในการการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ จนเห็นได้ด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรมคือในขณะที่เกิดและค่อยๆดับสลายลงไป (เห็น

    และเข้าใจสภาวะธรรมดังกล่าวในแง่ปรมัตถ์ เช่นเห็นสังขารขันธ์ความคิดที่ผุดว่าเพราะสังขารนี้จึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่รายละเอียดปลีกย่อยของความคิดนั้นๆ และไม่ปรุงแต่งต่อในสิ่งที่เห็นนั้นๆ

    ด้วยถ้อยคิดใดๆ ดังการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น) - เห็นการเกิดดับของรูปและนาม หรือกระบวนธรรมของขันธ์๕ ทางปัญญา

    ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ภังคานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการแตกดับ เมื่อเห็นการเกิดดับบ่อยๆ ถี่ขึ้น ชัดเจนขึ้น ก็จักเริ่มคำนึงเด่นชัดขึ้นด้วยปัญญา

    ในความดับไป มองเห็นเด่นชัดขึ้นที่จิตที่หมายถึงปัญญานั่นเอง ถึงการต้องดับสลายไปของนาม รูป หรือของขันธ์ต่างๆ การดับไปจะเห็นได้ชัด ถ้าอุเบกขา ที่หมายถึง การเป็นกลางวางที

    เฉย รู้สึกอย่างไรไม่เป็นไร แต่ไม่เอนเอียงแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่งใดๆ ก็จะเห็นการดับไปด้วยตนเองชัดแจ้งเป็นลำดับ โดยปัจจัตตัง - เห็นการดับ

    ๖. ภยญาณ (ภยตูปัฏฐานญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันมองเห็นสังขารหรือนามรูปว่า เป็นของที่มีภัย เพราะความที่ไปเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารหรือนามรูปต่างล้วนไม่

    เที่ยง ต้องแปรปรวน แตกสลาย ดับไป ไม่มีแก่นแกนตัวตนอย่างแท้จริง ถ้าไปยึดไปอยากย่อมก่อทุกข์โทษภัย เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด - เห็นสังขารเป็นของมี

    ภัย ต้องแตกดับเป็นธรรมดา จึงคลายความอยากความยึดในสังขารต่างๆ

    ๗. อาทีนวญาณ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณคำนึงเห็นโทษ เมื่อเห็นสิ่งต่างล้วนต้องดับแตกสลายไปล้วนสิ้น จึงคำนึงเห็นโทษ ที่จักเกิดขึ้น ว่าจัก

    เกิดทุกข์โทษภัยขึ้น จากการแตกสลายดับไปของสังขารหรือนามรูปต่างๆถ้าไปอยากหรือยึดไว้ เกิดสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติอันเป็นทุกข์อันเป็นโทษ - เห็นโทษ


    ๘. นิพพิทาญาณ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันคำนึงถึงด้วยความหน่าย จากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสังขารหรือขันธ์๕ ว่าล้วนไม่เที่ยง

    แปรปรวน และแตกดับไปเป็นที่สุด ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ตามปรารถนาเป็นที่สุด จึงเกิดความหน่ายต่อสังขารต่างๆเพราะปัญญาที่ไปรู้ตามความเป็นจริงอย่างที่สุดนี่เอง - ความหน่าย

    คลายความยึดความอยากหรือเหล่าตัณหาทั้งปวงจากการไปรู้ความจริง

    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ (มุจจิตุกัมยตาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณหยั่งรู้ มีความหยั่งรู้ว่าต้องการพ้นไปเสียจากสังขารชนิดก่อทุกข์ คือ ปรารถนาที่จะพ้นไปจาก

    สังขารหรือขันธ์๕ที่ก่อให้เกิดทุกข์ (หมายถึงอุปาทานขันธ์๕) - ปรารถนาพ้นไปจากทุกข์

    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทางหลุดพ้นไปเสียจากภัยเหล่านั้น ดังเช่น โยนิโสมนสิการหรือปัญญา

    หยิบยกสังขารหรือขันธ์๕(นามรูป)ขึ้นมาพิจารณาโดยพระไตรลักษณ์ เพื่อหาอุบายที่จะปลดเปลื้องหรือปล่อยวางในสังขารหรือขันธ์๕เหล่านี้ เพื่อให้หลุดพ้นจากภัยเหล่านั้น - ทบทวน

    พิจารณา

    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (สังขารุเปกขาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร เมื่อรู้เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายทั้ง

    ปวงด้วยปัญญา เช่น สังขารอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็วางใจเป็นกลางต่อสังขาร และกายสังขารได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ติดใจในสังขารทั้งหลาย จึงโน้มน้อมที่จะมุ่งสู่ความหลุดพ้นหรือพระ

    นิพพาน - วางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง

    ๑๒. อนุโลมญาณ (สัจจานุโลมิกญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเป็นไปโดยการหยั่งรู้อริยสัจ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายแล้ว ญาณอันคล้อยตามอริยสัจย่อม

    เกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร หรือญาณอันเกิดแต่ปัญญาที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะปุถุชนและภาวะอริยบุคคล

    ๑๔. มรรคญาณ ญาณอันสำเร็จให้เป็นอริยบุคคลต่อไป

    ๑๕. ผลญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นแล้ว ผลญาณก็เกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆในชั่วมรรคจิต ตามลำดับแต่ละขั้นของอริยบุคคล

    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เป็นอันจบ

    กระบวนการบรรลุมรรคผลในขั้นหนึ่งๆคืออริยบุคคลขั้นหนึ่งๆ หรือถึงพระนิพพาน



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 03:44 PM
     
  8. lover said:
    วิปัสสนาญาณ


    วิปัสสนาญาณ ๙

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ

    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ

    ๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว

    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร

    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย

    ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย

    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร

    ๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร

    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ

    ญาณทั้ง ๙ นี้ ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้น เป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้

    พิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคค

    ตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ คือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์

    เดือดร้อนก็ ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้ เป็น

    เรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้น คำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้อง

    ตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับ ความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตยัง

    มีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติ คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง

    นอน ยืน เดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรัก

    มีอารมณ์ ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน คือ

    ตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบัน ต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

    ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่า สังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า

    สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตาย ของที่มี

    ขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่าง

    นั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลม

    ปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้อง

    เข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มี

    อะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม

    ข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก

    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ

    ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิด และความดับสิ้นเมื่อปลายมือ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติ ทุกวัน ทุกเวลา คือ

    พิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คน สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่าง ให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตาม ความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านั้นค่อย ๆ เก่า

    ลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และ ค่อยๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจาก เป็นของใหม่ค่อยๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็ม

    ไปด้วยกิ่งใบที่ไสว กลายเป็นต้นไม้ที่ค่อยๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็น อาการของความสลายตัว ทีละน้อยค่อยๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่คือความดับสิ้นในที่สุด

    ค่อยพิจารณา ให้เห็นชัดเจนแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่าไม่มีอะไร มันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อยๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็ เช่น

    เดียวกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่มีสภาพค่อย ๆ สลายตัวลงไปทุกขณะเป็นธรรมดา

    รวมความว่า ความเกิดขึ้นนี้เป็นสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อย ๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อยทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับ เลยแม้แต่

    เสี้ยวของวินาที ปกติเป็นอย่างนี้จิตหายความหวั่นไหว เพราะเข้าใจและคิดอยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ

    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ

    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ท่านหมายถึงให้กลัวเพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขาร เมื่อมี

    สภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรค มีโรคภัยนานา ชนิดที่คอยเบียดเบียน เสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มี โรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กิน

    เท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้ว กินนอกบ้านก็แล้ว อาหาร ราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิว ถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของ มันฉะนั้น โรคที่

    สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือโรคหิวดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็ เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะ

    อาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจาก ภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก

    ควร จะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป

    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ

    ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับ ญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้น ข้อนี้จึง ไม่ต้อง

    อธิบายโปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจารณา



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 06:10 PM
     
  9. lover said:
    โสดาบัน เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ


    สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา

    วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่

    สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็

    ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา

    ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่น ๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้ คฤหัสถ์ คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระ

    โสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น


    การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียร

    ฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 06:21 PM
     
  10. lover said:
    สกทาคามี



    สกทาคามี หรือ สกิทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่ ๒ ใน ๔ ประเภท

    ที่เรียกว่า "ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว"

    หมายถึง พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพาน

    ผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระโสดาบัน

    อีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือ

    -กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ

    -ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ คล้ายความพยาบาทอย่างละเอียด

    หากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามี





    อนาคามี



    อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหม

    โลกนั้นเลย เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ ใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ

    (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) อีก ๕ ประการ คือ

    -รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ

    -อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในอรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ

    -มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี (แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น

    -อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต

    -อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง

    อนึ่งพึงเข้าใจว่า แม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชน (ผู้ยังไม่เป็นบรรลุเป็นพระอริยบุคคล)

    เช่น มานะ อุทธัจจะ หรือ อวิชชา

    แต่สังโยชน์เบื้องสูงอันเป็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของพระอนาคามีนั้น เป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมาก




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 06:27 PM