กระทู้ธรรม

กระทู้: กระทู้ธรรม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. lover said:
    พระอรหันต์ แบ่งตามสถานะ มี 3 ประเภท



    1. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้วได้ก่อตั้งศาสนาพุทธ

    สามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ตามได้

    2. พระปัจเจกพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้ว แต่ไม่ประกาศศาสนา ไม่มีสาวก เกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น

    3. พระอรหันตสาวก คือสาวกผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากการปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า

    พระอรหันต์ 2 คือ

    วิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง

    สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ

    พระอรหันต์ 4 คือ

    สุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว

    เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ระลึกชาติได้) จุตูปปาตญาณ (รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)

    อันเป็นที่เกิดจากการเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริงจึงรู้เหตุการณ์ที่จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น อาสวักขยญาณ (รู้ทำอาสวะให้สิ้น)

    อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือวัตรธุดงค์

    ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือทิพฺพจักขุ ตาทิพย์ (คือฤทธิที่สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ใกล้ไกลได้ มีพระอนุรุทธะ เป็นเอกทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการมีตาทิพย์

    คือสามารถมองเห็นโลกใบนี้ ราวกับ มองเม็ดมะขามป้อมบนฝ่ามือ) ทิพยโสต หูทิพย์อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ (โดยเฉพาะมโนมยิทธิการแยกร่างและจิต

    เป็นฤทธิที่แสดงได้เฉพาะพระอรหันต์ประเภทฉฬภิญโญเท่านั้น ) เจโตปริยญาณ (ทายใจผู้อื่นได้) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้ )

    และอาสวักขยะญาณ (ญานที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ

    ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4) คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง 4 ประการ ได้แก่

    อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานในธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉานในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ

    พระอรหันต์ 5 คือ

    ปัญญาวิมุต

    อุภโตภาควิมุต

    เตวิชชะ

    ฉฬภิญญะ

    ปฏิสัมภิทัปปัตตะ

    พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ

    ไกลจากกิเลส

    กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น

    เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด

    เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

    ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 06:40 PM
     
  2. lover said:
    นามรูปคืออะไร


    นามรูปคืออะไร ขอมองในแง่ของความไม่มีตัวตน ของนามรูป เพื่อก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเลิกคิดว่ามีตัวตนเราเขา ไม่ว่าในสิ่งไรๆ

    นามรูป เกิดจากธาตุรู้(วิญญาณธาตุ)ไปเกาะ ธาตุกาย แต่เพราะความไม่รู้ จึงคิดขึ้นมาว่านี่คือตัวตนของฉัน ประกอบด้วยกายและจิต

    สิ่งที่ประชุมกันหรือประกอบเข้าด้วยกันเรียกว่านามรูป เปรียบเหมือเราเอาโซดาผสมน้ำส้มก็กลายเป็นน้ำอัดลม ถ้าไม่มีโซดา มันก็เป็นน้ำส้มธรรมดา

    ถ้าไม่มีน้ำส้ม มันก็เป็นน้ำโซดาธรรมดา แต่พอรวมกันเรากลับเรียกมันว่าน้ำอัดลม น้ำอัดลมไม่ใช่ของที่มีอยู่ เป็นแค่ชื่อเรียกเฉยๆ

    ของจริงๆคือน้ำกับโซดามารวมหน่วยกัน หรือมาประชุมรวมกัน

    นามรูปก็เช่นกัน ไม่ใช่มีใครสร้างขึ้นมา หรือเกิดขึ้นมาจากที่ไหน มันเป็นแค่ชื่อเรียก เมื่อธาตุรู้มาเกาะธาตุกาย ถ้าธาตุรู้เลิกเกาะธาตุกาย

    นามรูปก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่พอเลิกเกาะกัน เขาก็เลิกเรียกนามรูป แต่เรียก กาย กับจิตแทน เหมือนเรียก น้ำ กับโซดา เลิกเรียกน้ำอัดลม

    ความไม่รู้นี่เอง พอธาตุรู้มาเกาะธาตุกายปุ๊บก็คิดว่านามรูปนี่คือตัวตนของฉันขึ้นมา ทั้งๆที่ความจริงเหมือนเอาของสองสิ่งมารวมกันเท่านั้นเอง

    "เพราะมีการประชุมรวมกันกัน จึงมีศัพท์เรียกว่านามรูป" พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสเช่นนี้ แต่เราไม่รู้ความจริงเราเลยคิดว่าจิตคือผู้สร้างนามรูป

    และนามรูปไปสร้างอายตนะ ความที่ยังไม่รู้ความจริงในสิ่งทั้งปวง จึงทำให้คิดว่ามีการสร้างเกิดขึ้น เป็นธาตุรู้คือผู้สร้างนามรูป ลองเปรียบเทียบกับน้ำอัดลม

    โซดาไม่ใช่ผู้สร้างน้ำอัดลม และ น้ำส้มก็ไม่ใช่ผู้สร้างน้ำอัดลม แต่ทั้งสองอย่างมาประชุมกันศัพท์ที่ชื่อว่าน้ำอัดลมจึงมี มีแค่ชื่อ

    ตัวจริงไม่มีจึงไม่มีทั้งใครผู้สร้างและใครถูกสร้างขึ้นมา นามรูปก็เช่นกัน เพราะธาตุรู้กับธาตุกายมาประชุมรวมกัน ศัพท์ที่ชื่อว่า นามรูปจึงมี

    กรณีธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันแล้วมีศัพท์เกิดขึ้น เราต้องรู้ความตามที่เป็นจริงให้ได้ จะทำให้เราเห็นความไม่มีตัวตนของเราและของสิ่งปรุงแต่งได้ชัดเจนขึ้น

    ใครหมั่นพิจารณาเนืองๆ พิจารณาดูทุกๆสิ่งที่มาสัมผัส ว่าเกิดจากการประชุมรวมกันของสิ่งไรบ้าง พิจารณาเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติลึกซึ้งขึ้น

    จนเห็นความจริงว่าที่แท้ ธรรมชาติของสิ่งปรุงไม่มีตัวตนอยู่เลย มีแต่ชื่อเรียกทั้งนั้น เมื่อเข้าใจในจุดนี้

    ย่อมไม่ยากที่จะทำลายความเห็นว่ามีตัวเราตัวเขาออกเสียจากความนึกคิด



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-23-2014 เมื่อ 06:45 PM
     
  3. lover said:
    ชีวิต คือ กายและจิต(ขันธ์ 5 คือ รูปและนาม)



    ร่างกาย + จิตใจ = ชีวิต ถ้ามีแต่ร่างกาย (รูป) ไม่มีจิตใจ น่าจะเรียกว่า ซากศพ หรือ ถ้ามีแต่จิต(ใจ)

    แต่ไม่มีกาย อาจเป็น ผี หรือเทวดา ดังนั้นองค์ประกอบของชีวิต จึงต้องมีทั้งกายและใจ หรือ รูปและนามประกอบกัน จึงเป็นขันธ์ 5

    มีหลักธรรมที่ต้องทำความเข้าใจ 5 ประการดังนี้

    1. รูป ( รูปร่าง ) หมายถึง ร่างกาย ของคนและสัตว์

    2. เวทนา (ความรู้สึก) หมายถึง ความรู้สึก ดีใจ เสียใจ ความรู้สึกร้อน หนาว และความรู้สึกต่าง ๆ

    3. สัญญา (ความจำ) หมายถึง การกำหนดจดจำ อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    กล่าวคือ จำภาพที่เคยเห็น จำเสียงที่เคยได้ยิน จำกลิ่นที่เคยดม จำรสที่เคยลิ้ม จำสัมผัสที่เคยสัมผัส และจำได้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว

    4. สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) หมายถึง การปรุงแต่งอารมณ์ ดี ไม่ดี และเฉย ๆ เป็นต้น

    5. วิญญาณ (การรู้แจ้งอารมณ์) หมายถึง การรับรู้ ที่มากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    สรุป ข้อ 1 เป็น รูป (กาย ) ส่วนข้อ 2,3,4และ ข้อ 5 จัดเป็น จิต (นาม) มนุษย์และสัตว์ จึงประกอบไปด้วยขันธ์ 5 หรือที่เรียกว่า เบญจขันธ์ 5

    การศึกษา เพื่อเข้าใจในธรรม ต้องเป็นไปเพื่อเข้าใจขันธ์ 5 เพื่อ ให้เกิดการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยมีการขัดเกลาจิตใจให้คลายอุปาทาน

    ก็จะนำมาซึ่งความสุขสงบได้ในที่สุด





    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-26-2014 เมื่อ 05:58 PM
     
  4. lover said:
    คำทำวัตรเช้า


    คำบูชาพระรัตนตรัย

    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,

    ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)

    พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว

    สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

    ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง

    อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,

    ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

    สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว,

    ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

    ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา

    ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง

    อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ

    ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

    อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา

    พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ

    ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

    ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)

    พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

    ธัมมัง นะมัสสามิ

    ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

    สังฆัง นะมามิ.

    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)


    ปุพพภาคนมการ


    (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    อะระหะโต,

    ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

    สัมมาสัมพุทธัสสะ.

    ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

    (กล่าว ๓ ครั้ง)


    พุทธาภิถุติ

    (หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด


    โย โส ตะถาคะโต

    พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด

    อะระหัง

    เป็นผู้ไกลจากกิเลส

    สัมมาสัมพุทโธ

    เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    วิชชาจะระณะสัมปันโน

    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

    สุคะโต

    เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

    โลกะวิท

    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

    เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    สัตถา เทวะมะนุสสานัง

    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    พุทโธ

    เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

    ภะคะวา

    เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

    โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง

    ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว,

    ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ,์

    พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

    โย ธัมมัง เทเสสิ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว

    อาทิกัล๎ยาณัง

    ไพเราะในเบื้องต้น

    มัชเฌกัล๎ยาณัง

    ไพเราะในท่ามกลาง

    ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง

    ไพเราะในที่สุด

    สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ

    ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง,

    พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ

    ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ

    ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

    (กราบระลึกพระพุทธคุณ)


    ธัมมาภิถุติ


    (หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด


    โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

    พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

    สันทิฏฐิโก

    เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

    อะกาลิโก

    เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

    เอหิปัสสิโก

    เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

    โอปะนะยิโก

    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

    เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

    ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ

    ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น

    ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ

    ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า

    (กราบระลึกพระธรรมคุณ)


    สังฆาภิถุติ

    หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระสงฆ์เถิด


    โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว

    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

    ยะทิทัง

    ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ

    จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา

    คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ*

    * สี่คู่คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล,

    อนาคามิมรรค อนาคามิผล, อรหัตตมรรค อรหัตตผล.

    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    อาหุเนยโย

    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

    ปาหุเนยโย

    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

    ทักขิเณยโย

    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

    อัญชะลิกะระณีโย

    เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ

    เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

    ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

    ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น

    ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ

    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า

    (กราบระลึกพระสังฆคุณ)



    รตนัตตยัปปณามคาถา


    (หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ

    สังเวคะวัตถุปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัยและบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด


    พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว

    พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ

    โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน

    พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด

    โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก

    เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก

    วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง

    ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

    ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน

    พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป

    โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก

    จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด

    โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน

    ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น

    วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง

    ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

    สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต

    พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย

    โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก

    เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด

    โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส

    เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเลเป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี

    วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง

    ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

    อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,

    ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา,มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา

    บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,

    ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้, ขออุปัทวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย,

    จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น

    สังเวคปริกิตตนปาฐะ

    อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน

    พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

    เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก

    และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์

    อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก

    เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน

    สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต

    เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ

    มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ

    พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

    ชาติปิ ทุกขา

    แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

    ชะราปิ ทุกขา

    แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

    มะระณัมปิ ทุกขัง

    แม้ความตายก็เป็นทุกข์

    โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา

    แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย

    ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

    ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข

    ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

    มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

    ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์

    เสยยะถีทัง

    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

    รูปูปาทานักขันโธ

    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป

    เวทะนูปาทานักขันโธ

    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา

    สัญญูปาทานักขันโธ

    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา

    สังขารูปาทานักขันโธ

    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร

    วิญญาณูปาทานักขันโธ

    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ

    เยสัง ปะริญญายะ

    เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง

    ธะระมาโน โส ภะคะวา

    จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่

    เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ

    ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้เป็นส่วนมาก

    เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ

    อนึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย,

    ส่วนมากมีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า

    รูปัง อะนิจจัง

    รูปไม่เที่ยง

    เวทะนา อะนิจจา

    เวทนาไม่เที่ยง

    สัญญา อะนิจจา

    สัญญาไม่เที่ยง

    สังขารา อะนิจจา

    สังขารไม่เที่ยง

    วิญญาณัง อะนิจจัง

    วิญญาณไม่เที่ยง

    รูปัง อะนัตตา

    รูปไม่ใช่ตัวตน

    เวทะนา อะนัตตา

    เวทนาไม่ใช่ตัวตน

    สัญญา อะนัตตา

    สัญญาไม่ใช่ตัวตน

    สังขารา อะนัตตา

    สังขารไม่ใช่ตัวตน

    วิญญาณัง อะนัตตา

    วิญญาณไม่ใช่ตัวตน

    สัพเพ สังขารา อะนิจจา

    สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ

    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน, ดังนี้

    เต (ตา) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า มะยัง โอติณณามหะ

    พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว

    ชาติยา

    โดยความเกิด

    ชะรามะระเณนะ

    โดยความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ

    โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย

    ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย

    ทุกโขติณณา

    เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว

    ทุกขะปะเรตา

    เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว

    อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ

    อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ

    ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้

    สำหรับ พระภิกษุ - สามเณรสวด

    จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง

    เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส

    ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, แม้ปรินิพพานนานแล้ว, พระองค์นั้น

    สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา

    เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว

    ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รห๎มะจะริยัง จะรามะ

    ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น

    ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา

    ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย

    ตัง โน พ๎รห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ

    ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ

    สำหรับอุบาสก, อุบาสิกา

    จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง

    สะระณังคะตา

    เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,

    แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ

    ธัมมัญจะ สังฆัญจะ

    ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย

    ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ, ยะถาพะลัง

    มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ

    จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง

    สา สา โน ปะฏิปัตติ

    ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย

    อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ

    จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-26-2014 เมื่อ 05:59 PM
     
  5. lover said:
    คำทำวัตรเย็น


    คำบูชาพระรัตนตรัย


    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,

    ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)

    พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว

    สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

    ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,

    อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,

    ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

    สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว,

    ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

    ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,

    ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง

    อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,

    ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

    อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,

    เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ


    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

    พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,

    ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

    ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, อ่านว่า สะ-หวาก-ขา-โต (สะออกเสียงแต่น้อยไม่เต็มคำ)

    พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

    ธัมมัง นะมัสสามิ

    ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

    สังฆัง นะมามิ.

    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)



    ปุพพภาคนมการ



    (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด



    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    อะระหะโต,

    ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

    สัมมาสัมพุทธัสสะ.

    ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

    (กล่าว ๓ ครั้ง)




    พุทธานุสสติ


    (หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด


    ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,

    ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:-

    อิติปิ โส ภะคะวา,

    เพราะเหตุอย่างนี้ๆ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

    อะระหัง,

    เป็นผู้ไกลจากกิเลส

    สัมมาสัมพุทโธ,

    เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    วิชชาจะระณะสัมปันโน,

    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

    สุคะโต,

    เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

    โลกะวิทู,

    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,

    เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    สัตถา เทวะมะนุสสานัง,

    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    พุทโธ,

    เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

    ภะคะวา ติ.

    เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์, ดังนี้




    พุทธาภิคีติ



    (หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด



    พุทธ๎ะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,

    พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น

    สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,

    มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

    โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,

    พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน

    วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,

    ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

    พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,

    พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

    ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,

    ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า

    พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า

    พุทโธ เม สามิกิสสะโร,

    ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,

    พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,

    พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

    พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,

    ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า

    วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,

    พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,

    ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,

    สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

    พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า

    ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

    ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

    สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.

    อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น

    (หมอบกราบ)

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,

    ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

    พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,

    กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า

    พุทโธ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,

    ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.

    เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.(๒)

    บทขอให้งดโทษนี้ มิได้เป็นการล้างบาป, เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง; และคำว่าโทษในที่นี้

    มิได้หมายถึงกรรม : หมายถึงโทษเพียงเล็กน้อยซึ่งเป็น“ส่วนตัว” ระหว่างกัน ที่พึงอโหสิกันได้.

    การขอขมาชนิดนี้สำเร็จผลได้ ในเมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ, และเป็นเพียงศีลธรรม และสิ่งที่ควรประพฤติ.




    ธัมมานุสสติ



    (หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด



    ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

    พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

    สันทิฏฐิโก,

    เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

    อะกาลิโก,

    เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

    เอหิปัสสิโก,

    เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

    โอปะนะยิโก,

    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี*ติ. *ศัพท์ที่มีคำว่า - หี ทุกแห่งให้ออกเสียงว่า - ฮี

    เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน, ดังนี้.




    ธัมมาภิคีติ



    (หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด




    ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,

    พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น

    โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,

    เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผลปริยัติและนิพพาน

    ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,

    เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

    วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,

    ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

    ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,

    พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

    ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,

    ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า

    ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า

    ธัมโม เม สามิกิสสะโร,

    ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

    ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,

    พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

    ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,

    ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม

    วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,

    ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,

    ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,

    สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

    ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า

    ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

    ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

    สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.

    อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

    (หมอบกราบ)

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,

    ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

    ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,

    กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม

    ธัมโม ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,

    ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.

    เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป





    สังฆานุสสติ



    (หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด





    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,

    ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

    ยะทิทัง,

    ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-

    จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,

    คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ*

    * สี่คู่คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค อนาคามิผล, อรหัตตมรรค อรหัตตผล.

    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

    นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    อาหุเนยโย,

    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา

    ปาหุเนยโย,

    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

    ทักขิเณยโย,

    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

    อัญชะลิกะระณีโย,

    เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.

    เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.




    สังฆาภิคีติ



    (หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)

    เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด




    สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,

    พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น

    โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,

    เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก

    สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,

    มีกายและจิตอันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้นอันบวร

    วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง,

    ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี

    สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,

    พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

    ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,

    ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า

    สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า

    สังโฆ เม สามิกิสสะโร,

    ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

    สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,

    พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

    สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,

    ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์

    วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,

    สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,

    ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์

    นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,

    สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

    สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า

    ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,

    ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

    สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.

    อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

    (หมอบกราบ)

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,

    ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

    สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,

    กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์

    สังโฆ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,

    ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

    กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.

    เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-26-2014 เมื่อ 05:59 PM
     
  6. lover said:
    การทำสมาธิและดำเนินจิตสู่วิปัสสนา (ภาคต้น)



    การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน

    หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนา

    ปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญา เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว

    แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้ปฏิบัติก็ย่อมมีกำลังและ

    อยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้

    การทำสมาธิ โดยการกำหนดอิริยาบถทางกายทั้ง 4 ได้แก่ การยืน การเดินจงกรม การนั่ง ( พองยุบ,พุทโธ ฯลฯ)

    การนอน โดยใช้สติ-สัมปชัญญะ ตามดู รู้ทัน จิต ให้อยู่กับอิริยาบถที่

    กาย ทำอยู่ในปัจจุบันนั้น เมื่อ จิต แวบออกไปจากอิริยาบถนั้น ก็ กำหนดรู้ ตามอารมณ์ ที่ จิตไปรับรู้ แล้ว

    กลับมาอยู่ที่อิริยาบถที่ กาย ทำอยู่ในปัจจุบันนั้นต่อไป เมื่อทำเช่นนี้ได้เป็น สิบ,

    ร้อย, พัน, หมื่นๆ ครั้ง จิตจะเริ่มละจากอารมณ์ที่ไปเกาะยึดภายนอก กลับมารวมตัวกันทำให้มีกำลังและความละเอียดเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็น สมาธิ

    กำลังสมาธิที่ได้ เราสามารถเลือกดำเนินไปในแนวทาง สมถภาวนา คือ การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น

    โดยใช้กรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติอาจจะใช้กรรมฐาน

    บทใดบทหนี่ง ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ หรือ ดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนาภาวนา โดยมีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนาม

    สิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" (ที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น 5 อย่าง) ซึ่งนิยมเรียกกันว่า

    "รูป - นาม" โดย รูป มี ๑ ส่วน นาม นั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

    ในที่นี้ เป็นแนวทางดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนาภาวนา เมื่อเรากำหนดรู้ทันจิตที่แวบออกไปคิด (ไปยึดติด-ปรุงแต่ง)

    เรื่องอื่นใด(อารมณ์ใด) นั้น จิตก็เหมือนถูกปลุกให้ตื่นจากที่ไปยึดหรือปรุง

    แต่งความคิดนั้น เมื่อไม่ไปยึดไว้ เรื่องที่คิดหรืออารมณ์นั้นๆ ก็จะจางหายไปเอง คือ เมื่อ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไป

    ตามกฎไตรลักษณ์ นี่คือ วิปัสสนาภาวนาอย่างง่าย นั้นคือ การตามดู-รู้

    อารมณ์ –ละอารมณ์ของตนเองก่อน เมื่อละอารมณ์นั้นแล้ว ก็กลับมาทำสมาธิต่อไปโดยใช้สติ-สัมปชัญญะ ตามดู รู้ทัน จิต

    ให้อยู่กับอิริยาบถที่ กาย ทำอยู่ในปัจจุบันนั้น และทุกครั้งที่

    จิต แวบออกไปจากอิริยาบถนั้น ก็ กำหนดรู้ ตามอารมณ์ ที่ จิตไปรับรู้ แล้วละอารมณ์โดยเห็นตามจริงตามกฎไตรลักษณ์

    เมื่อละอารมณ์นั้นแล้ว ก็กลับมาทำสมาธิต่อไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไป

    จิตก็จะมีสมาธิและความละเอียดยิ่งขึ้นไปตามลำดับ สามารถกำหนดรู้อารมณ์นั้น ว่าเป็นนิวรณ์ธรรมใด

    (ความพอใจ , ฟุ้งซ่าน, …) เป็นอุปาทานใด (ธรรมารมณ์, ทิฐิ,…) เมื่อละอารมณ์นั้น

    แล้ว ก็กลับมาทำสมาธิต่อไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไป เมื่อจิตได้รับการสอน รู้และละอารมณ์

    จนสามารถแยกแยะอารมณ์ระหว่างจิตที่เป็นอิสระ กับ จิตที่เข้าไปยึดมั่นในรูป-นาม

    (จิตที่ทุรนทุราย เศร้าหมอง จิตที่ เป็นทุกข์) จะช่วยให้สามารถละวาง ด้วยความรู้ตามจริงตามหลักพระไตรลักษณ์ ได้ดีขึ้น

    จิตที่มีกำลัง ว่องไว ชำนาญจะสามารถแยกแยะ รูป-นาม ที่ผัสสะผ่านทางอายตนะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

    เห็นกระบวนการเกิดซึ่งอารมณ์เหล่านั้น การชักนำโดย โลภะ โทสะ

    โมหะ การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น

    พระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เกิด

    นิพพิทาญาณ คือ ญาณเห็นด้วยปัญญาถึงความไร้สาระและเกิดความหน่ายต่อการปรุงแต่งทั้งหลาย (ไม่ใช่อารมณ์เบื่อ ไม่พอใจ ของคนขี้เกียจ เซ็ง)

    การเจริญสมาธิและวิปัสสนาควบคู่ต่อเนื่องกันไปตามที่กล่าวข้างต้นแล้วนั้น เป็นไปตามหลัก "สมาธิอบรมปัญญา" และ "ปัญญาอบรมสมาธิ"

    เมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่า จิตตกระแสธรรมตัดกิเลสได้

    ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะ

    นึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่เป็นการแจ้งในจิต ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ

    ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้

    เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น

    และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ

    สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

    เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ"

    ทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย

    อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของ

    ขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว

    ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้

    การดำเนินจิตเข้าสู่ วิปัสสนาภาวนา ในทางปฏิบัตินั้น คือ การนำสมาธิที่ได้จากการเจริญสติ-สัมปชัญญะ ดังกล่าวมาตามดู-รู้อารมณ์ ตนเอง

    กำหนดรู้ แล้วละวาง ด้วยความรู้ตามจริงตาม

    หลักพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่มีสิ่งใดทนทานหรือตั้งอยู่ได้ มีความเสื่อมสลายและดับไปเป็นธรรมดา ทำให้เกิดความหน่าย

    (นิพพิทาญาณ) คลายความยึดมั่น

    ถือมั่นในอารมณ์นั้น หากกำลังสมาธิและวิปัสสนาญาณยังอ่อน ก็จะเห็นในรูป นิวรณ์ธรรม เราก็กำหนดรู้ แล้วละวางมาสู่อิริยาบถในปัจจุบัน

    เมื่อเรากำหนดรู้ทัน ว่าสิ่งที่เกิดเหล่านั้นเป็น

    อนิจจัง คือ ถ้าเราไม่ไปยึดหรือคิดฟุ้งซ่าน เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไปเอง การฝึกหัดเช่นนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการรู้และละอารมณ์

    เป็นญาณทัสสนะเบื้องต้นในการรู้ตาม

    จริง




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-26-2014 เมื่อ 06:00 PM
     
  7. lover said:
    การทำสมาธิและดำเนินจิตสู่วิปัสสนา (ภาคขยาย)



    อารมณ์ที่รู้ในเบื้องต้น เหตุเพราะสมาธิยังไม่มากพอ จะกำหนดรู้ได้เป็นเพียงนิวรณ์ธรรม, เป็นความนึกคิดที่ปรุงสำเร็จแล้ว,

    เป็นธรรมารมณ์……. ต่อเมื่อ

    สมาธิจิตเริ่มมีกำลังและก้าวหน้า ก็พอจะกำหนดรู้ว่าความนึกคิดที่ปรุงสำเร็จแล้วนั้นเกิดจากอะไร? เป็นชนิดไหน? เช่น มานะ , ทิฐิ

    มีตัณหาช่วยให้มีรสชาติถูกจริตตามอุปาทานที่มีอยู่ มี โลภะ โทสะ โมหะ ชักจูงไปให้เกิดการปรุงนั้น

    อนึ่ง มานะ ทิฐิ ที่เกิดขึ้นนั้น มีเหตุอันเกิดจากความยึดมั่น ถือมั่น ยินดีพอใจ ในกองรูป(กาย)ของตนเอง จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น

    การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง การพิจารณากาย ก็คือให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า

    อันร่างกายของคนเราแท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาพืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไป

    ที่ขับถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลายก็เป็นของที่สกปรกโสโครก

    นอกจากนั้นควรมีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน โดยพึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี

    ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุม เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง

    ได้แก่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป

    ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม

    เนื้อตัวร่างกายของเรา เมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด

    เมื่อมีความคล่องแคล่วและละเอียด มากขึ้น ก็จะสามารถแยกแยะ รูป-นาม ที่ผัสสะผ่านทางอายตนะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

    จนเห็นกระบวนการเกิดของภพ ชาติ เริ่มจากอุปาทานเก่า ชักนำโดย โลภะ โทสะ โมหะ เกิดนึกคิดปรุงแต่ง (กิเลสปรุงจิต)

    หากเราไม่รู้เท่าทัน ในเวทนา ในตัณหา ความเพลินนั้น (จิตปรุงกิเลส-ธรรมารมณ์ที่ยินดีพอใจ) ก็จะเกิดอุปาทานใหม่ ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

    เป็นการที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นใน รูป-นาม เกิดความทุกข์ให้จิตต้องดิ้นรน ทุรนทุราย ด้วย ตัณหา ไปตามอุปาทานนั้น

    การแยกแยะอารมณ์ระหว่างจิตที่เป็นอิสระ กับ จิตที่เข้าไปยึดมั่นในรูป-นาม ซึ่งทำให้จิตต้องดิ้นรน ทุรนทุราย

    ทำให้รู้จักทุกข์ จะช่วยให้สามารถละวาง ด้วยความรู้ตามจริงตามหลักพระไตรลักษณ์ ได้ดีขึ้น ความก้าวหน้าของจิตที่ได้รับการอบรมมาดีแล้ว

    ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ จะทำให้การกำหนดรู้ มีความเท่าทันในเหตุมากขึ้น เช่น กำหนดรู้ได้ ตั้งแต่อายตนะภายใน ผัสสะกับ อายตนะภายนอก,

    ก่อนเกิดเวทนา, ก่อนเกิดโลภะ….ยังไม่นึกคิด….หรือเมื่อเริ่มนึกคิด… ไม่ไหลไปจนเป็นความนึกคิดที่ปรุงสำเร็จแล้ว(สังขารธรรม)

    ทั้งนี้การเท่าทันในเหตุ และละได้ในขั้นตอนไหนขึ้นกับความตั้งมั่นของสมาธิ และ ความฉลาดของจิตที่ได้รับการอบรมเพื่อละความยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม นั้นเอง

    การพิจารณากายก็ดี ความเป็นธาตุทั้ง 4 ก็ดี ตลอดจนการกำหนดรู้ทุกข์ และเท่าทันใน กระบวนการเกิด อุปาทานภพ ชาติ ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

    จะทำให้เกิด นิพพิทาญาณ คือ ญาณเห็นด้วยปัญญาถึงความไร้สาระและเกิดความหน่ายต่อการปรุงแต่งทั้งหลาย ส่งผลให้จิตอยู่กับปัจจุบันได้ดีขึ้น

    การเจริญสมาธิและวิปัสสนาควบคู่กันไปนี้ ตามหลัก "สมาธิอบรมปัญญา" และ "ปัญญาอบรมสมาธิ" ดังกล่าวข้างต้น

    จะทำให้การดำเนินจิตเข้าสู่ วิปัสสนาภาวนา มีความรวดเร็วและความละเอียดอย่างยิ่ง

    เมื่อจิตมีสมาธิตั้งมั่น ถอดถอนกิเลสให้เบาบาง เกิดวิปัสสนาญาณแล้ว สามารถกำหนดรู้ทันจิต ตามธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    จะมีความว่องไวเท่าทันต่อกระบวนการเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

    มีความละเอียดที่จะเห็นความยึดมั่นถือมั่นของจิตในอุปาทานเก่า(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เกิดผัสสะ เกิดเวทนา1

    (จากการกระทบของอายตนะภายใน-ภายนอกทั้ง 6)--> เกิดตัณหา ก่อเกิดอุปาทานใหม่ (ในขันธ์ทั้ง 5 นั้น)

    ดังพุทธดำรัสที่ว่า บุคคลเมื่อเสวย สุขเวทนา แล้วปล่อยให้ราคะนุสัยตามนอน เมื่อเสวยทุขเวทนา แล้วปล่อยให้ปฏิฆานุสัยตามนอน

    เมื่อเสวยอทุขมสุขเวทนา แล้วปล่อยให้ อวิชชานุสัยตามนอน แล้ว การกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ไม่อยู่ในฐานะที่สามารถกระทำได้

    อนึ่ง ควรทราบว่า เวทนา ที่เกิดกับใจ ไม่ใช่กิเลส หากแต่ความไม่รู้ ไปยึดว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ทำให้เกิดกิเลส

    แม้แต่เมื่อจิตแจ้งในไตรลักษณ์ ถอดถอนอุปาทานหยาบไปจนละเอียดขึ้นเรื่อยๆได้ ยกขึ้นสู่สภาวธรรมใหม่

    จิตที่ผัสสะกับธรรมที่แจ้งนั้น ก็ยังเกิดเวทนา2 ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ได้อยู่ หากแต่เป็นเวทนาขันธ์ที่ละเอียดขึ้น

    ยิ่งผัสสะกับธรรมที่ละเอียดมากขึ้น ก็ยิ่งต้องอาศัยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้ามากขึ้นเพื่อที่จะละวาง ตราบใดยังมีตัณหาในรูป-นามอยู่

    เป็นเหตุที่ยังเป็นไปเพื่อการเกิดอยู่ ตราบใดที่ยังไม่รู้จักทุกข์ ยังไม่แจ้งในไตรลักษณ์อย่างแท้จริง จึงต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้รู้จักทุกข์จนถึงที่สุด

    เพื่อการปล่อยวาง ไม่อาลัยในตัณหานั้น ทำให้ตัณหาจางคลายจนดับสนิท คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ คลายความยึดมั่น ถือมั่น ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    (ขันธ์ 5)

    การดำเนินในมรรคมีองค์ 8 เป็นทางให้ถึงความหลุดพ้น เป็นการกระทำโดยทางสายกลาง ไม่มีเจตนา

    [จากอนุสัยที่ก่อขึ้น เพี่อเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ] ทำให้เราเห็น เหตุเกิด-ดับ แห่งโลก ตามความเป็นจริง

    หากยังดำเนินอยู่(เสขบุคคล) ถ้าเผลอมีเจตนา ก็จะเห็นการก้าวลงแห่งนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    และอื่นๆ ต่อเนื่องจนถึงภพ ชาติฯลฯ เป็นเหตุเกิดของ "เรา"ในโลก ทางแก้จึงเป็นการดำเนินทางสายกลาง

    เพื่อให้เห็นการเกิด-ดับ ทั้งภายนอก/ภายใน เมื่อหลงไปปรุงแต่ง(สัญเจตนาในอายตนะทั้ง 6) ก็ รู้ในความหลงนั้น

    สติเปรียบเหมือนทำนบ-เครื่องกั้นให้เห็นตามความจริง ปัญญา เป็นเครื่องนำออกจากกระแสนั้น

    เมื่อนั้นเมื่อถูกกระทบ ก็สักแต่ว่ารู้ พ้นจากความปรุงแต่งว่า"มี" หรือ "ไม่มี" เพราะ จิต ไม่มี (ความยึดมั่นถือมั่น)

    คือ จิตหลุดพ้น ถึงความเป็นธรรมชาติ ดังพุทธดำรัส เรื่องสัมมาทิฏฐิ

    ตามลิ้งค์นี้ http://www.jaisabuy.com/images/1200824889/SamaTitti.pdf

    อนึ่ง ควรทราบว่า เมื่อการดำเนินในมรรคมีองค์ 8 ถึงการเจริญให้มาก โดยเป็นอัธยาศัยแล้ว

    สัมปชัญญะและสติ จะเท่าทันในธรรมที่มากระทบทางอายตนะมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งไม่ต้องกระทำเพื่อละวางอีก

    เพราะการเจริญในมรรค เป็นการกระทำโดยไม่มีเจตนา [เพราะไม่มี"เรา"] จะเห็นสภาวะธรรมนั้นตามความเป็นจริง

    จะเห็นต่างจากที่เคยเห็น ไม่หลงในสิ่งที่เคยหลง สำหรับผู้ที่ยังดำเนินอยู่ ขณะทำความเพียรเมื่อ "มี" เราขี้นมา

    ก็จะเห็นว่าเป็นทุกข์ เห็นว่า ทุกข์นั้นเป็นเรื่องของโลก เกิด-ดับ ตามเหตุปัจจัย [ ทุกข์นั้น-โลกนั้นก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    โลกไม่มีในเรา-เราไม่มีในโลก] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

    ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ





    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-29-2014 เมื่อ 10:51 AM
     
  8. lover said:
    พระอภิธรรมสอนอะไร


    พระอภิธรรมมิได้สอนสิ่งที่อยู่นอกโลก หรือนอกตัวเรา คำสอนในพระอภิธรรมทั้งหมดเป็นความรู้เกี่ยวกับความเกิดขึ้น

    ตั้งอยู่ และดับไปของร่างกายและจิตใจอย่างละเอียดทั้งนามธรรม และรูปธรรม พร้อมทั้งอธิบายเหตุและปัจจัยของการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปนั้นๆ

    ตลอนจนแสดงแนวทางที่จะสร้างเหตุที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสงบ จนถึงที่สุดคือดับเหตุปัจจัยที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิด

    เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน

    ความรู้ในพระอภิธรรมมีเพียง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่่านั้น เมื่อเทียบกับวิชาการความรู้ทางโลกๆ ที่มีเป็นแสนเป็นล้านๆ

    เรื่อง สอนสารพัดความรู้ไปถึงนอกโลก นอกจักรวาล มีความรู้ใหม่ๆให้ติดตามเล่่าเรียนกันได้มิจบสิ้น แต่ก็ไม่สามารถทำให้ที่ผู้เรียนรู้ออกจากทุกข์ได้

    ส่วนความรู้ในทางพระอภิธรรมที่ทรงแสดงไว้เรื่องกาย เรื่องใจเพียง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านี้ สำหรับผู้ที่มีศรัทธา มีความเพียรเรียนเพื่อนำไปปฏิบัติ

    ก็สามารถเลือกศึกษาเฉพาะหมวดธรรมที่เป็นหัวใจของการปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทาง เสมือนเป็นแผนที่นำทางเดินไปสู่มรรค ผล นิพพานได้



    ความแตกต่างระหว่าง บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรม พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ความจริงสองอย่าง

    คือ ความจริงโดยสมมุติ และความจริงโดยสภาวะหรือโดยปรมัตถ์

    ความจริงโดยสมมุติโวหาร หรือสมมุติสัจจะมี ๒ ประการคือ

    ๑. สมมุติสัจจะที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในพระสูตร คือเรื่องราวในพระสูตร ที่ประกอบด้วยสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา เชาดก พุทธประวัติ เป็นต้น

    ๒. สมมุติสัจจะที่ชาวโลกใช้พูดกัน เช่น ชื่อนาย ก นาย ข ชื่อเรียกว่าพ่อ ว่าแม่ ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ว่าต้นไม้ก็เป็นชื่อสมมุติที่กลุ่มชนตกลงกันใช้ เป็นต้น

    จึงเห็นได้ว่า กลุ่มชนต่างกลุ่มกันก็สร้างสุมมุติซึ่งเป็นที่เข้าใจในกลุ่มของตนเอง ที่เห็นได้ชัดคือ คำที่ใช้เรียกสิ่งเดียวกันก็จะแตกต่างกันในแต่ละภาษา

    สมมุติจึงเป็นจริงตามที่สมมุติขึ้นเท่านั้น ยังไม่ใช่ความจริงแท้เหมือนปรมัตถธรม ดังจะกล่าวต่อไป

    ปรมัตถธรรมมี ๔ ได้แก่ "ธรรมชาติ" ของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นความจริงโดยสภาวะ ให้สังเกตุว่าข้าพเจ้าใช้คำว่า "ธรรมชาติ"

    เนื่องจาก "คำว่า" จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นบัญญัติ แต่ "ธรรมชาติ หรือสภาวะ" ของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นความจริงโดยปรมัตถ์

    หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างบัญญัติ และปรมัตถ์ก็ เช่นประโยคที่ว่า


    "นาย ก เป็นบิดาของนาง ข และเป็นลูกจ้างนาย ค ขับรถไปทำงานทุกวัน" เป็นความจริงโดยสมมุติ

    ความจริงโดยสภาวะหรือโดยปรมัตถ์นั้น ไม่มีนายก ไม่มีนาง ข ไม่มีนาย ค และไม่มีแม้กระทั่งรถยนตร์

    เพราะความจริงก็คือ เมื่อแยกแยะความเป็นกลุ่มเป็นก้อนออกมาแล้ว นาย ก นาง ข นาย ค และรถยนตร์ เป็นเพียงที่ประชุมกันของ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟเท่านั้น

    เป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟที่่รวมกันขึ้นมาเป็นอวัยวะ เป็นกระดูก เลือด เนื้อ เล็บ ขน ฟัน หนัง ตับ ไต ลำไส้ใหญ่ ลำใส้เล็ก ฯ เป็นชิ้นส่วนของร่างกายต่างๆ

    จนประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปร่างหญิง ชาย แล้วเราก็บัญญัติเรียกรุปร่างนั้นว่า นาย ก นาง ข นาย ค เหมือนบิดามารดาตั้งชื่อให้บุตรที่เกิดใหม่

    ต่างกันตรงที่ วัตถุสิิ่งของ มีเพียงรูป แต่คนและสัตว์มีทั้งรูป และความรู้สึกคือจิตใจด้วย นี้แหละคือปรมัตถธรรม นี่แหละความเป็นจริงของชีวิต

    คือดินน้ำลมไฟ กับ จิต และความปรุงแต่งในจิตที่เสื่อมสลายแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยจนสิ้นอายุขัย

    แล้วความรู้เรื่องบัญญัติ ปรมัตถ์นี้ มีประโยชน์อย่างไร

    มีประโยชน์ต่อการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะเริ่มเจริญกรรมฐานด้วยวิธีใด ไม่ว่าด้วยการเจริญสมถกรรมฐานด้วยการบริกรรม

    ด้วยการพิจารณาตามดูลมหายใจ ด้วยการพิจารณาอสุภะ (ว่าร่างกายเป็นของน่าเกลียด สกปรก) หรือด้วยการพิจารณาอาการ ๓๒

    (ว่าร่างกายเป็นที่ประชุมกันของกระดูก เอ็น ขน ผม เล็บ ฟันหนัง ฯ ) เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ

    แต่ที่สุดแล้วเมื่อผู้ปฏิบัติจะยกจิตขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็ต้องมีสติระลึกรู้อยู่ที่อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์

    ที่จิต เจตสิก รูป ส่วนนิพพานนั้นเป็นผลของการปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นเองเมื่อมีความเพียรเจริญองค์มรรคอย่างถูกต้องด้วยความต่อเนื่อง



    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-29-2014 เมื่อ 10:52 AM
     
  9. lover said:
    จิต เจตสิก รูป ทรงแสดงไว้อย่างละเอียดว่าจิต เจตสิก รูป มีอะไรบ้าง เมื่อเข้าใจว่าจิต เจตสิก รูป

    มีอะไรบ้าง ก็ทำให้เห็นธรรมโดยละเอียดยิ่งขึ้น


    ผู้ปฏิบัติที่หลายท่านท่ีฝึกการดูจิตโดยไม่มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับจิต ยิ่งดูจิตไป ท่านก็บ่นเองว่า ยิ่งฟุ้งซ่าน

    เนื่องจากท่านไปตามดูความคิด มิใช่ดูจิต ข้าพเจ้าไม่กว้่างขวาง ไม่รู้จักเพื่อนธรรมมาก แต่เท่าที่ได้สนทนาธรรมกับผู้้ปฏิบัติหลายท่านที่เรียกกันในสมัยนี้ว่าแนว

    "ดูจิต" ข ้าพเจ้าพบว่าหลายท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติมาก แต่หลายท่านก็มีปัญหาที่ทำให้ปฏิบัติไปแล้วท้อ ปฏิบัติแล้วจิตในกลับว้าวุ่น ไม่โปร่งเบา

    ประการแรก เพราะท่านเข้าใจว่าการตามดูความคิดคือการดูจิต จึงถลำลึกไปกับความคิด และความปรุงแต่ง คิดไปเรื่อยๆ แล้วตาม ดูความคิดไปเรื่อยๆ ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ

    ประการที่สอง มักจะดูแต่ธรรมที่เป็นอกุศล เมื่อถามว่า ดูจิต ท่านดูอะไร คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่คือ "ก็ดูโลภะ ดูโทสะ ดูโมหะ" ซึ่งเหมือนกับการตั้งธงไว้ว่า

    การปฏิบัติธรรมนั้น ปฏิบัติแล้วจะเป็นคนดีขี้นด้วยการทำให้โลภะ โทสะ โมหะลดลง จึงคอยจับจ้องเมื่อธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น ดังเรามักจะได้ยินบ่อยๆ

    ว่า ปฏิบัติธรรมแล้วเดี๋ยวนี้ไม่มีโทสะแล้ว อ้ันนี้ได้ยินบ่อยมาก ่ผู้ที่คิดว่าไม่โทสะแต่บ่นไม่หยุดเวลารถติด ยุงกัด หรื่อเมื่อต้องรอนานก็หงุดหงิด

    ท่านก็ว่าท่านไม่ได้มีโทสะ เพราะท่านเข้าใจว่าโทสะคือความโกรธต้องมีการแสดงออกทางกาย วาจา เมื่อท่านสำรวมกาย วาจาไว้ได้ท่านคิดว่าท่านเท่าทันโทสะ

    แต่ท่านมิได้สังเกตุใจ ว่าใจที่ยังขุ่นๆ ที่รำคาญเพียงน้อยนิด ที่เศร้าโศก อาดูร ความรู้สึกที่ไม่ได้ดังใจต่่างๆ ความอิจฉา ที่เป็นโทสะที่ละเอียดๆ ท่านสังเกตุหรือไม่

    ท่านเคยหาของไม่พบแล้วกลุ้มอกกลุ้มใจ หรือหงุดหงิดตัวเองหรือไม่ นั่นก็โทสะอย่างหนึ่งเช่นกัน

    หากไม่มีโทสะจริงๆ ก็นับว่าประเสริฐเพราะมีแต่พระอนาคามีเท่านั้นที่ตัดกิเลสที่ชื่อว่าโทสะนี้ได้ แต่หากว่ายังไม่ใช่พระอนาคามี

    ก็ต้องพิจารณาว่าการไม่โกรธนั้นเป็นเพียงหินทับหญ้า และโทสะนั้น มิได้หมายถึงความโกรธเท่านั้น เช่นเดียวกับ โลภะ โมหะ ซึ่งทรงแสดงแจกแจงไว้อย่างพิสดารและมีจริง

    ถ้าไม่ศึกษาก็่จะมองสภาวะธรรมเป็นกลุ่มเป็นก้อน พระพุทธองค์ทรงแสดงถึง สิ่งที่ปิดบังมิให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงพระไตรลักษณ์ ว่ามี ๓ ประการ

    หนึ่งในนั้นคือ ฆนสัญญา ฆนสัญญาคือความจำสำคัญมั่นหมายว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรือเป็นหน่วยรวมที่ปิดบังอตัตลักษณะไว้

    ดังนั้นเราจึงต้องมนสิการให้แยบคายถึงรายเอียดส่วนประกอบย่อยของทุกสรรพสิ่ง

    เช่นเมื่อพิจารณาจิต อย่างน้อยก็ควรเข้าใจว่าจิตมิได้มีเพียงดวงเดียว ผู้ปฏิบัิตบางท่านเข้าใจว่าจิตมีดวงเดียว ถ้าเห็นจิตเป็นดวงเดียว ก็จะไม่เห็นความเกิดดับของจิต ไม่เห็นไตรลักษณ์

    จิตมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงโดยพิสดาร แต่ละดวงก็มีสภาพธรรมที่ต่างกันตามเจตสิกที่เข้าประกอบ แบ่งโดยย่อคือ จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล

    และจิตที่เป็นกลางๆ มิใช่กุศล มิใช่อกุศล คือเป็นอุเบกขา ซึ่งจิตทั้งสามประเภทก็แบ่งย่อยลงไปได้อีกตามคุณลักษณะที่ต่างกันออกไป

    ตัวอย่างจิตที่เป็นกุศลก็มีหลายดวง เช่น จิตที่ประกอบไปด้วยศรัทธา ก็เป็นสภาวะที่ต่างกับจิตที่ประกอบไปด้วยกรุณา เมตตา ปีติ ความเพียร เป็นต้น

    ผุู้ฏิบัติที่มีความเข้าใจเรื่องจิตเป็นพื้นฐานแล้ว เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็จะแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เห็นธรรมที่แตกต่างกันเกิดดับอยู่โดยละเอียด

    ดังที่พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์) ได้กล่าวไว้ว่า "รู้จัก รู้จำ รู้แจ้ง" หมายถึง การรู้จัก การทำความเข้าใจใจความแตกต่างกันของสภาวะต่างๆไว้ก่อน

    และจำไว้ แล้วเมื่อปฏิบัติได้พบสภาวะนั้นเกิดขึ้นจริงเฉพาะหน้าก็จะรู้แจ้งด้วยตนเองว่า อ้อ นี้แหละ ความจำได้หมายรู้ในเรื่องนี้ๆ ที่แท้ก็เป็นอย่างนี้

    สภาวะที่แท้จริงเป็นเช่นนี้ ก็จะเข้าใจได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

    ส่วนรูปนั้นก็เช่นกัน ฆนสัญญาที่ปิดบังรูปว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ บุคคลเราเขา ก็จะน้อยลงหากได้ศึกษาเรื่้องรูป

    รูปนั้นพระพุทธองค์ทรงจำแนกไว้่ว่ามี ๒๘ ซึ่งหาอ่านได้ไม่ยาก ก็น่าที่จะศึกษาไว้เป็นพื้่นฐานบ้าง

    สิ่งหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจเรื่องรูปคือ ในรูป ๒๘ นั้น หทยวัตถุ หรือเรียกง่ายๆ ว่าหัวใจนั้น เป็นรูปหนึ่งที่อยู่ภายในกาย แต่หัวใจไม่ใช่จิต

    จิตเป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม แต่หัวใจเป็นรูปธรรมที่เมื่อแยกออกมาแล้วก็คือธาตุดินน้ำลมไฟที่มีแต่จะเสื่อมสิ้่นสลายไปด้วยปัจจัยที่มากระทบ

    เมื่อเจิญวิปัสสนากรรมฐาน บางท่านหาจิตไม่เจอ ก็ไปเพ่งที่หัวใจ ซึ่งไม่ใช่จิต

    การศึกษาเรื่องจิต เจตสิก รูป จึงเป็นประโยชน์มากสำหรับนักปฏิบัติที่มุ่งสู่ถนนสายนิพพาน





    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-29-2014 เมื่อ 10:52 AM
     
  10. lover said:
    คำสอนเรื่องสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยละเอียดมีอยู่

    เราได้ฟังซีดี บทความ หนังสือมากมายที่ครูอาจารย์หลายท่านอธิบายรื่อง สติปัฏฐาน ๔

    หากมีเวลาก็น่าที่จะอ่านเรื่องสติปัฏฐาน ๔

    ที่เป็นคำสอนตรงจากพระพุทธองค์บ้าง แล้วจึงเทียบเคีียงกับที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้เป็นการขยายความหรือประกอบการศึกษา

    มรรคมีองค์ ๘ ในพระอภิธรรมมีการอธิบายความหมาย และแนวทางปฏิบิติไว้ เช่นอธิบายว่า อย่างไรเล่าเรียกว่าสัมมาสังกัปปะ

    (ดำหริชอบ) คำตอบคือการดำหริออกจากกาม ดำหริออกจากการเบียดเบียน และดำหริออกจากการพยาบาท

    เหล่ามิใช่หรือที่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

    แม้มิได้หวังมรรค ผล นิพพาน แต่การเจิญองค์มรรคก็จะนำความสันติสุขให้บังเกิดขึ่นได้ในชีวิตที่เป็นอยูุ่ หากไม่ศึกษา '

    บุคคลส่วนใหญ่ก็ท่องหัวข้อองค์มรรค ๘ กันได้

    แต่ถ้าถามว่า ดำหริชอบเป็นอย่างไร ก็ก็ตอบไม่ได้ ตอบไม่ได้แล้วจะดำหริชอบได้อย่างไร

    สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน การศึกษาเรื่องสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน

    จะทำให้มีความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติทั้งหลายว่ามีอะไรบ้างแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร

    เหมือนได้เห็นภาพรวมของหมวดหมู่และวิธีการปฏิบัติในทุกรูปแบบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้

    ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเลือกวิธีการเจริญกรรมฐานที่ตรงกับจริตของตนเอง

    เมื่อเข้าใจแล้ว ก็จะไม่มีคำถามว่าทำไมครูอาจารย์ท่านนั้นสอนอย่างนั้น อีกท่านสอนอย่างนี้ไม่เหมือนกัน

    หรือไปสำนักปฏิบัติโน้นี้แล้วสอนไม่เหมือนกันจนปฏิบัติไม่ถูก

    งงไปหมด (แท้จริงแล้วครูอาจารย์ท่านสอนดีแต่เราปฏิบัติไม่ได้เอง)

    ความรู้เรื่องการเจริญสมถะ วิปัสสนากรรมฐานจะเป็นประโยชน์มากในการทำให้มีความเข้าใจ ไม่สับสนในแนวทาง

    หริอวิธีการฏิบัติกรรมฐานหลายรูปแบบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้

    และยังสามารถนำวิธีการที่ต่างกันมาปฏิบัติได้ในสถาณการณ์ที่แตกต่างกัน โดยเข้าใจว่า ไม่ว่าจะใช้แนวทางไหน

    ที่่สุดแล้วก็จะนำไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมได้




    ความเพียรมีรสขม แต่ผลของมัน หวานชื่นเสมอ.......เต้ เลิฟเวอร์
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย lover : 11-29-2014 เมื่อ 10:52 AM