เมตตาจิต

กระทู้: เมตตาจิต

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:

    เมตตาจิต

    สวัสดีค่ะพี่เดฟและมิตรสหายธรรมทุกๆท่านค่ะ..
    มีเรื่องสงสัยค่ะ คือ การได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเหล่าสัตว์และเพื่อมนุษยด้วยกันพี่เดฟบอกว่าเป็น เมตตาจิต กรุณาจิต
    แต่ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติในงานนนั้นคือกำลังช่วยเหลืออยู่ มันมีจิตขุ่นมัวไม่ผ่องใสตลอดนะคะ เพราะมันมีการประสานงานกันหลายทางมีพูดมีปรึกษากัน เป็นอกุศลเกิดแทรกด้วย แต่หน้าที่ของสติตามรู้อีกทีหนึ่งคือให้รู้ว่าเป็นเพียงสภาวะเท่านั้นใช่มั้ยค่ะ ไม่ยึดสภาวะนั้นว่าเป็นเราขุ่นมัว เพราะความไม่ได้ดั่งใจ โทสะเจตสิกย่อมทำงานของมันอย่างซื่อตรง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพียงสติระลึกรู้และปัญญาค่อยขัดเกลาด้วยอุบายวิธีเอง ถามว่าการวางจิตไว้แบบนี้ถูกต้องแล้วมั้ยค่ะ..ขออุบายเพิ่มเติมในการพิจารณาค่ะพีเ่ดฟ ขอบพระคุณค่ะ.



    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    กุศลจิต กับ อกุศลจิต นั้นเกิดดับสลับกันอย่างไว
    แม้กระทั่งเวลาที่กำลังทำบุญ
    อกุศลจิตก็เกิดแทรกสลับเสียมากมาย

    ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน
    ระลึกรู้ได้ในสภาพจิตที่ต่างกันของกุศลจิต กับ อกุศลจิต
    และรู้ว่าทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตนั้นไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนของใคร
    เป็นแต่เพียงสภาพนามธาตุที่เกิดขึ้นเป็นไป

    สภาพที่เป็นกุศลนั้นดีงาม
    ส่วนสภาพที่เป็นอกุศลนั้นไม่ดีงาม
    เมื่อเห็นคุณของสภาพที่เป็นกุศล
    และเห็นโทษภัยของสภาพที่เป็นอกุศล
    จึงค่อยๆ ละคลายจากสภาพที่เป็นอกุศล
    มีสภาพที่เป็นกุศลเจริญขึ้นแทนน่ะครับ

    อนุโมทนาครับ



    เดฟ


    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. Admax said:
    อุบายทางสมถะ เป็นการเจริญสัมมาสังกัปปะ ละใน พยาบาทสังกัปปะ หรือ พยาบาทวิตก ดึงจิตขึ้นเมตตา กรุณา และ ทาน กรรมฐาน ซึ่งไม่ใช่แค่ เมตตาจิต กรุณาจิต ทานจิต

    - ให้ความเอ็นดู ปารถนาดีต่อเขาเสมอด้วยตน คิดเพียงว่าความปารถนาดีนี้ของเราจักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
    ดั่งเรามีความปารถนาดีต่อบุตรหลาน คนที่เรารัก บุพการีทั้งปวง ญาติพี่น้องทั้งปวง
    - เมื่อมีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่ด้วสยความเอ็นดูปรานีแล้ว สักพักเกิดความขัดเคืองใจขึ้น ให้ยังจิตขึ้นว่าเราถูกความทุกข์หยังเอาแล้วด้วยโทสะ ยิ่งเราไปติดข้องแวะสิ่งไรๆในเขาไปยิ่งทำให้เราร้อนรุ่มร้อนรนใจหาประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ เราจักพึงละความข้องแวะใจนี้จากเขาไปเสีย
    เขาก็เป็นของเขาอย่างนั้นมาตั้งนานเท่าไหร่ก่อนที่เราจะมารู้จักเขาเสียอีก แล้วเราจะไปเอาอะไรจากเขา แม้แต่เรายังห้ามไม่ให้โกรธเขาไม่ได้เลย เขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจะไปไขว่คว้าบังคับให้เขาเป็นไปดั่งใจเราคงไม่ได้แม้แต่เราเองยังบังคับกายใจเราไม่ได้เลย อย่าไปติดใจไรๆกัยสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อย่าเอาความสุขสำเร็จของเราไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นมันมีแต่ทุกข์ ให้เอาความสุขสำเร็จของตนผูกไว้ที่ความเป็นผู้สงัดจากกิเลสท์จะเป้นสุขหาประมาณมิได้ วางใจไว้กลางๆรู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง มันจะดีเอง

    แล้วพึงเจริญจิตขึ้นแผ่เมตตาให้ตนเองก่อนเป็นอันดับแรกดังนี้


    อหังสุขิโต โหมิ :
    ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีความปกติสุขยินดี มีจิตแจ่มใสเบิกบานไม่เศร้าหมองกายใจ มีความดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด

    นิททุกโข โหมิ :
    ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากกิเลส กาม ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ
    เครื่องแห่งความทุกข์และความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆทั้งสิ้นนี้

    อเวโร โหมิ :
    - ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่ผูกเวรผูกความโกรธแค้นใคร และ ปราศจากความผูกเวรผูกแค้นไรๆมาเบียดเบียน
    - (ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ไม่ผูกเวรผูกความโกรธแค้นใคร และ ปราศจากความผูกเวรผูกแค้นไรๆมาเบียดเบียน)

    อัพยาปัชโฌ โหมิ :
    - ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนทำร้ายใคร และ ราศจากอุปสรรคภัยอันตรายใดๆทั้งปวงมาเบียดเบียน
    - (ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ไม่อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนทำร้ายใคร และ ปราศจากอุปสรรคภัยอันตรายใดๆทั้งปวงมาเบียดเบียน)

    อโรโค โหมิ :
    ขอข้าพเจ้าจงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใดๆทั้งปวง
    ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ควรแก่การดำรงชีพและกระทำในกิจการงานต่างๆ

    อนีโฆ โหมิ :
    ข้อข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่าได้มีความร้อนรุ่มกายใจ ขอให้มีแต่ความสุข-สงบ-แจ่มใส-เบิกบานกายใจ
    ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความปารถนาใคร่ได้กำหนัดเพลิดเพลินยินดี-อึดอัด-อัดอั้น-คับแค้น-เศร้ามัวหมองกายและใจไรๆทั้งสิ้นนี้เทอญ

    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ :
    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ มี ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน สมาธิ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา
    ดำรงชีพและปฏิบัติกรรมฐานรักษากาย-วาจา-ใจให้พ้นจากทุกข์ภัยจนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้


    - จากนั้นพึงเจริญจิตเข้าสู่ความเมตตาแก่ตนเองไปเรื่อยๆจนหายจากทุกข์อันเกิดจากความร้อนรุ่มใจ ร้อนรนใจ ทะยานอยาก ของกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านี้

    ลังจากแผ่เมตตาให้ตนเองจนหายจากความร้อนรุ่ม ร้อนรนใจ ทะยานอยากใดๆแล้ว จากนั้นพึงละความคิดกระทำไรๆอันเป็นไปเพื่อความอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆที่เรานั้นคิดเบียดเบียนผู้อื่นเหล่านั้น ไม่ว่าจะความผูกเวรผูกโกรธแค้นเคืองไรๆ ความพยาบาทไรๆ ความคิดในราคะไรๆ จิตก็จะเกิดกุศลธรรมขึ้นมาสงบ ผ่องใสบางเบา ไม่ตรึงหนักจิต จนถึงความสงบรำงับมีจิตละเอียดอ่อนไม่ตรึงหนักขุ่นขัดใจไรๆ จากนั้นให้เจริญจิตขึ้นเมตตาแก่เขาเสีย

    ก. หากจะพึงระลึกแบบพรหมวิหาร๔ โดยย่อ เป็นการแผ่เมตตาไปให้แก่เขาด้วยบารมีแห่งเกุศลอันเราได้ทำมาดีแล้ว ให้พึงระลึกว่า

    สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ, อเวรา สุขะ ชีวิโน :
    ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกข์เถิด

    กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง, สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต :
    ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรด้วย กาย-วาจา-ใจ นี้แล้วเถิด


    - เมื่อจะเกิดความสงเคราะห์ให้ อนุเคราะห์แบ่งปันสิ่งไรๆให้แล้ว จนเกิดการสละให้
    - การสละให้นี้ เรียกว่า "ละทิ้งไปแล้ว" ดังนั้นเมื่อเราให้ให้ทาน คือ มีการสละให้สิ่งไรๆไปต้องพึงระลึกไว้ว่า สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ สิ่งนี้อันเป็นสิ่งที่เราสละให้ไปแล้วไม่ต้องการอยากได้คืนหรือมาเสียใจในภายหลังเพราะถือว่าเราสละให้แล้ว ละแล้วในความเป็นของเราในสิ่งนั้นเมื่อให้ไปแล้วย่อมไม่ใช่ของเราอีกต่อไป เพราะจะยังความขุ่นมัวใจ ร้อนรุ่ม ร้อนใจเราใจภายหลัง นั้นคือเป็นไปตามโทสะนั้นเอง เพราะติใจข้องแวะไปก็ไม่เกิดประโยชน์ไรๆนอกจากทุกข์
    - ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียใจเสียดายไรๆในภายหลังต้องพึงระลึกว่า เราได้สละสิ่งนั้นไปแล้วไม่ใช่ของเราแล้ว หรือ เมื่อเราให้มิตรไมตรีดีๆแก่เขาไปแล้วนี้แต่เขาทำให้เราขุ่นเคืองใจในภายหลังให้พึงระลึุกว่า ความปารถนาดี เอ็นดูปรานีนี้ เราได้มีให้แก่เขา สงเคราะห์สละให้ความปารถนาดีไรๆให้แก่เขาไปตั้งนานแล้ว ต้องไม่ไปข้องแวะไรๆอีก ปล่อย ละ วาง ความติดข้องใจนั้นๆไปเป็นทาน


    - ถ้าจะเอาแบบวิปัสนามีข้อปฏิบัติง่ายไอยู่ข้อเดียวคือ เมื่อรู้ว่าโทสะเกิด ให้พึงสักแต่ระลึกรู้สภาพมัน สภาวะของมัน ดูความตรึกนึกคิดของโทสะว่ามันคิดไปยังไงร้ายแค่ไหน เจตสิกไม่ใช่จิต กิเลสทั้งหลายมันมรีไว้ให้ว่าสักแต่ระลึกรู้เท่านั้น ไม่ได้มีไว้เสพย์ ทำเป้นปกติ เมื่อสติมาก สัมปชัญญะมาก จักเห็นของแยกของสังขารอันแยกจากจิตเอง


    ผมไม่รู้ธรรม ไม่ได้ปฏิบัติไรๆ คงตอบได้แบบโง่ๆด้วยความไม่รู้สิ่งใดทั้งนั้น แลกล่าวได้แค่เพียงเท่านี้

    ขออภัยหากมาตอบแล้วไม่เกิดประโยชน์ แสดงความโง่ไม่รู้อันไม่เกิดประโยชน์ หรือ เป็นการรบกวนการเรียนรู้ปฏิบัติของคุณอุบาสิกาครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:
    กราบขอบพระคุณพี่เดฟมากๆค่ะสาธุค่ะ

    ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณAdmax มากๆค่ะ อ่านแล้วก็ได้ไรๆที่เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
    เกื้อกูลให้เกิดการพิจารณาเป็นแนวทางเป็นอุบายในการปฏิบัติพัฒนาจิตได้ดีอย่างยอดเยี่ยมเลยค่ะ
    ครั้งต่อไปถ้ามีไรๆ ที่พอจะแนะนำเพิ่มเติมไรๆได้ ก็ยินดีนะคะ ขอบพระคุณมากๆค่ะคุณแอ๊ดแมค.


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *