การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี

กระทู้: การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี






    การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี





    ขออภิวาทแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    ขอนมัสการแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
    ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม





    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาอันน้อยนิดของผม จัดทำขึ้นเพื่อเป็นบันทึกข้อปฏิบัติของผมเมื่อใดที่สลัดทิ้งธรรมอันเป็นไปด้วยความหลง แล้วกลับมาเริ่มทบทวนธรรมปฏิบัติใหม่ ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ


    หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด


    บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "
    การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี " ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้






    บทนำ




    หลายๆคนมักจะมีข้อถกเถียงกันเรื่องปฏิบัติ บ้างว่าของตนถูกของผู้อื่นผิด แต่หามิได้ว่าใช้สิ่งใดวัด แม้ในพระไตรปิฏกเองก็มีแนวกรรมฐานทั้งหลายแบบทั้งแบบง่าย แบบกลางๆ แบบยาก แต่ต้องสงเคราะห์ลงได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ ข้อทั้งหมด และทุกแนวทางนั้นต้องเป็นไปเพื่ออบรมกายและใจให้มีกุศลเป็นที่ตั้ง มีสมถะและวิปัสสนาทั้งหมด ซึ่งกรรมฐานทั้งหลายนี้อยู่ในมรรค ๑๐ นั่นเอง แต่น้อยคนที่จะรู้ เพราะอาศัยว่าสิ่งที่ตนเห็นดีแล้วถูกสุดดีสุดจนเกิดข้อทำให้แตกแยกในชาวพุทธกันเอง "ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่าในทางใดที่ทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นแล้วอกุศลเสื่อมลงนั้นเป็นข้อผิดกรรมฐาน" แต่กลับตรัสสอนว่า "ทางใดที่ทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นแล้วอกุศลเสื่อมลงนั้นเป็นสิ่งที่ควรเสพย์ทั้งสิ้น"สิ่งที่ไม่ใช่ทางที่พระพุทธเจ้าสอน คือ ข้อเจริญปฏิบัติที่ทำให้กุศลเสื่อมลงแล้วอกุศลเจริญขึ้นต่างหากที่ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า

    ด้วยเหตุดังนี้เราผู้ที่เข้าถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้าจริงๆจะเลนชัดเลยว่า แนวกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองนั้น ก็คือ สัมมาสังกัปปะ ไปจนถึง สัมมาสมาธินั่นเอง ซึ่งผู้ที่อ่านหรือปฏิบัติแล้วหลงมักจะแยกส่วนจำแนกออกโดยไม่รู้ตามจริงว่า มาติกา หรือ หัวข้อในการปฏิบัติกรรมฐานก็คือ มรรค ๑๐ นั่นเอง ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า ผู้ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่สมมติสาวก นั้นคือ ผู้ที่อยู่ใน มรรค ๔ ผล ๔ คือ ตั้งแต่ผู้ที่ปฏิบัติตามหนทางอันเป็นไปใน โสดาปัตติมรรค(หนทางปฏิบัติให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน) โสดาปัตติผล(ผลสำเร็จอันเข้าถึงแล้วซึ่งความเป็นพระโสดาบัน) ไปจนถึงอรหันตมรรค และ หรหันตผล ดังนั้นผู้ใดที่เดินบนทางแห่งมรรคปฏิบัติถูก ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเพื่อออกจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้แล้ว เพื่อความถึงซึ่งพระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์นั่นคือสาวกของพระพุทธเจ้านั่นเอง ส่วนผู้ที่เข้าถึงผลแล้วคือผู้ได้รับผลแล้วคือ สาวกผู้เข้าถึงความสำเร็จในธรรมนั้นๆแล้วดังนี้

    ทำไมผมกล่าวว่า กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง คือ มรรค นั่นเพราะ กรรมฐานทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยเห็นใน อริยะสัจ ๔ ก่อนเป็นหลัก จึงเกิดความคิดที่จะหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง เกิดการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ ทั้งหลายอันทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นแล้วอกุศลธรรมเสื่อมลง มีความเพียรละอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว ทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้น คงกุศลธรรมไว้ รักษากุศลธรรมไว้ไม่ให้เสื่อม ประกอบไปด้วยสติมีความระลึกได้ เข้าถึงความมีจิตตั้งมั่นอันควรแก่งานให้เกิดญาณคือปัญญาเห็นตามจริง จนถึงความหลุดพ้นชอบ นี่คือ มรรค ๑๐ นั่นเอง ซึ่งกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง วิปัสสนา ๙ ต่างก็อยู่ในมรรค ๑๐ นี้ โดยมีสติสังขารปรุงแต่งหรือเกิดขึ้นในทุกมรรคด้วยความเห็นชอบทั้งปวง
    ซึ่งกรรมฐานข้อใดก็ตามแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบครูบาอาจารย์สายใดท่านใดก็ตาม ที่สงเคราะห์ลงในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองได้ เป็นกรรมฐานที่ดำรงไว้ซึ่งสติและสัมปชัญญะอยู่ ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมลงจนดับสูญไปแล้วอกุศลธรรมเกิดขึ้น คงอยู่ได้ทุกขณะๆ ทำให้เกิดจิตตั้งมั่นชอบอันเป็นไปเพื่อปัญญาญาณอันถึงความหลุดพ้นชอบ ไม่เป็นไปเพื่อความระลึกผิดที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลงแล้วอกุศลธรรมเกิดขึ้นและคงอยู่ ไม่เป็นไปในความระลึกไม่ได้ มีจิตตั้งมั่นในอกุศลธรรมอันเศร้าหมองกายใจ อยู่ด้วยความหลงอยู่ เกิดความรู้ผิด หลุดพ้นผิด นั่นคือ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง

    ผมมีความประสงค์ปารถนาอยากให้พุทธบริษัททั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องและตรงกันได้ปฏิบัติเพื่อความเป็นประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายโดยไม่อิงกิเลสเครื่องล่อใจ ให้เห็นการปฏิบัติที่หาได้จริง มีอยู่จริง ซึ่งพระพุทธเจ้ามีกรรมฐานมากกว่าเม็ดทรายบนโลกนี้ แต่สงเคราะห์ลงในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง สงเคราะห์ลงใน มรรค ๑๐ ทั้งหมดนั่นเอง เมื่อปฏิบัติแล้ว กระทำแล้ว เจริญแล้ว ได้ผลเป็นกุศล ก่อให้เกิดกประโยชน์แก่ผู้เจริญระลึกปฏิบัติได้ตามจริง เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย โดยไม่ต้องอนุมานคาดคะเนตรึกนึกเอา จึงถึงความถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ


    ด้วยพรรณดังที่ผมกล่าวไว้ ท่านทั้งหลายจงพึงเจริญหมั่นเพียรปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลายผู้เจริญปฏิบัติอยู่ หรือ บิดา มารดา บุพการี ญาติสนิท มิตรสหายทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตอยู่และละจากโลกนี้ไปแล้วของท่านทั้งหลายที่เจริญและปฏิบัติอยู่จะพึงได้รับอานิสงส์ผลบุญทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เทอญ..



    ผม ก๊กเฮง และ ครอบครัว บุตรชายคนสุดท้องของเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ขออุทิศผลบุญที่กระทำมาทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องทั้งหลายที่ละโลกนี้ไปแล้ว" และ ส่วนหนึ่งขอมอบให้แด่ "คุณแม่ซ่อนกลิ่นเบญจศรีวัฒนา พร้อมทั้งบุพการี ญาติ พี่ น้องที่ยังมีชีวิตอยู่" ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รับผลบุญนี้เทอญ


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 10-15-2014 เมื่อ 03:57 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. Admax said:

    ๑. สัมมาทิฐิ

    สัมมาทิฐิของปุถุชนผู้อยากมีสันดานของพระอริยะ

    สัมมาทิฐิเป็นมรรคองค์แรกที่เกิดขุึ้นและสังขารรอบไปในมรรคทุกข้อ นั่นเพราะ ประกอบไปด้วย สัมมาสติ และ สัมมาญาณ เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นแล้วเราจะมีความรู้สึกนึกคิดเห็นเป็นไฉน
    เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีความระลึกชอบอยู่ด้วยกุศล เกิดปัญญารู้เห็นตามจริงใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นความเข้าไปรู้สภาวะ รู้สภาพอาการ รู้กิจการงานในสัจจะที่ควรทำ เป็นต้น หรือ จะมองเห็นสิ่งที่ควรไม่ควร เห็นคุณและโทษ รู้ถูกและผิดในสิ่งทั้งหลาย สภาวะธรรมทั้งหลาย รูปทั้งหลาย นามทั้งหลาย อันสืบต่่อให้เกิด ความคิดชอบ วาจาชอบ และ มรรค ข้ออื่นๆตามมา ด้วยการกล่าวพรรณาคุณแห่งสัมมาทิฐิดังนี้แล้วเราก็มาเริ่มปฏิบัติกันเลยดังนี้ครับ


    ๑.๑ ทุกข์

    ๑.๑.๑ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายในคือ ขันธ์ ๕ ของเรามีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เราเป็นทุกข์

    ๑.๑.๒ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายในคือ ขันธ์ ๕ ของเราที่ว่ามันเป็นทุกข์นั้น มันมีสภาพอาการความรู้สึกทางกายและใจของเราเป็นอย่างไร

    ๑.๑.๓ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายในคือ ขันธ์ ๕ ของเรานี้ในแต่ละวันว่ามันเกิดสิ่งที่เรียกว่าทุกข์สักกี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหน เกิดขึ้นในเวลาใดบ้าง แล้วมันมีสภาวะใดๆที่เป็นสุขสักกี่ครั้ง แล้วสุขนั้นมันอิงเครื่องล่อใจใดๆบ้างและสุขที่อิงเครื่องล่อใจนั้นมันยั่งยืนนานไหมหรือแค่ชั่วคราวแล้วก็ดับไป พอมันดับแล้วเราแสวงหาที่จะได้มาเสพย์อีกหรือไม่ กับ สุขโดยไม่อิงอามิส คือ เป็นสุขได้โดยไม่อิงเครื่องล่อใจให้เพลิดเพลินอยู่ สุขในการไม่ยึดมั่นถือมั่นแสวงหาสิ่งไรๆ สุขจากการปล่อยวาง สุขโดยตัวของมันเอง พอมันสุขอย่างนี้เราต้องเที่ยวแสวงหาสิ่งไรๆมาเสพย์อีกเพื่อให้มันเป็นสุขอยู่หรือไม่ แม้เมื่อมันดับไปเรายังต้องไปแสวงหาเอา ลาภ ยศ สรรเสริญ บุคคล
    ๑. สัมมาทิฐิ

    สัมมาทิฐิของปุถุชนผู้อยากมีสันดานของพระอริยะ

    สัมมาทิฐิเป็นมรรคองค์แรกที่เกิดขุึ้นและสังขารรอบไปในมรรคทุกข้อ นั่นเพราะ ประกอบไปด้วย สัมมาสติ และ สัมมาญาณ เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นแล้วเราจะมีความรู้สึกนึกคิดเห็นเป็นไฉน
    เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีความระลึกชอบอยู่ด้วยกุศล เกิดปัญญารู้เห็นตามจริงใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นความเข้าไปรู้สภาวะ รู้สภาพอาการ รู้กิจการงานในสัจจะที่ควรทำ เป็นต้น หรือ จะมองเห็นสิ่งที่ควรไม่ควร เห็นคุณและโทษ รู้ถูกและผิดในสิ่งทั้งหลาย สภาวะธรรมทั้งหลาย รูปทั้งหลาย นามทั้งหลาย อันสืบต่่อให้เกิด ความคิดชอบ วาจาชอบ และ มรรค ข้ออื่นๆตามมา ด้วยการกล่าวพรรณาคุณแห่งสัมมาทิฐิดังนี้แล้วเราก็มาเริ่มปฏิบัติกันเลยดังนี้ครับ


    ๑.๑ ทุกข์

    ๑.๑.๑ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายในคือ ขันธ์ ๕ ของเรามีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เราเป็นทุกข์

    ๑.๑.๒ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายในคือ ขันธ์ ๕ ของเราที่ว่ามันเป็นทุกข์นั้น มันมีสภาพอาการความรู้สึกทางกายและใจของเราเป็นอย่างไร

    ๑.๑.๓ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายในคือ ขันธ์ ๕ ของเรานี้ในแต่ละวันว่ามันเกิดสิ่งที่เรียกว่าทุกข์สักกี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหน เกิดขึ้นในเวลาใดบ้าง แล้วมันมีสภาวะใดๆที่เป็นสุขสักกี่ครั้ง แล้วสุขนั้นมันอิงเครื่องล่อใจใดๆบ้างและสุขที่อิงเครื่องล่อใจนั้นมันยั่งยืนนานไหมหรือแค่ชั่วคราวแล้วก็ดับไป พอมันดับแล้วเราแสวงหา ลาภ ยศ สรรเสริญ บุคคล สัตว์ สิ่งของ นั้นๆให้ขันธ์ ๕ ของเราได้มาเสพย์เพื่อสุขกับมันอีกหรือไม่ กับ สุขโดยไม่อิงอามิส คือ เป็นสุขได้โดยไม่อิงเครื่องล่อใจให้เพลิดเพลินอยู่ สุขในการไม่ยึดมั่นถือมั่นแสวงหาสิ่งไรๆ สุขจากการปล่อยวาง สุขโดยตัวของมันเอง พอมันสุขอย่างนี้เราต้องเที่ยวแสวงหาสิ่งไรๆมาเสพย์อีกเพื่อให้มันเป็นสุขอยู่หรือไม่ แม้เมื่อมันดับไปเรายังต้องไปแสวงหาเอา ลาภ ยศ สรรเสริญ บุคคล สัตว์ สิ่งของไรๆมาเสพย์เพื่อให้มันสุขอีกหรือไม่ หรือเพียงแค่อบรมจิตให้รู้จักปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆ มันก็กลับมาสุขด้วยตัวของมันอีกเอง พิจารณาดูว่า มันเกิดสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน สุขโดยอิงอามิส กับ ไม่อิงอามิส อันไหนมันดีกว่ากัน

    ๑.๑.๔
    พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก ๖ มีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เราเป็นทุกข์

    ๑.๑.๕ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก ๖ ที่ว่ามันทำให้เราเป็นทุกข์นั้น มันมีสภาพอาการอย่างไร เรามีความรู้สึกทางกายและใจที่เกิดกับสิ่งนั้นอย่างไร

    ๑.๑.๖ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ในแต่ละวันว่ามันทำให้เราเกิดสิ่งที่เรียกว่าทุกข์สักกี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหน เกิดขึ้นในเวลาใดบ้าง แล้วสุขนั้นมันอิงเครื่องล่อใจใดๆบ้างและสุขที่อิงเครื่องล่อใจนั้นมันยั่งยืนนานไหมหรือแค่ชั่วคราวแล้วก็ดับไป พอมันดับแล้วเราแสวงหา รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย สัมผัสกายระหว่างเพศ สัมผัสทางใจ นั้นๆให้ขันธ์ ๕ ของเราได้มาเสพย์เพื่อสุขกับมันอีกหรือไม่ กับ สุขโดยไม่อิงอามิส คือ เป็นสุขได้โดยไม่อิงเครื่องล่อใจให้เพลิดเพลินอยู่ สุขในการไม่ยึดมั่นถือมั่นแสวงหาสิ่งไรๆ สุขจากการปล่อยวาง สุขโดยตัวของมันเอง พอมันสุขอย่างนี้เราต้องเที่ยวแสวงหาสิ่งไรๆมาเสพย์อีกเพื่อให้มันเป็นสุขอยู่หรือไม่ แม้เมื่อมันดับไปเรายังต้องไปแสวงหาเอา รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย สัมผัสกายระหว่างเพศ สัมผัสทางใจ มาเสพย์เพื่อให้มันสุขอีกหรือไม่ หรือเพียงแค่อบรมจิตให้รู้จักปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆ มันก็กลับมาสุขด้วยตัวของมันอีกเอง พิจารณาดูว่า มันเกิดสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน สุขโดยอิงอามิส กับ ไม่อิงอามิส อันไหนมันดีกว่ากัน

    ๑.๑.๗ พึงพิจารณาดูว่า ทั้งอาการภายนอกและอาการภายใน อันที่เราเสพย์อยู่นี้มันน่าพิศมัยอยู่ไหมเมื่อเทียบกับสิ่งที่เราได้รับผลจากมัน นั่นคือ สุข หรือ ทุกข์ เรายังควรจะลุ่มหลงเสพย์มันอยู่ หรือ ควรที่จะทำให้มันดับสิ้นไปจากชีวิตเรา และ ดูว่าสุขทางโลกและทางธรรมอันไหนควรเสพย์ อันไหนไม่ควรเสพย์

    นี่คือการกำหนดรู้ทุกข์สำหรับนักธรรมชั้นตรีอย่างผม เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ดัง ๗ ข้อนี้แล้ว ย่อมเห็นกิจที่ควรทำต่อทุกข์นั้น คือ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เพื่อไม่ให้มันเผลาผลาญเราให้เร่าร้อน เพื่อความไม่ลุ่มหลงในทุกข์ดังนี้..


    ๑.๒ สมุทัย

    เมื่อรู้จักทุกข์แล้ว รู้อาการของทุกข์แล้ว รู้กิจที่ควรทำในทุกข์แล้ว เมื่อเราต้องการที่จะดับมัน เราย่อมน้อมหาวิธีและเหตุของทุกข์ทันที ดังนี้

    ๑.๒.๑ ให้หวนระลึกพิจารณาว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเรานี้ มันสืบเนื่องมาจากเราไปรับรู้อารมณ์ใดๆ ผัสสะใดๆ สภาวะธรรมใด แล้วยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากในอารมณ์ความรู้สึกแบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๒ ให้หวนระลึกพืจารณาว่า เรามีความฝักใฝ่จดจ่อใคร่ปารถนายินดีไว้กับอารมณ์เหล่านั้น สภาวะธรรมนั้นๆ ไว้แบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๓ ให้หวนระลึกพืจารณาว่า เราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้กับอารมณ์เหล่านั้น สภาวะธรรมนั้นๆ ไว้แบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๔ ให้หวนระลึกพิจารณาว่า ที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายกับอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะติดใจข้องแวะในอารมณ์และสภาวะธรรมนั้น ในแบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๕ ให้หวนระลึกรู้พิจารณาว่า ที่เราติดใจข้องแวะกับอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะเราไปเห็นความน่าใคร่ น่าปารถนาเพลิดเพลินยินดี หรือ ขัดเคืองใจ ขุ่นข้องใจ กับอารมณ์และสภาวะธรรมเหล่านั้นไว้แบบไหน อย่างไร

    ๑.๒.๖ ให้หวนระลึกรู้พิจารณาว่า ที่เราเห็นความน่าใคร น่าปารถนายินดีในอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะเรามีความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีกับสภาวะธรรมนั้นไว้อย่างไร

    ๑.๒.๗ ให้หวนระลึกรู้พิจารณาว่า มีความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะเมื่อเรารู้ผัสสะกับสภาวะธรรมนั้นๆแล้ว เกิดความรู้สึกเสวยอารมณ์แบบไหนอย่างไร

    เมื่อพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จะเห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เรานั้นเกิดทุกข์ได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น

    - บ้างเห็นว่า เพราะความฝักใฝ่ใจจดใจจ่อกระสันในสิ่งนั้นๆมากเกินไป
    - บ้างเห็นว่าเพราะเราให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นๆไว้อย่างไร จนมากเกินไป
    - บ้างเห็นเพราะความติดใจข้องแวะใส่ใจในสิ่งนั้นๆมากเกินไป
    - บ้างเห็นว่า เพราะเรานี้ยึดเอาสภาวะอารมณ์ใดๆมาเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี

    ๑.๒.๗ เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้เป็นต้น จิตมันรู้ตัวแล้วว่าสิ่งนี้ๆทำให้ทุกข์ เป็นเหตุให้จิตเราน้อมไปในความตรงข้ามกับเหตุนั้น เช่น

    - บ้างเห็นว่า เราไม่ควรความฝักใฝ่ใจจดใจจ่อกระสันในสิ่งนั้นๆทั้งสิ้น
    - บ้างเห็นว่าเราไม่ควรให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นๆทั้งสิ้น
    - บ้างเห็นว่าเราไม่ควรติดใจข้องแวะใส่ใจในสิ่งนั้นทั้งสิ้น
    - บ้างเห็นว่าเราไม่ควรยึดเอาสภาวะอารมณ์นั้นๆมาเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทิ้งสิ้น

    พอเมื่อเราเห็นอย่างนี้ๆแล้ว เพียงในขณะนั้นจิตมันจะละที่เหตุนั้นๆทันที ทำให้เราเกิดความแช่มชื่น รื่นรมย์ สงบเย็นกายใจไม่เร่าร้อน ไม่ร้อนรุ่ม ขึ้นมาทันที นี่อานิสงส์ช่วงขณะที่จิตมันละสมุทัยแม้จะยังแค่กดทับไว้ยังละไม่ขาดยังมีอานิสงส์ให้จิตผ่องในเป็นสุขขนาดนี้เลย
    เมื่อเราหวนระลึกพิจารณาหาเหตุแห่งอยู่อย่างนี้ๆเนืองๆแล้ว เมื่อจิตมันรู้อารมณ์หรือสภาวะธรรมไรๆอันเป็นทุกข์ จิตมันก็จะรู้ทันที่ว่าสิ่งใดคือเหตุแห่งทุกข์นั้น จิตก็จะเกิดสภาวะที่จิตน้อมละเหตุแห่งทุกข์นั้นทันที เมื่อละสมุทัยแล้วความเร่าร้อนของเราก็จะไม่มี มีความสงบผ่องใสแห่งจิตอยู่ทุกขณะที่จิตละเหตุแห่งทุกข์นั้นได้ เมื่อพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์ดัง ๗ ข้อนี้แล้ว ย่อมเห็นกิจที่ควรทำต่อสมุทัยนั้น คือ สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ นั่นเพราะเหตุไร นั่นก็เพื่อเข้าถึงความดับพ้นทุกข์ดังนี้..


    ๑.๓ นิโรธ

    แม้เมื่อเราเห็นสมุทัยแล้วจิตน้อมไปในความเป็นปฏิบัติต่อสมุทัยนั้น เกิดจิตละที่สมุทัยแม้ชั่วขณะหนึ่งแค่ช่างพับหูที่กดทับความทุกข์ไว้ก็เป็นบรมสุขอันยิ่งยวดในช่วงขณะนั้น ทำให้เห็นว่าเราจะต้องถึงความดับทุกข์นี้ได้ก็ต้องละที่สมุทัยนี้แล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วการที่เราจะเข้าสู่ความดับทุกข์อันเป็นนิรันด์ได้นั้นเราก็ต้องทำความดับทุกข์ให้แจ้ง เพื่อความเข้าถึงหนทางอันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์นั้นได้จริงดังนี้

    ๑.๓.๑ หวนระลึกพิจารณา ถึงขณะที่เรานั้นถึงความดับทุกข์ได้ ความดับทุกข์ที่เราได้รับนั้นมันมึสภาวะธรรมเป็นเช่นไรบ้าง สิ่งใดดับไปบ้าง สิ่งใดเกิดขึ้นมา่บ้าง

    ๑.๓.๒ หวนระลึกพิจารณาว่า เราทำสภาวะกายและใจให้เป็นอย่างไร เห็นอย่างไร คิดอย่างไร ทำอย่างไร จึงละสมุทัยได้ถึงความดับทุกข์นั้นได้

    ๑.๓.๓ หวนระลึกพิจารณาว่า ความทุกข์ที่ดับไปนั้นเพราะความเพลิดเพลินเครื่องล่อใจเข้ามาแทน หรือ ความทุกข์ดับไปโดยสงัดจากเครื่องล่อใจทั้งปวง

    ๑.๓.๔ หวนระลึกพิจารณาว่า ความดับทุกข์ที่เข้าถึงนั้น ดับได้เพราะมีเครื่องล่อใจ กับ ดับได้เพราะไม่มีเครื่องล่อใจ มันแตกต่างกันยังไง

    ๑.๓.๕ หวนระลึกพิจารณาว่า ความดับทุกข์ที่เข้าถึงนั้น ดับได้เพราะมีเครื่องล่อใจ กับ ดับได้เพราะไม่มีเครื่องล่อใจอันไหนเป็นสุขที่แท้จริงกว่ากัน

    ๑.๓.๖ ระลึกพิจารณาว่า หากเราอาศัยเครื่องล่อใจให้ทุกข์ดับ เมือไม่มีเครื่องล่อใจแล้วความทุกข์ยังคงเกิดขึ้นอยู่ไหม กับ หากเราดับทุกข์ได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจ ดับทุกข์ได้นานเพียงไร

    ๑.๓.๗ ระลึกพิจารณาว่า เราจะทำไฉนปฏิบัติอย่างไรจึงจะเข้าถึงความดับทุกข์นี้ๆได้ตลอดเป็นนิรันด์


    พอเมื่อความดับทุกข์เกิดขึ้นบ่อยๆ พิจารณาถึงสภาวะธรรมที่ดับทุกข์ตาม ๗ ข้อนี้อยู่เนืองๆ จิตย่อมเห็นทางอันเป็นไปเพื่อความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เพราะรู้แจ้งด้วยความดับทุกข์นั้น เช่น เห็นว่าดับทุกได้ด้วยละสมุทัยโดยวิธีใด เจริญปฏิบัติยังไง ทำให้เห็นกิจที่ควรทำในนิโรธ คือ ควรทำให้แจ้ง ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง


    ๑.๔ มรรค

    เมื่อดับทุกข์ได้ ทำความดับทุกข์ให้แจ้งแก่ใจแล้ว ย่อมรู้ว่าความดับทุกข์แบบใดที่เป็นความดับทุกข์อันประเสริฐ พร้อมในขณะเดียวกันนั้นจิตย่อมยินดีในความดับทุกข์ที่เกิดขึ้น ย่อมพิจารณาสงเคราะห์ลงในธรรมว่า ทางใดบ้างที่จะเข้าถึงซึ่งอมตะสุขนั้นได้ จิตมันก็จะเริ่มพิจารณาเห็นทางปฏิบัติให้เป็นไปเพื่อละสมุทัยแล้วเข้าถึงซึ่งนิโรธนั้น
    ซึ่งที่ผู้พิจารณาจะเห็นแน่นอนในเบื้องต้น คือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ อันเป็นไปเพื่อความไม่เสพย์ในทุกข์ ความทำให้เหตุแห่งทุกข์เสื่อมแล้วดับไป เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์




    สัมมาทิฐิโดยปัญญา

    คือ รู้เห็นสภาวะธรรมตามจริง ปราศจากความตรึกนึกคิดปรุงแต่ง จะเห็นว่ามันไม่มีอะไรสิ่งใดๆเลย ไม่มีบัญญัติ ไม่มีตัวตนบุคคลใด
    ไม่เที่ยง แท้ยั่งยืน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นทุกข์

    เห็นทุกข์เกิดมาแต่ผัสสะ
    เห็นอายตนะ๑๒ เป็นเครื่องมือของกิเลสที่ใช้หลอกจิตให้ลุ่มหลง เป็นทุกข์
    เห็นเจตนานี่แหละเป็นตัวดึงความจำได้หมายรู้ ทำให้เกิดรู้สมมติ แล้วทำให้กิเลสที่นอนเนื่องทั้งอย่างกลางและละเอียดนี้มีขึ้น
    เห็นวิญญาณธาตุนี้รู้แต่สมมติไม่มีของจริงเลย จิตมันยึดก็ยึดเอาแต่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกล่อ

    ถึงความไม่ยึดเอาวิญญาณธาตุ ไม่ยึดเอาสิ่งที่วิญญาณรู้ ถึงความไม่เร่าร้อน

    จิตรู้ของจริงเห็นของจริงน้อมเข้าสู่ ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน ภาวนา ทำพละ๕ ให้แจ้ง ให้อินทรีย์แก่กล้า ถึงความหน่ายและตัดกิเลสเสียได้





    หลวงปูดุลย์สอนว่า__จิตส่งออกนอก เป็น "สมุทัย"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ...เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__จิตรู้ทุกสิ่ง รู้อารมณ์ทั้งหมด แต่สิ่งใดที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติที่อาสวะกิเลสมันสร้างขึ้นมาหลอกล่อจิตให้หลงตามทั้งหมด รู้เหตุแห่งความลุ่มหลงสมมติ แล้วเป็นผู้ตื่นเพียรละที่เหตุนั้น ดังนี้แล้ว "จิตรู้และเสพย์อารมณ์" จึงเป็น "สมุทัย"}

    - ผู้รู้ ผู้ตื่น


    หลวงปูดุลย์สอนว่า__ผลอันเกิดจากจิตส่งออก เป็น "ทุกข์"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา...เป็นทุกข์อุปาทาน

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__เมื่อจิตรู้และเสพย์สมมติตามอาสวะกิเลส ย่อมก่อให้เกิดเป็นเวทนาให้จิตยึดมั่นถือมั่นไว้โดยสัญญาจากเวทนานั้น แล้วก็เกิดความตรึกนึกคิดปรุงแต่งอันเกิดจากกิเลสอย่างกลางให้เป็นไปในตัณหาและเป็นทุกข์ รู้ผลจากการลุ่มหลงสมมติ กำหนดรู้ทุกข์นั้น ดังนี้แล้ว "ผลอันเกิดจากจิตรู้และเสพย์อารมณ์" จึงเป็น "ทุกขฺ์"}

    - ผู้รู้


    หลวงปูดุลย์สอนว่า__จิตเห็นจิต เป็น "มรรค"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__สติเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม...เป็นมรรคปฏิบัติ

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__มีมหาสติ(สติ+สัมปะชัญญะ) เห็นจิตที่รู้และเสพย์ที่ยึดมั่นถือมั่นในสมมติทั้งปวง ทั้งสภาวะธรรมและความปรุงแต่งที่เป็นไปทั้งหลายทั้งปวงตามจริง แล้วเป็นผู้ตื่นจากความลุ่มหลงสมมติ ทำให้มากในความตื่นนั้น ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิต (เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง)" จึงเป็น "มรรค"}

    - ผู้ตื่น


    หลวงปูดุลย์สอนว่า__ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็น "นิโรธ"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม...เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__เมื่อมีมหาสติ(สติ+สัมปะชัญญะ) เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง ได้รู้เห็นตามจริงว่าจิตนี้รู้ทุกอย่างแต่รู้เพียงสมมติเท่านั้น จิตนี้แลเป็นตัวยึดเอาทุกอย่างแต่สิ่งที่มันยึดคือสมมติทั้งนั้น จิตนี้แลไม่น่ายึดมั่นถือมั่นเอามาเป็นที่ตั้ง ไม่เที่ยง ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน เป็นตัวทุกข์ จิตที่เกิดกับสติมสัมปะชัญญะมันก็จะเกิดความไม่เกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดในขันธ์ ๕ อีก มีแต่สภาพว่างโล่ง นี่คืออารมณ์พระนิพพาน เป็นความดับทุกข์ เบิกบานด้วยหลุดพ้นจากความลุ่มหลงสมมติทั้งปวง ทำให้แจ้งซึ่งความเบิกบานนั้น ดังนี้แล้ว "ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต
    (ผลอันเกิดจากการเห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง)" คือ "นิโรธ"}

    - ผู้เบิกบาน




    อริยะสัจ๔ ในปฏิจจสมุปบาท
    http://www.nkgen.com/11.htm



    แล้วพิจารณาดูว่า มันเกิดสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน

    ๑.๑.๔
    พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก ๖ มีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เราเป็นทุกข์

    ๑.๑.๕ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก ๖ ที่ว่ามันทำให้เราเป็นทุกข์นั้น มันมีสภาพอาการอย่างไร เรามีความรู้สึกทางกายและใจที่เกิดกับสิ่งนั้นอย่างไร

    ๑.๑.๖ พึงพิจารณาสภาวะธรรมของทุกข์ ดูว่า อาการภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมารมณ์ หรือ อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ในแต่ละวันว่ามันทำให้เราเกิดสิ่งที่เรียกว่าทุกข์สักกี่ครั้ง มากน้อยแค่ไหน เกิดขึ้นในเวลาใดบ้าง แล้วมันทำให้เรามีสภาวะใดๆที่เป็นสุขโดยไม่อิงอามิส คือ เป็นสุขได้โดยไม่อิงเครื่องล่อใจให้เพลิดเพลินอยู่บ้าง แล้วพิจารณาดูว่า มันเกิดสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน

    ๑.๑.๗ พึงพิจารณาดูว่า ทั้งอาการภายนอกและอาการภายใน อันที่เราเสพย์อยู่นี้มันน่าพิศมัยอยู่ไหมเมื่อเทียบกับสิ่งที่เราได้รับผลจากมัน นั่นคือ สุข หรือ ทุกข์ เรายังควรจะลุ่มหลงเสพย์มันอยู่ หรือ ควรที่จะทำให้มันดับสิ้นไปจากชีวิตเรา

    นี่คือการกำหนดรู้ทุกข์สำหรับนักธรรมชั้นตรีอย่างผม เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ดัง ๗ ข้อนี้แล้ว ย่อมเห็นกิจที่ควรทำต่อทุกข์นั้น คือ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เพื่อไม่ให้มันเผลาผลาญเราให้เร่าร้อน เพื่อความไม่ลุ่มหลงในทุกข์ดังนี้..


    ๑.๒ สมุทัย

    เมื่อรู้จักทุกข์แล้ว รู้อาการของทุกข์แล้ว รู้กิจที่ควรทำในทุกข์แล้ว เมื่อเราต้องการที่จะดับมัน เราย่อมน้อมหาวิธีและเหตุของทุกข์ทันที ดังนี้

    ๑.๒.๑ ให้หวนระลึกพิจารณาว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเรานี้ มันสืบเนื่องมาจากเราไปรับรู้อารมณ์ใดๆ ผัสสะใดๆ สภาวะธรรมใด แล้วยึดมั่นถือมั่นทะยานอยากในอารมณ์ความรู้สึกแบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๒ ให้หวนระลึกพืจารณาว่า เรามีความฝักใฝ่จดจ่อใคร่ปารถนายินดีไว้กับอารมณ์เหล่านั้น สภาวะธรรมนั้นๆ ไว้แบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๓ ให้หวนระลึกพืจารณาว่า เราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้กับอารมณ์เหล่านั้น สภาวะธรรมนั้นๆ ไว้แบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๔ ให้หวนระลึกพิจารณาว่า ที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายกับอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะติดใจข้องแวะในอารมณ์และสภาวะธรรมนั้น ในแบบไหน อย่างไรบ้าง

    ๑.๒.๕ ให้หวนระลึกรู้พิจารณาว่า ที่เราติดใจข้องแวะกับอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะเราไปเห็นความน่าใคร่ น่าปารถนาเพลิดเพลินยินดี หรือ ขัดเคืองใจ ขุ่นข้องใจ กับอารมณ์และสภาวะธรรมเหล่านั้นไว้แบบไหน อย่างไร

    ๑.๒.๖ ให้หวนระลึกรู้พิจารณาว่า ที่เราเห็นความน่าใคร น่าปารถนายินดีในอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะเรามีความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีกับสภาวะธรรมนั้นไว้อย่างไร

    ๑.๒.๗ ให้หวนระลึกรู้พิจารณาว่า มีความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในอารมณ์นั้นๆ ผัสสะนั้นๆ สภาวะธรรมนั้นๆ เพราะเมื่อเรารู้ผัสสะกับสภาวะธรรมนั้นๆแล้ว เกิดความรู้สึกเสวยอารมณ์แบบไหนอย่างไร

    เมื่อพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จะเห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เรานั้นเกิดทุกข์ได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น

    - บ้างเห็นว่า เพราะความฝักใฝ่ใจจดใจจ่อกระสันในสิ่งนั้นๆมากเกินไป
    - บ้างเห็นว่าเพราะเราให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นๆไว้อย่างไร จนมากเกินไป
    - บ้างเห็นเพราะความติดใจข้องแวะใส่ใจในสิ่งนั้นๆมากเกินไป
    - บ้างเห็นว่า เพราะเรานี้ยึดเอาสภาวะอารมณ์ใดๆมาเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี

    ๑.๒.๗ เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้เป็นต้น จิตมันรู้ตัวแล้วว่าสิ่งนี้ๆทำให้ทุกข์ เป็นเหตุให้จิตเราน้อมไปในความตรงข้ามกับเหตุนั้น เช่น

    - บ้างเห็นว่า เราไม่ควรความฝักใฝ่ใจจดใจจ่อกระสันในสิ่งนั้นๆทั้งสิ้น
    - บ้างเห็นว่าเราไม่ควรให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นๆทั้งสิ้น
    - บ้างเห็นว่าเราไม่ควรติดใจข้องแวะใส่ใจในสิ่งนั้นทั้งสิ้น
    - บ้างเห็นว่าเราไม่ควรยึดเอาสภาวะอารมณ์นั้นๆมาเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทิ้งสิ้น

    พอเมื่อเราเห็นอย่างนี้ๆแล้ว เพียงในขณะนั้นจิตมันจะละที่เหตุนั้นๆทันที ทำให้เราเกิดความแช่มชื่น รื่นรมย์ สงบเย็นกายใจไม่เร่าร้อน ไม่ร้อนรุ่ม ขึ้นมาทันที นี่อานิสงส์ช่วงขณะที่จิตมันละสมุทัยแม้จะยังแค่กดทับไว้ยังละไม่ขาดยังมีอานิสงส์ให้จิตผ่องในเป็นสุขขนาดนี้เลย
    เมื่อเราหวนระลึกพิจารณาหาเหตุแห่งอยู่อย่างนี้ๆเนืองๆแล้ว เมื่อจิตมันรู้อารมณ์หรือสภาวะธรรมไรๆอันเป็นทุกข์ จิตมันก็จะรู้ทันที่ว่าสิ่งใดคือเหตุแห่งทุกข์นั้น จิตก็จะเกิดสภาวะที่จิตน้อมละเหตุแห่งทุกข์นั้นทันที เมื่อละสมุทัยแล้วความเร่าร้อนของเราก็จะไม่มี มีความสงบผ่องใสแห่งจิตอยู่ทุกขณะที่จิตละเหตุแห่งทุกข์นั้นได้ เมื่อพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์ดัง ๗ ข้อนี้แล้ว ย่อมเห็นกิจที่ควรทำต่อสมุทัยนั้น คือ สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ นั่นเพราะเหตุไร นั่นก็เพื่อเข้าถึงความดับพ้นทุกข์ดังนี้..


    ๑.๓ นิโรธ

    แม้เมื่อเราเห็นสมุทัยแล้วจิตน้อมไปในความเป็นปฏิบัติต่อสมุทัยนั้น เกิดจิตละที่สมุทัยแม้ชั่วขณะหนึ่งแค่ช่างพับหูที่กดทับความทุกข์ไว้ก็เป็นบรมสุขอันยิ่งยวดในช่วงขณะนั้น ทำให้เห็นว่าเราจะต้องถึงความดับทุกข์นี้ได้ก็ต้องละที่สมุทัยนี้แล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วการที่เราจะเข้าสู่ความดับทุกข์อันเป็นนิรันด์ได้นั้นเราก็ต้องทำความดับทุกข์ให้แจ้ง เพื่อความเข้าถึงหนทางอันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์นั้นได้จริงดังนี้

    ๑.๓.๑ หวนระลึกพิจารณา ถึงขณะที่เรานั้นถึงความดับทุกข์ได้ ความดับทุกข์ที่เราได้รับนั้นมันมึสภาวะธรรมเป็นเช่นไรบ้าง สิ่งใดดับไปบ้าง สิ่งใดเกิดขึ้นมา่บ้าง

    ๑.๓.๒ หวนระลึกพิจารณาว่า เราทำสภาวะกายและใจให้เป็นอย่างไร เห็นอย่างไร คิดอย่างไร ทำอย่างไร จึงละสมุทัยได้ถึงความดับทุกข์นั้นได้

    ๑.๓.๓ หวนระลึกพิจารณาว่า ความทุกข์ที่ดับไปนั้นเพราะความเพลิดเพลินเครื่องล่อใจเข้ามาแทน หรือ ความทุกข์ดับไปโดยสงัดจากเครื่องล่อใจทั้งปวง

    ๑.๓.๔ หวนระลึกพิจารณาว่า ความดับทุกข์ที่เข้าถึงนั้น ดับได้เพราะมีเครื่องล่อใจ กับ ดับได้เพราะไม่มีเครื่องล่อใจ มันแตกต่างกันยังไง

    ๑.๓.๕ หวนระลึกพิจารณาว่า ความดับทุกข์ที่เข้าถึงนั้น ดับได้เพราะมีเครื่องล่อใจ กับ ดับได้เพราะไม่มีเครื่องล่อใจอันไหนเป็นสุขที่แท้จริงกว่ากัน

    ๑.๓.๖ ระลึกพิจารณาว่า หากเราอาศัยเครื่องล่อใจให้ทุกข์ดับ เมือไม่มีเครื่องล่อใจแล้วความทุกข์ยังคงเกิดขึ้นอยู่ไหม กับ หากเราดับทุกข์ได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจ ดับทุกข์ได้นานเพียงไร

    ๑.๓.๗ ระลึกพิจารณาว่า เราจะทำไฉนปฏิบัติอย่างไรจึงจะเข้าถึงความดับทุกข์นี้ๆได้ตลอดเป็นนิรันด์


    พอเมื่อความดับทุกข์เกิดขึ้นบ่อยๆ พิจารณาถึงสภาวะธรรมที่ดับทุกข์ตาม ๗ ข้อนี้อยู่เนืองๆ จิตย่อมเห็นทางอันเป็นไปเพื่อความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เพราะรู้แจ้งด้วยความดับทุกข์นั้น เช่น เห็นว่าดับทุกได้ด้วยละสมุทัยโดยวิธีใด เจริญปฏิบัติยังไง ทำให้เห็นกิจที่ควรทำในนิโรธ คือ ควรทำให้แจ้ง ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง


    ๑.๔ มรรค

    เมื่อดับทุกข์ได้ ทำความดับทุกข์ให้แจ้งแก่ใจแล้ว ย่อมรู้ว่าความดับทุกข์แบบใดที่เป็นความดับทุกข์อันประเสริฐ พร้อมในขณะเดียวกันนั้นจิตย่อมยินดีในความดับทุกข์ที่เกิดขึ้น ย่อมพิจารณาสงเคราะห์ลงในธรรมว่า ทางใดบ้างที่จะเข้าถึงซึ่งอมตะสุขนั้นได้ จิตมันก็จะเริ่มพิจารณาเห็นทางปฏิบัติให้เป็นไปเพื่อละสมุทัยแล้วเข้าถึงซึ่งนิโรธนั้น
    ซึ่งที่ผู้พิจารณาจะเห็นแน่นอนในเบื้องต้น คือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ อันเป็นไปเพื่อความไม่เสพย์ในทุกข์ ความทำให้เหตุแห่งทุกข์เสื่อมแล้วดับไป เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์




    สัมมาทิฐิโดยปัญญา

    คือ รู้เห็นสภาวะธรรมตามจริง ปราศจากความตรึกนึกคิดปรุงแต่ง จะเห็นว่ามันไม่มีอะไรสิ่งใดๆเลย ไม่มีบัญญัติ ไม่มีตัวตนบุคคลใด
    ไม่เที่ยง แท้ยั่งยืน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นทุกข์

    เห็นทุกข์เกิดมาแต่ผัสสะ
    เห็นอายตนะ๑๒ เป็นเครื่องมือของกิเลสที่ใช้หลอกจิตให้ลุ่มหลง เป็นทุกข์
    เห็นเจตนานี่แหละเป็นตัวดึงความจำได้หมายรู้ ทำให้เกิดรู้สมมติ แล้วทำให้กิเลสที่นอนเนื่องทั้งอย่างกลางและละเอียดนี้มีขึ้น
    เห็นวิญญาณธาตุนี้รู้แต่สมมติไม่มีของจริงเลย จิตมันยึดก็ยึดเอาแต่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกล่อ

    ถึงความไม่ยึดเอาวิญญาณธาตุ ไม่ยึดเอาสิ่งที่วิญญาณรู้ ถึงความไม่เร่าร้อน

    จิตรู้ของจริงเห็นของจริงน้อมเข้าสู่ ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน ภาวนา ทำพละ๕ ให้แจ้ง ให้อินทรีย์แก่กล้า ถึงความหน่ายและตัดกิเลสเสียได้





    หลวงปูดุลย์สอนว่า__จิตส่งออกนอก เป็น "สมุทัย"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ...เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__จิตรู้ทุกสิ่ง รู้อารมณ์ทั้งหมด แต่สิ่งใดที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติที่อาสวะกิเลสมันสร้างขึ้นมาหลอกล่อจิตให้หลงตามทั้งหมด รู้เหตุแห่งความลุ่มหลงสมมติ แล้วเป็นผู้ตื่นเพียรละที่เหตุนั้น ดังนี้แล้ว "จิตรู้และเสพย์อารมณ์" จึงเป็น "สมุทัย"}

    - ผู้รู้ ผู้ตื่น


    หลวงปูดุลย์สอนว่า__ผลอันเกิดจากจิตส่งออก เป็น "ทุกข์"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา...เป็นทุกข์อุปาทาน

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__เมื่อจิตรู้และเสพย์สมมติตามอาสวะกิเลส ย่อมก่อให้เกิดเป็นเวทนาให้จิตยึดมั่นถือมั่นไว้โดยสัญญาจากเวทนานั้น แล้วก็เกิดความตรึกนึกคิดปรุงแต่งอันเกิดจากกิเลสอย่างกลางให้เป็นไปในตัณหาและเป็นทุกข์ รู้ผลจากการลุ่มหลงสมมติ กำหนดรู้ทุกข์นั้น ดังนี้แล้ว "ผลอันเกิดจากจิตรู้และเสพย์อารมณ์" จึงเป็น "ทุกขฺ์"}

    - ผู้รู้


    หลวงปูดุลย์สอนว่า__จิตเห็นจิต เป็น "มรรค"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__สติเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม...เป็นมรรคปฏิบัติ

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__มีมหาสติ(สติ+สัมปะชัญญะ) เห็นจิตที่รู้และเสพย์ที่ยึดมั่นถือมั่นในสมมติทั้งปวง ทั้งสภาวะธรรมและความปรุงแต่งที่เป็นไปทั้งหลายทั้งปวงตามจริง แล้วเป็นผู้ตื่นจากความลุ่มหลงสมมติ ทำให้มากในความตื่นนั้น ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิต (เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง)" จึงเป็น "มรรค"}

    - ผู้ตื่น


    หลวงปูดุลย์สอนว่า__ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็น "นิโรธ"

    ท่าน..พนมพร คูภิรมย์ กล่าวว่า__ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม...เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์

    {ที่เราเห็นจากผลการปฏิบัติที่หลวงพ่อเสถียรท่านได้กรุณาสอนไว้คือ__เมื่อมีมหาสติ(สติ+สัมปะชัญญะ) เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง ได้รู้เห็นตามจริงว่าจิตนี้รู้ทุกอย่างแต่รู้เพียงสมมติเท่านั้น จิตนี้แลเป็นตัวยึดเอาทุกอย่างแต่สิ่งที่มันยึดคือสมมติทั้งนั้น จิตนี้แลไม่น่ายึดมั่นถือมั่นเอามาเป็นที่ตั้ง ไม่เที่ยง ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน เป็นตัวทุกข์ จิตที่เกิดกับสติมสัมปะชัญญะมันก็จะเกิดความไม่เกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดในขันธ์ ๕ อีก มีแต่สภาพว่างโล่ง นี่คืออารมณ์พระนิพพาน เป็นความดับทุกข์ เบิกบานด้วยหลุดพ้นจากความลุ่มหลงสมมติทั้งปวง ทำให้แจ้งซึ่งความเบิกบานนั้น ดังนี้แล้ว "ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต
    (ผลอันเกิดจากการเห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง)" คือ "นิโรธ"}

    - ผู้เบิกบาน




    อริยะสัจ๔ ในปฏิจจสมุปบาท
    http://www.nkgen.com/11.htm



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 09-26-2015 เมื่อ 12:36 PM
     
  3. Admax said:

    ๒. สัมมาสังกัปปะ

    เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นสังขารรอบตามความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมแล้ว เห็นในทุกขอริยะสัจจ์แล้ว ย่อมเห็นโทษของอกุศลมูล ๓ ซึ่งได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
    ในขณะนั้น..
    สัมมาสังกัปปะความดำริออกจาก กาม นันทิ ราคะ อันเกิดแต่ความเพลิดเพลินใจ, เวร พยาบาท อันเกิดแต่ความขุ่นมัวขัดเคืองใจ, ความหลงอยู่ มีความมัวหมอง ปิดกั้นให้เกิดความ
    เศร้าหมองกายใจทั้งหลาย..ย่อมเกิดในขึ้นทันที คือ "กุศลวิตก ๓"นั่นเอง


    [69] กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)

    1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
    2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
    3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)


    เมื่อเกิดความสงเคราะห์ลงในธรรมพิจารณาหาหนทางเพื่อออกจากทุกข์นั้น จะเกิดความพิจารณาว่า..ทำไฉนหนอเราจึงจะถึงซึ่งความเป็นกุศลกุศลวิตกทั้ง ๓ ข้อนี้ได้ เมื่อวิเคราะห์ลงในธรรมด้วยปัญญาเห็นชอบ มีสติสังขารโดยรอบก็จะพิจารณาเห็นใน
    "สัมมัปปธาน ๔" คือ เราต้องเพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม
    เราต้องเจริญในต้องทำความเพียรอย่างนี้ๆจึงจะเข้าถึงกุศลวิตกทั้ง ๓ ข้อนี้ได้ ด้วยเหตุนี้จึง
    ให้เกิดทางปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อให้กุศลเกิดขึ้น อกุศลเสื่อมลงและดับไป เข้าถึงความดับทุกข์ได้ นั่นก็คือ ๔๐ กรรมฐาน นั่นเอง อันประกอบไปด้วย "ศีล สมาธิ ปัญญา" หรือ "ศีล ทาน ภาวนา" นั่นเอง


    ผมได้มีโอกาสไปขอกรรมฐานท่าน "พระครูพุทธิสารเถร
    (หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน)" วัดศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานครฯ จึงไปได้ฟังธรรมที่ท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดญาติ โยมที่มาบิณฑบาตรและถวายภัตราหารเช้าโดยย่อ ซึ่งจับถึงใจให้ปฏิบัติถึงธรรมโดยง่ายว่า


    ๑. ละความเบียดเบียนและเวรพยาบาทได้ "ศีล"
    ๒. ละความโลภได้ "ทาน"
    ๓. ละความหลงคือ
    โมหะ
    ได้ "ภาวนา"



    ทางใดก็ตามที่ทำให้กุศลเกิดขึ้น คงอยู่ไม่เสื่อมไปได้ มีความระลึกรู้อยู่ รู้ตัวทั่วพร้อม มีจิตตั้งมั่นควรแก่งาน เกิดความรู้เห็นตามจริง ถึงหลุดพ้นทุกข์ได้ ทางนั้นคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนหมด ผมอาศัยอะไรพูด นั่นเพราะ ธรรมทั้งปวงของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อกุศลธรรมทั้งปวง มีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่สังขารไปทุกรอบ ทุกขณะ มีจิตตั้งมั่นชอบคือจดจ่อด้วยกุศลธรรมอันเป็นไปเพื่อเห็นสภาวะธรรมตามจริงเพื่อดับทุกข์
    ด้วยเหตุดังนี้ กรรมฐานกองใดก็แล้วแต่ ที่เป็นไปเพื่อละอกุศลที่ยังไม่เเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมคือพระกรรมฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
    คนที่อิงตำรามักจะมีข้อแย้งว่านี้ไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าสอน กรรมฐานกองนี้ไม่มีเป็นต้น กล่าวตู่พระบ้าง ผู้อื่นที่ปฏิบัติได้บ้างว่าผิดไปหมด หรือ กรรมฐานกองใดก็ตามที่ตนไม่สนใจก็ว่าเขาชี้ผิดหมด นี่ อัตตาเกิดขึ้นที่ตรงนี้ หากมีสัมมาทิฐิและสติสังขารโดยรอบแล้วจะเห็นทันทีว่า กุศลธรรมนั้นเป็นฐานของกรรมฐานทุกกอง ผลจากกรรมฐานคือสมาธิ ผลจากสมาธิคือปัญญา ดังนั้นกรรมฐานแบบไหนก็ตามที่สงเคราะห์ลง ๔๐ กรรมฐานได้ ที่อยู่ใน สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ สิ่งนั้นเป็นกรรมฐานในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น


    พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า

    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ

    - [๑๙๖] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ จิตเป็นธรรมชาติโลเลบางคราวธรรม คือ ความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาว น้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
    ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณากายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้
    ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ

    - เธอทั้งหลายเห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์...



    ดั่งบทความคัดย่อบางตอนใน ภารทวาชสูตร นี้ ท่านสงเคราะหฺ์ลงกรรมฐานทั้ง ๔๐ ได้ไหม อันนี้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ หลายๆคนคงหาไม่เจอ คนที่อ่านตำราไม่ได้ปฏิบัติสัมมาทิฐิไม่เกิด สัมมาสังกัปปะย่อมไม่เกิด ย่อมพิจารณาไม่เห็นธรรมข้อนี้แน่นอน ซึ่งนี่คือ สัมมาสังกัปปะที่พระพุทธเจ้าสอน ธรรมพระพุทธเจ้านั้นจำแนกได้เป็น เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด หยาบ กลาง ละเอียดดังนี้

    ส่วนตัวผมผู้ไม่มีปัญญาใดๆ จะเห็นว่า
    ๑. ธรรมข้อนี้ประกอบด้วยกุศลจิตเป็นบาท ด้วยความดำริออกจากกามเป็นเบื้องต้นก่อน นั่นคือ สัมมาสังกัปปะ ในขณะนี้จิตมันจะรู้ธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์แล้ว ทำให้เกิดหิริโอตัปปะ(ลองคิดสิถ้าขนาดแม่ตนเองก็ยังคิดอกุศลได้นี่แย่ไหม ลูกตนเองหลานตนเองอย่างนี้ เราจะเกิดความละอายใจไหม) แล้วเจริญปฏิบัติออกมาทางกายและวาจา ดำรงศีลสังวร คือ สำรวมกายและวาจาไว้ ขณะนี้มีศีลสังวนในขั้นต้นแล้ว
    ๒. ในขณะที่ดำรงจะศีลอยู่นี้ ย่อมเกิดสีลานุุสสติขึ้น นั่นคือ ความหวนระลึกถึง ศีลข้อละเว้นซึ่งกาเมสุมิจฉาจาร หรือ ศีลข้อละเว้นซึ่งความทำพรหมจรรย์ให้เสื่อม โดยเรานั้นเมื่อพิจารณาอย่างนี้ว่า
    - เขาเป็นแม่บ้าง เป็นป้าบ้าง ญาติพี่น้องตนบ้าง ย่อมเห็นว่าเมื่อคิดอกุศลธรรมต่อท่านเหล่านี้ย่อมเป็นกรรมมหันต์ยิ่งบุพการียิ่งเป็นอนันตริยะกรรมเลยเทียว
    - เมื่อคิดอย่างนี้ย่อมเกิดความละอายต่อบาปที่จะไปกระทำทางใจอย่างนั้น
    - ขณะนั้นความดำริที่จะดำรงในในศีลข้อละเว้นซึ่งกาเมสุมิจฉาจาร หรือ ศีลข้อละเว้นซึ่งความทำพรหมจรรย์ให้เสื่อม ย่อมเกิดขึ้นเป็นเจตนามโนกรรม
    - ศีลข้อดังกล่าวข้างต้นนี้เมื่อบุคคลพึงรักษามาดีแล้วไม่ขาดไม่ทะลุ ย่อมเห็นว่าเราจักมองหรือกระทำการอันเป็นไปเพื่อให้ศีลข้อนั้นๆที่ทำมาดีแล้วต้องขาดต้องทะลุไปเพื่ออะไร จะทำให้ศีลอันบริบูรณ์ดีแล้วนั้นต้องทุรพลไปทำไม เมื่อระลึกอยู่นี้ความสงบใจย่อมเกิดขึ้น

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสในอานิสงส์สูตรว่า

    จาก..พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร

    อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

    อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

    ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

    ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

    ปัสสัทธิมีสุขเป็นผลมีสุขเป็นอานิสงส์

    สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

    สมาธิมียถาภูตญาณ-ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

    ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์

    นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้

    อานนท์ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”


    กิมัตถิยสูตรที่ ๑ จบ


    ๓. ต่อมาหากไม่สามารถทานอกุศลธรรมด้วยในการพิจารณาในขั้นต้นได้ ท่านให้พิจารณาในปฏิกูลบรรพ เป็นอนุสสติ ซึ่งในอนุสสติ ๑๐ นี้ ปฏิกูลบรรพในกายานุสติปัฏฐาน หรือ ทวัตติงสาปาฐะ นั้นคือ กายคตาสตินั่นเอง หมายเอาอาการทั้ง 32 มาตั้งพิจารณาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ แยกออกจนไม่มีเป็นตัวคนมีแค่อาการทั้ง 32 ประการ
    - (ในข้อนี้หากผู้เข้าถึงกรรมฐาน ๔๐ ท่านจะไม่พิจารณาแค่อาการเท่านั้น เมื่อท่านแยกออกมาเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นแล้ว ท่านแยกลงในธาตุ ๔ เป็นต้นอีก แล้วสลายไม่เหลือแม้คำว่าคนหรืออวัยยะไรๆนอกจากธรรมธาตุ เช่น เห็นในสภาวะธรรมที่ อ่อนแข็งในภายนอกภายในกาย สภาวะที่ร้อนเย็น อบอุ่น ย่อยอาหารภายในภายนอกกาย หรือ สภาวะที่เอิบอาบ ซาบซ่าน เกาะกุม เหนียวข้น ในภายในภายอกกาย หรือ สภาวะที่เคลื่อนตัว พัดไปพัดมา ตรึงกายทั้งภายในภายนอกเป็นต้น จนเห็นความไม่มีตัวตน ไม่มีเราไม่มีเขา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เป็นที่เสื่อม เป็นที่ไปตั้งความปารถนาไม่ได้ เป็นตัวทุกข์)

    ** จากบทธรรมอธิบายข้างต้นจะเห็นได้ตามอานิสงส์วรรคเลยว่า พระตถาคตเริ่มจากอุบายที่สร้างกุศลก่อนทำให้จิตน้อมไปในศีลอันเป็นกุศลจากนั้นจึงเคลื่อเข่าสู่ระดับกล่าง คือ เห็นในกรรมฐาน ๔๐ เพราะศีลอันเป็นกุศลจะสร้างความไม่เร่าร้อน มีความปราโมทย์ ปิติ สุข สงบใจจากกิเลส เป็นอานิสงส์ ซึ่งส่งผลให้เกิดจิตที่อ่อนต่อกรรมฐานแต่ไม่อ่อนต่อนิวรณ์เข้าถึงสมาธิอันจะทำใหก้เห็นกรรมฐานตามจริงได้ง่าย จนเกิดปัญญาญาณเห็นตามจริงโดยไม่ปรุงแต่งเพื่อละอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวง ซึ่งจะส่งผลไปในระดับที่สูงขี้น คือ ความสังวรในเครื่องต่อทั้งหลาย ความเห็นโทษจากผัสสะที่เกิดแต่อายตนะ ๑๒ แล้วดับที่ผัสสะนั้นให้ถึงความไม่ยินดียินร้ายเป็นต้น
    ** จะเห็นว่าคำสอนของพระตถาคตมีทั้งเบื้งต้น ท่ามกลาง และที่สุด มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด ดังนั้นไม่ว่าธรรมนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งหมดตั้งแต่น้อมจิตให้อ่อนเป็นกุศล สืบต่อไปจนถึงเข้าถึงกรรมฐาน ต่อไปจนถึงเห็นในธรรมขั้นสูง พระตถาคตเจ้าทรงสอนเป็นลำดับให้เข้าถึงง่าย แต่คนที่ไม่มีสัมมาทิฐิ ไม่มีสัมมาสังกัปปะจะไม่เห็นคุณในส่วนนี้ซึ่งกล่าวบ้างว่าไม่มีประโยชน์ กล่าวอ้างว่าไม่ใช่กรรมฐาน กล่าวอ้างว่าไม่ใช่วิปัสสนาบ้าง แต่หากคนที่เข้าถึงจริงเห็นอย่างพระตถาคตจริง มีบุพกรรมมาทางวิชชา ๓ เป็นต้น ท่านจะเห็นตรงตามพระพุทธเจ้าทั้งหมด ดังนั้นท่านทั้งหลายอย่าพึงทิ้งแม้ธรรมอันเล็กน้อยที่จะเสริมให้ท่านถึงธรรมทั้งปวง สมถะยังไม่รู้จัก จะไปเข้าในในความไม่มีอะไรเลยสักแต่เป็นเพียงสภาวะธรรมอย่าง วิปัสสนาได้อย่างไร ญาณอันเป็นสมถะยังไม่เกิด ญาณอันเป็นวิปัสสนาจะเข้าถึงได้อย่างไร ดังนั้นสาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านจะมีธรรม 2 ที่ควรเสพย์ และ เจริญอยู่เสมอๆคือ สมถะ+วิปัสสนา จะไม่แยกเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากแยกไปย่อมไม่ใช่ธรรมปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าสอน และที่สำคัญ หากท่านเข้าถึง สัมมาทิฐิ ที่สังขารด้วยสติ สังขารด้วยปัญญาเห็นชอบ อันสืบต่อเป็น สัมมาสังกัปปะ ท่านจะเห็นทันทีว่า อุบายเครื่องแห่งกุศลนั้นมีมากกว่าเม็ดทรายในโลกนี้ กรรมฐานให้ดำเนินไปถึงความรู้เห็นตามจริงนั้นมีมากมาย แต่กรรมฐานทั้งปวงนี่ย่อมสงเคราะห์ลงใน ๔๐ กรรมฐาน และ วิปัสสนาได้หรือสามารถเป็นฐานเข้าสู่กรรมฐานทั้ง ๔๐ กองได้ นั่นเพราะสัมมาสังกัปปะ คือ กุศลวิตก ๓ นั่นเอง

    [69] กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
    1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
    2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
    3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)


    หากมีความตรึกอันเป็นไปใน กุศลวิตก ๓ เมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่า สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ อันมีสติสังขารโดยรอบได้เกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว
    ด้วยเหตุว่า สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ มีสติสังขารรอบด้วยปัญญาเห็นชอบเกิดขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้ความตรึกนึกอันดำรงอยู่ในกุศลวิตก ๓ นั้นเกิดขึ้น เมื่อกุศลวิตก ๓ เกิดขึ้น ในขณะนี้
    "มโนสุจริต" ก็เกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ผู้เข้าถึงด้วยปัญญาเห็นชอบ มีสติกำกับอยู่ ย่อมรู้ธรรมอันควรเสพย์ ย่อมรู้ว่าธรรมอันเป็นเครื่องละอกุศลธรรมทั้งปวงเพื่อความเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์อันแท้จริงเป็นอมตะธรรมนั้นตามที่พระตถาคตเจ้าตรัสสอน นั้นคือ เห็นในสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง



    [156] ปธาน 4 (ความเพียร - effort; exertion)

    1. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
    - the effort to prevent; effort to avoid)
    2. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    - the effort to abandon; effort to overcome)
    3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
    - the effort to develop)
    4. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
    - the effort to maintain)

    ปธาน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน 4 (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ - right exertions; great or perfect efforts).




    ๕. สัมมัปปธานสังยุต
    ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔


    [๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส
    ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    - ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    - เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    - เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    - เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    - เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์
    เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

    [๑๐๙๑]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า
    ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็น
    ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๐๙๒]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ
    ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
    โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

    ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่าง เหล่านั้น
    อย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึงขยายความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน)



    จบ วรรคที่ ๑


    ๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร
    ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
    (พึงขยายความอัปปมาทวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธาน)



    จบ วรรคที่ ๒


    [๑๐๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคล
    ทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึง
    ทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก
    ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๐๙๔]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔
    กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม
    ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อ
    ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่
    เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
    บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง
    เจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรค
    ด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้).



    จบ วรรคที่ ๓


    [๑๐๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ
    การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา
    ๓ อย่างนี้แล.

    [๑๐๙๖]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ
    ไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี
    ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
    ความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

    [๑๐๙๗]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์เป็นส่วน
    เบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

    [๑๐๙๘]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด
    รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔
    เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
    ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือน-
    *หาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศล
    ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
    กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

    (พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)



    จบ สัมมัปปธานสังยุต
    -----------------------------------------------------




    สัมมัปปธาน ๔ นี่เป็นบ่อเกิดให้จิตน้อมไปในอารมณ์ธรรม เอื้อต่อกรรมฐานทั้งปวง ขณะนั้นย่อมเกิดเห็นทางมากมายที่จะเจริญให้เป็นไปในสัมมัปปธาน ๔ แต่ไม่ว่าด้วยส่วนใดๆก็ย่อมเกิดที่ กาย วาจา ใจ (อันอบรมในสมถะให้เกิดกุศลเป็นฐาน) และ ทำให้แจ้งใน กาย เวทนา จิต ธรรม(อันอบรมในปัญญาให้รู้เห็นตามจริง)





    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 11-12-2014 เมื่อ 09:51 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. Admax said:

    ๓. สัมมาวาจา



    เมื่อเข้าถึงสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ คิดชอบ มีวิตกอันเป็นไปในกุศล เพื่อละอกุศลแล้ว สิ่งที่รู้เห็นแน่นอนในความดำเนินไปให้ถึงความดับสูญแห่งอกุศลธรรมทั้งปวงได้นั้นต้องกระทำใน สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียร ๔ แล้ว ย่อมเห็นว่าอกุศลธรรมไรๆจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ กาย-วาจา-ใจ และ กุศลธรรมใดๆจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ กาย-วาจา-ใจ ถ้าจะทำก็ต้องทำที่ กาย-วาจา-ใจนี้แหละ
    เมื่อเห็นดังนี้ย่อมพิจารณาหาอุบายหยั่งกุศลฝังรากใน กาย วาจา ใจ เมื่อพิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมเห็นว่า "การเปล่งกล่าวถ้อยคำวาจานี้แล เกิดมาจากวิตก-วิจาร" คำกล่าวใดๆเกิดมาจากความนึกคิด รู้เรื่องราวประครองสืบต่อในสิ่งที่คิดนั้นๆแล้ว จึงกลั่นออกมาเป็นวาจาที่เปล่งออกมาทางปาก




    (
    *ข้อคิดเห็นโดยส่วนตัวจากผมที่ท่านผู้อ่านทุกท่านต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะว่าถูกผิดหรือจริงไม่จริง เพราะผมไม่รู้อภิธรรมในลำดับจิตแต่เห็นโดยอาศัยสมาธิมีอุปจาระสมาธิจนถึงปฐมฌาณเป็นต้น แม้ในความคิดของเราก็ยังมีวาจามีเสียงของเราตรึกนึกตามไปในความคิดนั้นเลยใช่ไหมครับ("ทางโลกเรียกว่า คิดในใจ หรือ พูดในใจ นั่นเอง") เมื่อเข้าสู่สมาธิอันควรแก่งานแล้วจะเห็นแยกเป็นขณะๆว่า

    เรื่องราวความคิดเกิดขึ้นก่อน
    ความเข้าไปรู้สิ่งที่คิดประครองความคิดไว้จะเกิดขึ้นตามมาว่ากำลังคิดสิ่งใด เรื่องอะไร ดำเนินไปถึงไหนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม จากนั้นจึงค่อยเกิดเสียงเข้าไปกล่าวตามความตรึกนึกอย่างนั้นอย่างนี้เป็นเรื่องราวในสิ่งที่ตรึกนึกนั้น นั่นคือ "พูดในใจ" นั่นเอง(ในขณะนี้ก็เสพย์เสวยอารมณ์ไปตามความตรึกนึกคิดนั้นแล้ว) เกิดเป็นความตั้งจิตทำไว้ในใจที่จะกระทำทางวาจาอย่างนั้นๆ แล้วจึงเปล่งวาจาออกมา จะเห็นว่าคนเรานั้นคิดก่อนพูดดังนี้)

    (
    *ข้อคิดเห็นโดยส่วนตัวจากผมที่ท่านผู้อ่านทุกท่านต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะว่าถูกผิดหรือจริงไม่จริง เพราะผมไม่รู้อภิธรรมในลำดับจิตแต่เห็นโดยอาศัยสมาธิมีอุปจาระสมาธิจนถึงปฐมฌาณเป็นต้น ดังนั้นโดยความพิจารณาจากการได้รับรู้สัมผัสของผมจึงเห็นว่า วาจานั้นถูกกระทำก่อนกาย(ซึ่งส่วนนี้ไม่ได้หมายถึงลำดับเกิดดับของ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นะครับ แต่ผมจะกล่าวความสัมพันธ์กันนี้ให้ได้พิจารณากันในภายหลังครับ) แม้คนที่อยู่ๆว่าไม่ได้คิดอะไรเช่น นั่งสมาธิอยู่แล้วพอยุงกัดไปตบยุงเลยทันทีหรือไปเกาทันที นั่นเพราะว่า

    วิตกเกิดขึ้น
    วิจารเกิดขึ้นรู้และประครองสืบต่อเรื่องราวสิ่งที่คิด(นที่นี้ไม่ได้กล่าวถึงวิตกวิจารในองค์ฌาณ) เกิดเสียงวาจากล่าวตามคิดในเรื่องราวนั้นๆ(พูดในใจ) เกิดเจตนาความตั้งจิตทำไว้ในใจที่จะกล่าววาจาบ้าง จะตบบ้าง จะเกาบ้าง (เปล่งวาจาหรือไม่เปล่งวาจาออกมาทางปาก) แล้วกายก็เคลื่อนไปตบยุงหรือเกาในทันที
    ด้วยเหตุดังนี้ สัมมาวาจาจึงมาก่อน สัมมากัมมันตะ / เพราะวจีกรรมเกิดสืบต่อซึ่ง วิตก-วิจาร ดังนี้แล

    ดังนั้นแล้วความสัมพันธ์ตามลำดับโดยมรรค จึงเกิดตามลำดับดังนี้คือ

    ๑.
    เมื่อปัญญาเห็นชอบเห็นแจ้งความจริงแล้ว ย่อมสืบต่อให้เกิดเป็นความวิตกอันเป็นไปเพื่อออกจากทุกข์ คือ ความคิดออกจาก กาม นันทิ ราคะ อันเกิดแต่ความเพลิดเพลินทั้งปวง

    ๒.
    เมื่อมีความคิดออกจากทุกข์เกิดขึ้น ทำให้เกิดความคิดอันเป็นไปใน กุศลวิตก ๓ อันเป็นไปเพื่อออกจากทุกข์
    จึงเห็นใน สัมมัปปธาน ๔ อันเป็นไปในกุศล เกิดแนวทางกรรมฐานอันเป็นอุบายเครื่องแห่งกุศลเพื่อออกจากทุกข์มากมาย ด้วยความมีกุศลวิตกเกิดขึ้นนี้แล..วาจาอันเกิดแต่กุศลวิตกจึงสืบต่อเป็นความพูดชอบจึงเกิดขึ้น เพราะวาจานั้นชอบได้ก็ด้วยอาศัยกุศลวิตกเกิดขึ้นดังนี้)

    หมายเหตุ
    (
    *ข้อคิดเห็นโดยส่วนตัวจากผมที่ท่านผู้อ่านทุกท่านต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะว่าถูกผิดหรือจริงไม่จริง เพราะผมไม่รู้อภิธรรมในลำดับจิตแต่เห็นโดยอาศัยสมาธิมีอุปจาระสมาธิจนถึงปฐมฌาณเป็นต้น
    ๓.๑ เหตุให้เกิดวาจาชอบเพราะเกิดปัญหาเห็นจริงในทุกขอริยะสัจ เห็นโทษของอกุศลวิตกว่า.."เพราะเราคิดไม่ดี เช่น เห็นตามจริงว่าเมื่อคิดในทางอกุศล" ก็จะเกิดการพูดในใจที่เป็นอกุศลทันที ทำให้เกิดวจีกรรมหรือกายกรรมอันเป็นไปในอกุศล เช่น พูดคำหยาบคาย หรือ กระทำทางกายเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทุกข์กายและใจ

    ๓.๒ ด้วยเหตุที่เห็นตามในข้อที่ ๓.๑ ดังนี้ จึงเกิดเป็นทางแห่งมรรคอันเกิดแต่ปัญญาเห็นชอบตามลำดับดังนี้ว่า
    เพราะเกิดปัญหาเห็นชอบ เห็นโทษในอกุศลวิตก
    เกิดความคิดออกจากทุกข์ เกิดสติสังขารโดยรอบ "วิเคราะห์ลงในธรรมด้วยปัญญาเห็นว่า..หากเราคิดไม่ดี การกล่าววาจาไรๆแม้จะเพียงพูดในใจก็จะไม่ดี เป็นผลให้เกิดการพูดออกมาจากปากหรือกระทำทางกายไรๆของเราก็จะไม่ดีตามไปด้วย ทำให้เกิดทุกข์ตามมา" เกิดเห็นในสัมมัปปธาน ๔ เกิดแนวทางกรรมฐานอันเป็นอุบายเครื่องแห่งกุศลเพื่อออกจากทุกข์มากมาย เช่น "เห็นทางว่าเราต้องคิดแต่สิ่งที่ดีงาม จึงจะเกิดคำพูดที่ดีงามแม้จะเพียงพูดในใจทำให้เกิดวจีกรรมที่ดีงาม จึงจะเกิดการประพฤติกระทำทางกายที่ดีงาม ถึงจะสลัดทิ้งซึ่งอกุศลธรรมเสียได้" ในขณะนี้ ศีล ก็เกิดขึ้นใจเราแล้วใช่ไหมครับ เจตนาอันเป็นไปเพื่อกุศลก็เกิดขึ้น คิดในทางกุศล พูดในใจก็พูดชอบ วาจาที่กล่าวออกมาจากปากก็ชอบ เกิดความประพฤติชอบ)




    - ในปฏิจจะสมุปบาทเมื่อเกิด
    วจีสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งอันเกิดแต่สังขารขันธ์ให้กระทำทางวาจา เกิดความปรุงแต่งทางวาจาอันประกอบด้วยเจตนาตั้งใจทำไว้ในใจที่จะทำ เป็น วจีสัญเจตนา คือ จิตเจตนาหรือคิดที่จงใจแสดงออกทางวาจา ทางวาจา(วจีทวาร) การกระทำทางวาจา(วจีกรรม)
    - สัญญเจตนา คือ จึงเกิดสังขารขันธ์การกระทำชนิดต่างๆขึ้น โดยอาศัยเจตนาเป็นปัจจัยร่วมอีกด้วย




    - แม้ผู้กล่าววาจาที่เขาว่าพูดโดยไม่คิด แต่วาจานั้นก็มาจากวิตก-วิจารจึงค่อยเปล่งเสียงออกมาจากทางปาก ก็เพราะว่าเราได้คิดคำนึงในสิ่งนั้น รู้ประครองเรื่องราวสิ่งที่คิดนั้นแล้ว เสพย์อารมณ์ความรู้สึกจากความคิดและพูดในใจไปตามเรื่องราวสิ่งที่คิดนั้นแล้ว เกิดเจตนาที่จะพูด แล้ววาจานั้นจึงกล่าวมาได้
    หากเราไม่คิด ไม่รู้เรื่องราวสิ่งที่คิด ย่อมนิ่งอยู่ไม่มีวาจาใดๆเปล่งออกมาจากปาก ซึ่งวาจาดังกล่าวนั้นเปล่งออกมาเพียงเพราะขาดสัมมาทิฐิและสัมปชัญญะความรู้ตัวทั้วพร้อมในปัจจุบัน+สติสังขารโดยรอบให้ระลึกรู้ทันความรู้สึกในปัจจุบันเป็นองค์ให้เห็นด้วยปัญญาแยกแแยะในสิ่งที่ถูกที่ผิด ที่ควรพูดไม่ควรพูด อันเป็นไปในวิตกอันเป็นอกุศลที่เกิดขึ้นอยู่นั้นๆ ทำให้เกิดวาจาที่ไม่จริง พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ ส่อเสียด ยุแยงปลุกปั่นให้คนแตกแยก กล่าววาจาอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยขาดความเป็นมิตรบ้าง ขาดความเอื้อเฟื้อสงเคราะห์บ้าง มีความริษยาบ้าง มีอคติบ้าง มีความผูกเวรเบียดเบียนหมายจะกล่าววาจาโดยทำให้ผู้อื่นถึงความฉิบหายบ้างเป็นต้น
    - แม้ผู้ชอบเหม่อลอยแล้วกล่าววาจาเพ้อพกอยู่ก็ดี แต่วาจานั้นก็มาจากวิตก-วิจารจึงค่อยเปล่งเสียงออกมาจากทางปาก พราะได้คิดคำนึงในสิ่งนั้น รู้สิ่งที่คิดนั้นแล้ว ความรู้เรื่องราวสิ่งที่คิดแล้ว ทำความย้ำในความคิด ซึ่งสิ่งที่ตนปารถนาบ้าง ไม่ปารถนาบ้าง วนเวียนซ้ำๆอยู่อย่างนั้น จึงเกิดวาจาอันละเมอ เพ้อพกออกมาทางปาก อย่างที่เราเห็นในหลายๆคนที่อยู่ๆก็พูดละเมอเพ้อหาออกมาคุยกับตนเองอยู่คนเดียว ดุจคนบ้าที่ระลึกไม่ได้เป็นต้น กล่าวคร่าวๆเช่น บุคคลนั้นเสพย์ในฉันทะเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิตก มีโมหะปิดกันอยู่ให้ลุ่มหลงตกภายใต้อำนาจแห่งฉันทะวิตกนั้นโดยไม่มีสติสัมปชัญญะสังขารรอบทำให้ไม่รู้ตัวในปัจจุบันขณะ ไม่ระลึกรู้ในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น เป็นต้น


    ** ด้วยความพิจารณาโดยแยบคายเห็นตามนี้ย่อมรู้ว่า อกุศลวิตก มีพิษภัยต่อตนเองและผู้อื่นฉะนี้ เห็นโทษแห่งวาจานั้นว่า แม้เพียงคำเดียวสามารถทำคนถึงความฉิบหายและตายได้นับไม่ถ้วน ทำตนเองให้ถึงความฉิบหายก็ได้ เมื่อเห็นโทษแห่งวาจาดังนี้แล้ว บุคคลผู้มีสัมมาทิฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสติสังขารโดยรอบ ย่อมพึงตั้งมั่นในกุศลวิตก มีสัมมัปปธาน ๔ กล่าวแต่วาจาอันประกอบไปด้วยประโยชน์สุขอันดีงามเป็นกุศลแก่ผู้อื่น อันไม่เป็นไปเพื่อให้ผู้อื่นถึงความฉิบหาย อันเป็นวาจาที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขดีงามต่อผู้ฟังผู้รับ กล่าวแต่คำจริงเป็นเหตุเป็นผลตรวจสอบได้ ไม่พร่ำเพ้อ ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ส่อเสียดยุแยกให้คนแตกกัน ไม่พูดหยาบ พูดแต่วาจาที่ดีงาม พูดแต่คำหวาน ทำให้คนเป็นหมู่คณะที่พร้อมเพรียง พูดพอประมาณ พูดในสิ่งที่ควรพูด นั่นคือ สัมมาวาจานั่นเป็น อันเป็นองค์แห่งศีลที่มีกุศลวิตกรองรับ ด้วยอาศัยสัมมาทิฐิสังขารให้เกิดสัมมาสังกัปปะ มีกุศลวิตกตั้งอยู่ด้วยสติสังขารรอบให้เกิดเป็น "สัมมาวาจา มี วจีสุจริต" ดังนี้

    ** ด้วยเหตุดังนี้แล้วพระท่านจึงมักกล่าวสอนว่า ให้คิดก่อนพูดจะได้ไม่มีโทษ ให้เป็นดั่งเต่าคาบใบไม้ไว้ ปากหนักไว้ไม่กล่าวพร่ำเพ้อโกหกหลอกลวง พูดคำหวานน่าฟังไม่ขัดใจคน กล่าวแต่วาจาอันดีในกาลอันควร แม้ข้อเมื่อเจริญปฏิบัติตั้งไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว ก็เรียกว่า "ศีลสังวร" นั่นเพราะมีความหวนระลึกในศีลอันว่าด้วยวาจานี้ๆ เพียรกระทำสำรวมไว้ให้ไม่ขาดไม่ทะลุ บริบูรณ์ดีแล้ว มีสติหวนระลึกถึงอยู่เนืองๆถึงความที่เราได้ทำสำเร็จประโยชน์แล้ว เห็นประโยชน์สุขจากศีลข้อนี้แล้ว ย่อมยังให้เข้าถึง "สีลานุสสติ" ด้วยศีลสังวรดังนี้



    อุบายให้เกิดสัมมาวาจานอกจากสีลานุสสติ ซึ่งสามารถนำธรรมขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

    1. มีความเป็นมิตรที่ดีต่อผู้พูด จะทำให้รับฟังความรู้สึกนึกคิดเขามากขึ้นด้วยความปารถนาดีอันปราศจากความผูกโกรธผูกเวรต่อเขานั้น
    2. มีความสงเคราะห์ต่อผู้พูด เมื่อมีจิตจะสงเคราะห์สุขแก่เขา เราย่อมรับฟังเขาได้ ไม่กล่าวปะหานน้ำใจ ความมีจิตละความผู้โกรธนั้นได้ จนถึงความสละความผูกพยาบาทให้เป็น อภัยทาน
    3. มีความยินดีเมื่อผู้พูดนั้นได้รับประโยชน์สุขที่ได้พูดกล่าวในทางกุศลดีงาม ไม่มีจิตริษยาต่อผู้พูด จะละความติดใจข้องแวะต่อผู้พูด
    4. มีความเป็นกลางไม่อคติตั้งแง่ไรๆต่อผู้พูด คือ ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีไว้ต่อผู้พูด พึงเห็นว่าวจีกรรมอันไรที่ผู้พูดได้เปล่งวาจาออกมานี้ๆ จะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็เป็นกรรมโดยเจตนาของผู้พูดเอง ผู้พูดนั้นย่อมเป็นทายาทของวจีกรรมนี้สืบไป พูดดีก็ได้รับกรรมดี พูดไม่ดีก็ได้รับกรรมชั่ว เราจะเข้าไปผูกความชอบใจแบะไม่ชอบใจกับวาจาเหล่านั้นให้ใจเราเร่าร้อนไปเพื่ออะไรเพราะไม่ใช่เรื่องของเราไม่ใช่เราที่จะไปเป็นทายาทของวจีกรรมเขา เราจึงไม่จำเป็นต้องไปเอาวาจาไรๆมาตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีดังนี้


    อคติ ๔ คือ


    ๑. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ (จะเห็นได้ว่าคำพูดคำเดียวกันกับคนที่เราเกลียด หากเป็นคนที่เราชอบกลับฟังดูดีไม่มีโทษ)
    ๒. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด
    (จะเห็นได้ว่าคำพูดคำเดียวกันกับคนที่เราชอบ หากเป็นคนที่เราเกลียดกลับฟังดูไม่ดีมีโทษ)
    ๓. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา ไม่รู้จริง โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
    ๔. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ


    5. มีขันติ ความทนได้ทนไว้ รู้ว่าควรปล่อย ควรละ ควรวางต่อวาจาของผู้พูด โสรัจจะ ความเสงี่ยม ถ่อมตน ความมีอัธยาศัยงามประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย พูดน้อยฟังมาก เช่นพึงเห็นว่าเรายังเป็นผู้ไม่รู้อยู่จึงควรเรียนรู้ฟังไว้ให้มาก เป็นต้น แม้ไม่พอใจยินดีต่อคำพูดใดเราก็จะไม่กล่าววาจาอันทรามออกมา
    6. มีทมะ ความข่มใจ(คิดชอบ คิดในทางกุศล) คิดในทางกุศลดีงามน้อมไปในกุศลกับวาจาผู้อื่น เช่น คิดว่าเขาด่าว่านินทาก็ดีกว่าเขาทุบตีเรา หรือ เขากล่าววาจาอย่างนั้นออกมาเพราะยังพลาดพลั้งอยู่วาจานั้นเพียงเพื่อจะเตือนสติเรา ดีกว่าเราผิดพลาดครั้งใหญ่จนต้องสูญเสียสิ่งทั้งหลายไป เป็นต้น อุปสมะ(ความสันติ สงบใจจากกิเลส) ฟังด้วยใจที่ตั้งความพอใจยินดีในความสันติ ความสงบสุขกายใจต่อตนเองและผู้พูด
    7. เป็นผู้สละคืนมิจฉาทิฐิ อันเป็นไปในความถือมั่นยึดมั่นอัตตาแห่งตน เห็นตนดีกว่าถูกกว่า อันป็นเหตุให้มีฉันทะหรือปฏิฆะต่อวาจาของผู้อื่น
    - โดยพึงระลึกเมื่อเกิดความขุ่นมัวขัดเคืองใจ หรือ เพลิดเพลินยินดี น่าใคร่น่าปารถนา ฝักใฝ่จดจ้องในวาจาไรๆจากผู้พูด ให้ทำไว้ในใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา สักแต่เพียงจรมาแล้วจิตเราเสพย์มันเข้าไว้เป็นตัวตนในอารมณ์นั้นๆ เราจักสละคืนสังขารทั้งปวงเหล่านี้ไปเสีย แล้วเพิกจิตออกจากความปรุงแต่งจิตเหล่านั้นออกมา จิตจะตั้งอยู่ที่ความสงบรำงับอันปราศจากนิวรณ์ แล้วพึงเอาจิตจับที่จิตจะเกิดความแช่มชื่นเข้าถึง "อุเปกขาสัมโพชฌงค์ " คือ ความวางเฉยอันปราศจากราคะ ฉันทะราคะไรๆต่อ รูป คือ เสียง อันผัสสะ กับหู กับโสตะวิญญาณ ก็จักไม่เกิดขึ้น ดังนั้นทุกข์จากเสียงจึงไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย
    - จิตก็จะไม่ฟังด้วยความน่าใคร่น่าปารถนา ไม่ฟังด้วยติดความเพลิดเพลินยินดี ย่อมไม่เกิดความฝักใฝ่ในเสียงนั้นมาเป็นความยึดมั่นถือมั่นแห่งจิต


    ด้วยประการทั้ง 7 ข้อนั้นเป็นเหตุให้เข้าถึง พุทธวจนะ ที่ตรัสสอนว่า



    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทาสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใด ฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสไนย ม้าสินทบ พญาช้าง ตระกูลมหาราชที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐยิ่งกว่าสัตว์เหล่านั้น"


    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้อดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทนมีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ! เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"








    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 11-17-2014 เมื่อ 03:31 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  5. Admax said:

    ๔. สัมมากัมมันตะ

    เมื่อเข้าถึงสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ คิดชอบ มีวิตกอันเป็นไปในกุศล เพื่อละอกุศลแล้ว สิ่งที่รู้เห็นแน่นอนในความดำเนินไปให้ถึงความดับสูญแห่งอกุศลธรรมทั้งปวงได้นั้นต้องกระทำใน สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียร ๔ แล้ว ย่อมเห็นว่าอกุศลธรรมไรๆจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ กาย-วาจา-ใจ และ กุศลธรรมใดๆจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ กาย-วาจา-ใจ ถ้าจะทำก็ต้องทำที่ กาย-วาจา-ใจนี้แหละ
    เมื่อเห็นดังนี้ย่อมพิจารณาหาอุบายหยั่งกุศลฝังรากใน กาย วาจา ใจ เมื่อพิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมเห็นว่า "การทระทำทางกายนี่แล ก็เกิดมาจากวาจาอันเกิดแต่วิตก-วิจาร" การกระทำใดๆทางกายก็เกิดมาจากความนึกคิด รู้เรื่องราวในสิ่งที่คิดนั้นๆแล้ว เกิดเสียงเรากล่าวไปตามความตรึกนึกคิดนั้น จากนั้นจึงเกิดเป็นการกระทำทางกาย




    (
    *ข้อคิดเห็นโดยส่วนตัวจากผมที่ท่านผู้อ่านทุกท่านต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะว่าถูกผิดหรือจริงไม่จริง เพราะผมไม่รู้อภิธรรมในลำดับจิตแต่เห็นโดยอาศัยสมาธิมีอุปจาระสมาธิจนถึงปฐมฌาณเป็นต้น แม้ในความคิดของเราก็ยังมีวาจา มีเสียงตรึกนึกตามไปนั้นเลยใช่ไหมครับ เมื่อเข้าสู่สมาธิอันควรแก่งานแล้วจะเห็นแยกเป็นขณะๆว่า

    - เรื่องราวความคิดเกิดขึ้นก่อน
    ความเข้าไปรู้สิ่งที่คิดประครองความคิดไว้จะเกิดขึ้นตามมาว่ากำลังคิดสิ่งใด เรื่องอะไร ดำเนินไปถึงไหนอย่างไร เป็นกุศล อกุศล จากนั้นก็พูดในใจตามเรื่องราวที่คิดอยู่นั้นๆ สืบต่อเป็นความตั้งจิตทำไว้ในใจที่จะกระทำในกิจนั้นๆตามที่คิดไว้ (แล้วจึงเปล่งวาจาออกมา แต่ถึงแม้ไม่เปล่งวาจาออกมาทางปากแต่เราก็มีการกล่าววาจานั้นๆในขณะที่เราคิดไปแล้ว) เกิดการกระทำไรๆออกมาทางกายออกมา..จะเห็นว่าคนเรานั้นคิดก่อนพูด,เมื่อพูดแล้วจึงทำดังนี้)

    (
    *ข้อคิดเห็นโดยส่วนตัวจากผมที่ท่านผู้อ่านทุกท่านต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะว่าถูกผิดหรือจริงไม่จริง เพราะผมไม่รู้อภิธรรมในลำดับจิตแต่เห็นโดยอาศัยสมาธิมีอุปจาระสมาธิจนถึงปฐมฌาณเป็นต้น ดังนั้นโดยความพิจารณาจากการได้รับรู้สัมผัสของผมจึงเห็นว่า กายกรรมนั้นสืบเนื่องมาจาก วาจาอันเกิดแต่วิตกวิจารได้ถูกกระทำให้เกิดขึ้นก่อนแล้วดังนี้(ซึ่งส่วนนี้ไม่ได้หมายถึงลำดับเกิดดับของ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นะครับ แต่ผมจะกล่าวความสัมพันธ์กันนี้ให้ได้พิจารณากันในภายหลังครับ) แม้คนที่อยู่ๆว่าไม่ได้คิดไม่ได้พูดอะไรแต่ว่าทำไปเลย เช่น

    ๑. ถือแก้วกาแฟอยู่แล้วจู่มือก็ไปจับช้อนคนแก้วกาแฟทันที นั่นเพราะว่า..
    วิตกเกิดขึ้น
    (ความตรึกดนึกถึงเรื่องคนกาแฟเกิดขึ้น(แต่ในขณะจิตนี้ยังไม่รู้เรื่องราวว่าคิดอะไรอยู่)) วิจารเกิดขึ้นรู้และประครองสืบต่อเรื่องราวสิ่งที่คิด(นที่นี้ไม่ได้กล่าวถึงวิตกวิจารในองค์ฌาณ) เกิดวาจาเสียงตามคิดในเรื่องราวนั้นๆชั่วขณะหนึ่ง(พูดในใจ เช่น คนกาแฟก่อน คนกาแฟดีกว่า คนก่อนค่อยกินเป็นต้น ฯลฯ) เกิดเจตนาความทำไว้ในใจที่จะคนกาแฟในแก้ว แล้วมือเราก็จับช้อนคนแก้วกาแฟในทันที

    ๒. เมื่อเราทำสมาธิบริกรรมพุทโธทำไว้ในใจว่าจักกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกยาว(โดยที่เราไม่ได้คิดจะไปบังคับให้ร่างกายมันหายใจเข้าออกยาวเลย) จะเห็นได้ดังนี้..
    วิตกเกิดขึ้น
    (ความตรึกนึกถึงคำบริกรรมพุทโธตามลมหายใจเข้าออก ) วิจารเกิดขึ้นรู้และประครองสืบต่อเรื่องราวสิ่งที่คิด(จิตจดจ่ออยู่ที่พุทโธ) เกิดวาจาเสียงตามคิดในเรื่องราวนั้นๆ(พูดในใจกล่าวคำบริกรรมพุทโธจดจ่อไปตามลมหายใจเข้าออกยาวบางครั้งจะมีเสียงซ้อนว่าหายใจเข้า เมื่อลมหายใจยาวก็มีพูดในใจว่ายาวด้วย จนกว่าจะใช้คำพุทโธแทนลมหายใจเข้าออกได้ มีพระพุทธเจ้าเป็นลมหายใจเข้าออกลากเสียงสั้นยาวตามลมหายใจ) เกิดเจตนาความทำไว้ในใจที่จะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกยาว แล้วกายก็เกิดการหายใจเข้าออกยาวทันที(ทั้งๆที่เราไม่ได้ตั้งใจที่จะไปบังคับให้มันหายใจเข้าหรือออกยาวเลย)
    - ซึ่งสภาวะนี้จะวนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าสติเราจะทำหน้าที่เพียงแต่รู้ตามลมว่าเคลื่อนเข้าหรือออก ผัสสะจากลมนั้นยาวหรือสั่น การไม่เข้าไปกระทำทางกายจึงจะหายไป จะเหลือก็แต่เพียงการกระทำทางวาจานั่นคือคำพูดในใจที่เราบริกรรมไปตามลมเท่านั้น
    ด้วยเหตุดังนี้ สัมมาวาจาจึงมาก่อน สัมมากัมมันตะ / เพราะกายกรรม เกิดแต่ วาจาอันเกิดแต่วิตก-วิจารดังนี้แล

    ดังนั้นแล้วความสัมพันธ์ตามลำดับโดยมรรค จึงเกิดตามลำดับดังนี้คือ

    ๑.
    เมื่อปัญญาเห็นชอบเห็นแจ้งความจริงแล้ว ย่อมสืบต่อให้เกิดเป็นความวิตกอันเป็นไปเพื่อออกจากทุกข์ คือ ความคิดออกจาก กาม นันทิ ราคะ อันเกิดแต่ความเพลิดเพลินทั้งปวง

    ๒.
    เมื่อมีความคิดออกจากทุกข์เกิดขึ้น ทำให้เกิดความคิดอันเป็นไปใน กุศลวิตก ๓ อันเป็นไปเพื่อออกจากทุกข์ จึงเห็นใน สัมมัปปธาน ๔ อันเป็นไปในกุศล ทำให้เกิดความพูดชอบ จากนั้นก็ส่งผลให้เกิดเป็นความประพฤติชอบเกิดขึ้นตามมา ดังนี้)




    - ในปฏิจจะสมุปบาทเมื่อเกิด
    กายสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งอันเกิดแต่สังขารขันธ์ให้กระทำทางกาย เกิดความปรุงแต่งทางวาจาอันประกอบด้วยเจตนาตั้งใจทำไว้ในใจที่จะทำ เป็น กายสัญเจตนา คือ จิตเจตนาหรือคิดที่จงใจแสดงออกทางกาย ทางกาย(กายทวาร) การกระทำทางกาย(กายกรรม)
    - สัญญเจตนา คือ จึงเกิดสังขารขันธ์การกระทำชนิดต่างๆขึ้น โดยอาศัยเจตนาเป็นปัจจัยร่วมอีกด้วย




    - แม้ผู้ประพฤติที่เขาว่าทำโดยไม่คิดไม่พูด ทำอะไรไปด้วยความเหม่อลอย แต่การกระทำทางกายนั้นๆ ก็มาจากความคิดแล้วเสพย์อารมณ์ความรู้สึกจากความคิดและ
    พูดในใจไปตามเรื่องราวสิ่งที่คิด เกิดเจตนาที่จะทำ แล้วจึงเกิดการกระทำทางกายสืบมา
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า..ร่างกายของเรานั้นได้ดำเนินไปกระทำใจกิจการงานอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ก็เพราะได้คิดคำนึงในสิ่งนั้นแล้ว รู้สิ่งที่คิดนั้นแล้ว กล่าววาจาตามความคิดนั้นไปแล้ว หากเราไม่คิด ไม่รู้เรื่องราวสิ่งที่คิด ไม่เกิดการเสพย์อารมณ์ความรู้สึกจากความคิดและ
    พูดในใจไปตามเรื่องราวสิ่งที่คิด ก็ย่อมต้องนิ่งอยู่ไม่มีการกระทำใดๆออกมาทางกาย
    ซึ่งการกระทำทางกายดังกล่าวนั้นทำออกมาเพียงเพราะขาดสัมมาทิฐิและสัมปชัญญะความรู้ตัวทั้วพร้อมในปัจจุบัน+สติสังขารโดยรอบให้ระลึกรู้ทันความรู้สึกในปัจจุบันเป็นองค์ให้เห็นด้วยปัญญาแยกแแยะในสิ่งที่ถูกที่ผิด ที่ควรทำไม่ควรทำ อันเป็นไปในวิตกอันเป็นอกุศลมีโมหะที่เกิดขึ้นปิดกั้นจิตอยู่นั้นๆ ทำให้เกิดการกระทำทางกายที่ไม่รู้ความเป็นไปของกายในปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่ หรือเป็นไปเพื่อทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น ตบตี ทำร้าย ฆ่าฟันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงให้เกิดความฉิบหายถึงแก่ชีวิตต่อตนเองและผู้อื่นได้

    ** ด้วยความพิจารณาโดยแยบคายเห็นตามนี้ย่อมรู้ว่า กายทุจริต มีพิษภัยต่อตนเองและผู้อื่นฉะนี้ เห็นโทษแห่งกายทุจริต เห็นโทษแห่งความประพฤติผิดนั้นว่า แม้เพียงนิดเดียวก็สามารถทำคนอื่นถึงความฉิบหายและตายได้นับไม่ถ้วน ทำตนเองให้ถึงความฉิบหายก็ได้ เมื่อเห็นโทษแห่งความประพฤติดังนี้แล้ว บุคคลผู้มีสัมมาทิฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสติสังขารโดยรอบ ย่อมพึงตั้งมั่นในกุศลวิตก มีสัมมัปปธาน ๔ กล่าวแต่วาจาอันประกอบไปด้วยประโยชน์สุขอันดีงามเป็นกุศลแก่ผู้อื่น พึงประพฤติทางกายเพื่อความดีงามอันเป็นไปเพื่อละเว้นสิ่งที่ชั่ว ดังนี้คือ


    กายสุจริต ๓


    ๑. ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ไม่กระทำการใดๆที่เป็นไปเพื่อพรากชีวิตผู้อื่น
    ๒. ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความซื่อสัตย์ ไม่มีจิตหมายเอาสิ่งของอันมีค่าของผู้อื่น ไม่หยิบเขาของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้
    ๓. ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความซื่อสัตย์ ไม่พรากบุคคลอันที่เป็นรักของผู้อื่นมาเป็นของตน





    คิดก่อนทำ อันไม่เป็นไปเพื่อทำให้ผู้อื่นถึงความฉิบหาย อันเป็นความประพฤติที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขดีงามต่อผู้อื่น นั่นคือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์แห่งศีลที่มีกุศลวิตกรองรับ ด้วยอาศัยสัมมาทิฐิสังขารให้เกิดสัมมาสังกัปปะ มีกุศลวิตกตั้งอยู่ด้วยสติสังขารรอบให้เกิดเป็น วจีสุจริต และ กายสุจริต ดังนี้

    ** ด้วยเหตุดังนี้แล้วพระท่านจึงมักกล่าวสอนว่า ให้คิดก่อนทำจะได้ไม่มีโทษ ไม่ประพฤติกายให้เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ประพฤติกายให้ถูกกาลอันควร แม้ข้อนี้เมื่อเจริญปฏิบัติตั้งไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว ก็เรียกว่า "ศีลสังวร" นั่นเพราะมีความหวนระลึกในศีลอันว่าด้วยการกระทำทางกายนี้ๆ เพียรกระทำสำรวมไว้ให้ไม่ขาดไม่ทะลุ บริบูรณ์ดีแล้ว มีสติหวนระลึกถึงอยู่เนืองๆถึงความที่เราได้ทำสำเร็จประโยชน์แล้ว เห็นประโยชน์สุขจากศีลข้อนี้แล้ว ย่อมยังให้เข้าถึง "สีลานุสสติ" ด้วยศีลสังวรดังนี้



    อุบายให้เกิดสัมมากัมมันตะนอกจากสีลานุสสติ ซึ่งสามารถนำธรรมขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

    1. มีความเป็นมิตรที่ดีต่อผู้อื่น จะทำให้เรามีความเอ็นดูอันปราศจากความผูกโกรธผูกเวรต่อเขานั้น ทำให้ไม่เกิดการทำร้ายกัน ไม่เป็นศัตรูต่อกัน
    2. มีความสงเคราะห์ต่อ
    ผู้อื่น เมื่อมีจิตจะสงเคราะห์สุขแก่เขา เราย่อมยอมเขาได้ มีจิตละความผูกโกรธนั้นได้ไม่เกิดการทำร้ายหมายให้ชีวิตเขาถึงความฉิบหายเกิดขึ้น จนถึงความสละความผูกพยาบาทให้เป็น อภัยทาน
    3. มีความยินดีเมื่อผู้พูดนั้นได้รับประโยชน์สุขที่ได้กระทำในทางกุศลแล้วได้รับผลที่ดี ไม่มีจิตริษยาต่อเขา จะละความติดใจข้องแวะต่อผู้เขาได้
    - พึงเจริญในข้อที่ 1-3 โดยเห็นว่าเรานี่ดำรงในความสุจริตแล้ว เป้นผู้มี กาย วาจา ใจ อันสูงแล้ว ส่วนเขานี้ยังล่วงที่ต่ำอยู่ โอกาสอันดีในกุศลที่จะเกิดแก่เขายังน้อยอยู่กว่าเรามาก เราควรสงเคราะห์เขาเสีย
    ด้วยสละคืนฉันทะและปฏิฆะที่เรามีต่อการกระทำไรๆของเขานั้นเสีย
    ละความมีใจจดจ่อผูกใฝ่คำนึงถึงด้วยความติดใคร่พอใจยินดีในการกระทำของเขา คือ ละความผูกใฝ่ใคร่ปารถนาต้องการอยากจะให้เขากระทำไรๆอย่างนั้นอย่างนี้ให้เป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการ(ฉันทะราคะ) ความไม่พอใจจากกระกระทำของเขาก็จะไม่เกิดขึ้น ความไม่ผูกเอาความสุขสำเร็จใดๆของตนไปขึ้นไว้กับผู้อื่นก็จะไม่เกิดขึ้น ทุกข์ก็ไม่เกิดกับเรา

    - ทีนี้เมื่อเราจะระลึกและทำไว้ในใจอย่างนี้แล้ว แม้การจะว่ากล่าววาจาไรๆหรือการกระทำไรๆของเราที่มีต่อเขาก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเขา จะไม่เป็นไปเพื่อความสนองอารมณ์อันเป็นไปเพื่อ ความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดีของเรา มากขึ้น เพราะมีสติและกุศล
    มีความเอ็นดูปรานีต่อเขาปกคลุม กาย วาจา ใจ เราไว้อยู่ดังนี้

    4. มีความเป็นกลางไม่อคติตั้งแง่ไรๆต่อเขา คือ ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีไว้ต่อเขา พึงเห็นว่าการกระทำอันไรที่เขาได้ทำออกมานี้ๆ จะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็เป็นกรรมโดยเจตนาของผู้ทำเอง ผู้ทำนั้นย่อมเป็นทายาทของกายกรรมนี้สืบไป ทำดีก็ได้รับกรรมดี ทำไม่ดีก็ได้รับกรรมชั่ว เราจะเข้าไปผูกความชอบใจและไม่ชอบใจกับการกระทำเหล่านั้นให้ใจเราเร่าร้อนไปเพื่ออะไรเพราะไม่ใช่เรื่องของเราไม่ใช่เราที่จะไปเป็นทายาทของกายกรรมเขา เราจึงไม่จำเป็นต้องไปเอาการกระทำหรือความประพฤติไรๆของเขามาตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีดังนี้



    อคติ ๔ คือ


    ๑. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ (จะเห็นได้ว่าคำพูดคำเดียวกันกับคนที่เราเกลียด หากเป็นคนที่เราชอบกลับฟังดูดีไม่มีโทษ)
    ๒. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด
    (จะเห็นได้ว่าคำพูดคำเดียวกันกับคนที่เราชอบ หากเป็นคนที่เราเกลียดกลับฟังดูไม่ดีมีโทษ)
    ๓. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา ไม่รู้จริง โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
    ๔. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ



    5. มีขันติ ความทนได้ทนไว้ รู้ว่าควรปล่อย ควรละ ควรวางต่อการกระทำไรๆของผู้อื่น โสรัจจะ ความเสงี่ยม ถ่อมตน ความมีอัธยาศัยงามประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย สงวนท่าทีให้มาก ไม่ผลีผลามกระทำการไรๆก่อนกาลอันควร เช่นพึงเห็นว่าเรายังเป็นผู้น้อยอยู่บ้าง หรือเห็นว่าเราเป้นผู้ที่เจริญในกายวาจาใจถึงความกุศลแล้วบ้าง เป็นต้น แม้ไม่พอใจยินดีต่อการกระทำไรๆของเขาที่มีต่อเรา เราก็จะไม่กระทำทางกายอันทรามออกมา
    6. มีทมะ ความข่มใจ(คิดชอบ คิดในทางกุศล) คิดในทางกุศลดีงามน้อมไปในกุศลกับการกระทำของผู้อื่น เช่น เขาแสดงท่าทีออกมาอย่างนี้ให้เราไม่พอใจก็ยังดีกว่าเขามาทุบตีทำร้ายเรา อุปสมะ(ความสันติ สงบใจจากกิเลส) สงบกายไว้ไม่กระทำผลีผลาม ตั้งความพอใจยินดีในความสันติ ความสงบสุขกายใจต่อตนเองและผู้อื่น
    7. เป็นผู้สละคืนมิจฉาทิฐิ อันเป็นไปในความถือมั่นยึดมั่นอัตตาแห่งตน เห็นตนดีกว่าถูกกว่า อันป็นเหตุให้มีฉันทะหรือปฏิฆะต่อวาจาของผู้อื่น
    - โดยพึงระลึกเมื่อเกิดความขุ่นมัวขัดเคืองใจ หรือ เพลิดเพลินยินดี น่าใคร่น่าปารถนา ฝักใฝ่จดจ้องในความประพฤติไรๆของผู้อื่น ให้ทำไว้ในใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา สักแต่เพียงจรมาแล้วจิตเราเสพย์มันเข้าไว้เป็นตัวตนในอารมณ์นั้นๆ เราจักสละคืนสังขารทั้งปวงเหล่านี้ไปเสีย แล้วเพิกจิตออกจากความปรุงแต่งจิตเหล่านั้นออกมา จิตจะตั้งอยู่ที่ความสงบรำงับอันปราศจากนิวรณ์ แล้วพึงเอาจิตจับที่จิตจะเกิดความแช่มชื่นเข้าถึง "อุเปกขาสัมโพชฌงค์ " คือ ความวางเฉยอันปราศจากราคะ ฉันทะราคะไรๆต่อ รูป คือ สี เป็นต้น อันผัสสะ กับตา กับจักขุวิญญาณ ก็จักไม่เกิดขึ้น ดังนั้นทุกข์จากรูปคือสีที่เราเห็นทางตาจึงไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย
    - จิตก็จะไม่มองเห็นด้วยความน่าใคร่น่าปารถนา ไม่ฟังด้วยติดความเพลิดเพลินยินดี ย่อมไม่เกิดความฝักใฝ่ในเสียงนั้นมาเป็นความยึดมั่นถือมั่นแห่งจิต


    ด้วยประการทั้ง 7 ข้อนั้นเป็นเหตุให้เข้าถึง สัลเลขะ ที่พระตถาคตตรัสสอนว่า



    สัลเลขสูตร (คัดลอกบางส่วน)


    [๑๐๔] ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ

    เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน
    ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการลักทรัพย์.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่มีจิตพยาบาท.

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีการงานชอบ.(สัมมากัมมันตะ)

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความโกรธ.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่ผูกโกรธไว้.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ยกตนเทียมท่าน.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความริษยา.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความตระหนี่.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ มีมารยา.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน
    ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ ดื้อด้าน.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
    ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ ดูหมิ่นท่าน.
    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ว่าง่าย

    เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท
    ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนไม่ประมาท.



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 11-17-2014 เมื่อ 03:40 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:

    ๕. สัมมาอาชีวะ



    ตรงนี้เป็นความเข้าใจโดยส่วนตัวของเรา จากสภาวะธรรมไรๆที่เราได้ปฏิบัติมา
    ที่พอจะทีปัญญาได้รับรู้และเข้าถึงสัมผัสได้เท่านั้น อาจจะรู้ผิดและไม่ถึงไม่เข้าใจตามจริงเมื่อมาทบทวนต้องพิจารณาแยกให้ดี



    เมื่อมีปัญญาเห็นชอบแล้ว มีความคิดชอบแล้ว เกิดความพูดชอบแล้ว เกิดความประพฤติชอบแล้ว มีสติสังขารโดยรอบ การดำรงชีพในชีวิตประจำวันทุกๆวัน ทุกขณะก็ย่อมชอบตามไปด้วย นั่นก็คือ สัมมาอาชีวะ ความเลี้ยงชีพชอบนั่นเอง คือ การดำรงชีพเสี้ยงชีพอยู่ด้วยความสุจริต ก็คือ สุจริต ๓ นั่นเอง อันได้แก่

    ๑. มโนสุจริต ความคิดชอบ
    ๒. วาจาสุจริต ความพูดชอบ
    ๓. กายสุจริต ความประพฤติชอบ

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายภัณฑะของผู้แอื่น คือ ไม่มีจิตหมายเอาสิ่งจำเป็นในชีวิต ขอรักของหวง ของผู้อื่น
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายทำให้ผู้อื่นถึงความฉิบหาย คือ ไม่มีจิตผู้ฌกรธ กลั่นแกล้ง หมายทำร้ายให้ผู้อื่นฉิบหาย
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายย่ำยีผู้อื่นแล้วยกตนว่าดีกว่า คือ ไม่มีจิตหมายจะใส่ร้ายหรือย่ำยีผู้อื่นให้ล่วงลงสู่ที่ต่ำ แล้วยกตนว่าดีกว่าเขา
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายให้คนทะเลาะทำร้ายกัน มีจิตรักและแสวงหาความสงบ
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันหลอกลวงเพื่อให้ตนได้ประโยชน์แต่ทำผู้อื่นให้ทุกข์เสียหาย
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันเลื่อนลอยไม่มีมูลความจริง
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันยุแยงให้คนแตกแยกไม่สามาัคคีกัน
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันกระด้างต่อผู้อื่น พูดแต่คำพูดที่ดีงาม พูดคำหวานน่าฟัง
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาที่ไม่คุณค่าทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น พูดให้ถูกกาลอันควร รู้กาลที่ควรพูดไม่ควรพูด
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความเบียดเบียน ทำร้าย และ พรากชีวิตผู้อื่น
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความพรากเอาสิ่งสองที่เขาไม่ได้ให้
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความพรากเอาบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นมาเป้นเสพย์เป็นของตน
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้ดำเนินไปความรู้ตัวปราศจากเครื่องมึนเมาทำให้ลุ่มหลง หลงลืม ไม่รู้

    นี่ทำให้เห็นเลยว่า มีเกิดปัญญาเห็นชอบรู้เห็นในอริยสัจ ๔ (สัมมาสังกัปปะ)
    ย่อมเกิดมโนสุจริต (สัมมาสังกัปปะ) ส่งผลให้วาจาสุจริต (สัมมาวาจา) สืบต่อให้กายสุจริต (สัมมากัมมันตะ) เป็นผลให้ความดำรงชีพอยู่ก็สุจริตตาม(สัมมาอาชีวะ) ดังนี้

    เมื่อดำรงชีพอยู่ด้วยความสุจริตเป็นเหตุให้ศีลอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแก่ กาย วาจา ใจ ของเรา
    เป็นผลให้ความเร่าร้อนกายใจเราก็ย่อมไม่มี เมื่อความเร่าร้อนไม่มีก็ส่งผลให้มีความแช่มชื่นกายใจ เมื่อเรามีความแช่มชื่นกายใจอยู่ความอิ่มเอมใจก็เกิด เมื่อจิตมีความอิ่มเอมความรื่นเริงร่มเย็นยินดีก็เกิด เมื่อความรื่นรมย์ร่าเริงร่มเย็นกายใจเกิดความสงบใจก็เกิด เมื่อความสงบกายใจเกิด ก็มีความระลึกรู้ที่พอเหมาะ
    ก็เมื่อมีความระลึกที่พอเหมาะ ก็ทำให้มีจิตตั้งมั่นควรแก่งาน เมื่อมีจิตตั้งมั่นควรแก่งานจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ปัญญาอันรู้เห็นตามจริงก็เกิดขึ้น (สัมมาญาณ) ปัญญาเกิดก็เกิดความเบื่อหน่ายด้วยปัญญาเห็นชอบ เมื่อเกิดความหน่ายในสมมติ ก็ถึงความหลุดพ้นชอบ

    นี่น่ะผลจากความดำรงชีพชอบมีอานิสงส์ถึงขนาดนี้เลย เมื่อกาย-วาจา-ใจชอบ ดำรงชีพอยู่โดยชอบ ก็เป้นผลทำให้ถึงซึ่งสมาธิได้โดยง่ายเพราะปราศจากความเร่าร้อน มีแต่ความสุขสงบกายใจ ดังนี้
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-07-2015 เมื่อ 04:12 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  7. Admax said:

    ๖. สัมมาวายามะ

    ตรงนี้เป็นความเข้าใจโดยส่วนตัวของเรา จากสภาวะธรรมไรๆที่เราได้ปฏิบัติมา
    ที่พอจะทีปัญญาได้รับรู้และเข้าถึงสัมผัสได้เท่านั้น อาจจะรู้ผิดและไม่ถึงไม่เข้าใจตามจริงเมื่อมาทบทวนต้องพิจารณาแยกให้ดี


    เมื่อเกิดปัญญาเห็นชอบ ก็จะเกิด ความคิดชอบ วาจาชอบ ประพฤติชอบ ดำรงชีพชอบ ตามมา ส่งผลให้ เกิดความเพียรชอบขึ้นที่จะกระทำให้ยิ่งๆขึ้นเพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้นทุกข์
    แล้วทีนี้ความเพียรชอบนี้จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร..เพราะได้เห็นผลลัพธ์อันดีจากการดำรงชีพชอบแล้วนั้นมีความพอใจยินดีอยู่บ้าง และเพราะความเพียรขอบจริงๆแล้วคือการปฏิบัติจริงของสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง

    กล่าวคือ

    ๑, เมื่อเราดำรงชีพชอบ อันเกิดแต่ ความเห็นชอบ คิดชอบ พูดชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีพอยู่โดยสุจริตแล้ว ความเร่าร้อนกายใจย่อมไม่มีแก่เรา เมื่อหวนระลึกถึงผลจากการดำรงอยู่โดยเลี้ยงชีพชอบนี้มันเป็นอย่างไรบ้าง เช่น

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายภัณฑะของผู้แอื่น คือ ไม่มีจิตหมายเอาสิ่งจำเป็นในชีวิต ขอรักของหวง ของผู้อื่น
    - ผลที่ได้ คือ ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนอยากมีอยากเป็นอยากได้ของเขาบ้าง ไม่เร่าร้อนจ้องหมายจะฉกชิงเอาของเๆขาบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายทำให้ผู้อื่นถึงความฉิบหาย คือ ไม่มีจิตผู้โกรธ กลั่นแกล้ง หมายทำร้ายให้ผู้อื่นฉิบหาย
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่อยากจะผลักหนีให้ไกลตนบ้าง ไม่เร่าร้อนหาทางที่จะทำลายผู้อื่นให้ฉิบหายบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายย่ำยีผู้อื่นแล้วยกตนว่าดีกว่า คือ ไม่มีจิตหมายจะใส่ร้ายหรือย่ำยีผู้อื่นให้ล่วงลงสู่ที่ต่ำ แล้วยกตนว่าดีกว่าเขา
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนหาทางที่จะทำลายผู้อื่นให้ฉิบหายบ้าง ไม่เร่าร้อนเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีจิตหมายให้คนทะเลาะทำร้ายกัน มีจิตรักและแสวงหาความสงบ
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนหาทางที่จะทำให้ผู้อื่นแตกแยกกันบ้าง ไม่เร่าร้อนเมื่อเห็นผู้อื่นสามัคคีเรักใคร่กลมเกลียวกันบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันหลอกลวงเพื่อให้ตนได้ประโยชน์แต่ทำผู้อื่นให้ทุกข์เสียหาย
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนหาทางโกหกผู้อื่นเพื่อให้ตนรอดพ้นไปวันๆบ้าง ไม่ต้องเ่ราร้อนกลัวเขารู้ความจริงบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันเลื่อนลอยไม่มีมูลความจริง
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนเพราะพูดคำใดไปก็มีแต่คนเชื่อถือศรัทธาบ้าง ไม่เร่าร้อนเพราะเป็นคำพูดจริงที่ตรวจสอบได้บ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันยุแยงให้คนแตกแยกไม่สามาัคคีกัน
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนหาคำพูดที่จะทำให้ผู้อื่นแตกแยกกันบ้าง ไม่เร่าร้อนเมื่อต้องกล่าวสนทนากับเขาเหล่านั้นบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาอันกระด้างต่อผู้อื่น พูดแต่คำพูดที่ดีงาม พูดคำหวานน่าฟัง
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนเกรงกลัวเขาจะหมายทำร้ายเราจากคำที่เราพูดบ้าง ไม่เร่าร้อนเพราะกลัวพูดผิดใจกันบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่มีวาจาที่ไม่คุณค่าทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น พูดให้ถูกกาลอันควร รู้กาลที่ควรพูดไม่ควรพูด
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนหากลัวเขาจะมาเป็นศัตรูเพราะคำที่เราบ้าง ไม่เร่าร้อนเพราะกลัวเขาจะมาว่ากล่าวเราในภายหลังเพราะคำพูดนั้นทำร้ายเขาบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความเบียดเบียน ทำร้าย และ พรากชีวิตผู้อื่น
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนเหนื่อบกายไปคอยทำร้ายบ้าง ไม่เร่าร้อนเพราะไม่มีศัตรูพิษภัยบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความพรากเอาสิ่งสองที่เขาไม่ได้ให้
    - ผลที่ได้ คือ
    ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนเพราะกลัวเจ้าของเขาจับได้ว่าขโมยของเขาบ้าง ไม่เร่าร้อนต้องคอยปกปิดหลบซ่อนตัวบ้าง

    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้เป็นไปเพื่อความพรากเอาบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นมาเสพย์เป็นของตน
    - ผลที่ได้ คือ ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนเพราะกลัวเจ้าของเขาจับได้ว่าพรากคนรักเขาไปบ้าง ไม่เร่าร้อนคอยหาทางปกปิดในสิ่งที่ทำบ้าง
    ดำรงชีพอยู่ด้วยความเลี้ยงชีพโดยไม่ประพฤติทางกายให้ดำเนินไปด้วยความรู้ตัวปราศจากความฝักใฝ่เสพย์ของมึนเมาทำให้ลุ่มหลง หลงลืม ไม่รู้
    - ผลที่ได้ คือ ความไม่เร่าร้อนทะยานอยาก ไม่เร่าร้อนตะเกียกตะก่ายทะยานหามาเสพย์บ้าง ไม่เร้าร้อนเพราะเกิดความสูญเสียขาดสติบ้าง ไม่เร่าร้อนเพราะต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติโดยใช่เหตุแันควรบ้าง

    - แต่ละวันๆในการดำรงชีพอยู่เลี้ยงชีพโดยชอบอย่างนี้ๆของเรานี้มันสงบสบายกายใจเพียงไร ปราศจากความทะยานอยากทั้งปวง ทั้งความอยากมีอยากเป็นบ้าง ไม่อยากมีไม่อยากเป็นอยากจะผลักหนีให้ไกลตนบ้าง ความปารถนาใคร่ได้ที่เสพย์ในอารมณ์นั้นๆบ้าง สิ่งเหล่านี้ย่อมไม่มีเลยในการดำรงอยู่เลี้ยงชีพของเราในทุกๆวัน มันสุขสงบร่มเย็นกายใจแค่ไหน เป็นผลให้เกิดสมาธิมีจิตตั้งมั่นควรแก่งานได้ง่ายแค่ไหน เมื่อหวนระลึกอยู่อย่างนี้ย่อมเกิด "ความพอใจยินดี (ฉันทะ)" ในการปฏิบัติและผลของมันเป็นเหตุให้เรามีความตั้งจิตทำไว้ในใจปารภความเพียรที่จะทำในความสุจริตนี้ต่อไป ฉันทะเป็นหัวใจหลักในความเพียรของทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกิจการงานใดๆก็ตาม ซึ่งความหวนระลึกถึงความสุจริตทางกาย วาจา ใจ นี้ เป็นอนุสสติว่าด้วย "สีลานุสสติ", "จาคานุสสติ" เพราะความสุจริต คือ ศีลและทานนั่นเอง



    ๒, เมื่อมี"ความพอใจความยินดี(ฉันทะ)" ในการที่เราได้เจริญปฏิบัติและได้รับผลอันดีจากการเจริญในความสุจริตแล้วนั้น (เป็นผลสืบต่อจากอนุสสติในข้อที่ ๑,) เราย่อมมีความเพียรที่จะทำให้ความสุจริตนั้นคงอยู่ยืนนาน คือ
    เมื่อมี
    ความเห็นชอบ
    คิดชอบ มีสติกำกับอยู่สังขารโดยรอบ..เห็นใน สัมมัปปธาน ๔ พึงตั้งจิตมั่นกระทำในกุศลทางกาย-วาจา เกิดเป็นความเลี้ยงชีพชอบ มีฉันทะ..ในสุจริต ๓ กระทำความเพียรชอบใน สัมมัปปธาน ๔ ด้วยเห็นว่านี่แหละเป็นสิ่งที่ควรจะทำให้มากเพื่อให้ความสุจริตคงอยู่ยืนนาน จึงเกิดการปฏิบัติเพื่อละอกุศลธรรมทั้งปวงขึ้นมา ทีนี้แล้วจะละอกุศลที่ยังไม่เกิดและเกิดขึ้นแล้วยังไง เมื่อเห็นด้วยปัญญาก็จะพบว่า..เราต้องความรู้กายรู้ใจ มีอุบายให้หยั่งถึงกุศลธรรมทั้งปวงทำให้รู้เห็นตามจริงอันปราศจากความปรุงแต่งอนุมานคาดคะเนเพื่อความหน่ายและวางเฉยในสิ่งที่ทำให้เกิดอกุศลธรรมทั้งปวง มีความระลึกรู้เท่าทันการเสพย์ติดความสุขหรือทุกข์เพื่อละความพอใจฝักใฝ่ยินดี มีความรู้ตัวทั่วพร้อมกำกับอยู่ รู้ว่ามีจิตเป็นกุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นแก่ตน และ ตนกำลังพูดหรือทำสิ่งที่เป็นกุศลหรืออกุศลอยู่ เห็นสิ่งที่ยังมีอยู่มีในตนและดับไปแล้วจากตน
    เมื่อรู้เห็นดังนี้..
    จิตก็จะอาศัยสติอันมีสัมปชัญญะกำกับอยู่คอยสอดส่องดูสภาวะจิตและกายกับวาจาตนอยู่เสมอ ทีนีเมื่อรู้ว่าเป็นอกุศลแล้วเราก็ละมันเสียให้ได้ด้วยการเลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ คือ

    ธรรมารมณ์อันใดที่เสพย์แล้วทำให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นและกุศลธรรมเสื่อมลง ธรรมารมณ์นั้นๆไม่ควรเสพย์ ๑
    ธรรมารมณ์อันใดที่เสพย์แล้วทำให้กุศลธรรมเกิดขึ้นและอกุศลธรรมเสื่อมลง ธรรมารมณ์นั้นๆควรเสพย์ ๑


    อย่างงนะครับ
    ในความคิดชอบสังขารในเริ่มแรกนั้น เพียงแค่
    เห็น
    ในสัมมัปปธาน ๔ จึงเกิดเห็นทางอุบายที่จะละอกุศลที่ยังไม่เกิดและเกิดขึ้นแล้ว แล้วทำกุศลให้เกิดขึ้นทางกายและวาจา(ซึ่งผมจะเขียนไว้ตั้งแต่เริ่มเลยว่า เห็นในสัมมัปปธาน ๔ - ไม่ใช่ทำในสัมมัปปธาน ๔)

    ทีนี้เมื่อเกิด
    ฉันทะที่ได้รับผลจากการเลี้ยงชีพชอบแล้วโดยการหวนระลึกถึงตามในข้อที่๑, สัมมัปปธาน๔ ก็จะเกิดเป็นความเพียรในทางปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่จะละอกุศลธรรมทั้งปวง แล้วยังกุศลธรรมทั้งปวงให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ คงไว้ รักษาเอาไว้ไม่ให้เสื่อม โดยอาศัยความรู้ตัวทั่วพร้อม อาศัยความระลึกรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ อาศัยการเลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ เพื่อที่จะละอกุศลธรรมทั้งปวง สืบต่อให้เกิดและเพียรเจริญใน สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-07-2015 เมื่อ 04:03 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  8. Admax said:

    ๗. สัมมาสติ

    ตรงนี้เป็นความเข้าใจโดยส่วนตัวของเรา จากสภาวะธรรมไรๆที่เราได้ปฏิบัติมา
    ที่พอจะทีปัญญาได้รับรู้และเข้าถึงสัมผัสได้เท่านั้น อาจจะรู้ผิดและไม่ถึงไม่เข้าใจตามจริงเมื่อมาทบทวนต้องพิจารณาแยกให้ดี


    เมื่อมีปัญญาเห็นชอบ คิดชอบ(กุศลวิตก เห็นในสัมมัปปธาน ๔ ในเบื้องต้น) พูดชอบ(สัมมาวาจา) ทำชอบ()สัมมากัมมันตะ เลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) เพียรชอบโดยฉันทะ เพียรชอบโดยกระทำความสำรวมระวังอกุศลเพื่อไม่ให้กุศลแห่ง ศีล ทาน ภาวนา เหล่านั้นต้องเสื่อมไป คือ สัมมัปปธาน ๔) เมื่อเพียรปหานสำรวมระวังอยู่ สติก็จะสังขารโดยรอบด้วยตัวของมันเอง เพื่อมิให้ผิดพลั้งเสพย์อกุศลให้กุศลธรรมทั้งปวงเหล่านั้นเสื่อมสลายไป การกระทำความเพียรในปธาน ๔ ได้ดีและถึงพร้อมได้นั้น ก็ต้องอาศัยสติ และ สัมปะชัญญะ ที่พอเหมาะให้รู้กายและใจเท่าทันความปรุงแต่งนั้นๆ แล้วจึงละ จึงปหานอกุศล แล้วจึงเจริญ จึงรักษาให้คงไว้

    สติและสัมปะชัญญะที่พอเหมาะนั้น ไม่ใช่ว่ามีความรู้กายรู้ใจมากจนเกินไปจิตก็จะวิ่งไปรู้ในส่วนนั้นมากจนเกินไปแม้จะเกิดสมาธิขึ้นได้จริงแต่ก็ไม่ตั้งมั่นมากพอควรแก่งานทำให้จิตที่จดจ่ออยู่นั้นหลุดง่าย ทำให้สมาธิไม่พอให้เห็นตามจริงถึงสภาวะธรรมไรๆเหล่านั้นบ้าง จะรู้แค่ว่าสิ่งเกิดขึ้นในขณะที่เราเสพย์มันแล้วและสิ่งนี้ดับไปหลังจากไม่รู้สึกถึงมันแล้วบ้าง

    สติและสัมปะชัญญะที่พอเหมาะนั้น สติจะระลึกรู้ตามสภาวะธรรมเท่านั้น และ สัมปะชัญญะทีพอควรคือรู้ว่ากำลังทำกิจการงานใดๆอยู่ในสถานภาพไรๆอยู่เท่านั้นเมื่อมีสติและสัมปะชัญญะที่สมกันนี้ได้สงเคราะห์กันอยู่จะเกิดเพียงสภาวะแลดูอยู่เท่านั้น ไม่ห่างไปไม่ใกล้ไปจากสภาวะธรรมไรๆที่เกิดขึ้น มีความรู้ตัวอยู่เสมอๆ มีจิตตั้งมั่นอยู่จดจ่อเพียงพอให้เห็นตามจริงได้

    ซึ่งปุถุชนอย่างเราๆนี้มักจะมีสติน้อยเกินไป ไม่สะอาดพอจะระลึกรู้ตามทันตามรู้สภาวะธรรมที่แท้จริงได้ มีสัมปะชัญญะน้อยไม่รู้ตัวในปัจจุบันขณะด้วยเหตุเบื้องต้น หรือ ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านมีความปารถนามากไป
    ทำให้ใจเพ่งเล็งผูกใฝ่คำนึงถึงติดใคร่พอใจยินดีที่จะถึงที่จะเห็นในสภาวะธรรมไรๆมากเกินไป สติก็มากเกินไปสัมปะชัญญะมากเกินไปเพราะคอยแต่จะสอดส่องดูสภาวะธรรมนั้นๆที่ผูกใฝ่อยู่ ทำให้ไม่เกิดสมาธิที่พอควร บ้างบางครั้งพอมีสภาวะธรรมไรๆเกิดขึ้น จิตก็จะมุ่งเอาสติสัมปะชัญญะพุ่งเขาที่สภาวะธรรมนั้นๆมากไป เช่น เกิดสภาพนี้แล้ว เกิดสภาวะนี้แล้ว มีอาการนี้ๆแล้ว สักพักจิตก็หลุดจากสมาธิทันที บางคนสมาธิก็มากเกินไปแม้จะเข้าถึงสภาวะธรรมไรๆเกิดขุึ้นแต่ก็ไม่เกิดปัญญา หรือ ระลึกไม่ได้บ้างเป็นต้น ด้วยเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น ที่ว่าด้วยความไม่สมกันของสติสัมปะชัญญะ และ สมาธิไม่พอควร เกื้อหนุนกัน

    ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แลเห็นเหตุอย่างนี้ๆอยู่บ้าง เพื่อให้ปุถุชนที่มีสติสัมปะชัญญะน้อย..ได้เกิดมีสติสัมปะชัญญะขึ้นที่พอควร, เพื่อให้ผู้มีสติสัมปชัญญะมากเกินไปเพราะจดจ้องเพ่งเล็งเป็นต้น..ให้มีสติสัมปะชัญญะทีพอควร จนก่อให้เกิดความเอื้อต่อสมาธิที่ควรแก่งาน ทรงแลเห็นตามจริงแล้วว่า การพิจารณาในขันธ์ ๕ ทั้งภายในและภายนอก ต้องอาศัยสติระลึกรู้พิจารณาตามจริงใน
    กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างไรจึงเกิดผลแห่งกุศล อย่างไรจึงเกิดผลแห่งสัมมาสมาธิ อย่างไรส่งผลแก่ปัญญา จึงได้ให้สาวกทั้งหลายพึงเพียรเป็นฐานที่ตั้งแห่งความระลึกรู้ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ดั่งในสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นเหตุปัจจัยทำให้มีผลมาก เข้าถึง สัมมาสมาธิ,สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นถึงวิราคะ ซึ่งฐานของสติห้องแรกที่จะทำให้ไปสู้ผลตามนั้นก็คือ กายนี่เอง พระตถาคตเจ้าองค์พระบรมครูจึงตรัสสอนกายก่อน ทั้งใน ๔๐ กรรมฐานเป็นต้น ให้เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้เร็ว สัมผัสได้เร็ว เกิดสัมปะชัญญะ มีความตรึกนึกคิดน้อย จนดับความตรึกนึกคิดได้ มีจิตจดจ่ออยู่อารมณ์เดียวได้นาน เกิดความรู้เห็นตามจริงโดยสัมมาญาณ ในขณะที่สัมมาญาณเกิดนั้นแหละจะเป็นเวลาที่เห็น เวทนา จิต ธรรม อันปราศจากความปรุงแต่ง ปราศจากความคิด ตั้งอยู่เป็นกองๆของใครของมัน เห็นการเกิดดับต่างๆ ก็เหตุดังนี้แล จึงทรงให้กระทำกายก่อน ดังนี้คือ
    ๑. ศีลที่ละเว้นอกุศลทางกายและวาจา อันมีพรหมวิหาร ๔ เป็นฐานคลุมใจให้ใจตั้งในศีลได้งามบริบูรณ์
    ๒. ทาน ความสละให้ เป็นเหตุให้อิ่มเอมใจ เป็นผลสืบต่อให้อิ่มเต็มในกุศลปราศจากความเร่าร้อน เอื้อจิตแก่การการภาวนา
    ๓. ภาวนา ฐานแห่งการภาวนา คือ อนุสสติ ๑๐ เป็นองค์แรกให้จิตสงบ ความรู้ทันอิริยาบถและกิจการงานที่ตนทำ คือ ความรู้ตัวโดยสัมปะชัญญะ ทั้งหมดนี้ก็มีสติตั้งอยู่โดยสัมปะชัญญะ ทำให้เกิดสติสัมปะชัญญะที่พอควร ด้วยเหตุดังนี้สติปัฏฐานจึงควรตั้งไว้ที่กายก่อนเป็นองค์แรก จะเลือกปฏิบัติมั่วๆไม่ได้
    ๕. ก็จนเมื่อเกิดสัมมาสมาธิขึ้นโดยสติสัมปะชัญญะที่พอควรดีแล้ว ม้างกายออกจนไม่เห้นมีตัวตนบุคคลใด เห็นความเน่าสลายผุพัง เป็นเป็นธาตุ ไมมีอะไรในรูปขันธ์เลย เห็นอนัตตสัญญา และ อนิจจสัญญา
    เป็นเหตุเกิดยถาภูญาณทัสสะ หรือ มรรคญาณเกิดมีต่อกายในที่นั้นโดยไม่มีข้อสงสัยโต้แย้ง นี่เป็นปัญญาจากกายคตาสติ หรือ กายานุปัสสนา เมื่อไม่ติดกายแล้วก็จะเห็นขันธ์ ๔ คือ เห็นนามทั้งปวงได้ชัดเจนขึ้นรวดเร็วและง่ายขึ้น เมื่อเกิดสมาธิที่พอควรเห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต ตามลำดับ เกิดขึ้นจนจิตเห็นธรรมในธรรมทั้งปวงโดยยถาภูญาณทัสนะ จิตจะเริ่มหน่ายนิพพิทาญาณและวิราคะก็เกิด กล่าวโดยย่อซึ่งลำดับการเจริญแห่งสติปัฏฐานได้เท่านี้

    สติปัฏฐานสูตร
    http://www.nkgen.com/34.htm

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-12-2015 เมื่อ 09:45 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  9. Admax said:

    ๘. สัมมาสมาธิ

    ตรงนี้เป็นความเข้าใจโดยส่วนตัวของเรา จากสภาวะธรรมไรๆที่เราได้ปฏิบัติมา
    ที่พอจะทีปัญญาได้รับรู้และเข้าถึงสัมผัสได้เท่านั้น อาจจะรู้ผิดและไม่ถึงไม่เข้าใจตามจริงเมื่อมาทบทวนต้องพิจารณาแยกให้ดี

    เมื่อมีปัญญาเห็นชอบ
    คิดชอบ(กุศลวิตก เห็นในสัมมัปปธาน ๔ ในเบื้องต้น) พูดชอบ(สัมมาวาจา) ทำชอบ()สัมมากัมมันตะ เลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) เพียรชอบโดยฉันทะ เพียรชอบโดยกระทำความสำรวมระวังอกุศลเพื่อไม่ให้กุศลแห่ง ศีล ทาน ภาวนา เหล่านั้นต้องเสื่อมไป คือ สัมมัปปธาน ๔) เมื่อเพียรปหานสำรวมระวังอยู่ สติก็จะสังขารโดยรอบด้วยตัวของมันเอง เพื่อมิให้ผิดพลั้งเสพย์อกุศลให้กุศลธรรมทั้งปวงเหล่านั้นเสื่อมสลายไป การกระทำความเพียรในปธาน ๔ ได้ดีและถึงพร้อมได้นั้น ก็ต้องอาศัยสติ และ สัมปะชัญญะ ที่พอเหมาะให้รู้กายและใจเท่าทันความปรุงแต่งนั้นๆ แล้วจึงละ จึงปหานอกุศล แล้วจึงเจริญ จึงรักษาให้คงไว้ เมื่อมีสติสัมปะชัญญะที่พอเหมาะสังขารโดยรอบ เป็นเหตุให้เกิดสมาธิที่พอเหมาะได้ มีฉันทะสมาธิ ปธานสมาธิ จนเมื่อจิตนี้แน่วแน่ตั้งมั่นดีแล้ว มันก็เห็นทุกข์จากความลุ่มหลงในสิ่งสมมติ เห็นความสุขที่ได้สมดั่งใจในสิ่งสมมติว่าเป็นสุขอันไม่เที่ยง เห็นสุขโดยภายในว่ายั่งยืน จิตมันก็จะยึดในภายในเองโดยไม่ต้องไปบังคับ เมื่อหายใจเข้าจิตมันก็รู้เกาะด้วยสติตามลมเข้าและออกโดยตัวมันเอง และรู้ว่า มันจักเปลื้องจิตออกจากอกุศล(คือ จิตน้อมไปในความไม่ยึดในอกุศลธรรมอันลามกจัญไร สมมติไรๆทั้งปวง) จะเปลื้องจิตออกจากสังขารทั้งปวง(คือ จิตน้อมไปในความไม่ยึดในสังขารธรรมทั้งปวง และ สมมติไรๆทั้งปวงอันเป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ปูทางเข้าสู่ปฐมฌาณบ้าง ทุติยฌาณบ้าง ตติยฌาณบ้าง จตุถฌาณบ้าง จนเมื่อจิตไม่ยึดเอาสังขารทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ แต่ตั้งอยู่โดยความมีสติสัมปะชัญญะอยู่อันเป็นปฏิฆะ มีความหน่ายต่อสังขาร มันก็จะเพิกจิตออกจากรูปไปจับเอาสภาวะที่ว่างอันหลุดจากรูปประดุจดั่งตนหลุดออกจากกายแล้วมองดูกายตนในมุมบนแต่ไม่สนใจกายนั้นแล้วแสวงอยู่ในสภาวะที่ว่างอันไม่มีที่สิ้นสุดแทนเป็นอรูปฌาณซึ่งจะเข้าอรูปฌาณได้ก็ต้องอาศัยกสินอันเป้น ปัญจมฌาณในรูปฌาณ เพราะอรูปฌาณนี้เรายังไม่ถึงจึงไม่อาจจะบันทึกได้)

    การทำสมาธิที่เป็นเรื่องง่าย รู้ง่าย เห็นง่านสุดคือ อนุสสติ เราปฏิบัติโดย
    1. ศรัทธา พระพุทธเจ้า การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ศรัทธาพระธรรม และ พระสงฆ์ เป็นเหตุให้ความตั้งใจมั่นในภาวนาเกิดขึ้น
    2. ทำไว้ในใจด้วยพรหมวิหาร ๔, ทำไว้ในกายและวาจาด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐, ยังความอิ่มเอมใจเพื่อบั่นทอนกิเลสด้วยการสละให้เป็นทาน
    3. พุทโธ หนุนทุกลมหายใจเข้าออก ให้จิตมีกำลังอยู่ที่ลมได้นาน โดยปักหลักไม่คลอนแคลนไว้ที่ปลายจมูก มีสติรู้ผัสสะลมหายใจเข้า-ออกยาว
    4. พุทโธ ด้วยน้อมเอาคุณแห่งความเป็นผู้รู้กิเลสสมมติ เป็นผู้ตื่นจากกิเลสสมมติ เป็นผู้เบิกบานหลุดพ้นจากสมมติกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง น้อมมาสู่ตนให้ได้ถึงตามพระพุทธเจ้านั้น ให้ตนได้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดา
    5. น้อมคิดถึงความที่ตนนั้นเป็นผู้รู้แล้ว เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว ความอิ่มเอมใจย่อมเกิดมีขึ้นแก่จิตเรา
    6. เมื่อเกิดความสงบใจ ความฟุ้งซ่านลดลง มีจิตเปิดทางให้ปัสสัทธิเกิดขึ้น จิตจะยึดลมหายใจได้ดีขึ้น
    7. เมื่อจิตมีกำลังอยู่ที่ลมหายใจ ให้ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านี้ไม่ประกอบด้วยคุณ ทำให้เร่าร้อน กระสับกระส่าย
    ฟุ้งซ่าน ไม่ว่าจะเป็นรักก็ดี จะโลภก็ดี จะโกรธก็ดี จะหลงก็ดี ทั้งหมดต่างเป็นมหาทุกข์ มีแต่โทษ หาคุณประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ สังขารทั้งปวงทั้งภายนอกภายในไม่เป็นสิ่งที่ควรยึดเพราะประกอบไปด้วยทุกข์ เราจักขจัดมันทิ้งออกไปให้หมดเสียจากใจ พึงทำไว้ในใจสละคืนสังขารทั้งปวงไป หายใจเข้า, ให้ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านี้ไม่ประกอบด้วยคุณ ทำให้เร่าร้อน กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน ไม่ว่าจะเป็นรักก็ดี จะโลภก็ดี จะโกรธก็ดี จะหลงก็ดี ความยคดว่าเป้เนตัวตนก็ดี ความยึดว่าเที่ยงแท้ยั่งยืนก็ดี ทั้งหมดต่างเป็นมหาทุกข์ มีแต่โทษ หาคุณประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ สังขารทั้งปวงทั้งภายนอกภายใน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่เป็นสิ่งที่ควรยึดเพราะประกอบไปด้วยทุกข์ เราจักขจัดมันทิ้งออกไปให้หมดเสียจากใจ พึงทำไว้ในใจสละคืนสังขารทั้งปวงไป หายใจออก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนมีอาการวูบขนลูกซู่แต่จิตสงบว่าง มีอาการที่นิ่งชากายบ้างอยู่โดยสงบว่าง มีอาการที่ว่างจากอารมณ์ปรุงแต่งไม่ยึดจับแล้วบ้าง มีอาการที่รู้อารมณ์สิ่งไรๆก็สักแต่รู้บ้างแล้ว จึงพึงตั้งอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ปัสสัทธิเกิดเต็มที่ จิตจะยังความสุขรื่นรมย์แช่มชื่นกายใจทันที
    8. เมื่อมีความ
    สุขรื่นรมย์แช่มชื่นกายใจเกิดขึ้นแล้ว ธรรมชาติของจิตคือน้อมไปหาอารมณ์ที่ทำให้มันบันเทิงใจ จิตมันก็จะจับเอาความสุขจากความปรา
    ศจากกิเลสปรุงแต่งนั้นแหละเป็นอารมณ์ เมื่อจิตเป็นสุขโดยกุศล..มันก็ไม่คิดมาก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ไปหวนระลึกข้องใจภัณฑะไรๆ ไม่ข้องแวะสิ่งไรๆให้จิตต้องเศร้าหมอง เร่าร้อน สภาวะนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็สักแต่รู้ตาม ก็แค่รู้แล้วก็ช่างมันไปเหมือนหลวงปู่ฝั้นบอกทำให้เหมือนเดินทางไกล ทำให้จิตรู้แต่ไม่ข้องแวะไปหาสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอารมณฺมีสติอยู่ที่ลมและพุทโธไว้เบื้องหน้า
    9. เมื่อจิตไม่น้อมไปหาอารมณ์อะไรเกิดความรู้สึกไรๆ นิมิตไรๆ หรือจิตจะเข้าไปคิดปรุงแต่งเรื่องราวไรๆ ก็ให้สักแต่รู้ว่ามีสิ่งนั้นๆเกิดขึ้นแล้วก็แค่รู้เท่านั้นไม่ต้องไปยุ่ง ไม่ต้องไปห้าม ไม่ต้องไปขัด ไม่ร่วมไปเสพย์ความปรุงแต่งนั้น ลมหายใจจะเบาหรือหายไปก็ช่างมัน เหมือนไม่หายใจจะตายก็ช่างมัน กายสังขารจะสลายไปก็ช่างมัน พึงเห็นว่าดีแล้วจะได้ไม่ต้องทนทุกข์กายรูปขันธ์อีก ให้มีสัมปะชัญญะรู้ว่าทำสมาธิอยู่แล้วปล่อยมันไป ประดุจเรานั่งดูหนังดูโทรทัศน์ก็เท่านั้นเอง เป็นเหตุให้สติมีกำลังมากขึ้นหนุนด้วยสัมปชัญญะที่พอเหมาะ ที่สมกัน ที่เอื้อให้มหาสติเกิดมีขุ้น เข้าสู่ อุปจาระฌาณ โดยมีสติระลึกรู้โดยที่ไม่ไปเสพย์ความคิดปรุงแต่ง ตรึกนึกเรื่องราวใดๆ จดจ่อได้นานพอที่จะรู้เรื่องราวต่างๆตามจริงได้ ยิ่งละเอียดใกล้อัปปนาสมาธิมากความตรึกนึกมโนภาพยิ่งน้อย แต่รู้อารมณ์ทางใจมาก จดจ่อได้นานขึ้น (สภาวะนี้แหละที่ท่านใช้หัดม้างกาย)
    10. เมื่อมีมหาสติเกิดขึ้นมากพอในสภาวะที่แลดูอยู่ดับสภาวะที่รับรู้ในภายนอก คือ แม้มีจิตรู้ว่าคิดอะไร เรื่องใดอยู่ รู้ว่ามันรัก โลภ โกรธ หลงยังไง ภายนอกจะมีเสียงดังยังไงก็ไม่ได้ยินหรือได้ยินเบามากจนแทบไม่รู้สึกเลย ไม่รู้ผัสสะทางกายแล้ว แม้ก่อนถึงสภาวะนี้มีอาการเจ็บชาที่ขาหรือคนที่ตัวก็ไม่รู้สึก ไม่รู้สึกถึงลมหายใจเลยจนเหมือนว่าตนไม่หายใจหรือตายไปแล้วแค่ยังประครองสภาวะอยู่ได้ แม้จะไปรู้อย่างนั้นมันก็ไม่หลุดจากสมาธิเลย แม้จิตที่ครองสติสัมปะชัญญะอยู่มันจะหันไปดูทิศใด ก็เพิกไปเลยบ้าง จะขยายหรือย่อภาพนิมิตเข้าไปรู้นิมิตไรๆมุมไหนๆก็ไม่หลุดจากสมาธิ *เมื่อเกิดสภาวะนี้ขึ้นเรามีสัญญาอยู่ว่าหากเข้าสู่สมาธิได้จักไม่มีนิวรณ์ อกุศลดับไปหมด จึงได้ลองระลึกอกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวง ให้ระลึกให้ตายก็ระลึกไม่ออก นึกไม่ออก หวนคำนึงถึงอกุศลไม่ได้ มีแต่จิตที่เบาผ่องใสอยู่ น้อมเข้าแต่ในสภาวะธรรมตามจริงเท่านั้น นี่สมาธิมันมีอนุภาพมากขนาดนี้เลย แม้ออกจากสมาธิมาก็มีแต่กุศลจิต* (หลวงปู่บุญกู้สอนไว้ว่าถ้าบังคับได้แสดงว่าจิตเรามีกำลังมากพอจะพิจารณา ถ้าบังคับไม่ได้ให้ถอยออกมาก่อนแล้วทำสมาธิจับที่ลมหายใจแล้วเข้าไปดูใหม่ การทำอย่างนี้แทบทุกครั้งอาจจะเข้าไปแบบเดิมอีกไม่ได้จนกว่าจะฝึกเห็นทางเข้าจึงจะสามารถเข้าไปอีกได้บ่อยๆ เรียกว่า วสี) ถึงแม้จะเกิดความคิดจากความตามรู้นั้นซึ่งแยกขาดจากความปรุงแต่งเป็นไปโดยสังขารมันก็ไม่หลุดจากสมาธิ สภาวะนี้มหาสติเกิดขึ้นแล้ว เข้าสู่ปฐมฌาณ
    (สภาวะนี้แหละที่ท่านใช้หัดม้างกายบ้างจะเห็นตามจริงเพราะจิตจะอยู่กับปัจจุบันมากกว่าสัญญา และเห็นสภาวะธรรมทั้งปวงได้ง่าย)
    (แหละท่านจึงกล่าวว่าปฏิบัติแบบไม่ต้องไปรู้เยอะไม่ต้องไปอยากได้ มันจึงจะเข้าถึงได้ ผู้รู้มากเข้าไม่ได้ในสภาวะนี้เพราะติดความคิดจึงหลุดทันที)
    11. จนเมื่อจิตมันรู้เห็นในความคิดนั้นจนเต็มที่แล้ว มันก็จะคลายความคิดยึดความคิด สังขาร วิตก วิจารเหล่าใดก็ดับไป นิมิตภาพไรๆก็ดับไป มีแต่ความสว่างดุจรุ่งอรุณที่นิ่งว่างอยู่ เห็นหรือรู้สึกได้ถึงสภาวะธรรมปรุงแต่งไรๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเหตุปัจจัยต่างๆไปโดยลำดับของขันธ์ จนเห็นขันธ์แยกอยู่ไม่สัมพันธ์กันบ้าง
    ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็มีแต่สภาวะธรรม ไม่มีชื่อ ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีอะไรเลยแต่่เราไม่มีความคิดเลยแม้พยายามจะนึกก็นึกไม่ออก มีแต่ความจดจ่อแน่วแน่แนบอยู่ในสภาวะที่รู้เท่านั้น ไม่มีอื่นอีก เข้าสู่ทุติยะฌาณ (สภาวะนี้แหละอยู่กับปัจจุบันมากกว่าสัญญา ทีสภาวะที่เหมือนมีวิจารอยู่ในอารมณ์ และเห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง เมื่อถึงตรงนี้แม้เมื่อออกสมาธิแล้ว เมื่อดำรงชีพอยู่ในปัจจุบันก็ดีเมื่อเกิดอะไรขึ้นจิตจะเข้าไปจับลมเองเลยแล้วเข้าสมาธิอย่างต่ำคืออุปจาระฌาณได้)
    12. จนเมื่อนิมิตอันเป็นอารมณ์ทางนามที่เห็นนั้นดับไปนิ่งไป ก็เกิดความสุขความอิ่มเอิบสุขปะทุขึ้นดั่งพลุอันหาประมาณไม่ได้พรั่งพรูอัดปะทุขึ้นมาจากก้นบึ้งภายในใจ เวลานี้ไม่ว่าก่อนทำสมาธิจะเป็นคนที่เศร้ามากแค่ไหนก็สุขไม่มีประมาณอัดขึ้นเข้าสู่ตติยะฌาณ
    13. เมื่อมีมหาสติเกิดมาในลำดับที่ 1,2,3 และ สุขจากความไม่มีอะไรปรุงแต่งจิตนั้นสำแดงแล้วจนสุด ความสุขนั้นก็ดับไป มีความว่างนิ่งแช่อยู่ สว่างดุจรุ่งอรุณไม่มีสิ่งไรๆทั้งสิ้นมันว่างไปหมด แลเมื่อเรามีสัมปะชัญญะที่สมกันดีแล้ว เกิดเป็นมหาสติเต็มที่ สะอาด บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ก็จะเห็นแค่สภาวะธรรมเท่านั้นไม่มีอื่นอีก นิ่งจดจ่ออยู่ในความว่างอันนั้น พอเมื่อมีสัมปะชัญญะที่พอควรในมหาสติอันบริสุทธิ์นี้ ก็จะสามารถรู้ได้ว่ามันเป็นอย่างไร ว่างกว้างไม่มีประมาณยังไง จะแลไปที่ใดก็วาบไปทันทีมุมใดๆมันก็ว่าง กายไม่มีอีก รู้แค่สภาวะธรรมอันว่างอันนิ่งอันสงบไม่มีประมาณ
    (ตอนที่เรารู้ว่ามันสุขปะทุขึ้นแบบประมาณไม่ได้จนสุขดับแล้วเข้าถึงสภาวะธรรมนี้เรารู้แค่ว่ามันสว่างดุจรุ่งอรุณแล้วนิ่งแช่อยู่ มีเราอยู่แค่โดดๆเหมือนเราอยู่กลางอวกาศหรือกลางมหาสมุทรอันกว้างไปไม่มีประมาณแช่นิ่งอยู่นั้น ไม่มีความคิดไม่มีอะไรจดจ่ออยู่แค่อารมณ์นั้นแต่เราไม่มีกายแล้ว จนเมื่อมีสัมปชัญญะรู้ตัวทำไว้ในใจไปทางนั้นทางนี้ได้โดยที่ตนไม่ได้คิด มันก็วาบไปทันที)

    ** ผู้รู้ผู้เข้าถึงอรูปฌาณท่านช่วงนี่เป็นช่วงต่ออรูปฌาณ อาศัยกสินสีเขียว หรือ อาศัยกสินดินในอาการทั้ง ๓๒ ดึงจิตเข้าสู่อรูปฌาณได้

    เราถึงเพียงเท่านี้ ในเรื่องอรูปฌาณต้องเจริญใน วิโมกข์ ๘ ให้มากกว่านี้ หรือหากสมาธิที่ทำให้เราพอจะได้รู้เห็นตามจริงนี้ไม่ใช่ฌาณเป็นแค่สมาธิเล็กน้อย เราก็ต้องเรียนรู้เรื่องสมาธิให้มากขึ้นกว่านี้จนแจ้งแก่ใจ เพื่อให้แจ้งในเจโตสมาธิ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-26-2015 เมื่อ 12:59 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  10. Admax said:

    ฌานสมาบัติ ฌาน อรูปฌาน -
    หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ


    ฌานสมาบัติ ฌาน อรูปฌาน - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐานถึง อันดับที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึง อันดับที่ ๒ เรียกว่า ทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ ถึง อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่า ฌาน ๓ ถึง อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ ถึงอันดับที่แปด คือได้ อรูปฌาน ถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘

    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌาน ที่ ๒ ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียก จตุตถสมาบัติ ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือ สมาบัติแปด นั่นเอง

    คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็น ไทย ๆ เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน

    สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ ิที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ

    รูปสมาบัติหรือรูปฌาน

    ฌานหรือสมาบัติ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือ รูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จมรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือ โลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่าน เรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือ โลกุตตรญาณ ศัพท์ว่าโลกุตตระ ตัดออกเป็นสอง ศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิ คือเอา โลกะ กับ อุตตระ มาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอาสระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็น โลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่า โลก อุตตระ แปลว่า สูงกว่า รวมความว่าสูงกว่าโลก โลกุตตระ ท่านจึงแปลว่า สูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่า ฌานที่สูงกว่าโลก โลกุตตรสมาบัติ แปลว่า สมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่า กรรมต่างๆที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้น ไปแล้วแม้บาปกรรมที่ชาวโลกต้องเสวยผลท่านที่ได้โลกุตตระท่านก็ไม่ต้อง รับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลกให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นาม ว่า โลกุตตรบุคคล

    รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อสมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบต่อไป

    อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

    อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
    วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
    อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับ ทราบอะไรเลยเป็นสำคัญ

    ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนดหมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกว่าอรูปสมาบัติ สมาบัติ ๘

    ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

    ผลสมาบัติ

    คำว่าผลสมาบัติท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ ต้องเป็น พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปด มาก่อน ท่านเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌาน ระดับใด ท่านก็เข้าระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกันและท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดาสกิทาคา อนาคามี อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌานท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่าน ที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าฌานเพราะไม่มีมรรคผลต่างกันเท่านี้เอง กิริยา ที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

    นิโรธสมาบัติ

    นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผล ถึงอนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

    ผลของสมาบัติ

    สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่าน ที่ได้สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้ พระวิจัยวิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้าพระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้

    นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้ เวลาอย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลในวันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
    ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้าท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัติ นี้เข้าออกได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผล ไพบูลย์ในความเป็นอยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
    ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ ด้วยดีไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

    เข้าผลสมาบัติ

    การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกัน อยู่หน่อยหนึ่ง คือการเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวัง มิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผลสมาบัตินั้นเป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้ เมื่อ ท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้วมีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่ม เข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณาสังขารตามแบบวิปัสสนาญาณโดย พิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบขันธ์ห้ารวม คือ พิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่าน เป็นพระอริยะเพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้นเพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตาม กำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธีเข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึง เข้าฌาน



    ขณิกสมาธิ

    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปล ว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยว ประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสีย แล้วกว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้ นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์ สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยัง ไม่เป็นฌานท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

    อุปจารสมาธิ

    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌาน ก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติ นั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอ สมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้

    วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนด อยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการ เคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการ เจริญภาวนาอารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความ สว่างปรากฏคล้ายใครนำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏ เป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นานก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ

    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจ ก็เป็นสมาธิแนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไรเข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อน เลยในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลาย สมาธิแล้ว ส่วนจิตใจมีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการ กำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอดเวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือ ไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดีมีธรรมปีติชุ่มชื่นผ่องใสความสุขใจมีตลอดเวลาสมาธิตั้งมั่นความ สว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง ปฐมฌาน อยู่แล้ว ห่างปฐมฌาน เพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง เพราะอารมณ์ ยังไม่ครบองค์ฌานท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่างดังต่อไปนี้

    วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพ กสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก
    วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือ หายใจออก หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบา หรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนด ลมสามฐานคือ หายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจ ออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก

    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการ ใด

    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสัน วรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไป หรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ หรือ ภาพหลอนสอด แทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า วิจาร
    ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาใน กาลก่อน
    เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้น ไม่คลาดเคลื่อน

    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญ ในเสียงทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับ จิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย แล้วตามปกติจิตย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมย ต่อเสียงคิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติ ก็ เพราะ อารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อย แล้วนั่นเอง

    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้

    วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต
    เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง

    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อม ๆ กันไปคือ นึกคิดถึงองค์ภาวนาใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือ ไม่ประการใด มีความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุข สันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยิน สอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคง อยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

    เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

    เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่ เสียง เสียงเป็นศัตรูที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชน คนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย หากจิตใจของ ท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าแม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไรท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้น แก่จิตใจของท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏจิตว่าง จากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่ง แทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์ศัตรูร้ายผู้คอยทำลาย ฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน

    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่างคือ

    กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันเป็นวิสัยของ กามารมณ์
    พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิด ไว้หรือไม่เพียงใด

    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูด ว่า จิตใจของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนม กับอารมณ์ของนิวรณ์มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับ นิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้าม กับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกัน มานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคมกันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้า- ประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌานนั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกัน มานาน

    ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดา ของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ต่อเมื่อไร ได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้นเข้ม แข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้า ยังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌานออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌาน ย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจหมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนด เวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลาเท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลาจนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึก ตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไป หา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเองโดย ไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็ อย่าประมาทเพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มา รบกวนนั้นไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้ โลกุตตรฌาน คือ บรรลุพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัว ได้ว่าท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุต- ตรฌานคือ ได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริย- บุคคล แล้วอกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนักสำหรับพระอริยะต้น พอจะ กวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่างเช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจ นิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของ อุทธัจจะ คือความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะ เลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว

    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อย ให้ใจระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ ในอารมณ์ของฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่นเอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่าเป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบเกิด เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของ ปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลส ได้เด็ดขาดจนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ฌานที่ ๑ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์จนเสียผลฌาน


    ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

    ทุติยฌาน แปลว่า ฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่า สมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบายมาแล้ว แต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่ กล่าวมาแล้วในฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓

    อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

    ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
    สุข ความสุขอย่างประณีต
    เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิ เข้าถึงทุติยฌานนี้ ท่านตัด วิตก วิจาร อันเป็นอารมณ์ของ ปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติ สนใจกันมากเป็นพิเศษเพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัด ออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์ วิตก แปลว่า ตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรองใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้ เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้าม ความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้ เคยฟังท่านสอนเวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้ แล้วทรงอยู่ใน ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านี้ก็ได้ ทุติยฌาน ท่านพูดของท่านถูกฟังก็ไม่ยาก แต่ ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตกวิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการ ตัดวิตกวิจาร

    ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ

    ตามผลปฏิบัตินั้นวิตกวิจารที่ถูกตัดมิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิด เอาเอง เฉย ๆ ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้คาถาภาวนาเป็น สายเชือกโยงใจเท่านั้นให้ใจมีหลักเกาะไว้ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่จิตคิดถึงคำภาวนานั้นท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนาถูกตามอาจารย์สอนหรือ ไม่ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนาไปอย่างนั้น จนเกิด ปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์ ภาวนาและอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจ เบา อารมณ์จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ใน ระยะนี้เองจิตจะหยุดภาวนาเอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่า ลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภายนอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มี อารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนาก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางราย ก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออกว่าอะไรเป็นต้นเป็น ปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่งจึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนามีอารมณ์ เฉยไม่ภาวนานั่นแหละเป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้นตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌาน ตามเดิม บางรายก็เข้าสู่ภวังค์ คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย

    พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้นก็การ ที่ภาวนาไปจนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือ แต่ความชุ่มชื่นหรรษามีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจ กับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยินเสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่า ฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวลอยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนา ให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้า ถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติมีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌานจิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์ สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่าได้ทุติยฌาน หรือ ทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้ทัน ท่วงทีหรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะ ชื่อว่า ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศล มารบกวนใจหรือจิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อม- ทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบ ประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

    เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

    เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตกวิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน จิตคอยจะเคลื่อน เลื่อนลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนา เป็นวิตกวิจาร จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อนคุมอารมณ์ ทุติยฌานอย่าให้เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนด เวลา

    อานิสงส์ทุติยฌาน

    ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำ การงานก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดี ที่สุด นอกจากนี้ เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่า ทุติยฌานที่เป็นโลกียฌานให้ผลดังนี้
    ก. ทุติยฌานหยาบ ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔
    ข. ทุติยฌานกลาง ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๕
    ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๖

    ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมี กำลังช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมี หวังถึงที่สุดของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธ- พจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะ พอดี การปฏิบัติพอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรง ต่อความเป็นจริง



    ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

    ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌาน ที่ ๓ ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ

    สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข ที่เนื่องด้วยกาย
    เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัด จากกาย ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด

    อาการของฌานที่ ๓ นี้เป็นอาการที่จิตตัดปีติความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้ เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตา ไหลก็ดี กายโยกโคลงก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏ เลยมีอาการทางกายเครียดคล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่น ไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่าตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้า ยังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มา ไม่มีการภาวนาและเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียง มีอยู่ก็เหมือนไม่มีเพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อยอ่อนระรวยลงทุกขณะใน ฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้ายจะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึก น้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่มีอารมณ์แน่นในสมาธิ มากจนรู้ตัวว่า อารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่าเข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว

    เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

    ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์ ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญ ในเสียงก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวัง ด้วยการทรงสติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตราย แก่ฌาน ๓

    อานิสงส์ฌานที่ ๓

    ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่า จะไม่หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตา สดชื่นผ่องใส เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ

    ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
    ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
    ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙

    ฌาน ๓ ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงใน ชาตินี้โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

    จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

    จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือนฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุข ออกเสียเหลือแต่ เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจากฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามา แทนที่

    อาการของฌาน ๔

    ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้

    จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจน ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่า ลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิ- มรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มีลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจน ในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และ ขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติ หลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวายบอกว่าไม่เอาแล้วเพราะเกรงว่าจะตาย เพราะไม่มีลมหายใจบางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อยก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจที่ปรากฏอยู่กับปลาย จมูกนั่นเอง
    อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ ภายนอกจริง ๆ ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มี อารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่าฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกาย เลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัดอันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิ ที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริงร่างกายนี้จำเป็นมาก ในเรื่องหายใจเพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกาย ก็ยังไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการ ทรงอยู่ของร่างกาย ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมี ตามปกติที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการ ของร่างกายเลย


    อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

    เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึง ฌาน ๔ จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่ เพียงอุปจารฌาน แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจากฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็น โพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายในกายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติ- ปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไปในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้น ประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ ต่อไปจะบังคับ กายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่าน จะฝึกวิชชาสาม อภิญญาหกหรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึก ต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการ เคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือน นักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้วจะทำอะไรก็ทำได้เพราะกำลังพอจะมีสะดุด บ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้นพอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วนอภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำได้โดยตรง

    เสี้ยนหนามของฌาน ๔

    เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่า มีลมหายใจปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้วจงอย่าสนใจกับลมหายใจเลยเป็นอันขาด

    อานิสงส์ของฌาน ๔

    ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวัน เวลาจะแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
    ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ ถ้าท่านต้องการ
    ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระ กิเลสให้หมดสิ้นไป อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
    หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตาย ในระหว่างฌานที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑


    วิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ รวม ๔ อย่างด้วยกัน
    อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่ อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือ ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่างเป็นสำคัญ
    อานิสงส์อรูปฌาน
    ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌานที่ได้ แล้วยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้ อรูปฌานนี้แล้วเมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือ มีคุณสมบัติพิเศษเหนือจากที่ทรงอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และคุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ



    ปฏิสัมภิทา ๔

    อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ ท่านอธิบายมาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัด ไม่เสียความ
    ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้ พิสดารเข้าใจชัด
    นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่าง อัศจรรย์
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่าง อัศจรรย์

    ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้ ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญาแล้วท่านมาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌานคือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่าน ที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้วจึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอาโลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันทีในสมัยที่เป็นฌานโลกีย์ ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรงปฏิสัมภิทาไม่ได้ ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะปรากฏ บังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้


    ๑. อากาสานัญจายตนะ
    การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐาน ละเอียดทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกอง นั้นๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็เช่นกันอาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสามสำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมาพอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จมรรคผล ใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอดได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ ฉลาดจริงเข้าท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกัน ส่วนด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษา ในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบ แต่ถึงจะได้ไม่ครบก็ทราบว่าแนว ของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้างพอสมควร
    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะนี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญว่า กสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญ ความสุข ความทุกข์ ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็นต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณ นั้นถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศไว้โดยกำหนดใจว่า อากาศหาที่สุด มิได้ดังนี้จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน
    ๒. วิญญาณัญจายตนะ
    อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนด อากาศจากอรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนด ว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิตที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตามแต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาดกำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือน จิต โดยคิดว่าเราต้องการจิตเท่านั้นรูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการจนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์
    ๓. อากิญจัญญายตนะ
    อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณ แล้วเพิกวิญญาณคือ ไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศ ก็ไม่มีวิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้นการไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุดแล้วก็กำหนดจิตไม่ยึดถืออะไร ทั้งหมดจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์

    ที่มา
    http://www.pantip.com/cafe/religious...Y11751060.html
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-11-2015 เมื่อ 11:12 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ