การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี

กระทู้: การเจริญปฏิบัติใน " มรรค ๑๐ " สำหรับนักธรรมตรี

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    ๙. สัมมาญาณ

    นิพพิทาญาณ วิราคะสัมโพชฌงค์


    เมื่อสัมมาสมาธิเกิดมีขึ้นจดจ่อดีแล้ว มีความสงบใจจากความคิดปรุงแต่งจิต จิตมีสภาพที่สว่างไสวไม่มัวหมองด้วยกิเลส เกิดมหาสติคู่กับจิตที่ตั้งมั่น สภาวะธรรมนี้จะมีตัวแลซึ่งแลดูทุกอย่างอยู่ทุกขณะในปัจจุบันโดยปราศจากความตรึกนึกคิด แลดูและรู้ว่ากำลังดำเนินเรื่องราวเกิดขึ้นแปรรวนสภาวะธรรมไปเป็นยังไง มีความแนบอารมณ์นั้นอยู่โดยไม่ตรึกนึกคิดไรๆทั้งสิ้น เมื่อเกิดมีสภาวะนี้ๆ
    (ทางหลวงพ่อปราโมทย์ในตามหลวงปู่ดุลย์สอนท่านเรียนว่า ตามรู้ คือมี ผู้รู้แลดูอยู่(มหาสติ) และ ผู้ถูกรู้(ธรรมมารมณ์ทั้งปวง) าทำให้เห็นในไตรลักษณ์ ตามที่เราได้สนทนาธรรมกับท่านอ้น)
    จากนั้นก็จะเริ่มจากการเห็นเป็นลำดับไปตามนี้ว่า

    ๑. ความเกิดมีขึ้นในสังขาร เมื่อเรารู้ มันก็ดับ
    ๒. เมื่อรู้ในลำดับที่ ๑. ดีแล้ว ก็จะเริ่มเห็นความเกิดขึ้น แปรปรวน เป็นไปจนดึงดับในสภาวะธรรมต่างๆตามลำดับขันธ์โดยช้าๆ เมื่อเห็นสภาวะธรรมนี้มากขึ้นจิตทรงอยู่โดยกุศลขันธ์จะเริ่มแยกจากกันให้เห็นเป็นกองในส่วนของใครของมัน รูปส่วนรูป เวทนาส่วนเวทนา สัญญาส่วนสัญญา สังขารส่วนสังขาร วิญญาณเป็นผู้รู้อยู่ส่วนผู้รู้ ไม่เกี่ยวข้องกัน
    ๓. เมื่อเห็นในลำดับที่ ๒. ดีแล้ว เมื่อเห็นขันธ์แยกกันอยู่บ่อยๆจนจิตมีกำลังจับของจริง ก็จะเข้าไปรู้ถึงสภาวะธรรมเหล่าใดเกิดมีขึ้น ขณะนี้เมื่อวิญญาณเข้าไปรู้ผัสสะเกิดมีขึ้น เริ่มแรกเลยขณะนี้จิตมันก็รู้อยู่ว่าผัสสะจากอันไหนที่ใดจากกองรูปธาตุหรือธรรมมารมณ์มันก็รู้ แต่ก็รู้เพียงมีสภาวะธรรมนี้ๆเกิดขึ้น ไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคลใด ไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจเหล่าใดทั้งสิ้น แล้วความรู้นั้นก็ดับไป กายก็ยังเป็นแค่กองรูปธาตุ ๔ แต่อาศัยอุปาทานเอาวิญญาณเข้ายึดครองให้รู้ผัสสะนั้น เมื่อจิตรู้ผ้สสะก็จะเกิดเจตนาและมนสิการน้อมไปรู้ไปหาอารมณ์นั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับ แล้วก็เกิดความหวนระลึกตรึกในความจำได้หมายรู้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับ เมื่อสัญญาเกิดสมมติกิเลสก็เกิดขึ้นทันที เวทนาเกิดขึ้นแล้วก็ดับ วิญญาณเข้าไปยึด ความสำคัญมั่นหมายของใจที่มีต่อสภาวะธรรมเหล่านั้นไว้ แล้วก็เกิดความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวก็สืบต่อกับจิตที่ยึดสมมติโดยสัญญานั้น กิเลสอย่างกลางเกิดขึ้น เกิดเป็นสิ่งที่ชอบและไม่ชอบสืบมา สมมติกิเลสอย่างหยาบก็เกิดขึ้น ทุกข์สัจจ์จึงเกิดมีขึ้น





    - การเห็นในข้อที่ ๑ และ ๒ นี้ เรียกว่ายถาภูญาณทัสสนะ ยถาภูญาณทัสสนะ มี นิพพิทาญาณและวิราคะเป็นผล หากเข้าไปรู้เห็นตามจริงแล้วเกิดนิพพิทาญาณและวิราคะอันเป็นปัญญาแห่งมรรคแล้วตัด ละสังโยชน์ได้ ก็จะถึงความเป็นพระอริยะเจ้าตามแต่สังโยชน์ที่ละได้นั้นเป็นผล ตัดได้มากเท่าไหร่ก็ถึงวิมุตติอันเป็นผลแห่งวิราคะได้มาเท่านั้น
    - แต่หากยังละไม่ได้แสดงว่า จิตเราได้สั่งสมสมมติกิเลสมานานทัยไม่ถ้วนไม่รู้กี่อสงไขย เห็นแค่นั้นมันยังไม่พอจะตัดสังโยชน์ได้ เราก็ยังความเป็นปุถุชนแต่เพียงได้เคยเห็นของจริง ดังนั้นต้องให้จิตมันรู้ของจริงบ่อยๆให้มากที่สุดด้วยทำกำลังใน พละ ๖ คือ ศรัทธา ศีล วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้มากๆ เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้าพอจิตมันก็จะถึงววิราคะที่ตัดสังโยชน์ได้ มีวิมุตติเป็นผล

    แม้ตอนนี้เราเองจะรู้ของจริงได้บ้างแต่ก็ยังปุถุชนอยู่และที่รู้ก็มีทั้งที่จริงและไม่จริง ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เพ่งให้หา ให้แสวงหา ว่านามรูปเป็นอย่างนี้แล้วเพ่งหมายในนามรูปเหล่านั้นอยู่ แต่พระตถาคตเจ้าให้เราดู ให้รู้ ปกติ วาง สละคืน ดังนี้แล้วจะสิ่งใดก็สักแต่มีไว้รู้ เมื่อรู้แล้วก็รู้แค่ว่ามันเป็นปกติอาการของรูปธาตุ นามธาตุ ไม่มีอื่นอีก เมื่อว่ารู้ว่ามันเป็นปกติของธรรม ก็วาง พิจารณาประดุจม้าอาชาไนยว่าเมื่อเจ้านายผูกเขาไว้ใกล้แหล่งอาหาร แต่ม้าอาชาไนยนั้นรู้ว่านี่เป็นต้นข้าวอ่อนก็สักแต่รู้ว่าต้นข้าวอ่อน แล้วพิจารณาว่าเขาผูกไว้ที่นี้เพื่อสิ่งไร จะใช้ทำสิ่งอันใด จะทำสิ่งไรคืนเขา เห็นทุกข์และโทษในความดำเนินไปนั้น ดังนั้นเมื่อรู้แล้วในนามรูปเราก็สักแต่พิจารณาให้รู้และเห็นปกติในนามรูปเท่านั้น รู้ว่าควรรับมือต่อนามรูปนั้นอย่างไร สำรวมอินทรีย์ไว้อย่างไร เมื่อรู้แล้วก็พิจารณารู้ความสืบไปรู้โทษเห็นทุกข์แล้ววางสละคืนสังขาร






    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต




    อเสขสูตร



    [๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อิญชกาวสถาคาร
    ๑- ใน
    นาทิกคาม ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี
    พระภาคได้ตรัสกะท่านพระสันธะว่า ดูกรสันธะ เธอจงเพ่งแบบการเพ่งของม้า
    อาชาไนย อย่าเพ่งแบบการเพ่งของม้ากระจอก ดูกรสันธะ ก็การเพ่งของม้า
    กระจอกย่อมมีอย่างไร ดูกรสันธะ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
    เหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอก
    ที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจัก
    ให้เราทำเหตุอะไรหนอแล เราจักทำอะไรตอบแก่เขา ดังนี้ ม้ากระจอกนั้น
    ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ฉันใด ดูกรสันธะ
    บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคน
    ต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างเปล่าก็ดี มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุมแล้ว ถูกกามราคะ
    ครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็น
    @๑. โดยมากเป็น คิญชกาวสถาราม ฯ
    จริงบุรุษกระจอกนั้น ทำกามราคะนั่นแหละในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ
    ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาท
    ครอบงำแล้ว ... มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว อันถีนมิทธะครอบงำแล้ว ...
    มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำแล้ว ... มีจิตอัน
    วิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัด
    วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง บุรุษกระจอกนั้นทำวิจิกิจฉานั่นแหละ
    ในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ
    บุรุษกระจอกนั้น ย่อมอาศัยปฐวีธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอาโปธาตุเพ่งบ้าง ย่อม
    อาศัยเตโชธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวาโยธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากาสานัญจายตนะ
    เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่งบ้าง
    ย่อมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง ย่อมอาศัย
    โลกหน้าเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้
    แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ เพ่งบ้าง ดูกรสันธะ
    การเพ่งของบุรุษกระจอกย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล ฯ
    ดูกรสันธะ ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร ดูกรสันธะ ธรรมดา
    ม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ
    ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
    เหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
    แล เราจะกระทำอะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
    เหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ดูกรสันธะ ด้วยว่าม้าอาชาไนยที่
    เจริญ ย่อมพิจารณาเห็นการถูกปะฏักแทงว่า เหมือนคนเป็นหนี้ครุ่นคิดถึงหนี้
    เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคนผู้เสื่อมนึกเห็นความเสื่อม
    เหมือนคนมีโทษเล็งเห็นโทษ ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือน
    กันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมไม่มีจิต
    อันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และย่อมรู้ทั่วถึงอุบาย
    เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม
    แล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะ
    กลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว
    และย่อมรู้ทั่วถึงอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่
    อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ย่อมไม่
    อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยวิญญาณัญ-
    *จายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเนวสัญญา-
    *นาสัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ย่อมไม่
    อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่
    แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูกรสันธะ อนึ่ง
    เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง
    แล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
    ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง
    ของท่าน
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระสันธะได้ทูลถามว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ก็บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง ย่อมเพ่งอย่างไร บุรุษอาชาไนย
    นั้น จึงจะไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ... ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์
    ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่
    ว่าย่อมเพ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์
    ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง อย่างไร แต่ที่ไกลเทียวว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
    ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง
    ของท่าน ฯ
    พ. ดูกรสันธะ ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ย่อม
    เป็นของแจ่มแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ความสำคัญในอาโปธาตุว่า
    เป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็น
    เตโชธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโย
    ธาตุเป็นอารมณ์ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น
    อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวิญญาณัญ-
    *จายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญใน
    อากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความ
    สำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
    ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็น
    ของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของ
    แจ่มแจ้ง ความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมที่
    รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้งแก่
    บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ฯ
    ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งอยู่อย่างนี้แล จึงไม่อาศัยปฐวี
    ธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ไม่อาศัยวาโยธาตุเพ่ง
    ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยอากิญ-
    *จัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่
    อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรม
    ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง
    ดูกรสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษ
    อาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
    ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
    ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน ฯ




    จบสูตรที่ ๙




    โดยพระสูตรนี้ที่เรามีปัญญาอันน้อยนิดที่พอจะเข้าใจรู้ในพระสูตรนี้ แบ่งสภาวะเป็น ผู้เริ่มฝึก ผู้ถึงสมาธิ ผู้ถึงยถาภูญาณทัสสนะอันเป็นไปเพื่อพิพพิทาและวิราคะ

    1. ผู้เริ่มฝึก ถ้านัยยะกสิน หรือแม้แต่ผู้ทำสมาธิใหม่ ผู้ไม่รู้ย่อมฝึกโดยเพ่งเอาดินว่าเป็นดินๆหมายเข้าไปในอารมณ์ที่รู้นั้น หรือเพ่งลมหายใจเข้า-ออกด้วยใจกำหนดเพ่งว่าเป็นลมหายใจบ้าง แต่ผู้รู้เมื่อเห็นดินหรือสิ่งไรๆก็สักแต่รู้ว่าดินหรือสิ่งนั้นๆเท่านั้นแต่ไม่เพ่งเอาอารมณ์นั้น รู้ว่าลมหายใจเข้าหรือออกเคลื่อนตัวไปอย่างไร สั่นหรือยาว ลักษณะเป็นอย่างไร รู้ว่าอาการนี่คือลักษณะของโยธาตุเป็นธาตุในกายนี้ ให้คุณอย่างไร เป็นโทษอย่างไร เห็นลมเป็นกายสังขาร รู้ว่าสภาวะธรรม นามรูป อารมณ์เหล่านั้นเมีลักษณะเป็นอย่างนั้นๆ ไม่ยึดเอาสิ่งที่รู้ และ รู้ว่าเมื่อสภาวะธรรม นามรูป อารมณ์เหล่านั้นเกิดมีขึ้นให้จิตรู้ เราควรจะสำคัญมันเป็นไฉน สำรวมระวังอย่างไรต่อมัน เพื่อถึงความสละคืน

    2. ผู้ถึงสมาธิ นัยยะสมาธิผลของสมาธิคือฌาณในความหมายหนึ่งคือเพ่ง เพราะมีอารมณ์จดจ่ออยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งอย่างแน่วแน่โดยส่วนเดียวด้วยกำลังสมาธิและสติมีสัมปะชัญญะรู้ตัวอยู่ เมื่อเข้ารู้ในสภาวะธรรมไรๆ นามรูปไรๆ ผู้ไม่รู้ย่อมเพ่งเอาว่าเราถึงสภาวะธรรมนี้ แล้วเพ่งเอาสภาวะธรรมหรือนามรูปที่รู้นั้นอยู่ว่านี่คืออะไร แต่ผู้รู้เมื่อรู้สภาวะธรรมทั้งปวงย่อมเห็นว่า มันคือสิ่งใด ลักษณะอย่างไร อาการเป็นไฉนเท่านั้น อันมีอยู่โดยธรรมชาติทั่วไปใน ขันธ์๕ บ้าง ธาตุ๖ บ้าง สักแต่เป็นเพียงธรรมธาตุอันมีคุณลักษณะอย่างนี้ๆเท่านั้นไม่มีตัวตนบุคคลใด แล้วก็ไม่ยึด ไม่เพ่งอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น พร้อมแลอยู่โดยธัมมะวิจยะสงเคราะห์ลงในธรรมตามจริง แลดูว่าก็สภาวะธรรมเหล่ามีอยู่อย่างนี้ เป็นเพียงแค่นี้เท่านั้น อันมีคุณลักษณะเอกลักษณ์อย่างนี้ๆแค่นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรเสพย์ควรยึดติดอยู่ ก็มีไว้สักแต่รู้เท่านั้นแล้วพิจารณาน้อมว่าเมื่ออาการอย่างนี้เกิดขึ้น เราจะสำรวมระวังมันไว้อย่างไร เพื่อถึงความไม่ยึดมั่น ถึงความสละคืนสังขาร

    3. ผู้ได้รู้เห็นตามจริงอันเกิดแต่มหาสติและสมาธินั้นแล้ว ย่อมเห็นโดยปัญญาว่า สภาวะธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เรารับรู้อยู่นี้ก็สักแต่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งๆเกิดมีขึ้นให้รู้เท่านั้น ไม่พอใจอยู่ด้วยความถึงสภาวะธรรมที่รู้เห็นเพียงเท่านั้น แต่รู้ว่านี่ยังไม่ใช่ทางหลุดพ้น ไม่ใช่ของจริง เมื่อรู้ว่าตนนี้ยังไม่ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ย่อมไม่ยึดไม่จับไม่อุปาทานยินดีจำเพาะเอาในอารมณ์นั้น ให้อารมณ์นั้นๆก็สักแต่ว่าเป็นอย่างนั้น ก็สักแต่ว่าสิ่งหนึ่งอาการของจิตหนึ่งๆตามปกติที่มีอยู่นับล้านแบบให้เกิดมีขึ้นอยู่เท่านั้น แล้วก็วาง พร้อมทำไว้ในใจหมายที่จะเข้าถึงยิ่งๆขึ้นไปอีก เพื่อให้ถึงวิราคะ วิมุตติ ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์โดยชอบ



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 07-01-2015 เมื่อ 06:25 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. Admax said:
    ๑๐. สัมมาวิมุตติ

    นิโรธ




    สัมมาวิมุตติ

    นิโรธ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-29-2015 เมื่อ 09:50 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  3. Admax said:
    สัมมาวิมุตติ

    นิโรธ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-27-2015 เมื่อ 11:33 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. Admax said:
    สัมมาวิมุตติ

    นิโรธ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ