บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

กระทู้: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:


    มนสิการสูตร(ความทำไว้ในใจ)


    [๒๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้หรือหนอแล การ
    ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ
    ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ
    ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่
    พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้
    ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
    กระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
    วิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
    โลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงทำ
    ไว้ในใจ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ... ไม่พึง
    กระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่
    แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
    ประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
    อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ
    ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ
    คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกร
    อานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุ
    ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียง
    ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
    ลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
    โผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้
    ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
    กระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่
    พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ
    ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น
    เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
    ตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ ฯ



    จบสูตรที่ ๘


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๗๗๔ - ๗๘๑๑. หน้าที่ ๓๓๘ - ๓๔๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7774&Z=7811&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=215
    ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
    [215] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=215&Roman=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24






    จากสัญญาสูตร และ มนสิการสูตร ทั้งสองพระสูตรนี้ทำให้เรารู้ว่า ที่เราเจริญปฏิบัติมาโดยความเข้าถึงและเห็นจริงตามที่หลวงพ่อเสถียรสอน เป็นความเข้าถึงสภาวะธรรมอันนี้ เข้าถึงอุปสมานุสสติอันพระอรหันต์ท่านเจริญ ความไม่ยึดเอาขันธ์ ๕ ไม่ยึดเอาวิญญาณธาตุ ไม่ยึดเอาจิตเพราะมันรู้แต่สมมติกิเลส ไม่ยึดเอาสิ่งที่จิตรู้โดยสมมติ เพราะมันเป็นเหยื่อล่อของกิเลส
    - ไม่ยึดเอากายโดยทำไว้ในใจอันเป็นปฏิฆะต่อกายบ้าง เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเพียงอาการทั้ง 32 เป็นที่ประชุมโรค เป็นเพียงธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เป็นเพียงสิ่งเน่าเฟะเน่าเปื่อย ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นานดั่งปัญญาจากอสุภะกรรมฐานนั้นว่า ที่มีอีดเน่าเปื่อย ย่อยสลายไป ไม่คงอยู่ได้นาน
    - ไม่ยึดเอาธรรมมารมณ์ทั้งปวงโดยทำไว้ในใจอันเป็นปฏิฆะต่อธรรมมารมณ์บ้าง เช่น เห็นว่าความสุข ทุกข์ เฉยๆ ความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งทั้งปวง ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราว อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ทั้งปวง สิ่งเหล่านี้ที่จิตรู้ล้วนเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นหลอกจิตทั้งสิ้น อาศัยสฬายตนะเป็นเหยื่อล่อให้รู้ผัสสะแล้วจิตเข้าไปยึดเอาสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกล่อ ทำให้จิตไม่เคยรู้ของจริงเลย จะเวทนา สัญญา สังขารเหล่าใดที่ วิญญาณรู้ ล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ผัสสะอันเป็นปัจจุบันมันดับไปตั้งนานแล้ว แต่จิตนั้นแหละเข้าไปยึดเอาสัญญาเวทนาจึงเกิดขึ้นค้างอยู่ เพราะจิตมันรู้แต่สมมติจากสัญญาทั้งปวง ไม่เคยรับรู้ของจริงเลย ของจริงมันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น ไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตนบุคคลใด สิ่งใด อารมณ์ใด อาการใด จิตมันเป็นธาตุรู้ มันรู้หมดทุกอย่าง แต่มันรู้แค่สมมติที่กิเลสสร้างขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดแม้กระทั้งวิญญาณหรือจิต




    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. Admax said:

    กรรมฐานวันที่ 25/6/58 ปัญญาอันเกิดจาก รูปกรรมฐาน

    ๑. ทวัตตสิงสาปาฐะ อาการทั้ง ๓๒ ขั้นแรกคือเห็นกายนี้เป็นเพียงอาการทั้ง ๓๒ นี่กอปรประชุมกันอยู่ ขั้นปัญญาคือ ม้างกายออกจน เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เห็นเป็นอนัตตา เช่น ผมที่หลุดร่วงออกมา ผมนี้หรือที่เป็นเรา ถ้าเป็นเราแล้วมันหลุดออกมาแล้วทำไมเรายังไม่ตาย เราหรือที่เป็นผมเหล่านั้น ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อหลุดออกมาก็เป็นเพียงอาการที่อ่อนแข็ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราในผม ในผมไม่มีเรา เราไม่เป็นผล ผมไม่เป็นเรา สักเป็นแต่ธาตุดินไม่มีตัวตนบุคคลใดสิ่งใดๆ ไม่มีเราในนั้น เราไม่ใช่นั้น นั่นไม่ใช่เรา

    ธาตุวิภังคสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=8748&Z=9019



    ๒. อาทีนวสัญญา เริ่มแรกคือเป็นกายเป็นที่ประชุมของโรค ขั้นปัญญาคือเห็นความแปรปรวนของธาตุ เห็นกายนี้มีความเสื่อมแปรปรวนไปของโรค ไม่คงสภาพเดิมได้ บังคับไม่ได้



    ๓. อสุภะกรรมฐาน เริ่มแรกคือเห็นความไม่งามของกายจนหน่ายในราคะเมถุน ขั้นปัญญาคือเห็นความไม่เที่ยง จากร่างกายคนธรรมดาที่ว่างดงามเมื่อเวลาผันไปก็แแก่ เจ็บไข้ ตาย สุดท้ายก็เน่าเปื่อย ย่อยสลายไป กายนี้ก็ไม่คงความงามอยู่ได้นาน ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน สุดท้ายก็ต้องตายเปื่อยเน่าสลายไป บังคับให้คงสภาพให้งดงามอยู่ก็ไม่ได้ จนเห็นความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ยินดีในรูปขันธ์นี้อีก

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นโดยปัญญาจากกรรมฐานทั้ง 3 ประการนี้เป็นต้น
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  3. Admax said:
    มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า (พระอาจารย์สนทยา ธัมมวังโส)

    พระพุทธเจ้า ผู้เป็นครูของเหล่าเทวดา และมนุษย์ ทรงชนะมาด้วย ผลแห่งทาน ทานบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นบารมี สำคัญ ทุกภพทุกชาต ของความเป็นมนุษย์ และ เทวดา บารมีที่ปรากฏแล้ว ทุกชาติ ย่อมปรากฏ ทานบารมี เป็นหลัก อันว่าผลแห่งทาน คือ ปีติ และ สุข นั่นเอง...

    อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16
    (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี — mental defilements)
    1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภ กล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร — greed and covetousness; covetousness and unrighteous greed)
    2. พยาบาท (คิดร้ายเขา — malevolence; illwill)
    3. โกธะ (ความโกรธ — anger)
    4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ — grudge; spite)
    5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น — detraction; depreciation; denigration)
    6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน — domineering; rivalry; envious rivalry)
    7. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)
    8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — stinginess; meanness)
    9. มายา (มารยา — deceit)
    10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด — hypocrisy)
    11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง — obstinacy; rigidity)
    12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน — presumption; competing contention; contentiousness; contentious rivalry; vying; strife)
    13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน — conceit)
    14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา — excessive conceit; contempt)
    15. มทะ (ความมัวเมา — vanity)
    16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ — heedlessness; negligence; indolence)
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

    อุปสรรค การภาวนา ถ้ามีตัวใด อยู่ อุปสรรค ที่ภาวนาไม่ได้ก็สูง นี่แหละคือตัวปัญหา จริง ๆ ที่ผู้ภาวนา ๆ เท่าใด ก็ไม่สำเร็จสักที
    ดังนั้น วันนี้นำ ทั้ง 16 ตัว มาให้ท่านทั้งหลาย เช็คตัวเอง ก่อนตั้งคำถามกับมาที่ฉัน ว่า ตัวเอง มีอะไรอยู่ ใน 16 ตัว บางทีอาจจะไม่ต้องถามฉันก็ได้ ว่า เพราะอะไร จึงภาวนาไม่สำเร็จ

    ก่อนอื่น ต้องยก คำก่อนว่า บารมี หมายความว่าอะไร ?

    คำว่า บารมี มาจากคำบาลีว่า ปารมี
    แปลเอาใจความว่า คุณสมบัติที่เต็ม หรือ ความเต็มรอบ ความไม่ขาด ความสมบูรณ์ด้วยคุณ

    บารมี ในพระพุทธศาสนา มี 10 ประการ
    ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ ถือบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา

    บารมี มี 3 ระดับ
    สามัญญบารมี คือ เติมอย่างทั่วไป เป้าหมาย คือ ทำอย่างธรรมดา
    อุปบารมี คือ เติมด้วยอย่างพิเศษ เป้าหมาย คือ ทำอย่างพิเศษ
    ปรมัตถบารมี คือ เติมด้วยอย่างที่สุด เป้าหมาย คือ ทำอย่างเหนือโลก

    ยกตัวอย่าง
    การให้ทาน
    ทานบารมี ( ปกติไม่เติมคำว่า สามัญ ) ก็ให้ทาน อย่างทั่วไป เช่นการให้ทรัพย์ สิ่งของ วัตถุ ปัจจัย 4 เงิน ทอง ของตน ให้แก่ทั้งผู้ตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนที่มีอยู่ มีความสุขแล้วก็ตาม อย่างนี้เรียกว่า ให้อย่างทั่วไป คือ ใครเขาก็ให้กันได้ ไม่ลำบากในการให้ เช่นพบขอทาน ก็ให้ไป 1 2 3 4 5 10 50 100 1000 เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าให้โดยไม่ลำบาก ไม่เกินวิสัยของคนที่จะให้

    อุปบารมี ก็ให้ทานเช่นกัน แต่ในที่นี้ หมายมั่นเป็นการให้ อวัยวะ ของตนเพื่อผู้อื่น เช่น สละดวงตา แขน ขา เพื่อรักษาชีวิต ของบุคคลอื่น ๆ ( ไม่ใช่ของตน )นี่เรียกว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะให้ใคร ง่าย ๆ เช่น สละไต 1 ข้าง ให้กับญาต สนิท สหาย สละดวงตา ให้กับผู้ที่เป็นที่รัก หรือ ไม่เป็นที่รัก อย่างนี้เป็นต้น

    ปรมัตถบารมี ก็ให้ทานเช่นกัน แต่ในที่นี้ กล่าวว่า ให้ทานโดย ทิ้งชีวิต คือ สละชีวิตของตน เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าผู้ที่สละชีวิตให้ จะดี หรือ ชั่วก็ตาม ไม่มีเหตุผลใด ๆ แต่ต้องการ สละชีวิต ตนเอง เพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น ในขณะนั้น ต้องกล่าวว่าเพียงรักษา เพราะจะสละ หรือ ไม่สละ บั้นปลายของทุกคนก็คือความตาย ดังนั้นในที่นี้ หมายถึงการสละชีวิตของตนเป็น เพื่อรักษาชีวิตของผู้อื่น ในขณะนั้น
    สำหรับปรมัตถบารมีนั้น ไม่ใช่เรื่อง ทำได้ง่าย ๆ เพราะการสละชีวิตของตนเอง นับว่า ต้องใช้คุณธรรมสูง จึงจะสละชีวิตได้

    ที่นี้ เรื่องของ บารมี นั้น ต้องเป็นการทำเพื่อพระนิพพาน เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น สามัญญะ อุปบารมี หรือ ปรมัตถบารมี ก็ต้องทำเพื่อเป้าหมายในการทำ พระนิพพานให้แจ้ง ดังนั้น การสร้างบารมี จึงมีสองแนวทาง คือ

    การสร้างบารมี เพื่อ เป็น อนุพุทธสาวก คือ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
    การสร้างบารมี เพื่อ เป็น พระพุทธเจ้า แบบใดแบบหนึ่ง ตั้งแต่ พระปัจเจกพุทธเจ้า จนถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเอง

    การสร้างบารมี เป็น ข่ม อุปกิเลส ในตัว

    อุปกิเลส มี 16 ตัว โดยย่อในทางกรรมฐาน
    อุปกิเลส บางตัวไม่สามารถขนะ เขาได้ โดยการทำแบบธรรมดา ที่เรียกว่า สามัญ
    อุปกิเลส บางตัวไม่สามารถชน เขาได้ โดยการทำแบบธรรมดา และ แบบพิเศษ
    อุปกิเลส บางตัวจะสามารถสยบ ลงได้ โดยการทำแบบปรมัตถ์ เท่านั้น

    ดังนั้นผู้ภาวนาต้องศึกษา และ เข้าใจ ในอุปกิเลส ทั้ง 16 ตัวว่า ยามใด ควรใช้ บารมี แบบไหน เป็นต้น ยกตัวอย่าง
    มานะ อติมานะ อุปกิเลสสองตัวนี้ไม่สามารถดับได้ แม้กระทั่งจิตเป็นฌาน แต่จะสามารถดับได้ โดยการเป็น พระอรหันต์ เท่านั้น ดังนั้น อุปกิเลสตัวนี้ สามัญ และ อุปบารมี ใช้ไม่ได้ ต้องเป็น ระดับ ปรมัตถ์ เท่านั้น ด้วยการ ตั้ง บารมีทั้ง 10 เพื่อพระนิพพาน

    มทะ ปมาทะ อุปกิเลสสองตัวนี้ สามารถดับได้ชั่วคราว โดย สามัญญะบารมี ด้วยการ อธิษฐาน และ ตั้งสัจจะ เป็นต้น

    อภิชฌาวิสมโลโภ พยาปาทะ อุปนาหะ เป็นต้นนี้ สามารถระงับได้ได้ชั่วคราว ใน ฌานจิตวิถี ด้วย อุปบารมี เป็นต้น ฌานจิต จัดเป็น อุปบารมี เพราะคนทั่วไปทำไม่ได้ ต้องมีคุณสมบัติทางจิตเป็นพิเศษขึ้นมา จึงจักทำได้ บารมี โดยตรง ก็คือ วิริยะ และ ปัญญา เป็นต้น

    จะเห็นได้ว่า ชนะมาร ต้อง ชนะ ด้วย บารมี การสร้างบารมี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะ บารมี ต้องใช้เวลาไม่ใช่ จะเติมเต็มได้ทันที พระพุทธเจ้า ใช้เวลา 500000 อสงไขยชาติ จึงเต็ม ดังนั้นพวกเรา ที่ยังมีชีวิตตอนนี้ อาจจะเกิน 500000 อสงไขยแล้ว ก็ได้ แต่ที่แน่นอน ถ้าหัวใจของท่าน จิตของท่าน วิญญาณของท่าน ยังมีการสร้างบารมีมาอยู่ ก็จะมีคุณสมบัติ ในใจ คือ ความหน่าย ต่อ สังสารวัฏฏ์ อยู่เป็นปกติ นี่เรียกว่า พระโยคาวจร เวลาภาวนาธรรม ถ้าจิตของ พระโยคาวจร ตื่นขึ้นมา การดำเนินตามวิถีธรรม ก็จักเป็นไปโดยธรรมชาติแห่ง ผู้บำเพ็ญบารมี ดังนั้น เป้าหมายธรรมเบื้องต้น ก็คือ การตื่น

    การตื่น จะมีได้ ก็ต้องตั้งมั่น ใน ศีล สมาธิ และ ปํญญา

    การตื่น มี สามอย่าง ที่เรียกว่า ตื่น
    ตื่น ด้วย ศีล
    ตื่น ด้วย สมาธิ
    ตื่น ด้วย ปัญญา

    ตื่น ด้วย ศีล คือ อย่างไร ?
    เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้ตั้งมั่น และมั่นคง ในศีล 5 ถึงแม้ไม่หมดจด แต่ก็คิดทำลายศีล การตื่น หมายถึง ธรรมสองอย่าง นั่นก็คือ หิริ และ โอตตัปปะ นั่นเอง

    ตื่น ด้วย สมาธิ คือ อย่างไร ?
    เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้น้อมจิตเข้าไปด้วยความแน่วแน่ แห่งสมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระฌาน จนถึงอัปปนาฌาน ญาณที่เคยสั่งสมย่อมเกิดขึ้นตามวาสนาที่ได้สั่งสมมา เช่น ระลึกชาติได้ เป็นต้น การตื่นในสมาธิ หมายถึง ธรรมสองอย่าง คือ สติ สัมปชัญญะ นั่นเอง

    ตื่น ด้วย ปัญญา คือ อย่างไร ?
    เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้น้อมจิตเข้าไปพิจารณา ธรรม คือ ความทุกข์ เหตุแห่งความทุกข์ การก้าวล่วงความทุกข์ และหนทางแห่งการก้าวล่วงแห่งความทุกข์ การพิจารณาธรรม สำหรับ อนุพุทธะ ก็คือ อริยะสัจจะ 4 ประการ สำหรับ พระโพธิสัตว์ ที่จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป จะพิจารณา ทุกข์ และ สาเหตุแห่งทุกข์เท่านั้น ส่วนการการก้าวล่วง และ หนทางแห่งการก้าวล่วง ไม่สามารถเห็นได้ เพราะต้องไปตรัสรู้เอาเอง ในฐานะ พระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญธรรมเพื่อเป็น พระพุทธเจ้า จะมีเพียง อนุพุทธะเท่านั้น ที่สามารถน้อมธรรม คือ อริยะสัจจะทั้ง 4 ( ในพระพุทธเจ้าพระองค์ นี้ ) เพราะว่าธรรมที่สำคัญในการพิจารณา ด้วยปัญญาต่างกัน ด้วยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    ดังนั้นการตื่น ด้วย ปัญญา ของพระอนุพุทธะ ก็คือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง

    เจริญธรรม / เจริญพร

    อุปสรรค ใหญ่ ของการสร้าง บารมี ก็คือ เวลา
    และ เวลา แต่ละคน นั้น เพื่อทำ บารมี ให้เต็ม ไม่เท่ากัน
    บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลามาก
    บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลาอย่างยาวนาน
    บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลาอย่างยาวนานมาก ๆ

    ดังนั้น การก้าวล่วงเวลา เป็นสิ่งที่พระโยคาวจร ที่ฉลาด มักจะใช้กันในการเข้าถึงธรรม
    การก้าวล่วงเวลา ( เหนือกาลเวลา ) มีได้ในสภาวะเดียวก คือ สภาวะ อัปปนาจิต

    ดังนั้น ตั้งแต่อดีต แม้พระพุทธเจ้าเอง พระองค์ ก็จะอาศัยสมาธิ เป็นหลักในการเข้าถึงธรรม แม้เสวยวิมุตติ ก็อาศัยสมาธิ แม้ขณะแห่งการตรัสรู้ ก็อาศัย สมาธิ

    ดังนั้น ความสำคัญ ของ การบรรลุธรรม จริง ๆ อยู่ที่ การบำเพ็ญ สมาธิ
    ดังนั้นเวลาเราไปปฏิบัติธรรม การใช้ปัญญา การรักษาศีลนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องหนัก สำหรับผู้ภาวนา แต่ การใช้สมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ ถึง อัปปนาสมาธิ เป็นเรื่องที่ผู้ภาวนาฝ่าด่านนี้ได้ยาก จากอดีต ถึงปัจจุบัน ก็ไม่เปลี่ยนแปลง

    ดังนั้น รูปแบบของการทำสมาธิ จึงมีแตกแขนงออกไปตามครูอาจารย์ กันมาก ในที่นี้จะไม่ขอกล่าว จะกล่าวเฉพาะที่พระพุทธเจ้า ทรงรับรองว่า เป็นการทำสมาธิ อย่างเลิศ นั่นก็คือ

    1.กายคตาสติ เป็นกรรมฐานแรก ที่ถูกส่งมอบให้แก่ ผู้บรรพชา ตั้งแต่เป็นสามเณร บทแรกก็คือ ตจปัญจกกรรมฐาน ว่า ด้วย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มีพระอรหันต์ อายน้อย ๆ ที่สำเร็จกรรมฐาน ส่วนนี้มากมาย เช่น สามเณรสังกิจจะ สามเณรทัพพะมัลละบุตร เป็นต้น

    2.พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานองค์ที่ 2 ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นธรรมอันเอก อันให้ถึงพระนิพพาน การเข้าถึง พระพุทธานุสสติ นั้นจัดว่าเป็นกรรมฐาน สำคัญ ประเทศไทย เรายุคนี้ ตามวัดต่าง ก็ใช้กรรมฐานนี้เป็นหลัก และดูเหมือนจะเป็นกรรมฐาน ที่ พื้นฐานอย่างมาก

    3.อานาปานสติ เป็นกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้อย่างเสมอ ๆ ว่าที่สุด แม้พระองค์เองก็ทรงอยู่ ดำรงค์อยู่ ด้วย อานาปานสติ แม้ดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ด้วยอานาปานสติ นั่นเอง

    4.โพชฌงค์ 7 อันสหรคต ด้วย กรรมฐานกองอื่น ๆ อันนี้อาจจะไปนิดสำหรับ พระโยคาวจร แต่จะไม่ยากเลย ถ้าเป็นพระโสดาบัน ไปแล้ว เพราะโพชฌงค์ อาศัย ผลสมาบัติ ในการเจริญภาวนา

    5.มหาสติปัฏฐาน 4 กรรมฐานส่วนนี้ เกื้อกูลสำหรับ ปัญญาวิมุตติ เป็นหลัก เป็นกรรมฐานที่ไม่ลำบากในการเจริญ แบบปัญญาวิมุตติ ถึงแม้ บรรพะต่าง ๆ นั้นจะมีหลายหมวด แต่ส่วนใหญ่ ผู้ภาวนาจะหนักข้างทาง วิปัสสนา คือ ไปสายปัญญาวิมุตติ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นแต่ มหาสติปัฏฐาน 4 เองนั้น เป็นธรรรม ที่เกื้อกูลทั้งสองสาย คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
    ( แต่ปัจจุบัน จากที่ไปสังเกตการณ์ หลายสำนักแม้ สำนักใหญสายนี้ หนักข้างปัญญาวิมุตติ ยังไม่มีใครให้คำตอบ ทาง ด้าน ฌาน อัปปนาจิต หรือ วิธีการเข้า วิปัสสนา ผ่านอัปปนาจิต ให้ กับอาจารย์ได้ถูกต้องสักรูป ส่วนใหญ่จะแคลนออกไปว่า สู้สติ ไม่ได้ ประมาณนี้ นั่นก็หมายความว่า พัฒนา สติ เป็น สมาธิ พื้นฐาน แล้วกระทำการพิจารณาธรรม ตาม หมวดธรรม ตามหมวด ตามหมวดเวทนา แต่ แต่คนที่สอนก็ไม่สามารถเข้า ฌานจิตได้ ทดสอบมาหลายรูปแล้ว ส่วนใหญ่ เป็นนักคิด นักพูด เท่านั้น ข้อเสีย ในปัจจุบัน ที่ไปฟังและ คลุกคลีในสายนี้มา เป็น ปัญญาปรมัตถ์เทียม สละกิเลสได้ชั่วคราว ไม่สามารถสละได้ถาวร ส่วนตัวจึงไม่แนะนำในสายนี้ กับลูกศิษย์ เพราะถ้าไม่เอาดี ทางสมาธิ ซึ่งเป็นองค์สำคัญ ในระดับอุปจาระสมาธิ แล้ว ก็ยังผิดพลาดได้ ถึงแม้บางทีแสดงความเห็นว่า ขณิกะสมาธิ ก็สามารถหยั่งวิปัสสนา ได้ แต่นั่นหมายถึง อุคติตัญญ และ วิปจิตัญญู บุคคล นะ ที่จะสำเร็จธรรมได้ในขณะนั้น โอกาสมีน้อยมาก ที่จะได้บุคคลเหล่านี้ในปัจจุบัน )

    เจริญพร

    ขอขอบพระคุณที่มาจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18155.0
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. Admax said:




    บันทึกกรรมฐานวันที่ 17/8/58 เวลา 10.00 น. โดยประมาณ

    วันนี้จะเดินทางกลับจากบ้านมากรุงเทพฯ ได้ทำสมาธิและปลงจากปัญญาครอบครัวที่มีอยู่มากจนไม่รู้จะแบกรับอย่างไร ใจนคึงก็โมโหโกรธเคืองผู้อื่น ใจนึงก็เจ็บใจตนเอง ใจนึงก็เศร้าโศกร่ำไรรำพันเสียใจ ใจนึงถึงหวังปารถนาอยากให้เป็นดั่งใจระคนกันทั่วจนสมองจะระเบิด จึงได้ตั้งทำไว้ในใจถึงความสงบ สันติ ความดับ ความสละคืนกิเลส ความไม่ยึดสมมติ ไม่เสพย์สมมติกิเลส เมื่อจิตสงบแล้ว พึงเห็นว่าเพราะมีความกำหนัดยินดี ใคร่ยินดี กระสันที่จะอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้คนนั้นคนนี้เป็นไปอย่างที่เราปารถนาพอใจ เมื่อไม่เป็นไปตามหวังก็เป็นทุกข์ แม้แค่เพียงเมื่อจิตแค่เริ่มเสพย์จิตยึดมั่นตั้งในความอยาก ยังไม่สืบต่อ ยังไม่รู้ผลว่าจะสมหวังหรือผิดหวังก็เป็นทุกข์แล้ว มองย้อนไปว่าที่เรามีความโกรธนี้ต่อครอบครัวเพราะเราเป็นคนใจแคบ ไม่มองความผิดตนที่มีต่อผู้อื่น ตั้งความปารถนาอยากให้คนอื่นเป้นอย่างนั้นอย่างนี้ ขนาดแม้แต่ตนยังบังคับไม่ได้ แล้วกับคนที่เราไม่ได้ตั้งความหวังปารถนาไรๆไว้เขาจะเป้นอย่างเราแต่เรากลับไม่ทุกข์และยังให้คำแนะนำดีๆด้วยซ้ำ แล้วเราทำถูกกับคนที่เรารักและรักเราอแล้วหรือที่ตั้งความไม่พอใจยินดีต่อเขาอย่างนี้ เมื่อทบทวนดีแล้วก็รู้ว่าเมตตาเรายังไม่พอ ทำให้หวนระลึกถึงตอนที่นั่งสมาธิแล้วเห็นพระพุทธเจ้าเป็นแก้วเสรด็จมาเป็นอันมากมาพาให้เมตตา จึงรู้ว่าชาตินี้เราคงมีเมตตาน้อยจึงเกิดเรื่องเครียดและปัญหาครอบครัวเยอะ เราจักทำเมตตาให้ถึงเจโตวิมุตติ ในปุถุชนก็คือเมตตาไปโดยไม่มีกิเลสในขณะนั้นจนเป้นนิสัยนั้นเอง เมื่อทำสมาธิต่อก็เจออุบายดังนี้ว่า

    อุบายทรงอารมณ์ในพรหมวิหาร ๔ จนถึงการแผ่ความไม่เบียนเบียนและทาน ไปแบบพรหมวิหาร ๔

    ๑. เมตตา คือ มโนกรรม จิตที่ปารถนาดี เอ็นดู ปรานี ต่อผู้อื่นเสมอตน เห็นเป็นประดุจบุพการี พ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง ลูกหลาน บุคคลอันเป็นทึ่รัก มิตรที่ดีต่อกันไม่ขุ่นเคืองใจกัน น้อมไปในการสละให้ / ความมีใจ หรือ ทำใจไว้ ตั้งจิตในความเอ็นดูปรานี น้อมใจวาจากายไปในความสงบสุขยินดีต่อเขา คิดดี พูดดี ทำดีต่อเขาด้วยปารถนาให้เขาได้รับสุข ไม่คิดพูดทำในสิ่งใดอันเป็นไปในความเบียดเบียนทำร้ายให้เขาเดือดร้อน หวาดกลัว มีโทษ ผูกโทษต่อเขา / ไม่เพ่งโทษ ไม่ถือโทษ ไม่ผูกโกรธ ไม่ผูกกลัว ไม่ผูกพยาบาทต่อเขา ด้วยความรักใคร่ที่ไม่เป็นไปด้วยความหลง ความกำหนัด ผูกใฝ่ใคร่ปารถนาทั้งปวงต่อเขา แต่อยู่โดยความเว้นโทษไม่ผูกโทษใจน้อมเอื้อเฟื้อสิ่งดีๆให้เขาด้วยกาย วาจา ใจ หวังให้เขาเป็นสุข ไม่เร่าร้อน ไม่หวาดกลัว ไม่ระแวง ไม่รู้สึกผิด ไม่อยากแสวงหาให้ร้อนรุ่ม
    - อุบายว่า หากเราไม่รู้จักปารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่รู้จักอภัยต่อผู้อื่น แล้วจะมีใครไหนเลยจะหวังดีกับเราไม่มาคิดร้ายเบียดเบียนเรา
    - มีจิตปารถนาดีต่อสรรพสิ่งทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ เสมอตน เสมอกัน ประดุจคนในครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก ญาติ มิตร ทั้งที่ยังกายอยู่ เห็นเป็นขันธ์ ๕ เสมอกันบ้าง ,อาการทั้ง ๓๒ เสมอกันบ้าง ,ธาตุ ๖ เสมอกันบ้าง
    - อีกประการหนึ่ง คือ ทำไว้ในใจ..จับเอาความปารถนาดี ที่มีต่อสิ่งทั้งปวง ประดุจดั่งตน สิ่งตนรัก ตนชอบ ยินดีในกุศลประโยชน์สุขสมหวังอย่างไร ประดุจดั่งคนในครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก ญาติ มิตรที่ปารถนาดีต่อกัน ไปทั่วทุกอนูทั่วเอกภพไม่ว่าสิ่งนั้นๆจะประกอบหรือตั้งอยู่ด้วย เฉพาะธาตุดินก็ดี เฉพาะธาตุน้ำก็ดี เฉพาะธาตุลมก็ดี เฉพาะธาตุไฟก็ดี เฉพาะอากาศธาตุก็ดี เฉพาะวิญญาณธาตุก็ดี หรือ ธาตุทั้ง ๖ นี้สงเคราะห์รวมกันก็ดี

    ๒. ทำไว้ในใจถึงความไม่เบียดเบียน ความไม่มีเวร ความไม่ผูกโกรธ ความไม่มีพยาบาท ความไม่ผูกใจเจ็บแค้นหมายให้เขาถึงความฉิบหาย ความไม่เป็นเวรภัยซึ่งกันและกันด้วยความมีจิตปารถนาดีซึ่งกันและกัน แผ่ไปทั่วไม่มีสิ้นสุด ไม่มีประมาณ ไปทั่วทุกอนูเอกภพ

    ๓. กรุณา ความสงสาร คือ มโนกรรม มีจิตสงเคราะห์ น้อมที่จะกระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเขา ให้เขาได้มีโอกาสที่ดีในชีวิตหรือได้รับสิ่งที่ดีงามที่เอื้อประโยชน์สุขแก่เขา
    - อุบายว่า หากเราไม่มีจิตช่วยเหลืออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น อยู่โดยความเห็นแก่ตัว แล้วจะมีใครที่ไหนเขาจะอยากมาช่วยเหลือสงเคราะห์แบ่งปันเรา
    - มีความสงสารเสมอกันทั่วทุกสรรพสิ่ง มีจิตแผ่ไปประดุจเหมือนอากาศธาตุอันเป็นที่ว่างที่แทรกอยู่ในทุกๆอนูธาตุนั้นเป็นอารมณ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะหรือจับยึดอยู่ที่ในกาย หรือ ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะที่ในขันธ์ ๕ หรือ ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะที่ในอาการทั้ง ๓๒ ประการ หรือ ไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะที่ในธาตุ ๖ แต่แผ่ไปทั่วประดุจดั่งอากาศอันเป็นที่ว่างไม่มีที่สิ้นสุดไปทั่วทุกเอกภพนั้น
    - อีกประการหนึ่ง คือ ทำไว้ในใจ..ว่าความสงเคราะห์เอื้อเฟื้อมีจักมีแก่สิ่งทั้งปวง ความตั้งกายอยู่ย่อมถึงความสงเคราะห์มีน้อย กายเรานี้ยังคงเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมสูญ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ไว้อยู่ เราจักละกายนี้อันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เป็นที่ประชุมโรคนี้ไปเสีย จักไม่ยังกายนี้อีก จักทำตัวประดุจเหมือนอากาศอันเป็นที่ว่างอันไม่มีประมาณประดุจดั่งเอกภพที่ว่างกว้างไปไม่มีที่สิ้นสุด ยกจิตขึ้นออกจากกายตั้งอยู่ในที่ว่างอันกว้างไกลไม่มีประมาณ ไม่มีที่สิ้นสุดประดุจอากาศ อวกาศ ดั่งเอกภพนั้น แผ่เอาความมีจิตสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือแบ่งปันให้แก่สรรพสิ่งทั้งปวงนั้นพ้นจากทุกข์ที่เกิดมีแต่รูปขันธ์นั้นให้ได้ประสบสุขนี้ไปไม่มีประมาณเหมือนเอกภพนั้น

    ๔. ทาน คือ ผลอันเกิดจาก เมตตาและกรุณาที่น้อมไปในการสละให้ จนเกิดการกระทำทางกายและวาจาอันเป็นไปเพื่อความสละให้ ด้วยปารถนาให้ผู้รับเป็นสุขจากการให้นั้นของตน
    - อุบายว่า หากเราไม่รู้จักสละให้ผู้อื่น แล้วใครที่ไหนเลยเขาจะอยากสละให้เรา
    - ระลึกถึงผลทานอันใดที่เราสละให้มาดีแล้วนั้น ที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นอันมาก ระลึกถึงความสุขที่เขานั้นได้รับจากการสละให้ของเรา เอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต หรือ ระลึกว่าการสละให้ที่เราได้ทำมาแล้วนี้มีผลมาก เอาชนะหรือดับอุปกิเลสความโลภในตนได้ เป็นการปหานอกุศลธรรมอันหยายช้าได้ ทั้งได้ทำทานนี้ต่อพระรัตนตรัย พ่อ-แม่-บุพการี พระพุทธศาสนา พระอริยะสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง ทานที่ทำมานี้มีผลมีอาสิงส์มาก เราได้ทำสำเร็จบรรลุบทตามที่พระอริยะทั้งหลายได้กระทำมาแล้ว ประกอบไปด้วยคุณจักส่งผลให้ตนได้รับผลทานอันนั้นแม้กาลปัจจุบัน อนาคตภายหน้า เมื่อละโลกนี้ไปแล้วและในชาติหน้า ให้เราไม่ต้องลำบาก มีอยู่มีกินมีใช้ มีคนเมตตาอนุเคราะห์แก่เราไม่ขาด จิตจะยังความอิ่มใจจนเต็มกำลังใจในทาน
    - อีกประการหนึ่ง คือ มีจิตน้อมถึงความสละให้ที่เราได้ทำมาดีแล้วด้วยกายวาจาใจ ต่อสรรพสิ่งทั้งปวง ด้วยจิตอันยินดีที่เราได้สละให้ และ ยินดีที่ได้ทำในสิ่งที่เอื้อประโยชน์สุข ช่วยเหลือ ดูแล ทำนุบำรุง รักษาในสรรพสิ่งทั้งปวง แผ่ไปทั่วให้สรรพสิ่งทั้งปวงประดุจความเติมเต็มสุขอันดีงามไปทั่วทุกอณูธาตุซึ่งเป็นที่ว่างกล้างไปไม่มีประมาณประดุจความมืดโล่งว่างไม่มีที่สิ้นสุดในจักรวาลที่รอให้เราเอาความอิ่มใจไปเติมให้มันเต็มแบบไม่มีประมาณทั่วทั้งเอกภพ

    ๕. มุทิตา คือ มโนกรรม มีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขา ที่เขาเป็นสุข ไม่มีทุกข์ คงไว้ซึ่งสิ่งอันมีค่าและสำคัญในของเขา ได้พบโอกาสที่ดีในชีวิตและสิ่งที่ดีงามที่เอื้อประโยชน์สุขแก่เขา ไม่ริษยา
    - อุบายว่า หากเราไม่รู้จักยินดีเป็นสุขต่อผู้อื่น เมื่อเราได้ดีมีสุขคงไว้ซึ่งสิ่งอันมีค่าอันเป็นที่รักหรือได้ทำในกุศลดีงาม..แล้วใครจะมาอนุโมทนายินดีด้วยใจเป็นสุขไปกับเรา, เมื่อเราคอยแต่ตะเกียกตะกายแก่งแย่งชิงดีให้ตนเหนือกว่าเขา อิสสาริษยาเขาแล้ว..เราก็ไม่ใช่แค่คิดเบียดเบียนคนอื่น แต่กลับเบียดเบียนตนเองให้มีแต่ความทุกข์เร่าร้อนเกายใจอยู่ไม่เป็นสุข
    - แผ่เอาความจับเอาที่จิตอันเป็นสุขยินดีเสมอกันประดุจญาติมิตรบ้าง หรือ เป็นขันธ์ ๕ เสมอกันบ้าง, อาการทั้ง ๓๒ ประการ เสมอกันบ้าง, ธาตุ ๖ เสมอกันบ้าง ที่เขาคงไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนได้รับสิ่งที่เป็นสุขยินดี ความยินดีมีอยู่ที่จิตนี้ไปถึงทั่วทุกอนูทั่วทุกเอกภพ
    - อีกประการหนึ่ง คือ ความทำไว้ในใจ..จับเอาจิตอันเกษมยินดีแช่มชื่นรื่นรมย์อันเกิดมีแต่จิตนั้น ตั้งอยู่ที่จิตนั้น

    ๖. อุเบากขา คือ มโนกรรม ความวางใจไว้กลางๆ ความไม่ลำเอียง อันสืบต่อจาก เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ลำเอียงเพราะกลัวหรือไม่รู้ตามจริง ไม่ตั้งความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีต่อสิ่งใด มีความเสมอกันหมดต่อสรรพสิ่ง ย่อมที่เห็นว่าคนเรามีกรรมเป็นของของตน มีกรมเป็นผู้ให้ผลติดตามและอาศัยบ้าง อยู่ที่กรรมที่เขาได้ทำในกาลก่อนและปัจจุบันบ้าง เป็นไปตามธรรมชาติของผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในครองขันธ์ ๕ อยู่บ้าง
    - อุบายว่า สิ่งเหล่าใดที่ควรและไม่ควรเราได้ไตร่ตรองพิจารณาได้ทำด้วยความปารถนาดีน้อมไปในการสละช่วยเหลือต่อเขามาดีแล้ว ทุกสิ่งทุกอบ่างย่อมเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้ไม่ว่าเราหรือเขาก็หลีกหนีไม่ได้ หากเรายังยินดียินร้ายไปกับเขา หรือ ติดข้องใจไปก็ไม่มีประโยชน์อันใดนอกจากทุกข์ ติดข้องใจสิ่งใดไปย่อมนำทุกข์และความฉิบหายมาให้
    - แผ่เอาความว่างไม่มีความยินดี-ยินร้ายต่อสิ่งเหล่าใดไปแบบไม่มีประมาณ
    - อีกประการหนึ่ง คือ ความทำไว้ในใจ..ไม่ยึดยินดีในกาย ไม่ยึดยินดีในใจ หรือ ไม่ยึดยินดีในเอาขันธ์ ๕ หรือ ไม่ยึดยินดีในอาการทั้ง ๓๒ หรือ ไม่ยึดยินดีในธาตุ ๖ เสมอกันบ้าง ไม่ยึดเอาสิ่งใดสักอย่าง ไม่ยึดเอาสิ่งทั้งปวง ด้วยเป็นว่าเพราะเป็นที่ประชุมแห่งทุกข์ แม้แต่กายและใจของตนก็ตาม ทุกข์นี้เกิดอยู่ที่กายที่ใจตนนี้แหละ กายที่เสื่อมโทรมเป็นที่ประชุมโรค ใจที่รู้แต่สมมติกิเลส ไม่รู้ของจริง ยึดเอาเพียงสมมติปรุงแต่งแต่สิ่งไรๆที่นำความทุกข์มาให้ ยังไฟให้แผดเผาตนให้เร่าร้อน ละทิ้งกายใจเหล่านั้นไปเสีย เพราะเป็นที่ประชุมทุกข์ดังนี้


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 07-14-2015 เมื่อ 03:39 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  5. Admax said:

    อันว่ากายนี้ ก็อย่างนี้แหละ พึงเห็นเป็นธรรมดา เสีย ไม่ต้องปลง เห็นเป็นธรรมดา พอ
    .....จากพระอาจารย์ ธัมมวังโส.....


    สำหรับร่างกาย ตอนนี้ มันก็เป็นปกติ ของเขา คือ ทรง กับ ทรุด เท่านั้น ทรงก็คือ มีแรง ทำงานต่อไป ทรุด ก็คือป่วย ต้องนอนเยียวยา สุดท้าย มันก็ต้อง มรณา มันเป็นธรรมดา ของมันอย่างนั้น ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย สภาวะของการมีชีวิตก็อย่างนี้นั่นแหละ เช้านี้ ขอให้ท่าน ภาวนา อภิณหปัจจเวกขณ กันบ้างนะ




    เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
    เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
    เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย
    เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
    เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
    เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้
    เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม
    เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น
    เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.


    เจริญพร

    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเพื่อละราคะ วันที่ 13/7/58

    วันนี้เข้ากะดึกออกกะเช้าเวลา 8.00 น. เมื่อถึงบ้านก็ดูหนังดูเวบข่าวก็ไปเห็นที่เขาโพสท์ภาพนู๊ด ทำให้เกิดความกำหนัดมาก แต่ก็ข่มใจไว้อยู่ และนอนตอนประมาณ 13.00 น. ได้ทำไว้ในใจก่อนนอนว่า

    - จักไม่จับสละคืนกิเลสหายใจออกจนสุด จะสละคืนกิเลสหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆผ่อนไป ทำให้เห็นของ วสีอุปจาระฌาณ(อุปจารสมาธิอย่างหยาบ จนถึงขั้นกลาง แต่ยังไม่ใช่อุปนาสมาธิหรือปฐมฌาณ) ว่า การกำหนดเข้าอุปจาระฌาณนี้ต้องอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกยาว โดยตัดความคิดตามสมมติกิเลสทิ้งไปเสีย โดยค่อยๆหายใจเข้า-ออกยาวเบาๆ สติไม่หลุดจากลมหายใจ แม้จะบริกรรมพุทโธหรือไม่ก็ตาม คือ ให้มีวิจารตามรู้ลมหายใจเข้า-ออกแนบชิดอยู่อย่างนั้น (วิตก คือ พุทโธ , วิจาร คือ ลมหายใจ) จะเกิดความไม่เร่าร้อนมีความผ่องใสปราโทย์ ถึงปิติให้ความอิ่มจากไม่คิดฟุ้งซ่าน ให้ขนลุกซู่ เบาโหวงเหมือนลอยได้บางครั้งจิตมันเบาจนเหมือนจะลอยออกจากกายทำให้รู้สึกว่ากายนี้หนัก จะเพิกทิ้งกายนี้ไปเสียให้ได้ มีพลังอันอิ่มเอมอัดขึ้นให้ตรึงกายใจอยู่ ถึงความสงบใจได้โดยง่าย (บางครั้งเราทำก็ถึงความปราศจากกิเลสนิวรณ์ได้สืบต่อให้รู้สึกเป็นสุขอ่อนๆจากความสงบนั้นเข้าสู่สภาวะที่สติทำให้จิตจดจ่อมากขึ้นจนรู้แยกจากความตรึกนึกนิมิตใดๆ หรือ ทำให้แนบแน่นในนิมิตที่กำหนดขึ้นมาเพ่ง , บางครั้งก็แค่สงบแต่ยังมีกิเลสอ่อนๆที่คอยจะพุ่งแทรกจิตที่กำลังจะสงบจดจ่ออยู่)
    - เมื่อวิตกเป็นไปในพุทโธ ด้วยจิตน้อมเอาความสละคืนกิเลส และ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพุทธคุณของพระตถาคตเจ้านั้น ด้วยอุบายว่า ไม่มีวิตกอันใดที่ไม่เร่าร้อน แต่ประกอบด้วยคุณเท่า อรหัง หรือ พุทโธ นี้แล้ว และ ไม่มีความเข้าไปรู้อารมณ์ใดที่จะสงบสุขไม่ฟุ้งซ่านไม่เร่าร้อนเท่าลมหายใจนี้แล้ว รู้ลมหายใจมันไม่เร่าร้อน มันไม่ฟุ้งซ่าน มันไม่ทุกข์ รู้ลมหายใจทำให้สละคืนกิเลสไม่เร่าร้อน มีแต่ความสุขสงบเพราะปราศจากความคิดอันฟุ้งซ่านในกิเลสสมมติทั้งปวง


    จากนั้นก็หลับไป

    แล้วก็ฝันโดยสัญญาจากจิตใต้สำนคึกที่เรานี้มักมากในกามอยู่มากถึงมากที่สุดอัดปะทุแน่นโขขึ้นมา เกิดเป็นฝันว่า เราได้เจอผู้หญิงคนหนึ่งสวยมาก แต่ในฝันยังมีสติรู้ทันจิตในตอนนั้น ทำให้เกิดความข่มใจแล้วพิจารณาจนเกิดเห็น นันทิ ความติดใจในอารมณ์นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง เมื่อรู้โดยอาการจริงโดยปราศจากคิดในอาการโดยบัญญัติในฝันนั้น ทำให้เห็นอาการจริงๆของนันทิ ที่ปกติเราจะแยกจากกาม ความน่าใครน่าปารถนาในอารมณ์นั้นๆไม่ออกเลย อาการมันจะมีลักษณะติดตามไปในอารมณ์นั้นด้วยความเพลิดเพลิน มีอาการที่รุ่มๆเร่าๆอ่อนๆ มีลักษณะเหมือนเส้นปะที่ต่อกันไปเรื่อยๆ โดยช่องว่างหรือช่องไฟของเส้นปะนั้นจะแคบหรือกว้างก็ขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกที่น่าใคร่น่าปารถนาและความผูกใจใฝ่ยินดีในอารมณ์นั้น(ฉันทะราคะ) มีมากน้อยแค่ไหน นันทิอยู่ระหว่างกลางของสองอารมณ์นี้


    » - · » - · » - · » - · » - ·

    » - · » - · » - · » - · » - · » - · » - · » - ·

    »-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·»-·

    -----------------------------------------------------


    สักพักก็ตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำแล้วก็หลับต่อ

    จากนั้นก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งน่าตาดีมีใจให้เรา แต่ตอนนั้นเห็นว่าเขามีสามีแล้ว เพราะสามีเจ้าชู้มีเมียใหม่ แต่ต่อมาว่าเธอเลิกกับสามีแล้ว เพียงแต่ทำงานช่วยเหลืออยู่ เราจึงคิดพาเธอหนีไปอยู่ด้วยกัน เพราะความใคร่ ความกำหนัดโดยแท้ จนลืมไตร่ตรองก่อนว่าเขาเลิกกันแล้วจริงหรือไม่
    - คติข้อแรกนี้ทำให้เห็นว่า ความกำหนัดในเมถุนนี้มันร้ายมากถึงขนาดเพ่งภัณฑะ และช่วงชิงเอาของคนอื่นได้โดยไม่แยแสเลย

    จากนั้นก็ได้พาเธอออกมาอยู่ด้วย แต่ก็อยู่ด้วย แต่ก็อยู่ด้วยความกำหนัดเมถุน จะเอา จะอึ๊บเขาอย่างเดียวเลย จนในฝัน ฝันว่าน้ำสุกกะพุ่งกระจายเต็มหน้าเธอ เต็มตัวเขาและเราไปหมด ประหนึ่งเหมือนลงแช่น้ำสุกกะอย่างนั้น แม้จะดูเลอะเทอะน่าเกลียดกลิ้นคาวคลุ้งไปทั่ว แต่ในฝันนั้นก็เปรมปรีย์ยินดีเหลือเกิน
    - คติข้อนี้ทำให้เห็นว่า การเสพย์เมถุนนี้เป็นของสกปรกน่าขยะแขยง แต่เพราะความกำหนัดในมันนี้แล แม้รู้ว่าสกปรก แม้รู้ว่าเป็นกองทุกข์ ก็ยังจะเสพย์มัน

    จากนั้นจึงพากันไปล้างตัวทั้งๆที่แก้ผ้ากันเดินไปทั้งสองคน พยายามหาน้ำสะอาดเพื่อล้างน้ำสุกกะของเราสองคนออกไม่ให้ใครมาเห็นสภาพนี้ แต่บังเอิญน้ำที่มีให้เห็นใกล้ที่สุดเป็นน้ำในอ่าง มีจอกแหนสาหร่ายและฝุ่นสิ่งปฏิกุลเยอะ หากจะหาน้ำปะปาสะอาดก็ต้องเดินไปอีก และก็ต้องเปลือยกายไป แม้จะรู้ว่าน้ำนั้นมันสกปรกมากแต่ก็ยังพยายามตักกรองเอาน้ำในอ่างมาล้าง ซึ่งสิ่งที่ติดขึ้นมากับน้ำมีทั้งเศษใบไหม่ ฝุ่น สาหร่าย แหน เต็มหมดทั้งๆที่กรองแล้ว จากนั้นก็เอาน้ำนั้นลาดล้างน้ำสุกกะออก จริงอยู่ว่าน้ำสุกกะนั้นบางส่วนหลุดออกไปแต่ตัวเราและเธอแต่ร่างกายก็เต็มไปด้วยใบไม้ ฝุ่น สาหร่าย จอก แหน มาติดตัวแทนเช่นกัน
    - คติข้อนี้ทำให้เห็นว่า การที่เราคลุกตัวอยู่กับความน่าใครน่าปารถนา ความติดใจ ความผูกใคร่ยินดีในการเสพย์เมถุนนี้ๆ ทำให้กายใจ ก็เหมือนนำกายใจตนเองให้เร่าร้อนคอยวิ่งหาสิ่งที่ปารถนา แสวงหาทางเพื่อจะปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ว่าตนทำสิ่งใดที่น่ารังเกลียดแค่ไหน แต่ถึงจะพยายามปิดบัง กดข่มไว้ มันก็ปกปิดไว้ไม่หมดเหมือนที่ไม่อาจจะล้างน้ำสุกกะให้สะอาดได้ ซ้ำยังเปลี่ยนเป็นรอยที่สกปรกน่ารังเกียจอันใหม่เพิ่มเติม ทั้งๆที่ตนเองรู้ดีแก่ใจว่าสิ่งที่ตนทำให้คนอื่นเห็นนั้นมันของปลอมไม่จริงความจริงคือตนนั้นสกปรกไปด้วยน้ำสุกกะจากการเสพย์เมถุนแต่ก็ยังทำ เหมือนรู้ว่าน้ำนั้นสกปรกแต่ก็ยังตักมาล้างตัว ล้างยังไงก็สกปรกเหมือนเดิมไม่สะอาดไปได้ ถึงคนจะไม่เห็นแต่แก้ผ้ากลางแจ้งนั้นฟ้าดินก็เห็นอยู่ดี

    - แต่หากเรายอมรับว่าเรานี้สกปรกอย่างนี้ ทำสิ่งที่น่าอายอย่างนี้ ยอมรับคำติเตียนต่อผู้อื่นแล้วตั้งสมั่นในทางที่ถูกต้อง คือ ยอมเปลือยกายเดินไปหาน้ำปะปาที่สะอาดกว่าที่เห็นในเบื้องหน้า หรือ เพียรหาน้ำสะอาดที่ปราศจากสิ่งปฏิกูลโดยอาจจะค่อยเดินแอบๆไปหาน้ำก็ได้ จากนั้นชำระล้างร่างกายของตนให้สะอาด เราก็ไม่มีกายใจเป็นที่น่ารังเกลียดอีก ซึ่งความตั้งใจเพียรหาน้ำสะอาดที่จะชำระกายใจให้สะอาดดั่งการหาน้ำสะอาดมาชำระล้างกายนั้น ก็เป็นเหมือนเจริญในสัมมัปปธาน ๔ อันมีสติสัมปะชัญญะเป็นเบื้องหน้า เป็นความเพียรตั้งใจมั่นคอยสอดส่องด้วยสติคอยเสาะแสวงหาอุบายที่จะฆ่าราคะ เพื่อทำให้กานสะอาดคือเป็นกุศลนั้นเอง เมื่อเห็นอุบายก็เหมือนเจอน้ำสะอาด แล้วนำน้ำสะอาดนั้นมาชำระล้างร่างกายให้สะอาด มีสมาธิประดุจสบู่ที่ทาบนตัว มีปัญญาประดุจมือที่คอยขัดล้างน้ำสุกกะนั้นออกจากกายใจให้สะอาดดังนี้


    สรุปการพิจารณาด้วยกุศลวิตก ความคิดออกจากทุกข์ มีเกิดในฝันอันเต็ใไปด้วยราคะเมถุนดังนี้ และ เรายังปฏิบัติไม่มากพอทำให้ยังฝันได้ขนาดนี้ ต้องทำให้มากกว่านี้
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  7. Admax said:
    มิลินทปัญหา


    - ตอนที่ ๘ -

    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๓ (ต่อ)

    ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องผู้ถึงเวทย์
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน เวทคู คือผู้ถึงเวทย์มีอยู่หรือ? ”
    พระเถระจึงย้อนถามว่า
    “ มหาบพิตร ในข้อนี้ใครชื่อว่าเวทคู ? ”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายในนี้ ย่อมเห็นรูปด้วยตาได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ นี้แหละชื่อว่า “ เวทคู ” โยมจะเปรียบให้พระผู้เป็นเจ้าฟัง เหมือนหนึ่งว่าเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ปรารถนาจะแลดูออกไปทางช่องหน้าต่างใด ๆ ก็แลดูออกไปทางช่องหน้าต่างนั้น ๆ จะเป็นทางตะวันออก หรือทางตะวันตก ทางเหนือ ทางใต้ ก็ได้ตามประสงค์ฉันใด อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายในร่างกายนี้ ต้องการจะดูออกไปทางทวารใด ๆ ก็ดูออกไปทางทวารนั้น ๆ แล้วก็ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ได้รู้รสด้วยลิ้น ได้ถูกต้องสัมผัสด้วยกาย ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ฉันนั้น ”
    พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า
    “ อาตมภาพจะกล่าวให้ยิ่งขึ้นไป คือเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ ต้องการจะแลออกไปทางช่องหน้าต่างใด ๆ จะเป็นทางตะวันออกหรือตะวันตก ทางเหนือ ทางใต้ ก็ได้เห็นรูปต่าง ๆ ฉันใด
    บุคคลต้องได้เห็นรูปด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อันเป็น อัพภันตรชีพ อย่างนั้นหรือ ?
    ต้องได้ฟังเสียงด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ?
    ต้องได้สูดกลิ่นด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ?
    ต้องได้รู้รสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ?
    ต้องถูกต้องสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ?
    ต้องรู้ธรรมารมณ์ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ? ”
    “ ไม่ใช่ฉันนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ขอถวายพระพร คำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของมหาบพิตร ย่อมไม่สมควรแก่กัน เหมือนอย่างว่าเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ เมื่อเปิดช่องหน้าต่างเหล่านี้ไว้ แล้วแลออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ ก็ต้องเห็นรูปได้ดี ฉันใด อัพภันตรชีพ นั้น เมื่อเปิดจักขุทวารหันหน้าออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ก็เห็นรูปได้ดี เมื่อเปิดหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้แล้วหันหน้าออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ ต้องเห็นรูปได้ดีฉันนั้น อย่างนั้นหรือ ? ”
    “ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ขอถวายพระพร คำหลังกับคำก่อนหรือคำก่อนกับคำหลังของมหาบพิตร ย่อมไม่สมควรแก่กัน เหมือนอย่างว่า มียาจกเข้ามารับพระราชทานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากมหาบพิตร แล้วออกไปยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก มหาบพิตรทรงรู้หรือไม่? ”
    “ อ๋อ…รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ขอถวายพระพร ผู้ที่ได้รับพระราชทานแล้วเข้าไปภายใน ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของมหาบพิตร พระองค์รู้หรือว่าผู้นี้เข้ามาในภายใน มายืนอยู่ข้างหน้าเรา ? ”
    “ รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ อัพภันตรชีพ นั้น เมื่อวางรสไว้ที่ลิ้น ก็รู้ว่าเป็นรสเปรี้ยว หรือรสเค็ม รสขม รสเผ็ด รสฝาด รสหวานหรือไม่ ? ”
    “ รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ เมื่อรสเหล่านั้นไม่เข้าไปภายใน อัพภันตรชีพ นั้น รู้หรือไม่ว่าเป็นรสเปรี้ยว รสเค็ม รสขม รสเผ็ด รสฝาด รสหวาน ? ”
    “ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ นี่แหละ มหาบพิตร จึงว่าคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของมหาบพิตรไม่สมควรแก่กัน ไม่สมกัน
    เหมือนกับมีบุรุษผู้หนึ่งให้บรรทุกน้ำผึ้งตั้ง ๑๐๐ หม้อ มาเทลงในรางน้ำผึ้ง แล้วมัดปากบุรุษนั้นไว้ จึงเอาทิ้งลงไปในรางน้ำผึ้งบุรุษนั้นจะรู้จักรสน้ำผึ้งหรือไม่? ”
    “ ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ เพราะอะไรล่ะ มหาบพิตร ? ”
    “ เพราะน้ำผึ้ง ไม่เข้าไปในปากของเขา ”
    “ ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้แหละ จึงว่าคำหลังกับคำต้น หรือคำต้นกับคำหลังของมหาบพิตร ไม่สมควรแก่กัน เข้ากันไม่ได้”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่อาจสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าในข้อนี้ได้แล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงข้อนึ้ให้โยมเข้าใจเถิด ”
    ลำดับนั้น พระเถระจึงแสดงให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระทัย ด้วยถ้อยคำอันเกี่ยวกับ อภิธรรม ว่า
    “ ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัย ตา กับ รูป แล้วจึงมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันเกี่ยวข้องกับจักขุวิญญาณนั้น เกิดขึ้นตามปัจจัยถึง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ก็เกิดขึ้นได้เพราะอาศัย หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์แล้วจึงเกิด เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เหมือนกัน เป็นอันว่าผู้ชื่อว่า “ เวทคู ” ไม่มีในข้อนี้ ขอถวายพระพร”
    พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ ได้ฟังชัดก็โสมนัสปรีดา มีพระราชดำรัสตรัสสรรเสริญว่า
    “ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ สมควรแล้ว ”

    อธิบาย
    คำว่า “ เวทคู ” แปลว่า ผู้ถึงเวทย์ ท่านหมายความว่า เป็นผู้ถึงชึ่งความรู้ คือผู้รับรู้สิ่งต่าง ๆ พระเจ้ามิลินทร์เข้าใจว่า เวทคู นั้นเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นของมีชีวิตอยู่ภายใน อันเรียกว่า อัพภันตรชีพ ว่าเป็นผู้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู หรือดมกลิ่นด้วยจมูก เป็นต้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด
    ส่วนที่ถูกนั้น พระนาคเสนท่านกล่าวว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายใยเป็นเวทคูเลย การที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ นั้น ได้แก่ วิญญาณ อันเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ต่างหากดังนี้ คือข้อนี้ท่านมุ่งแสดงเป็นปรมัตถ์ ( คือเรื่องของจิตและเจตสิก) ไม่ได้มุ่งแสดงเป็นสมมุติ ( คือธรรมะทั่วไป ) ถ้าว่าเป็นสมมุติ เวทคู นั้นก็มีตัวตน ดังนี้


    ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเกี่ยวกับแห่งจักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณ
    “ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด มโนวิญญาณ ก็ตามไปเกิดในที่นั้นหรือ ? ”
    “ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จักขุวิญญาณเกิดก่อน มโนวิญญาณเกิดทีหลัง หรืออย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณเกิดก่อน มโนวิญญาณเกิดทีหลัง”
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ก็จักขุวิญญาณบังคับมโนวิญญาณไว้หรือว่า เราจักเกิดในที่ใดเจ้าจงเกิดในที่นั้น หรือมโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณไว้ว่า เจ้าจักเกิดในที่ใด เราก็จักเกิดในที่นั้น อย่างนั้นหรือ ?”
    “ ไม่ใช่อย่างนั้น มหาบพิตร วิญญาณทั้งสองนั้นพูดจากันไม่ได้”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น ”
    “ ขอถวายพระพร ที่ว่าอย่างนั้น เพราะเป็นของลุ่ม ๑ เป็นประตู ๑ เป็นที่สะสมมา ๑ เป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา ๑ ”
    เพราะเป็นของลุ่ม

    “ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นของลุ่ม นั้นคืออย่างไร ขอนิมนต์อุปมาด้วย? ”
    “ ขอถวายพระพร เมื่อฝนตกลงมามหาบพิตรทรงเข้าพระทัยว่า น้ำจะไปทางไหน ? ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ลุ่มมีอยู่ทางใดน้ำก็ต้องไปทางนั้น”
    “ ขอถวายพระพร เมื่อฝนตกลงมาอีกน้ำจะไหลไปทางไหน ?”
    “ ข้าแต่พระนาคเสน น้ำก่อนไปทางใด น้ำใหม่ก็ต้องไปทางนั้น”
    “ ขอถวายพระพร น้ำก่อนสั่งน้ำหลังไว้หรือว่า เราไปทางใด เจ้าจงไปทางนั้น หรือว่าน้ำหลังสั่งน้ำก่อนไว้ว่า เจ้าจักไปทางใด เราก็จักไปทางนั้น ? ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า น้ำทั้งสองนั้นพูดจากันไม่ได้ แต่น้ำนั้นไหลไปได้ เพราะทางนั้นเป็นทางลุ่ม เป็นทางต่ำต่างหาก”
    “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะที่นั้นเป็นที่ลุ่ม เป็นที่ต่ำจักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณไว้ว่า เราเกิดในที่ใด เจ้าจงเกิดในที่นั้น มโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณไว้เหมือนกัน วิญญาณทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากันแต่ว่าเกิดในที่นั้นในสิ่งนั้น เพราะที่นั้นสิ่งนั้นเป็นเหมือนที่ลุ่มที่ต่ำ ฉะนั้น”
    เพราะเป็นประตู
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นประตู นั้นอย่างไร ขอได้โปรดอุปมาด้วย ? ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าหัวเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อมค่ายประตูหอรบแน่นหนาแข็งแรง แต่มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียว มีผู้อยากจะออกไปจากพระนครนั้น จะออกไปทางไหน ? ”
    “ ออกไปทางประตูซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ขอถวายพระพร ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งอยากจะออกไป เขาจะออกไปทางไหน? ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุรุษคนก่อนออกไปทางประตูใด บุรุษคนหลังก็ต้องออกไปทางประตูนั้นแหละ”
    “ ขอถวายพระพร บุรุษคนก่อนสั่งบุรุษคนหลังไว้หรือว่า เราออกทางประตูใด เจ้าจงออกทางประตูนั้น หรือบุรุษคนหลังสั่งบุรุษคนก่อนไว้ว่า เจ้าออกทางประตูใด เราก็จักออกทางประตูนั้น ? ”
    “ ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษทั้งสองนั้นไม่ได้บอกกันไว้เลย แต่เขาออกไปทางเดียวกัน เพราะทางนั้นเป็นประตู ”
    “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะที่นั้นเป็นประตู ไม่ใช่จักขุวิญญาณสั่งที่มโนวิญญาณไว้ หรือมโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณไว้ ทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากัน แต่เกิดขึ้นในที่แห่งเดียวกัน เพราะที่นั้นเป็นประตู”
    เพราะเป็นที่สะสมมา
    “ ข้าแต่พระเป้นเจ้า ข้อว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นที่สะสมมา นั้นคืออย่างไรขออุปมาให้แจ้งด้วย ? ”
    “ ขอถวายพระพร เกวียนเล่มแรกไปก่อนแล้ว มหาบพิตรจะเข้าพระทัยว่า เกวียนเล่มที่ ๒ จะไปทางไหน ? ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เกวียนเล่มแรกไปทางใด เกวียนเล่มหลังก็ต้องไปทางนั้น”
    “ ขอถวายพระพร เกวียนเล่มก่อนสั่งเกวียนเล่มหลังไว้หรือว่า เราไปทางใดเจ้าจงไปทางนั้น หรือว่าเกวียนเล่มหลังสั่งเกวียนเล่มก่อนไว้ว่า เจ้าจักไปทางใด เราก็จักไปทางนั้น ? ”
    “ ไม่ได้สั่งไว้เลย ผู้เป็นเจ้า เพราะเกวียนทั้งสองนั้นไม่มีการพูดกัน แต่ไปทางเดียวกันเพราะทางนั้นเป็นทางที่สะสมมาแล้ว ”
    “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณไม่ได้สั่งกันไว้เลย แต่เกิดในที่แห่งเดียวกันเพราะเป็นที่สะสมมาแล้ว”
    เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา
    “ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา นั้นคืออย่างไร ขอจงอุปมาให้ทราบด้วย? ”
    “ ขอถวายพระพร ผู้ที่เริ่มเรียนศิลปะในการนับด้วยนิ้วมือ หรือนับตามลำดับ หรือขีดเป็นรอยขีด หรือหัดยิงธนู ทีแรกก็ช้าก่อนต่อมาภายหลังก็ไวขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติแล้ว คือได้กระทำมาเสมอ ฉันใด
    จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น จักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณไว้เลยว่า เราเกิดในที่ใด เจ้าจงเกิดในที่นั้น มโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณไว้เลยว่า เจ้าจะเกิดในที่ใด เราก็จะเกิดในที่นั้นเพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมาแล้ว ฉันนั้น ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากันเลย แต่เกิดในที่แห่งเดียวกันเพราะได้เคยประพฤติมา ถึง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เหมือนกัน อย่างนั้นหรือ ? ”
    “ อย่างนั้น มหาบพิตร เป็นอันเหมือนกันหมด ”
    “ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว ”



    อธิบาย
    ข้อนี้ได้ใจความว่า วิญญาณทั้ง ๕ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ย่อมเกิดในที่แห่งเดียวกับ มโนวิญญาณ คือความรู้สึกทางใจด้วย
    ยกตัวอย่างเช่น ตาเห็นรูปได้ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นก่อนแล้ว มโนวิญญาณ จึงเกิดทีหลัง ทำให้รู้และเข้าใจได้ว่า รูปที่เห็นนั้นเป็นคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ มีลักษณะเป็นประการใด เพราะถ้าไม่มี มโนวิญญาณ เข้าร่วมด้วย ก็เหมือนกับคนนั่งใจลอยเหม่อมองไปข้างหน้า เมื่อไปถามว่าเห็นอะไรไหม…เขาก็ตอบว่าเห็นแต่ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งใด เพราะไม่ได้ตั้งใจดู อย่างนี้เป็นต้น ถึงจะเป็นการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้นรส สัมผัสถูกต้อง ก็มีสภาพเช่นดียวกัน
    ฉะนั้น เพราะอาศัย จักขุวิญญาณ หรือ โสตวิญญาณ หรือ ฆานวิญญาณ หรือ ชิวหาวิญญาณ หรือ กายวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเกิดขึ้นก่อนแล้ว มโนวิญญาณ จึงจะเกิดทีหลัง ดังนี้


    ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะผัสสะ
    “ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด เวทนา ก็เกิดในที่นั้นหรือ ? ”
    “ อย่างนั้น มหาบพิตร คือ จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด เวทนา ก็เกิดในที่นั้น ถึง สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ วิตก วิจาร ก็เกิดใน ในที่นั้น ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เป็นต้น ก็เกิดในที่นั้น ขอถวายพระพร ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผัสสะ มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร ผัสสะ มีการ กระทบกัน เป็นลักษณะ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับแพะ ๒ ตัวชนกันอยู่ จักขุ เหมือนกับแพะตัวหนึ่ง รูป เหมือนกับแพะอีกตัวหนึ่ง ผัสสะ เหมือนกับการชนกันแห่งแพะทั้งสอง ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งไป ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า มือทั้งสองที่ตบกัน จักขุ เหมือนมือข้างหนึ่ง รูป เหมือนมืออีกข้างหนึ่ง ผัสสะ เหมือนการกระทบกันแห่งมือทั้งสอง ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”
    “ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจบุรุษเป่าปี่ ๒ เลาขึ้นพร้อมกัน จักขุ เหมือนปี่เลาหนึ่ง รูป เหมือนปี่อีกเลาหนึ่ง ผัสสะ เหมือนการรวมกันแห่งเสียงปี่ทั้งสองเลานั้น ”
    “ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”

    ปัญหาที่ ๙ ถามถึงลักษณะเวทนา
    “ ข้าแต่พระนาคเสน เวทนา มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร เวทนา มีการ ทำให้รู้สึก เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง มีการ เสวย เป็นลักษณะ ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ามีบุรุษผู้หนึ่ง ทำความดีความชอบต่อพระราชา เมื่อพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ก็ทรงพระราชทานทรัพย์ ยศ บริวาร ให้แก่บุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ แล้ว เขาก็คิดว่าเราได้ทำความดีต่อพระราชาไว้แล้ว เราจึงได้เสวยความสุขอย่างนี้
    อีกนัยหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนหนึ่งทำบุญกุศลไว้แล้ว ได้ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์ เขาก็มีความสุขด้วยทิพย์สมบัติ แล้วเขาก็นึกได้ว่า เพราะเราได้ทำบุญกุศลไว้ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยความสุขอย่างนี้
    อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า เวทนา มีการ ทำให้รู้สึก เป็นลักษณะ หรือมีการ เสวย เป็นลักษณะ ”
    “ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควรแล้ว ”

    ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะสัญญา
    “ ข้าแต่พระนาคเสน สัญญา มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร สัญญา มีการ จำ เป็นลักษณะ ”
    “ จำอะไร ? ”
    “ จำสีเขียว สีแดง สีขาว ขอถวายพระพร ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างเจ้าพนักงานคลังของพระราชา ได้เข้าไปที่คลังแล้ว เห็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ของพระราชา อันมีสีสันต่าง ๆ กัน คือ สีเขียวก็มี เหลืองก็มี แดงก็มี ขาวก็มี เลื่อมก็มี ก็จำไว้ได้เป็นอย่าง ๆ ไป ฉันใด สัญญา ก็มีการ จำ เป็นลักษณะฉันนั้น”
    “ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”

    ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะเจตนา
    “ ข้าแต่พระนาคเสน เจตนา มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร เจตนา มีความ จงใจ เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่งว่า เจตนา มีการ ประชุมแห่งการตกแต่ง เป็นลักษณะ ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้หนึ่งตกแต่งยาพิษขึ้นแล้ว ก็ดื่มเองด้วย ให้ผู้อื่นดื่มด้วย เขาก็เป็นทุกข์ ผู้อื่นก็เป็นทุกข์ ฉันใด บางคนจงใจทำความชั่วแล้วก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พวกใดทำตามบุรุษนั้น พวกนั้นก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกัน ฉันนั้น
    อีกประการหนึ่ง บุรุษผู้นั้นตกแต่งเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้มีรสอันเดียวกัน แล้วก็ดื่มเองบ้าง ให้ผู้อื่นดื่มบ้าง เขาก็เป็นสุข ผู้อื่นก็เป็นสุข ฉันใด
    บางคนจงใจทำความดีแล้วได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์ พวกใดทำตามบุรุษนั้น พวกนั้นก็ได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์เหมือนกัน ฉันนั้น
    อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า เจตนา มีการ จงใจ เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่งว่า มีการ ปรุงแต่ง เป็นลักษณะ”
    “ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”


    ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะวิญญาณ
    “ ข้าแต่พระนาคเสน วิญญาณ มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร วิญญาณ มีการ ู้ เป็นลักษณะ ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจบุรุษผู้รักษาพระนคร นั่งอยู่ที่ถนน ๔ แพร่งกลางพระนคร ต้องได้เห็นบุรุษผู้มาจากทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฉันใด บุคคลเห็นรูป หรือฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส นึกถึงสิ่งใดด้วยใจ ก็รู้จักสิ่งนั้นได้ด้วย วิญญาณ ฉันนั้น วิญญาณมีการ รู้ เป็นลักษณะอย่างนี้แหละ มหาบพิตร ”
    “ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”

    ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะวิตก
    “ ข้าแต่พระนาคเสน วิตก มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร วิตก มีการ ประกบแน่น เป็นลักษณะ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร ช่างไม้่ย่อมเข้าไม้ในที่ต่อ แล้วโบกด้วยปูนหรือทาด้วยสีให้สนิทฉันใด วิตก ก็มีการประกบแน่น มีการแนบแน่นเป็นลักษณะฉันนั้น”
    “ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”

    ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะวิจาร
    “ ข้าแต่พระนาคเสน วิจาร มีลักษณะอย่างไร ? ”
    “ ขอถวายพระพร วิจาร มีการ ลูบคลำไปตามวิตก เป็นลักษณะ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ากังสดาล อันบุคคลเคาะด้วยสันดาบ ก็มีเสียงดังเป็นกังวานต่อ ๆ กันไป ฉันใด วิตก ก็เหมือนกับการเคาะ ฉันนั้น ส่วน วิจาร เหมือนกับเสียงดังครวญครางไป ”
    “ สมควรแล้ว พระนาคเสน ”
    จบวรรคที่ ๓


    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๔

    ปัญหาที่ ๑ ถามลักษณะมนสิการ

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน มนสิการ มีลักษณะอย่างไร ? ”
    พระเถระตอบว่า
    “ ขอถวายพระพร มนสิการ มีการ นึก เป็นลักษณะ ”
    “ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”

    ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจแยกธรรมที่รวมเป็นอันเดียวกันเหล่านี้ ให้รู้ว่าต่างกันว่า อันนี้เป็น ผัสสะ อันนี้เป็น เวทนา อันนี้เป็น สัญญา อันนี้เป็น เจตนา อันนี้เป็น วิตก อันนี้เป็น วิจาร ได้หรือไม่?”
    “ ไม่อาจ ขอถวายพระพร ”
    “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
    “ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนพ่อครัวของพระราชา เมื่อจะตกแต่งเครื่องเสวยก็ใส่เครื่องปรุงต่างๆ คือ นมส้ม เกลือ ขิง ผักชี พริก และสิ่งอื่น ๆ ลงไป ถ้าพระราชาตรัสสั่งว่า
    “ เจ้าจงแยกเอารสนมส้มมาให้เรา จงแยกเอารสเกลือ รสขิง รสหวาน รสเปรี้ยว มาให้เราทีละอย่าง ๆ ”
    พ่อครัวนั้นอาจแยกเอารสที่รวมกันอยู่เหล่านั้นมาถวายพระราชาว่า นี้เป็นรสเปรี้ยว นี้เป็นรสเค็ม นี้เป็นรสขม นี้เป็นรสเผ็ด นี้เป็นรสฝาด ได้หรือไม่ ? ”
    “ ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ก็แต่ว่าเขาอาจรู้ได้ตามลักษณะของรสแต่ละรส”
    “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร รวมกันเข้าแล้ว อาตมภาพก็ไม่อาจแยกออกให้รู้ได้แต่ละอย่าง ก็แต่ว่าอาจให้เข้าใจได้ตามลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่าง ๆ ”
    “ ขอถวายพระพร เกลือ เป็นของจะต้องรู้ด้วย ตา ใช่ไหม? ”
    “ ใช่ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ ขอมหาบพิตรจงจำคำนี้ไว้ให้ดีนะ ”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น เกลือ เป็นของรู้ด้วย ลิ้น อย่างนั้นหรือ ? ”
    “ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
    “ ถ้าบุคคลรู้จักเกลือทั้งหมดด้วยลิ้น เหตุไฉนจึงบรรทุกเกลือมาด้วยเกวียน ควรบรรทุกมาเฉพาะความเค็มเท่านั้นไม่ใช่หรือ ? ”
    “ ไม่อาจบรรทุกมาแต่ความเค็มเท่านั้นได้ เพราะว่าของเหล่านี้เป็นของรวมกัน ส่วนความเค็มบุคคลอาจชั่งได้ด้วยตาชั่งหรือไม่มหาบพิตร? ”
    “ อาจชั่งได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
    “ มหาบพิตร จงจำคำนี้ไว้ให้ดีว่า บุคคลอาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่ง”
    “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าว่าบุคคลไม่อาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่งอย่างนั้นหรือ? ”
    “ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
    “ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”



    อธิบาย
    วิญญาณทั้ง ๕ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะต้องมี มโนวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางใจ เข้าร่วมด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์ในการเห็น การฟัง การดม การลิ้นรส และการสัมผัส เป็นต้น
    เมื่อวิญญาณทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อน เช่น จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ก็เกิดในที่นั้น เพราะอาศัย จักขุ กับ รูป ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร มนสิการ ได้เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกัน แต่มีลักษณะต่างกัน ดังนี้
    ผัสสะ มีลักษณะ กระทบกัน เช่น จักขุ กับ รูป เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น
    เวทนา มีลักษณะ เสวยอารมณ์ คือทำให้รู้สึกมีความสุข มีความทุกข์ หรือ รู้สึกเฉย ๆ เป็นต้น สัญญา มีลักษณะ จำ เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็จำได้ว่า มีสีสันวรรณะเป็นประการใด
    เจตนา มีลักษณะ จงใจ หรือ ประชุมแห่งการตกแต่ง หมายถึงมุ่งกระทำความดีหรือความชั่วด้วยความจงใจ
    วิญญาณ อันนี้ไม่ใช่วิญญาณที่มาถือกำเนิดในครรภ์ แต่ในที่นี้ท่านหมายถึง รู้ ในฎีกามิลินท์ท่านหมายถึง ประสาท เหมือนกัน
    วิตก มีลักษณะ ประกบแน่น หมายถึงการที่จิตตรึกอารมณ์
    วิจาร มีลักษณะ ลูบคลำไปตามวิตก คือจิตเคล้าอารมณ์ หรือจิตตรอง หรือพิจารณาอารมณ์ที่ตรึกนั้น
    วิตก กับ วิจาร ท่านอธิบายมีความหมายคล้ายกัน คือ วิตก เหมือนกับคนเคาะระฆัง เมื่อมีเสียงดังกังวานครวญครางขึ้นท่านเรียกว่า วิจาร ได้แก่อารมณ์คิดพิจารณานั้นเอง
    มนสิการ มีลักษณะ นึก ในข้อนี้ท่านไม่ได้ยกอุปมา เพราะได้เคยอุปมาให้พระเจ้ามิลินท์ได้ทราบไว้แล้ว
    รวมความว่า การที่จะเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสได้นั้น ไม่ใช่ อัพภันตรชีพ ( สิ่งที่เป็นอยู่ในภายในกายนี้) เป็น “ เวทคู ” คือเป็นผู้รับรู้ แต่การที่จะมีความรู้สึกได้เพราะอาศัย วิญญาณ ต่างหาก และวิญญาณทั้ง ๕ นี้ย่อมไหลไปสู่ มโนวิญญาณ เหมือนกับน้ำไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น
    แต่ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยกัน อันมี ผัสสะ เป็นต้นนั้น ท่านไม่สามารถจะแยกออกมาได้ว่า อันนี้เป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนาหรือ อันนี้เป็นสัญญา เปรียบเหมือนเครื่องแกงที่ผสมกันหมดแล้ว รสชาติของมันปรากฏอยู่ตามลักษณะของมัน แต่จะแยกออกมาไม่ได้
    คำเปรียบเทียบของพระนาคเสนเรื่องนี้เหมาะสมมาก คือเมื่อเครื่องแกงผสมเป็นน้ำแกงแล้ว เมื่อเราตักออกมาช้อนหนึ่งชิมดูย่อมมีรสเครื่องแกงทุกอย่างผสมอยู่ แต่จะแยกออกมาหาได้ไม่
    แต่เราพอบอกได้ว่า ความเผ็ดเป็นรสของพริก ความเค็มเป็นรสของเกลือ ความเปรี้ยวเป็นรสของน้ำส้มหรือมะนาว และความหวานเป็นรสของน้ำตาล เป็นต้น
    อนึ่ง เหมือนกับการบรรทุกเกลือ แต่จะไม่บรรทุกความเค็มมาด้วย หรือจะชั่งเฉพาะเกลือ แต่ไม่ชั่งความเค็มด้วยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะของเหล่านี้เป็นของรวมกัน ฉันใด
    ธรรมทั้งหลายอันมี ผัสสะ เป็นต้น ได้ปรากฏชัดตามลักษณะของตน แต่จะแยกออกมาแต่ละอย่าง ๆ มิได้เช่นกัน ฉันนั้น



    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  8. Admax said:
    สติปัฏฐาน ๔

    ๑. เจริญกาย ได้..สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ สิ้นความหวาดกลัว ระแวง เป็นที่สบายกายใจ จิตมีกำลังมาก เป็นสมาธิง่าย ไม่เบียดเบียน ไม่แสวงหา ไม่หลงไหลติดใคร่รูปว่างาม รูปนี้เป็นที่รักที่ชอบใจ รูปนี้ที่เกลียดที่ไม่ชอบไม่ยินดี
    - จิตเป็นพุทโธลงปัญญา ถึงความว่าง ความไม่มีในโลก เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่อกาย เกิดนิพพิทาต่อรูปขันธ์ เกิดวิราคะจิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
    ๒. เจริญเวทนา ได้..สมุทัย ความวางใจไว้กลางๆ ไม่ยินดียินร้าย ยึดมั่นถือมั่นสุข ทุกข์ ถึงความปลงใจในโลก ไม่มีความปารถนาในโลกเพราะรู้ชัดว่าล้วนทุกข์ทั้งนั้น ดำรงชีพชอบอยู่กับร้อนเป็น-อยู่กับเย็นได้
    - จิตลงปัญญาเห็นทุกขอริยะสัจ เห็นเทวทูตทั้ง ๔ เกิดนิพพิทา เห็นแจ้งมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ คลายอเวทนานุปาทาน เกิดวิราคะจิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
    ๓. เจริญจิต ได้รู้แยกจริงแยกสมมติ
    - จิตลงปัญญาเห็นทุกขอริยะสัจ เห็นสิ่งที่ควรละ เกิดนิพพิทา ไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆ ไม่ยินดียินร้าย เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่อจิต คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เห็นกามว่าเกิดแต่ความคิด ความดำริถึง เกิดวิราคะละโมหะในสมมติของปลอมได้ จิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
    ๔. เจริญธรรม ได้รู้นิวรณ์ตน พ้นกิเลสแล้วหรือยังมีกิเลสอยู่ แจ้งชัดพระอริยะสัจ ๔ สิ้นความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัยในธรรม
    - จิตลงปัญญา เกิดนิพพิทาต่อขันธ์ ๕ ถึงวิราคะตัดขาดสิ้น ละมโน คือ ดวงจิต(มโน ไม่ใช่วิญญาณขันธ์) ดับสิ้นอุปาทานขันธ ์๕ ถึงพระนิพพาน



    เมื่อจะเจริญ ไม่ต้องไปนั่งเพ่งจำจดจำจ้องเอามันแค่รู้แล้วทำไว้ในในตั้งจิตมั่นไม่เอนเอียง แล้วเจริญตามลำดับดังนี้

    ลม หรือ พุทโธ(หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ หน่วงนึกถึงความเป็นผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ผู้ตื่นจากสมมติของปลอม ผู้เบิกบานพ้นจากกิเลสทุกข์ของพระพุทธเจ้าน้อมมาสู่ตน เมื่อจิตสงบเป็นปกติดีแล้วค่อยให้มาดูว่าเรารู้สัมผัสสภาวะที่เคลื่อนของลมหายใจตรงไหนมากที่สุดค่อยจับเอาจุดนั้นเป็นที่ตั้งของสติไว้ระลึกดูลม เมื่อจิตนิ่งดีแล้วมีความรู้สึกอิ่มไม่ติดใคร่สมมติภายนอก คิดน้อยลง หรือไม่คิดเลย สงบ มีความชุ่มชื่นใจจากความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆซ่านอยู่(ขณิกสมาธิ)ให้พึงรู้ไว้ว่าเพราะเรามารู้ของจริงไม่ยึดสมมติทางกายและใจจึงสงบเย็นใจไม่ฟุ้งซ่านดังนี้แล้วทำไว้ในใจว่าเราจักทิ้งสมมติในกายนี้ไปเสีย ไม่ยึดกายนี้แล้ว ไม่ยึดความรู้อารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยึดสมมติความคิดทั้งปวง จะทิ้งความยึดมั่นถือมั่นแห่งตัวตนสมมตินั้นไปเสีย เพราะของจึงมันไม่มีอะไรเลยนอกจากสมมติ เราจักสละคืน แล้วเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระศาสดา แจ้งชัดของจริง เข้าถึงความไม่มี)
    สัมปะชัญญะ (สภาวะที่เรากำลังดำเนินไป, กำลังเป็นอยู่, กำลังกระทำอยู่ ในปัจจุบัน)

    อิริยาบถ ๔ (รู้ตัวรู้สภาวะปัจจุบันว่า กำลังอยู่ในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอนไรๆ แล้วตั้งมั่นรู้อิริยาบถๆนั้นไว้เสีย จากนั้นดูว่ามีสภาวะความรู้สึกเป็นไปแบบไหน อย่างไรในขณะนั้นๆ เหมือนกรรมฐานเดินจงกรม เดินจงกรมธาตุ)
    สมมติ ("สำเหนียกไว้เลยว่าจิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ให้ความสำคัญใจกับมัน ทำใจให้ชินกับมันเพราะมันเกิดขึ้นทุกวันดับไปทุกวันแทบทุกเวลาด้วยซ้ำ มันไม่ได้สำคัญอะไรกับชีวิตเรานี้ ติดใจข้องแวะไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น ชินชาต่ออาการ วางเฉย ไม่เสพย์เพราะมันมีแต่สมมติทั้งนั้น ของจริงแท้ที่เกิดมีขึ้นอยู่ในทุกขณะๆก็คือพุทโธนี้แหละ คือลมหายใจเรานี้ที่เป็นของจริง เป็นธาตุ ๔ เป็นกายสังขาร เป็นปัจจุบันขณะ"..อาศัยสติที่ตั้งมั่นเป็นอารมร์เดียว ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่วได้นานจากการเจริญใน ลม หรือ พุทโธ หรือ กรรมฐาน ๔๐[ศีล กรรมฐานทั้ง ๔๐ มีไว้ฝึกสติให้ตั้งมั่นจดจ่อเป็นอารมณ์เดียว ทานและกรรมฐาน ๔๐ มีอานิสงส์คือจิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน เรียก สัมมาสมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้ปัญญา] ขึ้นพิจารณาใน อสุภะสัญญา, อาทีนวะสัญญา, ธาตุ ๔ หรือ ธาตุ ๖, นวสีวถิกา(ป่าช้า ๙ - อสุภะ ๑๐), เวทนา(ความรู้สึกในกระทบสัมผัส), จิต(ความรู้สึกนึกคิด), ธรรม(นิวรณ์ ๕ - อริยะสัจ ๔ - ของจริงแยกต่างหากจากสมมติ))


    โดยความรู้ความเข้าใจของปุถุชนอย่างเราที่ได้จากการปฏิบัติมาโดยส่วนตัวคือ ที่สุดของมหาสติปัฏฐาน ๔ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้เห็นชัดตัวสมมติ เป็นผู้รู้สมมติ คือ รู้ตัวสมมติ รู้ว่าสมมติเป็นยังไง แบบไหน อย่างไหน เห็นแจ้งชัดของจริง ต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสสมติ เบิกบานแล้วพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม รู้แจ้งแทงตลอดถึงความไม่มี เกิดปัญญาตัดสิ้น สละคืน

    วิธีดูสมมติ (ทำเหตุให้เห็นสมมติให้จิตวิ่งลงมรรคและผล) คือ ให้ดูว่าสิ่งเหล่าใดก็ตามที่เราะพิจารณาอยู่ในขณะนั้น มันยั่งยืนอยู่ได้นานติดตามเราไปแม้ตายหรือไม่ หรือมันเสื่อมไปทุกๆขณะอยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เอง, เวลาที่สิ่งนั้นๆมันเกิดขึ้นมามันมีเราอยู่ในนั้นไหม หรือ มีสิ่งนั้น-สิ่งโน้น-สิ่งนี้ คนนั้น-คนโน้น-คนนี้ ภายนอกนู่น-นั่น-โน่น-นี่ไปทั่ว..แต่กลับไม่มีเราอยู่ในนั้นเลย ทั้งๆที่มันกำลังเกิดขึ้นเห็นมีอยู่กับเราแท้ๆ..
    เวลาที่สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมันเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเองหรือสิ่งอื่นใด เราหรือที่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นหรือที่เป็นเรา เราหรือที่มีอยู่ในสิ่งนั้น สิ่งนั้นหรือที่มีอยู่ในเรา
    ปัญญา (มรรคและผล) คือ ความว่าง ความไม่มี อิ่ม ความสละคืน

    ธรรมทั้งปวงนี้ไม่มีในหนังสือ ล้วนเป็นทางเข้าเจริญปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ พระอรหันต์ที่ท่านได้กรุณาสอนแก่เราเป็นหังข้อหรือวิธีสั้นๆง่ายๆ แล้วเราเอามาเจริญปฏิบัติจนเห็นผลได้ และได้ทำซ็ำๆจนแน่ชัดในทางที่ดำเนินไป
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-28-2016 เมื่อ 11:39 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  9. Admax said:
    เคล็ดลับการทำสมาธิให้เข้าสมาธิได้ไว

    การเข้าสมาธิ โดยความเข้าใจส่วนตัวของเราว่า เป็นวสีที่เราทำ และ ทำได้บ่อยที่สุด

    ก. "น้อมใจไปไม่ยึดเอากาย ตัดกาย คลายอุปาทานรูปขันธ์ ไม่ยินดีในกายให้ได้ก่อนทำสมาธิ"

    ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า..หากปลงใจได้ ก็เข้าธรรมได้ง่าย จิตตั้งมั่นง่าย

    1. เพราะมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ ตัดทางโลก ไม่ยินดีในทางโลก แม้สิ่งภายนอกที่ตนเคยรับรู้สัมผัสมาทั้งปวงก็ตาม มีสัมปะชัญญะตั้งมั่นในปัจจุบัน มีสติจับตั้งไว้เพียงปัจจุบัน น้อมใจลงธรรมตั้งมั่นที่จะเจริญในกรรมฐาน เพื่อทำสมาธิละความยินดีในโลก ไม่ตั้งจิตถวิลหาสิ่งที่ล่วงมาแล้วอันตั้งขึ้นเป็นอารมณ์แล้วทำให้ใจหดหู่ ไม่ตั้งจิตถวิลหาสิ่งที่ตนไม่เคยรู้ไม่เคยสัมผัส ไม่ตั้งจิตอนุมานสิ่งที่เป็นเบื้องหน้าที่ยังมาไม่ถึง


    2. ไม่ยินดีในกายนี้ คือ รูปขันธ์(ร่างกาย, อาการทั้ง ๓๒ ม้างกายออกจนไม่เป็นตัวตน ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ของสิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ตัวตน, ธาตุ ๕ คือ ดิน(แค่นแข็ง-อ่อนนุม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น) น้ำ(เอิบอาบ ซาบซ่านไหลเวียน) ลม(เคลื่อนตัว พัดไหวไป ลมหายใจ ลมในกระเพาะอาหาร) ไฟ(อาการที่ร้อน ให้ความอบอุ่นในร่างกาย) อากาศ(ที่ว่างอันเป็นที่อาศัยของแก๊ซหรือก๊าซตามธรรมชาติ ตด ก็เป็นอากาศอันมีแก๊สอัดแน่นอยู่ ), กายนี้ประชุมไปด้วยโรค ความเจ็บป่วยอาพาตทั้งหลาย ความแก่ และ ความตายดับสูญสลายไปเป็นที่สุด ไม่คงอยู่ยั่งยืนนาน ประครองดูแลลำบาก ไม่เป็นที่สำราญใจ หาสิ่งใดดีๆไม่ได้เลย)


    3. เมื่อเห็นดังนี้แล้วจิตน้อมเกิดความเบื่อหน่ายในกาย ให้ตั้งจิตมั่นว่าจักทิ้งกายนี้ไปเสียได้.. มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน มันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่มัน มันไม่ใช่ตันตน เอาใจเข้ายึดครองมันไว้อยู่ก็รังแต่จะเจ็บ จะป่วย อาพาต ปวด เจ็บ คัน เต็มไปด้วยโรคนั่น โน่น นี่ ปวดขี้ ปวดเยี่ยว กินข้าว ต้องพยุงกายอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายมันก็ตาย เราก็ต้องเป็นอนัตตาต่อกายนี้ คือ ไม่มีใจครองกายนี้แล้ว ดวงจิตก็เดินทางไปต่อตามบุญและกรรมสืบไป เหมือนคนตาย พอหมดลมหายใจก็ตาย ตายแล้วไม่ใช่เพียงกายเป็นอนัตตาต่อเขา แต่ดวงจิตเขาเองก็เป็นอนัตตาต่อกายนี้ ไม่มีใจเข้ายึดครองมันอีก


    4. ตั้งจิตมั่นไม่ยินดี ไม่เอาใจเข้ายึดครองกายนี้อีก สิ่งที่เป็นปัจจุบันในกายนี้ เป็นของแท้มีอยู่ก็เพียง กายสังขาร หรือ กายลม คือ ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกนี้เท่านั้นเ


    ๑. การทำ "อานาปานสติ" ให้เอาจิตตั้งมั่นปักหลักปักตอไว้รู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกไม่ไหวเอนไปตามลม, ถ้าเพ่งจุดปลายจมูกไม่ได้รู้สึกมึนปวดหัว ให้ลองเอาจิตดูลมหายใจที่เคลื่อนผ่านเข้าโพรงจมูกมันเคลื่อนไปลึกสุดตรงไหน และ ลมหายใจออกผ่านตรงใดออกจากโพรงจมูกไป หรือ ทำตามหลักท่านพ่อลีสอน ดูตามจุดที่ลมเคลื่อน ปลายจมูก หว่างคิ้วหรือหน้าผาก กลางกระหม่อม กลางโพรงกระโหลก ท้ายทอย ลำคอกลวง หน้าอก ท้องน้อย เมื่อหายใจออกก็ย้อนกลับไปทีละจุดวนกลับไป, แต่หากที่สุดแล้วยังทำไม่ได้ ยังปวดหัว ไม่เป็นที่สบายก็ให้ดูสัมผัสลมที่จุดหน้าอก ถ้าทำแล้วแน่นหน้าอกหายใจลำบาก ให้เพ่งมารู้สัมผัสลมผ่านที่ท้องน้อยหากรู้สึกปวดหน่วงเหมือนปวดปัสสาวะ หรือหายใจลำบากเพราะจิตมันไปบังคับท้องกับลมหายใจใก็ห้ทำตัวตามสบายให้เพียงแค่มีสติรู้ว่าตนกำลังหายใจเข้าและกำลังหายใจออกก็พอ


    ๒. การทำ "สัมปะชัญญะ" ความรู้ตัวในปัจจุบัน เป็นการฝึกไม่ให้ตนคิดฟุ้งซ่านสืบต่อจากสิ่งที่รู้เห็นหรือดำเนินไปในปัจจุบันขณะ เมื่อรู้ตัวว่ากำลังทำสมาธิอยู่จิตจะวอกแวกน้อย เพราะสัมปะชัญญะนี้จะช่วยไม่ให้จิตฟุ้งซ่านส่งจิตออกนอก เมื่อเจริญคู่ "อานาปานสติ" ซึ่งอานาปานสตินี้มีคุณมากเป็นกรรมฐานที่รู้ปัจจุบัน เป็นปัจจุบันโดยเฉพาะ คือ รู้ลมหายใจเข้า หายใจออก เป็นการรู้ปัจจุบันขณะ จะทำให้ละความฟุ้งซ่าน ติดคิด ติดสมมติความคิดไปได้ ..ดังนั้นครูบาอาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า คนที่ฟุ้งซ่านให้เจริญ อานาปานสติ

    ๓. หากจิตไม่มีกำลังอยู่ลมหายใจได้ไม่นาน ให้ทำ "พุทธานุสสติ+อานาปานสติ" โดยก่อนทำให้เราตั้งใจไว้มั่นแน่วแน่ในศรัทธาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระศาสดาว่า พระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยคุณมีพระเมตตา และ พระกรุณาดุจห้วงมหรรนพ, ก็กิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้าได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า.. อระหังคือ ผู้ไม่มีกิเลส, สัมมาสัมพุทโธ คือ ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง, สุคะโต คือ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, โลกะวิทู คือ เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง รู้แจ้งสังขารโลก รู้แจ้งในเหตุทั้งปวง พร้อมทั้งความเป็นไป ให้เกิดผล รู้แจ้งในกรรมของสัตว์ทั้งปวง, ปุริสทัมมสารถิ คือ เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าให้ถึงความพ้นจากกองทุกข์ตาม สัตถา เทวะมนุสสานัง คือ เป็นครูผู้สอนทางกุศลหลุดพ้นจากทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,พุทโธคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,ภะคะวา คือ ผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ มีทั้งเบื้องต้น คือ ธรรมที่เห็นง่าย เข้าใจง่าย สัมผัสได้ง่าย สอนทำสะสมเหตุให้ดำเนินไปสู่ผล คือ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา, มีทั้งท่ามกลาง คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ และ สัมโพชฌงค์ธรรมเครื่องตรัสรู้, มีทั้งขั้นสุด คือ ธรรมวิมุตติธรรม ถึงความดับทุกข์
    ดังนี้แล้ว..เมื่อผู้ใดน้อมระลึกถึงแม้พระนามของพระพุทธเจ้า ว่า.. "พุทโธ" จึงเป็นความหน่วงนึกคิดระลึกถึงอันไม่มีโทษ ทำให้ผู้ระลึกถึงนี้ปราศจากกิเลสตัณหา กามราคะ โทสะ โมหะ ความฟุ้งซ่าน ความสะดุ้งหวาดกลัว ทำให้ผู้ระลึกถึงดำรงอยู่ด้วยมีสติสัมปะชัญญะ มีจิตตั้งมั่นชอบในปัจจุบัน พร้อมด้วยปัญญาไม่ในล่วงสิ่งที่ชั่ว จักเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามพระศาสดา แม้เมื่อตายตอนระลึกถึงก็ไม่ล่วงอบายภูมิ แล้วหน่วงนึกระลึกถึงว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ปัจจุบันเห็นเห็นของจริงต่างหากจากสมมติของปลอม ตื่นจากสมมติ หลุดพ้นจากสมมติของปลอมทั้งสิ้นนี้ พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า เป็นนามของพระพุทธเจ้า เมื่อกล่าวพุทโธ คือ การการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทำพุทโธให้เป็นลมหายใจ ให้จิตมันระลึกถึงมีพระพุทธเจ้าอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ความคิดถึงพุทโธนี้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้านั้นปราศจากเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์โดยสิ้นเชิง หน่วงนึกระลึกถึงแล้วไม่มีโทษ แต่กลับทำให้จิตมีกำลัง เป็นกุศล ปราศจากกิเลสตามพระพุทธเจ้า บริกรรมพุทโธนี้ดีสุดไม่มีอื่นใดเทียบ "เราจักกรรมฐานหน่วงนึกบริกรรมว่า..พุทโธ..นี้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา, เราจักกรรมฐานหน่วงนึกบริกรรมว่า..พุทโธ..นี้เพื่อทำจิตของเราให้เป็น..พุทโธ..ตามพระพุทธเจ้า องค์พระบรมศาสดา"แล้วหายใจเข้าบริกรรมพุท หายใจออกบริกรรมโธ พึงตั้งมั่นจักไม่ยึดเอากายนี้อีก จดจ่อรู้อยู่ที่พุทโธทุกลมหายใจเข้าออกเท่านั้น
    ** ผู้ที่ระลึกบริกรรมพุทโธไม่ได้ เพราะยังไม่มี สัทธินทรีย์ คือ ศรัทธาพละ ต่อ พระพุทธเจ้า


    ๔. หากทำพุทโธแล้วจิตยังไม่นิ่งให้ทำ "มรณัสสติ+อานาปานสติ" โดยตั้งจิตระลึกถึงความตาย ก่อนทำให้หน่วงนึกตรึกคิดว่า เราจักตาย เราจักเป็นอนัตตาต่อกายนี้ คือ ไม่มีตัวตนต่อกายนี้อีก ไม่มีจิตเข้ายึดครองกายนี้อีก กายนี้จักเป็นอนัตตาต่อเราเมื่อตาย เราจักไม่ยังกายนี้อีก หายใจเข้าเราก็จักตาย หายใจออกเราก็จักตาย เมื่อจะตายอยู่แล้วอย่าให้ตายเพราะกิเลสตัณหาเลย อย่าเอากิเลสตายตามเราไปเลยมันจักไม่ล่วงพ้นอบายภูมิ ดังนั้นโยนกิเลสนั้นทิ้งไปเสีย มารู้เพียงลมหายใจนี้พอ ไม่มีลมหายใจเราก็ตาย แขนขาด ขาขาด ตัดไตออกข้างนึง ตัดไส้ออกเราก็ยังไม่ตาย แต่หมดลมหายใจนี้เราตายเลย พระพุทธเจ้าให้ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก เป็น มรณัสสติ อันเป็นหนึ่งในกรรมฐานแห่งอนุสสติ ๑๐ จะหายใจเข้าระลึกบริกรรม มรณัง หายใจออกระลึกบริกรรม มรณัง กำกับรู้ว่าจักตายหายใจเข้า จักตายหายใจออกทุกลมหายใจนี้ไปก็ได้

    **การเจริญแบบนี้เป็นการตัดนิวรณ์ ตัดเรื่องราวทางโลก เพราะธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันติดสมมติ สัมปะชัญญและสตินี้ช่วยให้เป้นปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอก


    **เพราะละความยึดมั่นกับสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ได้ ไม่ยินดีในกายทางโลกนี้อีกแล้ว
    "เพราะละจิตที่ยึดเหนี่ยวอุปาทานรูปขันธ์ได้ จิตจึงตัดทางโลกยกเข้าทางธรรมสมาธิได้ " และ"เพราะละสมมติอุปาทานทางโลกได้ จึงเห็นทางธรรมได้"



    ** เจริญตามนี้ขั้นต่ำได้ ขณิกปิติ(มีอาการที่วูบหนึ่งจิตดิ่งเข้าความสงบ ความใส่ใจในภายนอกน้อยลง จิตส่งออกนอกน้อยลง), ขณิกสมาธิ(สงบ) ความสงบ สบายกาย สบายใจ ภาวะที่เหมือนอบอุ่มสบายกาย ร่มเย็นสบายใจ จิตเริ่มมีกำลัง เมื่อเจริญไปเรื่อยๆภาวะอะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมันสักแต่ว่ารู้ว่ามีอาหารนี้ๆเกิด มันจะคิดอะไๆรก็ปล่อยมันคิดไป รู้ว่ามันคิดไม่ต้องหยุด ไม่ต้องห้าม ให้มีสติสัมปะชัญญะเป็นพอ จิตมันเมื่อไม่ติดในสงบหรือความปรุงแต่งนึกคิด มันจะดิ่งลงลึกเข้าไปอีก เรียกว่าเพราะละสภาะของขณิกสมาธิได้ ไม่ตั้งมั่นให้คงสภาวะนั้นไป ไม่มีกลัวมันวูบดิงไปอย่างไรก็ปล่อยมันไป แล้วจิตมันจะดิ่งลงสู่อุปจาระสมาธิเอง บางครั้งรับรู้ไม่ทันจิตก็เข้าปฐมฌาณเลยเป็นภาวะที่เหมือนจะมีความคิดแต่้ก็ไม่มีความคิด จะว่าความคิดไม่มีก็ไม่ใช่ มันหน่วงตรึกนึกแล่้วก็นิงแช่ แต่เรื่องราวไรๆมันดำเนินไปอยู่ แล้วก็ไม่มีความคิดมีแต่ว่างสลับกันไปมา จนกล่าจิตจะลงลึกอีก จึงจะแช่ว่างรู้ภาวะอยู่เท่านั้น



    ละอุปาทานความงุ่นง่านใจกับอารมณ์ภายนอก และ ความคิดภายใน

    ข. น้อมใจไปไม่ยึดเอาจิต ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่ยึดวิญญาณขันธ์ คลายอุปาทานเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    5. ไม่ยินดีในสมมติอารมณ์ความรู้สึกหน่วงนึกตรึกคิดทั้งปวง เวทนา, สัญญา, สังขาร มีใจวางไว้กลางๆไม่เอนเอียงตามด้วยรู้ว่า เป็นสมมติ เมื่อเราหลงตามมัน เราก็รู้แต่สมมติ เข้าใจแต่สมมติ รู้สึกแต่สมมติ จดจำแต่สมมติ ตรึกคิดคำนึงถึงแต่สมมติ

    6. ไม่ยินดีใน วิญญาณ(ความรู้สัมผัสทั้งทางกายและใจ) ด้วยสำเหนียกว่า จิตนี้มันเก่ง มันรู้ทุกสิ่ง แต่สิ่งที่มันรู้ มันรู้เพียงสมมติของปลอมเท่านั้น ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่ว่าจะคัน ไมว่าจะเจ็บ ไม่ว่าจะปวด ไม่ว่าจะสุข ไม่ว่าจะทุกข์ ไม่ว่าถวิลใจติดใคร่ แสวงหาอยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่ว่าจะความกระสันกำหนัดนักในใจ ไม่ว่าจะความโกรธแค้น อาฆาต ความติดข้องใจหลงอยู่ในกิเลสทั้งปวง ความรู้สัมผัสแล้วเห็นว่าเป็น คนก็ดี สัตว์ก็ดี สิ่งของก็ดี เวทนาสุข-ทุกข์-เฉยๆก็ดี เห็นเป็นนามก็ดี เห็นเป็นรูปก็ดี ทั้งหมดล้วนแต่รู้โดยสมมติทั้งสิ้น ดังนี้แล้วอย่าไปติดข้องใจสิ่งใดกับมันแค่รู้แล้วก็ผ่านเลยไป



    - เหมือนพระอาจารย์ณัฐพงษ์ท่านกล่าวว่า.. หลวงปู่ฝั้นสอนว่า.."ให้ทำสมาธิเหมือนเราขัยบรถเดินทางไกล เจออะไรก็ไม่ต้องไปใส่ใจมัน มันก็แค่สิ่งที่อยู่ข้างทางทั่วไปๆไปที่มีอยู่ตลอดแนวทาง"


    - เหมือนหลวงน้าพระครูแก้วท่านสอนเราว่า.."สิ่งนี้ๆก็เพียงแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบที่มีเกิดมาให้เราเห็นเรารู้ทางใจตามปกติ มันไม่มีอะไรสลักสำคัญไปกว่านั้น ความจริงมันเป็นอยู่อย่างนั้น เท่านั้นเอง ให้รู้ เห็นว่าเป็นปกติของจิต แล้วก็วาง ไม่ต้องไปใส่ใจยึดอุปาทานมัน"


    - เหมือนหลวงพ่อเสถียรท่านสอนเราว่า.."จิตมันรู้ทุกสิ่ง แต่จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นล้วนเป็นสมมติทั้งสิ้นไม่มีของจริงเลย ..กิเลสนี้มันฉลาดอาศัยอายตนะ ๑๒ เป็นเครื่องล่อจิตให้ติดหลงสมมติของปลอมจากการกระทบสัมผัสของอายตนะทั้งหลาย เมื่อจิตมันรู้จักแค่สมมติมันจึงไปอุปาทานเอาของปลอมทั้งหลายมาเป็นเครื่องยึดลุ่มหลง ยิ่งยึดสิ่งที่จิตรู้มันไปมากเท่าไหร่ก็มีแต่ทุกข์มากเท่านั้น เมื่อเราไม่ยึดจิตมันก็ก็ไม่ทุกข์ เพราะไม่ยึดติดสมมติของปลอม"


    - เหมือนหลวงปู่บุญญกู้ท่านสอนเราไว้ว่า.."จิตมันรู้แต่ของปลอมมาเยอะ มันจึงยึดแต่ของปลอมมาตลอด เราต้องฝึกสะสมเหตุให้มาก ทำเหตุให้มากๆ คือ ทาน ศีล ภาวนาไม่ขาดให้จิตมันมีกำลังมาก ทานทำให้อิ่มใจ ศีลทำใจเย็นใจ ภาวนาอบรมจิตทำให้จิตมีกำลังมาก เมื่อจิตมีกำลังมากก็เข้าไปเห็นของจริงบ่อยๆ สิ่งที่เห็นมันมีทั้งจริงและไม่จริง นิมิตนี้เราเอามากำลังหนดดูเพื่อละกิเลสได้ เวลากำหนดนิมิตให้จิตตั้งมั่นอธิษฐานให้เล็กได้ ใหญ่ได้ ดูมุมไหนก็ได้ แล้วค่อยอธิษฐานกำหนดไปเพื่อให้เราละกิเลส เช่น การม้างกาย เมื่อรู้ว่าจิตมันเห็นสมมติมากกว่าของจริง หากเห็นอะไรแล้วไม่แน่ใจว่าจริงไหมก็ให้ถอยออกมาก่อนแล้วค่อยเข้าไปดูมันใหม่ ทำซ้ำๆจนแน่ชัดในสิ่งที่เห็น เมื่อเห็นบ่อยๆมากๆสะสมไปเรื่อยๆ จิตมันก็คลายอุปาทานลงไปเรื่อยๆ มันก็ละความติดหลงสมมติของปลอมลงไปเรื่อยๆ เมื่อบารมีธรรมเต็มเราก็จะถึงธรรม


    ละความเข้าไปยึดอุปาทานตัวตนจากผัสสะทางสฬายตนะ


    - รู้ทางตา ก็เห็นแต่สมมติของปลอมอุปาทานตัวตนที่กิเลสสร้างขึ้น(รู้ว่าที่เห็นนั้นเป็นคน สัตว์ สิ่งของไรๆ สวย งาม ไม่สวย ขี้เหร่ รู้ว่าเห็นนั่นโน่นนี้ก็เป็นสมมติแล้ว)
    - รู้ทางหู ก็ได้ยินเพียงสมมติของปลอมอุปาทานตัวตนที่กิเลสสร้างขึ้น(รู้ว่าเสียงนั่นคือเสียงคน เสียงหญิง เสียงชาย เสียงเด็ก เสียงผู้ใหญ่ เสียงคนแก่ เสียยงผู้หญิงหรือผู้ชาย เสียงนก เสียงหมา เสียงแมว เสียงรถ เสียงฝน เสียงพัดลม รู้ว่าเป็นเสียงก็สมมติแล้ว)
    - รู้ทางจมูก ก็รู้กลิ่นโชยตามลมพัดมาแค่สมมติของปลอมอุปาทานตัวตนที่กิเลสสร้างขึ้น(รู้ว่ากลิ่นว่านั่นกลิ่นเหม็น กลิ่นหอม กลิ่นไหม้ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นดอกไม้ กลิ่นกับข้าวอาหาร กลิ่นนี้ชอบ กลิ่นนี้เกลียด รู้ว่าเป็นกลิ่นก็สมมติแล้ว)
    - รู้ทางลิ้น ก็รู้รสโดยสมมติของปลอมอุปาทานตัวตนที่กิเลสสร้างขึ้น(รู้รสหวาน รสขม รสเค็ม รสเปรี้ยว รสจืด รู้รสเป็นชาติไรๆก็สมมติแล้ว)
    - รู้ทางกาย ก็รู้สัมผัสกายโดยสมมติของปลอมอุปาทานตัวตนที่กิเลสสร้างขึ้น(รู้ว่านี่แข็ง รู้ว่านี่อ่อน รู้ว่านี่ร้อน นี่เย็น นี่ชุ่ม นี่เอิบอาบ นี่หนืดเหนียว นี่ข้น นี่แหลม นี่คัน นี่เจ็บ นี่คือทิ่ม ที่นุ่มสบาย รู้ว่ากายตนรู้สัมผัสอาการไรๆก็สมมติแล้ว)
    - รู้ทางใจ ก็รู้แต่สมมติ (รู้แต่อุปทานตัวตนที่กิเลสสร้างขึ้นมาแล้วทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย รู้สมมติตัวตนในสิ่งที่ดับไปแล้วบ้าง หน่วงนึกเอาแต่สิ่งที่ดับไปแล้วขึ้นมาระลึกหน่วงนึกสมมติเรื่องราวเอาใหม่บ้าง รู้สมมติอนุมานสิ่งที่ยังมาไม่ถึงบ้าง รู้สมมติตัวตนเหล่าใดอันทำให้เกิดความถวิลหา แสวงหา กระสันอยากบ้าง ไม่เคยรู้ของจริงเลย มันเหมือนหลอดไฟ..พอมีอะไรให้มันรู้ก็เหมือนกดสวิทซ์เปิดใช้ไฟ เมื่อจะดับความรู้นั่นสวิทซ์ไฟก็ถูกปิดจิตก็ไม่รู้เห็นสิ่งนั้น แต่คนเปิดสวิทซ์นั้นกลับไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา มันเป็นไปเองของมัน ติด-ดับ(เกิด-ดับ)ไปเรื่อยตามแต่มันอย่างนั้น บังคับไม่ได้ ปุถุชนอย่างเรานี้เมื่อมันติดมันรู้ มันก็รู้เห็นโดยสมมติเท่านั้น)







    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 08-12-2016 เมื่อ 10:50 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  10. Admax said:




    บันทึกคำหลวงพ่อสอนที่พอจะหวนระลึกได้ โดยบันทึกกอปรกับความเข้าใจของตัวเราเอง หลวงพ่อเสถียร ธีรญาโน ผู้เป็นพระอรหันต์ วัดถ้ำผาแดงผานิมิต บ.ดงเย็น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นศิษย์ในหลวงตาสิริ อินทระสิริ ผู้เป็นพระอรหันต์สายพระป่าอีกท่านหนึ่ง วันที่ 2-4 ม.ค. 58 เรามีโอกาสได้เข้าไปขอพระกรรมฐานท่านด้วยเพราะเป็นเพื่อนกันกับบุตรชายท่าน ซึ่งบุตรชายท่านก็จะบวชตลอดชีวิตในวันที่ 26 ม.ค. 58 ตอนนี้ได้เข้านาคอยู่ ณ วัดป่าที่เชียงยืน
    วันที่ 5 ม.ค. 58 วันครบรอบวันตายเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา เราได้มีโอกาสพาแม่และเป๋าเป่าไปใส่บาตรท่านเป็นผู้แรกในวันครบรอบวันนิพพานของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ผู้เป็นพระอรหันต์และเป็นครูอุปัชฌาย์เรา

    มีคำสอนที่พอจะหวนระลึกได้แล้วบันทึกไว้ตามความเห็นความเข้าใจของเราดังนี้

    หลวงพ่อได้สอนมาง่ายๆ ตั้งแต่


    - ศีล เป็นฐานของทุกสิ่ง ให้มีศีลให้ดี ทานจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีศีล ถ้าจะภวายทาน หรือ สังฆทานใดๆ ท่านก็ให้เป็นผู้มีศีลก่อน ทานนั้นจึงจะสำเร็จได้ (พระอรหันต์ทุกๆองค์ก็สอนเรามาเช่นนี้) หลวงพ่อสอนให้ถือกรรมบถ ๑๐ เพราะเป็นศีลของพระอริยะเจ้า มีพระโสดาบันขึ้นไป(เราได้คุยกับบุตรชายหลวงพ่อตอนนำเกสาที่ปลงเข้านาคของบุตรชายท่านไปลอยน้ำที่แม่น้ำชี ณ อำเภอชนบท เนื่องจากบุตรชายท่านทำสมาธิแล้วเกิดนิมิตว่า กรรมบถ ๑๐ คือ มรรค เมื่อได้ถกอนุมานเหตุปัจจัยและผลนั้นตามสมควรแล้วก็เห็นว่า กรรมบถ ๑๐ คือ มรรคศีล (มรรคนี้ประกอบสงเคราะห์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา)


    - ทาน จะบริบูรณ์ได้ ก็ต้องมีศีลก่อนเท่านั้น ศีลจึงเป็นฐานของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น พรหมวิหาร ๔ ทาน สติ สมาธิ ปัญญา


    - ศีลใช้ละกิเลสอย่างหยาบ สมาธิใช้ละกิเลสอย่างกลาง(อุปกิเลส) ปัญญา
    (ยถาภูญาณทัสสะ ความรู้เห็นถูกต้องและตรงตามจริง ซึ่งเป็นไปในนิพพิทาวิราคะ)ใช้ละกิเลสอย่างละเอียด(อนุสัยกิเลส)
    - เวลาทำสมาธิ ก็ให้รู้ลม บริกรรมพุทโธไป อย่าทิ้งลม อย่าทิ้งพุทโธ พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อจิตมันคิดก็รู้ว่ากำลังคิด อย่าติดความคิดอย่าติดนิมิต นิมิตที่เห็นก็แค่สมมติที่จิตมันสร้างขึ้นหลอกให้เราหลงให้ยึดมั่นถือมั่นในมันมันเป็นเครื่องมือของกิเลสทั้งนั้น จิตจริงๆเดิมๆนั้นมันว่างไม่มีอะไรเลย อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน ให้กลับมาอยู่ที่ลมหายใจ อยู่กับพุทโธไปมิให้ขาด (โดยส่วนตัวเราเมื่อพิจารณาแล้วเห็นตามจริงที่หลวงพ่อสอนว่า เมื่อจิตคิดก็รู้ว่า สิ่งที่คิดก็คือสมมติ นิมิตที่เห็นก็แค่สมมติที่จิตมันสร้างขึ้นหลอกให้เรายึดมั่นหลงตาม จิตรู้สิ่งที่คิดก็เป็นสมมติ จิตรู้สิ่งใด คิดสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งนั้น อย่าไปยึดสมมติ อย่าไปหลงตามนิมิตสมมติของกิเลส ของจริงคือลมหายใจ คือ กายสังขาร ลมหายใจเป็นกายสังขาร เป็นกายละเอียด ส่วนอาการทั้ง ๓๒ เป็นกายหยาบ (ซึ่งไม่ได้หมายถึงกายหยาบกายละเอียด มโนมยิทธิแต่อย่างใด แต่เป็นกายหยาบกายละเอียดที่พิจารณาปฏิบัติกรรมฐานล้วนๆเท่านั้น)

    - ไม่ต้องไปแยกวิตกวิจาร มันมาด้วยกัน วิตกคือพุทโธ จิตอยู่กับพุทโธคือวิจาร ไม่ต้องไปอ่านจดจำอภิธรรม ให้สะสมศีล ทาน สติ สมาธิ ปัญญาพิจาณาเห็นธรรมชาติ เห็นไตรลักษณ์ของมันไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาที่บารมีมันเต็มก็จะมีคนมาไขปัญญาอันแยบคายให้เอง เมื่อนั้นอภิธรรมทั้งหลายจะเกิดให้เห็นหมดสิ้นเอง




    - กาย ขันธ์ ๕ แยกกาย(วิชาม่างกายในสายพระป่า หรือ วิชาสลายธาตุในมัชฌิมาแบบลำดับ) แยกอาการทั้ง ๓๒ จนไม่เหลือสมมติ หรือ แยกอาการทั้ง ๓๒ ออก สงเคราะห์ลงตามจริงจนเหลือเพียง ธาตุ ๖ คือ ดินธาตุ น้ำธาตุ ลมธาตุ ไฟธาตุ อากาศธาตุ(ช่องว่างในกายในธาตุทั้งปวง) วิญญาณธาตุ(ตัวรู้ทั้งปวง รู้ผัสสะ รู้นามรูปทั้งปวง)

    - สฬายตนะ อายตนะภายใน ๖ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (สฬายตนะเป็นเครื่องมือของจิต เป็นเครื่องต่อให้เกิดกิเลส) เป็นเครื่องต่อให้เกิด วิญญาณ+ผัสสะ ใน สี(รูป) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ สังขารขันธ์ทั้งปวงเป็นต้น สมมติบัญญัติทั้งปวง ไปจนถึง นิพพาน)

    - วิญญาณธาตุ(ตัวรู้ทั้งปวง รู้ผัสสะ รู้นามรูปทั้งปวง แต่รู้เพียงสมมติบัญญัติ วิญญาณตา วิญญาณหู วิญญาณจมูก วิญญาณลิ้น วิญญาณกาย วิญญาณใจ (ธรรมารมณ์)) สุดท้ายจนเหลือเพียงแค่สภาวะธรรมไม่มีแม้แต่ชื่อธาตุไรๆทั้งนั้น ไม่มีสภาวะธรรมไรๆที่เป็นชื่อเป็นสมมติบัญญัติ มีแต่สภาวะธรรมล้วนๆ

    - จิตนี้ เมื่อรู้อารมณ์ไรๆแล้ว ก็เข้าไปยึดมั่นเกาะเกี่ยวเอาแต่สมมติที่รู้สัมผัสนั้นเป็นเหตุให้เกิดเวทนา จึงเป็นทุกข์

    - อารมณ์พระนิพพานเป็นไฉน มีปฐมฌาณเป็นต้น มีความว่าง ว่างเท่านั้น ไม่มีอะไรเลย มีแต่ว่าง จะรู้ก็สภาวะธรรม เห็นโลกเป็นของว่างทั้งหมด

    - วิชาม้างกาย.. เข้าอุปจาระฌาณ ปฐมฌาณ พิจารณาอาการทั้ง ๓๒ ประการ เช่น ถอดเล็บ ถอดผม ถอดขน ถอดฟัน ถอดหนัง ถอดก้อนเนื้อ ถอดเส้นเอ็น ถอดเลือด นสมอง ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ถอดกระดูก ออกมากองๆไว้ก็ไม่มีอะไรทั้งสิ้นที่เป็นเรา ม้างออกมาพิจารณาอย่างหนึ่งก็ได้

    .. เช่น เส้นผมนี้ที่หลุดร่วงออกมาจากกายนี้ เส้นผมนั้นหรือที่เป็นเรา เราหรือที่เป็นเส้นผม เส้นผมมีเราในนั้นไหม มีเราในเส้นผมนั้นไหม หากเส้นผมนั้นเป็นเราแล้ว มันร่วงออกมาทำไมเรายังไม่ตายหนอ และเราก็ต้องบังคับให้มันไม่หงอกไม่ร่วงได้ใช่ไหม แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเลย แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรมากล่าวว่า เส้นผมนั้นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนแห่งเรา เราเป็นเส้นผม มีเราในเส้นผมได้เล่า ..แล้วเมื่อเส้นผมมันหงอกหรือหลุดร่วงออกมาแล้ว..มันมีค่าเกินกว่าสิ่งหนึ่งๆที่มีอยู่ทั่วไปในโลกที่มีสัมผัสอันอ่อนนุ่ม หรือแข็งไหม แล้วที่สุดมันก็ย่อยสลายไปตามกาลเวลาและความปรุงแต่งแปรปรวนเป็นไปของมันใช่ไหม ไม่คงอยู่ได้นานเลย ดังนี้แล้วจะเอาอะไรมากล่าวมายึดได้ว่าเส้นผมมีในเรา เพราะมันก็แค่สิ่งที่มีลักษณะอ่อนบ้างแข็งบ้างตามธรรมดาทั่วๆไปในโลกสิ่งหนึ่งเท่านั้น เหมือนที่เรารู้สึกได้กับสภาพแวดล้อมทั่วไปรอบๆตัวของเรานั่นเอง แม้นเมื่อเราม้างกายถอดอาการทั้ง ๓๒ ประการที่เหลืออยู่นั้นออกมากองๆไว้ ก็ไม่สามารถจะเข้าไปยึดครอง หมายมั่นสิ่งไรๆได้ว่า นั่นเป็นตัวตน เพราะจะมีให้เห็นอยู่ก็เพียง อาการทั้ง ๓๒ ประการทั้งหลายเหล่านั้นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่มีในเรา เราไม่มีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นเรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน แต่อาศัยเอาสิ่งนั้นๆมาประกอบสงเคราะห์เข้าร่วมกัน จึงสมมติเอาสิ่งที่รวมๆกันขึ้นมานี้ว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเราหรือใคร บุคคลใด สัตว์ใด สิ่งใด เท่านั้นเอง พระโสดาบันขึ้นไปท่านเห็นอย่างนี้
    (เหตุนี้จึงทำให้เราเข้าใจได้ว่า กายานุปัสสนาที่พระป่าสอนกันนี้เพื่อให้จิตน้อมสู่อริยะผลมีพระโสดาบันเป็นพื้นฐาน ส่วนคนที่ไม่ใส่ใจ เพราะอ่านเอามามากจะไม่รู้ว่า กายานุปัสสนามีไว้เพื่อดับอนัตตาในกายนี้ เพื่อไม่ยึดกาย เพื่อสะสมสำเร็จเป็นพระโสดาบันในขั้นต่ำ จึงสืบไปถึงพระอรหันต์ได้ง่าย บางคนมักมองข้ามว่าพระโสดาบันแค่มนุษย์ทั่วไป ต่ำสุดในพระอริยะ แต่ลืมคิดไปว่า ปัจจุบันเราเป็นแค่ปุถุชน เห็นเหมือนพระโสดาบันที่ตนว่าต่ำสุดในพระอริยะยังเข้าถึงไม่ได้ แล้วจะไปเห็นแบบพระอรหันต์ได้อย่างไรเล่า ยิ่งสะสมความหลงไปว่าธรรมนี้อ่อน ธรรมนี้สูง แล้วเอาแต่ท่องจำอนุมานเอา ยิ่งทำให้หลงไม่สิ้นสุด เมื่อเห็นผิด ที่เหลือก็ผิดทั้งหมด)


    - สฬายตนะเป็นเครื่องมือของจิต จะจิต จะวิญญาณ จะมโน ก็คือ วิญญาณธาตุ ก็คือตัวรู้เท่านั้น จิตทำหน้าที่รู้เท่านั้น จิตอาศัยสฬายตนะเป็นเครื่องรู้ สฬายตนะจึงขึ้นชื่อว่า "ทวาร ประตูรับรู้ของจิตทั้ง ๖ ทาง คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ"



    - อายตนะ ๑๒ เป็นเครื่องมือของกิเลส จิตรับรู้ได้ทางใด..จิตรับรู้ได้ทางใด กิเลสมันก็อาศัยทางนั้นแหละวางกับดักไว้หลอกให้จิตหลงตาม กล่าวคือ..เมื่อจิตเรารับรู้ได้ทางสฬายตนะ กิเลสนี้มันก็อาศัยอายตนะ ๑๒ นี้แหละเป็นเครื่องล่อจิตให้ติดหลง กิเลสมันลวงจิตให้รู้ผัสสะทางอายตนะโดยสมมติของปลอมนั่นเอง หลอกให้จิตลุ่มหลงสมมติของปลอมจากผัสสะนั้นๆ ดังนี้แล้วเมื่อจิตรู้ผัสสะโดยสมมติของปลอม จิตย่อมตั้งอยู่ในกิเลส ตัณหา อุปาทาน ..จะดับผัสสะได้ก็ต้องดับความรับรู้ทางสฬายตนะนั่นเอง ..ก็แล้วอะไรจะดับความรู้ทางสฬายตนะได้ ..ก็ดับที่ตัวรู้ คือ จิต หรือ วิญญาณขันธ์ ไม่เอาใจเข้ายึดครองใน สฬายตนะ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ นั่นเอง


    - เมื่อเราไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ด้วยเห็นว่าล้วนแต่เป็นสมมติทั้งสิ้น(เพราะปุถุชนอย่างเราๆนี้มันรู้ได้แค่นั้น) ก็เป็นการฝึกไม่ยึดการสัมผัสในสิ่งไรๆที่จิตรู้ทางสฬายตนะ เป็นการฝึกละความเอาจิตเข้าไปยึดครองสมมติจากผัสสะทาง อายตนะ ๑๒ นั่นเอง(ถ้าเราไม่หลงผิดไปก็จำได้ว่าเมื่อเราอบรมกายใจใน พรหมวิหาร ๔ กรรมบถ ๑๐ ทาน สมาธิ ด้วยเรามีสติเป็นเบื้องหน้าตั้งมั่นทำไว้ในใจหน่วงนึกระลึกถึงไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ด้วยเห็นว่าเป็นสมมติอย่างนี้ๆ ได้ประมาณสัก 1 เดือน เราก็ได้เห็น “สันตติขาดแต่มันก็มีทั้งจริงไม่จริงหรืออาจจะเป็นแค่เพียงเราเข้าใจผิดไปว่าเป็นสันตติขาดก็ได้ ต้องเข้าไปเห็นบ่อยๆทำให้ได้มากๆ หากปค่บังเอิญเข้าไปเห็นครั้งเดียวยังเชื่อไม่ได้ มันเป็นเพียงปกติอาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบเท่านั้น รู้ ปกติ วาง)

    - จิต คือ ตัวรู้ รู้ทุกอย่าง แต่รู้แค่สมมติบัญญัติ จิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์

    - จิตนี้..เป็นตัวรู้ ตัวยึด ตัวจับเอาสมมติทุกอย่างมาเป็นอารมณ์ ให้เกิดเวทนา พอเกิดเวทนา ก็เข้าไปยึดต่ออีก ให้เกิดเป็นกิเลสตัณหา จิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงตัวรู้ รู้เท่านั้น แต่มันรู้แค่สิ่งสมมติ ไม่รู้สภาพจริงหรือปรมัตถธรรมเลย






    **ตัวเฮาแท้ๆนั้น..มันมีแต่ความว่าง ว่างเท่านั้น บ่มีอิหยังเลย ธาตุกะบ่มี ขันธ์ ๕ กะบ่มี รูปนามกะบ่มี บ่มีอิหยังทั้งนั้น มันว่าง มันแปนไปเมิ๊ดเลย เห็นโลกเป็นของว่างเปล่าเมิ๊ดเลย แต่ย่อนเฮาอาศัยจิตนั้นแหละเป็นตัวฮู้ เป็นตัวเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาของปลอมของสมมติ มันจังเกิดเวทนา-สมมติเวทนา เกิดเห็นเป็นรูปเป็นนาม-สมมติรูป สมมตินาม เกิดสมมติปรุงแต่งแปรปรวนไปทั่ว แล้วกะเกิดกิเลสตัณหากำหนัดหนักตามมา ของแท้มันบ่มี ทุกอย่างในโลกนี้มันว่างเปล่ามันราบแปนไปเมิ๊ด เวทนากะบ่มี ธาตุกะบ่มี รูปนามกะบ่มี เวลาปฏิบัติครูบาอาจารย์เพิ่นจังบอกว่า..บ่ต้องไปอ่านไปจดจำมันหลาย บ่ต้องอยากไปฮู้รูปฮู้นาม ทำสมาธิพุทโธไปซื่อนี่แหละสะสมไป พอฮอดหม่องมันเห็นเองตั๊ว อบรมปัญญาทางธรรมนี่มันบ่แม่นไปจดจำตัวหนังสือในพระอภิธรรม อบรมณ์ปัญญาคือทำสมาธิภาวนาอบรมจิตให้ตั้งมั่นมีกำลังควรแก่งาน..ให้ตัวเฮานี้เข้าไปเห็นธรรมแท้ๆได้ดุๆหลายๆเห็นได้ตลอดเวลา**


    (ตัวเราจริงๆนั้นมีแต่ความว่าง ว่างเท่านั้น ไม่มีอะไรเลย แต่เพราะอาศัยจิตนั้นแหละเป็นเครื่องรู้ เครื่องยึดมั่นถือมั่น ทำให้เกิดเวทนาและรูปนาม เกิดสมมติบัญญัติ เกิดกิเลสตัณหาสืบมา)


    **หมายเหตุ คำว่าสมมติของพระอรหันต์นั้น มันกว้างกว่าสมมติบัญญัติในพระอภิธรรม**





    เมื่อรู้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรเกิดขึ้นมีพุทธานุสสติหรืออานาปานสติเป็นเบื้องหน้า เมื่ออกุศลธรรมดับไปแล้ว ก็ปล่อยให้มันดับไปก็อย่าไปหวนระลึกมัน ให้มันขึ้นมาอีก อย่าเข้าไปยึดมัน ปล่อยมันดับไปของมัน มันเกิดดับเป็นธรรมดา ดับไปๆก็ปล่อยมันดับไป มันเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป มันเป็นไปของมันช่างมันอย่าไปยึดเอามันสักแต่มีไว้รู้เท่านั้น



    ร่างกายเราก็เป็นเพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุเท่านั้นไม่มีสิ่งใด ทุกอย่างไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์

    เรื่องที่เราปวดขามันแค่เวทนา จริงๆร่างกายคือธาตุดิน มันไม่รู้อะไรทั้งนั้น ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ไม่รู้เจ็บรู้ปวดทั้งสิ้น จิตเท่านั้นที่เป็นตัวรู้ รู้เจ็บ รู้ปวด จริงๆแล้วความเจ็บปวดมันเกิดขึ้นและมันดับไปแล้ว แต่จิตมันรู้เจ็บแล้วไปยึดเอาความเจ็บนั้นมันจึงจับเอาอาการที่ว่าเจ็บปวดนั้นมาเป็นที่ตั้งอารมณ์ มันจึงเจ็บปวดสืบต่อไม่หยุด ทั้งๆที่ ที่จริงมันดับไปนานแล้ว แต่อาศัยจิตนั้นแหละเป็นตัวยึดอารมณ์นั้นๆ มันจึงเจ็บปวดไม่หยุด






    - ท่านพ่อลี ธัมมะธะโร สอนนั่งสมาธิ โดยเริ่มที่ฐานเป็นจุดเดิน ๕ จุด ให้ยึดไม่คลอนแคลนโครงเครงเหมือนหลักที่ปักแน่น ดังนี้คือ
    1. เริ่มต้นให้จับที่ปลายจมูกหรือโพรงจมูกรู้ลมเข้าออก หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ทำไปให้ถึง 10 อย่างนี้เสร็จรอบหนึ่ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 10 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 10)
    2. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 7 ครั้งนี้เสร็จรอบหนึ่ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 7 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 7)
    3. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 5 ครั้ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 5 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 5)
    4. จากนั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับเป็น 1 ลดลงมาเหลือเพียง 3 ครั้ง(ซึ่งเราเพิ่มเป็นนับถอยหลัง จาก 3 ลงมาถึง 1 ด้วย นี่จึงครบรอบนับ 3)
    5. จับที่โพรงจมูกทำจิตเบิกกว้างเปิดให้สบาย แล้วบริกรรม พุทโธ ไปธรรมดา ประมาณสัก 5 - 10 ครั้ง แล้วก็รู้ลมเข้าออกธรรมดาไม่ต้องบริกรรมก็ได้
    6. มีสติรู้ลมเข้าออกจิตจดจ่อจับ ๕ จุด คือ ปลายจมูก๑ → กลางหน้าผาก๑ → กลางกระหม่อมส่วนนอก๑ → โพรงกลวงในกระโหลกศีรษะ กลางสมอง(กระหม่อมภายในกลางกระโหลก)๑ (จุดนี้แหละที่ละทุกข์บรรเทาทุกข์เวทนาทั้งปวง) → กลางหน้าอก๑ (จากนั้นจะมาจับตามเฉพาะข้อที่ 5 ก็ได้)


    - หลวงพ่อเสถียร ก็สอนจุดเดินลมหายใจที่เหมือนๆกันแต่มี ๗ คือ
    ปลายจมูก๑ → กลางหน้าผากหรือกลางหว่างคิ้ว๑ → กลางกระหม่อมภายนอก๑ → กลางกระโหลกสมองหรือท้ายทอยบน๑ → คอจุดกลางลูกกระเดือก๑ → กลางหน้าอก๑ → สะดือ(นาภี)๑

    (ซึ่งที่หลวงพ่อสอนนี้ ถ้าหากเราจดจำหวนระลึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อสอนไม่ผิดเพี้ยน ก็จะเห็นว่าเป็นอันเดียวกับการเดินลมหายใจในสัมโพชฌงค์ ๗ ของมัชฌิมาแบบลำดับ)

    - คำสอนหลวงพ่อนี้ เมื่อเราจะหมายพิจารณาในขั้นต้นก็เห็นธรรมในขั้นต้น เมื่อจะหมายพิจารณาในขั้นกลางเป็นสมาธิก็เห็นในสมถะ เมื่อเราหมายจะพิจารณาด้วยปัญญาอันสืบต่อสมาธิก็จะเกิดปัญญาญาณทั้งปวง เมื่อเรามาวิเคราะห์ในธรรมเราก็พิจารณารวมสรุปที่หลวงพ่อสอนตั้งแต่ กาย -> สฬายตนะ -> ผัสสะ -> จิต(วิญญาณ มโน มนะ ตัวรู้ทุกอย่างคือ จิต) -> เวทนา -> {จิตที่รู้อารมณ์สมมติแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นให้เกิดกิเลสตัณหาสืบมา(วิญญาณ มโน มนะ ตัวรู้ทุกอย่างคือ จิต)} คือ อินทรีย์สังวร
    - พระอริยะเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะรู้ก็สักแต่รู้สภาวะธรรมรู้ว่าจิตรู้ผัสสะอันมีสภาวะธรรมนี้ๆเท่านั้นตัดขาดสมมติบัญญัติ ไม่มีตัวตน บุคคลใด มีแต่สภาวะธรรมไม่มีสมมติบัญญัติมีแต่ความว่าง ดังนี้แล้วเมื่อจิตรู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ ธาตุ รูป นาม อาการอย่างนี้ๆมีชื่อเรียกอย่างนี้ๆ จิตเกิดความคิด วิตก วิจาร อันนี้คือจิตรู้สมมติบัญญัติทั้งหมด เมื่อเข้าไปยึดเอาสิ่งที่รู้ก็เป็นเวทนา เป็นทุกข์ ดังนั้นจะดับเวทนาก็ดับที่ตัวรู้ คือ จิต ดับจิตที่รู้ผัสสะ รู้สมมติทั้งปวง
    เมื่อเราได้พิจารณาตามโดยแยบคายในเบื้องลึกแบบปุถุชนอย่างเรา ก็ได้เห็นว่า

    ๑. สฬายตนะ เป็นประตูรับรู้ผัสสะใน สี เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์
    ๒. จิต เป็นตัวรู้ รู้ผัสสะรู้ทุกอย่างทางสฬายตนะแต่รู้แค่สมมติ ไม่รู้สภาพจริงเลย
    ๓. เมื่อจิตรู้สมมติ แล้วเราเข้าไปยึดสมมติที่รู้นั้นมันก็เวทนา เกิดฉันทะ ปฏิฆะ เกิดความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา เกิดความตรึกนึกคิดสืบไป เป็นกิเลส ตัณหา เป็นทุกข์

    ดังนั้นถ้าแยกเป็นกองๆตัดที่วิญญาณธาตุอันเป็นตัวรู้ที่รู้สมมตินี้แล้วสักแต่รู้ว่าจิตมันรู้สิ่งนี้ๆเท่านั้น เป็นจิตเห็นจิต จิตก็จะไม่ยึดผัสสะที่รู้ให้เกิดเป็นเวทนาสืบต่อไปให้เป็นทุกข์ เป็นผลอันเกิดจากจอิตเห็นจิต คือ นิโรธ ความดับทุกข์ดังนี้

    มรรค นี้ที่ละอุปกิเลส ที่มีในกายและใจเราด้วยปัญญาญาณเป็นการละโดยไม่มีเจตนา คือ ความเห็นธรรมเห็นสภาพธรรม ความไม่เอาสิ่งที่รู้มายึดมั่นถือมั่นเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
    จิตมันรู้สิ่งใดทางสฬายตนะ ก็ให้เรามีมหาสติรู้ว่าจิตมันรู้สิ่งนี้ๆเท่านั้น (สติแบบปุถุชน คือ ระลึกได้ หวนระลึกได้ แยกแยะถูกผิดได้ในปัจจุบันนั้น แต่..มหาสติ คือ ตัวรู้ รู้จริง รู้อยู่ทุกขณะ มีสัมปะชัญญะรู้ตัว ทำให้รู้ตัวทั่วพร้อม รู้กายใจในปัจจุบันเป็นฐาน ทำให้เห็นในสภาพตามจริงอันปราศจากสมมติบัญญัติเป็นผล) ปัจจุบันนี้ๆสิ่งเหล่านั้นที่จิตรู้มันเกิดขึ้น มันดับไปเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดๆ มีแต่สภาวะธรรม เจริญดังนี้แล้วคือมรรค ก็จะปหานอุปกิเลสไดั










    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 08-14-2016 เมื่อ 02:25 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ