บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

กระทู้: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเพื่อละราคะที่ ๑

    เมื่อเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเกิดความติดใจเพลิดเพลิน(นันทิ) ๔ (อาการทั้ง ๓๒ ประการ สงเคราะห์ลง ธาตุ ๔)


    - พระตถาคตเจ้า ผู้ทรงพระทศพลญาณทรงตรัสสอนว่า ให้เห็นอาการทั้ง 32 นั้นเป็นเพียง ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จนถึงธาตุ ๖ คือ รวมทั้ง อากาศ วิญญาณ จนเห็นถึงความเป็นของไม่เที่ยง มิใช่ตัวตน เป็ทุกข์ (ทวัตติงสาปาฐะ, กายคตาสติ, กายานุสติปัฏฐาน, ภารทวาชสูตร, คิริมานนทสูตร สัญญา ๑๐)

    กายคตาสติสูตร

    [๒๙๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
    ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
    หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (มันสมอง)
    ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

    (ท์วัตติงสาการะปาโฐ คือ อาการทั้ง 32 ประการนี้ คือ กายคตาสติจะมีแต่เพียงในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่มี เป็นการพิจารณาโดยแยบคายที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนดึงเข้าได้ถึง ฌาณ ๔ เข้าสมถะเห็นเป็น อสุภะ ธาตุ กสิน ก็ได้ เข้าสู่วิปัสนาเห็นเป็นเพียงธาตุหรือรูปนามก็ได้ ในอนุสสติ ๑๐ บทท์วัตติงสาการะปาโฐ คือ กายคตาสติ ส่วนในหมวดที่พระพุทธเจ้าจัดรวมว่าเป็นการพิจารณากายคตาสตินั้น ท์วัตติงสาการะปาโฐ จะเป็น ปฏิกูลบรรพ เป็นการพิจารณาส่วนหนึ่งในกายคตาสติที่รวมเข้ากัน 7 หมวด คือ อานาปานสติบรรพ๑ อิริยาบถบรรพ๑ สัมปชัญญะบรรพ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ๑ ธาตุมนสิการบรรพ๑ นวสีวถิกาบรรพ๑ และ สัมมาสมาธิ คือ รูปฌาณ๔ หรือ กายานุสติปัฏฐาน นั้นเอง)



    - ก็กายเรานี้เป็นอย่างนี้แล กายเขาที่เราเสพย์อารมณ์กำหนัดราคะอยู่ก็เป็นดังนี้แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเป็นของไม่สะอาดดังนี้แล กายเราและกายเขานี้ก็เป็นเช่นนี้แล สิ่งเหล่านี้ที่รวมอยู่ในกายเราและเขา
    - เมื่อไม่มีเรา_ในรูปขันธ์คือกายนี้(เมื่อพิจารณาแยกออกเป็นอาการทั้ง ๓๒ ประการออกมา) และ รูปขันธ์คือกายนี้_ไม่มีในเรา(เมื่อแยกกายออกเป็นอาการทั้ง ๓๒ ประการ ก็ไม่อยู่เป็นร่างกายเป็นรูปขันธ์ได้ รูปขันธ์จึงไม่มีในเรา)
    - ดังนั้นเราจักพึงหวังเอาปารถนาในอาการทั้ง 32 เหล่านั้นในเขาก็ไม่เกิดประโยชน์ไรๆนอกจากทุกข์อันรุ่มร้อนมัวหมองใจ จากการปารถนายึดมั่นถือมั่นในของไม่สะอาดเหล่านั้นดังนี้

    เจริญจิตขึ้นพิจารณาในบุคคคลที่เราเห็นอยู่ที่กำลังเกิดราคะอยู่นี้ว่า กายของเขานี้มีสภาพอย่างไรซึ่งประกอบไปด้วยอาการทั้ง ๓๒ อันเป็นที่ประชุมกันชองธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ (อากาศ วิญญาณ) อย่างไรบ้าง

    - เบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจดังนี้ก่อนว่า



    ขอขอบคุณที่มาของรูปจากคุณณัฐพลศร ตามกระทู้นี้ครับ
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5260.0



    เมื่อเราเจริญปฏิบัติพิจารณาตามตัวเรานี้ได้เห็นทางพิจารณาและได้สัมผัสดังนี้

    ๑. ขั้นตอนพิจารณาปฏิบัติในธาตุดิน เราจะรู้อย่างไรว่าธาตุเหล่านี้คือธาตุดิน เพราะที่มองเห็นมันก็เป็นคนทั้งตัว ตับ ไต กระเพาะ เล็บ มันก็เป็นอย่างที่เรารู้มาตั้งแต่เด็กจะให้มองเป็นดินยังไง
    " ข้อนี้พระตถาคตให้เอาเอกลักษณ์ของธาตุ คือ สภาพคุณลักษณะของธาตุดินเป็นอารมณ์ นั่นคือ รู้ในสภาพที่อ่อนและแข็ง ไม่ต้องไปรู้สภาพอะไรอื่นให้รับรู้สภาพนี้จากจากการสัมผัสรู้สึกถึงอาการที่เป็นเอกลักษณ์หรือคุณลักษณะของธาตุดินเท่านั้น(ถ้าทางวิปัสนานี้ท่านจะให้รู้จนเห็นไม่มีตัวตนบุคคลใดสักแต่เป็นเพียงรูปนาม ธาตุดินก็คือรูป เป็นมหาภูตรูป๔)"
    " ทีนี้เราลองจับดูหนังของเรามันก็อ่อนนุ่มใช่ไหม นั่นคือคุณสมบัติของธาตุดิน คือ มีความอ่อนนุ่มหรือแข็ง ดังนั้นหนังจึงเป็นธาตุดิน ผมก็มีลักษณะอ่อนนุ่มนั้นก็เป็นลักษณะของธาตุดิน เล็บมันแข็งใช่ไหมดังนั้นเล็บก็เป็นธาตุดิน เนื้อก็อ่อนนุ่มเนื้อจึงเป็นธาตุดิน หากเป็น ตับ ไต ไส้ กระเพาะอาหาร เราอาจจะยังไม่เคยจับใช่ไหม แต่คนกับสัตว์ก็เหมือนกันเราคงพอจะได้สัมผัสกันว่า มันมีความอ่อนนุ่มและแข็งเท่านั้น กระดูกก็แข็งก็แสดงว่าอวัยวะภายในมีตับ ไต กระดูกเป็นต้น คือธาตุดินที่มีอยู่ในกายเรา ก่อตัวรวมกัมกับน้ำบ้าง ลมบ้าง ไฟบ้าง อากาศศบ้างขึ้นเป็นรูปร่างเป็นอวัยวะต่างๆและตัวของคน สัตว์ขึ้นมานั่นเอง ร่างกายเราจึงประกอบด้วยธาตุดิน ด้วยประการฉะนี้"
    - หากอยากรู้ว่ากายเรานี้ อวัยวะชิ้นนั้นๆคือธาตุใดก็ให้ลองไปซื้อเครื่องใน หมู วัว เป็ด ไก่ เอามาจับๆและเพ่งพิจารณาดูว่ามันมีสภาพอย่างไร เวลาจับๆบีบๆนี่มัน อ่อนนุ่ม หรือ แข็ง เป็นใหญ่ในทุกพื้นที่ที่จับใช่ไหม นั่นแสดงว่าอวัยวะชิ้นนั้นคือธาตุดินนั่นเอง
    - หากอยากรู้ว่าอวัยวะที่เป็นธาตุดินมีดินรวมตัวกันขึ้นเป็นรูปทรงนั้นๆ มันเกิดขึ้นเพราะเหตุใดหนอเป็นปัจจัยปรุงแต่ง มีธาตุใดๆรวมอยู่บ้างหนอ ก็ให้ลองหลับตาแล้วจับๆบีบๆดูที่อวัยวะชิ้นนั้น เราจะได้รับความรู้สึกว่าเหมือนมีบางสิ่งที่มีสภาพอันเอิบอาบ ซึมซาย เกาะกุม เคลื่อนตัวไหลออกมาจากอวัยวะชิ้นนั้นๆ เมื่อเรามองดูก็จะเห็นเป็น น้ำเลือด น้ำหนอง มันข้น เป้นต้น เช่น หั่นดูมีเลือดหรือน้ำเหลืองภายในบ้าง มันก็คือธาตุน้ำนั่นเอง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีน้ำเป็นตัวเกาะกุมดินเข้ารวมกันให้มีรูปทรงลักษณะเช่นนั้น เมื่อบีบเคลื่อนสภาพมันดูคือลองเอาเครื่องในหรือก้อนเนื้อจุ่มลงไปในน้ำแล้วล้องบีบดูจะเห็นเหมือนมีลมเคลื่อนตัวทำให้ผุดขึ้นเป็นฟองในน้ำบ้าง นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีลมร่วมอยู่เพื่อพยุงรูปทรงในส่วนนั้นให้คงสภาพอยู่ด้วย เมื่ออวัยวะที่สดใหม่อยู่ก็จะมีความอุ่นมีอุณหภูมิประมาณหนึ่งในอวัยวะส่วนนั้นบ้าง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีต้องอาศัยธาตุไฟเพื่อเผาผาญหลอมรวมให้อยู่ร่วมเกาะกุมกันด้วย เมื่อเราสังเกตุหรือผ่าดูอวัยวะชิ้นนั้นๆจะเห็นว่ามันมีช่องอณุเล็กๆแทรกอยู่เต็มไปหมดบ้าง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆก็ตาม ก็ต้องมีอากาศธาตุเแทรกอยู่ในทุกอณุของดินเพื่อให้มันเป็นช่องสำหรับความยืดหยุ่นเคลื่อนตัวและแทรกซึมระบายเกาะกุมรวมให้ธาตุอื่นๆได้นั่นเอง

    อันนี้จะเห็นว่า ในอวัยวะภายในหรือชิ้นเนื้อหนึ่งๆจะประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ อันประครองอาศัยกันอยู่เพื่อรวมตัวกันขึ้นเป็นธาตุนั้นๆเป็นรูปทรงของอวัยวะส่วนนั้นส่วนนี้อยู่ภายในกายเราเพื่อทำหน้าที่ต่างๆในสถาวะที่สมดุลย์กันจะขาดกันไม่ได้จึงสามารถดำเนินไปทำหน้าที่ซึ่งกันและกันต่อไปได้ ดั่งตับ ไต ไส้ กระดูก เป็นต้น
    - จากนั้นลองเอาอวัยวะหรือชิ้นเนื้อเหล่านั้น ไปวางทิ้งไว้ในที่ใดๆก็ตามมี พอระยะเวลาผ่านไปก็จะเห็นว่า เมื่อน้ำเหือดแห้งลงสภาพดินของอวัยวะส่วนนั้นๆแทนที่จะอ่อนนุ่มกลับกลายเป็นแข็งแม้ยังคงสภาพดินอยู่แต่ความอ่อนนุ่มก็ไม่คงอยู่แล้ว เมื่อขาตธาตุน้ำการเกาะกุมรวมกันของสภาพธุาตทั้งหลายอันจะทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมของดินก็ไม่มีแล้ว เมื่อลมหายไปความทรงตัวอยู่ของธาตุดินก็ไม่มีแล้ว เมื่อไฟดับไปความหลอมรวมสภาพไรๆของดินก็ไม่มีแล้ว
    - จากนั้นไม่นานธาตุดินที่เป็นอวัยวะส่วนนั้นๆก็เสื่อมโทรมแปรเปลี่ยนและดับสลายไปในที่สุด

    ๒. แม้ในธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็พิจารณาในกายอย่างนี้เป็นต้นส่วนเอกลักษณ์คุณลักษณะใดๆของธาตุ น้ำ ลม ไฟ ก็มีดังรูปที่ผมคัดลอกมาจากท่านณัฐพลศรแล้วจึงไม่ต้องอธิบายซ้ำซ้อนนะครับ จะยกตัวอย่างเพียงคราวๆที่พอไว้เป็นแนวคิดพิจารณาดังนี้
    ๒.๑ ก็ดูจากภายนอก เช่น ปัสสาวะที่เราฉี่ออกมา น้ำมูกที่เราสั่งออกมา น้ำตาที่ไหลออกมา น้ำเลือด น้ำหนองที่ไหลออกมาลองสัมผัสดูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เอกลักษณฺ์ของมันคือ ความเอิบอาบ ซาบซ่าน เกาะกุม เหมือนกันหมดใช่ไหม นั่นคือเอกลักษณ์ของธาตุน้ำ ในกายเรานี้ก็ประกอบไปด้วยน้ำอันเกาะกุมซาบซ่านให้คงสภาพกายรวมกันไว้อยู่ฉะนี้แล
    ๒.๒ เมื่อเราดูภายนอกคงเคยเห็นลมพัดเข้าออกถ้ำหรือภายในบ้านมันเคลื่อนตัวตรึงไหวพัดผ่านเราไปอย่างไร แม้ในกายเราก็มีอย่างนั้นภายในกายเราเหมือนถ้ำหรือบ้านให้ลมพัดผ่านเคลื่อนตัว ดั่งลมในกระเพาะอาหารมันจะมีความพัดขึ้นเคลื่อนตัวออกมาทำให้เราเรอออกมา หรือ ลมที่พัดลงลมในสำไส้ที่ออกมาเป็นตดเราจะรู้ความเคลื่อนตัวตึงไหวของมันได้ใช่ไหมครับ อันนี้เราทุกคนรู้สึกได้
    ๒.๓ เมื่อเราดูภายนอกเราย่อมเห็นไปที่เผาไหม้ เผาผลาญ ลุกโชนหลอมละลายรวมตัวกันไม่ว่าสิ่งใดๆทั้ง หิน เหล็ก น้ำมัน ไม้บ้าง มันหลอมได้หมดทุกอย่าง สภาพที่เราพอจะรู้สึกกับไฟได้คือมีสภาพร้อน แผดเผา ทำให้แสบร้อนบ้าง หรือ ภายนอกที่เป็นสภาพอากาศอุณหภูมิมันก็มีสภาพที่ทำให้ทั้งร้อน อบอุ่น และ เย็น ดังนี้ แม้ในกายเราไฟอันเป็นธาตุที่หล่อหลอมอยู่ก็มีสภาพเช่นนี้ คอยย่อยเผาผลาญอาหารบ้าง คอยปรับสภาพอุณหภูมิ หรือ ความอบอุ่น ร้อน เย็นในกายบ้าง ลองจับแขน จับแกล้ม เอามือแตะหน้าผาก หรือเอามือไปรองฉี่ที่เราเพิ่งฉี่ออกมา หรือเมื่อเลือดออกลองเอามือไปแต่เลือดดู จะเห็นว่ามันมีสภาพอุ่นบ้าง ร้อนบ้าง เย็นบ้างเป็นต้นออกมาจากกายเรานี้ เมื่อสภาพที่ไฟมีมากอันไม่สมดุลย์กับธาตุอื่นในกายก็เป็นเหตุให้เป็นไข้ ตัวร้อนบ้างเป็นต้น

    ลองพิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อยๆก็จะเห็นความแยกเป็นธาตุในกายเราอันแม้ยังทรงบัญญัติอยู่ก็ตาม ดังตัวอย่างการพิจารณาของธาตุดินที่เป็นอวัยวะทั้งหลายในกายเรา ที่มีเกิดขึ้นในกายเราอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเห็นว่ากายเหล่านี้มันประกอบไปด้วยธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศอันเป็นที่ว่าง-ช่องว่างหรือเป็นรูกวงในกายเรานี้ อาศัยกันเกิดขึ้นเพื่อยังทรงสภาพหลอมรวมเกาะกุมเคลื่อนตัวพยุงกันอยู่ มีวิญญาณธาตุอันเป็นธาตุรู้ดังนี้ จึงรวมเป็น ๖ ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ หลอมรวมอาศัยกันขึ้นมาเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ไม่มีตัวตนบุคคลใดที่เป็นนอกจากนี้ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรเปลี่ยนเสื่อมโทรม และ สูญสลายดับไปในที่สุด เหมือนพิจารณาเห็นในอสุภะกรรมฐานเราจักเห็นความเสื่อมโทรมและสูญสลายไปในที่สุดของร่างกาย อวัยวะ อาการทั้ง 32 ไรๆ อันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ทั้งปวงในกายนี้ จำแนกอยู่เป็นประจำเนืองๆจะเข้าเห็นได้ถึงธาตุภายในกายด้วยประการเบื้องต้นดังนี้

    เพิ่มเติมการพิจารณาธาตุด้วยการเพ่งกสินธาตุเทียบเคียง

    - อีกประการหนึ่งการจะให้มองเห็นเป็นธาตุนั้น โดยอาศัยการเพ่งกสิน เพื่อดับกามคุณ๕ เห็นเป็นธาตุ เช่น เพ่งธาตุดิน มีผลออกมาจะเห็นร่างกายของคนเป็นดินไปหมด (ซึ่งอานิสงส์จากการเพ่งกสินดินนี้ผมพบเจอมาด้วยตนเอง) ลองเพ่งกสินดินดูด้วยน้อมระลึกให้เห็นโทษของกามคุณ๕ เพื่อให้ละกามราคะได้ ให้เจริญเพ่งในกสินดังนี้ครับ
    ๑. โดยให้พึงเอาวงกสินดินมาเพ่งจนจดจำได้แม้ลืมตาหลับตาแล้วเพ่งระลึกไป จากนั้นก็พึงเพ่งดูรูปหรือนิมิตของวงกสินนั้นไปเรื่อยๆ พร้อมบริกรรมว่า ปฐวี กสินัง ดินๆๆๆๆ เริ่มแรกให้ทำเช่นนี้ไปก่อนจนสามารถเพ่งดวงกสินแล้วจิตรวมสงบลงได้ ในนิมิตที่เพ่งนั้นเราก็สามารถบังคับให้เล็กใหญ่ตามใจได้ เมื่อเราจะพึงระลึกนึกถึงเมื่อไหร่ก็เห็นนิมิตภาพวงกสินนั้นได้ทันที แล้วพึงเห็นภาพนิมิตนั้นได้นานตามปารถนา ทำให้ได้ตามนี้ก่อน
    ๒. ทีนี้เมื่อเรามองดูกายตนก็เพ่งดูเทียบพร้อมรำลึกถึงภาพดวงกสินดินนั้น แล้วบริกรรมว่า ปฐวี กสินัง ดินๆๆๆๆ เริ่มต้นอย่างนี้ไปเป็นการใช้กสินให้เห็นเป็นธาตุไม่ใช่เอาอภิญญา ซึ่งผมพลิกแพลงใช้เพื่อละกามราคะ อาจจะต่างจากครูบาอาจารย์ที่สอนในวิธีเจริญอภิญญา ซึ่งท่านสามารถทำน้ำให้เป็นดินได้ ทำดินให้เป็นน้ำได้
    (รายละเอียดการเพ่งในแบบอภิญญาทั้งหลายมีสอนจากครูบาอาจารย์มากมาย โดยเฉพาะของพระราชพรหมญาณ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์สายอภิญญา)





    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:12 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเพื่อละราคะที่ ๒

    เมื่อตรึกนึกคิด หวนคำนึงถึงปรุงแต่งผัสสะทางใจแล้วเกิดความติดใจเพลิดเพลิน(นันทิ)



    - พระตถาคตตรัสสอนว่า ให้เห็นว่าสักแต่เเพียงสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เป็นไป
    - พระตถาคตตรัสสอนว่า ให้เห็นว่าสักแต่เป็นเพียงความคิด
    - พระตถาคตตรัสสอนว่า ให้เห็นว่าสักแต่เป็นเพียงธรรมารมณ์ที่เป็นอกุศลลามกจัญไรที่ไม่ควรเสพย์ ดังนั้นให้มีสติรู้แยกแยะถูกผิด ดีชั่ว แล้วเลือกสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ปราศจากทุกข์ นั่นคือ เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์
    - พระตถาคตตรัสสอนว่า ให้ละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี อันทำให้เกิดความกำหนัดฝักใฝ่หมกมุ่นถวิลหาใคร่ที่จะเสพย์เมถุนกับบุคคลที่เรานั้นกำลังตรึกนึกคิดถึงเขาอยู่นั้นๆไปเสีย ละความตรึกนึก และ บุคคลเรื่องราวที่ตรึกนึกนั้นๆไปเสีย เหล่านั้นไปเสีย สิ่งที่นึกนั้นไม่จริงสักแต่เป็นเพียงนิมิตที่เราปรุงแต่งเรื่องราวสร้างขึ้นโดยอาศัยความจำได้จำไว้ปรุงแต่งประกอบเข้าไปเท่านั้น โดยทั้งๆที่ความจริงแล้ว เขาไม่ได้มายุ่งเกี่ยวหรือกระทำการใดๆรู้สึกใดๆกับเราเลย เราบ้าเสพย์ความคิดตนเองไปเท่านั้นทั้งที่ไม่จริง ติดอยู่ในโลกแห่งความคิดหรือโลกส่วนตัวนั้นๆก็เป็นดั่งคนบ้าขาดสติลุ่มหลงเพ้อฝันเท่านั้น กลับมาอยู่กับปัจจุบันโลกแห่งความจริง



    ด้วยวิเคราะห์เห็นตามพระธรรมคำสอนดังนั้นแล้ว ตัวเราจึงตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจโดยหมาย วิธีดับราคะ เมื่อเกิดความตรึกนึกคำนึงถึง ดังนี้คือ

    - ธรรมดาสิ่งที่ล่วงมาแล้ว สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ย่อมอาศัยความตรึกนึกอันไปไปในราคะกำหนัดในเมถุน(ความมีเพศสัมพันธ์)ทำให้เกิดความปรุงแต่งเสพย์อารมณ์อันเป็นไปในราคะตามความติดใจเพลิดเพลินนั้นๆ ดังนั้นเมื่อจะละก็ละที่ความคิด
    - เมื่อพิจารณาเห็นในธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ตามจริงดังนั้น ตัวเราจึงเห็นโทษของอกุศลวิตก จึงได้ตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจโดยหมายใน เนกขัมมวิตก ความตริในทางพรากจากกาม , ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน ดังนี้คือ

    ๑. เริ่มแรกสุดเลยให้พึงละอกุศลและทำกุศลให้เกิดขึ้น ด้วยถือใน เนกขัมมะ คือ การบวช ถ้าปุถุชนฆราวาสทั่วไปก็ให้ตั้งจิตมั่นบวชใจ ซึ่งจะทำได้สำเร็จดีนั้น เราก็ต้องมี ศรัทธา คือ ความเชื่อด้วยปัญญาพิจารณาเห็นได้จากความเป็นเหตุเป็นผลตรวจสอบได้ตามจริง ไม่มีความครางแครงใจสงสัยอีก โดยเริ่มจาก เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก่อน เมื่อเชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ต้องเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าศีลเป็นฐานที่ตั้งแห่งกุศล ศีลเป็นรากฐานของทุกอย่าง เพรามีศีล สมาธิจึงเกิดมีได้ เพราะมีสมาธิ ปัญญาญาณจึงเกิดมีได้ เพราะมีปัญญา(สัมมาญาณรวมถึงโพชฌงค์ ๗) วิมุตติความหลุดพ้นจึงมีได้..ดังนี้ เปรียบดั่งต้นไม้ เพราะมีรากอยู่จึงจะเจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาออกดอกออกผลได้ เปรียบศีลเป็นดั่งรากต้นไม้ หากรากดีแน่นหนา ลำต้นของต้นไม้จึงจะเจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาได้ เปรียบสมาธิเป็นดั่งลำต้นของต้นไม้นั้น เมื่อมีศีลที่ดีหยั่งรากลึกแน่นหนาสมาธิจึงจะเจริญงอกงามแผ่กระจายงอกงามดุจกิ่งก้านสาขาขึ้นปกคลุมลำต้นให้งดงามใหญ่โตเป็นร่มเงาขึ้นมาได้ เปรียบดอกผลเป็นดั่งปัญญาญาณ เพราะมีกิ่งก้านสาขาเติบโตขึ้นมาแผ่กระจากปกคลุมจึงเกิดผลิดอกออกผมขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีสมาธิคือกิ่งก้านสาขา มีแต่ลำต้นก็ไม่มีทางหรือเป็นไปได้ยากที่ต้นไม้นั้นจะผลิดอกออกผล เพราะดอกผลของต้นไม้นั้นย่อมขึ้นอยู่ตามกิ่งก้านใบสาขาที่แผ่กระจายออกมา ดังนั้นถ้าไม่มีสมาธิก็ยากที่จะเกิดปัญญารู้เห็นตามจริงโดยปราศจากความคิดอนุมานคาดคะเนได้ ดังนั้นเมื่อรู้เห็นดังนี้ มีความศรัทธาในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ต้องเชื่อและศรัทธาตามจริงว่า ศีล เป็นฐานให้เกิดสมาธิ ศีลที่บริบูรณ์ดีแล้วจึงจะสร้างสมาธิได้ เมื่อศรัทธาอย่างนี้ก็จะเกิดเป็นกำลังใจ เรียกว่า พละ มีศรัทธาพละเป็นต้น ทำให้เรามีความตั้งจิตมั่นที่จะดำรงในศีล เกิดเป็นวิริยะพละ กำลังใจแห่งความเพียรที่จะกระทำ ยิ่งถ้าทำแลเวได้ผลดีก็ก่อให้เกิดฉันทะอิทธิบาท ๔ พอใจยินดีที่จะมีศีลดำรงศีล ยิ่งเป็นศีลข้อใดที่เราให้ความสำคัญไว้มากอยากจะให้เกิดความบริสุทธิ์มีมากในศีลข้อนั้น แล้วเมื่อเราทำได้ก็ยิ่งจะทำใหัเรามีความยินดีมากที่เราทำได้นั้น เป็นบ่อเกิดแห่ง วิริยะอิธิบาท ๔ นั้นมีเต็มกำลังใจเสริมให้มีวิริยะพละมากขึ้นไปอีก ทำให้เกิดมีใน จิตตะ และ วิมังสา แห่งอิทธิบาท ๔ สืบต่อมา ทำให้เกิดขึ้นมาซึ่ง สัมมัปปะธาน ๔ คือ ความเพียรที่จะละอกุศลที่ยังไม่เกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว และ สร้างกุศลให้เกิดขึ้นแล้วคงรักษาไว้ไม่ให้เสื่อม โดยอาศัยสติคอยระลึกรู้แลดูจิตตนตลอดเวลา มีสัมปะชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ เป็นผลให้เกิดมีสติสัมปะชัญญะที่พอควร ทำให้เกิดสมาธิที่พอควรได้ด้วย เหตุดังนี้เป็นต้น

    ทีนี้ก็ให้เราตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจว่า

    ๑.๑ ถือเนกขัมมะ คือ บวช ตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจว่า เราจักถือศีลข้อ อพรหมะจริยา เวระมณี สิกขา คือ จะละเว้นซึ่งสิ่งไรๆที่จะพรากพรหมจรรย์ไป เช่น
    ก.ไม่คิดกับผู้อื่นหรือเพศตรงด้วยจิตอันฝักใฝ่ใคร่ปารถนาน้อมไปในเรื่องเมถุน, ไม่คิดถึงผูัอื่นด้วยใจที่น้อมไปด้วยความฝักใฝ่หมายใจไว้มั่นในเรื่องเมถุน, ไม่คิดถึงผู้อื่นด้วยใจทึ่หมกมุ่นในราคะเมถุน
    ข.ไม่มองเพศตรงข้ามด้วยความมีใจน้อมไปในความฝักใฝ่ใคร่ถวิลหา หมายใจปารถนาใคร่ในเมถุนต่อเขา
    ค.ไม่พูดกับเพศตรงข้ามในเชิงชู้สาว คือ สนทนาด้วยความมีใจใคร่ปารถนา หมายมั่นด้วยใจใฝ่จะให้เป็นไปในเมถุน
    ง.ไม่ถูกต้องสัมผัสกายเพศตรงข้ามด้วยความมีใจน้อมฝักใฝ่ปารถนาหมายมั่นใคร่ใจในเมถุน, ไม่กระทำหรือแกล้งทำการอันใดให้น้ำอสุจิเคลื่อน, เว้นจากการเสพย์เมถุน

    - ให้ตั้งจิตมั่นที่จะดำรงกาย วาจา ใจดังนี้ โดยให้เริ่มจากกำหนดวันและเวลาจากน้อยไปหามากจนถึงตลอดชีวิต

    อานิสงส์ คือ มีสมาธิจากศีลอุโบสถ จิตละความฝักใฝ่ในเมถุน
    อีกทางคือมีสมาธิอันเอื้อต่อสติ ทำให้สติมีกำลังมากพอที่จะดำเนินไปในอาการ ๒ คือ
    ก.แยกแยะสิ่งที่ดีหรือไม่ดี กุสลหรือกุศล ถูกหรือผิด มีประโยชน์หรือไม่มีประโยน์
    ข.เลือกเฟ้นทางที่ดีเป็นกุศลประกอบไปด้วยประโยชน์

    ๑.๒ ถือเนกขัมมะ คือ บวช ตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจว่า เราจักถือศีลข้อ วิกาลโภชนา เวระมณี สิกขา คือ จะละเว้นการกินข้าวเมื่อเวลาเที่ยงตรง หรือ เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นตรงหัว กล่าวคือกินตอนเช้าเมื่อแดดออกเห็นเงามือและเวลาเพลก่อนเที่ยงตะวันตรงหัว แต่หากเข้างานกะ ให้ตั้งจิตทำดั่งพระตถาคตตรัสสอนว่า จะกินเพียงมื้อเดียวหรือสองมื้อ โดยระลึกว่ากินเพื่อยังชีพอยู่เท่านั้น ไม่กินตามความเพลิดเพลินอิ่มหนำสำราย คือ นึกได้ก็กินบ้าง อยากตอนไหนก็กินบ้างเป็นต้น

    อานิสงส์ คือ มีสมาธิจากศีลอุโบสถ จิตละความฝักใฝ่ในเมถุน เพราะไม่อยู่ด้วยความอิ่มสำราญทำให้จิตที่จะไปตรึกนึกถึงมีเมถุนน้อย เพราะไมีมีกำลังจะไปตรึกถึงถึงเมถุน อีกทางคือมีสมาธิอันเอื้อต่อสติ ทำให้สติมีกำลังมากพอที่จะดำเนินไปในอาการ ๒ คือ
    ก.แยกแยะสิ่งที่ดีหรือไม่ดี กุสลหรือกุศล ถูกหรือผิด มีประโยชน์หรือไม่มีประโยน์
    ข.เลือกเฟ้นทางที่ดีเป็นกุศลประกอบไปด้วยประโยชน์



    ๒. พึงดึงสติขึ้รกรรมฐาน เช่น ระลึกถึงพุทธคุณ ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นต้น

    ๒.๑ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าด้วยคุณแห่ง อรหัง คือ ความที่พระพุทธเจ้านั้นได้ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงแล้ว กำหนดนิมิตว่าพระตถาคตแผ่เอาคุณนั้นมาสู่ตน เพื่อให้ตนสลัดกิเลสทิ้งได้

    ๒.๒. ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าด้วยคุณแห่ง พุทโธ คือ ความที่พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้รู้ คือ สู้ว่าเป็นสมมติบัญญัติ รู้ทางหลุดพ้นจากสมมตินั้นๆ ผู้ตื่น คือ ตื่นจากความหลงมัวเมาคือโมหะ ผู้เบิกบาน คือ พ้นแล้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้บรรลุบทที่พระพุทธเจ้านั้นทำโดยบริบูรณ์ดีแล้ว กำหนดนิมิตว่าพระตถาคตแผ่เอาคุณนั้นมาสู่ตน เพื่อให้ตนสลัดกิเลสทิ้งได้

    ๒.๓. เพื่อให้ตนสลัดกิเลสทิ้งได้ ก็ให้ระถึงว่าเราถึงซึ่งพระนิพพานที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนชีทางให้แล้ว แล้วคนที่จะไปนิพพานได้ก็ต้องมีคุณที่ควรแก่การไปถึง คือ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ่นแล้ว สลัดคืนกิงขันธ์ทั้งปวงแล้ว ว่างจากกิเลสทั้งปวงแล้ว ระลึกถงคสามว่างจากกิเลส ให้ระลึกเอาความว่างโล่งในสมองปราศจากความตรึกนึก คือ
    - มีอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ความว่างอันมีวิราคะเป็นที่ตั้ง หรือ จะระลึกถึงความว่างในอุเปกขาฌาณที่ว่างสงบปราศจากความปรุงแต่งไรๆ



    ๓. ให้ตั้งจิตระลึกรู้เห็นตามจริงว่า เขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักแต่เป็นเพียงความคิดเป็นมโนภาพที่เราตรึกนึกปรุงแต่งสร้างเรื่องราวต่างๆขึ้นมาตามความรักใคร่พอใจยินดีของตนเท่านั้น มิใช่ความจริงเลย จากนั้นให้พึงกำหนดรู้ว่า ความหมายที่จะเสพย์เมถุน กระทำการเสพย์เมถุนพระพุทธเจ้าตรัสว่าเหมือนโรคเรื้อน ไม่ว่าจะแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน หรือ เสพย์เมถุน ต่างก็ติดในความเพลิดเพลินนั้น เกิดความใฝ่หาและกระทำตามความต้องการนั้นๆเรื่อย เป็นเหตุให้จิตใจเศร้าหมอง กายก็ทรุดโทรมเป็นโรค เป็นแผล เป็นฝี เป็นหนอง เป็นสังคังยิ่งเกายิ่งมันยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกามากเท่าไหร่ก็ยิ่งเกิดแผลผุพองติดเชื้อลามไปมากเท่านั้น บ้างฉี่บ่อย บ้านเป็นหนองใน บ้างเป็นเอดส์ บ้างเป็นฝีมะม่วง เมื่อเกิดโรคเหล่านี้เราก็จะไม่สามารถปฏิบัติธรรมเพื่ออกจากทุกข์ได้ หรือ จะต้องใช้ชีวิตลำบาก หรือต้องตายเป็นต้น จะเห้นว่าผลเสียมากมายนักเพื่อแลกกับแค่น้ำอสุจินั้นเคลื่อนจากการแกล้งทำบ้างหรือเสพย์เมถุนบ้าง ดังนั้นเราก็ควรพึงละความกำหนัด ใคร่ปารถนา ฝักใฝ่ หมกมุ่น ถวิลหาที่จะได้เสพย์ในอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆไปเสีย






    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:14 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  3. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเพื่อละราคะที่ ๓

    ละโดย พรหมวิหาร ๔ เมื่อรู้ผัสสะทางสฬายตนะแล้วเกิดความติดใจเพลิดเพลิน(นันทิ)



    เมื่อมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ต้องสัมผัสกาย หรือตรึกนึกถึง หวนคำนึงถึงปรุงแต่งจากความจำได้จำไว้ หมายมั่นใจให้น้อมไปเสพย์อารมณ์ในราคะเมถุนต่อผู้อื่น ก็ให้เราพึงละจิตอันเบียดเบียนเขาด้วยความกำหนัดราคะนั้นๆไปเสีย โดยพึงตั้งจิตมั่นระลึกทำไว้ในใจว่าเราจักไม่เบียดเบียนทำร้ายเขาให้มังหมองกายใจดังนี้
    ๑. เขาก็อยู่ของเขาดีๆแล้วแต่เรานี้เองเข้าไปตั้งความกำหนัดราคะอันมัวหมองนั้นแก่เขา
    ๒. เขามีชีวิตที่งดงามเบิกบานดีแล้ว เราจะนำความมัวหมองและทุกข์ไปหยั่งเอาเขาเพื่ออะไร เขาไม่ควรถูกต้องความมัวหมองจากเรา
    ๓. มองย้อนกลับมาสู่ตนก็จะเห็นว่า เรามีอารมณ์ความคิดความรู้สึกอย่างนี้ๆ เมื่อจะเพิกมองผู้ใดก็มักจะมองคนอื่นเป็นอย่างที่ตนคิดตนเป็นอย่างนั้น ตนมีราคะเมถุนก็มักจะมองคนอื่นมีราคะเมถุนเหมือนกัน แล้วก็ตรึกนึกปรุงแต่งเรื่องราวไปทั่วตามจิตตนที่เสพย์อารมณ์ทางใจอยู๋นั้น จึงเป็นคำกล่าวที่ว่า "ตนเป็นเช่นไร-ก็ย่อมจะมองคนอื่นอย่างนั้น..มันเป็นอย่างนี้แหละ" ทีนี้ "เมื่อเราจิตเป็นกุศล-ก็จะมองคนอื่นด้วยกุศลดังนี้"

    เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ก็ให้เจริญปฏิบัติดังนี้

    - ตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป โดยพึงระลึกว่า

    ๑. การที่เราเพียงแค่รู้ผัสสะทางสฬายตนะ เช่น มองเห็นเขาด้วยตาทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นไม่ได้มาใฝ่ใจในเมถุนกับเราเลย มีแต่เราที่ใฝ่ในเมถุนแล้วก็เร่าร้อนกายใจใคร่ที่จะเสพย์ในเมถุน เราเป็นผู้ถูกทุกข์หยั่งเอาแล้ว เราควรสงสารตัวเองให้มาก แล้วปารถนาให้ตนได้เป็นสุขหลุดพ้นจากทุกข์อันเร่าร้อนนั้นเสีย
    ๒. หากเราจะแกล้งทำให้น้ำอะสุจิเคลื่อน ก็ให้พึงระลึกว่า นี่น่ะเราเสพย์ติดในความคิดปรุงแต่งด้วยความฝักใฝ่ในเมถุนของตน จนตนเองต้องมาเร่าร้อน ทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้น อยู่ที่ไหนทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ ไม่ได้มาเสพย์เมถุนกับเราเลยสักนิด เราปรุงแต่งความคิดอนุมานคาดคะเนสร้างเรื่องราวไปเมถุนไปทั่วเองทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริงเลย ดูสิว่าน่าสงสารตนเองที่เสพย์ติดอยู่กับความคิดไหม ทำให้ตนเองเร่าร้อนมัวหมองเปล่าๆ เราต้องสงสารตัวเองที่เร่าร้อนลุ่มหลงเพราะราคะเมถุนให้มากๆ
    ๓. เมื่อเราสงสารตัวเอง ก็เจริญจิตระลึกน้อมถึงคุณแห่งความเป็น อรหัง คือ ดับสิ้นเพลิงกิเลสทุกข์ และ พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น จากความลุ่มหลงมัวเมาในกิเลส สมมติ บัญญัติ ทรงได้ตื่นจากโมหะแล้ว ผู้เบิกบาน บริสุทธิ์บริบูรณ ์ดีแล้วนั้นแผ่มาสู่ตน เมื่อสงบใจได้ก็ให้พึงแผ่เมตตาให้ตนเองด้วยใจปารถนาให้ตนเป็นสุขพ้นจากกิเลสทุกข์ ไม่หลงอยู่ในกิเลสเครื่องลุ่มหลงมัวเมา ไม่ลุ่มหลงในสมมติบัญญัติอีก

    - ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้ไม่ติดใคร่ฝักใฝ่ปารนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในเมถุน ปารถาให้เราไม่คิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วยราคะเมถุน ปารนาให้เราไม่ดำรงจิตอยู่ด้วยความหมายมั่นใจขลุกใคร่ที่จะพรากพรหมจรรย์ของตนเองและผู้อื่น
    - ตั้งจิตแผ่ให้เราจงเป็นไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย
    - ตั้งจิตแผ่ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว
    - ตั้งจิตแผ่ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ



    เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความกำหนัดยินดีปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในเมถุนอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเหล่านั้นได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น จิตเป็นกุศลมากขึ้น "เมื่อจิตเราเป็นกุศล-ก็จะมองผู้อื่นด้วยกุศลเอ็นดูปารถนาดีอันน้อมไปในการสละ" จากนั้นให้ตั้งจิตทำไว้ในใจดังนี้ว่า

    ๑. พระตถาคตตรัสสอนอยู่เสมอๆให้สาวกทั้งหลายทำไส้ในใจ มีรูป มีอาการทั้ง ๓๒ ประการ มีปฐวีธาตุเสมอเหมือนด้วยเราเป็นต้น เป็นอารมณ์ แล้วทำไว้ในใจว่าเราจักมีความเอ็นดูปรานีปารถนาดีต่อคนและสัตว์ทั้งปวงบนโลกนี้ มีความพอใจยินดีที่คนอื่นเป็นสุขปราศจากทุกข์ ได้หลุดพ้นจากทุกข์ ยินดีเมื่อเขามีกายใจเบิกบานไม่เศร้าหมองด้วยกิเลสกามราคะทั้งปวง ด้วยเหตุดังนี้แล้ว เขาก็อยู่ของเขาปกติดีอยู่แล้ว ถึวเขาจะเคยทำผิดพลั้งหรือกำลังทำกายใจตนให้มัวหมองอยู่หรือไม่ก็ตามแต่ เราควรที่จะละจากการเอาอกุศลธรรมอันลามกจัญไรไปใส่ทับถมเขาเพิ่มเติม เพื่อความไม่ซ้ำเติมให้เขามัวหมองมากขึ้นไปอีก ดังนั้นเราผู้เป็นสาวกของพระตถาคตก็ควรยินดีที่จะทำให้เขาไม่เศร้าหมองกายใจ ไม่เอากิเลสทุกจ์อุนเศร้าหมองกายและใจไปหยั่งลงเขา
    ๒. เมื่อพิจารณาเห็นตามนี้แล้ว ให้เราพึงเจริญจิตขึ้นมีรูป คือ คนๆนั้น บุคลนั้นๆ เป็นสิ่งที่งดงามอันมีอยู่ในโลก เป็นอาการทั้ง 32 ประการเสมอเหมือนด้วยเรา ไม่ควรต่อความมัวหมองที่เราจะเอาไปหยั่งลงสู่เขา ควรที่เรานั้นจะมีความเอ็นดูปรานี ปารถนาดีอยากใหัเขาเป็นสุขปราศจากมลทินเครื่องมัวหมองอันเป็นทุกข์เร่าร้อนทั้งปวง เป็นสิ่งที่เขานั้นควรมี ควรเป็น ควรได้รับ เสมอด้วยตัวเราปารถนาจะได้มีได้รับความสุขอันบริสุทธิ์บริบูรณ์นั้น

    แล้วพึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ ใดๆมาคลุกคลามกายและใจเขา เจริญจิตขึ้นแผ่เมตตาจิตต่อเขา ซึ่งการจะเข้าถึงซึ่งการจะแผ่เมตตาให้บุคคลที่เรามีจิตฝักใฝ่ในเมถุนนี้ได้นั้นเราก็ต้องมีเจตนาดังนี้คือ
    ๑. ตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจที่จะถึงในพรหมจรรย์ คือ เจตนาที่จะถือเนกขัมมะ มีศีลขอ "อพรัหมมะจริยา เวระมณี สิกขา" นั่นคือ ไม่พรากหรือทำลายเพศพรหมจรรย์ของตนเองหรือผู้อื่น, ไม่แลมองเขาด้วยจิตที่ฝักใฝ่หมกมุ่นใคร่ปารถนาในเมถุน, ไม่พูดคุยกับเขาในเชิงชู้สาว คือ ไม่พูดคุยกับเขาด้วยความที่เรามีจิตน้อมไปในความกำหนัดฝักใฝ่ปารถนาหมกมุ่นคลุกใคร่ถวิลหาที่จะเสพย์เมถุนต่อเขา, ไม่ต้องสัมผัสกายเขาด้วยใจน้อมฝักใฝ่หมายมั่นใจใคร่ในเมถุน, ไม่แกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน, ไม่เสพย์เมถุน
    ๒. ตั้งจิตมั่นทำไว้ในใจปารถนาอยากให้เขาเป็นสุขปราศจากกิเลสทุกข์อันเร่าร้อนหยั่งลงคลุกคลามกายใจให้มัวหมอง ปารถนาให้เราและเขาเป็นมิตรที่ดีมีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อต่อกันและกัน เห็นซึ่งกันและกันเป็นของงามอันควรแก่ความเอ็นดูปารถนาดีต่อกัน
    - ด้วยความเห็นเป็นคนด้วยกัน
    - เห็นเป็นสัตว์โลกด้วยกัน
    - เป็นเพียงขันธ์ ๕ เหมือนกัน
    - เป็นอาการทั้ง ๓๒ ประการอันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเหมือนกัน
    - เป็นกอง ๔ ที่มาประชุมกันมีธาตุดินเป็นต้นเหมือนกัน
    - เป็นเพียงกองขันธ์กองธาตุ อันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน อันเป็นที่ประชุมไว้แห่งทุกข์ทั้งปวงเหมือนกัน
    ด้วยเหตุดังนี้ๆจึงควรแก่ความเอ็นดูปารถานาดีต่อกัน ดั่งเราอยากให้คนอื่นเป็นมิตรที่ดี มีจิตใจดีงาม คิดในทางที่ดีเป็นกุศลต่อเราและบุคคลอันเป็นที่รักของเรา ไม่มองเราและบุคคลที่เรารักและหวงแหนยิ่งด้วยความกำหนัดราคะหมายที่จะเสพย์ในเมถุนฉันนั้น แล้วแผ่เอาควงามเอ็นดูปรานีอยากให้เขาเป็นสุขได้หลุดพ้นจากกองกิเลสทุกข์ ไม่มีไฟราคะคลุกคลามกายและใจนั้นไปสู่เขา



    - พึงตั้งเจตนามั่นมีความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขอันเป็นกุศลที่เจริญมาดีแล้วนี้ของเราให้แก่เขา ด้วยหวังให้เขาหลุดพ้นจากความมัวหมอง หม่นหมองไรๆ ปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ อันพึงมีเข้ามาคลุกคลามกายและใจเขานั้น ด้วยมีจิตตั้งอยู่ในความยินดีเมื่อเขาได้หลุดพ้นทุกข์แล้วได้รับความสุขนั้นๆจากเป็นต้น จากนั้นตั้งจิตทำไว้ในใจสละให้ซึ่งบุญกุศลทั้งปวงที่เราสะสมมาดีแล้วทำมาดีแล้วนี้ให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาเป็นสุขแจ่มใสเบิกบานกายและใจ ปราศจากความร้อนรุ่มเศร้าหมองใจ ปราศจากเวรภัยอุปสรรคอันตรายใดๆทั้งปวง
    - ฉันบุตรหลาน ญาติมิตร หรือ บุคคลอันเป็นที่รักนั้นจะพึงมีให้แก่กัน แล้วพึงละจิตอันประกอบด้วยราคะที่มีต่อเขานั้นลงเสีย เพื่อให้เขานั้นอยู่เป็นสุขอันดีไม่มีความมัวหมองจากอกุศลธรรมอันลามกนั้นๆของเรา สละกุศลธรรมอันที่เราสะสมมาดีแล้วให้แก่เขาด้วยอยากให้เขาเป็นสุขผ่องใสปราศจากเวรภัยจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ ไรๆมาเบียดเบียน จนถึงแก่ความเปลื้องจิตออกจารูป่ี่รู้ผัสสะอยู่นั้นิและเปลื้องจิตตนอันไม่ติดในรูปขันธ์หรือกองธาตุ ๔ ทั้งปวง มีธาตุดินเป็นต้น สละคืนซึ่งรูปขันธ์ อาการทั้ง ๓๒ ประการทิ้งไป เพิกจิตไปจับยึดเอาความว่าง หรือ สีอันบริสุทธิ์ เช่น สีเขียวที่สว่างสงบเย็นเป็นอารมณ์(สังเกตุดูแสงสว่างที่บริสุทธิ์มักจะมีประกายสะท้อนเป็นสีเขียว หรือเวลาที่เราเคยถึงสมาธิจดจ่อดีแล้ว เวลาเราจะเบิกจิตออกจากกาย เช่นคุยกันทางจิตบ้าง จิตเราจะทิ้งกายแล้วไปจับเอาสีๆในนิมิตสมาธินั้นมีเสียง อย่างนี้เป็นต้น) จากนั้นให้แผ่เอาจิตอันสงเคราะห์นี้ไปสู่เขา (ซึ่งที่เราเคยรับรู้สัมผัสได้นั้น(หากไม่หลงไปว่าถึง) จิตสงเคราะห์ของเราจะมีกำลังมากหาประมาณมิได้ไม่อยู่เพียงแค่กายแค่รูปแต่จะแผ่ทั่งไปหมด)



    - เมื่อตั้งจิตแผ่ไปอย่างนี้ๆจิตอันร้อนรุ่มของเราก็จะดับไปและไม่มีจิตอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกให้วิตกตรึกนึก เขาก็พ้นจากความเบียดเบียนอันเป็นไปในราคะอกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวงเหล่านั้น เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเขาเป็นปกติสุขแจ่มใสปราศจากกิเลสทุกข์อันมัวหมองกายและใจโดยปราศจากความริษยา จิตเราย่อมยังความผ่องใสยินดีโดยความไม่ติดข้องใจไรๆ ที่เราได้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา(ขั้นต้น) และ ทาน นี้ๆให้แก่เขา โดยสละทิ้งซึ่งจิตอันเป็นราคะเมถุนที่เราเพลิดเพลินยินดีแต่ต้องทำให้เขามัวหมองไป ให้เป็นเมตตาทานอันประเสริฐแก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้น แล้วยังคงไว้ซึ่งความสะอาดบริสุทธิ์งดงามอันนั้นอยู่ จากนั้นให้เพิกจิตออกจากวามโล่งว่างที่แผ่สงเคราะห์ไปอยู่นั้น แล้วยกเอาจิตไปจับที่จิตที่ยินดีเป็นสุขไปกับเขานั้น



    - จากนั้นพึงเห็นคนเรานั้น ไม่มีสิ่งใดคงอยู่นาน สุขและทุกข์เกิดดับๆบังคับให้เป็นสุขไม่มีทุกข์ก็ไม่ได้ พอไม่เป็นไปตามปารถนาก็ทุกข์เจอความพรัดพรากผิดหวังก็ทุกข์ ดังนั้นความไม่ยึดเหนี่ยวสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใข่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งสิ้น เราจึงไม่ทุกข์ ก็เพิกจิตออกไปจากทุกสิ่งทุกอสิ่งทุกอย่างสละคืนสิ่งที่ยึดจับยึดเหนี่ยวอยู่ทั้งหมด ไม่ตั้งจิตยึดจับเอาอะไรเลยมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต จนถึงซึ่งความว่าง






    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:15 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. Admax said:


    ละด้วยวิปัสสนา

    ธรรมดับราคะมีศีลเป็นหลักเมื่อเพียรทำจะเกิดสติและสัมปะชัญญะขึ้นมาเองรองมาคือสมาธิที่ควรแก่งานมากขึ้น โดยจะมีการรู้ลมหายใจเป็นการสร้างกำชังให้สาาธิจดจ่อมากขึ้น ซึ่งส่วนการฝึกนี้นั้นไม่ต้องอาศึย ยสมาธิมากก็ทำได้ แต่วิธีนี้จะสร้างสมาธเให้เอง

    แต่ในส่วยวิปัสสนาต้องอาศัยสมาธิจึงรู้ได้ เพราะมันมีกิเลสอย่างละเอียด ถ้าอย่างหยาบมันก็เห็นง่าย ถ้าละเอียดต้องอาศัยสมาธิจึงจะเห็น ถ้าไม่ทำสมาธหรื้อไม่มีสมาธิถึงอ๕ปจารฌาณ ก็รู้และทำแค่นี้ก่อน แล้วปฏิบัติให้ชำนาญจะเกิดสติ+สัมปะชัญญะและสมาธิที่พอควรได้

    นี่ก็ชื่อว่าทำในสัมมัปปธาน๔ โดยมีสติในศีลและลมหายใจกำกับอยู่ -> ให้ถึงสมาธิที่เป็นวิราคะเป็นผล

    สมาธิที่ได้จะได้กับทั้งสติสัมปะชัญญะเกื้อหนุน และจาก พุทธานุสสติ อานาปานสติ อุปสมานุสสติ และ พรหมวิหาร๔ ได้เมตตาฌาณ

    เมื่อได้ตามนี้ค่อยพิจารณาวิปัสสนาญาณคือให้รู้ตามมัน เริ่มจากความคิดก่อนว่าเป็นควาาคิดกุศลหรืออกุศล แต่คิดก็กำกับรู้ว่าคิด

    แล้วค่อยๆจับเอาสภาพจริงคืออาการของจิต จากการเสพย์เสวยอารมณ์จากความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เริ่มจากอารมณ์หยาบก็จะเห็นง่าย ว่ามันมีอาการเป็นอย่างไร เช่น
    - รื่นเริงบันเทิงใจ พอใจยินดีในอารมณ์นั้นๆ เพลิดเพลินใจ ปลื้มตื้นตัน พองฟูใจ ติดใจในความเพลิดเพลิน น่าใคร่ปารถนาในในอารมณ์นั้นๆ ฝักใฝ่หมายมั่นใจหมกมุ่นใคร่ยินดีในอารมณ์นั้นๆ เร่าร้อนกายใจอัดหวีดทะยานอยากจะมีจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ใจหวีด วูบวาบ วาบหวิวทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆ
    - ไม่สบายกายไม่สบายใจ ไม่พอใจยินดี ขุ่นมัวขัดใจ ขุ่นเคืองใจ เร่าร้อนอัดทะยานอยากใคร่ที่จะผลักไสอารมณ์นั้นๆให้ไกลจากตน
    - มัวหมองใจ เศร้าหมองใจ ตรึงๆกายใจ หนักหน่วงไม่เบาโล่งกายใจ หม่นหมองใจ ไม่แจ่มใสเบิกบานผ่องใสกายและใจ
    - แช่มชื่นกายใจ อิ่มเอม รื่นรมย์สบายกายและใจ สงบอบอุ่นแต่เบาโล่ง ร่มเย็นกายใจ จิตเบิกบานตั้งมั่น

    เมื่อเริ่มจากอารมณ์หยาบก็จะเห็นง่ายจากการที่เราได้เสพย์เสวยอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆไปแล้วจะเห็นง่าย พอเห็นแล้วก็สักแต่รู้อาการของมัน ไม่ให้ความหมายไรๆรู้แค่ว่ามีลักษณะอาการของกายและใจแบบนี้ๆเกิดขึ้นกับเราเท่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญหมายรู้ไรๆ รู้มันไปเรื่อยๆ

    เมื่อสติมีกำลังพอควรแล้วรู้ในอาการนั้นแน่ชัดแล้ว พออารมณ์ใดอาการใดเกิดกลางๆอ่อนๆ สติก็จะรู้ทันทีพร้อมสัมปะชัญญะก่อนที่เราจะเสพย์มัน

    พอเมื่อชำนาญแล้ว ทีนี้พอจากนั้น จิตเกิดดับ จิตก็จะรู้จิตเองทันที โดยไม่ต้องจ้อง ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องบังคับให้มันไปรู้ จนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดดับๆไม่หยุด แม้ตัวรู้ในสภาวะนั้นๆ แม้ปัญญาที่เกิดเห็นว่าไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากสภาวะธรรมก็เกิดมารู้ รู้แล้วก็ดับ
    แต่สิ่งที่ยังคงอยู่ก็คือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วนเวียนอย่างนั้นไม่รู้จบตราบเท่าที่ยังขันธ์ ๕ นี้อยู่ก็เท่านั้น จนเกิดความคลายกำหนัดราคะในสิ่งทั้งปวง



    - แม้ทั้งหมดนี้ก็ยังเป็นเพียง สมถะ เพียงแต่เปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ใช้เพียงปัญญาจากความคิด(ปัญญาที่เกิดจากความคิด คือ สมถะ) ไปหัดใช้ปัญญาจากญาณ คือ สภาวะปัญญาที่เป็นไปในมรรค ๘ เป็นการอาศัยความเห็นตามจริงโดยปราศจากความคิดอนุมานเอาเข้าถึงทางแห่งมรรค ๘ นั่นเอง ซึ่งถ้ายังมีเจตนาที่จะทำอยู่ก็ยังเป็นสมถะไม่ถึงปัญญาญาณ ไม่ถึง สัมมาทิฐิ ยิ่งเจตนามากในสังขารทั้งปวง ก็ยิ่งติดในสังขารมากจนยึดถือตัดไม่ขาดแทงไม่ตลอด
    - แต่ไม่ใช่ว่าต้องห้ามไม่ใช้เจตนาที่จะทำในกุศล นั่นก็เพราะว่า..เพราะอาศัยกุศลโดยเจตนานั้นแหละ ทำให้เป็นประจำจนถึงจริตสันดานของมัน ทำโดยความไม่ตั้งผล ไม่ปารถนาผลไว้ ทำให้มากเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งดีงาม ทำให้มากเพราะรู้ว่าคือกุศล จะเกิดจากเจตนาหรือไม่เจตนาก็ช่างมัน ทำไปเรื่อยๆตามครูบาอาจารย์สอนไม่เก่งเกินครู มันทำโดยเจตนาหรือไม่เราก็ช่างมัน สักแต่รู้ว่ามันดีเท่านั้น สักแต่รู้ตามสภาวะธรรมนี้ๆแบบนี้มันเกิดขึ้นแล้วดำเนินไปหรือดับไปแล้วเท่านั้น เมื่อทำให้มากแล้ว จิตก็จะรู้จิต จิตก็จะแลจิต จิตก็จะจับจิตของมันเอง คือ อยู่ๆเกิดขึ้นเอง จิตรวมเอง จิตเห็นจิตเอง จิตรู้จิตเอง โดยที่เราไม่ได้ตั้งเจตนาไรๆที่จะทำ ที่จะเห็น ที่จะได้ ที่จะรู้มันเลย อันนี้แหละคือ ปัญญาญาณ มันเกิดเอง รู้เอง ทรงสภาวะเอง ดำเนินไป แล้วดับไปเองเห็นจริงๆอยู่อย่างนี้ของมัน เรียก สัมมาทิฐิ นั่นคือ มรรค ๔ ได้เกิดแก่เราโดยปัญญาญาณแล้ว (มรรค ๔ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ ได้แก่ มรรค ๔ และ ผล ๔)
    - ถ้าเจตนาที่จะทำแต่ยังทำไม่ได้จนชินเป็นจริตสันดาน แล้วมันจะเกิดขึ้นมาได้เองโดยไม่เจตนาก็คงยาก พระพุทธเจ้าจึงตรัส ๔๐ กรรมฐานไว้เพื่อสิ่งนี้ เริ่มแรกให้เป็นไปโดยเจตนาเป็นสมถะ จนเมื่ออิ่มตัวแล้วสภาวะธรรมไรๆก็จะเริ่มเกิดขึ้นเองโดยที่ไม่เจตนามากขึ้นเรื่อยๆ สภาวะนี้ก็แค่เพียรรู้ตามไปเรื่อยๆ จากนั้นก็ละเจตนานั้นเสียเป็นวิปัสสนา จนรู้เห็นตามจริง..ดังนี้
    ให้จดจำง่ายๆว่า เมื่อไหร่ที่คิดแล้วทำ-นั่นคือเจตนา / แต่เมื่อไหร่ที่สักแต่เพียงรู้แลดูกายใจอยู่เท่านั้น คือ มีสติ+สัมปชัญญะ ไม่มีความคิด ไม่มีความทำไว้ในใจ แค่สำเหนียกรู้แลดูอยู่เท่านั้นแล้วเห็นการกระทำปรุงแต่งของสังขารมัน นั่นแหละคือ ปัญญาในวิปัสสนา / เมื่อถอยออกจากสภาวะนั้นแล้ว ปัญญารู้ตรงนั้นก็ดับ แต่ความจำได้สำคัญหมายรู้ยังคงอยู่ เห็นความเกิดดับอยู่ ดังนี้


    อธิบาย ปัญญา วิชชา ญาณ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ)

    ปัญญา วิชชา ญาณ ๓ อย่างนี้ต่างกัน ถ้าจัดตามอริยสัจ ปัญญานั้นเป็นมรรค วิชชานั้นเป็นนิโรธ ส่วนญาณนั้นเป็นได้ทั้ง ๒ อย่างคื อวิปัสสนาญาณ นิพพิทาญาณ เช่นนี้เป็นมรรค ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ๓ อย่างนี้เป็น นิโรธ แม้ญาณ อื่น ๆ ที่เป็นมรรคก็เป็นปัญญา ส่วนที่เป็นผล ก็เป็นวิชชา หรือ นิโรธ




    ปัญญา ความรู้แจ้ง แทงตลอด
    ญาณ ความรู้แจ้ง ตามความเป็นจริง
    วิชชา ความรู้แจ้ง
    ยถาภูตญาณทัศศนะ รู้เห็นตามความเป็นจริง
    (มัชฌิมากรรมฐานบอร์ด)

    ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้ความเข้าใจชัดเจน, ความรู้ความเข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นตามความเป็นจริง ดู ไตรสิกขา, สิกขา

    ปัญญา ๓ (ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง)
    ๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล)
    ๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน)
    ๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ)

    ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

    สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง คือ
    ๑.ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
    ๒.ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา
    ๓.ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;

    วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ; วิชชา ๓ คือ ๑.ปุพเพนิ วาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้ ๒.จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓.อา สวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น; วิชชา ๘ คือ ๑.วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา ๒.มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ ๓.อิทธิ วิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ๔.ทิพพโสต หูทิพย์ ๕.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ ๖.ปุพเพนิวาสานุสติ ๗.ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (=จุตูปปาตญาณ) ๘.อาสวักขยญาณ

    อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หู ทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่น ได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึก ชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา

    ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้; ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑.อตีตังสญาณ ญาณใน ส่วนอดีต ๒.อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต ๓.ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑.สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง ๒.กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ ๓.กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ ๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป ๒.(นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป ๓.สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ๔.- ๑๒.(ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙) ๑๓.โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔.มัค คญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕.พลญาณ ญาณในอริยผล ๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน; ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส; ดู วิปัสสนาญาณ ๙

    ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตาม เป็นจริง

    ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

    อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตโต



    ถ้าสำหรับสันดานปุถุชนอย่างตัวเรานี้ แม้เมื่อเห็นเมื่อรู้เมื่อทำได้แต่ยังไม่ขาดไม่รู้แจ้งแทงตลอดจึงยังนิพพิทาญาณไม่บริบูรณ์ได้บ้างไม่ได้บ้าง จึงควรต้องทำให้มาก และ มากยิ่งขึ้นซึ่งกรรมฐานการละความกำหนัดราคะเมถุนนี้ๆตั้งแต่ต้นวนเวียนไปจนกว่าจะรู้แจ้งแทงตลอดได้






    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:15 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  5. Admax said:


    วิธีเบื้องต้นส่วนหนึ่งในการเข้าถึง "มรรค มีองค์ ๘" ที่ผมพอจะมีสติกำลังมองเห็นมี ๘ ข้อดังนี้

    ๑. เจริญปฏิบัติใน "กุศลกรรมบถ 10 ธรรมอันเป็นเครื่องเจริญปฏิบัติแห่งกุศล" ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปฏิบัติในธรรมอันประกอบไปด้วย ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน เป็นเบื้องต้นจนเกิดเห็นจริงในสัมมาทิฐิ เป็นไปเพื่อการดำรงกาย-ใจให้เข้าถึง กุศลมูล 3 และ ความสุจริต 3 อันเป็นไปในมรรค ๘ เพื่อยังให้ถึงอินทรีย์สังวร คงไม่ต้องอธิบายนะครับหากท่านศึกษาและเข้าใจในพระธรรมดีแล้ว
    หรืออ่านเพิ่มเติมที่นี่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=8951&w=%A1%C3%C3%C1%BA%B6

    ๒. เจริญปฏิบัติใน "สัลเลขะสูตร" ธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) คือ เจริญเพื่อเกื้อหนุนในกุศลกรรมบถ 10 เหมือนศีลกับพรหมวิหาร๔ ที่เกื้อหนุนกัน แต่ส่วนนี้เป็นการพึงเจริญปฏิบัติโดยมองน้อมมาสู่ตน-เจริญในตนเมื่อมองเห็น เหตุ ปัจจัย จากภายนอกมี่มากระทบบ้าง ภายในบ้าง แล้วพึงเจริญสติระลึกรู้ ปฏิบัติ พิจารณาด้วยการแยกแยะถูก ผิด ดี ชั่ว เห็นคุณ และ โทษ แล้วพึงเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ เข้าสู่ในธรรมเครื่องขัดเกลานี้เพื่อการดำรงกาย-ใจให้เข้าถึง กุศลมูล 3 และ ความสุจริต 3 เหตุให้ อันเป็นเหตุให้ มรรค ๘ บริบูรณ์สั ถึงซึ่งอินทรีย์สังวรบริบูรณ์
    อ่านที่นี่เพิ่มเติม http://www.nkgen.com/386.htm

    ๓. การเจริญปฏิบัติใน "ศีล อันเป็นกุศล" ธรรมอันเป็นเครื่องปกติ เพื่อความไม่เบียดเบียนทางกายและวาจา ระลึกเป็นสีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ อันบริบูรณ์ดีแล้ว เมื่อระลึกอยู่เช่นนี้ไม่เพียงแต่เข้าสู่อุปจาระฌาณแต่ยังช่วยให้เราสำรวมระวังในศีลมากขึ้นทำให้เรามีกาย-วาจาสุจริตเป็นองค์ธรรมในมรรค ๘ เป็นเหตุให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์ เพราะผู้ที่ไม่มีศีลอันดีงามแล้วจะระลึกในสีลานุสสติไม่ได้ ศีลอันดีนี้เป็นไปเพื่อความให้ใจไม่ร้อนรุ่ม มีความผ่องใส เบิกบาน ปราโมทย์ ปิติ สุข สงบ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายควรแก่งานเอื้อในอินทรีย์สังวรอันเป็นฐานแห่งสติปัฏฐาน ๔
    อ่านที่นี่เพิ่มเติม http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=24&A=2&w=%CD%D2%B9%D4%CA%D1%A7%CA%C7%C3%C3%A4

    ๔. การเจริญปฏิบัติใน "พรหมวิหาร๔" เพื่อยังให้ใจถึงควาเป็นกุศล มีใจสุจริตละความผูกเวรอาฆาตพยาบาท ใช้ร่วมกับศีลให้ศีลบริบูรณ์ดีงามทำให้องค์ธรรมในมรรค ๘ บริบูรณ์ เป็นเหตุให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์ ควรเจริญให้มากจนเกิดจิตปารถนาดีให้ผู้อื่นเป็นสุขโดยไม่แยกแยะ ถึงความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์แบ่งปันเกิดเป็นการสละให้โดยไม่หวงแหนในสิ่งไรๆที่ตนมีถครอบครองเป็นปัจจัยใช่สอยอยู่ ด้วยหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขจากการสละให้นั้นของเรา ดั่งความปารถนาดีที่บิดา-มารดานั้นจักมีให้บุตรอันเป็นที่รักเพียงคนเดียวด้วยหวังให้บุตรเป็นสุข มีจิตประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันให้บุตรปราศจากทุกข์มีแต่สุข เกิดเป็นการสละให้ในสิ่งอันดีงามเป็นประโยชน์สุขนั้นให้แก่บุตรได้พึงมีพึงใช้ มีจิตยินดีที่ตนได้สงเคราะห์แก่บุตรแล้ว หรือ มีปกติจิตยินดีเมื่อบุตรนั้นเป็นสุขกายและใจ เป็นการสละให้ที่สลัดจากความโลภอันตนยึดมั่นว่านี่เป็นเราเป็นของเราเสียได้ เรียกว่า "ทาน"(เมื่อระลึกถึงการสละให้อันงามนั้นก็เป็น จาคานุสสติ) พรหมวิหาร ๔ และ ทานนี้ เมื่อเจริญปฏิบัติเป็นประจำให้จิตยังให้จิตเข้าถึงเมตตาฌานเจโตวิมุตติ(ซึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จะต้องถึงเจโตวิมุตติทุกองค์) ดั่งพระสูตรที่ว่านี้http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=19&A=3329&w=%BE%C3%CB%C1%C7%D4%CB%D2%C3
    ดูวิธีเจริญจิตเพื่อแผ่เมตตาเบื้องต้นอันเป็นผลให้ถึงในเจโตวิมุตติตาม Link นี้ครับ
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

    ๕. เจริญปฏิบัติใน "สมาธิ" เพื่อยังให้จิตตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อันเอื้อต่อสติสัมปชัญญะเป็นเหตุให้เข้าถึงความรู้เห็นถูกต้องตามจริงไม่ใช่การอนุมานคาดคะเนตึกนึกเอาเองเกิดเป็นวิปัสสนาญาณ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จนเกิดนิพพิทา+วิราคะ ถึงซึ่ง วิมุตติ ดังที่กล่าวใน มรรคข้อ สัมมาสมาธิ ในพระสูตรข้างต้น
    ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=23&A=9041&w=%AC%D2%B9%CA%D9%B5%C3

    ๖. เจริญปฏิบัติใน "สติปัฏฐาน ๔" คือ ฐาน(ที่ตั้ง)แห่งสติ มีสติกำกับอยู่เป็นไปเพื่อวิมุตติ เพื่อให้แจ้งและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต ธรรม คือ สิ่งที่เกิดขึ้นและมีในกายและใจตนจนเห็นตามจริงทั้งกานและใจทั้งภายในและภายนอก มีสัมปชัญญะเกื้อหนุนให้รู้ตัวทั่วพร้อมในขณะนั้น
    - การเจริญปฏิบัติให้เริ่มที่กายานุสติปัฏฐานก่อนถึงจะเป็นผล เพราะเป็นการใช้สติดึงเอาสมาธิและสัมปชัญญะให้มีกำลังมากพอควรแก่งานและเป็นการเริ่มต้นพิจารณาเห็นในวิปัสสนาญาณตามจริงที่ไม่ใช่การตรึกนึกคิดคาดคะเนอนุมานเอาเอง เป็นการอบรมกายไปสู่จิตอันสัมผัสรับรู้และเห็นรับรู้ได้ง่าย
    - แล้วตามด้วย เวทนานุสติปัฏฐาน แล้วจึงเจริญปฏิบัติใน จิตตานุสติปัฏฐาน แล้วค่อยเจริญใน ธรรมมานุสติปัฏฐาน เป็นส่วนสุดท้ายตามลำดับ ถึงจะเป็นไปเพื่อการอบรมจิตอย่างแท้จริง จึงจะเห็นว่ามันสักแต่มีไว้ระลึกรู้ยังไง เห็นสิ่งที่มีเกิดขึ้นในตนและดับไปสูญไปแล้วจากตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเรียงเป็นลำดับให้แล้วตามนี้จึงจะเป็นไปเพื่อเข้าถึงโพชฌงค์ ๗ อย่างแท้จริง
    - หากไปหยิบเอามาเจริญปฏิบัติมั่วๆจะไม่มีทางเห็นตาจริงแน่นนอน เว้นเสียแต่ว่าบุคคลนั้นมีการสะสมไว้มาดีแล้วในกาลก่อน
    ดูเพิ่มเติมดังนี้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=6265&w=%CA%B5%D4%BB%D1%AF%B0%D2%B9
    และ http://www.nkgen.com/34.htm
    และ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=7552&Z=7914
    ดูเพิ่มเติมถึงปัจจัยอันเป็นอานิสงส์ต่อกันของสติปัฏฐาน ๔ ตาม Link นี้ครับ
    http://group.wunjun.com/ungpao/topic/539461-23343

    ๗. เจริญปฏิบัติให้เข้าถึงใน "อุเบกขา" เพื่อละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเสียจงได้ นั่นคือ ละในสมุทัยนั่นเอง ไม่มีทั้งความพอใจยินดี(ฉันทะ,โสมนัส) และ ไม่พอใจยินดี(ปฏิฆะ,โทมนัส) อยู่ด้วยความมีใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจและไม่พอใจมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ มีความสงบว่าง ผ่องใส ไม่หมองหม่นใจ มีสติระลึกรู้แลดูอยู่เห็นธรรมด้วยประการทั้งปวงไม่อิงราคะ ย่อมสลัดกิเลสออกเสียได้ ยังจิตให้ถึง"อุเปกขาสัมโพชฌงค์"(เมื่อจะเจริญปฏิบัติใน อุปสมานุสสติ คือ ระลึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ให้ระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นอุเบกขาอันมี่สภาพจิตแบบนี้ๆเป็นอารมณ์ เพราะนี่คือคุณของพระนิพพาน) อุเบกขานั้นมี 10 อย่าง ไม่ใช่ว่ามีแค่ในพรหมวิหาร๔ เท่านั้น http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=21483
    ดูพระสูตรที่เกี่ยวข้องตามนี้ครับ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=5605&Z=5668
    และ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3640&Z=3778
    และ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?book=1&bookZ=45&name=%E0%C1%B5%B5%CA%D9%B5%C3&book=19&bookZ=19

    ๘. การเจริญพิจารณาในกายและใจให้เห็นกายภายในบ้าง-ภายนอกบ้างและสภาพจิตภายในบ้าง-ภายนอกบ้าง ให้พิจารณาลงในธรรมเกิดปัญญาเห็นจริงในวิปัสสนาญาณจนเหลือเพียง รูป-นาม
    ๘.๑ "อสุภะ คือ เห็นในความไม่สวยไม่งาม ไม่น่าพิศมัยยินดี" ก็เพื่อความเป็นไปในสัมมาสังกัปปะ คือ ดำหริชอบ ดำหริออกจากกาม ราคะ เจริญในพรหมจรรย์ และ รูป-นาม ซึ่งอสุภะนี้ตาเราเห็นได้โดยบัญญัติ เป็นซากศพในแบบต่างๆ ศพที่เขียวอืดบ้าง ศพที่ถูกยื้อแย่งกินบ้าง ศพที่ถูกชำแหระออกบ้าง ศพที่แขนขาดขาขาดหัวขาดดั่งในสนามรบบ้าง ศพที่มีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลออกบ้าง ศพที่มีแต่กระดูกบ้างเป็นต้น พิจารณาเห็นกายกายในกายนอกเห็นว่าเรามีเขามีโดยไม่แยกเพศ จนแยกเป็นอาการทั้ง 32 ต่อไป
    ๘.๒ "ปฏิกูลมนสิการ หมายถึงกายซึ่งเต็มไปด้วยของที่ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ รวม ๓๒ ประการ" เมื่อเราพิจารณาเห็นเป็นปฏิกูล คือ เป็นอาการทั้ง 32 แล้วย่อมเห็นชัดว่า กายเรานี้มีเพียงอวัยวะภายในน้อยใหญ่ มีกระดูกเป็นโครงร่าง มีเนื้อนั้นหนุนโครงทรงไว้ภายใน มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ มี ขน ผม เล็บ ฟัน ใช้เพื่อการปกคลุดและทำหน้าที่ต่างๆ ที่เราไปติดใจก็ให้หนังหุ้มกับ ขนผม เล็บ ฟัน หนังนี้เอง เมื่อเห็นแยกเป็นอาการทั้ง 32 ไม่มีตัวตนบุคคลใดได้แล้ว ก็ให้พิจารณากายเรานี้สักเป็นแต่เพียงธาตุต่อไป
    ๘.๓ "ธาตุมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนโดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ ๔ แต่ละอย่างๆว่ามีในกายเราอยู่นี้"
    ธาตุดิน ที่เป็นของแข้นแข็งอันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ที่ต่างเมื่อไม่ได้มีการปรุงแต่งใดๆแล้ว ก็ล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ (โดยส่วนตัวผมนี้ได้เพ่ง ปฐวีกสิน ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งที่เข้าถึงนั้น เห็นกายตนเองและผู้อื่นเป็นดินเกิดทำให้เกิดวิราคะผุดขึ้นในใจในกาลสมัยนั้น)
    ธาตุน้ำ ที่หมายถึงเป็น ของเอิบอาบ คือความเป็นของเหลว เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ที่ล้วนปฏิกูล ไม่งามเช่นกัน ที่ต่างเมื่อไม่ปรุงแต่งใดๆแล้วก็ล้วนไม่งามไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    ธาตุลม ความเป็นของพัดไปมา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เช่น ลมหายใจอันไม่น่าปรารถนา ลมหมักหมมเหม็นเน่าอยู่ในท้อง ต่างล้วนเน่าเหม็น ล้วนไม่มีใครอยากดอมดม ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    ธาตุไฟ ความเป็นของเร่าร้อน สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย และทั้งเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องทำให้แปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว กล่าวคือแปรปรวนของที่กินและลิ้มแล้วให้เป็นพลังงานและสารต่างๆออกมา ย่อมเกิดความร้อนหรือพลังงานและของเสียเน่าเหม็นจากการสันดาปภายในต่างๆเป็นมูตรคูถ เหงื่อ ฯ. ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    - "หากเป็นธาตุ ๕ ก็เพิ่ม อากาศธาตุ" เข้าไปเป็นที่ว่างกว้าง หรือ เป็นช่องว่างแทรกอยู่ในทุกๆอนูของทุกๆธาตุ
    - "หากเป็นธาตุ ๖ ก็เพิ่ม วิญญาณธาตุ" เข้าไป เป็นธาตุรู้ พิจารณาเห็นกายในกายนอกเห็นว่าเรามีเขามีไม่แยกเพศ
    - เมื่อเห็นแยกเป็นธาตุๆ ไม่มีตัวตนบุคคลใดได้แล้ว ย่อมเข้ารู้แน่ชัดและง่ายในวิปัสสนาญาณ เห็นว่านี่คือรูปธรรม นี่คือนามธรรม มีเอกลักษณ์ คุณลักษณะอาการอย่างไร มีสภาพจริงเป็นไฉน เจริญเข้าสู่สติปัฏฐาน ถึงโพชฌงค์๗(ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้) โดยบริบูรณ์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของธาตุทั้ง ๔ ใน มหาหัตถิปโทปมสูตร ตาม Link นี้ครับhttp://www.nkgen.com/770.htm
    ๘.๔ เมื่อรู้เห็นแล้วว่า รูป มีคุณสมบัติและลักษณะแต่ละอย่างเป็นอย่างไรมีสิ่งใดบ้าง กับ นาม มีคุณสมบัติและลักษณะแต่ละอย่างเป็นอย่างไรมีสิ่งใดบ้าง ให้เจริญพิจารณามีสติระลึกรู้แลดูอยู่แค่สภาพนั้นๆที่เรารู้การกระทบสัมผัสในขณะนั้น ไม่ต้องไปแยกจำแนกว่าในสิ่งนี้ๆที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้กระทบสัมผัส ได้รู้ด้วยใจ มันมีรูปธาตุใดๆรวมอยู่จึงก่อเกิดขึ้นเป็นสิ่งนั้น ตัวนั้น
    ๘.๕ การจะรู้แยกธาตุจริงๆนั้นที่ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดพอจะรู้เห็นทางได้มีดังนี้คือ
    - ไม่ใช่การเข้าไปรู้ว่า ในสิ่งนั้นๆ บุคลนั้นๆ รูปร่างนั้นๆ มันประกอบด้วยอะไร-รูปอะไร-ธาตุอะไร ๑
    - แต่ให้รู้ว่าในขณะที่เราเกิดรู้ผัสสะใดๆ จากมโนใดๆ วิญญาณใดๆ ในขณะนั้นเป็นอย่างไร-มันมีคุณลักษณะ-สภาพจริง-สภาพธรรม-สภาวะธรรมเป็นอย่างไร มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น ๑
    ๘.๕.๑ สิ่งที่เห็นทางตามันก็มีแต่ สีๆ กับ แสง เท่านั้น สภาพที่เรามองเห็นทางตานั้นเมื่อดูแล้วก็จะเห็นว่า มันมีแต่สีๆ สีเขียวบ้าง ขาวบ้าง แดงบ้าง เหลืองบ้าง น้ำเงินบ้าง ดำบ้าง ส้มบ้าง ฟ้าบ้าง ซึ่งสีๆที่เห็นนั้นๆก็เป็นรูปทรงโครงร่างต่างๆตามลักษณะเคล้าโครงนั้นๆของมัน สีเหล่านั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไป-แปรผันไปตลอดเวลาอย่างไร และ แสงที่เห็นนั้น ก็มีสว่างจ้าบ้าง มีมืดมิดบ้าง เช่น
    ก. เมื่อรู้ผัสสะใดๆทางตาในขณะนั้น เช่น เห็นต้นไม้ ก็ให้พึงมีสติระลึกรู้แลดูว่า สิ่งที่เราเห็นอยู่นั้นมีสีอะไรบ้าง มีโครงร่างรูปร่างอย่างไร มีความเปลี่ยนแปรไปอย่างไรบ้าง จนเข้าไปเห็นเป็นสีๆที่มีรูปร่างต่างๆ มีความเปลี่ยนแปรไปเป็นธรรมดาทุกๆขณะเท่านั้น : เมื่อเห็นสี ก็รู้แค่สี เห็นความเปลี่ยนแปรไปของสี ไม่ต้องไปรู้ ตรึกนึก หรือ มองว่าในสีนี้มีแสงด้วย หรือ ตานี้เห็นได้ทั้งสีและแสง หรือ สีเขียวคือใบไม้ สีน้ำตาลดำคือลำต้นของต้นไม้ ให้รู้แค่สีๆที่มีรูปทรงนั้นๆเท่านั้น ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย
    ข. เมื่อเห็นแสงรู้ผัสสะในขณะนั้นเป็น แสงสว่าง ก็ให้พึงมีสติระลึกรู้แลดูว่า แสงสว่างนั้นมันจ้ามาก ลุกโพรง หรือ พร่ามัว แสงที่เข้าตาหรือที่เห็นนั้นมีลักษณะใด เป็นประกายอย่างไร และเปลี่ยนแปลงผันแปรไปอย่างไรในแต่ละขณะนั้นๆ : เมื่อเห็นแสง ก็รู้แค่แสงเป็นอารมณ์ เห็นความเปลี่ยนแปรไปของแสง ไม่ต้องไปรู้ ตรึกนึก หรือ มองว่าในแสงนี้มีสีด้วย หรือ ตานี้เห็นทั้งสีและแสง ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย
    กล่าวคือ.."การพิจารณาในวัณณะรูป(สี)นั้น หรือ สิ่งที่เห็นทางตาจนเห็นแจ้งนั้น ในขณะที่ตาเรามองเห็น หรือ ขณะที่ตาเราจดจ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั้น..เราเห็นสีอะไรบ้าง ให้เอาสีมาตั้งเป็นอารมณ์รับรู้ทางตา ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย"
    ๘.๕.๒ เมื่อเราสัมผัสน้ำในโอ่ง อ่างน้ำ หรือแม่น้ำ เราจะรู้ว่าเมื่อเราเอามือกวัดแกล่งไปในน้ำ หรือ กระโดลงน้ำอย่างเร็ว จากธาตุน้ำนั้นซึ่งมีลักษณะเอิบอาบ-ชุ่มชื่น ซาบซ่าน-เกาะกลุม ก็จะมีสภาพแข็งอ่อนใช่ไหม นั่นเป็นคุณสมบัติของธาตุดินใช่ไหม
    - ขนาดสิ่งที่เราทุกคนนั้นเรียกว่าน้ำ เมื่อเข้าไปสัมผัสแล้วยังมีดินร่วมอยู่ด้วยใช่ไหม แล้วมันจะยังเรียกน้ำได้อีกไหม
    - ดังนั้นให้รู้แค่ลักษณะนั้นๆที่เราสัมผัสได้ ไม่ต้องไปเพ่งเอาว่าในน้ำนี้มีธาตุดินร่วมอยู่ด้วย มีธาตุไฟร่วมอยู่ด้วย มีธาตุลมร่วมอยู่ด้วย แต่ให้มีสติระลึกรู้แลดูอยู่ รู้ผัสสะในขณะที่สัมผัสน้ำนั้นๆว่าเรารู้สึกอย่างไร เช่น
    ก. เมื่อรู้สึก เอิบอาบ ชุ่มชื่น ซาบซ่าน ก็รู้แค่สภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่านี่คือธาตุน้ำหรือในน้ำมีอะไรรวมอยู่บ้าง มีธาตุใดๆบ้าง ให้รู้แค่สภาพ เอิบอาบ ชุ่มชื่น ซาบซ่าน ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
    ข. เมื่อรู้สึก อ่อน แช็ง นุ่ม ก็ให้รู้แค่ในสภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่าในน้ำก็มีธาตุนั้นด้วย ให้รู้แค่สภาพอ่อน-แข็งนั้น ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
    ๘.๕.๓ เมื่อรู้สึก ร้อน อุ่น เย็น ก็ให้รู้แค่ในสภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่าในน้ำก็มีธาตุนั้นด้วย ให้รู้แค่สภาพร้อน-เย็นนั้น ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
    กล่าวคือ.."การพิจารณาจนรู้ในธาตุ หรือ รูปธรรมใดๆที่เรารับรู้ได้จากการกระทบสัมผัสกางกายนั้น ให้เรารู้แค่ว่า..ในขณะนั้นเรารู้ผัสสะคุณลักษณะสภาพใดได้ หรือ ในขณะนั้นเรารู้ผัสสะคุณลักษณะสภาพใดอยู่ ก็ให้เอาคุณลักษณะสภาพที่เรารับรู้ได้ในขณะนั้นมาเป็นอารมณ์พิจารณา ไม่ต้องเข้าไปรู้สิ่งใดๆอีก มันถึงไม่มีตัวตนบุคคลใด หรือ สิ่งใดๆอีก"
    - เมื่อรู้แค่ผัสสะนั้นๆไม่ไปรู้อย่างอื่นแล้ว จนเห็นชำนาญแล้ว ให้พิจารณามองย้อนดูว่า วันๆหนึ่งตั้งแต่วันที่พิจารณาจนถึงปัจจุบันที่นั้นเรารับรู้กระทบสัมผัสสิ่งใดๆบ้าง ก็จะเห็นเองว่าที่เรารู้นั้นๆมันมีเพียง สีๆ เสียงสูง-ต่ำ ทุ้ม-แหลม กลิ่นในลักษณะต่างๆ รสในลักษณะต่างๆ อ่อน แข็ง เอิบอาบ ตรึงไหวเคลื่อนที่ ร้อน เย็น ไม่มีตัวตนบุคคลใดเลย มีแต่สภาพการรับรู้นั้นๆเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดๆเลย
    ๘.๖ รู้ในลักษณะอาการความรู้สึกของจิตที่ปราศจากความนึกคิดปรุงแต่ง คือ มีสติแลดูอยู่รู้ตัวทั่วพร้อมเห็นในสภาวะลักษณะอาการของจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไร
    ก. เมื่อแรกเริ่มอาจจะรู้อาการของจิตในขณะที่เราเจริญจิตตานุสติปัฏฐานหรือรู้ตัวว่าขณะนี้มี โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ แล้วดูลักษณะอาการของจิตใจในขณะที่เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆว่าเป็นอย่างไร เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เช่น ติดใจติดตามเพลิดเพลิน ขุ่นมัวขัดเคืองใน หมองหม่นใจ สั่นเครือติดตาม อัดอั้น อึดอัด คับแค้นใจ เป็นต้น พิจารณาดูว่าแต่ละอย่างๆนี้เป็นลักษณะอาการของจิตในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ ที่ต้องรู้ส่วนนี้อยู่เนืองๆก็เพื่อเมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึกใดๆขึ้น แม้อย่าง ละเอียด อ่อนๆ กลางๆ หรือ หยาบ เราก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า ขณะนั้นเสพย์อารมณ์ความรู้สึกใดๆอยู่ เพื่อจะละมันได้ทันที
    ข. เมื่อรู้สภาพลักษณะอาการของจิตจนชำนาญแจ่มแจ้งแทงตลอดแล้ว เมื่อใดที่มันเกิดขึ้นอีกก็ให้เราเข้าไปรู้ในสภาวะลักษณะอาการของจิตนั้นๆโดยไม่ต้องไปให้ความหมายของมันว่ามันคืออารมณ์ความรู้สึก รัก หรือ โลภ หรือ โกรธ หรือ หลงใดๆ แค่ให้จิตเข้าไปรู้จิต คือ มีสติแลดูอยู่ในลักษณะอาการของจิตในขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น ไม่มีตัวตน บุคคลใด ไม่มีสิ่งใดๆทั้งสิ้น เห็นลักษณะอาการนั้นๆว่ามัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ทรงอยู่ ดับไป ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ สักแต่รู้อาการนั้นก็พอไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก ไม่ต้องไปให้ความหมายใดๆกับความรู้สึกในลักษณะอาการของจิตใดๆขณะนั้นๆทั้งสิ้น สักเพียงแต่รู้ก็พอ มันถึงไม่มีตัวตน บุคคลใด นี่เรียกว่าปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน คือ ความปรุงแต่งจิตเหล่านี้สักแต่มีไว้ให้ระลึกรู้และตามรู้มันไปเท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้เสพย์ ไม่ได้มีไว้ให้เข้าไปร่วม
    - เมื่อพิจารณารู้เห็นอย่างนี้จนชำนาญแล้ว ก็จะพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า มันมีแต่สภาพอาการความปรุงแต่งนี้เท่านั้น มันไม่ใช่จิต ปกติจิตเป็นสภาพสงบผ่องใสสักแต่อาศัยเพียงเป็นความปรุงแต่งจิตนี้ๆที่จรเข้ามาทำให้ใจเศร้าหมอง ความปรุงแต่งที่จรมานี้ไม่ใช่จิต จนเกิดมีสติแลดูอยู่เห็นตามจริงดังนี้แล้วแม้สิ่งไรๆ ความรู้สึกปรุงแต่งนึกคิดไรๆเกิดมา มันก็ไม่ใช่จิตไม่ใช่เรา เราก็จะไม่ไปเคลิบเคลิ้ม หลงตาม เสพย์อารมณ์ตามมันไป ด้วยเพราะเห็นแยกความปรุงแต่งจิตกับจิตนั้นแล้ว นี่เรียกว่า "จิตเห็นจิต"


    ** การเจริญปฏิบัติในข้อที่ ๘ ทั้งหมดนี้จัดเป็นการปฏิบัติใน สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เป็นการเจริญปฏิบัติใน สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรชอบ ๔ ประการ ดังนี้คือ **
    ๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
    ๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
    ๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
    ๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]
    อ่านเพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13591.0

    - สรุป..ให้เราพึงเพียรมีสติระลึกรู้เจริญพิจารณาว่า ในแค่ละขณะจิตที่เรารู้ผัสสะนั้นๆ เรารู้สิ่งใด รู้สภาพคุณลักษณะใด-รู้สภาพธรรมใดของธาตุ รู้ลักษณะอาการความรู้สึกใดๆ-เห็นสภาพธรรมใดๆของจิตก็พอ เห็นสภาพธรรมสิ่งไรๆว่าขณะนี้เกิดขึ้นในกายใจตนหรือสภาพธรรมนี้ๆดับไปไม่มีแล้วในกายใจตน เห็นว่ามันมีความผันแปรอย่างไร ไม่คงอยู่อย่างไร ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนอย่างไร จนเห็นความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปอย่างไร สิ่งนั้นมันก็จะไม่มีตัวตนบุคคลใดอีก เห็นถึงความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร นอกจากรูปและนาม ในความรู้ความเข้าใจของผมนั้นสิ่งนี้ๆถึงจะเรียกว่า "วิปัสสนา"
    ดูเพิ่มเติมตามพระสูตรนี้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=131&book=12&bookZ=
    เห็นความเป็นไปตามจริงในปฏิจจสมุปปบาทอย่างไร ดูเพิ่มเติมที่นี่ http://nkgen.com/1mainpage1024.htm

    - ซึ่งวิธีการเจริญทั้งหลายเหล่านี้อาจจะใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกันไป และ เจาะจงแต่ละบุคคลไปตามแต่จริตนั้นๆ ที่ผมยกมานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ปัญญาผมพอจะรู้ได้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และ ทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ลองเลือกแนวทางทั้งหลายนี้ตามแต่ที่ท่านคิดว่าตรงและถูกจริตของท่านมาน้อมพิจารณาและเจริญปฏิบัติดูนะครับจะเห็นทางเข้าสู่ มรรค ๘ ทางแห่งการพ้นทุกข์อย่างแท้จริงครับ



    เคยบันทึกผลแห่งการกรรมฐานไว้นานมากแล้วที่ Link นี้

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46531#msg46531

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:16 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานหลังจากที่ได้เจริญครบหมดในข้อ ๑-๓ แล้ว

    เวลาที่เราเกิดราคะเมถุนจิตใจจะหวิวสั่นเครือ มีความรู้สึกจิตวิ่งลงจากเบื้องบนตั้งแต่หน้าอกลงมาหยั่งที่อวัยวะเพศ เหมือนอวัยวะเพศจะพองขึ้นมีน้ำไหลจากท่อปัสสาวะ แต่เรายังติดคิดอยู่ พอเมื่อรู้แล้วเข้าใจว่าราคะเมถุนเกิด ยิ่งทำให้จิตใคร่ทะยานไปใหญ่ ได้แต่คิดระลึกว่าทำไฉนหนอถึงจะละมันได้ ดับมันได้ ไม่กำเริบ ไม่หลงมัน ไม่สืบต่อได้ สมาธิก็ไม่ถึงไม่จดจ่อพอ ฌาณก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ปฏิบัติดังนี้
    ๑. ตัังอานาปานสติไว้ภายในเป็นเอกเป็นเบื้องต้น ดั่งที่พระตถาคตตรัสสอนใน "อสุภะ สูตรที่ ๖"
    ๒.หวนระลึกถึงดั่งเราปวดท้องขับถ่ายอุจจาระ เราจะรู้สึกจุกเสียดดั่งมีลมอัดลูกโป่งเคลื่อนดันมาที่ไส้น้อยไส้ใหญ่ บางครั้งก็ดูว่าอาการปวดนี้ยังมีไม่มากจะทำกิจธุระก่อนก็ได้ บางครั้งปวดมากท้องรีบเข้าห้องน้ำ เราจึงคิดว่าเหตุไฉนหนอ เราถึงรู้ว่าตอนนี้ควรเข้าห้องน้ำ ตอนนี้ยังเบาอยู่ ตอนนี้ยังทรงได้อยู่ แล้วพอเห็นว่าอ่อนๆพอทรงได้ก็ทำงานต่อ ก็ลืมอาการปวดไปด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่า เพราะหากตัดควมคิดว่า เราปวดขี้ เราต้องขับถ่ายออกแล้ว สิ่งที่เรารู้ก่อนคิดคือสภาวะธรรมของกายที่ส่งให้ใจรู้ ว่าเกิดอาการอย่างนี้ๆ พอใจรู้ ธรรมชาติของจิตนั้นคือคิดกอปรกับสัญญา มันก็คิดว่าปวดขี้ นี่น่ะทั้งๆที่เราเจอสภาวะจริงอยู่ทุกวันแต่กลับไม่รู้เอง มัวแต่คิดหาทางจนใช้ความคิดปิดกั้นความจริงไป เรานี่โง่จริงๆ สมองมีไว้คิด แต่วิญญาณธาตุมีไว้รู้เท่านั้น
    ๓. ดังนี้แล้วจึงเห็นและหวนระลึกถึงคำสอนของพระตถาคตที่ตรัสในสติปัฏฐานว่า สักแต่มีไว้ระลึกรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ ทีนี้เวลาอาการไรๆเกิดขึ้นแก่เราแม้จะมีความคิดหรือไม่ก็ตาม เราจะตั้ง อานาปานสติ หรือจะเป็นพุทธโธไว้เบื้องต้นที่ภายในก่อน พอให้จิตตัดความคิดในบางขณะ แล้วก็ตั้งจิตที่ว่างแช่อยู่รู้แต่อาการของกายและใจที่เกิด แม้แต่คิดก็ดึงจิตแยกรู้แค่ว่ามันคิด คือ คิดก็รู้ว่าคิด คิดเป็นส่วนวิตก วิจาร คิดมันเป็นแค่การทำงานของสมอง คิดเป็นเรื่องของความปรุงแต่งในสังขารอันกอปรกับสัญญา เกิดอาการไรๆก็รู้ว่าอาการอย่างนี้ๆเกิดมีแก่เราเท่านั้น เจริญอยู่เหมือนดั่งที่เราเข้าไปรู้ว่าเราปวดขี้ มันรู้เพราะอาการนี้ๆเกิด ไม่ได้ไปจดจ้องเจตนาจะรู้ รู้อาการว่ามันเป็นอย่างไร เสียดมากหรือน้อย ทรงไหวไหม แต่พยายามรู้โดยไม่เจตนา รู้โดยไม่อิงสัญญา นั่นก็อาศัยมรรค ๘ นี้แล อาศัยให้กุศลมีเกิดขึ้น มีสติสัมปะชัญญะสังขารอยู่
    - เหมือนตอนเรานั่งสมาธิได้ยินเสียงเขาทุบประตูที่ห้องข้างๆดังมาก แต่ในขณะนั้นเราแทบไม่ได้ยิน และไม่รู้ว่ามันคือเสียง รู้แค่สภาวะธรรมหนึ่งสภาวะธรรมนั้นมีอึกทึกเกิดขึ้นให้รู้ผัสสะนั้น จนเมื่อสำเหนียกกำหนดรู้ในอารมณ์นั้นก็เห็นรู้แค่ความอึกทึกแรงบ้าง หนักบ้าง เบาบ้าง อึกทึกอึมครึมกึกก้องปกคลุมอยู่นั้นนานพอควรสักระยะ พอจิตคลายจากทำสมาธิก็จึงรู้ว่านั่นคือเสียง แต่ยังไม่ดังมาก พอหลุดมารู้สึกตัวปกติจึงรู้ว่านั่นคือเสียงที่มีคนใช้ค้อนทุบเหล็กซึ่งดังมาก จากนั้นจึงเกิดความรำคาญหงุดหงิดไม่พอใจ เพราะตอนนั้นมันตีสองแล้ว เมื่อหวนระลึกอย่างนี้เราจึงเห็นว่านี่แสดงให้เห็นว่าหากแค่รู้สภาวะธรรมไม่มีความคิดต่อก็ไม่รู้อะไรไม่เกิดความอยาก ความขัดใจ ความใคร่ไรๆทั้งนั้น
    ๔. ด้วยเห็นข้างต้นจากข้อ ๑-๓ ไม่ว่าอาการไรๆเกิดขึ้นทางกายอย่างไร จิตก็มีเช่นนั้นเหมือนกัน เวลาจะมีอาการใดๆเกิดเราก็ตั้งกำหนดรู้ลมไว้ภายในเป็นที่ตั้งเบื้องต้น ดูอาการมันไป มันจะใคร่ใจหวิววูบวาบก็รู้ จะรู้สึกว่าตรงอวัยวะเพศเกิดสภาวะธรรมไรๆขึ้นจะรู้สึกพองตัวมีความเคลื่อนตัวไปขอสภาวะที่เอิบอาบซึมซาบไหลไปตามท่อปัสสาวะก็แค่รู้ ดูว่ามันมาก มันน้อย อาการยังไง ดูภายในตนว่ามันเกิดความอ่อนแข็งไหม ร้อนเร่าไหม อุ่นไหม เย็นไหม เคลื่อนตัวไหม เอิบอาบซึมซาบเกาะกุมไหม ว่างโล่งไงในขณะใดไหม เข้าไปรู้ไรๆไหม รู้อย่างไร สืบอย่างไร ไม่ให้ความหมายจากความรุ้สึกนั้นด้วยเดชแห่งพุทธเป็นต้นทำให้สลัดความคิดออก ด้วยเห็นว่าลมหายใจนี้บริสุทธิ์ไม่เร่าร้อน ไม่ประกอบด้วยความคิด ความฟุ้งซ่านบ้าง เป๊็นที่เบาโล่งของกายใจบ้าง เป็นที่สงบบ้าง ไม่ว่าอาการไรๆเกิดขึ้นก็แค่มีสภาวะธรรมนั้นๆเกิดเท่านั้นเอง

    - แต่การกระทำทั้งหมดนี้ยังด้วยเจตนาตั้งจิตไว้ทำมันอยู่ ยังคิดตามอยู่ ยังทำไว้ในใจคือสำเหนียกรู้ได้ในบางช่วงเท่านั้น จึงทำให้ยังผลแค่ข่มไว้เป็นสมถะอยู่ เพราะยังรู้อาการนั้นมีชื่ออย่างนั้นอย่างนี้อยู่ ยังเห็นเป็นธาตุดิน ไฟ ชม น้ำ อากาศ วิญญาณอย่างนั้นๆนีีๆเกิดขึ้นอยู่ ยังไม่ถึงปัญญา คือ สัมมาทิฐิ ให้เห็นชอบ เพราะยังคิดอนุมานเอาอยู่
    - แต่เราก็ไม่ใส่ใจไม่ฝักใฝ่ในผล ไม่ตั้งความปารถนา มันจะเกิดอย่างไรก็ช่างมัน รู้เห็นอย่างนี้แหละไปเรื่อยๆ มันจะได้มันได้เอง ถ้าไม่ได้ให้แสวงไขว่คว้าจนตายก็ไม่ได้ ถ้าเจตนาจะทำยังทำไม่ได้..แล้วมันจะถึงความเกิดขึ้นและทรงอยู่โดยไม่เจตนาได้อย่างไร
    - ที่ทำอยู่นี่ก็คือสัมมัปธาน๔ แล้ว โดยมีศีลเป็นฐาน ถวายเป็นพุทธบูชา ดัวยเดชแห่งการกระทำในพุทธบูชานี้ เราคงถึงที่สุดแห่งกองทุกข์สักวัน สะสมบารมีการปฏิบัติไว้ดั่งรินน้ำใส่แก้วทีละหยดสองหยดสักวันมันก็จะเต็มไปเองอย่างแน่นอน ถ้าเราตั้งใจมั่นเจริญปฏิบัติดังนี้คือ
    ๑. มี ฉันทะอิทธิบาท ๔ คือ ความยินดี อันมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ไม่สัดส่ายใคร่ทำอยู่ในกุศลธรรมทั้งปวง ให้เป็นไปในความเพียรพยายาม คือ วิริยะอิทธิบาท ๔ เกิดสืบใน จิตตะอิทธิบาท ๔ คือ ความสนใจเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น คือ มีเจตนาตั้งจิตมั่นในกุศลทางกาย วาจา ใจนั้นๆ และ วิมังสาอิทธิบาท๔ คือ (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
    ๒. มี ศีล เป็นบาทฐาน(มีอินทรีย์สังวร สำรวมระวังในอินทรีย์ ๖ รูปเพียงปัจจุบันทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่สืบปรุงแต่งเอานิมิตต่อ คือ ศีล มีศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น เกิดเป็นฐานของสมาธิ ฌาณ ปัญญา เหตุนั้นเพราะ..เมื่อมีความสังวรอยู่ สำรวมระวังในกายและวาจานั้น สติย่อมตั้งระลึกรู้ให้เกิดขึ้นอยู่เนื่องๆเป็นอันมาก เมื่อเกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันว่ากำลังทำกิจใดๆอยู่บ้าง มีสัมปะชัญญะมีอยู่ ตามรู้กายรู้ใจอันควรเหมาะดีแล้ว สมาธิย่อมเกิดในที่นั้นเพราะจดจ่อสภาวะนั้นๆอยู่ในที่นั้น ซึ่งเริ่มเกิดจากสติสัมปะชัญญะที่อาศัยรู้สิ่งที่เสพย์ดำเนินไปอยู่บ้าง เกิดความหวนระลึกรู้ตรึกนึกคิดอันเกิดแต่สัญญาบ้าง เมื่อกุศลอันเกิดมีใน สติ สมาธินั้นมากพอแล้ว ความแช่มชื่นก็เกิดมี ปิติ สุข สงบ จิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ เกิดความรู้เห็นตามจริงโดยความคิดอันเกิดจากความทำไว้ในใจโดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ คิดสืบค้นใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยความสำเหนียกจะกำหนดรู้ในสภาวะธรรมนั้นๆตามเหตุปัจจัย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไป ความเป็นปฏิฆะต่อกันบ้าง ความเกิดฉันทะให้สืบต่อบ้าง ทั้งในกุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งปวงบ้าง เป็น สัมมาสังกัปโป) จนเมื่อเกิดปัญญารู้เห็นตามจริงปราศจากการคิดอนุมานก็ทำให้สัมมาทิฐิเกิดขึ้นเป็นประธานแห่งมรรค
    ๓. มี พรหมวิหาร ๔ ความมีจิตเอ็นดูปรานีปารถนาดี ไม่เป็นศัตรูภัยพาลต่อกัน มีจิตสงเคราะห์เผื่อแผ่แบ่งปันต่อกัน มีความยินดีในความสุขสำเร็จหรือการคงไว้ซึ่งสุขสำเร็จซึ่งกันและกันอันดีปราศจากความริษยา มีความวางใจไว้กลางๆโดยแยบคายด้วยเห็นในเจตนาและผลของการกระทำโดยเจตนานั้นๆ โดยไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะกลัว เพราะไม่รู้จริง
    ๔. มี ทาน ความสืบจากจิตอันเอ็นดูปรานี-เผื่อแผ่-ยินดีในสุขสำเร็จของผู้อื่น เกิดเป็นการสละให้ เมื่อสละให้แล้วไม่มาติดใจข้องแวะในภายหลัง
    ๕. ตั้งมั่นในพละ ๕ พละ คือ กำลัง เป็นการเติมเสริมสร้างกำลังให้กายและใจ
    ก. ศรัทธา(มีใจเดียวแน่วแน่เชื่อโดยไม่คลางแคลงสงสัย เกิดเจตนาอันดี ทำให้จิตตั้งมั่น ศรัทธา ๔ คือ

    ก/๑. กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง
    (เกิดเป็นกำลังใน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นต้น)

    ก/๒. วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง
    (เกิดเป็นกำลังใน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นต้น)

    ก/๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง
    (เกิดเป็นกำลังใน ศีล พรหมวิหาร ๔ และ ทาน เป็นต้น)

    ก/๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ การตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า
    (เกิดความมีจิตตั้งมั่น สละคืนกิเลส รู้คุณของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนโดยไม่คลางแคลงใจ มีกำลังใจดี)

    ข. วิริยะพละ(เกิดกำลังความเพียรเจริญปฏิบัติอยู่ไม่ลดละ ท้อหรือถดถอย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้มีอิทธิบาท๔ ให้มาก จึงจะเกิดความเพียรได้ ความเพียรนั้นจะก็เป็นกำลังความเพียรในสัมมัปปธาน ๔)
    ค. สมาธิ(จิตตั้งมั่นจดจ่อแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ควรแก่งาน สัมมาสมาธิ)
    ง. สติ(ความระลึกรู้ ถ้าระลึกรู้โดยความหวนระลึกรู้โดยสัญญาบ้าง ความระลึกรู้โดยความคิดบ้าง ถือเป็นสติแบบบ้านๆทั่วไป แต่หากรู้ ตามรู้ เห็นในสภาวะธรรมตามจริงอันตัดจากความตรึกนึกคิดและเจตนา คือ สัมมาสติ)
    จ. ปัญญา(ความรู้อันเกิดจากความเห็นตามจริงไม่ตรึกนึกคิดอนุมานเอา มี วิตกวิจารแห่งองค์ฌาณเป็นต้นให้โยสิโสทำไว้ในใจโดยแยบคายพิจารณาตามจริง เกิดเป็นสัมมาทิฐิ เป็น มรรค)

    - เมื่อยังจิตอย่างนี้ ก็เกิดสติสัมปะชัญญะมากขึ้น เกิดความไม่ลูบคลำเจตนาขึ้น อยู่ๆก็มีวูบหนึ่งขนลุกบ้าง ตรึงๆกายบ้าง วูบวาบบ้าง แล้วก็มีความอบอุ่นแต่โล่งจิตโล่งสมองปรอดโปร่งปกคลุมกายใจเกิดความน้่งแช่อยู่รู้แค่อารมณ์นั้นๆ


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:17 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  7. Admax said:


    [เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]


    [๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
    เป็นอย่างไร
    ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ
    นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
    ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิด
    ขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
    ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำ
    ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อ
    ความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความ
    บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
    ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
    เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
    [๕๐๗] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
    ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ
    พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
    สมาธิ เป็นไฉน
    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
    ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์
    สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
    ปธานสังขาร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
    ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
    ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความ
    ประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด
    นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
    ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึง
    แล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และ
    ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิ
    ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
    [๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
    สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
    ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
    คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
    คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
    เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
    [เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]
    [๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
    เป็นอย่างไร
    ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
    สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
    เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
    มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
    *ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
    ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
    ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
    เหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร
    วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
    เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
    [๕๑๐] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ
    สมาธิ เป็นไฉน
    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
    ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
    สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
    ปธานสังขาร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
    ปธานสังขาร
    ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ และ
    ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
    *สังขาร ด้วยประการฉะนี้
    [๕๑๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ
    การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง
    ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
    คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
    คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
    เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๘๑๗ - ๖๘๘๖. หน้าที่ ๒๙๔ - ๒๙๗.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=6817&Z=6886&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=505
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:17 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  8. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 PM »
    ๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

    ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ)

    - ปกติแล้วคนเราจะเกิดกามราคะขึ้นมานั้น ก็ด้วยเห็นในรูปใดๆทางตาเป็นใหญ่ นั้นคือ เห็นบุคคลเพศตรงข้ามทางตาแล้วเกิดความพอใจเพลิดเพลินยินดี จากนั้นก็ตรึกนึกคิดปรุงแต่งไปพร้อมกับสัญญาสำคัญใจมองเขาให้เป็นไปในราคะ คือ สนองในความอยากเสพย์เมถุน จนเกิดเป็นความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์แห่งเมถุน จนเกิดความร้อนรุ่ม เร่าร้อนกลุ้มรุมทั้งกายและใจ ยังให้เกิดความถวิลหาทะยานอยากใคร่ได้ปารถนาที่จะเสพย์

    - สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด
    สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่


    ๑. เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ
    ๒. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา กรุณาซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ
    ๓. อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลายด้วยความไม่รู้ เพราะคึกคะนอง ทำโดยไม่มีความโลภหรือความโกรธมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม ปัญญาคือเข้าใจโลกนี้ตามความเป็นจริง รู้ชัดในกฎแห่งกรรม หรือมีสามัญสำนึกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเอง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโมหะ

    - กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน


    - เมื่อเกิดรับรู้ทางสฬายตนะใดๆแล้วเกิดกิเลสทุกข์ คือ กาม ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ให้เจริญจิตขึ้นในกุศลวิตกดังนี้ครับ

    ๒.๑.๑ ก. เมื่อเกิดกามราคะขึ้นแก่จิตเมื่อเราได้รับรู้ทางตา
    - ให้พึงรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเราถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว โดยความพอใจยินดีในสิ่งที่มีที่เป็นของบุคคลนั้นๆที่เราเห็น จนเกิดปารถนาใคร่ยินดีได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์ใดๆที่รับรู้อยู่ เกิดความกำหนัดใคร่ได้ที่จะเสพย์ในเมถุนแล้ว พึงระลึกว่าทั้งๆที่บุคคลที่เราเห็นเขาก็เป็นอยู่ของเขาอย่างนั้น เรานั้นแหละที่ไปติดใจตรึกนึกปรุงแต่งเสพย์อารมณ์จา
    กความคิดอันเป็นไปในกามราคะจนทำให้เรารุ่มร้อนเร่าร้อนกายใจ
    - ให้เปลี่ยนความคิดที่มองเขาใหม่ดังนี้
    ก. คิดใหม่มองใหม่ดั่งท่านพระบิณโฑลภารทวาชะเถระท่านตอบคำถามแก่พระเจ้าอุเทนว่า

    พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    - เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่า เป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา
    - เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว
    - เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา

    ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท
    เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย
    ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


    ข. คิดใหม่มองให้โดยดูว่าบุคคลนั้นๆที่เราเห็นอยู่เขาทำบุญมาอย่างไรหนอจึงมีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณอันหมดจดงดงาม ฉลาด เป็นที่น่ารักน่าชื่นชมปารถนาแก่เราแลบุคคลทั้งหลาย มีความอยู่ดีกินดีเป็นสุขกายสบายใจอย่างนี้

    ข.๑ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "ทาน" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

    ข.๒ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "ศีล" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

    ข.๓ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "สมาธิ" และ "วิปัสสนา" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ
    ข.๔ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "พรหมวิหาร ๔" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

    (พรหมวิหาร ๔ เป็นอาหารเสริมที่ใช้บำรุงรากฐานอย่างดี ให้เจริญใน ศีล ทาน สมาธิ สำเร็จบริบูรณ์ได้ด้วยดี เพราะมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

    ๑. เมื่อเราปารถนาอยากจะมีคนรักที่งดงามดีพร้อมทุกอย่าง หรือ ปารถนาที่จะได้ครอบครอง ครองคู่กับที่คนเราชอบเราปลื้มใจอยู่ ดั่งเช่นคนที่เรามองเห็นและเสพย์ความกำหนัดใคร่ปารถนาอยู่นี้ เราก็ควรที่จะทำในบุญกุศลให้มากให้มีเสมอกันกับเขา นั่นคือเราต้องเพียร ขยัน อดทน เจริญปฏิบัติให้เรามีพรหมวิหาร๔ ศีล ทาน สมาธิ ปัญญาให้มีบารมีเต็มหรือมากพอกับเขาหรือสูงกว่าเพื่อให้มีบารมีคู่กัน ดั่งเราเห็นว่ามีคู่ครองบางคู่นั้นแม้ชายหน้าตาไม่งดงามแต่ผู้หญิงหน้าตางดงามครองคู่รักใคร่กันก็มี ผู้ชายจนผู้หญิงรวยสวยงดงามครองคู่กันก็มี หรือ คนหน้าตางดงามสมกันมีฐานะที่สมกันครองคู่กันก็มี นั่นเพราะเขาสร้ามบุญบารมีทั้ง ๕ ข้อดังกล่าวนี้เสมอกันมา ดังนั้นเมื่อเราปารถนาจะมีคู่ครองงดงาม มีนิสัย วาจา การกระทำ ที่สมกันกับเรา หรือ อยากให้บุคคลที่เราปารถนาอยู่นั้นเป็นคู่ครองเรา เราก็ต้องเพียรขยันอดทนอย่างไม่ลดละเพื่อที่จะสร้างบารมีทั้ง ๔ นี้ให้มากเสมอเขาหรือมากกว่าเขา ด้วยประการฉะนี้
    ๒. สำหรับเมื่อเราถือเนกขัมมะ(เป็นฆราวาสแต่ถือบวชใจมีศีล ๕ หรือ ศีล ๘ เป็นเบื้องต้น) แม้จะเจอบุคคลที่เราพอใจยินดีเป็นที่งดงามหมดจดดั่งตนใคร่ได้ปารถนาดีแล้ว แต่เรามิอาจที่จะได้ยลหรือครองคู่ใดๆร่วมกับเขา ก็ให้พึงระลึกว่า เขาไม่ได้ถูกสร้างหรือลิขิตมาเพื่อเป็นคนของเรา ดังนั้นถึงแม้เราจะพึงปารถนาในเขาไป หรือ ตะเกียกตะกายไขว่คว้าเพื่อที่จะได้เขามามากเท่าไหร่จนแม้แลกด้วยกับชีวิตที่มีอยู่นี้ก็ไม่มีทางที่จะสมปารถนาไปได้ เพราะเขาไม่ได้ถูกสร้างเพื่อเกิดมาเป็นคนของเราดังนี้ แต่หากเป็นคนที่เขาถูกสร้างมาเพื่อกันและกันแล้วถึงแม้ไม่ต้องต้องพูด-ไม่ต้องไขว่คว้าปารถนา-ไม่ต้องไปทุ่มเทอะไรมากมายเขาก็จะถูกชักจูงให้ได้อยู่ครองคู่รักกันร่วมเคียงข้างกันอยุ่ดีไม่แคล้วคลาดกันไปดังนี้ ดังนั้นด้วยเพราะเขาไม่ได้เกิดมาเพื่อเรานั่นคงเป็นเพราะชาตินี้เราเกิดมาเพื่อสร้างในบารมีทั้ง ๔ ข้อนั้นให้เพียงพอแก่ตนเองเพื่อถึงความหลุดพ้นจากทุกข์อันร้อนรุ่มกายใจ เร่าร้อนกายใจ เจ็บปวดกายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ ทรมานกายใจดั่งที่เราเผชิญอยู่เหล่านี้ให้สิ้นไปไม่มีอีก เราก็ควรที่จะเพียรขยัน อดทนเจริญปฏิบัติในทั้ง ๔ ข้อนี้ให้มากอย่างไม่ย่อท้อเพื่อในภายภาคหน้า หรือ ชาติหน้าเราจักมีนางแก้วเป็นคู่บารมีครองคู่กันและไปถึงซึ่งพระนิพพานด้วยกันดังนี้

    (เป็นการใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระนันทะเถระซึ่งเป็นผู้มีราคะมากให้เปลี่ยนความคิดความกระทำใหม่โดยพาไปดูนางอัปสรบาสวรรค์ทั้งหลายพร้อมตรัสสอนเห็นเกิดความเห็นและความคิดอันเป็นอุบายในการปฏิบัติจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์)



    ค. บุคคลนั้นๆที่เราเห็นเขาก็อยู่ตามปกติของเขาอยู่อย่างนั้น เราเองที่ไปมองเอาส่วนเล็กส่วนน้อย ส่วนเว้าส่วนโค้ง จุดนั้นจุดนี้ของเขาแล้วเอามาคิดปรุงแต่งเสพย์อารมณ์จนเกิดความกำหนัดขึ้นมา เพราะว่าเรามองเขาอย่างนี้จึงทำให้เกิดราคะกลุ้มรุม ดังนั้นเราควรเปลี่ยนความคิดที่จะมองเขาเสียใหม่โดยมองในจุดที่เป็นจุดรวมๆ เพื่อให้กายใจเราสลัดจากความเร่าร้อนร้อมรุ่มที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมเราอยู่ดังนี้

    เหตุที่กล่าวว่ามองเอาส่วนเล็กส่วนน้อยนั้นเป็นไฉน ที่ผมพอจะรู้เห็นได้คือ

    (ธรรมฃาติเมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางตา) -> (สภาวะแรกก็สักแต่เห็นไม่มีบัญญัติ เห็นเป็นสีๆมีเคล้าโครงรูปร่างต่างๆเท่านั้น) ->

    (เข้าไปรู้สภาพที่เห็นอยู่+สัญญา = รู้บัญญัติเป็นตัวตนบุคล สัตว์ สิ่งของ) ->

    (เวทนา) -> (ฉันทะ พอใจยินดี/ปฏิฆะ ไม่พอใจยินดี) -> (เจตนา จงใจตั้งใจมองดูส่วนเล็กส่วนน้อย) ->

    (อกุศลวิตก+ความหวนระลึกถึงสัญญาความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจใดๆ) ->

    (มองดูส่วนเล็กส่วนน้อยที่ใจเราให้สำคัญหมายรู้) ->

    (ความปรุงแต่งจิตอันเป็นไปใน "ฉันทะ" + "ปฏิฆะ") -> (ความปรุงแต่งจิตสมมติสร้างเรื่่องราว) ->

    โลภะ(เพลิดเพลิน) -> นันทิ(ติดใจเพลิดเพลิน) ->

    กาม(น่าใคร่น่าปารถนาในอารมณ์ไรๆที่ทำให้เราเพลิดเพลินอยู่นั้น) ->

    ราคะ(ฝักใฝ่หมายมั่นใคร่ปารถนาในอารมณ์นั้นๆ) ->

    ฉันทะราคะ" คือ ความกำหนัดมีใจจดจ่อผูกใฝ่คำนึงถึงติดใคร่พอใจยินดีในอารมณ์นั้นๆ ->
    (ฉันทะราคะ มีสภาวะที่จิตเรานั้น..มีความผูกใฝ่หมายมั่นจดจ่อแนบแน่นใคร่ปารถนาในอารมณ์ไรๆที่ตนมีความติดใคร่พอใจยินดีอยู่)

    (ร้อนรุ่ม รุ่มร้อน เร่าร้อน เดือดเนื้อร้อนใจกลุ้มรุม) -> (ทะยานอยาก ๓) -> (ทุกข์)


    ค.๑ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ บุคลนั้นอยู่ในอิริยาบถใด เช่น ยืน เดิน นั่ง หรือ นอน ไม่ไปสัดส่ายมองดูจ้องดูในอวัยะส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาจนเกิดความปรุงแต่งนึกคิดอันเป็นไปในกามราคะ ทำให้เราเห็นเป็นเพียงแค่คน ไม่ว่าจะเพศไรๆที่อยู่ในอริยาบถต่างๆเท่านั้น
    (เป็นการดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นรู้เพียงสิ่งที่เห็นในปัจจุบันขณะอันไม่เอาความตรึกนึกคิดจากการสำคัญใจที่จะมองในราคะ)

    ค.๒ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ สีเสื้อ ดูว่าที่เราเห็นเขานุ่งห่มอยู่นั้นเป็นสีอะไร มีสีอะไรบ้าง รูปทรงของสีเหล่านั้นเป็นไฉน เพ่งจุดเพียงสีเท่านั้น เมื่อมองเช่นนี้แม้เราจะรู้เพศ รู้สีผิว สีเสื้อผ้า ความสูงต่ำ แต่ไม่ได้ใส่ใจที่หน้าตาและส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาแล้ว
    (เรียกว่าใส่ใจมองในจุดใหญ่ๆที่มองเห็นได้ คือ ดูสีจากเสื้อผ้าเป็นอารมณ์ โดยไม่ได้เจาะเข้าไปดูส่วนเอว ส่วนนม ตรงอวัยะเพศเป็นยังไง ซึ่งความคิดที่จะมองดูและเพ่งเล็งอย่างนี้จะทำให้เกิดการตรึกนึกต่อเสพย์อารมณ์ของกิเลสสืบมา)

    ค.๓ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ เขาก็มีร่างกายอวัยวะต่างๆเหมือนเพศตรงข้ามคนอื่นๆทั่วไปที่เราพบเจอ มี 2 ขา 2 แขน มีผม มีคิ้ว มีหู มีเนื้อ มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเหมือนกับเพศตรงข้ามคนอื่นๆที่เราเคยพบเจอไม่ได้ต่างกันเลย ซึ่งคนที่เราเคยพบเจอเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะมองด้วนราคะทุกคน ทั้งๆที่มีอวัยวะทั้งหมดเหมือนกันทุกอย่าง สิ่งที่ต่างก็เพียงแค่สี และ เคล้าโคลงรูปร่าง รูปพรรณสันฐานเท่านั้น เขาก็เป็นเพียงเพศตรงข้ามเหมือนคนอื่นที่เราได้เคยพบเจอทั่วไปเท่านั้น
    (เป็นการมองโดยมีความคิดที่ลงมองในรูปขันธ์ตามอาการต่างๆที่เหมือนกับเพศตรงข้ามคนอื่นๆที่เราไม่ได้สำคัญใจมองด้วยราคะที่เราเคยพบเจอ)
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:17 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  9. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 PM »
    ๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

    ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (ในปัญญาขั้นสมถะไปถึงสัมมาสังกัปปะที่แท้จริง)

    ง. ที่เราเกิดกามราคะกลุ้มรุมนั้น ก็เพราะเราสำคัญใจที่จะมองและตรึกนึกคิดต่อบุคคลที่เราเห็นนั้นด้วยราคะ(ราคะสังกัปปะ) เราก็ละทิ้งความคิดอันเป็นไปในกามนั้นเสีย แล้วเปลี่ยนความคิดใหม่โดยดึงเอาสิ่งที่รู้เห็นอยู่นี้มาวิเคราะห์ลงในธรรมให้เห็นตามจริง(ธัมมะวิจยะ) จนเกิดความเบื่อหน่ายแล้วสลัดทิ้งในกามราคะที่กลุ้มรุมกายใจเราเหล่านั้นให้คงอยู่สืบไปตามสติกำลัง เรียกว่า นิพพิทาในปัญญาของสมถะ ดังนี้ครับ

    ง.๑ คิดใหม่มองใหม่ด้วยเปลี่ยนและละในการให้ความสำคัญของใจจากสิ่งที่มองอยู่ มารู้ตัวอยู่กับปัจจุบันขณะ
    โดยให้หายใจออกจนสุดลมแล้วกลั้นหายใจไว้จนทนไม่ได้ แล้วค่อยหายใจเข้า แล้วตรึกนึกคิดใหม่ว่าการที่เราไปเพ่งเล็งเขาด้วยราคะอยู่นั้นมันสร้างความเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจจนเกิดความกำหนัดใครถวิลหา และ แม้เราเห็นเขาอยู่นั้นเราก็ไม่ได้สัมผัสกายใจไรๆของเขาเลย ซึ่งเขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นแต่เรานี้เองที่เข้าไปเสพย์อารมณ์ตรึกนึกคิดปรุงแต่งจนเสวยโทมนัสเวทนารุ่มร้อนกายใจ ทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาตรงนั้นและเราอยู่ของเราที่ตรงนี้ไม่ได้เข้าไปใกล้หรือสัมผัสไรๆในเขาเลย "แม้เราไม่ได้สัมผัสไรๆในตัวเขา ไม่ได้ร่วมเสพย์ในเมถุนกับเขา ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่ตายหนอ แต่การที่เราหายใจออกไป แล้วไม่หายใจเข้านี่สิจักทำให้เราทุรนทุรายจักตายเสียตรงนี้ให้ได้ กามราคะนั้นหนอไม่ได้สำคัญและเทียบไม่ได้เท่าลมหายใจที่หล่อเลี้ยงให้กายนี้ยังชีวิตเราให้อยู่ได้ ดังนั้นการจดจ่อเพ่งเล็งที่ลมหายใจเขาออกย่อมมีคุณประโยชน์มากกว่าที่เราจะไปเจาะจงเพ่งเล็งที่เรือนร่างอวัยวะส่วนเล็กส่วนน้อยของคนเพศตรงข้ามที่เราเห็นนั้นเสียอีก กามราคะนั้นหาประโยชน์ไรๆไม่ได้แก่เราเลยนอกจากทุกข์ดังนี้
    (เป็นการดึงเอาสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะและสติความระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ขึ้นมา คิดตรึกนึกวิเคราะห์ลงในธรรมอันเรียกว่าธัมมะวิจยะ เพื่อให้เห็นไปด้วยความไม่มีคุณประโยชน์จากกิเลสที่เกิดขึ้นทางสฬายตนะ(แม้ยังซึ่งบัญญัติอยู่แต่ก็เป็นไปด้วยการพิจารณาในการรับรู้ซึ่งสภาพที่เกิดขึ้นจริง) เมื่อยังในอารมณ์พิจารณาอย่างนี้อยู่เนื่องๆก็จะพิจารณาเห็นธรรมตามจริงอันมีความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่น เมื่อเห็นเพศตรงข้ามที่พอใจราคะก็เกิด เมื่อหายใจออกจนสุดไม่หายใจเข้าราคะก็ดับไปแต่เกิดความต้องการที่จะหายใจเข้าแทน พอหายใจเข้าและออกจนเป็นปกติได้แล้ว จิตที่จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจก็ดับไป จนพิจารณาเห็นตามจริงถึงความไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ มีความเกิดดับๆอยู่ตลอดเป็นธรรมดาไม่คงอยู่นาน ความเข้าไปเสพย์หลงไหล ลุ่มหลงไป ใคร่ตามกับสิ่งไม่เที่ยง คือจิตสังขารหล่านี้มันเป็นทุกข์ จนถึงแม้กายเรานี้ก็ไม่คงอยู่ ไม่หายใจก็จักต้องตาย-ที่ยังชีพอยู่ก็ด้วยมีลมหายใจหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่กินก็ตายเพราะไม่มีอาหารเครื่องประโยชน์ให้ร่างกายซึมซับดำรงชีพอยู่-มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะกิน ไม่ขับถ่ายร่างกายก็แปรปรวนเสื่อมโทรมในอวัยวะต่างๆจนถึงความเสื่อมทุพลภาพของกายทั้งหมดนี้แล้วก็ตาย ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงบ้าง เห็นความตายอยู่ทุกขณะบ้าง ย่อมเข้าถึงยถาภูญาณทัสสนะ ไม่ว่าจะบัญญัติ หรือ ปรมัตถธรรมอันเห็นเป็นเพียงธาตุหรือรูปนามไม่มีตัวตนบุคคลใดก็ตามและถึงแม้จะไม่เห็นทั้งหมดหรือตลอดเวลาก็จัดว่าเป็นปัญญาในขั้นต้นด้วย แม้อาจจะยังเกิดความเบื่อหน่ายบ้างไม่เบื่อบ้าง เข้าถึงแล้วบ้างไม่ถึงบ้างอันนี้ผมก็เรียกว่า นิพพิทาในขั้นสมถะปัญญา เกิดความเห็นตามจริงมีแลหาแนวทางเจริญปฏิบัติแสวงหาเพื่อถึงทางออกจากทุกข์ จนเมื่อเกิดความรู้เห็นตามจริงด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นตามจริงอันไม่เสื่อมไป เพียรเจริญปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงซึ่งนิพพาน ย่อมเกิดนิพพิทาญาณในขั้นวิปัสสนาญาณอันแท้จริง)

    ง.๒ คิดใหม่มองใหม่ด้วยเจริญจิตขึ้นพิจาณาให้เห็นตามจึงถึงความไม่มีตัว ความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราในจากสิ่งที่เรามองเห็นอยู่
    โดยมองว่า บุคคลที่เราเห็นนั้นหนอแม้จะงดงาม สวยหยาดเยิ้ม หรือ หล่อเหลา น่าชื่นชมขนาดไหนก็ตาม แต่เขาก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แม้นหากเขานั้นเป็นของเราจริงแล้ว เราก็ย่อมที่จะสามารถบังคับสั่งให้เขาเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ว่า เออนะขอเธอจงมารักเราเถิด เออนะขอเธอจงเข้ามาหาเราเถิด เออนะขอเธอจงยอมพลีกายใจให้เราเกิด เออนะขอเธอจงยอมพลีกายใจให้เราด้วยใจรักอันปราศจากอามิสเครื่องล่อใจเถิด เออนะขอเธอจงมาร่วมใช้ชีวิตคู่กับเราเถิด แต่ทว่าถึงแม้เราจะปารถนาอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นตามใจปารถนาแต่มันก็หาเป็นไปสมดั่งใจเราหวังไม่ เพราะเราไม่อาจจะไป บังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง สั่งให้เขากระทำทั้งกายและใจอย่างนั้นอย่างนี้ได้ดั่งใจเราหวังไม่ นั่นก็ด้วยเพราะเขาไม่ใช่เรา เขาไม่ใช่ของเรา สักแต่เป็นบุคคลที่เราเห็นแล้วก็จักเลยผ่านไป ไม่มีตัวตนอันที่เราจะเข้าไปตั้งความหวังปารถนาไรๆจากเขาได้ เพราะเขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราดังนี้ ยิ่งปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราไป มันก็ยิ่งเป็นทุกข์อันถูกกลุ้มรุมด้วยความร้อนรุ่ม ร้อนรน เร่าร้อนกายใจ หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้เลยดังนี้
    (เป็นการพิจารณาจนเห็นความไม่มีตัวตน เห็นความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราในสิ่งทั้งปวงนี่ก็จัดเป็นยถาภูญาณทัสสนะอย่างหนึ่ง คือ ความรู้เห็นในทุกขอริยะสัจ และ เห็นความเป็นไปตามจริงด้วยปัญญาขั้นต้น(ในส่วนผมยกมานี้ผมหมายกล่าวถึงความเห็นตามจริงอันเป็นบัญญัติอยู่ เพราะยังคงเป็นบัญญัติอยู่บ้างหรืออาจจะเห็นรูปนามอยู่บ้างเล็กน้อย) แต่ก็เป็นทางเข้าสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆแล้ว จนเกิดความเบื่อหน่ายอันเป็นนิพพิทาเช่นกัน แต่เป็นนิพพิทาในแบบสมถะอันยังมีบัญญัติความคิดอนุมานเป็นใหญ่อยู่ โดยมีความหน่ายแบบเป็นๆหายๆถ้าไม่ทรงอารมณ์ไว้ด้วยเพราะยังคงเป็นบัญญัติเป็นปัญญาจากความคิดอนุมานเอา ยังไม่เห็นตามจริงโดยปราศจากความคิดอยู่ มีความติดใจอยู่ซึ่งยังถอนออกไม่หมด เพียงแต่คลายความยึดมั่นแล้วเห็นทางที่ควรเจริญแล้วบ้าง เป็นปัญญาโดยสมถะ ปัญญาจากความนึปกคิดอนุมาน ยังไม่ใช่สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะตามจริง
    จนเมื่อเกิดปัญญาเห็นแจ้งตามจริงในความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงธาตุหรือรูปนามไม่มีตัวตนบุคคลใด ไปจนเข้าถึงแลเห็นความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรม โดยปราศจากความตรึกนึกคิดอนุมาน คือ เห็นในสภาวะนั้นจริงๆโดยไม่ใช้ความคิด ปราศจากเจตนาความจงใจหมายทำ นี่เป็นปัญญาในวิปัสสนา จนเกิดความเบื่อหน่ายด้วยปัญญาโดยไม่ถ่ายถอน เพียรเจริญปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงซึ่งนิพพาน ย่อมเข้าถึงนิพพิทาญาณในขั้นวิปัสสนาญาณอันแท้จริง)

    * ปัญญา คือ ความรู้เห็นตามจริง , ญาณ คือ ความรู้แจ้งแทงตลอด (นี่คือความเข้าใจในขณะนั้น)

    นิพพิทาสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

    [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
    เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑ (เช่น ปฏิกูลมนสิการ, นวสีวถิกา, อสุภกรรมฐาน)
    มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ (เช่น ปฏิกูลมนสิการ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา)
    มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ (เช่น โลกธรรม ๘)
    พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ (เช่น พระไตรลักษณ์)
    ย่อมเข้าไป ตั้งมรณสัญญาไว้ใน ภายใน ๑ (เช่น มรณสติ, พระไตรลักษณ์)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ

    จบสูตรที่ ๙






    ๒.๑.๑.ข การเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อเกิดราคะจากการรู้อารมณ์ทางทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    - การเจริญจิตขึ้นเปลี่ยนแปลงความคิดเพื่อละในกามราคะเมื่อได้รับรู้ผัสสะทาง "หู" คือ "เสียง" ก็ให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงความคิดไม่ต่างกันขอยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้

    ก. เมื่อได้ยินเสียงไรๆก็ตามแล้วเอาไปคิดปรุงแต่งไปเองจนทำให้เราเกิดราคะ ที่เราได้ยินเสียงไรๆแล้วเกิดราคะนั่นเพราะเราได้ยินแล้วตรึกนึกคิดให้เป็นไปในราคะทั้งที่เป็นความจริงบ้างและไม่จริงบ้าง แต่ก็คิดเดาเอาว่าเป็นเสียงในการเสพย์เมถุนอยู่เช่นนั้นโดยที่ไม่รู้ว่าจริงไหมจนเกิดความกำหนัดแก่ตนให้ความร้อนรุ่มและเร่าร้อนกลุ้มรุมกายและใจตนเอง
    ก.๑ ให้ลองเปลี่ยนความคิดใหม่จากเสียงที่ได้ยินว่าอาจจะเป็นเสียงที่เกิดเพราะอาการอย่างอื่นไหม เช่น เขาเกิดอุบัติเหตุไหม เขามีความเจ็บป่วยในร่างกายไหม เขาร้องเรียกออกมาเพราะความทรมานไหม เขากรีดร้องออกมาเพราะถูกทำร้ายไหม
    ก.๒ ให้ลองเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าากเสียงที่ได้ยินว่าอาจจะเป็นเสียงของสภาพแวดล้อมอื่นๆไหม เช่น เสียงพัดลม เสียงเปิดปิดประตู เสียงหนูวิ่ง แมงวิ่ง หมาวิ่ง เสียงแอร์ เสียงนกร้อง เสียงแมวร้อง เสียงหนูร้อง เสียงหมาร้อง เสียงผมพัดสิ่งของไรๆไหม ทั้งๆที่มันเป็นเพียงแค่เสียง และเราก็ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นตามจริงว่าเป็นเสียงอะไรมีความจริงเป็นไฉนกลับไปตรึกนึกคิดเอาเป็นเอาตายในราคะอย่างนั้น
    ข. เมื่อได้ยินได้ฟังเสียงของเพศตรงข้ามที่พูดคุยสนทนากันอยู่แล้วเกิดราคะ นั้นก็เพราะด้วยเสียงนั้นทำให้เราเกิดความพอใจเพลิดเพลินยินดี จากนั้นเราก็เอามาปรุงแต่งนึกคิดเสพย์อารมณ์ให้เกิดความใคร่ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในเมถุน ก็พึงลองเปลี่ยนความคิดใหม่ดูดังนี้ว่า
    ข.๑ เสียงนี้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้ทางหู เมื่อรู้แล้ว คือ ได้ยินแล้ว ก็เอามาปรุงแต่งตรึกนึกคิดไปทั่วจนเป็นไปในกามราคะ เพราะเป็นเสียงที่ชอบที่พอใจเพลิดเพลินยินดีว่าไพเราะบ้าง แล้วก็ปรุงแต่งคิดไปว่าเหมือนเสียงที่เสพย์เมถุนอยู่บ้างหรือหากเมื่อเสพย์เมถุนแล้วจักเป็นสภาพแบบใดบ้าง หรือ เสียงเซ็กซี่บ้าง เสียงน่ารักเพลิดเพลินใจบ้าง ทั้งๆที่ปัจจุบันเขาก็อยู่ในส่วนในที่ของเขาและเราก็อยู่ของเราที่ตรงนี้ ไม่ได้เข้าใกล้ไม่ได้สัมผัสข้องเกี่ยวกันเลย แต่เรานั้นเองที่ได้ยินเสียงอันเป็นท่วงทำนองที่เสนาะใจแล้วเอามาคิดให้เป็นไปในราคะเอง (ดังนี้คือการเรียกสติสัมปชัญญะให้ตื่นขึ้นรู้ความจริงในปัจจุบันและสลัดจากการถูกความคิดอันเป็นไปในราคะกลุ้มรุม)






    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  10. Admax said:


    บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 PM »
    ๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

    ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (ในปัญญาขั้นสมถะไปถึงสัมมาสังกัปปะที่แท้จริง)

    ข.๒ เสียงนี้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้ทางหู เมื่อรู้แล้ว คือ ได้ยินแล้ว ก็เอามาปรุงแต่งตรึกนึกคิดไปทั่วจนเป็นไปในกามราคะ ทั้งๆที่มันก็เป็นเพียงเสียงอันเป็นธรรมชาติที่หูเราจักพึงได้ยิน(นี่ถ้าไม่ได้ยินก็แสดงว่าหูหนวกแล้ว) ทั้งที่ตัวเขาก็ไม่ได้อยู่กับเรา ทั้งๆที่จริงแล้วหูของเรานั้นก็แค่ได้ยินเสียงอันมี น้ำหนัก ทำนอง และ ถ้อยคำต่างๆเท่านั้น ไม่ต่างจากที่เราได้รับฟังหรือได้ยินจากคนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นที่อยู่ในที่นี้ๆ หรือ ที่อยู่ในที่อื่นๆเลย แต่เราเองต่างหากที่ฟังแล้วไปคิดปรุงแต่งให้ความสำคัญมั่นหมายของเสียงนั้นในความรู้สึกเช่นนั้นจนเกิดราคะอันเร่าร้อนรุ่มร้อนกลุ้มรุมกายใจเอง นี่เรียกว่าเราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเพราะความคิด เป็นผู้หลงอยู่ในความคิดอันเรียกว่า ราคะสังกัปปะ
    - ก็ให้เราพึงละความสำคัญมั่นหมายในเสียงอันเป็นไปในราะคะนั้นทิ้งเสีย แล้วจับฟังแค่คำพูด หรือ ความหมายของคำพูดแต่ละคำเท่านั้น
    - ก็ให้เราพึงละความสำคัญมั่นหมายในเสียงอันเป็นไปในราะคะนั้นทิ้งเสีย แล้วจับฟังแค่สภาพของน้ำเสียงนั้นๆว่ากล่าวออกมาด้วยวาจาอย่างไร เช่น เขาพูดกระแทก พูดพร้ำเพ้อ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดยุแยงตะแครงรั่ว พูดเหยียหยาม เมื่อรู้ดังนี้ก็ไม่ต้องไปคิดโต้ตอบกับเสียงที่ได้ยินเหล่านั้น ให้พึงระลึกรู้แค่ว่า เป็น "มิจฉาวาจา" ไม่ควรเอาอย่าง ไม่ควรเสพย์ ไม่ควรจะกล่าวออกจากปากเราเพราะมันไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขไรๆนอกจากทุกข์ เป็นวาจาอันเมื่อกล่าวแล้วก็จักมีภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่น หรือ เขาพูดด้วยวาจาอันดีไพเราะ มีเหตุมีผลหรือสามารถทบทวนวิเคราะห์เห็นในเหตุและผลได้ ไม่พูดพร่ำเพ้อ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดจาส่อเสียดยุแยง ไม่พูดเหยียดหยัน มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ก็ให้พึงระลึกรู้แค่ว่า เป็น "สัมมาวาจา" ควรที่จะเอาอย่าง ควรที่จะเสพย์ ควรที่จะกล่าว ควรที่จะเจริญให้มาก ควรที่จะออกจากปากของเรา ให้เรารู้แค่เพียงเท่านั้นก็พอ

    - แนวทางเบื้องต้นก็มีด้วยประการฉะนี้ ไม่ว่าจะเป็น "กลิ่น" หรือ "รส" หรือ "โผฐัพพะ" ก็เจริญอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับปัญญาและจริตนิสัยของแต่ละคนว่าจะเห็นในทุกข์ของมันเห็นอุบายวิธีการละของมันอย่างไร เห็นอุบายเจริญได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ จริตนิสัยและปัญญาของผู้ปฏิบัติเองทั้งนั้นครับ อุบายของผมอาจจะไม่ถูกกับหลายๆท่านและอุบายของท่านอาจจะใช้ไม่ได้กับผมดังนั้นท่านทั้งหลายเพียงดูอุบายของผมพอเป็นแนวทางแล้วก็วิเคราะห์พิจารณาให้เห็นถึงอุบายอันถูกจริตของท่านแต่ละคนจะเป็นประโยชน์ที่สุดครับ






    บันทึกกรรมฐานเมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 04:34:38 PM »
    ๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยราคะ ๑)

    ๒.๒.๑ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละกามราคะ

    ๒.๒.๑.ก เจริญจิตขึ้นระลึกในพุทธานุสสติเป็นฐานแห่งจิตและความระลึกรู้ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

    ก. เมื่อเรารู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะแล้วเกิดกามราคะ ก็ให้เกิดสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติตั้งอยู่ระลึกรู้ว่าราคะเกิด จากนั้นให้เจริญอานาปานนสติ+พุทธานุสสติทำดังนี้

    ๑. หายใจเข้ายาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจเข้ายาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "พุทธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้รู้-ผู้ตื่นจากโมหะ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 84000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
    (เมื่อหายใจเข้ายาวจนสุดลมแล้ว เราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)

    ๒. หายใจออกยาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจออกยาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "โธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้รู้-ผู้ตื่นจากโมหะ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 84000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
    (เมื่อหายใจเข้าออกจนสุดลมแล้วเราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)
    - พึงเจริญอนุสสติด้วยอานาปานนสติและพุทธานุสสติเแล้วระลึกอย่างนี้สัก 3-5 ครั้ง คือ หายใจเข้า(พุทธ)+หายใจออก(โธ) นับเป็น 1 ครั้ง เพื่อดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นมารู้กายรู้ใจในปัจจุบันทำให้จิตสงบและผละออกจากกามราคะ

    ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่าบุคคลใดก็ตาแม้จะระลึกถึงหรือเห็นพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวคำว่า อระหังๆๆๆ อยู่อย่างนี้ แม้จะสงบรำงับจากกิเลสได้แต่ก็ยังขจัดทิ้งซึ่งกิเลสไม่ได้ หากเอาแต่ระลึกบริกรรมแต่ไม่ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุดังนี้แล้วเราจะเจริญพุทธานุสสติอย่างไรให้หลุดพ้นซึ่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

    ๑. การยังความสำรวม กาย วาจา ใจ มีศีลสังวรด้วยพุทธานุสสติ(ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอันว่าด้วย วิชชาจรณะสัมปันโณ และ ปุริสทัมสารถิ)

    ให้พึงกำหนดนิมิตเจริญปฏิบัติดังนี้คือ "พึงตรึกนึก รำลึกคำนึงถึงว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงพระเมตตาและมีพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงมาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราผู้เป็นสาวกแล้ว"
    เมื่อพระตถาคตมาอยู่เบื้องหน้านี้แล้ว และ พระตถาคตนั้นทรงมีความสำรวมกาย-วาจา-ใจอยู่ มี "ศีลสังวร" มี "วิชชาและจรณะ" อันบริบูรณ์พร้อมแล้ว ได้กระทำให้เราเห็นอยู่เบื้องหน้าดังนี้แล้ว เพื่อให้เราผู้เป็นสาวกเจริญปฏิบัติตาม เรายังจะเสพย์ในกามราคะอันร้อนรุ่มอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกจัญไรต่อหน้าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เราผู้เป็นสาวกผู้ประพฤติตามอยู่นี้ควรสำรวมกาย-วาจา-ใจ ดั่งพระตถาคตที่ทำเป็นแบบอย่างนั้นแก่เรา พระตถาคตจะตรัสสอนเสมอว่าให้เลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
    - สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลง แล้วอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นไม่ควรเสพย์
    - สิ่งใดที่ทำให้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรเลื่อมลง แล้วกุศลธรรมอันผ่องใสเบิกบาน มีความสงบร่มเย็น เป็นสุขอันปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ ปราศจากความเบียดเบียนเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นควรเสพย์ ทรงสอนให้สาวกดำรงศีลไว้เป็นฐานที่ตั้งแห่งทานและภาวนา มีพรหมวิหาร ๔ คลุมไว้เป็นเครื่องป้องกันและเสริมให้บริบูรณ์ เพื่อความขัดเกลากิเลส
    (การสำรวมกาย วาจา ใจ แล้วเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ ดูเพิ่มเติมที่ "สัลเลขะสูตร" ตาม Link นี้ http://www.nkgen.com/386.htm)

    ๒. ด้วยเหตุดังนี้แล้ว ให้พึงหวนพิจารณารำลึกว่า พระตถาคตก็อยู่เบื้องหน้าเรานี้แล้ว และ แสดงธรรมแห่งกุศลอันควรเจริญปฏิบัติแก่เราแล้วอยู่ทุกขณะดังนี้
    ก. แม้เรายืนอยู่-พระตถาคตก็ทรงพระวรกายยืนในเบื้องหน้าเรา ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
    ข. แม้เราเดินอยู่-พระตถาคตก็ทรงเสด็จนำหน้าเราไปอยู่นี้เสมอ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
    ค. แม้เรานั่งอยู่-พระตถาคตก็ทรงประทับนั่งอยู่เบื้องหน้าเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
    ง. แม้เรานอนอยู่-พระตถาคตก็ทรงบรรทมอยู่เบื้องหน้าเรา หากมีหิ้งพระอยู่ที่บ้านก็ให้พึงรำลึกว่าพระตถาคตประทับบรรทมอยู่ที่นั่น หรือ ทรงพระญาณแลดูเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ มีสีลสังวร และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์แม้ในยามนอนให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
    ๓. ด้วยพระเมตตากรุณาที่พระองค์ทรงดูแลเป็นห่วงเราอยู่แลปฏิบัติให้เห็นอย่างนี้ แล้วเราผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคตก็ควรประพฤติตาม คือ ต้องสำรวมในกาย วาจา ใจ มีสีลสังวร แล้วละเสียซึ่งกิเลสกามราคะอันเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจที่กำลังกลุ้มรุมเราอยู่นี้เสีย ด้วยพึงเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเสพย์ เพราะมันหาประโยชน์สุขอันสงบร่มเย็นกายใจไม่ได้นอกจากทุกข์ด้วยประการฉะนี้แล (การพิจารณาให้เห็นถึงคุณและโทษตามจริงในกิเลสทำให้เกิดธรรมที่มีเสมอกันคือทั้ง ฉันทะและปฏิฆะเท่ากัน เกิดเป็นอุเบกขาขึ้นแก่จิต นี่ก็เป็นทางเข้าสู่อุเบกขาจิตประการหนึ่งที่ว่าด้วยการมีธรรมเสมอกัน)

    ๔. เพียรเจริญปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำ จิตที่น้อมไปหากามราคะจะเบาบางและสงบรำงับลง การสำรวมในกาย-วาจา-ใจก็บริบูรณ์ขึ้น เกิดเป็นศีลสังวรณ์ จนบังเกิดศีลที่บริสุทธิ์(สีลวิสุทธิ) เมื่อหวนระลึกถึงศีลที่สำเร็จบริบูรณฺ์นี้แล้ว ความร้อนรุ่มกายใจย่อมไม่มี จิตย่อมมีความผ่องใสปราโมทย์เบิกบาน มีปิติอิ่มเอม เป็นสุข จนเข้าถึงสัมมาสมาธิได้ด้วยประการฉะนี้ดังนี้
    (การระลึกถึงคุณและปฏิปทาของพระพุทธเจ้าในพุทธานนุสสตินี้ ทำให้เราได้ทั้ง ศีล จาคะ สมาธิในสมถะ ได้ทั้งการอบรมกายและจิต)







    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 05-26-2015 เมื่อ 09:18 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ