แนวเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยย่อ

กระทู้: แนวเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยย่อ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    แนวเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยย่อ

    สติปัฏฐาน ๔

    ๑. เจริญกาย ได้..สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ สิ้นความหวาดกลัว ระแวง เป็นที่สบายกายใจ จิตมีกำลังมาก เป็นสมาธิง่าย ไม่เบียดเบียน ไม่แสวงหา ไม่หลงไหลติดใคร่รูปว่างาม รูปนี้เป็นที่รักที่ชอบใจ รูปนี้ที่เกลียดที่ไม่ชอบไม่ยินดี
    - จิตเป็นพุทโธลงปัญญา ถึงความว่าง ความไม่มีในโลก เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่อกาย เกิดนิพพิทาต่อรูปขันธ์ เกิดวิราคะจิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
    ๒. เจริญเวทนา ได้..สมุทัย ความวางใจไว้กลางๆ ไม่ยินดียินร้าย ยึดมั่นถือมั่นสุข ทุกข์ ถึงความปลงใจในโลก ไม่มีความปารถนาในโลกเพราะรู้ชัดว่าล้วนทุกข์ทั้งนั้น ดำรงชีพชอบอยู่กับร้อนเป็น-อยู่กับเย็นได้
    - จิตลงปัญญาเห็นทุกขอริยะสัจ เห็นเทวทูตทั้ง ๔ เกิดนิพพิทา เห็นแจ้งมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ คลายอเวทนานุปาทาน เกิดวิราคะจิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
    ๓. เจริญจิต ได้รู้แยกจริงแยกสมมติ
    - จิตลงปัญญาเห็นทุกขอริยะสัจ เห็นสิ่งที่ควรละ เกิดนิพพิทา ไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆ ไม่ยินดียินร้าย เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาต่อจิต คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เห็นกามว่าเกิดแต่ความคิด ความดำริถึง เกิดวิราคะละโมหะในสมมติของปลอมได้ จิตแล่นเข้าสู่อริยะมรรค อริยะผล
    ๔. เจริญธรรม ได้รู้นิวรณ์ตน พ้นกิเลสแล้วหรือยังมีกิเลสอยู่ แจ้งชัดพระอริยะสัจ ๔ สิ้นความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัยในธรรม
    - จิตลงปัญญา เกิดนิพพิทาต่อขันธ์ ๕ ถึงวิราคะตัดขาดสิ้น ละมโน คือ ดวงจิต(มโน ไม่ใช่วิญญาณขันธ์) ดับสิ้นอุปาทานขันธ ์๕ ถึงพระนิพพาน


    เมื่อจะเจริญ ให้ทำดังนี้

    ลม หรือ พุทโธ
    สัมปะชัญญะ
    อิริยาบถ
    สมมติ (อาศัยสติที่ตั้งมั่นเป็นอารมร์เดียว ทำให้จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่วได้นานจากการเจริญใน
    ลม หรือ พุทโธ หรือ กรรมฐาน ๔๐ ขึ้นพิจารณาใน อสุภะสัญญา, อาทีนวะสัญญา, ธาตุ ๔ หรือ ธาตุ ๖, นวสีวถิกา(ป่าช้า ๙ - อสุภะ ๑๐), เวทนา(ความรู้สึกในกระทบสัมผัส), จิต(ความรู้สึกนึกคิด), ธรรม(นิวรณ์ ๕ - อริยะสัจ ๔ - ของจริงแยกต่างหากจากสมมติ))
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 06-25-2016 เมื่อ 10:34 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ