สัตว์บัญญัติ

กระทู้: สัตว์บัญญัติ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. tewada said:

    สัตว์บัญญัติ

    สัตว์บัญญัติ แปรว่าอะไร
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    หมายถึง คน สัตว์ อันเป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมานั่นเองครับ
    สมมติว่าเป็นคน เป็นสัตว์
    (รวมทั้งเทวดา พรหม เปรต อสุรกาย สัตว์นรก)

    แท้จริงแล้วเป็นแต่เพียง รูป-นาม
    หรือ รูป จิต เจตสิก หรือขันธ์ 5
    (หรือขันธ์ 4 บ้าง, ขันธ์ 1 บ้าง ตามแต่ภพภูมิ)
    ที่เกิดขึ้นประชุมรวมกัน ปรา
    กฏแล้วก็หมดไป
    นี้เป็นปรมัตถธรรม คือสภาพธรรมที่แท้จริงครับ




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. tewada said:
    ในปฐวีกสินท่านไม่น่าใช้คำว่าสัตว์นำหน้าบัญญัตเลย
    เล้นเอางงชั่วขนะ
     
  4. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ออ ครับ ท่านกล่าวไว้ว่าอย่างไรเหรอครับ ถึงได้งง
    หากสะดวกก็ลองยกเนื้อหาที่ทำให้งง
    พร้อมลิงค์ต้นฉบับมาด้วยสิครับ



    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  5. tewada said:
    ธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้อุเบกขาเกิด

    ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น คือ –
    ๑. ความเป็นกลาง ๆ ในสัตว์บัญญัติ
    ๒. ความเป็นกลาง ๆ ในสังขารทั้งหลาย
    ๓. การหลีกเว้นคนผู้มีความสาละวนในสัตว์และสังขาร
    ๔. การสมาคมกับคนเป็นกลาง ๆ ในสัตว์และสังขาร และ
    ๕. การน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น
    โยคีบุคคลเมื่อยังธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอยู่ ด้วยอาการทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า เจริญสัมโพชฌงค์ ๓ ประการมีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เกิดขึ้น ฉะนี้
    โยคีบุคคลย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ด้วยประการฉะนี้

    ข้อ๑อะ
     
  6. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ข้อความที่คุณ Tewada ยกมานี้ เป็นข้อความต่อเนื่องกันมา
    โดยในตอนต้นได้แสดงถึงวิธีเจริญกสิณ (ตัวอย่างคือปถวีกสิณ)
    จากนั้นจึงแสดงถึงข้อปฏิบัติ 10 ประการ อันเกื้อกูลส่งเสริม
    ต่อการสัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ในอัปปนาสมาธิน่ะครับ

    ข้อความแสดงไว้ว่า.....


    ถ้ายังไม่สำเร็จอัปปนาฌาน ต้องบำเพ็ญอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ
    ก็แหละ โยคีบุคคลใดแม้จะได้ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ยังไม่ได้สำเร็จอัปปนาฌาน
    โยคีบุคคลนั้นพึงบำเพ็ญอัปปนาโกศล (คือวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนา)
    ให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ต่อไป ในอัปปนาโกศลนั้น มีนัยดังนี้ -

    อันโยคีบุคคลจำต้องปรารถนาวิธี
    ที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนาสมาธิ โดยประการ ๑๐ อย่าง คือ –
    ๑. วตฺถุวิสทกิริยโต โดยทำวัตถุให้สะอาด
    ๒. อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนโต โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน
    ๓. นิมิตฺตกุสลโต โดยฉลาดในนิมิต
    ๔. จิตฺตปคฺคหโต โดยยกจิตในสมัยที่ควรยก
    ๕. จิตฺตนิคฺคหโต โดยข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
    ๖. จิตฺตสมฺปหํสโต โดยพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
    ๗. จิตฺตอชฺฌุเปกฺขโต โดยเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉย
    ๘. อสมาหิตปุคฺคลปริวชฺชนโต โดยเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ
    ๙. สมาหตปุคฺคลเสวนโต โดยสมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ
    และ ๑๐. ตทธิมุตฺตโต โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น




    ตรงข้อ 5 นี้ "โดยข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม"
    กล่าวถึงการปฏิบัติซึ่งจะเกื้อกูลแก่การระงับบรรเทา
    จิตใจที่ฟุ้งซ่านหรือเคร่งเครียดเกินไปน่ะครับ
    ด้วย สัมโพฌชงค์ 3 ประการ คือ
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    สำหรับ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีแสดงไว้ว่า.....

    ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น คือ –
    ๑. ความเป็นกลาง ๆ ในสัตว์บัญญัติ
    ๒. ความเป็นกลาง ๆ ในสังขารทั้งหลาย
    ๓. การหลีกเว้นคนผู้มีความสาละวนในสัตว์และสังขาร
    ๔. การสมาคมกับคนเป็นกลาง ๆ ในสัตว์และสังขาร
    และ ๕. การน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น




    ข้อ 1 นี้เองที่คุณ Tewada งง ใช่ไหมครับ

    ความเป็นกลางในสัตว์บัญญัติทั้งหลาย
    เพราะเข้าใจถูกต้องในสภาพธรรมที่แท้จริง
    ว่าเป็นแต่เพียงรูปธาตุต่างๆ นามธาตุต่างๆ มาประชุมกันเท่านั้น
    ปรากฎเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ทีละขณะๆ
    ไม่อาจยึดถือไว้เป็นตัวตนคนหรือสัตว์ที่เที่ยงแท้
    ที่เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ ก็โดยโลกสมมติ
    การประสบกับความสุข หรือความทุกข์ ก็ล้วนเป็นไปตามกรรมที่สั่งสมมา

    ท่านใช้คำว่า "สัตว์บัญญัติ" ก็เน้นย้ำชัดเจน
    ว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่สมมติกันขึ้นมา
    เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารและการดำเนินชีวิตน่ะครับ



    หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม
    ในอรรถกถามีขยายความไว้ ดังนี้.....


    อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
    มหาสติปัฏฐานสูตร

    อธิบายธรรม ๕ ประการ ในธรรม ๕ ประการนั้น
    ผู้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมตั้งการวางตนเป็นกลางในสัตว์
    ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
    ด้วยการพิจารณาถึงความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็นของๆ ตนอย่างนี้ว่า
    ท่านมาด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตน
    แม้เขาก็มาด้วยกรรมของตน (เขา) จักไปด้วยกรรมของตน (เขา) เหมือนกัน
    ท่านจะยึดถืออะไรกัน ดังนี้
    และด้วยการพิจารณาถึงความไม่มีสัตว์อย่างนี้ว่า
    เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ที่ว่าสัตว์ๆ มันไม่มี ท่านจะยึดอะไรกันเล่า ดังนี้.

    ตั้งการวางตนเป็นกลางในสังขาร ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
    ด้วยการพิจารณาโดยความเป็นของไม่มีเจ้าของ อย่างนี้ว่า
    จีวรนี้จักเข้าถึงความเปลี่ยนสีและความเก่าคร่ำคร่า
    เป็นผ้าเช็ดเท้า ต้องเขี่ยทิ้งด้วยปลายไม้เท้า
    ก็ถ้าว่าจีวรนั้นพึงมีเจ้าของไซร้ เขาก็ไม่พึงให้มันเสียหายอย่างนี้ ดังนี้
    และด้วยการพิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า
    จีวรนี้อยู่ไม่ได้นาน เป็นของชั่วคราว ดังนี้.
    แม้ในบริขารมีบาตรเป็นต้น ก็พึงประกอบความเหมือนอย่างในจีวร.

    ในข้อว่า เว้นบุคคลผู้ยึดถือในสัตว์และสังขาร มีวินิจฉัยดังนี้
    บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ ก็ยึดถือปิยชนมีบุตรธิดาเป็นต้นของตน
    หรือเป็นบรรพชิตก็ยึดถือบรรพชิตมีอันเตวาสิก
    และผู้ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้นของตน
    มัวทำกิจกรรมมีปลงผม เย็บจีวร ซักย้อมจีวร
    ระบมบาตรเป็นต้นของชนเหล่านั้น ด้วยมือของตนทีเดียว
    เมื่อไม่เห็นเพียงครู่เดียว ก็บ่นถึงว่า
    สามเณรรูปโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน
    เหลียวซ้ายแลขวา เหมือนมฤคตื่นตกใจฉะนั้น
    แม้ผู้อื่นอ้อนวอนขอว่า โปรดส่งสามเณรชื่อโน้น
    ไปช่วยปลงผมเป็นต้น สักครู่เถิดดังนี้
    ก็ไม่ยอมให้ด้วยพูดว่า พวกเราจะไม่ให้ทำกิจกรรมของตนบ้างหรือ
    พวกท่านพาเธอไปจะลำบากดังนี้
    บุคคลนี้ ชื่อว่ายึดถือสัตว์.

    ฝ่ายบุคคลใด ยึดถือบริขารมีจีวร บาตร ถลกบาตร ไม้เท้าเป็นต้น
    แม้ผู้อื่นจะเอามือจับก็ไม่ให้จับ ถึงขอยืมก็ตอบขัดข้องว่า
    เราต้องการใช้ทรัพย์ ก็ยังไม่ใช้ จักให้พวกท่านได้อย่างไรดังนี้
    บุคคลนี้ ชื่อว่ายึดถือสังขาร.

    ฝ่ายบุคคลใดวางตนเป็นกลาง เที่ยงตรงในวัตถุทั้งสองนั้น
    บุคคลนี้ ชื่อว่าวางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร.

    เมื่อเว้นไกลบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขารเห็นปานฉะนี้ก็ดี
    คบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารก็ดี
    มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้นก็ดี
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ย่อมเกิดได้ด้วยประการฉะนี้.




    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 08-28-2016 เมื่อ 04:42 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  7. tewada said:
    ปัฐวีกสินเราก็เคยอ่านนะ แต่การอ่านรอบนี้เราเข้าใจในสติปฐานเลยทำให้เข้าใจมากขึ้น 90%ก็ว่าใด้ แต่การปฏิบัตยังไม่เข้าถึงอุคนิมิตเลย ยากจิงๆสมาธิในกสินกับสมาธิเรือยเปื่อยต่างกันอยู่มาก เพราะกสินทำสมาธิในสัญญา ก้ยากเอาการอยู่ รู้เลยว่าสมาธิที่แท้จิงเป็นยังไง แล้วยืนยันคำของพระพุท กสินทำให้เกิดสมาธิงายกว่า เพระป้องกันนิวรทางสัญญาและ มีคำปัญัตกำกับพร้อมด้วย
     
  8. Admax said:
    [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
    หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
    ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
    จึงเรียกว่า สัตว์.
    เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
    ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
    ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.