ก. อิทธิบาท ๔
- ทำให้เป็นที่สบายกายและใจ เรียบง่ายๆเบาๆสบาย ไม่ตึงไม่หย่อน
- ทำปฏิบัติบูชาพระรัตนตรัย พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ยินดีที่ได้ทำพอใจที่ได้ทำ รู้เพียงว่าทำแล้วจิตเรามีกำลังแผ่เมตตาให้ท่านเหล่านั้นพร้อมสัตว์ทั้งปวง ขันธ์ ๕ ทั้งปวง จะหยาบหรือละเอียด, เล็กหรือใหญ่, สั้นหรือยาวก็ตาม จะสัตว์ 2 เท้า, 4 เท้า หรือมากเท้า สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ในอาการ ในดิน ในที่ทั้งปวง ทุกผู้ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต คือ มนะ, มโนทั้งปวง ได้สำเร็จประโยชน์สุข สวัสดี ไม่มี้เวรภัยเบียดเบียนทั้งภายในและภายนอกตน
- ยินดีในธรรม แต่ไม่ปารถนากระสันจะเอาผลในตอนนั้น ตอนนี้ เดี๋ยวนั้นเดี๋ยวนี้ ให้ทำเพียงสะสมเหตุ เจาทำสะสมเป็นเดือน เป็นปี เป็น 10 ปี เป็นชาติๆ อสงไขยไม่ใช่แค่เพิ่งทำแล้วได้ ทำความพอใจให้เป็นที่สบายกายใจที่ได้ทำสะสมเหตุ
- มีสติสัมปะชัญญะรู้ใจรู้กายเนืองๆ เราพร่องหย่อนจาดสิ่งใดให้เติมสิ่งนั้น สิ่งใดที่ดีแล้วให้คงไว้ สิ่งใดสุดโต่งหรือมากเกินให้ลดลง
- ทำความปล่อยวางกายใจ เพราะจิต(มโน)เรานี้ท่องเทียวในภพภูมิต่างๆมานานนับอสงไขย อาศัยสังขารกรรม ทรงขันธ์ ๕ ไว้ เกิดเป็นคนบ้าง สัตว์บ้าง สัตว์นรกบ้าง เทวดาบ้าง มารบ้าง มหาเทพบ้าง วนเวียนท่องเที่ยวจรไปมากมายไปสิ้นสุด ถูกอวิชชาเข้าครอบงำสะสมทับถมกิเลสลงใจใจมานานนับอสงไขยให้ยึดว่าเป็นตัวตน จับต้องรับรู้ได้เพียงสมมติ ไม่ยอมรับความพรัดพากไม่เที่ยง สุขที่สมหวังทุกข์เพราะผิดหวังเจอสิ่งไม่สมปารถนา ทุกข์เพราะเจอสิ่งอันไม่เป็นที่จำเริญใจ เมื่อกายนี้ก้อตั้งอยู่ได้ไม่นานบังคับไม่ได้ หาความเป็นเราในอาการทั้ง 32 ประการไม่ได้ เราไม่มีในนั้น เราไม่ใช่สิ่งนั้น นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา สิ่งนั้นไม่มีในเรา
- น้อมใจไปดูว่ากายที่เราเอาใจเข้ายึดครองอยู่นี้ คือ เมื่อมโนคือจิตที่ท่องเที่ยวไปซึ่งเกิดแต่วิบากกรรม(ผลกรรมที่ทำในกาลก่อน) มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตามอาศัย ต้องเป็นไปตามวิบากกรรม เข้าปฏิสนธิในสังขารกรรม สังขารธรรม วิญญาณขันธ์ของกุมารหรือกุมาริกาก็แล่นเข้ายึดธาตุ ๔ มโนก็ยึดเอาวิญญาณขันธ์คือจิตที่รู้แต่สมมติทางมโนทวารที่ส่งธัมมารมณ์อันเป็นสมมติมาให้มโนนั้นรู้อีกรอบ
เมื่อจิตเรานี้จรออกไปเป็นอนัตตาต่อกายนี้ คือ เราไม่มีตัวตนต่อกายนี้แล้ว หากจิตเราไม่มีในกายนี้แล้ว กายอันเป็นที่ประชุมธาตุประชุมโรคนี้ก็เหมือนดั่งกองซากเนื้อหนัง ซากศพ บิดหับงอทับถมไม่มีรูปไม่มีร่างเป็นกองอสุภะ เหมือนดั่งซากซพทั่วไปหรือในสนามรบ เป็นกองธาตุเท่านั้นที่เน่าเปื่อยผุพังย่อยสลายไปในที่สุด ดังนั้นไม่ควรยึดเอากายนี้เป็นตัวตน สักแต่เพียงอาศัยไว้บ่มบารมี 10 ทัศน์ของตนเท่านั้น
- ทำใจให้ผ่องใสดุจดวงประทีป น้อมไปภายในตนไม่ส่งจิตออกนอก เห็นใจในภายในผ่องใสดูจดวงประทีป แต่อาศัยสมมติกิเลสที่จรมาทำให้มัวหมอง จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นล้วนลมมติทั้งหมด อย่ายึดสิ่งที่จิตรู้ ดังนี้ว่า..
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]1. ด้วยเห็นโทษ รู้ทุกข์ เกิดมีขึ้นเมื่อเราเสพย์ในสิ่งใด แล้วไม่เสพย์สิ่งใด[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]2. ด้วยเห็นคุณ จิตชื่นบานผ่องใสเย็นใจ เกิดมีขึ้นเมื่อเราเสพย์ในสิ่งใด แล้วไม่เสพย์สิ่งใด[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]3. ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกไปย่อมหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]4. ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกด้วยความไม่เอนเอียงอคติเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้เห็นตามจริง จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ

ข. เมื่อทำสมาธิอบรมจิต
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 1.[/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058] ให้ทำจิตไว้ในภายในรู้ลมที่พัดเคลื่อนซ่านเข้ามาให้ใจรู้ รู้ลมที่พัดซ่านเคลื่อนออกไปให้ใจรู้เท่านั้น
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 2.[/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058] ปักหลักปักตอรู้ลมหายใจไม่เอนไหลไปที่อื่นในจุดที่ลมผ่าน เช่น ปลายจมูก หน้าอก ท้องน้อย
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 3. [/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ให้หายใจเข้ายาวๆ ออกยาวๆ ตั้งจับเอาที่จุดลมผ่านทั้ง 3 จุดตามข้อ 2
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 4.[/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058] ให้หายใจเบาๆช้าๆเข้าออกยาวๆช้าๆเนิบๆ ตั้งจับเอาที่จุดลมผ่านทั้ง 3 จุดตามข้อ 2
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 5.[/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058] ให้ตามร่ลมไปที่จุดพักลมต่างๆที่ลมผ่าน เช่น ปลายจมูก หว่างคิ้ว กลางกระหม่อม โพรงกะโหลกศีรษะ ท้ายทอย ลำคอ หน้าอก ท้องน้อยเหนือสะดือ พัดออกไล่ลมย้อนตามจุดนั้นๆ
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 6. [/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]มองดูไปที่เบื้องหน้าในขณะที่หลับตานั้น มองดูความว่างที่มืดๆตอนหลับตานั้นแหละ สำเหนียกรู้ว่านั่นแหละสิ่งที่เห็นที่เป็นไปในปัจจุบันแล้วรู้ลมเข้าลมออกไป[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]
[/COLOR]

[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ค. หากตามรู้ลมหายใจไม่ได้ให้ทำความสงบใจพอ
- หากยังไม่ได้ให้ทำแค่สงบนิ่งเหมือนตอนเด็กๆสงบนิ่งหน้าเสาธงพอ หรือ ทำความสงบนิ่งจากสิ่งทั้งปวงรับรู้แค่ความสงบคู่กายที่เสพย์ลมหายใจเข้าลมหายใจออก
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ง.. การฝึกตามรู้ สักแต่ว่ารู้แยกกับนิมิตวิตก ด้วยมนสิการทำไว้ในใจ[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]1. เมื่อรู้สิ่งใดมันคิดสิ่งใดก็ปล่อยมันไปแต่เราทำไว้ในภายในให้รู้ว่าเราคิดสิ่งนี้ เกิดแบบนี้ ต้องการอย่างนี้ มีอารมณ์ความรู้สึกอยากให้เป็นแบบนี้ๆเท่านั้น[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]2. ห้ามไปขัดมัน ละมันว่าไม่ได้ๆ แล้วโยกสลับกลับไปนั่นไปนี่ ทำแค่ให้รู้ตามมันไปไม่ว่ามันจะตรึกนึกคิดอะไรแค่ตามรู้มันไปพอ เช่น..[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 1.[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058] หากเมื่อมันนึกคิดถึงผู้หญิงหน้าตารูปร่างแบบนั้นแบบนี้ ก็ให้ตามรู้สักแต่รู้ว่า..อ๋อ..ใจเราชอบคนรูปร่างหน้าตาแบบนี้ มีกริยาวาจาท่าทางแบบนี้ ทรวดทรงองค์เอวแบบนี้ๆ แล้วแนบจิตตามนิมิตความรู้สึกนึกคิดนั้นไปแบบนี้[/COLOR][/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 2.[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058] [/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]หากเมื่อมันนึกคิดลงราคะก็ให้ตามรู้ทำสักแต่ว่ารู็ว่า อ๋อ..นี้เรามีความต้องการเมถุนอยู่ มีความต้องการเสพย์เมถุนกับผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาทรวดทรงอย่างนี้ๆ [/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]อ๋อนี่แบบนี้เอง[/COLOR][COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ใจเรามันชอบแบบนี้นี่เอง เลยยังพอไม่ได้อิ่มไม่เป็น[/COLOR][/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]
[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]จ. อาการเมื่อเกิดความรู้สึกที่สำคํญใจในราคะ[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]- เมื่อเราสำคํญใจในสิ่งใดด้วยราคะ เมื่อได้เฆ็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัส ได้สัมผัสใจ อาการธรรมชาติของจิตมันจะแล่นลงที่ต่ำไปที่อวัยวะเพศของเราในทันที จิตจ้องจับอยู่ที่ตรงนั้นร่วมกับการรู็อารมณ์ทางสฬายตนะ[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 1. เมื่อจะแก้ให้ทำสมาธิปักหลักรู้ลมในจุดที่สูง เช่น หน้าอก ปลายจมูก[/COLOR]
[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]ประการที่ 2. ทำไว้ในใจในภายในลงจิตหรือดื่มน้ำลงไปแก้วหนึ่งเย็นที่ไหนจับเอาที่นั้นเป็นฐานที่ตั้งแห่งสติตามหลวงปู่เยื้อนสอน ซึ่งจุดนี้ตัวเราได้ทำตามมาสักพักแล้วมีความรู้สึกโดยส่วนตัวว่าจุดตรงนั้นแหละที่ดวงจิตเราอาศัยอยู่ ที่ใกล้มนะ มโนมากที่สุดให้ทำนิมิตไว้ในภายในตรงจุดนั้นอุปมาดั่งแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี แล้วตั้งปักหลักทำจิตโดยความสงบนิ่งหรือรู้ลมพัดซ่านไปในจุดพอ[/COLOR]

[COLOR=rgba(0, 0, 0, 0.87058]
[/COLOR]