Group Blog : บันทึกการปฏิบัติเพื่อละราคะเมถุน ปี ๒๕๖๑ สมัยที่ได้พบเจอพระอรหันต์

กระทู้: Group Blog : บันทึกการปฏิบัติเพื่อละราคะเมถุน ปี ๒๕๖๑ สมัยที่ได้พบเจอพระอรหันต์

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    Group Blog : บันทึกการปฏิบัติเพื่อละราคะเมถุน ปี ๒๕๖๑ สมัยที่ได้พบเจอพระอรหันต์




    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ เป้นธรรมที่ควรโอปะนะยิโก คือ น้อมเข้ามาสู่ตน ธรรมนั้นพึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ซึ่งได้มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ พระอรหันตสงฆ์ ที่เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของผม มีหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน (พระพุทธสารเถระ วัดอโสการาม) เป็นต้น ท่านได้กรุณาแนะนำเทศนาสั่งสอนมาโดยตรงแก่ผม ผมได้โอปะนะยิโกน้อมเอาธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นแนวทางปฏิบัติและเข้าถึงจนเห็นผลต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของปุถุชนอย่างผมได้ดังนี้...

    หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่า..
    ..ธรรมนั้นมาจากปุถุชนที่ยังไม่ถึงธรรมจริงอย่างผมเท่านั้น
    ..ไม่ใช่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยตรง
    ..ไม่ใช่ธรรมเทศนาจากพระอรหันตสงฆ์สาวกโดยตรง
    ..เป็นเพียงธรรมที่ปุถุชนผู้ยังสมมติของปลอม ยังไม่ถึงของจริง ยังเห็นสัมผัส และคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดอย่างผมมีโอกาสได้รู้เห็นตามสมมติของจิต แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินี้ๆเท่านั้น


    หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน อันมีพระอรหันตสงฆ์สาวก และ พระอริยสงฆ์สาวก ของสมเด็จพระบรมพุทธศาสดาได้เผยแพร่สั่งสอนธรรมมาจนถึงผมและท่านทั้งหลาย ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

    บัดนี้ ผมขอสาธยายธรรมอันที่ปุถุชนอย่างผมพอจะรู้เห็นเข้าถึง เข้าใจ แจ้งใจได้ ดังต่อไปนี้..






    Group Blog : บันทึกการปฏิบัติเพื่อละราคะเมถุน ปี ๒๕๖๑ สมัยที่ได้พบเจอพระอรหันต์

    บันทึกกรรมฐาน วันที่ 1-1-61 เวลา 23:30 น. ถึง วันที่ 2-1-61 เวลา 2:45 น.
    สรุปหัวใจหลักวิธีทำไว้ในใจในการเจริญปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา




    หัวใจหลักใน ทาน ศีล ภาวนา ที่ทำที่ใจ ทำเจตนา ละเขจตนา

    ให้ลงใจตามพระอริยะสาวก และ พระอรหันสาวก
    ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาโลก เจริญปฏิบัติกั

    ก. ทาน ..ทำที่ใจ
    ทำเหตุ ..ทำไว้ในใจเพื่อขจัดความโลภ ความตระหนี่ อภิชฌากลุ้มรุมในกายใจตน
    ผลอานิสงส์ ..ถึงความอิ่มใจไม่คิดใคร่ ไม่กระสันอยาก ไม่แสวงหาอีก อิ่มใจไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในในโลก
    (น้อมใจไปถึงความอิ่มเอมเป็นสุขใจนั้น)
    - เหตุ คือ รู้เห็นตามจริงใน..กรรม โลกธรรม ๘ ศรัทธา ๔ เข้าถึงความความสุขจากการให้ มีใจน้อมไปในความสละ เจตนาออกจากอภิชฌา
    - สะสมเหตุละกิเลส คือ โลภะ ความตระหนี่ ความโลภ อยากได้ หวงแหนสิ่งที่ปรนเปรอบำเรอตน
    - เห็นแจ้งชัดใน โลกธรรม ๘ ความไม่เที่ยง โลภะ กาม นันทิ ราคะมันหลอกให้เราเอาใจเข้ายึดครองทุกสิ่งในโลก แสวงหา ต้องการ กระสันอยาก จนมีเท่าไหร่ เสพย์มากแค่ไหนก็อิ่มไม่เป็น ..เมื่อจิตสูงเหนือโลภไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลก จิตก็รู้จักพอแผ่ขยายไปด้วยน้อมไปในการสละจิตจึงอิ่มเป็น ทุกสิ่งทุกอย่าง คน สัตว์ สิ่งของที่รักที่หวงแหนอยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ติดตามไปทุกภพชาติ ให้ผล เป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย เราเป็นทายาทกรรม
    - มีใจน้อมไปใน ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอยากให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์สุขจากสิ่งที่ตนสละให้ มีใจอยากให้ผู้อื่นได้รับหรือมีโอกาสดีๆได้รับสิ่งดีๆเป็นประโยชน์สุขเหมือนเขาบ้างเสมอด้วยตน
    - มีใจสละขาดจากความเ)้นเจ้าของ ไม่เอาใจเข้ายึดครองไว้กับสิ่งที่ตนให้
    - มีอานิสงส์ คือ ความอิ่มใจ อิ่มเต็มอัดแน่นในใจตัดขาดจากความติดใคร่ได้กระสันต้องการ


    ข. ศีล ..ทำที่ใจ
    ทำเหตุ ..ทำไว้ในใจเพื่อขจัดโทสะ ริษยา อภิชฌา โทมนัส ความเร่าร้อน ร้อนรุ่ม ขัดข้อง ข้องแวะ อัดอั้น คับแค้น โศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพันกลุ้มรุมในกายในใจตน
    ผลอานิสงส์ ..ถึงความเย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ มีจิตแจ่ม ใสเบิกบาน สงบสุขเป็นที่สบายดบาใจแผ่ซ่านไป ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก
    (น้อมใจไปถึงความเย็นเบาใจ สงบสุขเป็นที่สบายกายใจนั้น)
    - เหตุ คือ รู้เห็นตามจริงใน..กรรม โลกธรรม๘ มีหิริพละ มีโอตัปปะพละ ศรัทธา ๔ ความเห็นเสมอด้วยตน เข้าถึงโทษและทุกข์ในการไม่มีศีล เจตนาออกจากอภิชฌา-โทมนัส
    - สะสมเหตุละกิเลศ คือ โทสะ และความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
    - เห็นแจ้งชัดใน ความเร่าร้อนร้อนรุ่มกลุ้มรุมกายใจจากการไม่มีศีล กรรม วิบากกรรม รู้แยกแยะดี ชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย เราเป็นทายาทกรรมทุกภพทุกชาติไป
    - มีใจน้อมไปใน ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นเสมอด้วยตน ด้วยอาการของจิตที่มีความแจ่มใสเบิกบานปราศจากทุกข์และความเร่าร้อนทั้งหลายแผ่ขยายไปนั้น
    - มีอานิสงส์ คือ ความเย็นใจ อวิปติสสาร ปราโมทย์ เบิกบานใจ


    ค. ภาวนา ..ทำที่ใจ
    ทำเหตุ ..ทำไว้ในใจเพื่อให้จิตได้พักเท่านั้น ข้อนี้เป็นหัวใจหลักในการภาวนา.. จิตจะได้มีกำลังขจัดโมหะ ความโง่ ลุ่มหลง ติดใจข้องแวะโลก ความหลงไม่รู้เอาใจเข้ายึดครองโลกที่กลุ่มรุมกายใจตน
    ผลอานิสงส์ ..ถึงความที่จิตผ่องใส สว่างไสว รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา
    (ทำไว้ในใจถึงการภาวนาว่า..เพื่อต้องการให้จิตได้พัก น้อมใจรวมจิตไว้ในภายในที่เดียว เอาจิตจับที่จิต ทำความสงบ นิ่ง ว่าง ไม่คิด ไม่จับเอาสิ่งใด)
    - เหตุ คือ รู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ เห็นทุกข์ ตัวทุกข์ เหตุแห้่งทุกข์ ตื่นจากสมมติ ละเหตุแห่งทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ วัฏฏะ ไม่สิ้นสุด เกิดนิพพิทาญาณ เจตยาทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ถึงความเบิกบาน
    - สะสมเหตุละกิเลส คือ โมหะ ความโง่ลุ่มหลงไม่รู้ตัว ไม่รู้จริง เพื่อให้จิตฉลาดในธรรม ฉลาดในการปล่อยวาง ฉลาดในการเลือกเฟ้นธรรม จิตสามารถเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ได้ เสริมปัญญาความฉลาดให้จิต
    - มนสิการไปให้จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวไม่สัดส่าย สงบ นิ่ง ว่าง วูบรวมลงแช่ไว้ในภายในให้จิตได้พัก "ความสงบ นิ่ง ว่าง แช่มีอารมณ์เดียวนี้เป็นอาหารของจิต" เป็นการเสริมเติมกำลังให้จิต ให้จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตนเองไม่ไหลพล่านยึดจับเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ไรๆมาตั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิต จิตทำสักแต่ว่ารู้ได้
    - มูลกรรมฐาน ทำไว้ในใจภึงพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดา โดยระลึกบริกรรมในพุทโธคู่ลมหายใจเข้าออกก็ได้ (พระอรหันตสาวกทุกรูปท่านสอนไว้ว่า..คนที่ระลึกบริกรรมพุทโธไม่ได้..ก็แสดงว่าไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า คนที่ระลึกธัมโมไม่ได้..ก็แสดงว่าไม่มีศรัทธาในพระธรรม คนที่ระลึกสังโฆไม่ได้..ก็ไม่มีศรัทธาในพระสงฆ์) ระลึกถึงความรู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ จิตตั้งอยู่เฉพาะหน้า รู้ปัจจุบัน ตื่นจากสมมติไม่ติดหลงสมมติความคิด สมมติสัจ สมมติบัญญัติ ตื่น หลุดพ้นแล้ว ถึงความว่าง,ความสงบ,ความไม่มี,ความสละคืน มีจิตเบาสบายเบิกบบานใจเป็นสุขหาประมาณมิได้ ไม่มีสิ่งใดในโลกให้ข้องแวะข้องเกี่ยวได้อีก
    - มีอานิสงส์ คือ ทำให้เรามีจิตผ่องใส มีใจเบิกบาน เป็นสุข มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ละเจตนาในอกุศล ไม่มีความคิดชั่ว ไม่มีความคิดอกุศล มีเจตนาละเว้นจากความเบียดเบียน จิตฉลาดในการเลือกเฟ้นเสพย์ธรรม ฉลาดในการปล่อยวาง ไม่เอาใจเข้ายึดครองสังขารทั้งปวง อิ่ม พอ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งของสมาธิจะเกิดปัญญามากมายที่เราไม่เคยรู้เห็นจะพรั่งพรูขึ้นมาให้วิเคราะห์พิจารณาเลือกเฟ้นใช้งานในการดำรงชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมโดยชอบ เมื่อพ้นจุดนี้ไปอีกจึงจะเกิดปัญญาธรรมอันจิตแจ้งชัดของจริงต่างหากจากสมมติ ถึงนิพพิทาถอนใจไม่ยึดครอง เกิดวิราคะตัดสิ้นกิเลสของปลอม ถึงความสละคืน ไม่มีสิ่งใดๆในโลกหน่วงยึดเกียวใจไว้ได้อีก




    การเข้าสมาธิง่ายๆ 3 วิธี

    วิธีที่ 1 น้อมใจไปรวมจิตลงเพียงเพื่อให้จิตได้พัก (วิธีนี้กล่าวคราวๆแล้วในเบื้องต้น ตามด้านบน)

    วิธีที่ 2 เพ่งนิมิต หรือ คำบริกรรมเหล่าใดให้สติจดจ่อในอารีมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน ทำให้จิตจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวตาม (วิธีนี้มีสอนเยอะตามกรรมฐาน 40 เช่น พุทโธ อานาปานสติ กสิน ๑๐ จึงไม่ขอกล่าว)

    วิธีที่ 3 มนสืการ
    สัญญา จิตจับอารมณ์แนบแน่นไม่ขาดกัน แล้วยกจิตขึ้นด้วยลม..
    1. มนสิการในอารมณ์เครื่องกุศล อนุสสติ ๖ เป็นต้น หรือ พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติเหล่าใด เป็นมูลฐานให้จิตตั้งมั่น

    2. ไม่กำหนดนิมิต แต่กำหนดจิตจับไว้ที่อารมณ์ความรู้สึกเย็นใจเบิกบานที่มีอาการแผ่ไปจากการได้เจริญในธรรมเครื่องกุศลเหล่านั้นแนบแน่นไม่ขาดกัน ไม่กระเพื่อม ไม่คลอนแคลน ไม่สัดส่าย
    3. เมื่อจิตนิ่งแนบอารมณ์ได้ หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ไม่ต้องหายใจแรงมาก ให้หายใจปรกติสบายๆ ไม่ให้ลมติดขัด
    (จิตจะยกเข้าสมาธิตามกำลังของจิต มีการวูบรวมลงทีจุดเดียวเป็นสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถึงปฐมฌาณ เป็นต้น)
    4. หายใจออกผ่อนเบาสบายๆคลาย ดับ สลัดอารมณ์ที่จิตจับแนบก่อนหน้านี้ออกไปเหาะ รับสภาพความรู้สึกอารมณ์ อาการที่เข้ารวมลงอยู่ในปัจจุบัน
    (เวลาตายลมหายใจสุดท้ายนี้สำคัญเพราะเป็นตัวจับอารมร์สุดท้าย คนเข้าฌาณ หรือได้วสีจะเข้าใจจุดนี้ที่สุด)




    ขยายความ

    ก. ทาน ละโลภได้ทาน ละตระหนี่ปรนเปรอตน เผื่อแผ่แบ่งปันสละให้ด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่กัน เราก็ได้ทาน

    จิตเป็นทานก็เกิดความอิ่มใจ ใจมีกำลังอยู่เหนือโลภ
    - เข้าถึงจาคานุสสติความสละที่พร้อมมูลเกื้อกูลประโยชน์สุขทั้งปวงแก่สัตว์ทั้งหลาย เกิดความปิติ อิ่มใจเป็นสุข อิ่มเต็มอัดแน่นในใจไม่ต้องการสิ่งใดอีก- สุขตั้งอยู่ที่จิต จิตสุขเพราะสละ ถอนจากโลภ เพราะไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลกแม้ขันธ์ ๕ ที่ตนอาศัยอยู่จึงเป็นสุข จิตรู้ด้วยตัวเองว่า..สุขเพราะสละไม่ยึดครอง
    - จิตมนสิการมีใจน้อมไปในอารมณ์ถอนขึ้นปิดสวิทซ์ตัดจากความมีใจเข้ายึดครอง คลายอุปาทานขันธ์ ๕ อิ่มในขันธ์ ๕ ไม่ยึด ไม่เอา ไม่ยังขันธ์ ๕ อยู่อีกด้วยประการดังนี้

    ข. ศีล ละโกรธได้ศีล ทำที่เดียว คือ เจตนา ทำความละเว้นความเบียดเบียนทำร้ายต่อตนเองและผู้อื่น..ด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุข เย็นกาย สบายใจ ไม่เร่าร้อนต่อเผู้อื่นเสมอด้วยตนเอง คือ
    1. ผู้อื่น เจตนาละเว้นจากความข้องแวะ ติดพัน อยากได้ หมายเอา คน สัตว์ สิ่งของ ขีวิต ของผู้อื่นมาครอบครองเป็นของตน ปรนเปรอตน
    2. ตนเอง เจตนาละเว้นจากสิ่งที่ทำให้ตนระลึกไม่ได้ ฉุกคิดยับยั้งแยกแยะ ดี ชั่วไม่ได้ เจตนาละเว้นจากสิ่งที่ทำให้เราไม่รู้ตัว

    ศีล ลงใจ เจตนาเป็นศีล เราก็เย็นใจเป็นที่สบายกายใจมีปรกติจิตที่ไม่เร่าร้อน อยู่ที่ได้ก็เบาใจ ไม่หวาดกลัว ระแวง เร่าร้อน หมกมุ่น ฟุ้งซ่าน ร้อนรุ่มกายใจ ใจก็มีกำลังอยู่เหนือโกรธ

    - จิตไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก จิตที่ไม่ยึด ละเว้นเจตนาเบียดเบียนขาดสิ้นความเร่าร้อน จิตว่างไม่ลังเลสงสัย เห็นธรรมที่เสมอด้วยตนทั่วกัน จิตวิญญาณที่ครองขันธ์อยู่ล้วนเสมอกัน จิตที่อารมณ์ที่เสมอกัน รู้ด้วยความสงบ ไม่กระเพื่อมกวัดแกว่ง นิ่ง ความปิติ สุข เกิดขึ้นในภายใน ตัดความคิดรู้ปัจจุบันเฉพาะหน้าจิตเบาผ่องใส มีอาการที่แผ่ขยายไป
    - มีใจน้อมไปในความเสมอด้วยกัน จิตแผ่เอาความผ่องใสเบิกบาน เย็นใจ ปราศจากกิเลสเครื่องเร่าร้อน
    - จิตตั้งมั่นแนบอยู่ในความเย็นใจ แจ่มใส เบิกบานนั้นด้วยมีอาการที่แผ่ขยายไปทั่ว ไม่จำกัด ไม่มีประมาณ ทุกขันธ์ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต
    - จิตตั้งอยู่ที่ความว่างจากทุกข์ ว่างเบากายสบายใจไม่มีเครื่องเร่าร้อน แผ่ขยายความว่างอันปราศจากทุกข์ แผ่เอาความว่างอันผ่องใสไม่มีทุกข์นี้ไปไม่จำกัด ไม่มีประมาณ ทุกขันธ์ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต
    - จิตตั้งอยู่ที่จิตความสว่างไสว รื่นรมย์ สำราญ เบิกบานไม่มีสิ้นสุด จิตจับที่จิต จิตรวมลงอยู่ที่ดวงจิตที่แนบไปด้วย อัดแผ่ขยายออกไปไม่มีประมาณด้วยความสำราญ เบิกบานในสุขอันสว่างไสวนั้นไป ไม่จำกัด ไม่มีประมาณ ทุกขันธ์ ทุกรูป ทุกนาม ทุกดวงจิต
    - จิตตั้งอยู่ด้วยความไม่ยึดครองสิ่งใด ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไม่ ไม่ยึดจับอะไรเลย ทุกอย่างมันเป็นไปของมันด้วยกรรมตามสัจจะของมันเอง ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน
    - ความมนสิการน้อมใจเข้าไปในภายในความน้อมเข้าดูจิตเดิมแท้ ขัดเกลา ล้างขันธ์


    ค. ภาวนาอบรมจิต ละโง่ได้ภาวนา
    - ทางโลก ศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ ก็เข้าถึงความรู้ในหลายทาง คิดตอบโจทย์แก้ไม่ทันก็จำไว้สะสมเหตุเป็นปัญญาถึงแนวทางแก้ไขของรูปแบบปัญหานี้ๆในคราวต่อไป เข้าสมาธิให้จิตได้พัก จิตมีกำลัง จิตสงบไม่ฟุ้งซ่านคิด ไม่ติดคิด ทำให้จดจำง่าย สมองทำงานเป็นระบบมากขึ้นว่องไวเพราะไม่มีความคิดความจำขยะที่ปิดกั้นจำกัดช่องทางการทำงานของสมองและปัญญา จากนั้นความรู้ที่ไม่เคยนึกถึง ไม่เคยคิด ที่ลืมไปแล้ว ที่ไม่เคยคำนึงถึง ที่ไม่เคยรู้จัก ปัญญาที่วิเคราะห์เทียบเคียงพิจารณาโดยแยบคายเสร็จสรรพพร้อมมูลในเหตุ และ ผล ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดมีขึ้น มีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน จะพรั่งพรูขึ้นมามากมายไม่หยุด
    - ทางธรรม เข้าสมาธิอบรมจิตทำให้จิตได้พัก ไม่สัดส่ายกระเพื่อมจิตก็มีกำลัง ผ่องใสเบิกบานไม่ไหวเอนไปตามอารมณ์เครื่องล่อใจ มีกำลังอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ติดคิด ไม่ฟุ้งซ่าน มีกำลังแยกแยะ มีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน เกิดปัญญาญาณรู้เห็นตามจริงโดยสัมมา จิตมีกำลังเต็มที่ทำหน้าที่เดิมได้ คือ จิตทำแค่รู้ แลดูของจริงได้โดยไม่เข้าร่วมปรุงแต่งเสพย์อารมณ์ เห็นสมมติแห่งกาย สมมติแห่งความรู้สึกอารมณ์ สมมติแห่งจิต รากเหง้าแห่งสมมติ สันดาร สันดร แจ้งโลก เห็นธรรม ตัด ถอน สละคืน

    ภาวนาเพื่อละโง่ โอปนะยิโกได้ง่าย ทำสมาธิภาวนาเพื่อให้จิตได้พัก อบรมจิตให้ฉลาดเไม่ติดหลงสมมติอยู่อีก ละโง่ก็ได้ปัญญา จิตถึงปัญญาก็เป็นผู้รู้ทั่วพร้อม เกิดความรู้ได้เฉพาะตน ปัจจัตตัง

    - จิตเข้าไปดูของจริง เห็นความเป็นไป การทำงานตามจริงของมัน ทำสักแต่ว่ารู้ ไม่ข้องแวะ ไม่ยึดที่เห็น แต่ทำความรู้ตามจริง
    - จิตเห็นการทำงานครบพร้อมขันธ์ ๕ เห็นผัสสะกระทบให้จิตกระเพื่อม ความเป้นไปของมันเหมือนดูหนังจอยักษ์ที่เราอยู่ท่ามกลางในเหตุการณ์นั้นๆ
    - จิตคลายปิดสวิทซ์ตัดสิ่งที่คล้องหน่วงจิตไว้อยู่ตลอดเวลาเพราะเห็นความไม่มี เหมือนฟ้าแลบแปลบ เหมือนประกายแสงที่กระทบกันแปล๊บหนึ่งซึ่งไวมาก อุปมาเป็นโซ่ที่ถูกปลดมีดตัดตะขอที่คล้องลากหน่วงตรึงเราออก เกิดประกายแสงกระทบกันแวบหนึ่ง ขาดสิ้น
    - จิตสำรอกออก สละคืน จิตเบา ไม่หน่วงจิตอีก น้อมเข้ากำลังในทางโดยชอบ แนบแน่นในสัมมา ทาน ศีล ภาวนา สติสัมปะชัญญะ เห็นชอบ คิดชอบ พูดชอบ ทำชอบ ดำรงจิตชอบ ความแนบแน่นประครองในสัมมา ความระลึกได้ประครองตั้งมั่น จิตตั้งมั่นจดจ่อ จิตสักแต่ว่ารู้แยกจากขันธ์สังขารทั้งปวงเหล่าใด จิตดำรงมั่นแลดูอยู่รู้แค่ธรรมไม่สัดส่าย เหตุให้เกิดสืบต่อแห่งจิตสังขารไม่มี วิญญาณสังขารไม่สืบต่อ จิตสังขารดับ ปิติ สุข ว่าง จิตตั้งมั่น ตัด




    การอบรมจิตเบื้องต้นง่ายๆแต่ผลนั้นยิ่งใหญ่นัก คือ..

    1. สวดมนต์(ทำให้จิตจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ที่กำลังสวดน้อมใจไปตามคววามหมายของบทสวดมนต์นั้นๆ ไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดอย่างอื่น)
    2. สงบนิ่ง(ความสงบ ทำแค่ความสงบ จิตว่าง ไม่คิด ไม่ยึด ไม่จับ ไม่มี)
    3. รู้ลมเข้า-ออก (ตามรู้ลมปักหลักปักตอไว้ปลายจมูกรู้ลมที่พัดเคลื่อนเข้า พัดเคลื่อนออก)
    4. พุทโธ กำหนดบริกรรมตามลมด้วยคุณพระพุทธเจ้า คือ ผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ตื่นจากสมมติ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอม ผู้รู้จริงคือรู้ในปัจจุบัน ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้ของจริง คือ ลมหายใจเป็นวาโยธาตุ เป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่สงเคราะห์ประกอบขึ้นให้เป็นกาย พยุงยังกายไว้อยู่ สมมิตก็คือความคิด ปรุงแต่ง จิตส่งออกนอกทั้งปวงเมื่อความคิดเกิดมีแสดงว่าสมมติเกิดทันที จิตรู้สิ่งใดด้วยความคิดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด ความคิดที่ไม่มีโทษมีคุณคือบริกรรมพุทโธ "ทำไปเรื่อยๆสบายๆจากนั้นจิตมันวูบดิ่งลง หรือ เหมือนวูบหลับลง หรือ วูบลงคล้ายจะกำลังหมดสติ ก็ให้ปล่อยมันไปไม่ต้องประครองมากไป ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไปของมัน ..อาการนี้แค่จิตมันเข้าไปพัก" เมื่อจิตมันได้พักเสร็จมันจะมีกำลังดำเนินไปของมันเอง ทำแค่นี้เเข้าถึง เข้าเอกัคคตารมณ์ได้ หรือ เข้าภึงฌาณ 4 ได้
    5. ส่วนเวลาทำงานดำเนินชีวิตไปตามปรกติ ก็ให้ทำสัมปะชัญญะ ทำความรู้ในปัจจุบันขณะ รู้กิจการงานที่ตนทำอยู่ในปัจจุบัน ยืน เดิน นั่ง นอน ทำงาน เขียนหนังสือ เขียนงาน ขี้ เยี่ยว ดื่ม กิน รู้กิจการงานในปัจจุบันที่ตนทำ ไม่ติดหลงสมมติความคิด




    - นี่คือ ทาน ศีล ภาวนา สะสมเหตุอิทธิบาท ๔ ใน มรรค ๘ สุจริต ๓
    นแนวทางหลักๆ ที่เเป็นหัวใจของการเจริญ ทาน ศีล ภาวนา และ ผลเลยนะนี่ หนังสือไม่มีสอนนะแบบนี้ ในกูเกิลก็ไม่มี
    * เวลาทำให้เป็นที่สบายกายใจ ไม่กระสันในผล แต่ไม่หย่อนยานเหลาะแหละ ให้ทำเป็นประจำๆเนืองๆ ตั้งไว้ว่าวันนี้ๆจเราจะทำจากเวลานี้ ถึงเวลานี้ แล้วค่อยเพิ่มมากขั้นไป ที่แน่นนอนทุกวันพระให้ทำได้ตลอดวัน สะสมเหตุไป รู้ตัวว่าตนทำสะสมเหตุไป อย่ากระสันผล ให้พอใจที่ได้ทำสะสมเหตุเป็นพอ ทำใจให้สบายๆ





    ความรู้เห็นทั้งหลายทั้งปวงของข้าพเจ้านี้ ได้มาจากการเจริญปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์สอน ไม่ขัดครู ไม่ลังเลสงสัย ตามคำสอนของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ(พระอุปัชฌาย์), หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒโน (พระพุทธสารเถระ)(พระอุปัชฌาย์), พระครูมหานกแก้ว(หลวงน้า)(พระอุปัชฌาย์), หนังสือเทศนาคำสอนของหลวงปู่ฤๅษีฯ(พระราชพรหมญาณ), พระอาจารย์สนทยา ธัมมะวังโส(พระอุปัชฌาย์), หลวงพ่อเสถียร ถิระญาโร(พระอุปัชฌาย์), พระอาจารย์ณัฐพงษ์ และ (พระอุปัชฌาย์)ครูบาอาจารย์สายพระป่าอีกหลายท่านที่ได้สอนข้าพเจ้าโดยตรง หรือจากหนังสือคำสอนของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ พระอาจารย์ใหญ่ ทุกๆท่าน









    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 01-04-2018 เมื่อ 04:24 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. Admax said:
    ..ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นแค่เพียงบันทึกกรรมฐานเพื่อการปฏิบัติในคลองเก่าของผมเท่านั้น เป็นผลจากการปฏิบัติ เจริญกรรมฐาน วิธีเข้าพิจารณาธรรมของผมจากการน้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ เป็นธรรมที่ควรโอปะนะยิโก คือ น้อมเข้ามาสู่ตน ธรรมนั้นพึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ซึ่งได้มีครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ พระอรหันตสงฆ์ ที่เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของผม มีหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน (พระพุทธสารเถระ วัดอโสการาม) เป็นต้น ท่านได้กรุณาแนะนำเทศนาสั่งสอนมาโดยตรงแก่ผม ผมได้โอปะนะยิโกน้อมเอาธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นแนวทางปฏิบัติและเข้าถึงจนเห็นผลต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของปุถุชนอย่างผมได้ดังนี้...

    ..หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่า..
    ..ธรรมนั้นมาจากปุถุชนที่ยังไม่ถึงธรรมจริงอย่างผมเท่านั้น
    ..ไม่ใช่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยตรง
    ..ไม่ใช่ธรรมเทศนาจากพระอรหันตสงฆ์สาวกโดยตรง
    ..เป็นเพียงธรรมที่ปุถุชนผู้ยังสมมติของปลอม ยังไม่ถึงของจริง ยังเห็นสัมผัส และคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดอย่างผมมีโอกาสได้รู้เห็นตามสมมติของจิต แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินี้ๆเท่านั้น

    ..หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน อันมีพระอรหันตสงฆ์สาวก และ พระอริยสงฆ์สาวก ของสมเด็จพระบรมพุทธศาสดาได้เผยแพร่สั่งสอนธรรมมาจนถึงผมและท่านทั้งหลาย ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด ซึ่งธรรมอันประเสริฐเพื่อหลุดพ้นทุกคลายกำหนัดราคะทั้งปวงนี้ เราสามารถน้อมนำมาสู่ตนแล้วเจริญปฏิบัติให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ได้เฉพาะตนเป็นปัจจัตตัง ผู้ที่ท่องจำไม่น้อมนำมาทำจริงย่อมไม่เห็นเกินตัวหนังสือ ย่อมไม่อาจเข้าถึงและสัมผัสถึงสภาวะความรู้สึกตามจริงได้ ทั้งนี้ธรรมทั้งปวงของพระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยคุณแม้ปุถุชนก็สามารถเข้าถึงได้ เห็นได้ จนแจ้งชัดตามจริง เห็นวสีคลองธรรมในแบบของตนได้ทุกจริตแล้วรวมลงที่จุดเกียวกันคือความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้โดยไม่จำกัดกาล

    บัดนี้ ผมขอสาธยายธรรมอันที่ปุถุชนอย่างผมพอจะรู้เห็นเข้าถึง เข้าใจ แจ้งใจได้ ดังต่อไปนี้..





    บันทึกกรรมฐานวันที่ 3-1-61 เวลา 22.45 น.
    จิตจับอารมณ์โดยไม่กำหนดนิมิต
    ตั้งแต่ตอนปรกติที่มีกิเลสนิวรณ์สมมติความคิด(ซึ่งปรกติเราจะทำในอุปจาระสมาธิ)
    แล้วยกจิตเข้าสมาธิ อาศัยมนสิการ สัญญา


    ระลึกถึงศีลของพระพุทธเจ้า ที่มีอาสิสงส์ผลการเจริญทำให้ เย็นกาย สบายใจ ไม่เร่าร้อน เป็นที่สบาย เบิกบาน ไม่ร้อนรน หวาดกลัว หวาดระแวง ขุ่นข้อมหมองใจ มันเบาเย็นใจปราศจากความติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกทำให้ใจเบิกบานซาบซ่านภายในใจ..

    ๑. ระลึกถึงศีลที่พระบรมพุทธศาสดาตรัสสอน มีอานิสงส์ที่ไม่เร่าร้อน ทำให้เบาเย็นใจสบาย ผ่องใส เบิกบาน ซาบซ่าน ไม่มีเวร ไม่มีภัย ปราศจากความเบีดยเบียน ไม่มีความติดข้องใจสิ่งไรๆทั้งปวง

    ๒. เราทำไว้ในใจ น้อมใจไปถึงสภาวะปัจจุบันขณะกาลปัจจุบันนี้ สมัยนี้เราดำรงชีพอยู่โดยประกอบด้วยศีล เรามีศีลบริบูรณ์พร้อมด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์อิสระสุขแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เว้นจาก..ความเบียดเบียน ติดพัน ข้องแวะ ระลึกไม่ได้ ไม่รู้ตัว ..ดำรงชีพในปัจจุบันอยู่ด้วย อนภิชฌา อโทมนัส ทำให้เราไม่ต้องหวาดกลัว ไม่หวาดระแวง ไม่ผูกโกรธ ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัด ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เป็นที่สบายกายใจ เย็นซาบซ่านเบาใจ โสมนัส มีความอุ่นใจ ..แล้วเราก็เอาจิตจับที่ความไม่เร่าร้อน เบาใจ เย็นใจเป็นที่สบายกายใจ มีผ่องใส มีใจเบิกบาน ซาบซ่าน ไม่มีเวร ไม่มีภัย ปราศจากความเบียดเบียน ไม่มีความติดข้องใจสิ่งไรๆทั้งปวง อันเป็นคุณของศีลที่พระบรมพุทธศาสดาตรัสสอนนั้น

    ๓. จิตจับที่จิต คือ ตัวรู้จับที่จิตสังขารที่มีอาการตั้งอยู่ที่ความผ่องใสเบิกบาน ซาบซ่าน เบาใจ มีจิตสงบ เป็นทีสบาย รื่มรมย์เป็นสุข ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความคิดและความคิดใจข้องแวะสิ่งไรๆมาหน่วงตรึงติด

    ๔. จิตแนบแน่นเป็นอารมณ์เดียวกับความสำราญในศีลนั้นนิ่งอยู่ จิตรับรู้ถึงสุขโดยชอบ

    ๕. จิตจับอารมณ์นั้นไม่ไหวไปดังนี้..
    ๕.ก) โดยจิตจับอารมณ์นั้นแนบแน่นไว้ในที่เดิม ปักหลัก ปักตอไว้อยู่ไม่เคลื่อนไป
    ๕.ข) มีความรู้ตัวหายใจเข้าเบาสบายๆ มีลมหายใจเข้ายาวซ่านไปพร้อมกับมีอาการเหมือนความรู้สึกที่จิตจับอยู่นั้นยังกำลังให้จิตถูกปลดปล่อยจากความหน่วงตรึงจิต พ้นจากโซ่ตรวนของสุขทางโลกที่เนื่องด้วยกายที่อาศํยอามิสเครื่องล่อใจ
    ๕.ค) จิตดีดลอยตามลมหายใจเข้าออกห่างจากความผ่องใส ซาบซ่านรื่นรมย์นั้น แต่ความรู้สึกนั้นจิตยังจับมันปักหลักปักตอไว้ที่เดิม มีแต่ตัวรู้คือจิตวิญญาณนี้ดีดลอยห่างนิมิตขึ้นตามลมหายใจเข้า ..เมื่ถึงช่วงรอยต่อที่จิตคลายอารมณ์เก่า อารมณ์เก่า อารมณ์เก่าดับ เดินเข้าสู่อารมณ์ใหม่ จิตจะตวัดกระชากลมหายใจเข้าฟืดหนึ่ง ที่เข้าไปลึกสุดขึ้นสูงเฮือกสุดท้าย(เหมือนลมหายใจเข้าเฮือกสุดท้ายก่อนตาย เหมือนที่เราเห็นแม่ตายต่อหน้า 29-5-60 เวลา 7.11 น.) ..จืตเข้าสู่สมาธิ อุปจาระ หยาบ กลาง ละเอียด เอกัคคะตา ฌาณ ตามแต่กำลังของจิต
    ..อุปมาเหมือน.. เหมือนเราเดินออกจากสถานที่ๆหนึ่ง หรือออกจากบ้านเรา ไปอีกสถานที่หนี่ง สถานที่ที่เราออกมา หรือบ้านเรานี้ ก็ยังตั้งมั่นอยู่ที่เดิม ไม่เคลื่อนไปจากที่เดิม มีแต่เราที่เคลื่อนไปที่ใหม่ที่ต้องการจะไปฉะนั้น
    ๕.ง) หายใจออกมีใจสละ คลาย สลัดผลักออกจากอารมณ์ความรู้สึกก่อนหน้านี้ออกไป จิตเกาะยึดจับอยู่ที่สภาวะอาการความรู้สึกใหม่ที่เข้าไปนั้น
    ..อุปมาเหมือน..
    - เราเอายางที่เหนียวพอจะรับน้ำหนักได้ดีเส้นหนึ่ง คล้องไว้ที่กิ่งไม้กิ่งหนึ่งไว้ โดยเรานำยางเส้นนั้นคล้องยึดจับกิ่งไม้ที่มีกำลังความเหนียวไม่อ่อนไม่แข็งไป
    - เมื่อยางคล้องยึดจับกิ่งไม้นั้นอย่างมั่นคงพอแล้ว เราดึงยางยืดออกไปคล้องกิ่งไม้ที่สูงขึ้น เป็นกิ่งไม้ที่มีความหนักแน่นแข็งแรงขึ้นไปอีก
    - จากนั้นกิ่งไม้ที่ยางคล้องไว้ตอนแรกย่อมโน้ม แอ่น งอมากกว่ากิ่งที่แข็งแรงกว่าด้านบนที่ยางเข้ายึดคล้องไว้
    - จากนั้นยางที่คล้องกิ่งที่อ่อนกว่าย่อมหลุดจากกิ่งนั้น ยางคล้องไว้ตรึงอยู่ที่กิ่งที่แข็งแรงขึ้นนั้น

    ๖. ความอิ่มเอิบ สงบ ว่าง ซาบซ่าน ไม่มีความฟุ้ง แต่รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ มีอาการที่อุ่นสบายใจปกคลุม ไม่มีความหวาดกลัว หวากดระแวง เกลียดชัง อยาก ใคร รัก โลภ โกรธ หลงไม่มีอยู่อีก ให้ระลึกเรื่องอกุศลระลึกเท่าไหร่ก็ระลึกไม่ออก เพราะนิวรณ์อ่อนกิเลสไม่มีเหตุเกิด






    หลวงน้า (ท่านพระครูนกแก้ว) ท่านเป็นพระอริยะสาวกของพระพุทธเจ้าอีกรูปหนึ่ง ท่านได้สอนเราว่า..

    ..นิมิตเหล่าใด แสง สี อาการ วิตก วาร ทั้งปวง มันเป็นเพียงธรรมชาติของจิต ซึ่งธรรมชาติของจิตนี้มันมีเป็นร้อยแปดพันเก้าอาการ ไปจนถึงเป็นล้านๆอาการ พระพุทธเจ้าจึงมีกรรมฐานทั้ง ๔๐ ตามแต่จิตประเภทนั้นๆไว้ให้ ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอาการไรๆ นิมิตไรๆ ความรู้สึกไรๆขึ้น มันก็แค่อาการหนึ่งๆของจิตเท่านั้นไม่มีเกินนี้
    ..ทีนี้ไม่ว่าจะเกิดอาการใดมีเกิดขึ้น จะเกิดนิมิตไรๆ จะเกิดอาการความรู้สึกอย่างไร จะเป็นจะตายก็ช่างมัน ให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้น รู้ว่ามันเป็นเพียงปกติอาการของจิตที่มีอยู่มากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วนเท่านั้น เมื่อรู้ว่าปกติมันเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องไปยึด ไปถือ ไปเสพย์ตามมัน มีความระลึกรู้ด้วยวางใจไว้เพียงแค่รู้แค่แลดูมันอยู่ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เพียงเท่านั้นแค่นั้น นี่คือ รู้ ปกติ วาง เป็นความไม่ยึด ไม่ขัด ไม่เสพย์ ไม่หลงตาม สมาธิก็จะแน่วแน่ขึ้นเอง






    ก. ดั่งสมเด็จพระพุทธศาสดาตรัสสอนว่า...อริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้ไม่ว่าจะไปทิศใดย่อมประกอบด้วยศีล แผ่ศีลไปด้วยเจโตวิมุตติ ด้วยประการดังนี้..เราจึงน้อมนำทำตามสิ่งที่พระอริยะสาวกในพระธารรมวิยนี้บรรลุบทอันกระทำแล้ว โดยน้อมใจไปดังนี้..

    - การแผ่ศีลด้วยพรหมวิหาร ๔ ทั่วไป เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แบบทั่วไป สวดแล้วน้อมจิตแผ่ไป หรือจะทำด้วยความเป็นรูปก็ได้ เย็นใจ ผ่องใส เบิกบาน สุข ไม่ติดใจข้องแวะ แผ่ ปิติ ความไม่มีทุกข์ สุข จิต แสง


    - การแผ่ศีลที่ถึงความหลุดพ้นแบบพระพุทธเจ้า เป็นเจโตวิมุติ ไม่ยังอยู้หรือข้องแค่เพียงรูป อาศับ สุภะวิโมกข์ สุภะกสิน อาโลกะสัญญา อากาศ อากาศกสิน วิญญาณ วิญญาณกสิน มีความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่มีความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่ล่วงเจตนา เนวะสัญญานาสัญญายตนะ อาโลกะกสิน สุญญตา

    - เราทำไว้ในใจ น้อมใจไปถึงสภาวะปัจจุบันขณะ กาลปัจจุบันนี้ สมัยนี้เราดำรงชีพอยู่โดยประกอบด้วยศีล เรามีศีลบริบูรณ์พร้อมด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์อิสระสุขแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เว้นจาก..ความเบียดเบียน ติดพัน ข้องแวะ ระลึกไม่ได้ ไม่รู้ตัว ..ดำรงชีพในปัจจุบันอยู่ด้วย อนภิชฌา อโทมนัส ทำให้เราไม่ต้องหวาดกลัว ไม่หวาดระแวง ไม่ผูกโกรธ ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัด ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เป็นที่สบายกายใจ เย็นซาบซ่านเบาใจ โสมนัส มีความอุ่นใจ ๔ ประการ..

    - จิตเราจับความรู้สึกแนบแน่นรวมไว้ในภายใน จนสงบ จิตมีกำลังมากอิ่มเอิบ ซาบซ่าน ผ่องใส เบิกบานเต็มกำลัง มีอาการที่แผ่ขยายไปกว้างไป

    - อาการที่จิตเคลื่อนเข้าไปตั้งมั่นจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวได้ จากความสงบใจขณิกสมาธิที่เราเจอกับตัวเองนี้ มีด้วยกัน ๒ ทาง คือ
    ๑. จิตมนสิการจับความรู้สึกนั้นแน่น แล้วอาศัยอาการของลมหายใจเข้า คือ จิตเพ่งจับเอาอารมณ์ความรู้สึกซึ่งไม่มีนิมิตนั้นอย่างแนบแน่นมั่นคงปักหลักปักตอความรู้สึกนั้นไว้ จิตอาศัยลมหายใจเข้าจับอาการที่เคลื่อนไหวของลมไปยกจิตขึ้นออกจากอารมณ์ความรู้สึกที่จับอยู่ก่อนหน้านี้ ปลายลมหายใจเข้าที่ซ่านกระชากลึกเป็นตัวเคลื่อนจิตเข้าตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
    ๒. เกิดนิมิตภาพเรื่องราวความคิด, สี, แสง จิตเพ่งจับที่นิมิตนั้น แล้วอาศัยลมหายใจเข้า คือ ขณะที่จิตได้ความสงบ เกิดอาการที่วูบวาบๆซาบซ่านเป็นขณิกสมาธิจิตรวมได้นิดหน่อย มันมักจะเกิดนิมิตจากความตรึกนึกคิด (เหมือนฝันแต่มีความรู้ตัวพอจะเพ่งจับนิมิตจากความตรึกนึกคิดปรุงแต่งที่สร้างขึ้นมานั้นได้บ้าง) จิตเพ่งจับภาพนิมิตความคิดที่เป้นเรื่องราวนั้น หรือ สี หรือ แสง จนแนบแน่นปักหลักปักต่อนิมิตนั้นไว้กับที่(เหมือนเรานั่งดูทีวีที่จอภาพเรื่องราวจะไม่เคลื่อที่ไปไหน มีแต่เราที่เคลื่อนไป) แล้วอาศัยลมหายใจเข้าจับอาการที่เคลื่อนไหวของลมไปยกจิตขึ้นออกจากนิมิตที่จับอยู่ก่อนหน้านี้ ปลายลมหายใจเข้าที่ซ่านกระชากลึกเป็นตัวเคลื่อนจิตเข้าตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
    ๓. ในฌาณนี้จิตจะมนสิการในอารมณ์ได้ ส่วนที่แช่แน่นิ่งเหมือนจะรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้อะไรก็ไม่ใช่ ไม่มีการกระทำไรในอารมณ์ได้นอกจากนิ่งสิ่งนี้เป็นสมาธิ เป็นอาการที่จิตได้พักแยกจากความปรุงแต่ง อาการนี้ที่เกิดวิปัสนาได้ไวเพราะมันปล่อยให้สังขารเป็นไปตามจริงไม่กำหนดบังคับนิมิต(พระอรหันต์สุกขวิปัสสะโกท่านเข้าไปทางนี้ ท่านเข้าฌาณได้แต่ไม่แวะเล่นฌาณ) ..แต่ในฌาณนี้จิตมันมนสิการได้ อธิษฐานกำหนดจิตนิมิตได้ แต่อาศัยปัญญาที่มีเต็มกำลังแล้วเป็นเครื่องรู้ให้เกิด นิพพิทา วิราคะ วิมุตติในฌาณนั้นๆได้

    - แผ่เอาความสุขซาบซ่านเย็นใจ อิ่มเอม เบาใจซาบซ่านปราศจากความติดใจข้องแวะสิ่งไรในโลก เอื้อเฟื้อเกื้อกูลเว้นจากความเบียดเบียนเสมอด้วยตนไปไม่มีประมาณในทิศนั้น (ความปารถนาดีเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเอ็นดูปรานีเสมอด้วยตน เห็นงามเสมอกันไม่มีแบ่งแยก ขันธ์ ๕ เสมอกัน อาการ ๓๒ ดวงจิตทุกดวงทียังเข้ายึดครองรูปขันธ์ ธาตุ ๖ เสมอกัน ดวงจิตยึดครองสังขารทั้งปวงเสมอด้วยกันหมด แม้ในภพนั้น ภูมินี้ ก็มีอยู่ด้วยประการดังนี้)

    - แผ่เอาความอิ่มเอมซาบซ่าน สงบ ว่าง เป็นสุข เหตุเพราะความว่างความไม่มีกิเลส ความไม่ถูกทุกข์สัมผัสความว่างจากทุกข์ สุขอันเนื่องด้วยกายย่อมถูกทุกข์หยั่งเอาด้วยความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกายยังเป็นที่ประชุมไปด้วยโรค ด้วยของสกปรก ความพ้นจากสังขารทั้งปวงเหล่านี้เป็นสุข สุขอันไม่เนื่องด้วยกาย ไม่ยังกายอยู่อีกแผ่ไปไม่มีประมาณมีแก่ดวงจิตทุกดวงทุกภพทุกภูมิในทิศนั้น
    (สุขทางโลกมันเนื่องด้วยกาย สัมผัสกายมันอิ่มไม่เป็น ..สุขทางธรรมโลกุตระมันสุขที่ใจจากความอิ่ม เต็ม พอ ความไม่มี ความสละคืน ทุกข์ไม่อาจสัมผัสหยั่งลงได้อีก ..สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็เสื่อมไป เจบป่วย แก่ชรา แล้วก็ตาย ดับสูญไป ความไม่ยังกายนี้อยู่อีกความพ้นไปจากสังขารทั้งหลายเหล่านี้เป็นสุข อ้างอิง..บังสกุลเป็น บังสกุลตาย ธาตุ ๖ ใน ธาตุวิภังคสูตร ซึ่งก่อนหน้านี้ก็คิดว่าตนเองทำมาผิดทางพอดีไปเจอพระสูตรเหล่านี้จึงรู้ว่าทำมาถูกแล้วดีแล้วตรงตามพระบรมพุทธศาสดาของเราตรัสสอนไม่บิดเบือน)

    (ทางเข้าอากาสานัญขายตนะมี 2 ทางที่เราเข้าถึงรับรู้ได้ คือ
    . อาศัยนิมิต เพ่งนิมิตรูป, สี, แสง นิมิตทางลมอานาปานสติเป็นกสิน แล้วทำจิตเป็นปฏิฆะต่อกาย เพราะกายมันเป็นที่ประชุมทุกข์ รูป นิมิต ก็ทุกข์ ผลักจิตออกพ้นรูปทั้งปวง เช่น เพ่งที่ความืดว่างไปไม่มีประมาณ จับความมืดว่างนั้นแน่นิ่ง ด้วยหมายพ้นกาย เห็นความพ้นกายในที่นั้น แล้วเมื่อเข้าถึงยกจิตความมืดว่างนั้นแหละดูดจิตเราออกพ้นกาย
    ๒. จิตมนสิการความรู้สึก จับอารณ์เพ่งความรู้สึกเป็นกสินโดยไม่อาศัยนิมิต แล้วเอาจิตจับแนบแน่นอารมณ์ความรู้สึกนี้ไว้ไม่สัดส่าย จิตจะเพ่งความรู้สึกแทนนิมิต เมื่อจิตเลื่อนจิตจะทำคามแนบแน่นเพ่งความรู้สึกอารมณ์นี้เป็นกสินแทน)
    - แผ่เอาสุขอันบริบูณ์พร้อมทุกสิ่ง สมบูรณ์พร้อมไป โดยเอาจิตจับที่จิต คือ สุขที่ไม่เนื่องด้วยกาย ไม่มีกาย พ้นกายแล้ว ไม่มีสัมผัสที่ต้องด้วยกาย ย่อมถึงความสงบอันบริสุทธิ์เหลือแต่จิตโดดๆ โสมนัสเกิดอยู่ที่จิต ความว่างไม่ใช่ตัวสุขแต่จิตเป็นตัวสุข ความคงทุกอย่างไว้อยู่ ด้วยความสงบอันบริสุทธิ์ไม่สัดส่ายตามสัมผัสอันเนื่องด้วยกายนี้ทำให้คงทุกอย่างไว้ภายในจิต จิตคงทุกอย่างรวมไว้อยู่ภายในจึงเป็นสุข เอาจิตจับที่จิต เมื่อจิตจับที่จิตตั้งที่จิต สุขที่มีอาการแผ่ไปเกิดขึ้น(เปรียบเหมือนอาการที่จิตรวมไว้ในภายในจิตไม่ส่งออกนอก จิตย่อมประกอบไปด้วยกำลังป็นสุขไม่สัดส่าย สุขอัดอยู่ที่จิตมีกำลังแผ่ไป เหมือนฌาณ ๓ ต่างกันแค่ ฌาณ ๓ มันซ่านอัดปะทุสุขขึ้นแค่ภายในรูปที่ใจเราเข้ายึดครองอยู่นี้เท่านั้น(มีมีอาการที่จิตไม่ยึดกายแล้วแต่มันรู้สึกได้เพียงแค่ขอบเขตในภายในจากก้นบึ้งปะทุขึ้นให้ตจิตรู้แต่ขอบเขตสุขนั้นมันไม่เกินที่อยู่ที่จิตเราเข้าอาศัยยึดครองเลย) วิญญานัญจายตนะมันซ่านแผ่ขยายไปไม่มีประมาณไม่ติดข้องขัดด้วยรูป ด้วยมีแค่จิต)
    (เอาจิตจับที่จิต เป็นวิญญาณกสิน เอาจิตจับที่จิตแผ่สุขนี้ไปไม่มีประมาณในทิศนั้น)

    - แผ่เอาความไม่ติดใจข้องแวะ ไม่ยึดเกาะเอาอะไรทั้งสิ้นไป ละเจตนาต่อสิ่งทั้งปวง ด้วยทุกสิ่งล้วนมีวิถีความเป็นไปของมันตามแต่กรรมกำหนดให้เป็นไป ความเข้าไปยึดความแปรปรวนด้วยหมายจะบังคับให้เป็นไปตามใจปารถนาในสัจจะอันเกิดแต่กรรมย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะพึงมีได้ เพราะมีกรรม คือ การกระทำอยู่ในใจมีเจตนาเป็นนี้อยู่ฉันใด..วิบากกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องย่อมผูกต่อให้ได้รับผลของกรรมนั้น..ใจนี้เย่อมถูกทุกข์หยังเอาอยู่ ความไม่ยึดข้องแวะ ไม่ติดข้องใจสิ่งไรๆนี้อีก ไม่กระทำกรรมเกาะเกี่ยวยึดเอาสิ่งไรๆ..ไม่มีเจตนากระทำใจไว้ต่อสิ่งไรๆ ย่อมถึงความว่างพ้นไปจากวิบากกรรมและสังขารกรรมทั้งปวงอันประกอบไปด้วยทุกข์..จึงเป็นสุข แผ่เอาความไม่มี ไม่ยึด ไม่เอา สละคืนสังขารกรรม ไม่ทำเจตนายึดข้องสิ่งใดทั้งปวงไปในทิศนั้นๆ(เป็นอารมณ์เดียวกับฌาณ ๔ ต่างแค่อาการที่ยังรูปข้องอยู่ที่รูป กับไม่ยังรูปไม่ข้องด้วยรูปจิตไม่ไหวติงด้วยอาการที่แผ่ขยายไปไม่มีประมาณ)

    - ศีลที่พระบรมพุทธศาสดาตรัสสอนนั้นแผ่ไปด้วยปรการฉะนี้ ผู้แผ่ย่อมเย็นใจ เบาใจ ผ่องใส อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ชื่นบาน เป็นสุข ผู้รับก็เป็นสุข ยังความอิ่มใจ ๔ ประการให้เกิดขึ้น เพราะจะไม่มีทางล่วงลงสู่ที่ชั่ว ได้ทำดีเว้นจากชั่วโดยชอบแล้ว

    - จิตสะอาดสว่างไสวในภายในนี้ ไม่ใข่ วิญญานัญจายตนะ แต่เป็นสัญญาเวทิทนิโรธ (อารมณ์นี้เข้าไม่เข้า ไม่กล้าอนุมาน เป็นของพระอรหันต์ พระอริยะสงส์เท่านั้น ส่วนข้างต้นที่แผ่ไปใน ๔ ประการเป็นสิ่งที่ปุถุชนอย่างเราเข้าถึงได้ปฏิบัติได้ คนที่ไม่ได้อรูปแท้ๆจริงจะไม่เข้าใจเจโจตวิมุติดังนี้




    ข. ความอิ่มเอิบ สงบ ว่าง ซาบซ่าน ไม่มีความฟุ้ง แต่รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ มีอาการที่อุ่นสบายใจปกคลุม ไม่มีความหวาดกลัว หวากดระแวง เกลียดชัง อยาก ใคร รัก โลภ โกรธ หลงไม่มีอยู่อีก

    - ให้ระลึกเรื่องอกุศลระลึกเท่าไหร่ก็ระลึกไม่ออก เพราะนิวรณ์อ่อนกิเลสไม่มีเหตุเกิด ตรงนี้ปล่อยปล่อยให้จิตมันเป็นไปของมันเอง เดินไปเอง ไม่ต้องไปบังคับ ไม่เล่น ไม่เพ่ง ไปจับ ไปประครองอะไรทั้งสิ้นไม่ทำให้จิตมันตื่นตัว แล้วจิตมันจะเริ่มวูบรวมดิ่งลง มีอาการเหมือนคนจะวูบลงหมดสติ เหมือนจะไม่รับรู้อะไร เหมือนจะวูบหลับ แล้วก็แช่ แน่นิ่ง เหมือนจิตเรานี้จะ
    จะรู้อยู่ก็ไม่ใช่-ไม่รู้อะไรก็ไม่ใช่ แช่แน่นิ่งเป็นอารมณ์เดียวอยู่อย่างนั้น อาการนี้จิตมันเข้าไปพัก

    - เมื่อจิตได้พัก จิตจึงจะมีกำลังไม่สัดส่ายอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่กระเพื่อไหลตามอารมณ์ ไม่พร่านไหลไปทั่วเพื่อยึดเอาอารมณ์สมมิเหล่าใดมาเป็นเครื่องอยู่อาศํยของมัน จิตมีกำลังมาก จิตจึงทำหน้าที่แค่รู้ได้ เป็นตัวรู้ได้ ทำหน้าที่เดิมคือแค่รู้ได้ แล้วจะเห็นของจริงเองในตอนนั้น


    - แต่หากมันว่าไม่มีอะไรก็ให้ปล่อยมันไปมันจะเป็นไปของมันเองแค่จิตมันยังมีกำลังไม่พอเห็นต้องให้มันเป็นไปเอง เมื่อเห็นจริงแค่ครั้งสองครั้งมันไม่บรรลุหอกเราถูกกิเลสทับถมมานับอสงไขยต้องใช้เวลาให้มันเห็นของจริงบ่อยๆ แล้วจะค่อยๆคลายอุปาทานเอง จิตจะไม่ยึดเอาอะไรทั้งสิ้น นอกจากลมหายใจ


    - จิตคลายอุปาทานมีอาการที่จิตไม่ยึดไม่จับเอาอะไรทั้งสิ้นเพราะหน่าย คลายอุปาทาน คือ มันโหวงๆ ลอยๆ โคลงเคลง ครูบาอาจารย์ท่านสอนเราไว้ว่าอย่างทิ้งลมหายใจ หลวงพ่อเสถียรสอนไว้ เราเอาจิตจับที่ลมรู้ว่าลมหายใจนี้เ็นกายสังขาร เป้นธาตุ ๔ วาโยธาตุ เป็นของจริง จิตมันจะไม่ห่างจากลมหายใจเลยเมื่อทรงฌาณอยู่ได้)







    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 01-09-2018 เมื่อ 09:25 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  3. Admax said:



    ทาน ๓ สันดาร

    1. ทาน ให้เพราะอยากได้ผลตอบแทน หรือให้เพื่อปัดไปให้พ้นๆตัว เป็น สันดารปุถุชน

    2. ทาน ให้ด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ผู้รับ เป็น สันดารของเทวดา และพรหม

    3. ทาน โดยสันดารพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระบรมพุทธศาสดานี้
    ท่านให้ทานเพื่อสละ คือ ละโลภ ได้จาคานุสสติ อิ่มเต็มกำลังใจ ไม่แสวงหาต้องการทะยานอยากอีก ถึงความอิ่มเต็มใจในสังขารแล้วสละคืนสังขาร ทำดังนี้
    - แผ่ไปภายนอก..สละให้ด้วยจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน เกื้อกูลประโยชน์สุขยินดีแก่หมู่สัตว์ เป็น จาคะ
    - แผ่ไปภายใน..สละให้เพื่อละโลภ ให้เพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส สละคืนกิเลส ถึงความสละคืนสังขาร เป็น จาคานุสสติ





    ศีล ๓ สันดาร

    1. ศีล ที่ท่องนับ กดข่ม ทำที่กายและวาจา เป็น สันดารปุถุชน

    2. ศีล ทำที่กายและวาจา ด้วยใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน เพื่อความเย็นใจ แจ่มใส เบิกบาน เป็น สันดาร เทวดา และ พรหม


    3. ศีล โดยสันดารพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระบรมพุทธศาสดานี้ ท่านทรงศีลเพื่อละ ทำที่ใจ คือ มีเจตนาเป็นศีล..ศีลอันเป็นไปเพื่อละกิเลส..ดังนี้
    - ศีลเป็นเจตนาเพื่อละเจตนา กุศลเจตนาละมิจฉาเจตนา คือ ละโทสะ อภิชฌา โทมนัส ประครองให้เกิดสติกำลังเครื่องกุศลผ่องใส เบิกบาน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์และอิสระสุขแก่หมู่สัตว์ เว้นจากความเบียดเบียน น้อมไปในการสละ เป็นไปเพื่อจิตตั้งมั่นประกอบด้วยปัญญา ฉลาดในการปล่อยวาง ไม่ติดใจข้องแวะ อิ่ม พอ
    - เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ความสละคืน คือ ดำรงประครองอยู่เพื่อขจัดกิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้งปวง ดับเจตนาอันเป็นกรรมทั้งปวง เพื่อถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ คือ ถึงความสิ้นไปแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้





    ภาวนา ๓ สันดาร

    1. ภาวนา เพราะเชื่อตามๆกันมา ท่องจำตามๆกันมาว่าดี ว่าสงบ ได้ปัญญา สูงสุดคือได้ความสงบใจจากกิเลส เป็น สันดารปุถุชน

    2. ภาวนา เพื่อให้จิตผ่องใส เอื้อเฟื้อ อิ่มใจ สงบใจจากกิเลส สุข ตั้งมั่น สุขเวทนาอันบริสุทธิ์ในฌาณ ปัญญาถึงละสังโยชน์ได้บางส่วน เป็น สันดารของเทวดา และพรหม

    3. ภาวนา โดยสันดารพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระบรมพุทธศาสดานี้ ท่านอบรมจิตเพื่อละ ทำให้มรรคญาณสูงยิ่งๆขึ้นไปสู่ผล คือ ญาณอันเป็นปัญญา ถึงความอิ่มเต็มกำลังใจ พอ ปล่อย ละ วาง สละคืนสังขารทั้งปวง..ภาวนาอันเป็นไปเพื่อละกิเลส..ดังนี้
    - ภาวนาเพื่อสะสมเหตุให้จิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลประโยชน์สุขสำเร็จ เว้นจากความเบียดเบียนแก่หมู่สัตว์ เป็นกุศล ฉลาดในการปล่อยวาง อิ่มเต็มกำลังใจ ไม่ติดใจข้องแวะ ปล่อยวาง พอ เห็นจริงถึงสัมมาทิฏฐิ ด้วยกำหนดรู้
    เห็นจริงในทุกขอริยะสัจ รู้พระสัทธรรมในพระอริยะสัจ ๔
    - ภาวนาเพื่ออบรมสะสมเหตุใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ สมาธิ ปัญญา ถึงซึ่งมรรคที่สูงขึ้นเพื่อนำไปสู่ผลอันยิ่งๆขึ้น มรรค ๘ คือ ทางแห่งโลกุตระ มีข้อเจริญปฏิบัติทั้ง ๘ ประการ คือ สิ่งที่เป็นโลกุตระ เพื่อสะสมเหตุพละ ๕ อบรมอินทรีย์ ๕ ถึงมหาสติปัฏฐาน ถึงโพชฌงค์ ๗ ธรรมเครื่องตรัสรู้ ตัดสังโยชน์ ๑๐ เข้าวิมุตติ เพื่อถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ พ้นธาตุ ๖ ขันธ์ ๕ นามรูป สังขารกรรม วัฏฏะไม่ต้องเกิดดับอีก คือ พระนิพพาน



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 01-09-2018 เมื่อ 10:28 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. Admax said:
    นิวรณ์ในสมาธิหลักๆที่เราเจอมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ

    - เกิดรู้ตัวลังเลสงสัยธรรมที่ดำรงอยู่ เมื่อเกิดอาการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง หรือกำลังดำรรงอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งจิตแยกรู้อาการ แล้วเกิดวคามลังเลสงสัย เฮ้ยนี่อะไร มันคืออะไร เฮ้ยถึงนี่แล้ว ทำให้จิตตื่นตัวเกินพอดีกระทำเจตนาไหลตามหรือพยายามจะต้านอารมณ์เพื่อจะได้รับรู้อารมณ์ที่เป็นอยู่นั้น
    - เกิดความหน่วงจิตให้เคลื้มหลับ ซึงจะต่างจากอาการที่จิตรวมลง มีอาการที่จิตรวมลงมันวูบลงไปแน่นิ่งเหมือนจะรู้ตัวทั่มพร้อมก็ไม่ใช่เหมือนไม่รู้ก็ไม่ใช่ แช่นิ่งอยู่อารมร์เดียว ส่วนอาการที่ง่วงมันหน่วงตรึงจิตรู้สึกหดหู่ อาการที่หน่วงดึงจืต มันไม่ผ่องใสมีอาการหมองๆหนักจิต อาการที่ซึมเซา
    - ความที่มีจิตซ่านไปในอารมณ์โน้น สิ่งนั้น สิ่งนี้ อยากได้แบบนั้นแบบนี้ กลัวจะเข้าถึงแบบนั้น กลัวจะสำเร็จได้แบบนี้ กลัวห่วงหน้าพวงหลัง ดึงจิตให้เกิดพะวง พลุกพล่านซ่านไป ซึ่งสืบต่อไป ปลิโพธ
    - เกิดความสัดส่ายน้อมใจไปในราคะสัญญา บางครั้งเราเข้าสมาธิได้แล้วแต่อยากจะรู้ว่าเป็นสัมมาสมาธิไหม เพราะสัมมาสมาธิจะระลึกอกุศลไม่ออก จะไม่มีสัญญาในอกุศลเลย มันจะระลึกไม่ออก ซึ่งเมื่อรู้ดีังนี้แล้วแทนที่จะปล่อยจิตให้เป็นไปในปัจจุบันจนมีกำลังจึงลองดู แต่กลับไปลองของระลึกทันทีมันก็วูบหลุดออกมา แต่ถ้าทรงอารมร์เป็นมนสิการเป็น ใช้สัญญาในการทรงอารมณ์ไม่ให้หลุดก็เข้าสมาธิต่อได้ หากทำไม่ได้ก็อดไป อีกประการคือการที่อยากรู้อยากเห็น ด้วยมีความตราตรึงยินดีในอารมณ์ ความรู้สึก ภพ ภูมิ ต่างๆ รูปต่างๆที่เจริญใจเป็นต้น เช่นอยากเห้นนรกสวรรค์ อยากเห็นนางฟ้า เทพบุตร เทพธิดา หรือ พอเข้าไปเห็นแล้วเกิดความกำหนัด ยินดี หมายใจใคร่เสพย์ ก็จะหลุดออกมาทันที
    - ความหลงสังขารที่แสดงอยู่เบื้องหน้า ความปรุงแต่ง แปรปรวน นิมิตเหล่าใดทัั้งปวง แปล้วเข้าไปยึดหลง โดยไม่รู้ว่าแค่สังขาร ความยินดีในสังขารทั้งปวงที่ตนรู้แล้วกำหนัดยึดเกี่ยวไว้ สิ่งนี้เป็นข้าศึกต่อ ฌาณ และ ปัญญาญาณลงมรรคญาณ หรือ ผล ละสังฌโยชน์ หรือทำให้มรรคที่มีอยู่นี้ยิ่งๆขึ้นไป


    ทางแก้นิวรณ์ทั้งหมด มีทางเดียว คือ เจตนาให้จิตได้พัก รู้ ปรกติ วาง

    - จิตได้พักมันจะได้พักผ่อนมีกำลัง เพราะถูกใช้งานตลอดเวลาไม่มีหยุด จะหลับก็หลับไปเลย หากหลับแล้วนิ่งไม่ฝันไม่รับรู้ แม่หลับเพียง ชั่วโมงเดียวตลอดกลางวันกลางคืน ก็แสดงว่าจิตเราได้พักแล้ว มนสิการน้อมรวมลงไว้ที่จิต เดินตามลมจากปลายจมูกรวมลงไว้ในภายในที่ท้องน้อยหรือจุดเหนือสะดือ 2 นิ้ว ทำไว้ในใจเพียงต้องการให้จิตได้พักเป็นพอ ไม่จะจะรู้อะไรเห็นอะไร นิมิตอะไรเกิด นิมิตอะไรดับ ความรู้สึกอะไรเกิด ความรู้สึกอะไรดับ สภาวะสังขารเหล่าใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน ดับไป เราก็จะไม่น้อมใจตามไปจะทำเพียงแค่ตามรู้ ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไปของมัน ไม่ทำเจตนาบังคับจิตไปในทิศทางใดที่ต้องการทั้งสิ้น ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยมันเป็นไปของมันก็พอ
    - หากพะวงจะเอานั่นเอาโน่นเอานี่ เห็นนั่น โน่น นี่โดยที่จิตไม่มีกำลังจะทำได้ ให้ทำใจไว้ว่ากาลก่อนนี้เราสะสมมาดีแล้ว แม้กาลปัจจุบันนี้เราก็ได้สะสมมาดีแล้วสะสมเหตุเต็มเพียงพอที่จะล่วงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
    - เมื่อห่วง พ่อ แม่ ลูกเมีย ก็ให้พึงรู้ว่าการที่เราจะทำแทคคุณพ่อแม่ได้เราต้องถึงที่สุดแห่งกองทุกข บิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตรที่เกิดมาเพื่อเป็นพระอริยะนี้มีบุญมาก แต่ท่านยังชีพอยู่หรือละโลกนี้ไปแล้ว เราก็สามารถที่จะไปทดแทนคุณท่านได้เพื่อให้เห็นธรรมความหลุดพ้นทุกข์นั่นเอง รวมถึงลูกเมียของพระอริยะก็มีบุญมากได้มาร่วมอยู่ได้รู้ธรรมออกจากทุกข์ตาม ได้มาช่วยเหลือจุนเจือกันเพื่อให้เราได้ปฏิบัติเพื่อถึงมรรค ผล นิพพาน เมื่อเราถึงธรรมแล้วพ่อ แม่ ลูก เมีย ทำบุญบารมีกับเราสะสมเหตุเขาได้ง่ายและมีค่ามาก
    - หากติดพุทธภูมิ พอเข้าสภาวะแล้วจิตผลักออกกลัวบรรลุ ให้พึงสำเนียกว่า พระพุทธเจ้าและพระอนุสาวก หรือ พระอรหันตสาวกทุกท่านล้วนแล้วแต่ทำสะสมบุญมานานหลายอสงไขย เห็นของจริงมาตั้งเท่าไหร่ ทำจนบารมีเต็ม บารมี 10 ทัศน์แสดงออกมาตลอดเวลา เราถึงเพียงนิดหน่อย ทาน ศีล ภาวนาเล็กน้อย เห็นจริงแค่ครั้งสองครั้งหรือเห็นประจำเพียงแค่ชาตินีัมันจะไปเทียบได้อย่างไรกับท่านเหล่านั้น มันไม่บรรลุง่ายๆหรอก ให้จิตมันเห็นไปของมันนั้นแหละสะสมเหตุอบรมจิตไว้ดีแล้ว
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 01-09-2018 เมื่อ 03:16 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  5. Admax said:
    (รอทำให้แจ้งขึ้นอีก)

    นิวรณ์ ๕ คือสิ่งใด มันเป็นมโนสังขาร หรือจิตสัขาร หรือวิญญาณสังขาร หรือเจตนา ..เราติดค้างใจนี้มาก ก่อนนี้ได้เห็นว่ามันเป็นตะกอนของจิต มันอยู่ในจิต อีกประการ ก็เห็นว่ามันเ็นความคุ้นชินของจิต ความหมายรู้อารมณ์ของจิต ซึ่งอะนไหนเราไม่แน่ชัด วันนี้จึงได้มีโอกาสถามหลวงปู่บุญกู้ แต่ด้วยมีญาติโยมเยอะจึงมีโอกาสไม่ถึงนาทีถามตอบหลวงปู่ เท่าที่พอจะจำได้มีใจความที่หลวงปู่ตอบประมาณดังนี้

    - เราได้เล่าอาการที่เราเห็นนิวรณ์ให้หลวงปู่ฟัง ถามหลวงปู่บุญกู้ว่าเจตนาเป็นนิวรณ์ไหมครับ เพราะมีช่วงปีก่อนนี้ประมาณวันที่ 6/1/60 ผมได้เห็นนิวรณ์ตอนนั่งสมาธิกรรมฐานกับหลวงปู่บุญกู้ คือ พอเมื่อผมนั่งสมาธิไปรวมจิตไว้ในภายในปล่อยให้จิตได้พัก เมื่อจิตสงบ จิตได้สมาธิ นิ่ง ว่าง แช่ มันเกิดนิมิตเหมือนเมฆหมอกจางๆพน้อมกับอาการหนึ่งความรู้สึกอะไรก็ไม่รู้เคลื่อนตัวรายล้อมแทรกซึมจิตตัวรู้อยู่ แต่จิตตัวรู้มันนิ่งเฉย แล้วทำแค่รู้ ไม่ทำอะไรกับมัน ไม่เสพย์ ไม่ผลัก ไม่เข้าร่วม ไม่ใก้ความสำคัญเกินกว่าทำแค่รู้สิ่งนั้น แล้วก็วูบแช่ แล้วรู้ตัวอีกทีมีอาการอยู่ดังเดิม จึงมีเจตนาขึ้นหมายรู้อารมณ์ว่ามันคืออะไร สักพักเข้าไปรู้ว่า มันหมองๆ เนือยๆ หน่วงๆ ตรึงๆ รายล้อมจิต พยายามเข้ามาเกาะ แทรกซึมจิต ปรกคลุม ห่อหุ้มรัดจิต บีบกดตัวรู้ให้ร่วงจมลง แต่ยังไม่รู้ว่าคืออะไรแค่รู้ชัดทั่วพร้อมอาการ พอเมื่อเกิดความจำได้หมายรู้ จึงเห็นชัดว่ามันคือนิวรณ์มันรายล้อมจิต พยายามแซกซึมเข้ามาอยู่ในจิต คือ อาการที่หดหู่ ห่อเหี่ยว จึงรู้ว่าแต่เริ่มเดิมทีเป็นเพียงอาการที่จิตเสวยอารมณ์ความรู้สึก แต่อาศัย ความหมายรู้อารมณ์ มีมโนสัญเจตนาเข้าไปรู้ในอาการน้นว่าคืออะไร หมายรู้อารมณ์ นิวรณ์ เกิดจากสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญา จิตสังขารเหล่าใด แต่จนแล้วจนรอดผ่านมา 1 ปี ผมก็ไม่ชัดแจ้งตัวตนของนิวรณ์ว่ามันคิออะไร อาการของจิต สัญญา เจตนา เป็นธัมมารมณ์อะไร

    - หลวงปู่บุญกู้ท่านจึงสอนเราว่า..นิวรณ์ มันเป็นส่วนหนึ่งของจิต กามให้เห็นอสุภะ พยาบาทให้ใช้เมตตา (หลวงปู่พูดถึงนิวรณ์หดหู่ ฟุ้งซ่าน หลง แต่เราไม่ได้ยินเพราะหลวงปู่พูดเบามากได้ยินแค่กาม พยาบาท)



    เมื่อกลับถึงบ้านเราให้หวนคำนึงถึุงเมื่อตอนกรรมฐานในทุกๆวัน ที่ข้ามพ้นมันได้ หนทางวิธีที่ใช้ เอามาประกอบกับคำสอนหลวงปู่แล้วลองเริ่มนั่งสมาธิใหม่ โดยหมายใจเข้าไปรู้นิวรณ์ ทำซ้ำๆบ่อยๆ พร้อมนึงถึงคำสอนหลวงปู่ ก็เกิดความแูกคิดถึงคำบางคำขึ้น ซึ่งคาดว่าเป็นคำที่หลวงปู่่สอนเรา แต่ยังไม่แน่ชัดเพราะไม่รู้ความคิดของคำนี้เกิดจากตนเองปรุงแต่งตามจริตตน หรือว่าจำได้ว่าหลวงปู่พูดจริงๆ (ส่วนนี้ไม่แน่ชัดไม่ได้ยินหลวงปู่พูด แต่เราตีความเองจากบางคำที่ได้ยินประกอบกับที่ตนเองเจอซึ่งไม่ใช่คำสอนหลวงปู่แบบตรงๆชัดเจนได้ดังนี้
    ..เราคาดคะเนจากความหน่วงนึกคิดที่เลิกลางจับต้นชนปลายไม่ถูกเพราะจะระลึกได้ว่าได้ยินคำใดจากหลวงปู่บ้าง เราจึงนึกคิดอนุมานเอาเองว่าหลวงปู่พูดถึงเรื่อง..นิวรณ์ ความหดหู่ ง่วงซึม ฟุ้งซ่าน หลง ได้ดังนี้ว่า
    ..ง่วง ห่อเหี่ยว หดหู่ ซึมเศร้า ใช้สติสัมปะชัญญะรู้ตัวตั้งใจมั่นไม่สัดส่าย ตามรู้เห็นตัวหดหู่ เห็นตัวซึ่มง่วงนี้
    ..ฟุ้งซ่าน ให้ตั้งสติสัมปะชัญญะรู้ตัวรู้กิจการงานที่ตนกำลังทำให้ปัจจุบัน ทำจิตให้ตั้งมั่นไม่ตามความคิด บริกรรมพุทโธ รู้ลมหายใจ รวมจิตลงสงบลงไว้ภายในจิต ไม่ติดสมมติความคิด (เหมือนเราตั้งสติไว้เฉพาะหน้าไมยึดสิ่งที่จิตรู้ เพราะล้วนเป็นสมมติทั้งหมด มีสมมติความคิดเป็นต้น รู้ด้วยคิดเมื่อไหร่ก็สมมติเมื่อนั้น แล้วรวมจิตลงไว้ในภายในให้จิตได้พัก) (เพราะวันนี้ 12/1/61 เรานั่งกรรมฐานกับหลวงปู่ เพราะฉี่บ่อยและเป็นหวัดไม่สบายกายใจ ทำให้เราฟุ้งซ่านมาก จึงฟังกรรมฐานแล้วตั้งสติไว้เฉพาะหน้ารวมจิตลงเกิดความคิดฟุ้งเราก็ระลึกในใจว่า..ละสมมติความคิดนั้นไปเสีย ปล่อยความคิดฟุ้งซ่านนั้นๆไปเสีย ช่างมันให้มันเป็นไปของมัน เราไม่สนมัน ความคิดไม่ใช่ใจ มาทำให้ใจเราฟุ้งซ่านวุ่นวายทำงานหนักให้เหนื่อยเปล่า เฉยกับความคิด ช่างความคิดมันปล่อย-ละ-วาง-เฉยกับความคิดเหล่านี้มันไปเสีย..ให้จิตเราได้พักเสียบ้าง แล้วระลึกรวมจิตลงหมายเพียงให้มันได้พัก จิตมันก็สงบ เราจึงอนุมานแบบนี้ นิวรณ์มันไม่ใช่จิตแต่เป็นส่วนหนึ่งของจิต)

    เราเห็นเองอนุมานเองจากความจำในสภาวะธรรมนั้นโดยไม่เห็นจริงว่า..

    .. นิวรณ์ อาศัยเจตนาทำความความตรึกนึกถึงด้วยหมายรู้อารมณ์นั้นๆจากความจำได้หมายรู้ เป็นไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ตามที่ยินดี ยินร้ายนี้แหละ ให้เราเสพย์นิวรณ์
    .. เจตนา ทำให้เกิดการกระทำที่ใจจงใจต่ออารมณ์ ..ทำให้เกิดความตรึก ..ตรึกน้อมไปหมายรู้อารมณ์ในอาการความรู้สึกนั้นๆ
    .. ละเจตนา ก็ละกรรม ละเจตนาก็ละนิวรณ์ได้ คือ ละความตรึกหน่วงนึก น้อมนึกถึง ความจำได้หมายรู้ สำคัญมั่นหมายของใจด้วย สัญญา นิวรณ์ก็ดับนิวรณ์ได้ ก็ละกิเลส หยาบ กลางได้

    เราเห็นเองอนุมานเองจากความจำในสภาวะธรรมนั้นโดยไม่เห็นจริงว่า..
    .. เราคิดว่านิวรณ์มี 10 เป็นสังโยชน์ 10 ละนิวรณ์ได้ก็เท่ากับตัดสังโยชน์ได้

    อวิชชา เป็น สัญญาตัวรู้สมมติอุปาทานของจิต จิตยึดสัญญา รูปสัญญา โสตะสัญญา ฆานะสัญญา โผฐัพพะสัญญา ธัมมะสัญญา อาศัยผัสสะเกิดมีขึ้น อวิชชากาลก่อนจึงไม่มี แต่นี้ไปจึงมี




    มหาสติปัฏฐาน ๔ และ โพชฌงต์ ๗ ใช้ฆ่านิวรณ์ ๕

    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, อิริยาบถ, ฌาณ) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

    ..สติสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์

    ** ใช้ฆ่า หดหู่ เซื่องซึม ห่อเหี่ยว เบื่อหน่าย ง่วงนอน **



    2. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, อิริยาบถ,,ฌาณ) เเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

    ..สติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(สงบใจจากกิเลส) สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    ** ใช้ฆ่า ฟุ้งซ่าน ซ่านไปในอดีตบ้าน อนาคตบ้าง ตามที่ยินดีบ้าง ตามที่ยินร้ายบ้าง ลงในกามราคะบ้าง ลงในความคับแค้น ผูกโกรธพยาบาทบ้าง **



    3. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(กายคตาสติ, ธาตุ ๔, อสุภะ, นวสีวถิกาป่าช้า ๙, ฌาณ)เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

    ..สติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    ** ใช้ฆ่า กาม เหมือนฆ่าฟุ้งซ่านด้วยกามเกิดแต่ความดำริถึง ความหมายรู้อารมณ์สำคัญมั่นหมายของใจด้วยราคะ **



    4. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(อานาปานสติ, สัมปะชัญญะ, อิริยาบถ,,ฌาณ จาคะ ศีล เจตนาละเว้นด้วยเพรหมวิหาร ๔) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทำแค่รู้ความรู้สึก ตามรู้ว่าเกิดด้วยกาย หรือใจ อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส อาการ, สมมติ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อะไรเป็นเหต เป็นอาหาร อะไรเป็นปัจจัย อะไรทำให้ตั้งอยู่ อะไรดับเพราะอะไร, สมมติความคิดกิเลวของปลอม)

    ..สติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    ** ใช้ฆ่า พยาบาท เหมือนฆ่าฟุ้งซ่านด้วยปฏิฆะ ปฏิฆะเกิดแต่ความขัดข้องแวะไม่ยินดีไม่เจริญใจทั้งหลาย ความหมายรู้อารมณ์สำคัญมั่นหมายของใจ **



    5. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ปัญญาเห็นแจ้งในพระอริยะสัจ ๔

    .. สติสมาธิสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ วิราคะสัมโพชฌงค์

    **
    ใช้ฆ่า อวิชชา ความรู้แต่สมมติของปลอม เห็นแต่สมมติของปลอม ติดข้องหลงอยู่ ไม่รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ ไม่เป้นตัวตนสมมติ ไม่ตื่นจากสมมติ หลงมัวเมาหมกมุ่นลุ่มหลงสมมติสุขแค่เนื่องด้วยกายแค่ติดข้องเวียนว่ายไม่มีสิ้นสุด **




    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 01-15-2018 เมื่อ 11:49 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:
    อัคคิสูตร

    เจริญโพชฌงค์ตามกาล


    [๕๖๘] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
    ยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถาม
    อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่า
    ไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
    โพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ
    ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อม
    ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะ
    ยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
    ตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
    [๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่
    หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุก
    โพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะ
    สามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
    ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
    [๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมม-
    *วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน
    บุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า
    และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
    ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.
    [๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
    เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และ
    ไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
    ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.
    [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
    เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
    ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
    ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
    พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
    เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา
    สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรม
    เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 01-14-2018 เมื่อ 02:24 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  7. Admax said:
    ผ่องใส สงบ เบา เย็นใจ อาการที่แผ่
    - เนื่่องด้วยกาย (ขันธ์)
    - เนื่องด้วยใจ (ว่าง)
    - รวมไว้ภายใน (จิตจับที่จิต)
    - วางเฉยทำแค่รู้ (ทำแค่รู้ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ละเจตนา)


    1. แผ่เมตตาให้ตนรวมจิตเข้าไว้ภายในให้ตนไม่เร่าร้อน เย็นใจ เป็นที่สบาย จิตแจ่มใสเบิกบาน เป็นผู้ไม่โหยหา มีเวร พยายาทเครื่องร้อนใจเบีนดเบียน (ช่วยตนเองให้ไม่เร่าร้อน เพราะสงบรำงับกิเลสเครื่องเร่าร้อนในบาปอกุศลเสียได้)
    2. เมตตา ความสุขที่เนื่องด้วยกาย เนื่องด้วยขันธ์ (รูปนิมิต)
    3. กรุณา ความสุขที่เนื่องด้วยใจ ว่างพ้นจากกาย ดับกาย ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งที่เนื่องด้วยกาย (ว่างพ้น)
    3. มุทิตา ความสุขเพราะคงทุกอย่างไว้ในจิต ไม่ส่งออกนอก ไหลติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ จิตมีกำลัง ทำให้เป็นสุข (จิตจับที่จิต)
    4. อุเบกขา ความสุขจากการพ้นทุกข์หลุดพ้นกรรม เจตนาเป็นกรรม ละเจตนา ความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก(คิดเป็นอารมณืทั่วไป) ไม่ยึดเอาสิ่งไรๆทั้งปวง(มนสิการจกาอารมณ์ทั่วไป) ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้(มนสิการ ทำแค่รู้ในรูปฌาณและอรูปฌาณ) เป็นการละเจตนา ก็สุขเพราะล้วงพ้นกรรม(ความไม่มี ความสละคืน)
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  8. Admax said:


    บันทึกกรรมฐาน วันที่ 24/1/61 ธรรมที่ทำให้อิ่ม ฆ่าตัณหาที่ไม่รู้จักอิ่ม




    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ท่านกรุณาสอนเราว่า


    ..ละโลภได้ทาน ละโกรธได้ศีล ละหลงได้ปัญญา


    ..สุขทางโลกมันสุขที่เนื่องด้วยกาย อยู่ได้นานสุดแค่หมดลมหายใจเรานี้


    ..สุขทางธรรมมันเนื่องด้วยใจที่อิ่มพอ มันติดตามไปทุกภพชาติจนถึงนิพพาน







    โลภ มันอยากได้แสวงหาไม่รู้จักพอ ได้มาเท่าไหร่มั่นอิ่มไม่เป็น จะทำยังไงให้มันอิ่มเป็นนะ

    โทสะ มันร้อน มันเดือด เย็นไม่ได้ พอไม่เป็น จะทำยังไงให้มันอิ่มไม่ร้อน เย็นใจ ปล่อย ละ วาง พอเป็นนะ

    กาม มันตราตรึงยินดี ให้ใจใคร่ได้ลิ้มสัมผัส จนหมกมุ่น ร้อนรุ่ม ระส่ำ เสพย์เท่าไหร่ก็ไม่พอ อิ่มไม่เป็น จะทำยังไงให้มันอิ่ม มันพอเป็นนะ


    ..เมื่อเราวิตกแบบนี้ ทำไว้ในใจแบบนี้ ลองน้อมดูธรรมที่เกิดขึ้น หวนระลึก และนั่งสมาธิด้วยทำมิจฉาให้เห็นความเป็นไปของมัน แล้วน้อมเอาคำสอนของหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ผู้เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเรา มาลงใจเจริญในใจขึ้น ทำให้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมัน ด้วยความเป็นปุถุชนที่รู้น้อยของเรา จึงเห้นทางแก้ให้อิ่มกิเลส พอไม่ต้องการ ไม่ไหลตามกิเลสอีกตามความเป้นปุถุชนของเราได้ ดังนี้..



    ก. โลภ ละโลภได้ทาน
    ความติดใจยินดี อยากได้ต้องการ เร่าร้อน ร้อมรุ่มเพื่อให้ได้มาครองอิ่มไม่เป็น หวงแหน มีใจเข้ายึดครองตัวตนในโลกทั้งปวง ไม่รู้ตัว ไม่รู้จริง ไม่รู้พอ ทะยานอยากต้องการ อยากมี อยากเป็น ภวะตัณหา / ทานทำให้อิ่มใจ
    ธรรมที่แก้ให้อิ่ม.. ใช้ทาน(การกระทำที่ให้) ภาวนาลงในโพชฌงค์+จาคะ เพื่อละ ให้อิ่มใจ อิ่มเต็มกำลังใจ ดังนี้

    ๑. ทำไว้ในใจถึงการที่เราเป็นผู้ให้สงเคราะห์คนอื่น
    ...(เราเป็นผู้สงเคราะห์โลก..หวังให้คนอื่นได้ประโยชน์สุขดีงาม..แล้วทำการให้)

    ๒. จิตจับที่จิต ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลกทั้งปวง
    ไม่ติดใจยึดเกี่ยวสิ่งไรๆในโลก จิตแผ่น้อมไปในการสละ

    ...(ทำความสงบใจ ไม่ซ่านไหลตามสิ่งทั้งปวง สงบนิ่งรวมจิตลงไว้ภายในจิตไม่ส่งออกนอก ไม่ติดใจหลงตามสมมติความคิดของกิเลสที่ใช้หลอกล่อจิตให้ไหวตามทำความสงบใจจากกิเลส สงบนิ่งน้อมใจไปในการสละ ละอุปาทานความเข้าไปยึดถือเห็นเป็นตัวตนต่อสิ่งนั้นๆ..ด้วยทำไว้ในใจถึงการสละไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆทั้งปวงในโลก เพราะมันอยู่ได้นานสุดแค่เพียงหมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น สุขทางโลกมันเนื่องด้วยกาย เป็นสัมผัสที่ไม่ยั่งยืน อิ่มไม่เป็น บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ความรู้จักอิ่ม รู้จักหยุด รู้จักพอนี้มันทำให้ใจเราสบายเป็นสุขที่เนื้องด้วยใจ มันอิ่มเต็มกำลังใจ พอ จะอิ่มได้ก็ต้องสละ ไม่เอาใจเข้ายึดครองสิ่งไรๆในโลก)



    ข. โทสะ ละโทสะได้ศีล
    ความข้องแวะ ขัดเคือง ติดข้อง ขัดข้อง ความเร่าร้อน ร้อมรุ่ม คับแค้น อัดปะทุ ระเบิด ขุ่นเคือง กลัว ระแวง ริษยา ยินร้าย ชิงชัง ผูกเกลียด ผูกโกรธ หมายรู้อารมร์ด้วยความเกลียดชังพยาบาทไม่รู้ตัว ทะยานอยากกระเสือกกระสนผลักไสหลีกหนี ไม่ต้องการพบ ไม่อยากเจอ ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น วิภวะตัณหา / ศีลทำให้ใจเป็นปรกติ มีความเย็นใจไม่เร่าร้อน
    ธรรมที่แก้ให้อิ่ม.. ใช้ศรัทธาอันประกอบด้วยศีล ภาวนาลงในโพชฌงค์+เมตตาตนเอง ลงเจโตวิมุติ ความเย็นใจ ผ่องใส เบิกบาน ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก แผ่ความสุขด้วยกาย สุขด้วยใจ จิตรวมไว้ภายใน ปล่อย ละ วาง ไม่ทำเจตนาให้ล่วงบาปอกุศล ดังนี้

    ๑. ทำไว้ในใจถึงความเสมอนด้วยตนสงเคราะห์ลงในศรัทธาอันประกอบด้วยศีล

    ...(ก. มีกรรม วิบากรรม เป็นแดนเกิด ติดตาม อาศัย ให้เข้าครองขันธ์ ๕ ด้วยกรรมเหมือนกับเรา มีรูปกานและจิตใจที่งามหรือทรามต่างๆกันไป ทำผิดที่ผิดทางขัดใจคน ทำดีไม่ได้ดี ทำคุณคนไม่ขึ้น (มามืด) หรือ วิบากชั่วทำให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ทำดีไม่ได้ มีใจกุศลเกื้อกูลผู้อื่นไม่ได้ ต้องเห็นแก่ตัว ตระหนี่ ริษยา หวาดกลัว ระแวง ทำกายและใจให้ร้อนรุ่มเะร้าร้อนติดข้องทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่ทุกๆขณะจิต ไม่มีปรกติที่เย็นกายสบายใจ ผ่องใส สงบสุข(ไปมืด))
    ...(ข. สิ่งมีชีวิตจิตใจเสมอกัน ย่อมมีความรู้สึก ความรัก โลภ โกรธ หลง เสมอด้วยกัน เรามีเขาก็มี เรามีอยากเขาก็มีอยาก เรามีรักเขาก็มีรัก เรามีโลภเขาก็มีโลภ เรามีโกรธมีชังเขาก็มีโกรธมีชัง เรามีหลงเขาก็มีหลง เมื่อเราและเขาต่างก็มีเสมอกันล้วนแต่เป็นไปด้วยกรรมการกระทำทางกาย วาจา ใจความรู้สึก นึกคิด ปรุงแต่งสมมติทั้งปวงล้วนมาจากความยึดหลงเสมอกัน เรามีความรู้ในธรรมอบรมจิตสูงกว่าเขาดีกว่าเขา เราควรสงเคราะห์เขา
    เราก็อย่าไปโกรธแค้น เกลียดชังเขา ให้เขารับกรรมชั่วเพิ่ม จะทำให้เขาเป็นคนดีไม่ได้ ถ้าดีได้จะเว้นจากความเบียดเบียนทั้งสิ้นนี้)

    ...(ค. สงเคราะห์เมตตาตนเอง โกรธ แค้น พยาบาท มันทำให้เราเร่าร้อน ร้อนรุ่ม เดือดดาน กายใจไม่เป็นปรกติ อยู่โดยความเย็นกายสบายใจไม่ได้ ไม่มีกายใจเป็นปรกติ จะอยู่ที่ใดก็สบายเย็นใจสงบเบาสบายไม่ได้ ก็เพราะเราผูกเวรโกรธเคือง ผูกพยาบาทมุ่งร้ายนี้แล
    ที่เราอยากฆ่าสัตว์ อยากได้ของผู้อื่น อยากครอบครองบุคคลอันเป็นีท่รักของผู้อื่น อยากพูดทำร้ายผู้อื่นหรือพูดเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยความมิชอบ ความเสพย์สิ่งที่ทำให้ระลึกยับยั้งฉุกคิดแยกแยะดีชั่วไม่ได้ ทั้งหมดล้วนเพราะเราใจร้าย คิดร้าย มุ่งร้าย ใจชั่ว ไม่สงสารตนเองและผู้อื่นใจชั่วไม่สนว่าผู้อื่นจะต้องเจ็บปวดทุกข์ยากคับแค่นทรมานแค่ไหน มีแต่ใจเร่าร้อนที่จะทำชั่วนั้นก็เพราะด้วยโทสะนี้แล
    เราละโทสะได้ เราก็เย็นใจสบายไม่เร่าร้อน เมตตาตนเองสงเคราะห์ตนเอง ให้ตนมีปรกติที่ไม่เร่าร้อยเย็นใจ ไม่มีเวรภัย ผูกโกรธใคร ไม่มีพยาบาทผูกแค้นใครในกายใจตน)
    ...(ง. ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนเอง ไปผูกขึ้นไว้กับใคร หรือสิ่งอื่นใดในโลก ก็เมื่อเราได้พิจารณาตามในข้อ ก., ข., ค. ข้างต้นนี้แล้วจะเห็นได้ทันทีว่า ความสุขสำเร็จของเรานี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นใดเลย มันอยู่ที่กายใจเรานี้เท่านั้น เมื่อเราไม่เอาใจเข้ายึดครองตัวตนสิ่งใดภายนอกว่าเป็นความสุขสำเร็จตน ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใดๆในโลก จึงไม่มีใจยึดครองสัมผัสที่รักที่ชังต่อสิ่งไรๆในโลก ดังนี้แล้วใจที่หมองไหม้สุมด้วยไฟโทสะเราไม่มี จิตใจอันชั่วร้าย ที่คิดชั่ว มุ่งร้ายทำลายหมายปองครอบครองฉุดพรากเอาชีวิต สิ่งของ บุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นก็ไม่มี เราจะอยู่ที่ใดพบเจออะไรก็เย็นใจไม่ร้อนรุ่ม เมื่อเราเอาความสุขสำเร็จของตนเองไปผูกขึ้นไปกับสิ่งทั้งปวงในโลก ความไม่สมปารถนา ประสบสิ่งอันไม่เป้นที่รักที่เจริญใจ
    กล่าวคือ..ด้วยเราเอาใจหมายปองเข้ายึดความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจว่า..เราต้องได้รับสัมผัสได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสกาย ได้สัมผัสใจแบบนี้ๆ ตามที่ใจตนยินดีก็เรียกว่าสุข หากเราพบเจอการกระทำกระทบสัมผัสใดๆที่ไม่ใช่แบบที่ตนสำคัญมั่นหมายไว้ในใจไว้ว่าเป็นสุขมันก็ทุกข์ ทั้งๆที่ทุกอย่างมีความเป็นไปของมันตามกรรม จะมี จะได้ จะลำบาก จะดับสูญ จะเป็นไปก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ให้เราต้องพบเจอเท่านั้น เพราะเอาใจเข้ายึดครองสิ่งที่รัก จึงมีสิ่งที่ชัง
    เพราะใจมุ่งร้ายหมายปองจึงเร่าร้อนประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจทั้งสิ้นนี้ ดังนี้พึงละทิ้งเสียซึ่งการเอาความสุขสำเร็จของตนเองไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เพราะมันหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ถอนใจออกเสียว่านั้นไม่ใช่สุขแต่จริงของเรา สุขแท้จริงนี้ก็เหมือนความรู้สึกทรี่เราเมตตาตนเองจนตนเองไม่เร่าร้อนหมกไหม้จากไฟโทสะ ความสุขสำเร็จทั้งปวงอยู่ที่เราไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้นนี้นั่นเอง สุขอยู่ที่ใจไม่ใช่สัมผัสภายนอก การสงบสำรวมระวังอินทรีย์มีศีลสังวรณ์ด้วยถอนใจออกจากสมมติ ความคิดร้าย มุ่งร้ายหมายปองก้าวล่วงเบียดเบียนใครเราย่อมเย็นใจเป็นสุขเพราะปราศจากไฟแห่งโทสะ
    ดังนั้นสงบใจรวมทุกอย่างไว้ในภายในใจ ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆเห็นเพียงธรรมชาติของโลก ธรรมชาติที่เนื่องด้วยกรรม ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกนึกคิดเป็นใหญ่ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครหรือสิ่งอื่นใดในโลก มีใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เข้าใจกัน เห็นความเสมอด้วยตนดังนี้ จึงประกอบด้วยสุข)

    ๒. จิตจับที่จิต ไม่เอาใจข้องแวะ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งทั้งปวงในโลก จิตแผ่น้อมเอาความเย็นใจเป็นที่สบายไม่ทีใจข้องแวะสิ่งไรๆน้อมไปในการสละ
    ...(ทำความสงบใจ ไม่ซ่านไหลตามสิ่งทั้งปวง สงบนิ่งรวมจิตลงไว้ภายในจิตไม่ส่งออกนอก ไมติดใจข้องแวะสมมติความคิดของกิเลสที่ใช้หลอกล่อจิตให้ไหวตามทำความสงบใจจากกิเลส ทำไว้ในใจถึงความไม่ติดใจข้องแวะความรู้สัมผัส ความคิด ความรู้สึกไรๆ สงบนิ่ง ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใคร สิ่งอื่นใด หรือ
    สัมผัสไรๆในโลก น้อมใจไปในตวามเมตตาสงเคราะห์ตังเราเองให้ไม่เร่าร้อน มีใจเป็นปรกติ เว้นจากความผูกโกรธ แค้น พยาบาท เบียดเบียน เพื่อให้ตนถึงความปรกติเย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ แจ่มใสเบิกบาน ไม่ขุ่นร้อน ข้องเดือนเผาไหม้กายใจตน เมื่อความไฟโทสะดับจิตจะเย็นสบายปราโมทย์อิ่มใจเป้นสุขขึ้นมาทั้นที เมื่อรู้ดังนี้แม้เขายังทำสิ่งที่เบียดเบียนทำร้ายผู้อืนอยู่สัตว์ย่อมไม่เป็นปรกติมีความเร่าร้อนอยู่ทุกขณะ ไม่เย็นกายสบายใจ เมื่อดับไฟคือโทสะนี้ได้จิตจึงจะเป็นที่สบาย เหมือนที่เกิดขึ้นแก่เรา รวมจิตไว้ภายในจิตมีกำลัง มีอาการที่แผ่ น้อมเอาความเย็นกายสบายใจ เบาใจเป็นปรกติสุขของเรานี้แผ่ไปให้สัตว์ได้รับ ให้เขาเป็นปรกติ ถึงความเย็นกายสบายใจไม่เร่าร้อน ไม่เบียดเบียนกันเพราะความปรกติด้วยศีลอันประกอบด้วยความเกื้อกูลสละ สงเคราะห์ ไมซ่านไหวสูญเสีย ไม่ทำเจตนาที่ล่วงอกุศลให้เป็นบาปกรรม รู้ ปรกติ วาง)




    - โมหะ ละความลุ่มหลงได้ปัญญา ด้วยรู้ของจริงต่างหากจากสมมติของปลอม

    ค. กาม ละกามได้ความสุขที่เนื่องด้วยใจไม่อิงอามิส

    เพราะรู้แต่สมมติไม่รู้จริง จึงติดตรึงหมายใจในสัมผัสที่รู้สึกหมายรู้อารมณ์ ละกามจิตก็ผ่องใส ไม่หลงสมมติ กาม คือ ความรู้สึกที่มันตราตรึงยินดี หน่วงตรึงจิตให้ไหลตามอารมณ์
    - มีอาการที่เกาะติดแนบชิดไหลตามอารมณ์ที่รู้สัมผัสอยู่นั้น เหมือนใจไหลไปตามสิ่งที่จิตรู้
    - มีอาการที่ใจกระเพื่อมถูกดูดเกาะติดแนบชิดไหลตามอารมณ์ที่รู้สัมผัสอยู่นั้น เหมือนใจไหลไปตามสิ่งที่จิตรู้ ใจถูกดูดให้ไหลตามด้วยอารมณ์นั้น เพราะใจไม่มีกำลังอยู่ด้วยตนเองไม่ได้ ไม่หนักแน่น ไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่มีหลัก ปลิวไหวไปตามแรงดูดนั้นไปเรื่อย แต่กลับยินดีในแรงดูดที่ทำให้ใจลอยไหวไปนั้น
    - ทำให้ติดตึงหมกมุ่น โหยหาย เร่าๆร้อนๆ ร้อนรุ่มที่จะได้เสพย์เสวยรสอารมณ์นั้นๆ ยิ่งเสพย์ยิ่งติดตรึงเสพย์เท่าไหร่ก็ไม่พอ อิ่มไม่เป็นจิตสำคัญมั่นหมายยกเอาสิ่งที่โหยหานั้นมายึดกอดไม่ห่าง..ให้ตราตึงตรึกถึงอยู่ตลอด กามตัณหา / กามเกิดแต่ควมดำริถึง ตรึกถึงด้วยหมายรู้อารมณ์ในกาม นันทิ ราคะ เมถุน ทำปัจจุบันสัญญาล้างสัญญาความรู้อารมณ์ด้วยกาม
    - อุปมาดั่งแม่เหล็กเคลื่อนรอยๆ ลูกตุ้มที่เบาก็ถูกดูดกวัดแกว่งลอยตามไปติดแที่แม่เหล็กนั้น ถึงแม้แม่เหล็กจะอยู่ห่างไม่ชิดติดลูกตุ้ม ลูกตุ้มที่เบาไม่มีน้ำหนั่งมั่นคงพอย่อมลอยเคลื่อนไหวไปตามแม่เหล็ก ไม่ว่าแม่เหล็กจะเคลื่อนไปไหน ทิศทางใด ลูกตุ้มที่ควรจะหนักแน่นนิ่งอยู่ ก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพล่านแล่นตามแม่เหล็กนั้นทุกครั้งไป ก็เมื่อลูกตุ้มนั้นหนักแน่นมีน้ำหักมั่นคงหนักหน่วง แม่เหล็กนั้นก็ไม่สามารถจะดูดเหล็กนั้นให้เคลื่อนตามได้
    - อุปมานี้ฉันใด แม่เหล็กก็เป็นเหมือนตัวสมมติที่มากระทบให้จิตรู้ สภาวะการกระทบที่ทำให้ใจกระเพื่อมรู้สัมผัสของสมมตินี้ก็เป็นเหมือนผัสสะ แรงดึงดูดที่ดูดใจให้กระเพื่อมไหวตามก็เป็นเหมือนกาม ลูกตุ้มเหล็กก็เป็นเหมือนใจเราฉันนั้น
    - เมื่อแม่เหล็กเคลื่อนมาใกล้ลูกตุ้มก็เกิดการกระทบสัมผัสกระเพื่อมที่ลูกตุ้ม การกระทบสัมผัสนั้นเป็นสัมผัสทางอายตนะ ที่กิเลสวางไว้หลอกใจ ให้ใจกระเพื่อมตาม ด้วยแรงดึงดูดจากอารมณ์สมมติซึ่งแรงดึงดูดนั้นคือกามนั้นเอง กามดูดจิตให้ไหวตราตรึง ติดตรึงไหลตามแนบชิดแม่เหล็กฉันนั้น หากลูกตุ้มหนักแน่นมั่นคงมีน้ำหนักมาก ก็ย่อมไม่เพีนงแค่รู้ว่ามีแรงดูดแต่ไม่เอนไหวตามแรงดูดนั้น เพราะแรงนั้นจะไม่พอดึงดูดหากลูกตั้มนั้นมีน้ำหนักมากพอ

    ธรรมที่แก้ให้อิ่ม.. ทำปัจจุบันให้แจ้งล้างสัญญาที่ตราตรึงรู้อารมณ์ด้วยกาม นันทิ ราคะ เมถุน ละสมมติความคิดความดำริถึงกาม นันทิ ราคะ เมถุน ความจำได้หมายรู้สำคัญมั่นหมายของใจ รู้อารมณ์ไรๆด้วยกาม ใช้สัญญา ๑๐ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานละความคิดรูป เวทนาละโผฐัพพะ จิตละความหน่วงนึกตราตรึงยินดี ธรรมตัดอาหารที่หล่อเลี้ยงอวิชาให้ตายเพื่อถอนราก ใช้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีสติสัมโพชฌงค์ สัมปะชัญญะทั่วพร้อม

    อิ่มกาม ต้องอิ่มสุขทางกาย เห็นจริงด้วยใจ
    ทำสุขทางใจโดยการอบรมจิต ให้ถึงสุขที่เนื่องด้วยใจ ดื่มสุขจากใจปล่อยวางไม่ติดใจข้องแวะสัมผัสที่เนื่องด้วยกายอันเป็นสุขของโลก ถึงวิราคะความอิ่มในสิ่งที่เป็นโลก คือ สุขโลกุตระ โดยอาศัยเห็นจริงใน สุขทางกายไม่เที่ยง สัมผัสไม่ยั่งยืนนาน สัมผัสไม่ใช่ตัวตนเจริญแจ้งอนัตตาด้วยอสุภะสัญญาม้างกาย ธาตุ๖ เห็นอนัตตา อิ่มสัมผัสกายและใจ สุขที่ไม่อิงอามิส คือ สุขที่ไม่อาศัยสัมผัส เครื่องล่อใจ วิราคะ

    ๑. อุบายกล่อมจิต ลงความไม่เอาใจเข้ายึดครองรูป น้อมใจลงกัมมัฏฐาน
    ความคิดเหล่าใดที่ออกจากทุกข์โดยความมีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ถือว่าเป็นความชอบธรรม ความคิดเหล่าใดทั้งปวง ซึ่งไม่ใช่การเห็นจริงรู้จริงสัมผัสแท้จริงๆ รู้เห็นโดยสมมติความคิด หรือคิดน้อมใจไป ทั้งหมดล้วนชื่อว่า การกล่อมจิตตนทั้งหมด ไม่ว่าจะคิดหรือกล่อมจิตตนเองว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ โดยที่ไม่ได้เห็นของจริง ม้างกายไม่ได้ ไม่เห็นเป็นธาตุจริงๆ บอกตนให้สงบ บอกตนให้รวมจิต กำหนดเข้าฌาณอาอามิสนั่นโน่นนี่ ถือว่าเป็นการคิดกล่อมจิตตน สะกดจิตตนให้รับรู้และเห้นอย่างนั้นทั้งสิ้น ไม่ใช่ของจริง กล่อมผิดทางก็โดนกิเลสหลอกยึดอุปาทานเอาได้ตราบที่ยังไม่รู้เห็นของจริง แต่สามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติให้เข้าถึงจุดเริ่มต้นในการเจริญปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ จนถึง มรรค ๘ ได้ เรียกว่าความคิดชอบ
    ...(เราเกิดได้รับรู้สัมผัสเห็น รูป เสียง กลิน รส สัมผัสกาย สัมผัส ผู้อื่น แล้วเกิดความตราตรึงยินดี ความหมายปอง กระสันอยาก ใคร่เสพย์เมถุน ความรู้สึกหหยั่งลงอวัยวะเพศ พึงสำเนียกเพื่อรวมรวมใจไว้ว่า เขาไม่ใช่ของเรา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ก็หากเป็นของเราแล้วเราก็สามารถที่จะจับต้องสัมผัสเสพย์สุขสำราญกับเขาได้ดั่งใจ หรือสิ่งของเหล่าใดนั้นเป็นของเราเราก็ต้องบังคับให้มันอยู่กับเรา มาเป็นของเรา ติดตามเราไปดั่งใจต้องการได้ ..แต่เพราะบุคลลเหล่านั้นสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ของเรา..เราจึงไม่อาจไปเข้ายึดครอง บังคับ สัมผัสเขาหรือสิ่งเหล่าใดได้ดั่งปารถนา ทำได้แต่สมมติความคิดเท่านั้น เสพย์ความรู้สึกกับสมมติความคิดตนเองที่ไม่ใช่ของจริง นี่เราโง่เสพย์สมมติเสพย์ทุกข์กับความคิดตนแล้ว เขาอยู่ในภายนอกเป็นลูก เมีย สามีใครก็ไม่รู้ซึ่งไม่ได้อยู่ในครอบครองของเรา แม้จะกระสันจนสิ้นใจตายตรงนี้ก็ไม่อาจจับต้องสัมผัสเขาได้ เพราะเขาไม่ใช่ของเรา เอาใจเข้ายึดครองเขาไว้ย่อมหาความสุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ดังนี้จึงควรวางใจนั้นลงไปเสียไม่เอาใจเข้ายึดครองหมายปองในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา แค่คิดก็ผิดศีลธรรมแล้ว หากมีคนอื่นมามองลูก เมีย สามี บุคคลอันเป็นที่รักของเราแบบนี้ เราก็คงไม่ยินดีแน่นอน ทำใจเกื้อกูลกันว่าเราใจเราประกอบด้วยศีลดีแล้ว ทำใจตั้งมั่นจักไม่เอากายใจตนไปเกี่ยวข้องติดพันหมายครอบครองบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่น
    - ให้ระลึกถึงสมัยตอนเป็นเด็ก..สมัยนั้นไม่ว่าเราจะรู้เห็นสัมผัสในสิ่งใด เราก็ไม่เคยสำคัญใจหมายรู้อารมณ์ลงในกาม ราคะ เมถุนเลย ..เพราะเรารับรู้อยู่เพียงปัจจุบันไม่คิดสืบต่อนั่นเอง
    - สมัยนี้ที่เรารับรู้อะไรก็ลงในกาม ราคะ เมถุน..เพราะเรารู้เห็นโดยความตรึกนึกหมายรู้อารมณ์ด้วยกาม ราคะ เมถุน สืบต่อไปเรื่อยเกินกว่าที่รู้เห้นสัมผัสในปัจจุบัน จึงทำให้เรามีความเร่าร้อนกระหาย โหยหา อิ่มไม่เป็น ไม่รู้จักพอ กระสัน งุ่นง่าน หมกมุ่นใคร่เสพย์ พล่าน ร่าน แสวงหาไม่สิ้นสุด กามเกิดแต่ความดำริถึงดังนี้..เมื่อรู้แล้วเราก็ทำความรู้เพียงปัจจุบันเสียจงได้ ไม่ตรึกนึกสืบต่อเกินสิ่งที่เห็นในปัจจุบัน หรือธรรมชาติของโลกของสิ่งมีชีวิต เหมือนสมัยที่เราเป็นเด็ก เราก็จะไม่รุ่มร้อนระส่ำกายใจอีก)
    - ตราตรึงยินดี ติดใจภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ภายนอก ให้รู้ว่า เพราะเราสำคัญมั่นหมายใจของเราไว้ว่าชอบแบบนี้ แบบนี้ทำให้ทีความสุขเมื่อเสพย์ ตั้งความพอใจยินดี ไว้กับใจ ทำให้เมื่อเราได้สัมผัสสิ่งใดๆที่สำคัญใจไว้ว่าใคร่ยินดี ก็จะหมายรู้อารมณ์ด้วยความตราตรึงใคร่เสพย์ทันที นี่ติดสัมผัสที่รักที่ชังที่สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ สัมผัสภายนอกที่เห็นมันสมมติทั้งสิ้น เพราะติดสมมติของปลอมอันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบนี้ที่กิเลสสร้างสมมติความรู้สึกมาไว้หลออกให้จิตหลงทางอายตนะนี้แลจึงหลงสมมติ เพราะหลงตราตรึงยินดีในสมมติของปลอมสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ จึงหมายรู้อารมณ์นั้นด้วยกาม ติดตรึงใจลงเมถุนทั้งสิ้นนี้ จึงจำเป็นต้องเห็นของจริงในรูปภายนอกว่าเป็นของไม่งาม ม้างกายออกไปก็เสมอด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยอาการ ด้วยธาตุ
    ..สัมผัสที่ชอบที่ใคร่นั้น มันไม่คงอยู่ได้นานไม่ยั่งยืน เสพย์แล้วก็อิ่มไม่เป็นก็แสวงหาอีก ติดสุขที่เนื่องด้วยกาย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย มันไม่ยั่งยืนอยู่ได้นาน อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้ ความสุขที่ได้เสพย์ได้ครอบบครองสมใจนั้นมันแค่วูบวาบๆประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็หมดไป ไม่ตราตรึงกับเราตลอดเวลา
    ..เมื่อหวนระลึกถึงสัมผัสที่ตราตึงยินดีนั้น ก็ทำให้เราร้อนรุ่ม ใคร่เสพย์ กระสันอยากด้วยไฟแห่งราคะอันแรงกล้ากระวนกระวายอยู่ไม่เป็นสุข อยู่แบบเย็นกายยสบายใจไม่ได้ นี่ทุกข์ว่ากาม นันทิ ราคะ ติดความรู้สึกสัมผัสนั้นๆไม่ว่าจะเคยหรือไม่เคยก็กระสันอยาก ตกลงใจแสวงหาให้ได้มาเสพย์ พอไม่ได้ก็ทุกข์
    ..สุขด้วยกามนันทิ ราคะ มันเป็นสุขที่อิงอามิสอันเกิดแต่สัมผัส ละกามก็ต้องทิ้งสุขที่เนื่องด้วยกาย ถึงสุขอันเนื่องด้วยใจที่ไม่อิงอามิส ไม่เกิดแต่สัมผัสนิวรณ์เหล่าใด นิวรณ์สิ้นไป ดั่งในสัมมาสมาธิ ที่จิตไม่ไหวเอนตามความรู้สึกที่มากระทบ ทำแค่รู้เฉยไม่ไหลซ่านพรุ่งพร่านไปตามสัมผัส ปล่อย ละ วาง ไม่มี ทำแค่รู้จิตสงบนิ่งไม่หวั่นไหว สุขจากการไม่อิงอามิสมันสุขแบบนี้ จนเห็นของจริงในสิ่งที่ตราตรึงใจยินดีนั้น ม้างกายแยกออกเอามากองๆไว้ หากม้างกายไม่ได้ให้นึกถึงเหมือนเขาฆ่าวัว หั่นชำแหระร่างวัวออกเป็นส่วนๆกองๆไว้ เสปะสปะดูไม่น่ามองน่าพิศมัยในกายเราหรือบุคคลที่เราตราตรึงยินดีนี้แลก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน จนถึงความไม่มีตัวตนบุคคลใด สิ่งใด ไม่มีเขาอาการทั้ง ๓๒ ประการนั้น อาการทั้ง ๓๒ ประะการนั้นไม่ใช่เขาหรือใคร จนที่สุดสุขจากความว่าง ความไม่มี ความสละคืน เราจะไม่โหยหาสิ่้งที่ไม่มี ไม่ใช่ตัวตนอีก สิ้นสังโยชน์ ตัดนิวรณ์
    - ตราตรึงยินดี ติดใจภายใน คือ ความรู้สึกที่สัมผัส "โผฐฐัพพารมณ์" ให้รู้ว่าสัมผัสกาย ประสาทที่รับรู้สัมผัสที่สะเทือนส่งมาให้จิตรู้สึก แท้จริงมันแค่อาการความรู้สึกจากประสาทสัมผัสส่งมาให้จิตรู้ ของแท้มันแค่ความรู้สึกที่ไม่มีอะไรเลยแค่ความรู้สึกออาการของจิตหนึ่งๆที่มีอยู่นับล้านๆแบบเท่านั้น แต่จิตที่รู้นี้มันไปรู้สมมติว่าความรู้สึกที่ซาบซ่าน เสียว กระตุ้นที่ได้สัมผัสจากส่วนนั้นๆ ติดตรึงใจให้งุ่นง่านใคร่เสพย์หมกมุ่นที่จะเสพย์ซึ่งสัมผัสนั้นๆอีก ลองมองเข้าไปในกายเรานี้ม้างกายเรานี้แหละออก ลอกมันออกจะเห็นว่ามันแค่ประสาทสัมผัสให้รู้สึก ซึ่งเราสำคัญมั่นหมายว่ารักว่าชอบต่อความรู้สึกแบบนี้ ทั้งๆที่ของจริงแล้วแค่ความรู้สึกที่ใจรู้จากประสาทสัมผัสเท่านั้นเอง หากม้างกายไม่ได้ให้นึกถึงอุปมาเอาว่าเราดีดสายพิณที่ขึงไว้แล้วเราดีด มันจะสั่นสะเทือน สีัมผัสเหล่าใดให้ใจรู้มันก็แค่ประสาทสัมผัสเส้นประสาททั้งหลายมันสั่นสะเทือนส่งมาให้จิตรู้เท่านั้น นี่ติดแค่สัมผัสที่สะเทือนให้ใจรู้แค่นั้น จริงแท้ไม่มีอะไรเลยถ้าม้างกายเรานี้ออกก็จะไม่เห็นว่ามีอะไรที่ควรจะยึดมาเป็นความรู้สึกว่าสุข สุขที่เนื่องด้วยกายนั้นมันไม่ยั่งยืนคงอยู่ได้นานมันอิงอามิสเครื่องล่อใจให้เราตราตึงติดใคร่โดยสัมผัสเท่านั้น ถ้าไม่ได้รับสัมผัสแบบนั้นเราก็จะไม่ได้รับสุขนั้นได้เลย นี่คือสุขทางกาย ความรู้สึกทางกายหมดไปเหลือแต่ความว่างอันบริสุทธิ์ที่สว่างไสว เย็นใจ ความสุขที่ปราศจากกาย ไม่ยังกายอยู่อีกนี้เป็นสุขจิตไม่ต้องพล่านไปไปตามสัมผัสที่มากระทบกายให้พล่านอ่อนแอไม่หยุด สุขจากความปราศจากสัมผัสเครื่องล่อใจนี้เป็นสุข ไม่ติดสัมผัสสั่นสะเทือนอันเนื่องด้วยกายเพราะหยั่งลงทุกข์อยู่ทุกขณะ จากความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน การกระทบสัมผัสที่ไม่ยั่งยืจนนาน

    ๒. ทำไว้ในใจถึงสัญญา ๑๐
    ...(เห็นความไม่เที่ยงในกาย สัมผัสอันไม่ใช่ตัวตน เข้ายึดครองไม่ได้ ถอนใจออกจากกายไม่เอาใจเข้ายึดครองเห็นความไม่งาม เป็นที่ประชุมโรค มีอาการทั้ง ๓๒ ประการ เสมอด้วยตน เพียรประครองใจไว้ไม่ไหวตามสมมติกิเลส ระอา หน่าย ทำปฏิฆะไม่ยินดีต่ออารมณ์ที่ตราตรึงในรูปที่เจริญใจเพราะมันทำให้ใจเร่าร้อน ร้อนรุ่ม หมกมุ่น กระสันเสพย์ ใจระส่ำ ไม่เป็นปรกติเย็นใจ ละความหายรู้อารมณ์ด้วยกาม รู้ลมในปัจจุบัน)

    ๓. สงบนิ่งจิตจับที่จิต จิตทำแค่รู้ ปรกติ วาง ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่ติดใจข้องแวะ ทำปัจจุบันให้แจ้ง รวมจิตลงม้างกายเห็นอนัตตา ละเจตนาต่อรูปสัญญา(ไม่หมายรู้อารมณ์ด้วยกาม)

    ...(จิตจับที่จิต จิตทำแค่รู้ ปรกติ วาง ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ไม่ติดใจข้องแวะ ทำความสงบใจ ละสมมติความคิด มีสติเฉพาะหน้าหายใจเข้าไม่ทำความตรึกหมายรู้อารมณ์ไรๆด้วยกาม นันทิ ราคะ เมถุน มีสติเฉพาะหน้าหายใจออกทำจิตให้รู้ปัจจุบัน คือ รู้ลมหายใจที่กำลังเข้าและออก รู้อริยาบถ รู้กิจการงานที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นๆ ม้างกายอาการทั้ง ๓๒ ออกมาทีละอาการ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง จนเห็นอนัตตา ไม่มีตัวตนบุคคลใดในนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตนบุคคลใด สิ่งนั้นไม่ใช่เราหรือใคร ไม่ใช่ของเราหรือใคร ไม่ใช่ตัวตนของเราหรือใคร กองธาตุ ๔ ที่เกาะกุมรวมกันเกิดขึ้นเป็นรูปร่าง ของไม่งามเน่าเปื่อยที่มีความเสื่อมสูญสลายไปเป็นที่สุด สงเคราะห์ลงธาตุ ๖ โดยม้างออกเห็นอาการทั้ง ๓๒ ประการ ที่มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ เมื่อลอกออกมาจะเห็นว่าไม่มีเขาในนั้น ในนั้นไม่มีเขา ในนั้นไม่ใช่เขา เขาไม่ใช่สิ่งนัน สิ่งนั้นไม่ใช่เขา สิ่งนั้นไม่มีในเขา สักแต่เป็นเพียงกองธาตุที่เกาะกุมกันขึ้น อาศัยใจเราเข้ายึดครอง ทำให้มีชีวิตมีความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สุขที่เนื่องด้วยกายไม่ยั่งยืนด้วความเกิด แก่ เจ็บ ป่วย ประชุมโรค ตาย เป็นทุกข์ เมื่อตายกายก็เป็นอนัตตาต่อเรา และเราเป็นอนัตตาต่อกายไม่มีตัวตนในกายนั้นอีก สัมผัสแห่งสุขนั้นไม่มีอีก สุขที่เนื่องด้วยใจ จิต อุเบกขา ละเจตนา วาง)




    ทาน ใช้อิ่มโลภ
    ศีล ใช้อิ่มโกรธ
    สุขที่เนื่องด้วยใจไม่อิงอามิส เห็นของจริง ใช้อิ่มกาม





    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 02-05-2018 เมื่อ 11:20 PM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  9. Admax said:
    บันทึกกรรมฐาน วันที่ 26/1/61 เรื่องกามที่วิตกในใจ หลวงปู่ได้เทศนาไขข้อข้องใจให้หมด


    กาม เราเห็นตรงเหมือนที่หลวงปู่แสดงธรรมไขข้อข้องใจให้ว่าเราทำถูกไหมหรือผิดไหม


    ทานที่สละ ศีลที่สำรวม อบรมจิตให้เห็นจริง ถึงจริง ได้จริง เราไม่ทำไปรู้ไปจำมา พลิกแพลงพูดยังไง สิ่งนั้นจะได้มาก หรือน้อย เขาก็ได้ มันก็เป็นของเขา ไม่ใช่เราได้ หากเราลงมือทำเอง สิ่งได้มานั้นจะมากหรือน้อย เราก็ได้ มันก็เป็นของเรา ไม่ใช่คนอื่นได้
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  10. Admax said:


    จิตตานุปัสสนา
    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2519 ความยาว 35.11 นาที
    สถานที่ : ศาลาโรงครัว
    https://www.luangta.com/thamma/thamm...D=1781&CatID=1

    เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด

    เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙

    จิตตานุปัสสนา


    “จิต” “ธรรม”
    จิตที่หิวธรรมและอิ่มธรรม ผิดกับความหิวและอิ่มในสิ่งทั้งหลาย
    คำว่า “หิวธรรม” นี่เรามาแยกออกพูด จิตมีความรักใคร่ชอบใจพอใจในธรรม อ่านธรรมฟังธรรมปฏิบัติธรรมไม่เบื่อหน่ายจืดจาง จิตมีความดูดดื่มอยู่กับธรรมมากน้อยเพียงไร ย่อมมีความสุขมากน้อยเพียงนั้น ไม่เหมือนความดูดดื่มกับสิ่งอื่นๆ มี รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ซึ่งมีเคลือบแฝงกันไป และอย่างหลังนี้มีทุกข์สอดแทรกสับปนไปด้วยเสมอ
    ความ “อิ่มธรรม” ตั้งแต่เริ่มแรกปฏิบัติบำเพ็ญ ท่านเรียกว่า “ปีติ” คือความอิ่มใจ ปีตินี้จะมีไปเรื่อยๆ ตามขั้นแห่งธรรม ถ้าทำจิตใจให้ละเอียด ปีติก็ละเอียด จิตใจหยาบคือยังหยาบอยู่ ปีติแสดงขึ้นก็หยาบ บางรายและบางครั้งท่านก็เรียก “อุเพงคาปีติ” คือเกิดปีติอย่างผาดโผนก็มี อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยเป็นรายๆ ไป ไม่ใช่จะปรุงแต่งให้เป็นดังนั้นได้
    การแนะนำสั่งสอนบรรดาท่านผู้มาอบรมศึกษาไม่ว่าพระไม่ว่าฆราวาส มีความมุ่งหวังอย่างเต็มใจ อยากให้ได้อยากให้เห็น อยากให้รู้ในธรรมทั้งหลาย เพราะความรู้ความเห็นความได้ธรรม ผิดกับความรู้ความเห็นความได้สิ่งอื่นใดในโลก ฉะนั้นเวลาครูบาอาจารย์ท่านแสดงธรรม ยิ่งแสดงธรรมขั้นสูงเท่าไร ลักษณะสุ้มเสียงและเนื้อธรรมจะมีความเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับๆ จนถึงกับอาจคิดได้ว่าท่านอาจมีโทสะ หรือมีอะไรในทำนองนั้น ขณะได้ยินสุ้มเสียงและเนื้อธรรมเข้มข้นมากๆ ความจริงแล้วเพราะความอยากให้รู้อยากให้เห็นเป็นพลังอันหนึ่งเหมือนกัน ที่ให้แสดงออกมาด้วยความเข้มข้นนั้น ท่านแสดงออกมาจากจิตใจที่มีความมุ่งมั่น มีความหวังต่อบรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลาย และถอดออกมาจากความจริงที่ได้รู้ได้เห็นอยู่แล้วประจักษ์ใจ ไม่ต้องไปคว้าเอามาจากที่ใด ไม่ว่าฝ่ายเหตุและฝ่ายผล เป็นสิ่งที่สมบูรณ์อยู่กับใจที่ได้รู้ได้เห็นจากการบำเพ็ญมาแล้วทั้งนั้น
    การรู้การเห็นซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติจากหลักธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เปิดเผยอยู่กับใจตลอดเวลา ไม่มีความปิดบังลี้ลับแม้แต่วินาทีหนึ่ง เป็นสิ่งเปิดเผยอยู่ตามความจริงของตนทุกๆ สภาวธรรม ไม่ว่าภายในร่างกายและจิตใจ ตลอดจนกิจการภายนอก เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน และรู้ได้ตามหลักธรรมชาติของจิตที่ได้รับการอบรมมาจนพอตัวแล้ว
    แต่ความลุ่มหลง ที่จะไปติดอยู่ในสิ่งต่างๆ ของผู้ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาก่อน หรือเคยอบรมแต่ยังไม่สมบูรณ์ จึงมักหลงและติดได้ไม่เลือกกาลสถานที่ ที่ใจมีความคิดความปรุงได้ สำคัญมั่นหมายได้ รักได้ ชังได้ เกลียดได้ โกรธได้ ทุกกาลสถานที่และอิริยาบถต่างๆ เพราะสิ่งที่จิตไปคิดไปเกี่ยวข้อง ก็เป็นของที่มีอยู่ตามธรรมชาติของตน สิ่งที่คิดที่ปรุงขึ้นมาภายในจิตใจ ก็ปรุงออกจากสิ่งที่มีอยู่ ต่างอันต่างมีอยู่ด้วยกันจึงคิดได้ติดได้ด้วยกัน
    ท่านว่า “ธรรม” นั้นเปิดเผยอยู่ตลอดเวลา นอกจากสติปัญญาของเรายังไม่สามารถที่จะทราบความจริงนั้นได้ แม้สิ่งนั้นๆ จะเปิดเผยความจริงนั้นออกมาตลอดเวลานาที สิ่งเหล่านั้นเราจะพึงทราบได้ด้วยอำนาจของสติปัญญานี้เท่านั้น ฉะนั้นใจของปุถุชนเราจึงมักเป็นลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ อยู่เสมอ วันนี้ภาวนาเป็นอย่างนี้ แต่วันนั้นเป็นอย่างนั้นไม่สม่ำเสมอ บางวันไม่รู้เรื่องอะไรเลย บางวันใจมีความสว่างไสว บางวันมีความสงบเย็นใจ เพราะจิตขั้นนี้เป็นลุ่มๆ ดอนๆ ยังไม่สม่ำเสมอ เรียกว่า “ตั้งตัวยังไม่ได้” จึงต้องมีได้บ้างเสียบ้างเป็นธรรมดา
    อย่างไรก็ตามเราไม่ต้องเสียอกเสียใจกับการได้การเสียเหล่านี้ เพราะเป็นการเริ่มแรก จิตของเรายังตั้งตัวไม่ได้แน่นอน หรือยังเกาะธรรมไม่ได้ถนัด ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน แม้ครูอาจารย์ที่สั่งสอนพวกเราท่านก็เคยเป็นอย่างนั้นมาแล้ว ไม่ใช่ปุบปับก็จะตั้งเนื้อตั้งตัวได้ปัจจุบันทันที แล้วเป็นครูสอนโลกได้ดีเต็มภูมิจิตภูมิธรรมถ่ายเดียว ต้องผ่านความล้มลุกคลุกคลานมาด้วยกันแทบทั้งนั้น
    คิดดู พระพุทธเจ้าก็ทรงบำเพ็ญด้วยความลำบากอย่างยิ่งอยู่ถึง ๖ พรรษา ชนิดเอาจริงเอาจังเอาเป็นเอาตายเข้าว่า ที่เรียกว่า “ตกนรกทั้งเป็น” ด้วยความอุตส่าห์พยายามตะเกียกตะกายทุกด้านทุกทาง ซึ่งล้วนแต่เป็นความทุกข์เพราะความเพียรทั้งนั้นตลอดเวลา ๖ ปี จะไม่เรียกว่าลำบากลำบนได้อย่างไร ขนาดสลบไสลไปก็มี พวกเราก็เป็นลูกศิษย์ท่าน มีความหนาบางต่างกันตามจริตนิสัยหรืออุปนิสัยของแต่ละคน เช่นเดียวกับน้ำในพื้นดิน
    ในพื้นดินนี้น้ำมีอยู่ ขุดลงไปก็เจอ เป็นแต่ลึกตื้นต่างกัน บางแห่งขุดลงไปไม่กี่เมตรก็เจอน้ำ บางแห่งขุดลงไปเสียจนลึกแสนลึกถึงเจอน้ำก็มี เรื่องเจอน้ำนั้นต้องเจอเพราะแผ่นดินนี้เต็มไปด้วยน้ำทำไมจะไม่เจอ ถ้าขุดไม่หยุดก่อนที่จะถึงน้ำ !
    ความเพียรเพื่อเจออรรถเจอธรรมก็เช่นเดียวกัน ต้องเจอโดยไม่ต้องสงสัย เพราะธรรมมีอยู่ตลอดเวลา “อกาลิโก” เรื่องความจริงมีอยู่ เป็นแต่สติปัญญาของเราอาจรู้ได้เพียงเท่านั้น ซึ่งต่างกันเกี่ยวกับ “อุปนิสัย” การปฏิบัติจึงมียากมีง่าย มีช้ามีเร็ว ต่างกัน ดังที่ท่านสอนไว้ว่า
    “ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา” ทั้งปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า นี่ประเภทหนึ่ง
    “ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา” ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว นี่ประเภทหนึ่ง
    “สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา” ทั้งปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว นี่ประเภทหนึ่ง
    “สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา” ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า นี่ประเภทหนึ่ง
    นี่เป็นพื้นฐานแห่งอุปนิสัยของสัตว์โลกผู้จะควรบรรลุธรรมทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นไปตามธรรมสี่ประการนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นแต่เพียงไม่ทราบว่ารายใดจะเข้าในลักษณะใดแห่งการปฏิบัติและรู้ธรรมตามปฏิปทาสี่นี้ เราเองก็น่าจะอยู่ในข่ายแห่งปฏิปทาทั้ง ๔ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
    แต่จะเป็นประการใดก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของเราควรประพฤติปฏิบัติ ตะเกียกตะกายไปตามความสามารถและวาสนาของตน เพราะไม่ใช่ “อภัพบุคคล”ถ้าเราอยู่ประเภทที่ว่า “ตาน้ำอยู่ลึก”ก็ต้องขุดลงไปจนถึงน้ำ ถ้าอยู่ในประเภท “ตาน้ำตื้น” เราก็ขุดได้สะดวกและเจอน้ำเร็ว น่าน !
    เรื่องสัจธรรมนั้นน่ะมีอยู่ตื้นๆ รู้ได้เห็นได้ด้วยตาด้วยใจธรรมดาอย่างชัดเจน แต่ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถของสติปัญญา อาจมีกำลังยังไม่พอ ซึ่งกว่าจะพอให้ขุดค้นสัจธรรม คือความจริงนี้ขึ้นมาอย่างเปิดเผยและประจักษ์ภายในเวลาอันสมควร จึงต้องอาศัยความพยายาม แต่สำคัญที่ความพากเพียรพยายามเป็นเครื่องหนุน
    เราอย่าท้อถอย นี่เป็นทางของนักปราชญ์ เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ไปโดยลำดับ ไม่ใช่ทางอับเฉาเบาปัญญาหรือตกนรก เป็นทางที่จะพยุงเราให้มีความเจริญรุ่งเรืองโดยลำดับ การปฏิบัติเราอย่าไปคาดวันนั้น เดือนนี้ ปีนั้น ซึ่งจะทำให้เรามีความท้อถอยอ่อนแอ ท้อใจ แล้วหมดกำลังใจไปด้วย
    เมื่อหมดกำลังใจเสียอย่างเดียว ความพากเพียรโดยวิธีต่างๆ นั้นจะลดลงไปโดยลำดับ จนกระทั่งไม่มีความพากเพียรเอาเลยซึ่งไม่ใช่ของดี พึงระมัดระวังเรื่องความคิดที่จะเป็นภัยต่อการดำเนินของตน!
    เราตั้งหน้าเข้าสู่แนวรบด้วยกันอยู่แล้ว ตั้งหน้าจะถอดถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกอยู่แล้วด้วยกัน ทำไมเราจะเป็นคนนอกบัญชีไปได้ บัญชีมีอยู่กับการกระทำของเราอยู่แล้วเวลานี้ บัญชีเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง เพื่อความปลดเปลื้องทุกข์ไปโดยลำดับๆ อยู่กับการกระทำของเราซึ่งกระทำอยู่ทุกวันทุกเวลา เราเองจะเป็นผู้รับรอง หรือเป็นผู้ประกันตัวของเรา โดยอาศัยธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องมือพิสูจน์หรือขุดค้น
    ท่านได้มอบให้แล้ว เป็นหน้าที่ของเราจะเข้าสู่แนวรบ เมื่อได้อาวุธแล้วก็ไม่ใช่หน้าที่ของผู้อื่นใด ที่จะทำหน้าที่ในการรบด้วยเครื่องมือที่ได้รับมาแล้วนั้น ทุกข์เพียงไรก็ให้ทราบ ทุกข์เพราะความเพียรไม่ใช่ทุกข์ที่ไร้ประโยชน์ ไม่ใช่ทุกข์ที่ทรมานอย่างการเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับผู้ที่ไม่พิจารณาให้เป็นอรรถเป็นธรรม นี่เราพิจารณาเป็นอรรถเป็นธรรมอยู่แล้ว ทุกข์จะเกิดขึ้นมากน้อย ก็ให้ทราบไปในตัวว่านี้คือสัจธรรม ซึ่งเป็น “หินลับสติปัญญา” ให้คมกล้าไปกับความเพียรของเรา
    คนมีความเพียร คนมีสติปัญญา ย่อมจะทราบเรื่องต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นกับตัวได้เป็นอย่างดีมีทุกขสัจ เป็นต้น เราอย่าไปท้อถอยในเรื่องความทุกข์ อย่าไปอ่อนใจในเรื่องความทุกข์ การอ่อนใจในเรื่องความทุกข์ คือการอ่อนใจต่อการประพฤติปฏิบัติ คือความอ่อนใจต่อทางดำเนินเพื่อความพ้นทุกข์ของตน ซึ่งไม่ใช่ของดีเลย
    ทุกข์มากทุกข์น้อยในขณะปฏิบัติ เป็นหน้าที่ของสติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร หรือกำลังวังชาของเราจะขุดค้น เพื่อเห็นความจริงของทุกข์ทุกด้าน จะเกิดในด้านใดส่วนใดของอวัยวะ หรือจะเกิดขึ้นภายในจิต ก็เรียกว่า “ทุกข์” เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะเห็นจริงเห็นแจ้งกันด้วยสติปัญญา ศรัทธา ความเพียรของเราเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นที่จะขุดค้นความจริงที่มีอยู่นี้ให้เห็นได้อย่างประจักษ์ใจจนกระทั่งปล่อยวางกันได้ เรียกว่า“หมดคดีเกี่ยวข้องกัน” ที่จะพาเราให้หมุนเวียนเกิดตาย ซึ่งเป็นเหมือนหลุมถ่านเพลิงเผามวลสัตว์
    ครูบาอาจารย์ที่พาดำเนิน และที่ดำเนินมาแล้วมาสอนพวกเรา องค์ไหนที่ปรากฏชื่อลือนามว่าเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนพระเณรมากๆ รู้สึกว่าท่านจะเป็น “พระที่เดนตาย” มาแล้วด้วยกัน ไม่ใช่ค่อยๆ ทำความเพียรธรรมดา แล้วรู้ขึ้นมาเป็นครูเป็นอาจารย์ของบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ควรเรียกได้ว่า “เป็นอาจารย์เดนตายมาแล้ว” ด้วยกันแทบทั้งนั้น
    องค์ท่านเองมีแต่บาตร บาตรก็มีแต่บาตรเปล่าๆ ผ้าสามผืนเป็นไตรจีวร คือ สบง จีวร สังฆาฏิ และผ้าอาบน้ำเท่านั้น ความที่ไม่มีอะไรเป็นของของตัว ต้องอาศัยคนอื่นทุกชิ้นทุกอันเช่นนี้ จะหาความสะดวกความสบายมาจากไหน เพราะเรื่องของพระจะต้องเป็นผู้สม่ำเสมอ เป็นผู้อดผู้ทน จะหิวกระหาย จะลำบากลำบนแค่ไหน ต้องอดต้องทนเต็มความสามารถ ด้วยความพากเพียรแห่งสมณะ หรือแห่ง ศากยบุตร”หรือลูกตถาคต เพื่ออรรถเพื่อธรรมที่ตนมุ่งหวังเป็นสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด
    เวลาทำความเพียรก็ไปทุกข์อยู่กับความเพียร การแก้กิเลส สู้กันกับกิเลสประเภทต่างๆ เพราะกิเลสบางประเภทนั้นผาดโผนมาก เนื่องจากเคยอยู่บนหัวใจของเรามานาน การที่จะกดเขาลงอยู่ใต้อำนาจนั้นย่อมเป็นของลำบากไม่ใช่น้อย แม้เราเองก็ยังไม่อยากจะปลดเปลื้องเขาอีกด้วย ความรู้สึกบางเวลาแทรกขึ้นมาว่า “เขาดีอยู่แล้ว” บ้างว่า“เขาก็คือเรานั่นเอง” บ้าง “ความขี้เกียจ” ก็คือเรานั่นเองบ้าง “เห็นจะไปไม่ไหว” ก็คือเรานั้นเองบ้าง “พักผ่อนนอนหลับให้สบาย” ก็คือเรานั่นเองบ้าง “ทอดธุระเสียบ้าง” “วาสนาน้อยค่อยเป็นค่อยไปเถอะ” ก็คือเราบ้าง หลายๆ อย่างบวกกันเข้า แทนที่จะเป็นความเพียรเพื่อแก้กิเลส เลยกลายเป็นเรื่อง “พอกพูนกิเลส” โดยเจ้าตัวไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นในการประกอบความเพียรในท่าต่างๆ เช่น ในท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง หรือท่านอน จึงเป็นความลำบากไปตามกัน
    คำว่า “ท่านอน”ไม่ใช่นอนหลับ ท่านอนคือท่าทำความเพียรของผู้ปฏิบัติธรรม เช่นเดียวกับท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง นั่นเอง บางจริตนิสัยชอบนอนก็มี แต่ไม่หลับ นอนพิจารณาอยู่อย่างนั้นเช่นเดียวกับนั่งพิจารณา ท่านจึงเรียกว่า “จริตนิสัยต่างกัน” ชอบภาวนาดี เวลานอน เวลานั่ง เวลายืน เวลาเดิน ต่างกันอย่างนี้ตามจริตนิสัย และความพากเพียรทุกประเภทเป็นเรื่องที่จะถอดถอนกิเลส ขุดค้นกิเลสออกจากใจของตน จะเป็นเรื่องง่ายๆ เบาๆ สบายๆ ได้อย่างไร ต้องลำบาก เพราะความรักก็เหนียว ความเกลียดก็เหนียว ความโกรธก็เหนียว ขึ้นชื่อว่า “กิเลส” แล้วเหนียวแน่น และฝังหยั่งลึกลงถึงขั้วหัวใจนั่นแล
    เราจะถอดถอนได้ง่ายๆ เมื่อไร และเคยฝังมากี่กัปกี่กัลป์ ฝังอยู่ที่หัวใจของสัตว์โลกน่ะ การถอดถอนสิ่งที่ฝังจมลึกอย่างนี้ต้องเป็นของยาก เป็นภาระอันหนักไม่ใช่น้อย เมื่อเป็นภาระอันหนัก ความทุกข์เพราะความเพียรก็ต้องมาก ไม่ว่าจะเป็นกิเลสประเภทใดก็ตาม มันออกมาจากรากเหง้าเค้ามูลของมันคือหัวใจ ฝังอย่างลึกด้วยกันทั้งนั้น เพราะฝังจมกันมานาน เราต้องใช้ความพยายามเต็มที่เพื่อถอดถอนตัวอุบาทว์เหล่านี้ออกให้ได้ จะได้เป็นบุคคลสิ้นเคราะห์สิ้นกรรมเสียที ไม่เป็นคนอุบาทว์โดนแต่ทุกข์ถ่ายเดียวตลอดไป
    แต่การกล่าวดังนี้อย่าคาดคะเนหรือสำคัญเอาว่า “เรานี้ยิ่งลึกกว่าเพื่อน” นี่ก็จะยิ่งเป็นการจมลงไปอีกด้วยอุบายของกิเลสหลอกเรา
    นี่เราพูดถึงความเพียร หรือความทุกข์ความลำบากของครูของอาจารย์ ที่ท่านมาแนะนำสั่งสอนให้เรา ท่านต้องใช้ความอุตส่าห์พยายาม จนกระทั่งได้เหตุได้ผลจากการประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า “มีต้นทุนขึ้นมาภายในจิตใจ” ใจก็ตั้งหลักได้ สติปัญญาก็พอคิดอ่านไตร่ตรองได้
    ตอนนั้นแหละเป็นตอนที่เพลิน เพลินต่อการถอดถอนกิเลสทุกประเภท ไม่มีการท้อถอยอ่อนใจ มุ่งหน้ามุ่งตาที่จะถอดถอนให้หมด จนไม่มีอะไรเหลืออยู่ภายในจิตใจเลย ทีนี้ความเพียรก็เก่ง ไม่ว่าท่าไหนเก่งทั้งนั้น อุตส่าห์พยายามพากเพียร ความคิดใคร่ครวญต่างๆ ละเอียดลออไปตามๆ กัน หรือ “สุขุมไปตามๆ กัน” เพราะธรรมรวมตัวเข้าแล้วมีกำลังด้วยกัน ศรัทธาก็รวม วิริยะก็รวม รวมไปในจุดเดียวกัน พละ ๕ รวมอยู่ในนั้น อิทธิบาท ๔รวมลงไปภายในจิตที่เคยเต็มไปด้วยกิเลสทั้งหลาย
    แม้จะยากก็เถิด ! อารมณ์คำว่า “ยาก” ก็ค่อยหมดไปเมื่อปรากฏผลขึ้นภายในที่เรียกว่า “ต้นทุน” นั้นแล้ว ยากก็เหมือนไม่ยาก แต่ก่อนเรายังไม่มีต้นทุน ค้าด้วยกำปั้นมันก็ลำบากอยู่บ้าง พอมีเครื่องมือมีต้นทุนบ้างแล้ว ถึงจะลำบากก็เหมือนไม่ลำบาก เพราะความพอใจ สติปัญญามีพอต่อสู้ ความพากเพียรไม่ถอยหลังไม่ลดละ จิตใจก็มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับๆ เป็นความสง่าผ่าเผยขึ้นที่ดวงใจดวงที่เคยอับเฉามาเป็นเวลานานนั้นแล นี่คือผลที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติด้วยความทุกข์ยากลำบาก ด้วยความเพียรท่าต่างๆ จิตโล่งด้วยความสงบเย็น พูดถึงความสงบก็สงบ คือสงบจิต ไม่ใช่สงบแบบคนสิ้นท่า สงบอย่างเยือกเย็น เวลาถึงกาลปัญญาจะออกพิจารณาค้นคว้าก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย สู้ไม่ถอย กลางคืนกลางวันเต็มไปด้วยความพากเพียร ความลำบากลำบนด้วยปัจจัยสี่ไม่สนใจ ขอให้ได้ประกอบความพากเพียรเต็มสติกำลังความสามารถ เป็นที่พอใจของนักปฏิบัติเพื่อหวังรู้ธรรม ผู้หวังรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมโดยถ่ายเดียวเท่านั้น
    ผลสุดท้ายจิตที่เคยมืดดำก็เปิดเผยตัวออกมา ให้เห็นเป็นความสว่างกระจ่างแจ้งเป็นความอัศจรรย์ ! อุบายสติปัญญาที่เคยมืดมิดปิดตาคิดอะไรไม่ออก ก็กลายเป็นสติปัญญาที่หมุนตัวออกมาด้วยลวดลายแห่งความเฉลียวฉลาด ทันกับเหตุการณ์ของกิเลสที่แสดงตัวออกมาทุกแง่ทุกมุม
    เมื่อสติปัญญาเข้าขั้นนี้แล้ว กิเลสที่เคยสั่งสมตัว สั่งสมกำลังมานั้น ก็ลดน้อยลงไปโดยลำดับๆ จนสามารถพูดได้ว่ากิเลสไม่มีทางสั่งสมตัวได้ แม้แต่กิเลสที่มีอยู่ก็ถูกทำลายไปโดยลำดับด้วยสติปัญญาขุดค้น ไม่มีวันมีคืน มีปีมีเดือน มีอิริยาบถใดๆ เป็นอุปสรรคกีดขวางความเพียร มีแต่ธาตุแห่งความเพียรไปทั้งวันทั้งคืน นี่หมายถึงสติปัญญาหมุนตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอิริยาบถใดๆ
    ยิ่งเห็นชัดเจน จิตยิ่งเด่น เหนือกิเลสขึ้นมาเป็นลำดับๆ เพราะฉะนั้นคำว่า “ไม่ยอมแพ้กิเลสนี้” ทำไมจะพูดไม่ได้ ! เมื่อเห็นประจักษ์ใจในกำลังของตัวว่าเป็นผู้สามารถแค่ไหนอยู่แล้ว
    สติปัญญาที่ออกตระเวนค้นคว้าหากิเลสนั้นหมุนรอบตัวอยู่ตลอดเวลา กิเลสตัวไหนจะสามารถออกมาเพ่นพ่านกล้าหาญต่อสติปัญญาประเภทนี้ก็ออกมา ต้องโดนดีกับสติปัญญาชนิดสะบั้นหั่นแหลกแตกกระจายไม่สงสัย นอกจากจะหลบซ่อนตัว แม้หลบซ่อนก็ต้องตามขุดค้นกันไม่หยุดหย่อนอยู่นั่นแล เพราะถึงคราวธรรมะได้ทีแล้ว นี่แหละที่ท่านว่า “สติปัญญาอัตโนมัติ” หรือ “มหาสติ มหาปัญญา” ต้องทำงานขุดค้นไม่หยุดไม่ถอยอย่างนี้แล
    เวลาไปเจอกับกิเลสชนิดใดเข้าแล้ว นั่นถือว่าเจอข้าศึกเข้าแล้ว และพัลวันหรือตะลุมบอนกันเลยจนเห็นเหตุเห็นผล จนกระทั่งถึงความปล่อยวาง หรือละกิเลสประเภทนั้นได้ เมื่อหมดประเภทนี้แล้วก็เหมือนไม่มีอะไรปรากฏ แต่สติปัญญาขั้นนี้จะไม่มีหยุดไม่มีถอย จะคุ้ยเขี่ยขุดค้นอยู่อย่างนั้น มันอยู่ที่ตรงไหนขุดค้นหาสาเหตุ เสาะท่านั้นแสวงท่านี้ ขุดค้นไปมาจนเจอ พอปรากฏตัวกิเลสขึ้นมาปั๊บ จับเงื่อนนั้นปุ๊บ ตามเข้าไปค้นคว้าเข้าไปทันทีจนได้เหตุได้ผลแล้วปล่อยวาง
    นี่การแก้กิเลสขั้นนี้ ต้องแก้ไปเป็นลำดับๆ เช่นนี้ก่อน จนกระทั่งกิเลสมันรวมตัว ที่เคยพูดเสมอว่า อวิชชานั่นน่ะรวมตัว ธรรมชาตินั้นต้องผ่านการขุดค้นภายในจิต ขุดค้นเฉพาะจิต เมื่อได้ที่แล้ว เวลาถอนก็ถอนพรวดเดียวไม่มีเหลือเลย ส่วนกิ่งก้านของมันนั้น ต้องได้ตัดก้านนั้นกิ่งนี้เรื่อยไป สาขาไหนที่ออกมากน้อย เล็กโตขนาดไหน ตัดด้วยปัญญา ๆ ขาดลงไป ๆ ผลสุดท้ายก็ยังเหลือ “หัวตอ” ถอดหัวตอถอนหัวตอนี้ยากแสนยาก แต่ถอนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือพรวดเดียวหมด ! ก็ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ! สิ้นวัฏจักรสิ้นที่จิต พ้นที่จิต บริสุทธิ์ที่จิต หมดปัญหาเกิดตายทั้งมวลที่จิตนี่แล
    นี่แหละความทุกข์ความลำบากในการประกอบความเพียรมามากน้อย เราจะไม่เห็นคุณค่าอย่างไรเล่า เมื่อกองทุกข์ทั้งมวลมากน้อยซึ่งทับอยู่บนหัวใจ ได้ทลายลงไปหมดด้วยอำนาจแห่งความเพียรที่ว่า ทุกข์ๆ ยากๆ ลำบากของเรานั้นคุ้มค่า ! ตายก็ตายไปเถอะตายด้วยความทุกข์เพราะความเพียร ไม่เสียดายชีวิต เพราะได้เห็นคุณค่า หรือได้เห็นผลของความเพียรเป็นอย่างไรบ้างประจักษ์กับจิตของตนเองแล้ว
    ฉะนั้นการบำเพ็ญเพียร ต้องเป็นผู้ไม่ท้อถอย มีอะไรพิจารณากันภายในจิตใจ มืดเราก็ทราบว่ามืด จิตไม่เคยมืด ความรู้จริงๆ ไม่ปิดตัวเอง ทุกข์ขนาดไหนก็ทราบว่าทุกข์ สุขขนาดไหนก็ทราบ มืดก็ทราบว่ามืด สว่างก็ทราบว่าสว่าง หนักเบาแค่ไหน ผู้รับรู้ รับรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมอาภัพกับสิ่งใดทั้งหมด ไม่ปิดกั้นตัวเองเลย ผู้นี้คือผู้รับรู้อยู่ตลอดเวลา แม้จะถูกกิเลสรุมล้อมอยู่ขนาดไหน ความรู้อันนี้จะรู้เด่นอยู่เสมอ รู้ตัวเองอยู่เสมอ สมกับชื่อว่า ผู้รู้คือจิต
    นี่แหละจะเอาผู้นี้แหละให้พ้นจากสิ่งเกี่ยวข้องหรือสิ่งพัวพันทั้งหลาย มาเป็นอิสระภายในตนเอง เหลือแต่ความรู้ล้วนๆ นี้ จึงต้องได้พิจารณาแก้ไขกันเต็มกำลัง ยากง่ายลำบากเพียงไรก็ต้องทำ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นภัยต่อเรา ไม่มีชิ้นส่วนที่ปราชญ์ทั้งหลายน่าจะยกย่องกันบ้างเลย! เรารู้เห็นมันว่าเป็นตัวทุกข์ประจักษ์ใจ ถ้าไม่ถอดถอนพิษภัยออกจากจิตใจแล้ว เราก็ไม่มีทางก้าวเดินออกจากทุกข์ได้เลย เช่นเดียวกับการถอนหัวหนามออกจากเท้าเรานั่นแล
    การถอดถอนหัวหนามออกจากเท้า ถ้าเราถือว่าเจ็บปวดมากไม่กล้าถอน นั่นแหละคือเท้าจะเสียหมด เพราะหนามฝังจมอยู่ที่นั่น เป็นต้นเหตุสำคัญที่จะทำให้เท้าเรากำเริบมากถึงกับเสียไปหมด เพราะฉะนั้นโดยทางเหตุผลแล้ว จะทุกข์ลำบากขนาดไหน ต้องถอนหัวหนามออกจากเท้าจนได้ ไม่ถอนหนามนั้นออกเสียเป็นไปไม่ได้ เท้าจะกำเริบใหญ่ และจะทำให้อวัยวะส่วนอื่นเสียไปด้วยมากมาย ฉะนั้นแม้จะทุกข์ขนาดไหน ก็ต้องถอนออกให้ได้โดยถ่ายเดียว
    การบำเพ็ญเพียรเพื่อถอดถอนหนาม คือกิเลสเป็นเครื่องเสียดแทงจิตใจอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ถอนมันเสียจะเป็นอย่างไร? การถอนหัวหนามคือกิเลสด้วยความเพียร จะทุกข์ยากลำบากขนาดไหนก็ต้องทำโดยเหตุผล ตายก็ต้องยอม เพื่อให้หนามนี้ออกจากจิตใจ จะไม่ต้องเสียดแทงกันไปนานตลอดกัปนับไม่จบสิ้นได้!
    พูดถึงกิเลส มีอยู่ทุกแห่งหนในบรรดาสัตว์บุคคล มีอยู่รอบตัวของเรามากมายไม่มีเวลาบกพร่องเบาบางลงบ้างเลย แต่หาได้ทราบไม่ว่านั่นคือกิเลสทั้งมวล เวลาพิจารณาแล้วถึงได้รู้ว่ามันมีอยู่รอบตัวเรา และกวาดเข้ามาหาตัวเราทุกวันเวลา ไม่มีคำว่า “หนัก” ว่า “พอแล้ว” เลย มันติดรูป ติดเสียง ติดกลิ่น ติดรส ติดสมบัติพัสถานต่างๆ มากต่อมากจนกลายเป็นกิเลสไปหมด เพราะจิตพาให้เป็น สิ่งเหล่านั้นเขาไม่เป็นกิเลส แต่จิตไปติดกับสิ่งใด เราก็ถือว่าสิ่งนั้นเป็นกิเลส จำต้องพิจารณาให้เห็นชัดเจนตามสิ่งนั้น เพื่อจิตจะได้หายสงสัยและถอนตัวเข้ามาส่วนแคบ และพิจารณาง่ายเข้า จนสุดท้ายก็มาอยู่ที่ในธาตุขันธ์ของเรานี่แหละ!
    กิเลสคือความรักความสงวนตัวนี่สำคัญมาก ไม่มีอันใดจะเหนือความรักตัวสงวนตัวไปได้ เมื่อกิเลสประเภทนี้ไม่มีที่เกาะแล้ว จึงต้องย้อนกลับเข้ามารวมตัวอยู่ในใจดวงเดียว มันต้องได้ใช้สติปัญญาขับไล่กันที่ตรงนี้ ไล่ตรงนี้ไล่ยากหน่อย ยากก็ไล่ เพราะแม้ตัวจัญไรเข้ามารวมที่นี่ ก็มาเป็นกิเลสอยู่ที่นี่เหมือนกันกับเวลาซ่านอยู่ข้างนอก เป็นเสี้ยนเป็นหนามทิ่มแทงเหมือนกัน เป็นพิษเป็นภัยเหมือนกัน ต้องไล่ให้ออกด้วยการพิจารณาเรื่องธาตุขันธ์ แยกแยะออกดูให้เห็นตามความเป็นจริงทุกแง่ทุกมุม พิจารณาแล้วพิจารณาอีก จนเป็นพื้นเพของจิตได้อย่างมั่นคงและชัดเจนว่า “สักแต่ว่าธาตุ สักแต่ว่าขันธ์ เท่านั้น”!
    เมื่อพิจารณาเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วมันเป็นเช่นนั้น “มันสักแต่ว่า.ๆ” เมื่อพิจารณาถึงขั้น “สักแต่ว่าแล้ว” จะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร! เพราะปัญญาหว่านล้อมไปหมด ปัญญาชำระไปหมด ชะล้างไปหมด มลทินคือกิเลสที่ไปติดพันอยู่กับใจ ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องติดพันอยู่ที่ตรงไหน สติปัญญาชะล้างไปหมด ปลดเปลื้องไปโดยลำดับๆ สุดท้ายก็รู้ขึ้นมาอย่างชัดเจน สวากขาตธรรมทั้งปวง ก็เป็นธรรมที่ซึ้งใจสุดส่วน ใจไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมและสิ่งใด
    รูปก็สักแต่ว่ารูป ไม่ว่าอาการใดที่เป็นอยู่ในร่างกายเราที่ให้นามว่า “รูป” ก็สักแต่ว่าเท่านั้น ไม่ยิ่งกว่านั้นไป จะยิ่งไปได้อย่างไรเมื่อจิตไม่ส่งเสริมให้มันยิ่ง ความจริงจิตเป็นผู้ส่งเสริม จิตเป็นผู้กดถ่วงตัวเองต่างหาก เมื่อสติปัญญาพิจารณารู้ตามหลักความจริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จริงของมันเอง “สักแต่ว่า” นั่น! เมื่อ “สักแต่ว่า” แล้ว จิตไม่เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้มีคุณค่ามีราคายิ่งกว่าตนพอจะไปหลงยึดถือ จิตก็หายกังวล รูปก็สักแต่ว่า ถึงยังเป็นอยู่ก็สักแต่ว่า ตายไปแล้วก็สักแต่ว่าความเปลี่ยนแปรสภาพของมันเท่านั้น
    เวทนาเกิดขึ้นมาก็สักแต่ว่า เมื่อสลายลงไปก็สักแต่ว่า ตามสภาพของมันและตามสภาพของทุกอาการ ๆ ปัญหาทั้งปวงในขันธ์ในจิตก็หมดไปโดยลำดับ
    สุดท้ายจิตที่มีความรักความสงวนด้วยอำนาจแห่งกิเลสประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เกาะอยู่ในนั้น ก็พิจารณาลงไป ซึ่งเรียกว่า จิตตานุปัสสนาคือความเห็นแจ้งในจิตและอาการของจิตทุกอาการว่า สักแต่ว่าจิตคือเป็นสภาพหนึ่งๆ เช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลาย ไม่ถือจิตเป็นตน ไม่สำคัญจิตว่าเป็นตน ถ้าถือจิตว่าเป็นตนเป็นของตนจะพิจารณาไม่ได้ เพราะความรักความสงวนความหึงหวง กลัวว่าจิตจะเป็นอะไรต่ออะไรไปเสีย แล้วกลายเป็นกำแพงกั้นไว้ จึงต้องพิจารณาตามที่ท่านว่า “จิตตานุปัสสนา” พิจารณาลงไปให้เห็น สักแต่ว่าจิตคิดก็สักแต่ว่าคิด ปรุงขึ้นมาดีชั่วก็สักแต่ว่าปรุง แล้วก็ดับไป ๆ สักแต่ว่า ๆจนถึงรากฐานของ จิตอวิชชา
    รากฐานของ จิตอวิชชาคืออะไร? คือกิเลสชนิดละเอียดสุดอยู่ภายในจิต ไม่พิจารณาจิตนั้นไม่ได้ จิตจะสงวนจิตไว้ แล้วพิจารณากิเลสประเภทนี้ต่างหากนั้น ย่อมหาทางไม่ได้! เพราะกิเลสประเภทสงวนตัวมันหลบอยู่ในอุโมงค์ คือจิตนี้แหละ! จะเสียดายอุโมงค์อยู่ไม่ได้ ถ้าโจรเข้าไปอาศัยอยู่ในอุโมงค์นี้เราจะเสียดายอุโมงค์ไม่ได้ ต้องระเบิดหมดทั้งอุโมงค์นั่นน่ะ ให้มันแตกทลายกลายเป็นชิ้นส่วนไปหมด นี่ก็เหมือนกัน ระเบิดด้วยสติปัญญาให้หมดเลยที่ตรง “อุโมงค์ คือจิตอวิชชา” นี้ให้สิ้นซากไป
    เอ้า ถ้าจิตเป็นจิตจริง ทนต่อการพิสูจน์ ทนต่อความจริงจริงๆ จิตจะไม่ฉิบหาย จะฉิบหายไปแต่สิ่งที่เป็นสมมุติเท่านั้น! ธรรมชาติตัวจริงของจิตแท้ๆ จะไม่ฉิบหาย และอะไรจะเป็น “วิมุตติ”? ถ้าจิตสามารถเป็นวิมุตติได้ ทนต่อการพิสูจน์ ทนต่อการพิจารณาทุกอย่างได้ ก็ให้จิตรู้ตัวเอง จิตนั้นจะยังคงเหลืออยู่
    อันใดที่ไม่ทนต่อการพิจารณา อันใดที่เป็นสิ่งจอมปลอม ก็จะสลายตัวของมันไป จงพิจารณาลงที่จิต ดีชั่วเกิดขึ้นก็แต่เพียงแย็บๆๆ อยู่ภายในจิต ดับไปก็ดับที่จิต ค้นลงไปพิจารณาลงไป เอาจิตเป็นสนามรบ
    เราเอาเสียง เอากลิ่น เอารส เป็นสนามรบ พิจารณาด้วยปัญญา ผ่านเข้ามาถึงขั้นเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสนามรบ พิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงแล้วปล่อยวาง ๆ ปล่อยวางไปตามเป็นจริง
    อ้าว!ที่นี่กิเลสมันไม่มีที่ซ่อนก็วิ่งเข้าไปอยู่ในจิต ต้องเอาจิตเป็นสนามรบอีก ฟาดฟันกันด้วยปัญญาสะบั้นหั่นแหลกลงไปเป็นลำดับๆ โดยไม่มีข้อแม้ข้อยกเว้นว่าจะควรสงวนอะไรไว้เลย อันใดที่ปรากฏจะพิจารณาฟาดฟันให้อันนั้นแหลกไปหมด ให้รู้เข้าใจไปหมด นั่น!
    สุดท้ายกิเลสก็ทนตัวอยู่ไม่ได้ กระจายออกไป นั่น ! ของจอมปลอมต้องสลายตัวไป ของจริงอันดั้งเดิมแท้ได้แก่จิต ก็เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ขึ้นมาแทนที่ที่กิเลสหายไป หาความสลายหาความฉิบหายไปไม่มีเลย นี้แลคือความประเสริฐแท้ เราชนะเพื่ออันนี้ ธรรมชาติแท้ไม่ตายไม่ฉิบหาย ถึงจะถูกพิจารณาขนาดไหนก็ตาม แต่สติปัญญาจะฟาดฟันจิตให้แหลกละเอียดจนฉิบหายไปหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ นั่น
    สุดท้ายจิตก็บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา พอจิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ปัญญาก็หมดหน้าที่ไปเอง หรือหมดภาระหน้าที่ของตนไปเองตามหลักธรรมชาติของสติปัญญา พอจิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้วปัญญาก็หมดหน้าที่ไปเอง หน้าที่ของตนไปเอง ตามหลักธรรมชาติของสติปัญญาที่เป็นสมมุติฝ่ายแก้กิเลสทั้งมวล นอกจากเราจะนำไปใช้บางกาลบางเวลาในแง่ธรรมต่างๆ หรือธุระหน้าที่ต่างๆ เท่านั้น
    ที่จะนำมาแก้ มาทำลายกิเลส ถอดถอนกิเลสด้วยปัญญาดังที่ได้ทำมาแล้วนั้น ไม่มีกิเลสจะให้แก้ให้ถอน สติปัญญาจะถอนอะไร ต่างอันต่างหมดหน้าที่ของตัวไปเองโดยอัตโนมัติหรือธรรมชาติ
    สิ่งที่ยังเหลืออยู่ เหนือสัจธรรมทั้งสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็ได้แก่ความบริสุทธิ์ คือผู้รู้ล้วนๆ ผู้นี้แลเป็นผู้พ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวง พ้นจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ทรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ที่ท่านเรียกว่าวิมุตติเราจะไปหา “วิมุตติ”ที่ไหน? ความหลุดพ้นอยู่ที่ไหน? ก็มันติดข้องอยู่ที่ไหน? เมื่อพ้นจากความติดข้องแล้ว มันก็เป็นความหลุดพ้นที่เรียกว่า “วิมุตติ” เท่านั้นเอง การแสดงธรรมจึงยุติเพียงเท่านี้ ไม่มีความรู้ความสามารถแสดงให้ยิ่งกว่านี้ได้


    ** ท่านผู้เข้าชมทุกท่านโปรดทราบ
    เนื่องจากกัณฑ์เทศน์บางกัณฑ์มีความยาวค่อนข้างมาก ซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วในการเปิดเว็บไซต์ ขอแนะนำให้ทุกท่านได้อ่านเนื้อหากัณฑ์เทศน์บางส่วนจากเว็บไซต์ และให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์กัณฑ์เทศน์ที่มีนามสกุล .pdf ไปเก็บไว้ในเครื่องของท่านแทนการอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากเว็บไซต์

    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ