พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง

กระทู้: พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง




    พระภัททิยเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง

    พระภัททิยะ เกิดในตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์ ในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นราชโอรสของพระ
    นางกาฬีโคธา (พระนามเดิมชื่อว่า โคธา แต่เพราะมีผิวกายดำ คนทั่วไปจึงเรียกว่า กาฬีโคธา)
    เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ครองครองราชย์สมบัติสืบศากยวงศ์ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าภัททิยราชา”
    มีพระสหายที่รักใคร่สนิทสนมกันมาก พระนามว่า “เจ้าชายอนุรุทธกุมาร” ซึ่งเป็นเชื้อสาย
    ศากยวงศ์เช่นกัน
    บวชเพราะเพื่อนชวน
    สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ ครั้งนั้น
    ศากยกุมารจากตระกูลต่าง ๆ ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่ว ๆ ไป ได้ออกบวชติดตามพระ
    พุทธองค์เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เจ้าชายมหานามะ โอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ จึงได้ปรึกษา
    กับเจ้าชายอนุรุทธะผู้เป็นอนุชาว่า:-
    “อนุรุทธะ ศากยกุมารจากตระกูลอื่น ๆ ออกบวชติดตามพระบรมศาสดาเป็นจำนวนมาก
    ตระกูลของเรานี้ ถ้าไม่มีใครออกบวชเสียเลยก็ดูจะไม่สมควร ดังนั้นเราสองคนนี้ ใครคนใดคน
    หนึ่งควรจะออกบวชติดตามพระบรมศาสดาบ้าง”
    เนื่องจากอนุรุทธกุมารนั้น ได้รับการบำรุงเลี้ยงดูมาอย่างดีไม่เคยได้รับความเหนื่อยยาก
    ลำบากเลย เป็นบุตรสุขุมาลชาติละเอียดอื่น จึงทูลแก่เจ้าพี่มหานามะว่า:-
    “เจ้าพี่มหานามะ ขอให้เจ้าพี่ออกบวชเองเถิด น้องเป็นคนอ่อนแอ ไม่สามารถจะบวช
    ได้”


    เจ้าชายมหานามะก็ตกลงที่จะบวชเอง ดังนั้นจึงสอนหน้าที่ของคนที่จะอยู่ครองเรือนให้
    เจ้าชายอนุรุทธะทราบ โดยยกเรื่องการทำนาขึ้นมาสอน เพราะเป็นงานหลักของผู้อยู่ครองเรือน
    โดยเริ่มตั้งแต่การไถนา การหว่านข้าวเป็นลำดับไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว การนวดข้าวแล้วจึงนำ
    เข้าไปเก็บในยุ้งฉาง และต้องทำอย่างนี้ทุกปีเมื่อถึงฤดูกาล
    เจ้าชายอนุรุทธะ ได้สดับแล้วเกิดความท้อแท้ขึ้นมา เห็นว่าการบวชน่าจะเป็นงานที่เบา
    กว่าและเป็นงานที่มีจุดสิ้นสุด จึงเปลี่ยนใจทูลเจ้าพี่มหานามะว่า “จะขอบวชเอง ให้เจ้าพี่อยู่ครอง
    เรือนต่อไปเถิด”
    เมื่อตกลงกับเจ้าที่มหานามะแล้ว จึงเข้าไปทูลลาพระมารดา เพื่อออกบวชแต่ไม่ได้รับ
    อนุญาต ได้พยายามอ้อนวอนอยู่หลายวัน พระมารดาก็ยังคงไม่อนุญาตเช่นเดิม จึงกราบทูลว่า
    ถ้าไม่อนุญาตก็จะขออดข้าวอดน้ำจนกว่าจะตายแล้วก็เริ่มอดอาหารและน้ำดื่ม ตั้งแต่นั้นเป็นต้น
    ไป
    พระมารดา เห็นว่าลูกชายทำตามที่พูดจริง ด้วยเกรงว่าลูกชายจะได้รับอันตรายถึงชีวิต
    จึงคิดว่า “ถ้าให้ลูกชายบวชก็ยังจะได้เห็นหน้าลูกชายต่อไป บางทีลูกชายบวชแล้ว ได้รับความ
    ลำบากก็อาจจะสึกออกมาเอง แต่ถ้าไม่ให้บวชลูกชายอาจจะตายจริง ๆ ก็ได้” จึงบอกแก่ลูกชาย
    ว่า “อนุญาตให้บวชได้ แต่มีข้อแม้ว่า พระเจ้าภัททิยะจะต้องเสด็จออกบวชด้วย จึงจะอนุญาตให้
    บวช” เหตุที่พระนางมีข้อแม้อย่างนี้ก็ด้วยคิดว่า “พระเจ้าภัททิยะนั้นทรงเป็นพระราคาปกครอง
    บ้านเมือง ถึงอย่างไรก็คงไม่ออกบวชแน่”
    เจ้าชายอนุรุทธะ ดีพระทัย จึงรีบไปชวนพระเจ้าภัททิยะทันที พระเจ้าภัททิยะ ไม่คิดว่า
    พระสหายจะมาชักชวนด้วยเรื่องอย่างนี้ พระองค์เองก็มีภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองมาก
    มาย จะออกบวชได้อย่างไร จึงตรัสปฏิเสธไปว่า:-
    “สหาย เราไม่สามารถจะออกบวชได้ แต่ถ้ามีกิจอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้ได้ก็จะทำ
    ให้ทุกอย่าง ส่วนเรื่องการบวชนั้น ขอสหายจงบวชเองเถิด”
    เจ้าชายอนุรุทธะ จึงอ้างพระดำรัสของพระมารดาซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้มากล่าว
    ให้สหายฟังว่า:-
    “ถ้าสหายออกบวชด้วย เราจึงจะได้บวช ดังนั้นการบวชของเราจึงเกี่ยวเนื่องด้วยสหาย
    เป็นสำคัญ”
    พระเจ้าภัททิยะ ทนต่อการอ้อนวอนรบเร้าของสหายรักไม่ได้ จึงยอมตกลงออกบวช
    ด้วย เพียงพอเวลาจัดมอบหมายงานต่าง ๆ ให้ผู้รับช่างสืบต่อไปให้เรียบร้อยก่อนสัก ๒-๓ วัน
    ในการเสด็จออกบวชของ เจ้าชายภัททิยะ กับ เจ้าชายอนุรุทธะ นั้น ได้มีศากยกุมาร
    อื่น ๆ ออกบวชด้วยอีก ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัคคุ และ เจ้าชายกิมพิละ จึงรวม
    เป็นฝ่ายศากยะ ๕ พระองค์ และมีฝ่ายโกลิยะ ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายเทวทัต และมีนายภูษามาลา
    ชื่อ อุบาลี ได้ร่วมออกบวชด้วยกัน เป็นอันว่าการออกบวชในครั้งนี้มีทั้งหมด ๗ ท่าน ด้วยกัน
    ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ที่อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ กราบทูลขออุปสมบทพระ
    พุทธองค์ประทานด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    เปล่งอุทานว่าสุขหนอ ๆ
    พระภัททิยะเถระ เมื่ออุปสมบทแล้วศึกษาพระกรรมฐานจากสำนักของพระบรมศาสดา
    อุตสาห์บำเพ็ญเพียรไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยวิชชา ๓ ภายในพรรษานั้น
    ตั้งแต่นั้นมาไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ได้แก่ ในป่า ใต้ร่มไม้ หรือในอาราม เมื่อยามว่าง
    ยามสงบ ท่านก็มักจะเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ ๆ” อยู่เสมอ จนภิกษุทั้งหลายได้ยินได้ฟังแล้วเข้า
    ใจว่า ท่านไม่ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์รำถึงนึกถึงแต่ราชสมบัติอยู่ จึงนำความเข้ากราบ
    ทูลพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์รับสั่งให้เรียกท่านมา ตรัสถาว่า:-
    “ภัททิยะ ทราบว่าเธอเปล่งอุทานว่าอย่างนั้นจริงหรือ ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นความจริง พระเจ้าข้า”
    “เธอเห็นประโยชน์อะไร จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น ?”
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยเมื่อข้าพระองค์เป็นฆราวาส ครอบครองราชย์สมบัติอยู่
    ต้องดูแลป้องกันรักษาขอบขัณฑสีมาทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ทั่วราชอาณาเขต แม้แต่ตัว
    ข้าพระองค์เองจะมีคนคอยดูแลป้องกันรักษาอยู่รอบข้างกายเป็นนิตย์ ก็อดที่จะสะดุ้งจิตหวาด
    กลัว มิได้ บัดนี้ แม้ข้าพระองค์จะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า หรือใต้ร่มไม้ หรือที่อื่น ๆ เพียงลำพัง ก็ไม่
    ต้องสะดุ้งกลัว ขนก็ไม่ลุกชูชัน อาศัยอาหารผู้อื่นเลี้ยงชีพ ไม่ต้องวิตกกังวลรับผิดชอบต่อชาติ
    บ้านเมืองและประชากร ข้าพระองค์เห็นประโยชน์สุขอย่างนี้ จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น พระเจ้าข้า"
    พระบรมศาสดา ทรงสดับแล้ว ได้ตรัสยกย่องชมเชยในการกระทำของท่าน และโดยที่
    ท่านเกิดในตระกูลกษัตริย์ จัดว่าเป็นตระกูลสูงสุด (พระมารดาของท่านเป็นผู้มีอายุสูงกว่า
    ศากิยานีทั้งหลาย) พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
    ในทาง ผู้เกิดในตระกูลสูง
    ท่านพระภัททิยเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน



    ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.84000.org/one/1/10.html





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  2. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:

    Re: พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง

    เอตทัคคะ หมวดภิกษุ - พระภัททิยเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง




    ให้เสียงโดย : พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร

    ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เข้ามารับชมรับฟังแล้วเกิดกุศลจิตทุกท่านค่ะ
    ขอขอบคุณที่มาของการอัปโหลด :: โดย hiphoplanla
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Butsaya : 06-02-2012 เมื่อ 08:56 AM

    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา