การตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะพร้อมด้วยนายฉันนะที่ตามเสด็จ ทรงขับม้าพระที่นั่งไปตลอดคืน ไปสว่างเอาที่แม่น้ำอโนมานที ซึ่งเป็นเขตแดนขั้นเมืองทั้ง ๓ คือ กบิลพัสดุ์ สาวัตถี และไพศาลี ทรงพาม้าและมหาดเล็กข้ามแม่น้ำ แล้วเสด็จลงจากหลังม้าพระที่นั่งประทับนั่งบนหาดทรายอันขาวดุจแผ่นเงิน พระหัตถ์ขวาจับ พระขรรค์แสงดาบ พระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา คือ ยอดปลายพระเกศา กับพระโมฬี คือมุ่นพระเกศา หรือผมที่มุ่นเป็นมวยแล้วทรงตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบ เหลือพระเกศาไว้ยาวประมาณ ๒ นิ้ว เป็นวงกลมเวียนไปทางขวา เสร็จแล้วทรงเปลื้องพระภูษา ทรงออก แล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายพร้อมด้วยเครื่องบริขารอย่าง อื่น แล้วทรงอธิฐานเพศเป็นนักบวชที่บนชายหาด ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานั่นเอง

ทรงมอบพระภูษาทรง และม้าพระที่นั่งให้นายฉันนะไปกราบทูลแจ้งแก่พระราชบิดา ให้ทรงทราบนายฉันนะมีความอาลัยยิ่งนักถึงกับร้องไห้กลิ้งเกลือแทบพระบาทไม่ยอมกลับ แต่ ขัดรับสั่งไม่ได้ เจ้าชายตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หนังสือพุทธประวัติเรียกว่า พระมหาบุรุษ ทรงลูบ หลังม้าที่กำลังจะจากกลับเมือง ม้าน้ำตาไหลอาบหน้าแล้วแลบชิวหาออกเลียพื้นฝ่าพระบาทของ พระองค์ผู้ทรงเคยเป็นเจ้าของ ทั้งม้าทั้งคนคือนายฉันนะน้ำตาอาบหน้า ข้ามน้ำกลับมาเมือง แต่ พอลับพระเนตรมหาบุรุษ ม้ากัณฐกะก็หัวใจแตกออกเป็น ๗ พรรษา หรือหัวใจวายตาย ส่วนนาย ฉันนะก็ร้องไห้กลับเมืองคนเดียว

พระองค์ได้ออกเดินทางเพื่อหาทางดับแห่งทุกข์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งกรุง ราชคฤห์ได้ทราบข่าวที่ชาวเมืองต่างโจษจันกันถึงเรืองนักบวชหนุ่มผู้ทรงไปด้วยความสง่างามผิด จากนักบวชรูปอื่นๆ จึงมีรับสั่งให้เสด็จตามมหาบุรุษ เมื่อไปถึงพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าไปเฝ้าและ ได้สอบถามความเป็นมาของมหาบุรุษ พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลขอปฏิญาณว่าตรัสรู้แล้ว ขอให้มา โปรดก่อน พระมหาบุรุษก็ทรงรับปฏิญาณนั้น แล้วพระองค์เองก็เสด็จไปยังแคว้นมคธ เข้าไปขอ เป็นศิษย์ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร จนจบสิ้นความรู้ของอาจารย์แต่ทรงเห็นว่าไม่ใช่ ทางที่จะทำให้พระองค์พ้นจากความทุกข์ จึงลาอาจารย์ไปศึกษาต่อในสำนักของอุทกดาบสแต่วิชาของสำนักนี้ก็ไม่สามารถทำให้พระองค์ตรัสรู้อีกเช่นกัน มหาบุรุษ ทรงอำลาอาจารย์แล้วออกจากที่นั่น แล้วเสด็จจาริกแสวงหาที่สำหรับจะทรงบำเพ็ญเพียร เพื่อทดลองทุกกรกิริยาที่คนสมัยนั้นนิยมทำกันเพราะคิดว่านั่นคือทาง ดับทุกข์ แล้วเสด็จไปถึงตำบลแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในแคว้นมคธเหมือนกัน มีนามว่า อุรุเวลาเสนานิคม พื้นที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ราบรื่น มีแนวป่าเขียวสด เป็นที่น่าเบิก บานใจ มีแม่น้ำเนรัญชรา น้ำไหลใสสะอาด มีท่าสำหรับลงอาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไปเหมาะเป็นที่อาศัยบิณฑบาตของนักบวช พระมหาบุรุษ ทรงเลือกสถานที่นี้เป็นที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นแบบทดสอบอีกหนึ่งบทว่าจะตรัสรู้หรือไม่

พระองค์จึงประทับอยู่ที่นั่นเพื่อบำเพ็ญเพียรให้ตรัสรู้ธรรมอันวิเศษด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นการทรมานพระวรกายให้ได้รับความลำบาก โดยมีพราหมณ์ ๕ คน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ รวมเรียกว่าปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติ ขั้นแรกมหาบุรุษทรงทรมานพระองค์ตามลัทธิ เชน เช่น ในฤดูร้อนให้ย่างไฟ คือสุมไฟอบตัวเองให้ร้อน ในฤดูหนาวให้ยืนเท้าเปล่าท่ามกลางหิมะ แต่พอปฏิบัติไปได้นานพอสมควรแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าพระองค์ จะตรัสรู้ มหาบุรุษจึงทรงตัดสินพระทัยทรมานพระองค์ให้ถึงขั้นสูงสุด ทรงทรมานพระวรกายอย่างยิ่งยวด การทรมานอย่างยิ่งยวดเป็นเพียงอุคติที่นักทรมาน กายคิดขึ้น แต่ยังไม่มีใครได้สำเร็จ คือทำได้นานพอที่จะเรียกว่าจะสำเร็จ การทรมานอย่างยิ่งยวดที่มหาบุรุษได้ปฏิบัตินี้มี ๓ วิธีคือ ๑. การควบคุมอวัยวะบางส่วนของร่างกายไว้เข้มงวด ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เช่นการใช้ฟันบนกับฟันล่างขบกันให้แน่น ใช้ลิ้นกดเพดานปากให้แน่นเป็น เวลานานๆ จนทำให้เกิดความเครียดทั่งทั้งร่างกาย ๒. กลั้นลมหายใจ โดยกลั้นให้ถึงที่สุดแล้วผ่อนหายใจทีละน้อยแล้วกลั้นต่อสลับกันไป จนเกิดความเร่าร้อนในร่างกายเป็นอย่างยิ่ง ๓. อดอาหาร โดยบริโภคอาหารเพียงวันละเล็กน้อย พอให้มีชีวิตอยู่ได้ แล้วพยายามอดกลั้นต่อความหิว

พระมหาบุรุษได้ทรงทรมานพระวรกายเป็นเวลาถึง ๖ปี บางครั้งแทบสิ้นพระชนม์ พระกายซูบผอม พระโลมา(ขน)รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้มกระ ดูก เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลง จนทรงท้อพระทัยไม่ทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะตรัสรู้พอดีขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พระอินทร์ถือ พิณสามสายดีดให้ฟัง สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด สายที่สองหย่อนเกินไปดีดไม่ดัง สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง ให้ทำนองเสียงไพเราะ พระอินทร์ดีดพิณสายที่สาม(มัชฌิมาปฏิปทา)ดังออกมาเป็นความว่า ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ ทำอย่างไรก็สีให้กิดเป็นไฟไม่ได้ ถึงอยู่บนบก แต่ยังสดก็สีให้เกิดไฟไม่ได้ ส่วนไม้แห้งที่อยู่บนบกจึงจะสีให้เกิดไฟได้ อย่างแรกเหมือนคนยังมีกิเลสและอยู่ครองเรือน อย่างที่สองเหมือนคนออกบวชแล้ว แต่ใจยังสดด้วยกิเลส อย่างที่สาม เหมือนคนออกบวชแล้วใจเหี่ยวแห้งจากกิเลส พอทรงเห็นหรือได้ยินเช่นนั้น พระมหาบุรุษจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นความเพียรทางกาย แล้วเริ่มกลับ เสวยอาหารเพื่อบำเพ็ญความเพียรทางใจ พวกปัญจวัคคีย์เห็นเช่นนั้นก็คิดว่าพระองค์หมดความเพียรแล้วคงไม่มีโอกาสตรัสรู้แน่ จึงพากันทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

นับตั้งแต่พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา ตอนนี้พระมหาบุรุษเสวยอาหาร จนพระกายมีกำลังเป็นปกติแล้วและวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เช้าวันนั้นนางสุชาดาบุตรสาว ของนายบ้านเสนานิคมได้หุงข้าวมธุปายาส ข้าวมธุปายาส คือ ข้าวที่หุงต้มด้วยนมโคล้วน เป็น อาหารจำพวกมังสวิรัติ ไม่ปนเนื้อ ไม่เจือปลา ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ หุงเสร็จแล้ว นางสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร นางทาสีไปแล้วกลับมา รายงานให้นางสุชาดาทราบว่า เวลานี้ รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวย ได้สำแดงกายให้ปรากฎนั่ง รออยู่ที่โคนใต้ต้นไทรแล้ว นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ ต้นไทรพร้อมด้วยนางทาสีก็ได้เห็นจริงอย่างที่นางทาสีเล่า นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปยาสเข้าไป ถวาย พระมหาบุรุษทรงรับแล้วทอดพระเนตรดูนาง นางทราบพระอาการกิริยาว่าพระมหาบุรุษไม่มี บาตรหรือพาชนะอย่างอื่นที่รับอาหาร นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น ถวายเสร็จแล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี และด้วยความสำคํญหมายว่าพระมหาบุรุษนั้นเป็น รุกขเทพเจ้า

เมื่อนางสุชาดากลับไปบ้านแล้ว พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นออกจากอาสนะ ทรงถือ ถาดทองข้าวมธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จลงสรงน้ำ เมื่อทรงน้ำเสร็จแล้วเสด็จ ขึ้นมาประทับนั่งริมฝั่ง ทรงปั้นข้าวมธุปายาสออกเป็นปั้น รวมได้ ๔๙ ปั้น แล้วเสวยจนหมด ปฐมสมโพธิว่า เป็นอาหารที่คุ้มไปได้ ๗ วัน ๗ หน

เมื่อมหาบุรุษทรงเสวยเสร็จเรียบร้อยแล้วทรงลอยถาดและทรงอธิษฐานว่า ถ้าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ถาดจงลอยทวนกระแสน้ำ เมื่อทรง ปล่อยพระหัตถ์ ถาดนั้นล่องลอยทวนกระแสน้ำไปไกลถึง ๘๐ ศอก ไปจนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายลงไปถึงพิภพของกาฬนาคราช กระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์เสียงดังกริ๊ก พระพุทธเจ้าในอดีต สามองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ และพระกัสสปะ พระมหาบุรุษกำลังจะเป็นองค์ที่ ๔ เสด็จจากทรงลอยถาดอธิษฐานแล้ว เวลาสายขึ้น แดดเริ่มจัดพระมหาบุรุษจึงเสด็จจากชายฝั่ง แม่น้ำเนรัญชราประทับอยู่ที่ดงไม้สาละริมฝั่งแม่น้ำตลอดวัน เวลาบ่ายเกือบเย็นจึงเสด็จไปยัง ต้นพระศรีมหาโพธิ ระหว่างทางที่เสด็จไปยังโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมหาบุรุษได้สวนทางกับ ชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ พราหมณ์โสตถิยะเดินถือกำหญ้าคามา ๘ กำ ได้ ถวายหญ้าคาทั้ง ๘ กำแก่พระมหาบุรุษ พระมหาบุรุษทรงรับ แล้วทรงนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับ ประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมหาบุรุษประทับขัดสมาธิ พระบาทขวาวางทับพระบาทซ้าย และพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ คือหลัง ไปทางต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า

" ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธฺญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้นแม้ว่าเนื้อและ เลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที "

ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนที่พระมหาบุรุษจะตรัสรู้ไม่เพียงกี่ชั่วโมง พระอาทิตย์กำลัง อัสดงลงลับทิวไม้ พระยาวัสสวดีมารหรือพระยามารซึ่งคอยติดตามพระมหาบุรุษอยู่ตลอดเวลา พระยามารตนนี้เคยผจญพระมหาบุรุษมาครั้งหนึ่งแล้ว คือครั้งที่พระมหาบุรุษเสด็จออกจาก เมืองแล้วพระยามารก็เข้ามาห้ามแต่ไม่สำเร็จ เนื่องด้วยพระยามารเกรงว่าถ้าพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็จะพ้นจากอำนาจของตน ทำให้ได้รับความอับอาย ขายหน้า เหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า มารผจญ คราวนี้เป็นการผจญกับพระมหาบุรุษที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกคราว กำลังพลที่พระยามารยกมาครั้งนี้มืดฟ้ามัวดิน มาทั้งบนเวหา บนดิน และใต้บาดาลขนาดเทพเจ้าที่คอยมาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษต่างเผ่นหนีกลับวิมานกันหมด เพราะเกรงกลัวมาร

ปฐมสมโพธิพรรณนาภาพพลมารตอนนี้ได้ว่า " บางจำพวกหน้าแดงกายเขียว บางจำพวกหน้า เขียวกายแดง ลางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง บางหมู่กายลายพร้อมหน้าดำ ลางพวกกายท่อน ล่างเป็นนาค กายท่อนต่ำหลากเป็นมนุษย์ " ส่วนตัวพระยามารเนรมิตคือแขนซ้ายและขวาข้างละ หนึ่งพันแขน แต่ละแขนถืออาวุธต่างๆ เช่น ดาบ หอก ธนู ศร โตมร จักรสังข์ อังกุส(ของ้าวเหล็ก) คทา ก้อนศิลา หลาวเหล็ก ครกเหล็ก ขวานถาก ขวานผ่า ตรีศูล(หลาวสามง่าม)ฯลฯ และยังทรงช้าง ชื่อ นาราคีรีเมขล์ เหตุที่พระยามารมาผจญพระมหาบุรุษทุกครั้ง เพราะพระยามารมีนิสัยไม่อยาก เห็นใครดีเกินหน้าตน เมื่อพระมหาบุรุษทรงพยายามเพื่อจะเป็นคนดีที่สุดในโลก จึงขัดขวางไว้ แต่ ก็พ่ายแพ้พระมหาบุรุษทุกครั้ง ครั้งนี้เมื่อเริ่มยกแรกก็แพ้ แพ้แล้วก็ใช้เล่ห์ คือกล่าวตู่ว่าพระมหา บุรุษมายึดเอาโพธิบัลลังก์ คือตรงที่พระมหาบุรุษทรงประทับนั่งว่าเป็นของตน พระยามารอ้างพวก พ้องบุคคลซึ่งเป็นพวกของตนเป็นพยาน ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงนึกถึงพระบารมี ๓๐ ทัศที่ทรงบำ เพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกจากชายจีวร แล้วทรงชี้พระดัชนีลงยังพื้น พระแม่ธรณี หรือที่มีชื่อจริงว่า สุนธรีวนิดา ก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารีผุดขึ้น จากพื้นปฐพี แล้วกล่าวเป็นพยานมหาบุรุษ พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผมน้ำนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า ทักษิโณทก อันได้แก่น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนเป็น ลำดับมา ซึ่งพระแม่ธรณีเก็บไว้ที่มวยผม เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา กระแสน้ำก็นองท่วม หมู่มาร เสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ ปลาสนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทร ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวดีก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปถึงมหา สาคร พระยามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด เมื่อพระมหาบุรุษเอาชนะมารแล้วนั้น พระอาทิตย์กำลังจะอัสดง ราตรีเริ่มย่างเข้ามา พระมหาบุรุษยังคนประทับนั่งไม่หวั่นไหว ที่โพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัยโดยวิธีที่เรียกว่าเข้าฌาณ พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณที่หนึ่งในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓ ทุ่ม) ญาณที่หนึ่งนี้เรียกว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งในอดีตชาติหนหลังทั้งของตนเองและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ทรงบรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือดับและเกิดของสัตว์โลกตลอดถึงความแตกต่างกันที่ เรียกว่า กรรม พอถึงปัจฉิมยาม(หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สามคือ อาสวักขยญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจ ๔ ความทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์

การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนี้ พระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะก็ดี พระโพธิสัตว์ก็ดีที่เกิดใหม่ก่อนตรัสรู้ว่าพระมหาบุรุษก็ดี ได้กลายเป็นพระนามในอดีตในหนหลัง เพราะตั้งแต่นี้ไปทรงมีพระนามใหม่ว่า " อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า " แปลว่าพระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบโดยพระองค์เอง ขณะที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นทรงมีพระชนมายุได้ ๓๕ ปีพอดี