ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

กระทู้: ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช







    ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช


    ผู้รวบรวม
    นายเกษม ศิริสัมพันธ์
    นางสาวสุนทรี อาสะไวย์
    นางอัจฉราพร กมุทพิสมัย
    สถาบันไทยคดีศึกษา

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ.2454 ที่จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้องของ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับ หม่อมแดง (บุนนาค) ปราโมช ณ อยุธยา มีพี่ร่วมบิดามารดาคือ

    ม.ร.ว.หญิง บุญรับ พินิจชนคดี

    ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

    ม.ร.ว.หญิง อุไรวรรณ ปราโมช

    ม.ร.ว.ถ้วนเท่านึก ปราโมช

    สมรสกับ ม.ร.ว.หญิง พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ค.2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ

    ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช

    ม.ล.หญิง วิสุมิตรา ปราโมช

    การศึกษา

    เริ่มต้นเรียนหนังสือที่บ้านกับ ม.ร.ว.บุญรับ พี่สาวใหญ่จนอ่านหนังสือไทยออกเมื่ออายุ 4 ขวบ

    เมื่อ พ.ศ.2458 ได้เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับที่โรงเรียนวัฒนา (โรงเรียนวังหลัง) และต่อมาได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ ตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 จนมัธยมปีที่ 8 แต่ก่อนจบมัธยมปีที่ 8 ได้ออกไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

    ที่อังกฤษได้เข้าศึกษาระดับมัธยมที่วิทยาลัยเทรนท์ (Trent College ซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทพับลิคสกูล) เป็นเวลา 5 ปีจึงไปเรียนต่อที่ ควีนส์ คอลเลจ (Queen's College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้รับปริญญาตรี เกียรตินิยม (B.A.Honours) ในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (ที่เรียกว่า Modern Greats คือ Philosophy, Politics and Economics หรือเรียกโดยย่อว่า P.P.E) และกลับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2476

    (เมื่อปี พ.ศ.2525 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ไปเยือนประเทศอังกฤษ และได้ไปขอรับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดตามธรรมเนียมการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ซึ่งถือว่าผู้ที่ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมจะได้รับปริญญาโท M.A.Oxon หลังจาก 3 ปี)

    อุปสมบท

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชได้อุปสมบทถวายพระราขกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2493 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เป็นองค์อุปัชฌาย์ และลาสิกขาบทหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รวมเวลาอยู่ในสมณเพศ 50 วัน

    การทำงานด้านการคลังและการธนาคาร

    เมื่อกลับจากการศึกYในประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2476 ได้เข้ารับราชการเป็นครั้งแรกที่กองภาษีประเมินกรมสรรพากร กระทรวงการคลังซึ่งมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงเป็นอธิบดี

    ในระหว่างที่รับราชการอยู่ที่กระทรวงการคลัง ได้เป็นเลขานุการของนายเจมส์ แบกซ์เตอร์ (James Baxter) ที่ปรึกษากระทรวงการคลังอยู่ในช่วงสั้น และกลับมารับราชการที่กรมสรรพากรเมื่อนายแบกซ์เตอร์ ลากลับประเทศอังกฤษ

    เมื่อ พ.ศ. 2478 พระยาไชยยศสมบัติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการธนาคารสยามกัมมาจลทุนจำกัด (ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด ในปัจจุบัน) ได้ชักชวนให้ไปทำงานธนาคาร จึงลาออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยสมุห์บัญชีที่สำนักงานกลางของธนาคารสยามกัมมาจล ถนนทรงวาด และต่อมาได้ย้ายไปเป็นผู้จัดการธนาคารสยามกัมมาจล สาขาลำปาง เป็นเวลา 8 ปี เป็นผู้จัดการที่เป็นคนไทยเป็นคนแรกต่อจากผู้จัดการชาวอังกฤษ งานที่สำคัญงานหนึ่งคือหาทางให้คนไทยหันมาใช้เงินบาทไทยแทนเงินรูปีของพม่า ซึ่งเคยเป็นที่นิยมกันในหมู่คนไทยทางภาคเหนือ

    เมื่อปี พ.ศ. 2486 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ขอตัว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช จากธนาคารสยามกัมมาจล มาทำงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยรับผิดชอบงานทุกอย่างที่ผู้ว่าการมอบหมายให้ ตั้งแต่ร่างกฎหมายให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับกระทรวงการคลัง การพิมพ์ธนบัตร และการวางระบบต่าง ๆ

    งานชิ้นสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคือการริเริ่มพัฒนาระบบการธนาคารของไทยให้ทันสมัยและรวดเร็ว โดยเฉพาะระบบการเคลียร์เช็ค (cheque clearing) ได้ใช้ให้ระบบการหักบัญขีระหว่างธนาคารตามพระราขกฤษฎีการกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 จัดตั้งศูนย์กลางการหักบัญชีหนี้สินของแต่ละธนาคารที่ได้รับเช็คของกันและกัน

    ผลงานที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ บทบาทในการขัดขวางมิให้รัฐบาลในสมัยจอบพล ป.พิบูลสงคราม นำธนบัตร “ดอลลาร์ไทย” ที่ทางรัฐบาลสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนธนบัตรระหว่างสงคราม ออกมาจำหน่ายแก่ประชาชนตามที่ตั้งใจไว้ และบทบาทในการออกพระราชบัญญัติควบคุมเครดิตเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากภาวะสงคราม และการใช้มาตรการจำหน่ายพันธบัตรทองคำเพื่อแก้ภาวะเงินเฟ้อและรักษาค่าเงินบาท

    ลาออกจากธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2489

    ในระยะปลายสงครามโลกครั้งที่สอง และหลังสงครามโลกใหม่ ๆ ประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์เอกชนเกิดขึ้นหลายธนาคาร ม.ร.ว.คึกฤทธิ์มีบทบาทในการก่อตั้งธนาคารใหม่ 2 ธนาคารคือ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ เมื่อ พ.ศ.2487 ในฐานะญาติของผู้ก่อตั้งและรับตำแหน่งรองประธานกรรมการ (พ.ศ. 2513-2524) โดยมี ม.ร.ว.หญิงบุญรับ พินิจชนคดีซึ่งเป็นพี่สาวดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ จนเมื่อ ม.ร.ว.หญิงบุญรับถึงแก่กรรม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จึงได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมาจนถึงแก่อสัญกรรม (พ.ศ. 2524-253

    ในปี พ.ศ.2491 มีส่วนร่วมก่อตั้งธนาคารแหลมทองในฐานะที่คุ้นเคยกับกลุ่ม “นันทาภิวัฒน์” ผู้ก่อตั้งในช่วงแรก

    การรับราชการทหาร

    ในระหว่างที่ทำงานธนาคารสยามกัมมาจลสาขาลำปาง ถูกเกณฑ์ทหาร 2 ครั้งในระหว่างสงครามอินโดจีนและสงครามมหาอาเชียบูรพา (พ.ศ. 2483-2484) เข้าร่วมกองทัพไทยที่ไปตีเมืองเชียงตุง ได้รับพระราชทานยศสิบตรี

    ในปี พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตรี นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

    งานทางการเมือง

    · เป็นผู้ริเริ่มตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย โดยร่วมกับเพื่อนๆ คือ นายสุวิชช พันธเศรษูฐ นายสอ เศรษฐบุตร พระยาสุรพันธเสนี ดร.โชติ คุ้มพันธุ์ และ ม.ร.ว.นิมิตมงคล นวรัตน์ จัดตั้งพรรคการเมืองชื่อว่าพรรคก้าวหน้าเมื่อ พ.ศ. 2488

    · ได้รับเลือกเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรครั้งแรกในจังหวัดพระนคร เขต 3 ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2489

    · เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 (เป็นงานชิ้นแรกในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)

    · เป็นผู้ริเริ่มและจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยยุบพรรคก้าวหน้ามารวมเป็นพรรคการเมืองใหญ่ในปี พ.ศ.2490 โดยมีนายควง อภัยวงศ์เป็นหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค และม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค

    · ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ในคณะรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ (10 พฤศจิกายน 2490 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2491 )

    · ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2491

    · ดำรงดำแหน่งรัฐมนตรีช่วยราชการกระทรวงการคลัง ในคณะรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ (2 กุมภาพันธ์ 2491 ถึง 8 เมษายน 2491 ) โดยมีพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    · รัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ ถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกและได้นำจอมพล ป.พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนเมื่อ 8 เมษายน 2491 พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นฝ่ายค้านในสภา

    · ลาออกจากสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2491 เหตุเพราะไม่เห็นด้วยกับการขึ้นเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

    · เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2491 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และลาออกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492

    · เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502-2511

    · เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2516

    · เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516-2517 (ลาออกจากตำแหน่งประธานสภาเมื่อ 10 ตุลาคม 2517)

    · เป็นผู้จัดตั้งและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคมเมื่อปี พ.ศ. 2517 มีนายบุญชู โรจนเสถียร เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

    · ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 26 มกราคม 2518 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 (ดุสิต)

    · ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2518 ประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2519 และรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงวันที่ 4 เมษายน 2519

    · ในคราวเลือกตั้งทั่วไป 4 เมษายน 2519 สมัครรับเลือกตั้งในเขต 1 (ดุสิต) แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

    · ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญหลังการปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2520

    · ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร เขต 2 สัมพันธวงศ์ บางรัก พระนคร) ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522

    · ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 (สัมพันธวงศ์ บางรัก พระนคร และคลองสาน) ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526

    · วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2529 ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคม และไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นการยุติบทบาททางการเมือง ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับแต่นั้นมา

    · เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคมอีกชั่วคราว และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นการถาวร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534

    งานเขียนและงานหนังสือพิมพ์

    งานเขียนที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกเริ่มตั้งแต่ศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ โดยเป็นบรรณาธิการหนังสือ “สามัคคีสาร” ของนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษ

    ต่อมาเมื่อกลับเมืองไทยแล้ว ได้เขียนบทความภาษาอังกฤษลงในหนังสือพิมพ์ลิเบอร์ตี้ (Liberty) ซึ่งเป็นหนังสือในเครือศรีกรุงและไทยราษฎร์ พ.ศ. 2487 มีนายสอ เศรษฐบุตร (หลวงมหาสิทธิโวหาร) เป็นบรรณาธิการและแปลเป็นภาคไทยลงในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งนายสละ ลิขิตกุล เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ และต่อมาได้เขียนบทความภาษาไทยลงในหนังสือพิมพ์ศรีกรุงด้วย

    ในปี พ.ศ. 2489 เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ ตามคำขอของนายสละ ลิขิตกุล บรรณาธิการในขณะนั้น

    ชีวิตของการเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 มีนายสละ ลิขิตกุล เป็นบรรณาธิการ โดยมี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นทั้งเจ้าของ ผู้อำนวยการ และนักเขียนประจำ งานเขียนมีทั้ง นวนิยาย บทความ รวมทั้งบทบรรณาธิการด้วย

    งานด้านการศึกษา

    · เริ่มชีวิตการเป็นอาจารย์ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2484-2485 เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการธนาคารและเครดิตสถาน ในระดับปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ และสอนวิชาบัญชีและธนาคาร ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี

    · เริ่มสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรกในปี พ.ศ.2487 โดยสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และได้สอนสืบต่อมาเป็นเวลานานกว่าสิบปี

    · ปี พ.ศ.2491 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชในูฐานะสมาขิกสภาพผู้แทนราษฎรได้มีบทบาทร่วมกับหลวงอังคณานุรักษ์และนายใหญ่ ศวิตขาติ ในการเสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษเมื่อคณะรัฐศาสตร์เริ่มเปิดการเรียนการสอนคือ ปี พ.ค.2491 -2492 โดยสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ นอกจาการสอนตามที่หลักสูตรกำหนด ยังได้เสริมความรู้นอกหลักสูตรให้แก่นิสิตทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ปรัชญาและการเมืองไทย

    · เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ.2504 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีบทบาทในการช่วยคณาจารย์ของคณะศิลปศาสตร์ ชี้แจงทำความเข้าใจทั้งกับนักศึกษาและต่อสาธารณชน ผ่านหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ถึงคุณค่าของการศึกษาวิชาความรู้ทั่วไป (Liberal Arts) ก่อนเข้าสู่การศึกษาทางวิชาชีพ และได้รับหน้าที่ลอนในูฐานะอาจารย์พิเศษในหลักสูตรวิชาพื้นฐานของคณะศิลปศาสตร์เป็นครั้งคราว นับแต่แรกที่เปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ.2505 เป็นต้นมา โดยเป็นผู้สอนในวิชาศาสนาเปรียบเทียบ วิชาปรัชญาและวิชาวัฒนธรรมไทย

    · ปี พ.ศ.2513 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาพื้นฐาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดีได้ประทานคำแนะนำแก่คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรว่า ในการปรับปรุงขอให้คำนึงถึงการนำเรื่องของไทยมาประยุกต์ให้มากขึ้น จึงเกิดมีวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาเป็นผู้วางหลักสูตร และวางแผนการสอน โดยแบ่งการสอนเป็นส่วน ๆ มีอาจารย์หลายคนร่วมรับผิดชอบ รวมทั้งได้นิมนต์พระสาลนโสภณเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ปัจจุบันคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มาสอนเรื่องพุทธศาสนา

    หลักสูตรวิชาพื้นฐานและวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทยได้กลายเป็นต้นแบบที่มหาวิทยาลัยอื่น ก็ได้นำไปปรับปรุงการเรียนการสอน จนในที่สุดทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดเป็นนโยบายให้ทุกมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรวิชาพื้นฐานรวมกันอย่างน้อย 30 หน่วยกิต

    พร้อม ๆ กับการสอนวิชาอารยธรรมไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ดำริจัดตั้งโครงการไทยคดีศึกษาขึ้น ตามพระดำริของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดี ซึ่งได้ทรงมอบหมายให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช มาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการไทยคดีศึกษา ในปี พ.ศ.2514 รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย ทั้งในด้านการบริหารและการศึกษาวิจัย การจัดสัมมนาทางวิชาการ สัมมนาสาธิตนาฏศิลป์และดนตรี รวมถึงการจัดแสดงโขนธรรมศาสตร์ และได้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งโครงการไทยคดีศึกษา ขึ้นเป็นสถาบันไทยคดีศึกษา

    · ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษาสืบต่อมาจนถึงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2518 จึงได้ขอลาออก เพื่อไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    · นอกจากที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ และผู้บรรยายพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศในหัวข้อที่หลากหลาย : ปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ ดนตรี นาฏศิลป์ และวัฒนธรรมไทยแขนงอื่น

    · เมื่อ พ.ศ.2516 ได้รับพระราชเสาวณียจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถให้ถวายการสอนเป็นการส่วนพระองค์แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงเข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  2. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช






    งานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย

    · พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาทรงครอบครูพระพิราพแก่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ด้วยพระองค์เองในพิธีไหว้ครูและพิธีครอบโขนละคอนที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ค.2506

    · อัจฉริยภาพทางด้านศิลปะของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ปรากฏในงานเขียนซึ่งมีทั้งงานประพันธ์และงานวิจารณ์ งานแสดงนาฏศิลป์ทั้งโดยตนเอง และโดยการส่งเสริมนาฏศิลปและดนตรีประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่นาฏศิลป์ระดับสูง คือ โขน ละคร ไปจนถึงศิลปะพื้นบ้าน เช่น การเล่นสักวา เพลงเรือ เพลงฉ่อย งานส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะและดนตรีไทย ที่สำคัญที่สุดคือการจัดตั้ง “โขนธรรมศาสตร์” ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2509 เพื่ออบรมให้เยาวชนไทยเข้าใจถึงเรื่องของโขน ซึ่งถือว่าเป็นนาฏศิลป์สูงสุดของไทย

    · ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2528

    เกียรติประวัติด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม

    25 ตุลาคม พ.ศ.2505 ได้รับพระราชทานปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    14 กรกฎาคม พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานปริญญาพาณิชยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    24 มกราคม พ.ศ.2522 ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    31 ตุลาคม พ.ศ.2528 ได้รับพระราชทานปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2529 ได้รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรมประจำปี พ.ศ.2528 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

    11 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานพระเกี้ยวทองคำในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านส่งเสริมภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    16 ธันวาคม พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    1 ธันวาคม พ.ศ.2537 ได้รับปริญญาเทคโนโลยีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

    อื่น ๆ

    · นายกกรรมการบริหารช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ.2504-2530

    · ประธานกรรมการอำนวยการหอพักรัชดาภิเษก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2514-2518

    · ประธานกรรมการบริษัทอุตสาหกรรมวิวัฒน์

    · ประธานกรรมการบริษัทภูมิภวัน

    · ประธานกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ จำกัด

    · ประธานกรรมการบริษัทพรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส

    อสัญกรรม

    การเจ็บป่วยปรากฏเป็นครั้งคราวนับแต่ปี พ.ศ.2525 เดินทางไปรับการตรวจและรักษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แพทย์ต้องผ่าตัดแคลเซียมเกาะกระดูกไขสันหลัง จากนั้นต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ ด้วยโรคประจำตัวคือ เบาหวาน ในปี พ.ศ.2530 เข้ารับการผ่าตัดเส้นหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาในการรักษานานเดือนเศษ นับแต่นั้นมาอาการเจ็บป่วยจากโรคเดิม และโรคแทรกซ้อนปรากฏเป็นระยะ ๆ จนกระทั่ง ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2538 ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช ด้วยระบบการทำงานของอวัยวะภายในเสื่อม และถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 10.58 น. สิริอายุได้ 84 ปี 5 เดือน 20 วัน

    ประวัติการรับราชการและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

    วัน เดือน ปี
    ยศ ตำแหน่ง
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์

    11 พ.ย. 2490
    รัฐมนตรี


    25 ก.พ. 2491
    รัฐมนตรีช่วยราชการกระทรวงการคลัง


    30 พ.ย. 2491
    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์


    1 ม.ค. 2492
    ลาออกจากรัฐมนตรี


    3 ก.พ. 2502
    สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ


    20 มิ.ย. 5511



    16 ต.ค. 2502
    -
    เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)

    5 พ.ค. 2503
    -
    ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)

    5 ธ.ค. 2505
    -
    ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

    4 ก.ค. 2511
    สมาชิกวุฒิสภา


    5 พ.ค. 2512

    - ทุติยจุลจอมเกล้าพิเศษ (ท.จ.ว.)

    7 พ.ค. 2514
    ศาสตราจารย์พิเศษ


    16 ธ.ค. 2515
    สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


    10 ธ.ค. 2514
    สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ


    23 ธ.ค. 2516
    สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


    28 ธ.ค. 2516
    ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


    5 ธ.ค. 2517
    -
    มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

    12 มี.ค. 2518
    นายกรัฐมนตรี


    5 พ.ค. 2518
    -
    ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

    6 ธ.ค. 2518
    -
    มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

    30 ธ.ค. 258
    -
    เหรียญพิทักษ์เสรีขนซั้นที่ 1 (ส.ช.ชั้น 1 )

    8 ม.ค. 2519
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


    29 ก.พ. 2519
    นายกองใหญ่


    2528
    ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์


    27 พ.ค. 2530
    -
    เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ร.ด.ม.(ศ.)

    ต.ค. 2530
    -
    เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)

    26 ต.ค. 2531
    พลตรี นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็ก รักษาพระองค์



    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

    ได้รับเมื่อคราวตามเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ พ.ศ.2503

    1. KING OF BELGIUM

    - Grand officer

    2. KINGDOM OF DENMARK

    The order of the Dannebrog

    - Commander 1st Degree

    3. REPUBLIC OF FRANCE

    The order of the BIack Star (Ordre de 1’Etoile Noir du Benin)

    - Commander with Star

    4. REPUBLIC OF ITALY

    The order of Merit (A1 Merito della Republica Italiana)

    - Grand officer

    5. GRAND DUCHY OF LUXEMBOURG

    The Civil and Military Order of Adolph of Nassau (Ordre du Merite Civil et Militaire d' Adolphe du Nassau)

    - Grand Officer

    6. MALAYSIA

    Darjah Yang Mucia Pangkuan Negara seri Maharaya Mangku Negara. (The Grand Knight of the Most Distinguished Order of the Defender of the Realm.)

    7. KINGDOM OF THE NETHERLANDS

    The Order Orange-Nassau (De Ordre van Orange-Nassau)

    - Grand Cross

    8. KINGDOM OF NORWAY

    The Order of Saint Olaf (Sanct Olavs Orden)

    - Commander with Star

    9. KINGDOM OF SPAIN

    The civil order of Merit (order deI Merito Civil)

    - Grand Cross

    10. KINGDOM OF SWEDEN

    The Royal order of the Northern Star (Kunglige Nordstjarnneorden)

    - Commander 1st Class

    จบประวัติ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เรียบเรียงโดย สถาบันไทยคดีศึกษาเพียงเท่านี้



    ผลงานด้านวรรณศิลป์

    บทความ ข้อเขียน เรื่องสั้น เรื่องยาว เรื่องแปล สารคดี บทปาฐกถา คำอภิปราย

    คำสนทนา ที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนหรือพูดในวาระต่าง ๆ มานับเป็นเวลาสิบ ๆ ปีนั้น ได้มีผู้รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือเล่มไว้ทั้งหมดไม่น้อยกว่า ๑๑๕ เล่ม บางเล่มได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง เช่น นวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน ไผ่แดง หลายชีวิต ซูสีไทเฮา เป็นต้น

    หนังสือเล่มแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือหนังสือชื่อ "บทความบางเรื่อง" จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์เขษม เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นหนังสือรวมบทความทางเศรษฐกิจ

    หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ในโอกาสฉลองอายุครบ ๗๔ ปี คือ "ชรากถา" จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์สยามรัฐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘

    รายชื่อหนังสือประมาณ ๑๑๕ เล่มที่รวบรวมนำเสนอต่อไปนี้ได้จากการค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง และห้องสมุดอื่น ๆ อีกบางแห่ง

    ๑. หนังสือประเภทสังคม

    เมืองไทยกับคึกฤทธิ์ ปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทย วัยรุ่น การอภิปรายหน้าพระที่นั่ง ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับประชากร

    ๒. บทความและบทวิจารณ์

    คึกฤทธิ์จากหน้า ๕ สยามรัฐ ๒๕๐๘ ๒๕๑๐ - ๒๕๑๖ และ ๒๕๑๘ บทความบางเรื่อง ข้าวนอกนา คึกฤทธิ์กับนักศึกษา เก็บเล็กผสมน้อย ตอบปัญหาหัวใจ ปัญหาประจำวัน โลกกับคน รวมนิราศตอนใหม่และบทวิจารณ์ พรหมปกรณ์กิจอนุสรณ์ ตอบปัญหาประจำวัน

    ๓. ประเพณีและวัฒนธรรม

    ประเพณีการตาย ประเพณีการบวชและประเพณีการแต่งงาน พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา วรรณคดีไทยกับนาฏศิลป์ไทย โครงกระดูกในตู้

    ๔. ประเภทเรื่องแปล

    อากิตางากะ สิวโนสุเกะ ราโชมอน หรือประตูผี จอนะธัน ลิฟวิงส์ตัน นางนวล

    ๕. ประเภทการศึกษา

    ห้วงมหรรณพ การศึกษากับการสืบทอดและเสริมสร้างวัฒนธรรม

    ๖. ประเภทศาสนา

    ปัญหาเกี่ยวกับพุทธศาสนาเซ็นและนิกายวัชรยาน ญี่ปุ่น - พุทธศาสนา คึกฤทธิ์กับพุทธศาสนา วิวาทะระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กับท่านพุทธทาสภิกขุ พุทธศาสนากับสังคมไทย พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์ ฯลฯ

    ๗. ประเภทประวัติศาสตร์

    กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ สังคมสมัยอยุธยา พม่าเสียเมือง พื้นฐานทางวัฒนธรรมไทย พระสาสนโสภณโบราณ - อคติโบราณคดี

    ๘. ประเภทเศรษฐกิจ

    การธนาคารพาณิชย์ การอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจของไทย นิราศต่างแดน

    ๙. ประเภทสารคดี

    เมืองมายา ครอบจักรวาล โลกส่วนตัวของผม รายละเอียดในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐ ถกเขมร คึกฤทธิ์ช่วย...ในโอกาสทำบุญฉลองครบ ๕ รอบของคุณธนิต อยู่โพธิ์

    ๑๐. ประเภทการเมือง

    มลายูรำกริช เมืองในเมืองนอก ยิว รายงานประชาชนทางสถานีกระจายเสียงและโทรทัศน์ คนของโลก เขมร สีหนุ ชวาซูการ์โน ประมวลจากรายการเพื่อนนอนทางวิทยุ คึกฤทธิ์กับสังคมเมืองไทย รู้จักเพื่อนบ้าน ฉากญี่ปุ่น ถอดหัวโขน ประชาธิปไตยของชาวบ้าน ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ประชุมพงศาวดารประชาธิปไตย ปีศาจการเมือง พระนคร สถานการณ์รอบบ้านเรา สงครามผิว สงครามร้อน สงครามเย็น สัปดาห์จร อเมริกาในเอเซียอาคเนย์ เมืองไทยในสังคมโลก เรื่องของโลกตะวันตก คึกฤทธิ์ถกเมืองไทย คึกฤทธิ์พูด คึกฤทธิ์ว่า คึกฤทธิ์วิจารณ์ เจ้าโลก การเมืองในปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศคอมมูนิสต์

    คึกฤทธิ์กับปัญหาของไทยสมัยเลือกตั้งไม่เรียบร้อย โลกส่วนตัวของคอมมูนิสต์ โลก ๔ ทวีป สงครามปาก สงครามเวียดนาม โลกใหม่ สถานการณ์รอบบ้านเรา เพื่อนคุยวัฒนธรรมและกษัยธรรม ทรรศนะคึกฤทธิ์ ทุนนิยม สังคมประชาธิปไตย เบ้งเฮ็ก ฝรั่งศักดินา การบ้านสำคัญกว่าการเมือง ปาฐกถาของคึกฤทธิ์ ปาฐกถาสองเรื่อง

    ๑๑. ประเภทนวนิยาย

    ซูสีไทเฮา สามก๊ก สี่แผ่นดิน หลายชีวิต สายฝน ไผ่แดง

    ๑๒. ประเภทเรื่องสั้น

    สวัสดีลมร้อน รวมเรื่องสั้น เรื่องของคนรักหมา คึกฤทธิ์พ่อครัวหัวป่าก์ หยดหนึ่งของทะเล



    มีต่อตามลิ้งนี้คะ http://www.dharma-gateway.com/ubasok...-main-page.htm





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน