สุลักษณ์ ศิวรักษ์


ข้อมูลจาก เวบคลังปัญญาชนสยาม
http://www.geocities.com/siamintelle...lak/others.htm

เกิด
วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม เป็นบุตรคนเดียวของ นายเฉลิมและนางสุพรรณ

บรรพบุรุษเดินทางมาจากเมืองจีน ตั้งรกรากและแต่งงานกับคนไทย ตั้งแต่สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พื้นฐานครอบครัวได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนเป็นหลัก แต่ได้ ผสมผสาน จนกลายเป็นครอบครัวไทย ที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท

ตระกูลดั้งเดิมประกอบอาชีพทางการค้าเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อย ที่รับราชการ ในช่วงที่เกิด ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำเกือบถึง ขีดสุด จึงแยกครอบครัวมาอยู่ที่ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ ซึ่งเป็นบ้าน ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงมัธยมต้น

บิดาได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ต้องช่วยตัวเอง และอยู่ในความอุปการะของมารดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา

เรียน
เริ่มหัดเขียนหนังสือจากบ้านครูชุ่ม ข้างวัดทองนพคุณ ธนบุรี จากนั้นจึงเข้าโรงเรียนนเรศวิทยา เรียนได้ไม่นานโรงเรียนก็ถูกยุบ จึงย้ายไปเข้าโรงเรียนศิริศาสตร์และเซนต์แมรี หรือสตรีประชากร จนอายุ ๑๐ ขวบ

เข้าเรียนชั้นประถม ๔ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ซึ่งเป็นโรงเรียน คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาธอลิก ในปีพ.ศ. ๒๔๘๖ และต้องพัก การเรียนไปสามปีเพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงนี้ได้ บวชเรียนอยู่ที่วัดทองนพคุณ จากนั้นจึงกลับมาเรียนต่อ ในชั้นมัธยม ๒ ในปีพ.ศ. ๒๔๘๙

เมื่ออยู่ชั้นมัธยม ๖ ได้ออกหนังสือพิมพ์ในห้องเรียน "ยุววิทยา" อันเป็นเหตุให้ขัดแย้งกับครู

ในชั้นมัธยม ๘ ได้รับเลือกเป็นบรรณาธิการ "อุโฆษสาร" ซึ่งเป็นนิตยสารประจำโรงเรียน

ในปีพ.ศ. ๒๔๙๖ เดินทางไปศึกษาต่อที่อังกฤษ เรียนอยู่ห้าปี จึงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี จากวิทยาลัยเซนต์เดวิด เมืองแลมปีเตอร์ แคว้นเวลล์

ครอบครัว
สมรสกับนิลฉวี มีบุตรเป็นชาย ๑ คน เป็นหญิง ๒ คน

งาน
กลับมาทำงานที่เมืองไทยต้นปี ๒๕๐๕ อยู่ที่แผนกข่าว ของสถานทูตอังกฤษและสหรัฐอยู่สักพัก

จากนั้นจึงมาทำงานเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์ ช่วงปีพ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๑๒ ทำ "สังคมศาสตร์ปริทัศน์" นิตยสารรายเดือน ซึ่งถือเป็นเวทีทางปัญญาและแหล่งรวมปัญญาชนในยุคนั้น

ถัดมาทำงานที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ

ในท้ายที่สุดออกมาทำงานมูลนิธิ ตั้งสำนักพิมพ์และร้านหนังสือ ทำงานเขียนหนังสือ เดินทางไปบรรยายในที่ต่าง ๆ รับหน้าที่สอนบ้าง โดยเฉพาะช่วงหลังเน้นเรื่อง Buddhism Engagement

อัตชีวประวัติ
เขียนไว้แล้วในหนังสือ ช่วงแห่งชีวิต

งานหนังสือ
๒๕๔๐ - ปัจจุบัน

· อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย 2543

๒๕๓๐ - ๒๕๓๙

· สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย 2539

· แหวกแนวคิด 2538

· ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธเจ้า และมหาสาวิกาสมัยพุทธกาล 2534

· อโปโลเกีย (โสกราตีสแก้คดี) 2534

· ยูไทโฟร (วิธีการของโสกราตีส) 2534

· ศิลปะแห่งการแปล 2534

· ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง 2534

· ที่สุดแห่งสังคมสยาม 2533

· มนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ 2533

· สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน 2532

· ควายไม่ฟังเสียงซอ 2532

· ปาฐกถาเรื่อง แนวคิดทางปรัชญาไทย 2532

· แนวคิดทางปรัชญาการเมืองซอ

· อริสโตเติล 2532

· คำประกาศความเป็นไท หรือลายไทกับปัญญาชนสยาม 2531

· ซากผ่าขวาน 2531

· คันฉ่องส่องวรรณกรรม 2531

· ดังทางด่า 2531

· ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน 2531

· ลอกคราบวัฒนธรรมไทย (มาเข้าใจวัฒนธรรมกันดีกว่า) 2531

· เสฐียรโกเศศตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2531

· ภูฐาน สวรรค์บนดิน 2531

· คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย 2531

· ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่ 2530

· ทหารกับการเมืองไทย 2530

· ศาสนากับการพัฒนา 2530

· บันทึกของคนเดินทาง 2530

· สยามวิกฤต 2530

๒๕๒๐ - ๒๕๒๙

· ต่างฟ้า ต่างฝัน 2529

· ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง 2528

· ลอกคราบสังคมไทยเพื่ออนาคต 2528

· ลอกคราบสังคมเพื่อครู 2528

· เรื่อง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์ 2528

· ก้าวแรกของปรัชญาฝรั่ง รวมเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก 2526

· ศิลปะแห่งการแปล 2526

· สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล 2529

· ศิลปะแห่งการพูด 2526

· ศาสนากับสังคมไทย 2525

· สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตามทัศนะของ ส. ศิวรักษ์ ในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2493-พ.ศ.2523 2525

· รวมคำอภิปราย บทความและบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ที่เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 2525

· อยู่อย่างไทย ในสมัยศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมปาฐกถา ส. ศิวรักษ์ ที่แสดงใน ร.ศ.199 2525

· พูดไม่เข้าหูคน 2524

· คันฉ่องส่องครู 2524

· ผู้ใหญ่ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ทั้งที่กะล่อนและไม่กะล่อน) 2524

· โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญา 2523

· บุคคลร่วมสมัยในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2523

· ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2523

· ศาสนากับสังคมไทย 2523

· อนาคตของไทยในสายตา ส. ศิวรักษ์ 2522

· อนาคตและอุดมคติสำหรับไทย 2522

· คันฉ่องส่องพระ 2522

· คันฉ่องส่องศาสนา 2522

· พระผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน พระธรรมเจดีย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522

· ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522

· คุยกับกรมหมื่นพิทยลาภฯ 2520

๒๕๑๐ - ๒๕๑๙

· ศาสนากับการพัฒนา 2519

· นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง 2519

· คุณความดีสอนกันได้หรือไม่ - แปลจากเมโน 2518

· จดหมายเหตุจากถนอมถึงคึกฤทธิ์ (ผ่านสัญญา และเสนีย์) 2518

· ตายประชดป่าช้า 2516

· กินน้ำเห็นปลิง 2516

· อดีตของอนาคต 2516

· ปรัชญาการศึกษา 2516

· ปีแห่งการอ่านหนังสือของ ส. ศิวรักษ์ 2515

· สมุดข้างหมอน 2514

· จากยุววิทยา ถึงวิทยาสารปริทัศน์ 2514

· ตามใจผู้เขียน 2514

· วาระสุดท้ายของโสกราตีส 2514

· โสกราตีสในคุก 2514

· วิธีการของโสกราตีส 2514

· คุยคนเดียว ของส. ศิวรักษ์ 2513

· ปัญญาชนสยาม 2512

· นอนต่างแดน 2512

· สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ 2512

· ชวนอ่านและวิจารณ์หนังสือต่างๆ ของส. ศิวรักษ์ 2512

· สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศและพระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้สึก 2512

· ไทยเขียนฝรั่ง 2511

· แนะหนังสือสำหรับผู้หญิง ของ ส.ศิวรักษ์ 2513

· สรรพสาระ ของ ส. ศิวรักษ์ 2511

· ลายสือสยาม 2510

· ความคิด-ความอ่าน และ นานาสังวาส ส.ศิวรักษ์ 2510

· พระดีที่น่ารู้จัก 2510

· ฝรั่งอ่านไทย และแบบอย่างการแปลหนังสือ กับเรื่องแปลต่าง ๆ 2510

· ของดีจากธิเบต รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต 2510

๒๕๐๐ - ๒๕๐๙

· หนังสือสนุก 2508

· จดหมายรักจากอเมริกา 2508

· คันฉ่องส่อง ส.ศิวรักษ์ 2508

· โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญาโดยบริบูรณ์ 2507

· ทฤษฎีแห่งความรัก 2507

· ช่วงแห่งชีวิตของ ส.ศิวรักษ์ แต่ก่อนเกิดจนจบการศึกษาจากเมืองอังกฤษ 2507

· ศิวพจนาตถ์ 2506

· เสด็จอังกฤษ 2505

· มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า 2504

· สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2501

บทความ

· จดหมายรักจาก ส. ศิวรักษ์ ถึง ไมเกิล ไรท์

· กล้ากับกลัว เท่ากับมีกึ๋นหรือไม่มี

· ค้นหาพระพุทธเจ้า

· ทำตัวเราให้เท่ากับผู้อื่น

· ดิเรก ชัยนาม ที่คนไทยควรรู้จัก

· ปีเตอร์ ปอนด์

· ซิเซโร

· แกลด สโตน

· อัลเลน กินสเบิร์ก

· การเมืองว่าด้วยการถวายความจงรักภักดี

· จดหมายจากซอยหมอเหล็งสู่ซอยสันติภาพ

· บุคคลสำคัญของไทยกับดวงตราไปรษณียากรและธนบัตร

· บทวิจารณ์หนังสือ พระราชาผู้อภิวัฒน์

· บทวิจารณ์หนังสือ A People History of the United Sate

· บทสรุปจากหนังธิเบต Kundun

· ศาลประชาชนกับการประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจ

ปาฐกถา
· อำนาจการเมืองขั้วเดียว

· การปฏิรูปมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล

· ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท ในทางพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 20 กรกฎาคม 2545

· แฉเบื้องหลังเสี้ยนหนาม งานร้อยปีปรีดี พนมยงค์

· คานธีกับทางเลือกออกจากบริโภคนิยม




ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.dharma-gateway.com/ubasok...-main-page.htm