สมพร เทพสิทธา

กระทู้: สมพร เทพสิทธา

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    สมพร เทพสิทธา







    สมพร เทพสิทธา

    ผู้ทำคุณต่อพระพุทธศาสนา

    โดย ทองทิว สุวรรณทัต

    นิตยสารโลกทิพย์ ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๓ เดือนพฤษภาคม (ฉบับหลัง) ๒๕๒๗


    เมื่อห้าสิบปีเศษที่ฝานมาภายในจังหวัดนครปฐมอันเงียบสงบร่มเย็น สมดังเป็นเมืองพุทธที่แท้จริง เด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง เดินตามคุณยายต้อย ๆ เข้าไปในวัด

    เมื่อพระภิกษุแสดงพระธรรมเทศนาอบรมธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกา เด็กน้อยผู้นี้ก็นั่งพับเพียบสำรวมพนมมือฟังเทศน์กับเขาไปด้วย

    แม้จะรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ก็ชอบไปวัดฟังธรรมกับคุณยายเป็นประจำ ทั้งมีจิตเมตตาชอบช่วยเหลือคนที่มีความทุกข์ยากโดยให้อาหารแก่ขอทานบ้าง ให้สตางค์ที่เป็นค่าอาหารกลางวันแก่ขอทานบ้าง เป็นนิจสิน

    เด็กผู้ชายคนเดียวกันนี้ ต่อมาได้เป็นนายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถึงหกปีติดต่อกัน ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    นอกเหนือจากอีกสิบกว่าตำแหน่ง ที่ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการซึ่งล้วนแต่เป็นกิจการงานเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมทั้งสิ้น

    โดยเฉพาะในปี ๒๕๒๖ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอันนับได้ว่าเป็นเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านผู้นี้

    จากเกียรติประวัติที่น่าสนใจดังกล่าวมานี้ ทำให้ผู้เขียนต้องขอเข้าพบ คุณสมพร เทพสิทธาอดีตเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ เมื่อห้าสิบปีก่อนผู้นั้น เพื่อจะได้นำชีวิตของท่านที่ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนาอย่างกว้างขวางสุดจะพรรณนาให้หมดได้ มาเสนอต่อท่านผู้สนใจในธรรม ณ โอกาสนี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ไห้เห็นว่า คนเรานั้นสามารถที่จะกระทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม โดยสติปัญญาและกำลังเท่าที่จะมีได้อย่างอเนกอนันต์ ถ้าเขาผู้นั้นมีความตั้งใจจริงเสียอย่างเดียว

    การศึกษา
    คุณสมพร เทพสิทธา เกิดวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของท่านขุนกสิกรพิศาลและคุณนายลิ้นจี่ เทพสิทธา

    จบการศึกษาชั้นมัธยมที่ ๖ จากโรงเรียนนครปฐมวิทยาลัย แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี พร้อมกับสมัครเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนได้ปริญญาบัญชีบัณฑิต และธรรมศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง แล้วได้รับทุน ก.พ.ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาตามความต้องการของกรมการค้าต่างประเทศได้ปริญญาโท ทางการบริหารธุรกิจ สาขาการค้าต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

    เริ่มแรกที่ชักจูงให้คุณสมพร เทพสิทธา เกิดศรัทธาในพระศาสนา สืบเนื่องมาจากผู้ใหญ่ของครอบครัว ล้วนแต่เป็นพุทธศาสนิกชนที่สมบูรณ์ไปด้วยการประพฤติและปฏิบัติ

    นับแต่ท่านบิดาที่เคยอุปสมบทอยู่ในสมณเพศมาเป็นเวลานาน และท่านมารดากับคุณยายก็เข้าวัดฟังเทศน์พังธรรมเป็นเนืองนิจ ทั้งมิจิตศรัทธาในการบุญเสมอมา

    คุณสมพรซึ่งติดตามผู้ใหญ่ไปวัดวาอยู่ทุกครั้ง ก็ได้รับการอบรมกล่อมเกลามาแต่เยาว์วัยให้มีใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

    ชั้นปัญญาชนก็ยังไม่เข้าใจ
    ต่อมาเมื่อเติบโต ได้ศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้สนใจในพระศาสนายิ่งขึ้นเห็นหนังสือธรรมะเป็นไม่ได้ต้องหยิบขึ้นอ่านทันที

    ทั้งพยายามปฏิบัติตนให้อยู่แต่ในศีลในธรรม ไม่ยอมประพฤติออกนอกลู่นอกทางเป็นอันขาดจนเพื่อน ๆ พากันเรียกว่า ท่านมหา บ้าง ทิด บ้า

    และบางคนก็พบว่า คุณสมพรคงจะผิดหวังในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ มาแล้ว จึงหันมาสนใจในธรรมะธรรมโมเช่นนี้

    แต่คุณสมพรก็หาได้เอาคำพูดมาเป็นอารมณ์ไม่ แต่กลับไปนึกในอีกทางหนึ่ง นั่นก็คือ

    มีความห่วงใยในพระพุทธศาสนาขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่นิสิตนักศึกษาที่เป็นคนไทยชั้นปัญญาชนยังไม่เข้าใจในพระศาสนาอย่างแท้จริง

    อุปัชฌาย์ ๑๐๑ ปี
    ครั้นเมื่อครบปีบวช คุณสมพรได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐมโดยมี พระเทพเจติยาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ ซึ่งปัจจุบันมีอายุได้ ๑๐๑ ปี

    “เป็นพระภิกษุที่มีอายุมากที่สุดในขณะนี้ก็ว่าได้” คุณสมพรบอกผู้เขียน

    “แม้อายุท่านจะมากขนาดนี้แต่ความจำดีเหลือเกิน ไม่มีหลง ผมไปกราบมนัสการทุกปีก็ยังจำผมได้ ยังระลึกถึงผม ยังพูดถึงผมอยู่เสมอ ท่านสุชีโวภิกขุ ก็เป็นลูกศิษย์ของท่าน"

    จากการอุปสมบทครั้งนี้ คุณสมพรกล่าวว่า

    “ตลอดเวลาสามเดือนที่ผมบวชอยู่นี้ ได้รับอะไรมากมายเหลือเกิน ท่านอุปัชฌาย์ท่านสอนทั้งทางปริยัติและทางปฏิบัติ

    ได้ฝึกนั่งกรรมฐาน โดยลุกขึ้นมาทำสมาธิในเวลาตี ๔ ของทุกวัน มิได้ขาดด้วยวิธีอานาปานสติ จับลมหายใจเข้าออก ภาวนา พุท-โธเรื่อยไป.... ”

    สำคัญที่ใจสงบ
    และก็ด้วยการปฏิบัติภาวนากรรมฐานในครั้งนี้ ความสงสัยที่เคยมีอยู่ว่า

    ชาติหน้าจะมีจริงหรือไม่?

    สวรรค์มีจริงหรือไม่? ก็ได้รับคำตอบไปในตัว

    “ผมจึงเชื่อว่า ชาติหน้ามีจริง! สวรรค์มีจริง! คนเราตายไปแล้วต้องเกิด เชื่อในกฎแห่งกรรม

    ผู้ใดทำสิ่งใดไว้ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว และทำให้ผมได้รับคำตอบเกี่ยวแก่ชีวิตดีที่สุดว่า

    ความสำคัญของชีวิตมิใช่ขึ้นอยู่ที่เงิน ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สมบัติแต่อยู่ที่จิตใจที่สงบ เท่านั้น !

    ระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ คุณสมพรได้อ่านหนังสือเรื่อง “ใต้ร่มกาสาวพัสตร์” ของ ท่านสุชีโวภิกขุ หนังสือธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุ ก็ยิ่งทำให้สนใจในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น

    “ทำให้ผมรู้สึกว่า ผมเป็นหนี้บุญคุณพระพุทธศาสนาอยู่มาก ก็เลยตั้งปณิธานว่า เมื่อสึกออกมาแล้ว จะขอทำงานรับใช้พระศาสนาตลอดไป

    ยุวพุทธิก
    และก็ด้วยปณิธานดังกล่าว ประกอบกับความห่วงใยในพระศาสนา คุณสมพรกับหมู่คณะซึ่งมีคุณเสถียร โพธินันทะ คุณบุญยง ว่องวาณิช ฯ ได้ร่วมใจกันตั้งเป็นกลุ่มยุวพุทธิกะ

    มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านธรรมะต่าง ๆ โดยท่านสุชีโวภิกขุได้ให้การสนับสนุนโดยให้จัดมีขึ้นภายในวัดกันมาตุยาราม

    และต่อมาได้ร่วมใจกันตั้งเป็นสมาคมของกลุ่มหนุ่มสาว ให้ชื่อว่า ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมแรก โดยมีคุณบุญยง ว่องวาณิช เป็นนายกสมาคม

    ทั้งนี้เข้าใจว่า คำว่า “ยุวพุทธิก” ซึ่งหมายถึง ชาวพุทธที่ยังเยาว์นี้ ท่านสุชีโวภิกขุจะเป็นผู้ตั้งชื่อให้

    “คำว่าเยาว์ในที่นี้ เราหมายถึงเยาว์ในวัย เยาว์ในความรู้ ผมเองเป็นยุวพุทธิกจนอายุ ๕๘ ก็ยังเป็นยุวพทธิกอยู่ จนคนเขาล้อว่า น่าจะป็นชราพุทธิก ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร ยังหาคนมาแทนไม่ได้" คุณสมพรบอกพลางหัวเราะ

    ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยนั้นมีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะในบรรดาเยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวแก่พระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ร่วมทำนุบำรุงส่งเสริมและพิทักษ์พระศาสนา

    ๖ ปีที่ติดต่อ
    เมื่อครั้ง คุณบุญยง ว่องวณิชเป็นนายกสมาคมคนแรก ในปีที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ นั้น คุณสมพร มิได้ช่วยกิจการของสมาคมเท่าใดนัก เพราะต้องออกเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และได้กลับมาในปี ๒๔๙๕

    ครั้นถึงปี ๒๔๙๕ คุณสมพรเทพสิทธา ได้รับเลือกเป็นนายกยุวพุทธกสมาคมแห่งประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๖ ปี

    "ตอนแรกผมยังจำได้ ยุวพุทธิกสมาคม จัดพิมพ์หนังสือพุทธประวัติประกอบภาพ ๗ เล่มด้วยกัน พิมพ์อยู่หลายครั้ง เราเอาไปเผยแพร่ตามโรงเรียนต่าง ๆ นักเรียนชอบกันมาก

    ได้คุณเสถียร โพธินันทะเป็นกำลังสำคัญ เพราะคุณเสถียรพูดเก่ง เป็นเด็กที่พูดแล้วผู้ใหญ่ต้องฟัง ความจำดีเลิศ คำพูดสละสลวยเหมือนตัวหนังสือ จึงได้รับเชิญไปพูดในที่ต่าง ๆ

    พอไปพูดก็เอาหนังสือไปจำหน่ายทุกครั้ง แล้วเราจัดให้มีบรรยายธรรมที่วัดกันมาตุยารามทุกวันอาทิตย์ตอนบ่าย คุณเสถียรเป็นผู้บรรยายธรรม ตอบปัญหาธรรม มีคนเข้าฟังวันละเป็นจำนวนพัน ๆ คน

    พอคุณเสถียรพูดเสร็จ เราก็เอาเรื่องที่พูดไปพิมพ์ด้วย ทั้งมีการตั้งชมรมพุทธศาสนาตามโรงเรียนต่าง ๆ

    “ตอนนั้นทางสมาคมมีรถยนต์กับเขาคันหนึ่ง เราก็เอารถออกต่างจังหวัดไปเผยแพร่พระศาสนา ไปพูด ไปบรรยาย ตามแต่จะได้รับเชิญมา เรียกได้ว่า เราทำงานกันอย่างจริงจัง.ทำงานอย่างสนุกไม่มีเบื่อหน่าย ท้อถอยกันเลยครับ” คุณสมพรเล่าให้ฟัง

    ก็และการทำงานด้วยความสนุกสนาน จริงจัง ไม่ท้อถอยเบื่อหน่ายของคณะกรรมการยุวพุทธิกสมาคมเช่นนี้ กรมการศาสนาจึงได้เห็นความสำคัญ ได้ช่วยทางด้านการเงินแก่สมาคมฯ นับตั้งแต่นั้น และต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้ไนราชูปถัมภ์

    สภายุวพุทธิก
    ปัจจุบันยุวพุทธิกสมาคมได้ขยายออกไปถึง ๕๐ กว่าสมาคมในจังหวัดต่าง ๆ และในปี ๒๕๐๓ ได้มีการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศขึ้นที่จังหวัดสงขลา

    ที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้งสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติขัน เพื่อเป็นศูนย์รวมของยุวพุทธิกสมาคมทั้งหมดภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้ตั้งอยู่ที่ ศาลาธรรมชินราชปัญจบพิธ วัดเบญจมบพิตร

    คุณสมพร เทพสิทธา ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปีนั้น จนกระทั่งปัจจุบัน

    สมาธิไม่ใช่เรื่องยาก
    เมื่อหันมาพูดเรื่องการทำสมาธิอีกครั้ง คุณสมพร เทพสิทธากล่าวว่า

    มีคนส่วนมากเข้าใจว่า การทำสมาธิเป็นเรื่องที่ปฏิบัติยากจะต้องไปอยู่วัดอยู่วา จะต้องละต้องทิ้งอะไรให้หมด เป็นการเข้าใจผิดแท้ ๆ

    ความจริงเรื่องของสมาธิเป็นเรื่องของชีวิตประจำวันนี่เอง

    เพราะปกติธรรมดาเราต้องมีสมาธิกันอยู่แล้ว เช่น อ่านหนังสือก็ต้องมีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิจะอ่านรู้เรื่องได้อย่างไร ทำงานก็ต้องมีสมาธิ มิเช่นคนงานก็จะผิดพลาดหมด แต่สมาธิที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงสมาธิอ่อน ๆ

    “ผมยังจำได้ว่า ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งมีการประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ปี ๒๕๒๕ ที่ พระราชวังสวนจิตรลดาพระองค์ได้รับสั่งเป็นเวลาเกือบ ๒ ชั่วโมง ได้ทรงรับสั่งถึงเรื่องสมาธิว่า

    "สมาธิ ไม่ใช่เป็นเรื่องยากอะไร เป็นเรื่องที่เราจะด้องทำ และทุกคนก็มีอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยเท่านั้น

    แต่ถ้าเรามีน้อย เราก็เอาสมาธิที่มีน้อยไปหาสมาธิที่มากและยิ่งใหญ่ เปรียบเสมือนเรามีไม้ขีดหรือไฟฉาย แล้วเราเอาไม้ขีดหรือไฟฉายนี่ เข้าไปในห้องที่มันมืดคลำหาสวิตช์เพื่อเปิดไฟฟ้า!"

    น่าลองดู
    สำหรับคุณสมพร เทพสิทธาเองนั้น แม้จะมีราชการ งานจรมัดตัวจนแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อน แม้กระทั่งวันเสาร์-วันอาทิตย์ก็ต้องเดินทางไปบรรยายตามจังหวัดต่าง ๆ มิได้หยุดหย่อน

    ถึงกระนั้น คุณสมพรก็จะเจียดเวลาก่อนจะเข้านอน หันมาไหว้พระสวดมนต์แล้วนั่งสมาธิทุกค่ำคืน ทั้งก่อนจะไปทำงานในตอนเช้ามืดก็จะไหว้พระสวดมนต์แล้วเจริญสมถภาวนา อีกครั้งหนึ่ง

    “ถ้าใครปฏิบัติได้ จะมีจิตเยือกเย็น ไม่รุ่มร้อนกระวนกระวาย แม้จะมีเรื่องราวอุปสรรคใด ๆ ก็จะค่อยพิจารณาหาทางแก้ไขด้วยความมีสติ

    เละอีกประการหนึ่ง ถ้าเราปฏิบัติสมาธิอยู่เสมอแล้ว แทนที่จะไปนั่งมองความผิดของผู้อื่นกลับหันมาพิจารณาตัวเองเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถูกต้องกับหลักธรรมของพระพุทธองค์ ผมเห็นว่าผู้ไม่เคยปฏิบัติน่าจะปฏิบัติดู ทดลองดู

    พระต้องปฏิบัติ
    “เมื่อผมใช้เวลาทำกรรมฐานตลอดเวลา ๓ เดือนที่ผมอุปสมบทอยู่นั้น ผมจึงได้เห็นความจริงอยู่สิ่งหนึ่ง นั่นก็คือ

    พระภิกษุที่เรียนแต่ปริยัติไม่ได้ปฏิบัติ มักจะสึกออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าท่านจะลองหันไปปฏิบัติแล้ว ผมเชื่อว่าท่านคงจะไม่อยากสึกอย่างเด็ดขาด

    ผมเองบวชแล้วมีความดื่มด่ำในพระศาสนาเป็นอย่างมาก เกือบจะไม่ได้สึกออกมาแล้ว” คุณสมพรพูดอย่างจริงใจ

    “พระท่านมัวแต่มุ่งปริยัติ ไม่ไต้ปฏิบัติ ก็เลยไม่ได้ปฏิเวธ”

    มุ่งช่วย
    “สำหรับตัวผมเองนั้น ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ดื่มด่ำในรสพระธรรมเป็นอย่างยิ่ง พอสึกออกมาผมก็เขียนหนังสือชื่อว่า “ชาติหน้าและสวรรค์มีจริงหรือไม่?”

    โดยไปให้ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ช่วยตรวจ และขอความกรุณาจากท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เขียนคำนำให้ แล้วพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่รักใคร่นับถือก่อนจะไปนอก

    “เมื่อได้กล่าวถึงอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์นั้น ก็อยากจะพูดว่า ผมเคารพนับถือท่านมาก

    เมื่อครั้งเรียนกฎหมายกับท่านในสมัยนั้น ท่านเป็นเลขาธิการพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ผมยังเคยคิดว่า ท่านอาจารย์เป็นเลขาธิการพุทธสมาคม วันหนึ่งผมคงจะได้เข้าไปเป็นกรรมการพุทธสมาคม ไปทำงานเรื่องพระศาสนากับเขาบ้าง” คุณสมพรเล่าถึงความหลัง

    วิชาศีลธรรม
    จากการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะทำงานปรับปรุงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ช่วยแก้ไขหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยบรรจุวิชาศีลธรรมไปในหลักสูตรด้วย

    “เท่าที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการละเลยวิชาศีลธรรมมาหลายปี ไปเอาคำ “จริยธรรม” มาใช้แทน ซึ่งเป็นจริยธรรมสากล เอาหลักธรรมของศาสนาสากลต่าง ๆ มารวมกัน

    ไม่มีการเรียนประวัติของพระพุทธเจ้า ไม่มีการเรียนถึงหลักธรรมะ ทำให้เยาวชนของเราไม่รู้เรื่องในพระพุทธศาสนา เพราะนักวิชาการที่ไปศึกษาต่างประเทศ ไปหลงความรู้ของต่างประเทศ

    ผมได้พยายามต่อสู้ ให้เยาวชนต้องเรียนวิชาศีลธรรม ต้องมีความรู้ในพระพุทธศาสนา อย่าทิ้งหลักธรรมะ ต้องเรียนประวัติของพระพุทธเจ้า

    และท่านปลัดกระทรวง อาจารย์สมาน แสงมะลิ ท่านเห็นชอบด้วย ให้ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาว่าด้วยพุทธศาสนา โดยเชิญผมไปร่วม แล้วก็มีท่านเจ้าคุณโสภณคณาภรณ์ ท่านเจ้าคุณราชวรมุนี พระเทพโสภณ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพไปช่วยกันคิดแก้ไขปรับปรุงจนเรียบร้อยประกาศใช้แส้วครับ” คุณสมพรเล่าให้ฟังอย่างละเอียด

    กรรมใด...ใครก่อ
    นอเกจากนี้ คุณสมพร เทพสิทธา ยังเป็นประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมความรู้ทางศาสนาแก่เยาวชน จึงได้จัดให้มีการทำหนังสือส่งเสริมการอ่านเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยเลือกเอาเรื่องที่เกี่ยวแก่พระพุทธศาสนามาพิมพ์ให้นักเรียนอ่าน

    “ผมมีความยินดีที่จะเรียนให้ทราบว่า ดร.เย็นใจ เลาหวณิชย์ ได้นำเรื่องกฎแห่งกรรม (กรรมใด...ใครก่อ) ใน.”โลกทิพย์” มาเสนอเป็นหนังสือให้นักเรียนอ่าน เพราะเห็นว่า เรื่องที่ลงใน “โลกทิพย์” มีประโยชน์มาก

    การที่คนเราไปทำบาปก็เพราะขาดหิริโอตัปปะ ไม่เชื่อว่า ตายแล้วเกิด คิดว่า ไปทำบาปกรรม คนไม่รู้ ไม่เป็นไร ถึงได้มีการพูดกันว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป ซึ่งมันผิด จึงพยายามเผยแพร่เรื่องกฎแห่งกรรม ให้ไต้อ่านทั่ว ๆ กัน” คุณสมพรบอก



    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  2. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: สมพร เทพสิทธา




    คุณธรรมนำหน้า
    ทุกวันนี้ ที่บ้านเมืองของเรามีคดีอุกฉกรรจ์เกี่ยวแก่การฉุดคร่าอนาจาร ฉกชิงวิ่งราว ไปจนถึงปล้นสะดม เกิดขึ้นบ่อยครั้งนั้นเป็นเพราะศีลธรรมของคนไทยเสื่อมลงไปมาก คุณสมพรได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

    “รัฐบาลมีแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ปี ๒๕๐๓ นักวางแผนคิดว่า ถ้าเราสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญ ผู้คนมีรายได้สูง อาชญากรรมจะลดน้อยลง

    แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ใจคนมันต่ำ จิตคนมันเสื่อม เพราะเราขาดพัฒนาจิตใจ ไม่ให้ความสำคัญของศีลธรรม

    เร่งแต่พัฒนาวัตถุ คนยิ่งมี มันก็ยิ่งโลภ ท้องมันอิ่มแต่ใจมันหิว มันถึงได้เกิดคอรัปชั่นกัน ฆ่าฟันกัน

    ผมจึงได้เสนอท่านนายกรัฐมนตรี ขอให้พัฒนาจิตใจ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ คราวก่อนเราพัฒนาเอาเศรษฐกิจนำหน้าสังคมและจิตใจ บ้านเมืองมันจึงเกิดวุ่นวาย

    มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อ นายนอร์มัล จาคอปมาศึกษาวิจัยเกี่ยวแก่เมืองไทย เขากลับไปเขียนหนังสือว่า

    เมืองไทยนี่ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา รถราตึกรามบ้านช่องทันสมัยหมด แต่ไม่มีระเบียบวินัย ถือกันว่า ทำได้ดังใจคือไทยแท้ ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบเป็นของโก้เก๋ ขับรถก็ฝ่าไฟแดง จอดรถผิดที่ก็โก้เก๋ สร้างทางม้าลายก็ไม่เดินข้ามกัน

    เราขาดการพัฒนาจิตใจกันมานานแล้ว จึงขอให้เร่งพัฒนาเอาจิตใจมานำหน้าสังคมและเศรษฐกิจเสียที เราต้องการคุณธรรมนำหน้าครับ !”

    หยุดกันวันพระดีไหม
    ในเรื่องที่มีผู้เรียกร้องให้ทางราชการ เปลี่ยนวันหยุดราชการจากเสาร์-อาทิตย์ มาเป็นวันโกนวันพระนั้น คุณสมพร เทพสิทธาได้ให้ความเห็นว่า

    “ผมเกรงจะมีปัญหาและความไม่พร้อมหลายอย่างประการแรก แน่ใจละหรือว่าถ้าทางราชการเปลี่ยนไปหยุดราชการในวันโกน-วันพระ จะมีข้าราชการเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมกัน

    ประการที่สอง เราแน่ใจละหรือว่าวัดต่าง ๆ พร้อมที่จะให้ข้าราชการมาศึกษาและปฏิบัติธรรม เรามีพระที่มีความรู้ความสามารถพอแล้วหรือยัง?

    ได้มีผู้ถามผมถึงปัญหาเหล่านี้หลายท่าน ซึ่งผมก็ยังตอบไม่ไต้จึงอยากจะเพียงเสนอว่า ในวันพระขอให้หน่วยราชการผลัดเปลี่ยนให้ข้าราชการไปวัดที่ใกล้เคียง เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมกันสักชั่วโมง

    โดยให้หน่วยราชการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป จะเหมาะกว่า สมควรกว่า ขอให้ลองดูก่อนและอยากจะฝากให้ชาวพุทธที่เรียกร้องให้ราชการหยุดวันพระรอไว้เป็นอันดับสองก่อนเถิดครับ อย่าเพิ่งให้เป็นอันดับแรกเลย”

    สร้าง สวด เสก
    ไหน ๆ ก็ได้สนทนามาถึงเรื่องนี้กันแล้ว คุณสมพร เทพสิทธาก็อยากจะฝากข้อคิดให้แก่วงการสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายสักเล็กน้อยว่า

    “การเข้าวัดทุกวันนี้ คนกลัวในการบุญเสียแล้ว คือกลัวถูกเรี่ยไร”

    ผู้ใหญ่ในวงรัฐบาลท่านหนึ่งถึงแก่กล่าวกับผมว่า พระทุกวันนี้มีแค่ ๓ ส. คือ สร้าง สวด แล้วก็เสก ไม่มี ส.ตัวที่ ๔ คือ สอน

    ท่านบอกว่า บางวัดเอาแต่สร้าง เช่นสร้างเมรุหมดไป ๒-๓ ล้านบาท แต่ปีหนึ่งมีศพเผาไม่กี่ศพ ท่านเห็นแล้วเสียดายเงินแทน ทำไมไม่อาเงินเหล่านั้นไปสร้างโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์.

    และอีกประการหนึ่ง การที่เถรสมาคมพิจารณาให้สมณศักดิ์แก่พระภิกษุที่สร้างวัดใหญ่ ๆ โต ๆนั้น เลิกเสียทีได้ไหมครับ? ทำไมท่านไม่หันมาพิจารณาผลงานที่สั่งสอนอบรมประชาชนบ้าง

    ท่านผู้ใหญ่ท่านนั้นบอกแก่ผมว่า ท่านเห็นแม้แต่คณะสงฆ์ยังเห็นแก่วัตถุเป็นใหญ่ ไม่พิจารณาพระที่สร้างคน ไปพิจารณาพระที่สร้างวัตถุเช่นนี้ บ้านเมืองเรามันถึงลำบาก ผมจึงขอฝากเอาไว้ด้วย”

    กลุ่มอาสาพิทักษ์ฯ
    เนื่องจากปัจจุบัน พระพุทธศาสนากำลังถูกระรานทั้งภายในและภายนอกประเทศ คุณสมพร เทพสิทธาในฐานะดำรงตำแหน่งประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายกสมาคมศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย จึงได้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มอาสาพิทักษ์พระพุทธศาสนา

    เพื่อให้ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกที่ดี ร่วมกันพิทักษ์ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาให้สถิตสถาพรตลอดไป คู่กับ สถาบันชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้ทำพิธีเปิดกลุ่มอาสาพิทักษ์พระพุทธศาสนาขึ้นในวันวิสาขบูชา เมื่อ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคติธรรมแก่กลุ่มอาสาพิทักษ์พระพุทธศาสนา

    “เราได้จัดอบรมกลุ่มอาสาพิทักษ์พระพุทธศาสนา (อ.พ.พ.) มาแล้วสองรุ่น จึงอยากจะให้มีสมาชิก เป็นจำนวนแสน จำนวนล้าน อย่างลูกเสือชาวบ้านบ้าง สมาคมใดกลุ่มใดสนใจ เชิญติดต่อไปที่ผม ที่ สภาสังคมสง-เคราะห์ ถนนราชวิถี ตรงกันข้ามกับ โรงพยาบาลประสาท

    เราพร้อมที่จะจัดเจ้าหน้าที่ไปอบรมให้ ไปบรรยายในหลักการต่าง ๆ เพื่อเราจะได้มาเป็นกำลังช่วยกันพิทักษ์ปกป้องรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสถาพรสืบไปชั่วกาลนาน” คุณสมพรกล่าว

    ตำแหน่งมากมาย
    ขอได้โปรดพิจารณาดูเถิดว่า ตำแหน่งการงานในปัจจุบันของคุณสมพร เทพสิทธามากเพียงใดและทานสามารถปฏิบัติได้อย่างไร จึงทำให้ผลงานสมบูรณ์ ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าเป็นผู้ที่ปราศจากสมาธิแล้วจะไม่สามารถดำเนินงานให้ลุล่วงไปได้

    ตำแหน่งราชการในอดีต

    ๑. เศรษฐกรพิเศษ กรมการค้าต่างประเทศ

    ๒. รองปลัดกระทรวงเศรษฐการ

    ๓. อธิบดีกรมเศรษฐการพาณิชย์

    ๔. อธิบดี กรมการค้าภายใน

    ๕. อธิบดี กรมพาณิชย์สัมพันธ์

    ๖. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

    ๗. อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ตำแหน่งทางราชการในปัจจุบัน
    ๑. ที่ปรึกษาการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์

    ๒. ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจเกี่ยวกับส่งเสริมปฏิบัติด้านวัฒนธรรม และวินัยแห่งชาติ (ศสว.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

    ตำแหน่งทางศาสนา
    ตำแหน่งทางศาสนาและสังคมในอดีต

    ๑. นายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ๒. ประธานสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ๓. นายกสมาคมนิยมไทย

    ตำแหน่งทางศาสนาและสังคมในปัจจุบัน
    ๑. ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ๒. นายกสมาคมศาสนสัมพันธ์

    ๓. ประธานกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนด้านศีลธรรม วัฒนธรรมและจิตใจ (ศูนย์ ป.อ.ศ.) สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเ1ทศไทย

    ๔. ประธานคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาและบริหารทุนการศึกษา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ และรองประธานคณะกรรมการดำเนินงาน มูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน

    กรรมการ
    กรรมการในคณะทำงานต่าง ๆ
    ๑. กรรมการในคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาสังคมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

    ๒. รองประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ โครงการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

    ๓. กรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

    ๔. ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมความรู้ทางศาสนาแก่เยาวชน

    ๕. กรรมการส่งเสริมศีลธรรม วัฒนธรรม และวินัยของชาติ

    งานเผยแพร่
    งานเผยแพร่ศาสนา ศีลธรรม

    ๑. ไปบรรยายและร่วมอภิปรายเรื่องเกี่ยวแก่ ศาสนา ศีลธรรม วัฒนธรรม ตามสถานศึกษา สมาคม และ องค์การต่าง ๆ ที่เชิญมาเป็นประจำ

    ๒. เขียนบทความ และหนังสือเรื่อง ศาสนา ศีลธรรม และวัฒนธรรม หลายเล่ม เช่น ธรรมะจะช่วยแก้ปัญหาบ้านเมืองได้อย่างไร ศาสนากับเยาวชน การปลูกฝังค่านิยมในเยาวชนไทย คุณธรรมในชีวิตสังคมฯ

    ๓. พูดในรายการ หมุนตามวัน ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และรายการของสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ทางสถานีวิทยุยานเกราะ ๗๙๒ สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง

    ๔. เริ่มจัดตั้งสมาคมศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เพื่อป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ

    ๕. ได้ริเริ่มจัดตั้งค่ายพัฒนาจิตใจที่วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

    ๖. จัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับศาสนาและศีลธรรมที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล การสัมมนาผู้นำศาสนาที่วัดสวนป่าน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่วัดคีรีวงศ์ ที่วัดเบญจมพิตร กรุงเทพมหานคร

    ฯลฯ

    สูญเสีย
    จากการจัดตั้ง และการดำเนินงานของกลุ่มอาสาพิทักษ์พระพุทธศาสนา (อ.พ.พ.) ให้แพร่หลายทั่วประเทศ เพื่อจะได้กำลังจากเยาวชนจากจังหวัด อำเภอ และตำบลทุกหมู่บ้านอาสาพิทักษ์และปกป้องภัยของพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับที่เคยมีลูกเสือชาวบ้านนับจำนวนแสนจำนวนล้านมาแล้ว คุณสมพร เทพสิทธา สูญเสียกำลังสำคัญในการเผยแพร่งานดังกล่าวไปอย่างน่าเสียใจยิ่ง

    ดังปรากฏจากข้อความที่คุณสมพร เขียนในบทความที่ให้ชื่อว่า "รำลึกถึง พลเอก จรวย นิ่มดิษฐ์" ซึ่งมีข้อความบางตอนว่า

    “ฯ... การเสียชีวิตของ พ.อ.จรวย นิ่มดิษฐ์ จึงเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ โดยเฉพาะ สำหรับ ข้าพเจ้าซึ่งมีความรักใคร่และศรัทธาเลื่อมใส พ.อ.จรวย นิ่มดิษฐ์ มาตลอดระยะเวลาเกือบ ๘ ปี ที่รู้จักกันข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าพลอยได้รับเคราะห์กรรมจากการเสียชีวิตของ พ.อ.จรวย นิ่มดิษฐ์ ด้วยเสมือนถูกตัดแขนและขาเพราะในขณะนี้ พ.อ.จรวย นิ่มดิษฐ์ เป็นกำลังสำคัญ ของพระพุทธศาสนา และสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ฯลฯ"






    นายสมพร เทพสิทธา รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทสมาคม องค์การ มูลนิธิ ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๒๖ ที่ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา

    ในโอกาสนี้ ได้พระราชทานพระราโชวาทว่า “ธรรมะเป็นเหมือนแสงสว่างของชีวิตที่ทำให้คนตั้งอยู่ในความดี และได้พบความสุข การให้ธรรมทานเป็นการทำประโยชน์ที่สำคัญ ขอให้ท่านทำงานเผยแพร่ธรรมะและทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาต่อไป”


    รับรางวัล
    จากการทำงานด้วยความเสียสละ และทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อการพระศาสนาสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ จึงได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จากกรมการศาสนา

    โดย คุณสมพร เทพสิทธาเป็นผู้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อันเป็นเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตสมกับที่ได้ทำงานดังตั้งปณิธานเอาไว้เมื่อ ๓๐ ปีเศษ

    และนี่คือชีวิตของบุคคลหนึ่งที่สละชีวิต เพื่อการพระศาสนาโดยแท้ !

    ถาม - ตอบ
    คุณสมพร เทพสิทธา ได้เรียบเรียงเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติทางพุทธศาสนา โดยได้เรียบเรียงให้เป็นไปในลักษณะของ คำถาม คำตอบ ทำให้เข้าใจและ จดจำได้แม่นยำมากขึ้น

    ขอท่านผู้อ่าน ลองได้อ่านดู

    ๑. ถาม ศาสนาประจำชาติไทยคือศาสนาอะไร ?

    ตอบ พระพุทธศาสนา

    ๒. ถาม พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับศาสนาอย่างไร ?

    ตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นศาสนูปถัมภก"

    ๓. ถาม ใครเป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา ?

    ตอบ สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา พระนามเดิมว่า สิทธัตถะ (แปลว่าผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่ต้องการ)

    ๔. ถาม พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงพระนามว่าอะไร ?

    ตอบ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ชมพูทวีป (สมัยนั้นยังไม่เรียกว่า อินเดีย)

    ๕. ถาม ประสูติเมื่อไร ที่ไหน ?

    ตอบ ประสูติเวลาใกล้เที่ยง วันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ที่สวนลุมพินี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล) ขณะพระราชมารดาเสด็จไปเมืองเทวทหะนคร

    ๖. ถาม มีหลักฐานเกี่ยวกับการประสูติอย่างไร ?

    ตอบ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินใหญ่ จารึกไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่นั่นว่า เป็นที่ประวัติของพระพุทธเจ้า ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

    ๗. ถาม มีใครทำนายอนาคตของพระสิทธัตถะกุมาร ไว้อย่างไร ?

    ตอบ อสิตดาบส (กาฬเทวิล) ทำนายว่า ถ้าอยู่ในฆราวาสวิสัยจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าออกทรงผนวชจะได้เป็นพระศาสดาเอกของโลก

    ๘. ใครเลี้ยงดูพระสิทธัตถะกุมารขณะทรงพระเยาว์ ?

    ตอบ พระนางประชาบดีโคตมี พระมาตุจฉา (น้า) ได้ทำหน้าที่เลี้ยงดูอย่างดีโดยตลอด แทนพระราชมารดาซึ่งสิ้นพระชนม์หลังจากประสูติไต้ ๗ วัน

    ๙. ถาม ทรงได้รับการศึกษามาอย่างไร ?

    ตอบ ได้รับการศึกษาอย่างดียิ่ง เช่น วิชาศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการจากสำนักอาจารย์วิศวามิตร ทรงศึกษาวิชาทุกสาขา และทรงศึกษาได้ดีมาก

    ๑๐. ถาม ทรงอภิเษกสมรสกับใคร เมื่อไร ?

    ตอบ ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา (พิมพา) พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ ผู้ครองนครเทวทหะ เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา

    ๑๑. ถาม ทรงมีชีวิตสมรสอยู่นานเท่าไรจึงทรงผนวช ?

    ตอบ จนพระชนม์ ๒๙ พรรษา และมีโอรสองค์หนึ่ง ชื่อพระราหุล จึงเสด็จออกทรงผนวช

    ๑๒. ถาม พระราชบิดามีพระประสงค์จะให้พระสิทธัตถะเป็นอะไรในอนาคต ?

    ตอบ ทรงประสงค์จะให้เป็นกษัตริย์สืบแทนพระองค์ต่อไป

    ๑๓. ถาม ทรงคำเนินการอย่างไร ?

    ตอบ โปรดให้สร้างปราสาทสาม (๓ ฤดู) แวดล้อมด้วยหญิงสาวสวยตลอดเวลา เพื่อให้เพลิดเพลินกับความสุขทางโลกอย่างเต็มที่

    ๑๔. เหตุไรจึงเสด็จออกทรงผนวช ?

    ตอบ ทรงเห็นการณ์ไกลว่ามนุษย์เกิดมาแล้วย่อมมีความทุกข์ เนื่องจากเกิดแก่เจ็บตายทั่วทุกคนไม่มีทางเลี่ยงได้ ทรงมีความเมตตาต่อมนุษย์ทั้งปวง จึงตัคสินพระทัยสละทุกอย่างเสด็จออกทรงผนวช เพื่อค้นหาทางพ้นทุกข์ให้มนุษย์ชาติประสบความสุข

    ๑๕. ถาม วิธีเสด็จออกทรงผนวชทำอย่างไร ?

    ตอบ เสด็จออกจากพระราชวังเวลากลางคืน โดยมีม้าทรงชื่อกัณฐกะ พร้อมด้วยนายฉันนะ มหาดเล็กตามเสด็จ ทรงเปลื้องเครื่องฆราวาสออก ปลงพระเกศา ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ให้นายฉันนะกลับวัง เสด็จแยกไปแต่พระองค์เดียวในเพศของนักบวช

    ๑๖. ถาม ทรงศึกษาทางพ้นทุกข์จากอาจารย์ไหน ?

    ตอบ ชั้นต้นทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบส ลามบุตร ตามลำดับ

    ทรงศึกษาได้อย่างรวดเร็ว จนจบหลักสูตร แต่เห็นว่ายังไม่สามารถช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ได้ดังต้องการ จึงเสด็จออกค้นคว้าด้วยพระองค์เอง

    ๑๗. ถาม ทรงค้นคว้าด้วยพระองค์เองที่ไหนต่อไป ?

    ตอบ เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แถบต้นน้ำคะยา แคว้นมคธ ได้ทรงพบกับ ปัญจ-วัคคีย์ ฤๅษีทั้ง ๕ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้ง ๕ ได้ช่วยเหลือปรนนิบัติพระองค์

    ๑๘. ถาม ทรงบำเพ็ญการค้นคว้าอย่างไร ?

    ตอบ ทรงบำเพ็ญตบะ โตยการทรมานพระกายให้ได้รับความลำบากอย่างรุนแรง (อัตตกิลมถานุโยค) เรียกว่าทุกรกิริยา อาทิทรงลดการเสวยพระกระยาหารลงเหลือแต่น้อย จนซูบผอมหมดกำลัง เหลือแต่หนังเอ็นหุ้มกระดูกก็ยังไม่พบทางตรัสรู้ เมื่อทรงเห็นทางไม่สำเร็จแน่แล้ว จึงทรงกลับเสวยพระกระยาหารอีกเพื่อให้ทรงมีพละกำลัง ที่จะทรงทำการค้นคว้าต่อไป

    ๑๙. ถาม ปัญจวัคคีย์มีความเห็นอย่างไร ?

    ตอบ เห็นว่าพระองค์ทรงท้อถอยที่จะพากเพียรต่อไป ทางสำเร็จคงจะไม่มี จึงพากันเสื่อมศรัทธาและทิ้งพระองค์ไปเสีย

    ๒๐. ถาม ในที่สุดได้ตรัสรู้ตามลำดับอย่างไร ?

    ตอบ ได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามลำดับญาณ ดั4นี้

    (๑) บุพเพนิวาสานุสติญาณ.ทรงระลึกชาติก่อน ๆ ว่าทรงทำกรรมอะไรไว้ จึงไปเกิดเช่นนั้น ๆ

    (๒) จุตูปปาตญาณ ทรงรู้การเกิด การตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม

    (๓) อาสวักขยญาณ ทรงรู้อริยสัจ ๔ คือ ความจริงเรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และทางไปสู่ความดับทุกข์ (มรรคมี องค์ ๘)

    ๒๑. ได้ตรัสรู้ที่ไหน เมื่อไร ?

    ตอบ เมื่อวันขึ้น๑๕ ค่ำเดือน ๖ (เดือนวิสาขะ) ใต้ต้นโพธิ (อัสสัตถะ) ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ซึ่งเรียกว่าชมพูทวีป ในครั้งกระโน้น

    ๒๒. ถาม ธรรมะที่ได้ตรัสรู้ เรียกว่าอะไร ?

    ตอบ เรียกว่า อริยสัจ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ ซึ่งยังไม่มีใครเคยค้นพบมาก่อน นอกจากพระฯทธองค์

    ๒๓. ถาม ในระยะเริ่มแรก ทรงคิดเผยแพร่ธรรมให้ผู้ใด ?

    ตอบ คิดจะเผยแพร่ให้อาฬารดาบส ที่เคยสอนพระองค์มา แต่อาจารย์ทั้ง ๒ มรณภาพแล้ว จึงเสด็จไปทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ตำบลอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

    ๒๔. ถาม ผลการเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์เป็นอย่างไร ?

    ตอบ พระโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรมก่อนคนอื่น คือ เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา คือ สำเร็จเป็นพระโสดาบันและเป็นพระอริยะสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนาทำให้เกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นครั้งแรก

    ๒๕ ถาม พระพุทธเจ้าตรัสรู้เอง หรือผีพระเจ้าเบื้องบนมาเข้าดลใจให้ตรัสรู้ ?

    ตอบ ตรัสรู้เอง เพราะพระพุทธเจ้าไม่มีพระเจ้ามาเกี่ยวข้อง พระองค์ทรงเป็นมนุษย์และเป็นโอรสกษัตริย์ มีการศึกษาอย่างดีเยี่ยม มีพระปัญญาสูง

    ๒๖. พระสูตรที่เป็นปฐมเทศนา เรียกชื่อว่าอะไร มีใจความอย่างไร ?

    ตอบ เรียกว่าธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีใจความสำคัญ ๒ ตอน คือ



    มีต่อคะ





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน
     
  3. รูปส่วนตัว DAO

    DAO said:

    Re: สมพร เทพสิทธา




    (๑) ทรงละเว้นส่วนสุด ๒ อย่างคือ ความมัวเมาในกามสุขที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค และการทรมานร่างกายที่เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค ไม่ควรปฏิบัติ ไม่เป็นทางไปสู่ความสำเร็จ

    (๒) ทรงดำเนินตามทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นทางที่ทำให้เกิดญาณและตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามที่กล่าวมาแล้ว

    ๒๗. ถาม ทรงมีพระประสงค์อย่างไรเมื่อตรัสรู้แล้ว ?

    ตอบ ทรงปรารถนาจะเผยแพร่พระธรรมให้กว้างขวางออกไปเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ เมื่อมีพระสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ ๖๐ รูป แล้วก็ให้แยกสายออกไปเผยแพร่ธรรมะ สายละรูป ตามบ้านเมืองใหญ่น้อย

    ๒๘. ถาม วัดพระพุทธศาสนาวัดแรกชื่อวัดอะไร ?

    ตอบ วัดเวฬุวนาราม พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงเลื่อมใสศรัทธาจัดถวาย

    ๒๙ ถาม มีเหตุสำคัญอะไรเกิดขึ้นที่วัดนี้ ?

    ตอบ ในวันเพ็ญเดือน ๓ (เดือนมาฆะ) มีพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งพระพุทธเจ้าทรง เป็นอุปัชฌาย์บวชให้เอง มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่าหัวใจของพระพุทธศาสนา วันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนาเรียกกันว่า วันมาฆบูชา นับเป็นเวลา ๙ เดือนเต็มหลังจากตรัสรู้แล้ว

    ๓๐. ถาม หัวใจพระพุทธศาสนาคืออะไร ?

    ตอบ มี ๓ ประการ คือ

    (๑) ไม่ทำบาปทั้งปวง

    (๒) ทำความดีให้ถึงพร้อม

    (๓) ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส

    ๓๑.. ถาม พระพุทธกิจประจำวันของพระพุทธเจ้ามีอะไรบ้าง ?

    ตอบ มี ๕ ประการ

    (๑) เวลาใกล้รุ่งทรงสอดส่องพิจารณาว่าวันรุ่งขึ้นจะควรเสด็จไปโปรดผู้ใด

    (๒) เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาตและโปรดผู้ที่ทรงกำหนดไว้

    (๓) เวลาบ่ายทรงแสตงธรรมแก่บุคคลทั่วไป

    (๔) เวลาหัวค่ำทรงสอนพระภิกษุ สามเณร

    (๕) เวลาดึกทรงแก้ปัญหาและสอนเทวดา (เทวดา มี ๓ ประเภท ๑.วิสุทธิเทพ ๒.อุปัตติเทพ ๓.สมมติเทพ)

    ๓๒. ถาม ทรงเผยแพร่พระศาสนาอยู่นานเท่าไร ?

    ตอบ ทรงตรากตรำเผยแพร่เป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี. จนพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

    ๓๓. ถาม เสด็จปรินิพพานที่ไหน ?

    ตอบ ที่สาละวันอุทยาน เมืองกุสินาราระหว่างต้นสาละคู่

    ๓๔. ถาม ใครขอเข้าเฝ้าเป็นคนสุดท้ายก่อนเสด็จปรินิพพาน ?

    ตอบ สุภัททะปริพาชก มีความเลื่อมใสขอเข้าเฝ้า จนได้อุปสมบท และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

    ๓๕. ถาม ก่อนเสด็จปรินิพพานได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนพระองค์

    ตอบ ไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนพระองค์ตรัสว่า พระธรรมวินัยที่ทรงแสดงและบัญญัติไว้แล้วจะเป็นผู้แทนพระองค์

    ๓๖. ถาม พระปัจฉิมโอวาทมีความว่าอย่างไร ?

    ตอบ ทรงตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยัง(ทำ) ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

    ๓๗. ถาม ถวายพระเพลิงที่ไหน ?

    ตอบ มัลลกษัตริย์ถวายพระเพลิงในวันที่ ๘ จากวันปรินิพพาน ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ใกล้เมืองกุสินารา ส่วนพระบรมสารีริกธาตุได้แบ่งกันไปในบรรดามัลลกษัตริย์และกษัตริย์อื่น ๆ เพื่ออัญเชิญไปบรรจุในพระสถูปเพื่อประชาชนจะได้สักการบูชา.

    ๓๘. ถาม สังเวชนียสถานคืออะไร p

    ตอบ สถานที่ตั้งแห่งความสังเวช ที่ที่ให้เกิดความสังเวช สถานที่ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ พุทธศาสนิกชนควรไปนมัสการและระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า

    ๓๙. สังเวชนียสถานมีกี่แห่ง คืออะไรบ้าง ?

    ตอบ มี ๔ แห่ง คือ

    ๑. สถานที่ประรติ สวนลุมพินี

    ๒. สถานที่ตรัสรู้ อุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบัน ตำบลพุทธคยา)

    ๓. สถานที่ปฐมเทศนา อิสิปตนมฤคทายวัน (ปัจจุบัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี)

    ๔. สถานที่ปรินิพพาน สาลวันอุทยาน เมืองกุสินารา (ปัจจุบัน เมืองกาเซียร์)

    ๔๐. ถาม ที่ประเทศไทยใช้พุทธสักราช (พ.ศ.) มีความหมายอย่างไร ?

    ตอบ ถือปีถัดไปจากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๑ ปี

    ๔๑. ถาม นิพพานคืออะไร ?

    ตอบ นิพพานได้แก่สภาพที่ปราศจากการกิเลสทั้งหลายและพ้นจากความทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก ซึ่งเป็นยอดปรารถนาของชาวพุทธ

    ๔๒. ถาม นิพพาน ๒ ชนิด คืออะไร ?

    ตอบ ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสแต่ยังมีชีวิตอยู่

    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลส และสิ้นชีวิต

    ๔๓. ถาม พระไตรปิฎกคืออะไร

    ตอบ เป็นคัมภีร์พระธรรมคำสั่งสอนข1องพระพุทธเจ้า มี ๓ หมวด แต่ละหนวดเรียกว่า ปิฎก ได้แก่

    ๑. พระวินัยปิฎก ได้แก่ศีล และระเบียบ

    ๒. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ได้แก่เรื่องที่ทรงแสดงธรรมในโอกาสต่าง ๆ

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ เรื่องธรรมล้วน ๆ คือเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

    ๔๔. ถาม สังคายนาคืออะไร ?

    ตอบ คือ การชำระพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้องเป็นแบบเดียวกัน สังคายนา ครั้งที่ ๑ ทำเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ๓ เดือน มีพระอรหันต์เข้าประชุม ๕๐๐ รูป

    ๔๕. ถาม พระพุทธศาสนาแพร่เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร ?

    ตอบ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่นอกชมพูทวีป ธรรมทูตสายที่ ๘ มีพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เดินทางมาเผยแพร่แดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ ประเทศ ไทย พม่า มอญ ทุกวันนี้

    ๔๖. ถาม องค์ประกอบของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?

    ตอบ ได้แก่

    ๑. พระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดาของพระศาสนา ตรัสรู้พระธรรม

    ๒. พระธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    ๓. พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และสืบต่อ พระพุทธศาสนา

    ๔๗. ถาม พระสงฆ์มีกี่ระดับ

    ตอบ มี ๒ ระดับ

    ๑. สมมุติสงฆ์ ที่อุปสมบทถูกต้องตามพระธรรมวินัยศึกษาปฏิบัติธรรม แต่ยังมิได้บรรลุมรรคผล

    ๒. อริยสงฆ์ หมายถึงท่านผู้รู้ธรรม สามารถกำจัดกิเลสได้ตามภูมิชั้นที่กำหนดไว้ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

    ๔๘. ถาม พุทธบริษัท คืออะไร

    ตอบ ได้แก่

    ๑. ภิกษุ

    ๒. ภิกษุณี (ขณะนี้ไม่มีแล้ว)

    ๓. อุบาสก ผู้ชายที่แสดงตนนับถือ พระพุทธศาสนา

    ๔. อุบาสิกา ผู้หญิงที่แสดงตนนับถือพระพุทธศาสนา

    ๔๙. ถาม พระรัตนตรัยคืออะไร ?

    ตอบ พระรัตนตรัยได้แก่

    แก้ววิเศษ ๓ ดวง คือ พระพุทธเจ้า เรียกพุทธรัตนะ พระธรรม เรียกธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกสังฆรัตนะ

    ๕๐. ถาม สรณคมน์ คืออะไร ?

    ตอบ สรณคมน์ได้แก่การประกาศถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกแสดงตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา

    ๕๑. การเข้าพิธีเป็นพุทธมามกะจำเป็นอย่างไร ?

    ตอบ จำเป็นมาก เพราะเป็นการปฏิญาณตนว่า มีความเคารพนับถือและเจตนาอันชัดแจ้งที่จะถือพระพุทธศาสนา เป็นสรณะ

    ๕๒. ถาม ศีลคืออะไร

    ตอบ ศีลคือ ข้อบัญญัติที่กำหนดการปฏิบัติทางกายวาจา แต่ที่เข้าใจง่ายแปลว่าปกติ ได้แก่ กาย วาจา เป็นปกติเรียบร้อย

    ๕๓. ถาม ศีลมีกี่ประเภท ?

    ตอบ ๑. ศีลของคฤหัสถ์ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๘ และอุโบสถศีล

    ๒. ศีลบรรพชิต ได้แก่ศีล ๑๐ (สามเณร)

    ได้แก่ศีล ๒๒๗ (พระภิกษุ )

    ได้แก่ศีล ๓๑๑ (พระภิกษุณี ขณะนี้ไม่มีแล้ว)

    ๕๔. ถาม อุโบสถศีลกับศีล ๘ ต่างกันอย่างไร ?

    ตอบ อุโบสถศีลคือศีล ๘ทื่รักษารวมองค์ ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งในวันที่ทรงอนุญาตไว้โดยเฉพาะที่เรียpว่าวันพระ (วันธรรมสวนะ) ศีล ๘ คือ ศีลที่รักษาแยกองค์และรักษาในวันใดก็ได้ เช่นเดียวกับศีล ๕

    ๕๕. ถาม ศีล ๕ (เบญจศีล) มีอะไรบ้าง ?

    ตอบ มีดังนี้

    ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์

    ๒. เว้นจากการลักทรัพย์

    ๓. เว้นจากการประพฤติผิดใน กาม

    ๔. เว้นจากการพูดเท็จ

    ๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัย (รวมยาเสพติดให้โทษด้วย) การงดเว้นแต่ละข้อต้องทำไปด้วย เจตนา

    ๕๖. ถาม ศีล ๘ ต่างกับศีล ๕ อย่างไร ?

    ตอบ ศีล ๘ เพิ่มจากศีล ๕ อีก ๓ ข้อและเปลี่ยนแปลงอีก ๑ ข้อ

    ที่เพิ่มเติมคือ

    ๑. เว้นการบริโภคอาหาร เวลาวิกาลตั้งแต่พระอาทิตย์เที่ยงแล้วจนจ่งอรุณ

    ๒. เว้นการฟ้อนรำ ขับร้อง ดีด สี ตี เป่า การดูการเล่นที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรง ประดับประดาด้วยระเบียบของหอมและเครื่องลูบไล้ต่าง ๆ

    ๓. เว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งนอนสูงใหญ่ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี

    ข้อที่เปลี่ยนแปลง คือ

    เปลี่ยนข้อ ๓ ในศีล ๕ ที่ว่าเว้นการประพฤติผิดในกามเป์นเว้นการประพฤติที่ขัดต่อพรหมจรรย์

    ๕๗. ถาม ปาติโมกข์คืออะไร ?

    ตอบ คัมภีร์ ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ มีพระพุทธานุญาตไว้ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ

    ๕๘. ถาม ชีถือศีลอะไร ?

    ตอบ ถือศีล ๘

    ๕๙. ถาม กรรมตามความหมายของพระพุทธศาสนาหมายถึงอะไร ?

    ตอบ หมายถึงการกระทำด้วยเจตนา มีพระพุทธภาษิตว่า

    “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทมิ”.

    แปลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

    ๖๐. ถาม การแสคงออกของกรรมมีกี่ทาง ?

    ตอบ มี ๓ ทาง คือ กาย ทางวาจา ทางใจ

    ๖๑. ถาม โดยปกติธรรมที่ชาวบ้านควรทราบในเบื้องต้นมีอะไรบ้าง ?

    ตอบ ๑. กุศลกรรม กรรมดี

    ๒. อกุศลกรรม กรรมชั่ว

    ๖๒. พระพุทธเจ้าทรงบันดาลให้ใครเป็นอะไรได้หรือไม่ ?

    ตอบ ไม่ทรงบันดาลให้โดยตรง แต่ทรงช่วยประทานธรรมะให้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติตามได้ก็ได้ผลดี เปรียบเหมือนทรงหาอาหารอย่างดีมาให้ แล้วแต่ใครจะยินดีบริโภคหรือไม่ ผู้ไม่บริโภคก็ช่วยไม่ได้

    ๖๓. ถาม ทำกรรมได้รับผลเสมอไปหรือไม่ ?

    ตอบ ทำกรรมใดไม่ว่าดีหรือชั่ว ต้องได้รับผลของกรรมนั้น

    ๖๔. ถาม ชนกกรรมคืออะไร ?

    ตอบ ชนกกรรมเป็นผู้แต่งให้เราเกิดมาเป็นตัวเป็นตนดังปรากฏอยู่ ตัวเรานี้จึงได้ชื่อว่าวิบากคือผลของกรรม

    ๖๕. ถาม อโหสิกรรมคืออะไร ?

    ตอบ คือกรรมที่ให้ผลสำเร็จไปแล้วหรือกรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผล

    ๖๖. ถาม ผลกรรมมีอย่างไร ?

    ตอบ ผลกรรมมี ๓ อย่าง

    ๑. ผลภายใน กรรมที่ทำไปแล้วย่อมให้ผลภายในทันที เช่น ทำกรรมชั่ว ฆ่าเขา ลักขโมยของเขา ผู้ทำย่อมรู้สึกทุกข์ร้อนไม่สบายใจทันที หรือผู้ทำกรรมดี ทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็รู้สึกสบายใจ ดีใจ ทันที

    ๒. ผลภายนอก โทษทัณฑ์ คุกตะรางสำหรับกรรมชั่ว หรือการยกย่องสรรเสริญสำหรับกรรมดี

    ๓. ผลชาติหน้า กรรมดีและกรรมชั่วจะติดตามไปให้ผลตามอำนาจ ของ กรรม

    ๖๗. ถาม เวรคืออะไร ?

    ตอบ เวรคือความเป็นศัตรูกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย เนื่องจากการประทุษร้ายล่วงเกินกันและผูกใจเจ็บคิดแก้แค้นกัน

    ๖๘. การจองเวรทำอย่างไร 1?

    ตอบ คือการตั้งใจคิดแก้แค้นเมื่อ ถูก ประทุษร้าย

    ๖๙. เวรระงับได้หรือไม่ มีวิธีอย่างไร ?

    ตอบ เวรระงับได้ ด้วยการไม่จองเวร

    ๗๐. ถาม พระพุทธศาสนาสอนวิธีระงับเวรได้อย่างไร ?

    ตอบ สอนให้พิจารณาว่าเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

    ๗๑. ถาม คนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ?

    ตอบ ถ้ามีกิเลสอยู่ย่อมเกิดอีก ซึ่งทางศาสนาเรียกว่า มีการสืบภพชาติตามเหตุปัจจัย



    ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.dharma-gateway.com/ubasok...-main-page.htm





    สิ้นทุกข์สุขที่แท้จึงได้พบพาน