มงคล ๓๘
ประการมงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต
ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า
คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่
๑. การไม่คบคนพาล | ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง | ๒๗.มีความอดทน |
๒. การคบบัญฑิต | ๑๕.การให้ทาน | ๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย |
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา | ๑๖.การประพฤติธรรม | ๒๙.การได้เห็นสมณะ |
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร | ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ | ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล |
๕. เคยทำบุญมาก่อน | ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ | ๓๑.การบำเพ็ญตบะ |
๖. การตั้งตนชอบ | ๑๙.ละเว้นจากบาป | ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์ |
๗. ความเป็นพหูสูต | ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา | ๓๓.การเห็นอริยสัจ |
๘. การรอบรู้ในศิลปะ | ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย | ๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน |
๙. มีวินัยที่ดี | ๒๒.มีความเคารพ | ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม |
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต | ๒๓.มีความถ่อมตน | ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก |
๑๑.การบำรุงบิดามารดา | ๒๔.มีความสันโดษ | ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส |
๑๒.การสงเคราะห์บุตร | ๒๕.มีความกตัญญู | ๓๘.มีจิตเกษม |
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา | ๒๖.การฟังธรรมตามกาล | | ๑. การไม่คบคนพาล
ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ ๑.คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต
มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ ๒.พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ ๓.ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น
การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม รูปแบบของคนพาล
มีข้อควรสังเกตุคือ ๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน
ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจารเป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล
๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย
แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน
แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกันเป็นต้น ๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี
อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน
ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิดเป็นต้น ๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน
อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป้นต้น
คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง ๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น
ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง
ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่นเป็นต้น
บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ ๑.
เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ
ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น ๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก
ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย ๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย
อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น
ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น ๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง
และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ
๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง
ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ
หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง
๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ
และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น
ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น
การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น
บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ ๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา ๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม
๔ อย่างได้แก่ ๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก
อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น ๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์
เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น ๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี
จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น
มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น
ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น
มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ ๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้ ๒. นำมาซึ่งความสุข
๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า ๔. เป็นของเฉพาะตน
หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง ๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย
คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล ๖. ให้มนุษย์สมบัติ
ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ
๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น
บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา
การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ ๑.การทำทาน
๒.การรักษาศีล ๓.การเจริญภาวนา
หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย
ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท
มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน
คือเป็นผู้ที่ฟังมาก
เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ ๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ
เรื่องนั้นๆอย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น ๒.ความตั้งใจจำ
ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้ ๓.ความตั้งใจท่อง
ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ๔.ความตั้งใจพิจารณา
ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง ๕.ความเข้าใจในปัญหา
ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา
ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม
และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ ๑.มีความปราณีต ๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ ๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ
ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ ๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา ๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน ๔.เป็นคนสุขุม
มีความคิดสร้างสรรค์
วินัย
ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป
สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี
๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา
เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น (ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย
โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น ๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ
นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง
๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง
โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น วินัยสำหรับฆราวาส
หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ) ๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน
หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่ ๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว
๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา ๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ
หรือชวนเชื่อ ๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน ๖.ไม่พูดจาหยาบคาย
ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น ๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ
เหตุผล หรือประโยชน์อันใด ๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น ๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น
เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง
ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง
ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้ ๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้
ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด ๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ
ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า ๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด
หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์ ๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง
มีความจริงใจต่อผู้ฟัง ๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม
โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด
|