ครั้งหนึ่ง ท่านเว่ยหล่างไปพักค้างแรมที่บ้านหลังหนึ่ง
ขณะที่กำลังจะนอนพักผ่อนในช่วงบ่าย ได้ยินเสียงคนกำลัง
สวดมนต์ เลยลุกขึ้นไปถามผู้นั้นว่า

"เจ้าเข้าใจความหมายของบทที่สวดหรือเปล่า ?"

"บางตอนเข้าใจยากจริงๆ?"

ท่านเว่ยหล่างเลยอธิบายให้ฟังบางตอนของบทสวดว่า

"เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งมายาจอมปลอมนี้จนผมหงอก
ขาวหมดไปทั้งหัวแล้ว พวกเราต้องการอะไร?

และเมื่อไฟแห่งชีวิตกำลังจะมอดลง ใจเต้นอ่อนลง และ
ลมหายใจกำลังจะขาดรอนๆ อะไรคือสิ่งสุดท้ายที่เราหวัง?

และเมื่อกายของเรากำลังเน่าเปื่อยอยู่ในสุสาน ธาตุกลับ
คืนสู่ธาตุ ธาตุดินสู่ดิน ชีวิตกลายเป็นสิ่งไร้ความรู้สึกในความ
ว่างเปล่าแล้ว เราอยู่ที่ไหน??"

คนที่สวดมนต์นั้นได้ชี้คำหลายคำในคัมภีร์ที่ไม่เข้าใจ
ความหมายแล้วถาม ท่านเว่ยหล่างยิ้มๆแล้วตอบว่า

"ข้าพเจ้าไม่รู้หนังสือ ท่านถามมาเลยดีกว่า"

คนๆนั้นรู้สึกแปลกใจแล้วพูดขึ้นว่า

"ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ท่านจะเข้าใจความหมาย เข้า
ใจหลักธรรมได้อย่างไร??"

ท่านเว่ยหล่างตอบว่า


"หลักธรรมของพุทธะ กับตัวหนังสือไม่เกี่ยวกัน
ตัวหนังสือเป็นเพียงเครื่องมือที่จะเรียนรู้
สิ่งที่จะเข้าใจหลักธรรมคือจิต คือตัวรู้ ไม่ใช่ตัวหนังสือ"




ท่านเว่ยหล่างรับตำแหน่งพระสังฆนายกโดยที่ยังไม่ได้
บวช หลังรับตำแหน่งต้องหนีภัยจากพระที่เป็นศิษย์พี่ ไปอยู่ใน
ป่ากับพรานป่า 15 ปี ถึงจะกลับมาในเมืองแล้วบวช

พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายเซ็นที่โด่งดัง และ
เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เห็นจะไม่มีพระสูตรใดเกิน

"สูตรของท่านเว่ยหล่าง"

เพราะได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษาและได้รับ
ความสนใจจากประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของ
ปัญญาชนเนื่องด้วยสูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของ
การใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ
และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้ สูตร
ของท่านเว่ยหล่างได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธ
ทาสภิกขุ ตั้งแต่หมวด 1 ถึง 7 ส่วน หมวด 8 ถึง 9 คุณประ
วิทย์ รัตนเรืองศรี เป็นผู้แปล ทำไมจึงต้องศึกษาสูตรของท่าน
เว่ยหล่าง

คำตอบก็คือ พระสูตรนี้ใครได้ศึกษาแล้วก็เป็นการเปิด
สติปัญญาของตนให้สว่างไสวและมีทัศนคติต่อพุทธศาสนาได้
อย่างแจ่มชัดว่า แท้ที่จริงแล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่ง
ปัญญา โดยแท้จริง สำเนียงที่เรียกพระสังฆปรินายกองค์นี้
ว่า "เว่ยหล่าง" ก็ดีหรือชื่อของท่านผู้บำเพ็ญอื่นใดในพระสูตร
นี้ ล้วนแต่ใช้ทับศัพท์ อ่านออกเสียง เป็นภาษาจีน "กวางตุ้ง"




http://board.agalico.com/showthread.php?t=27229

<!-- / message -->