ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ทำซีดีเสียงสวดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ

กระทู้: ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ทำซีดีเสียงสวดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. pppp said:

    ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ทำซีดีเสียงสวดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ

    ฟังมาก้อหลายบทสวด บางบทก้อเสียงยานเหมือนเทปจะหมดอายุไข ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวกับศาสนาถึงไม่คิดจะทำเสียงสวดให้ฟังชัดๆ สวดเพราะๆ ฟังแล้วจะได้รู้สึกดีๆหน่อย หรือว่ากลัวจะเป็นโทษแก่พระสงฆ์ที่มาสวด ถ้ากลัวก้อน่าจะเอาคนที่สวดได้คัดเสียงใสๆหน่อย แล้วเข้าห้องอัดเสี่ยง หรือว่าถ้าทำไปแล้วกลัวว่าจะไปโดนข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เวอร์ชั่นที่เค้าทำออกมาก่อน เลยไม่ทำกัน ผมว่านะ มีคนอีกหลายคนมีผมด้วยเป็น 1 ในนั้นที่ชอบฟังเสียงสวดที่เป็นทำนองเพราะ ๆ ( ติดในเสียงอ่ะ ) ฟังแล้วสบายในอารมณ์

    อีกคำถามนะครับ การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เห็นตำราบอกจุดสัมผัสไม่ตรงกัน บางตำราบอกว่า สัมผัสห้าคือ เข่า 2 ฝ่ามือ 2 หน้าผาก 1

    บางตำราบอกว่า เข่า 2 ข้อศอก 2 หน้าผาก 1 แล้วตำราไหนถูก ตำราไหนผิด ครับ

    ท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายที ครับ ขอบคุณล่วงหน้า ครับ
    http://www.watkoh.com/board/richedit...YahooIM/32.gif เปลวเทียนมลายแท่ง  ยังเปล่งแสงอันอำไพ ชีวิตมลายไป เหลือสิ่งใดไว้ทดแทนhttp://www.watkoh.com/board/richedit...YahooIM/32.gif
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ทำซีดีเสียงสวดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ


    ตามความหมายในพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า
    เบญจางคประดิษฐ์ - น. การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้น.

    และตามความหมายในพจนานุกรม พุทธศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า
    เบญจางคประดิษฐ์ - การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น
    คือกราบเอาเข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และศีรษะ (หน้าผาก) จดลงกับพื้น

    จะเห็นว่าความหมายทั้ง 2 ตรงกันนะคับ


    ****************************************************


    ทีนี้ คุณ pppp อาจจะแปลกใจ
    เพราะไปเจอบางแห่งที่ใช้คำกำหนดต่างออกไป
    อย่างเช่นบางแห่งมีกล่าวว่า...
    กราบโดยอวัยวะทั้ง 5 ส่วนสัมผัสกับพื้นได้แก่ ฝ่ามือทั้ง 2 ข้อศอก 2 หน้าผาก 1

    ก็ไม่ต้องแปลกใจนะคับ เพราะในบางแห่งก็จะมีอธิบายไว้ว่า...
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการใช้อวัยวะทั้ง ๕
    คือ หน้าผาก ซึ่งเป็นตัวแทนของส่วนบนของร่างกาย
    มือและข้อศอกทั้ง ๒ เป็นตัวแทนส่วนกลางของร่างกาย
    เข่าทั้ง ๒ ซึ่งเป็นตัวแทนส่วนล่างของร่างกายจรดพื้น
    รายละเอียดตามลิงค์นี้ http://www.yes-iloveyou.com/smfboard...p?topic=1571.0


    *****************************************************


    จะเห็นได้ว่า ท่ากราบออกมาแบบเดียวกันอ่ะคับ


    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง ๕
    คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผากจรดพื้น



    http://www.phuttha.com/kb/%E0%B8%84%...%E0%B8%87.html





    กราบโดยอวัยวะทั้ง 5 ส่วนสัมผัสกับพื้นได้แก่ ฝ่ามือทั้ง 2 ข้อศอก 2 หน้าผาก 1



    http://www.ukasa.net/data%20source/BenJa.php







    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. pppp said:

    Re: ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ทำซีดีเสียงสวดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ

    ขอบคุณนะครับ คุณเดฟฟี่ อิอิ
    http://www.watkoh.com/board/richedit...YahooIM/32.gif เปลวเทียนมลายแท่ง  ยังเปล่งแสงอันอำไพ ชีวิตมลายไป เหลือสิ่งใดไว้ทดแทนhttp://www.watkoh.com/board/richedit...YahooIM/32.gif
     
  4. รูปส่วนตัว noppakorn

    noppakorn said:

    Re: ทำไมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ทำซีดีเสียงสวดเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ

    โมทนาสาธุครับท่านเดฟ

    ขอเพิ่มเติมการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์เล็กน้อยครับ

    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ นั้นยังแบ่งเป็นชายและหญิง
    การกราบแบบชาย : ยกมือแบบเทพพนม ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก ก้มกราบให้ท่อนแขนและฝ่ามือขนาน
    กับพื้น หลังไม่งอศรีษะไม่ยก หน้าผากแตะพื้น [HIGHLIGHT=#ffff00]ข้อศอกอยู่ชิดเข่าด้านหน้าเข่า[/HIGHLIGHT]

    การกราบแบบหญิง : เช่นเดียวกับชาย แต่เวลาก้มกราบ [HIGHLIGHT=#ffff00]ให้ช่วงแขนวางเลยเข่ามาเล็กน้อย [/HIGHLIGHT]หลังและ
    ศรีษะ ขนานพื้นไม่งอหลังยกศรีษะเช่นเดียวกันครับ
    การตั้งชื่อและแปลชื่อโดยคุณอุบาสกนพกรณ์
    จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน
    - ของดตอบคำถามเป็นการส่วนตัว
    - ของดการแจ้งลบกระทู้ (โดยไม่มีเหตุอันควร) หลังจากที่ได้คำตอบแล้ว
    - กรุณาตั้งคำถามให้ตรงตามหมวดหมู่อักษร
    - ขอตอบวันละ 3 ชื่อ (กรุณารอคิวหากมีผู้ถามเข้ามามาก)


    ขอชื่อใหม่ต้อง...
    1. แจ้งชื่อนามสกุลหรือทักษาเลข
    2. วันเกิด(จ-อ)
    3. อาชีพ
    4. เหตุผล(เพื่อวิเคราะห์ชื่อมงคล)