มงคลที่ 35 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมคืออะไร ?

จิตหวั่น คือ ความหวั่นหวาดกังวล กลัวว่าจะประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ
จิตไหว คือ ความปรารถนาอยากได้สิ่งที่รักที่ชอบใจ
โลกธรรม คือ เรื่องรวที่เกิดขึ้นประจำโลก ใครๆ ก็ต้องพบ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประสบ มีอยู่ 8 ประการ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

ฝ่ายที่คนทั่วไปปรารถนาอยากได้
1. ได้ลาภ คือการได้ผลประโยชน์
2. ได้ยศ คือการได้รับตำปหน่ง ได้รับฐานะ ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
3. ได้สรรเสริญ คือการได้ยินได้ฟังคำชมเชย คำยกยอ คำาดุดีที่คนอื่นให้เรา
4. ได้สุข คือได้รับความสบายกายสบายใจ ได้ความเบิกบานร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

ฝ่ายที่คนทั่วไปกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตน
1. เสื่อมลาภ คือผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วเสียไป
2. เสื่อมยศ คือถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกตำแหน่ง ถูกถอดออกจากอำนาจ
3. ถูกนินทา คือถูกตำหนิติเตียน ถูกด่าว่าในที่ต่อหน้าหรือลับหลัง
4. ตกทุกข์ คือได้รับทุกข์ทรมานทางกายหรือทางใจ
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึงอะไร ?
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึง สภาพจิตของผู้ที่นิพพานให้แจ้งแล้ว มีใจตั้งมั่น เกิดความมั่นคงหนักแน่นดุจขุนเขา เป็นอุเบกขาวางเฉยได้

เมื่อพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ จิตก็ไม่หวั่น
เมื่อพบกับความได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ เป็ฯสุข จิตก็ไม่ไหว

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือลักษณะของทุกสรรพสิ่งในโลก
ของต่างๆ ในโลกก็มีคุณสมบัติต่างกันออกไป แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม จะมีลักษณะ 3 ประการคือ

1. อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่หยุดอยู่กับที่ ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
2. ทุกขัง ความเป็นทุกข์ ในที่นี้หมายถึงการคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องแตกดับเพราะมันไม่เที่ยง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้ว มันก็ต้องแตกดับ
3. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาไม่ได้

คนทั้งโลกมองไม่เห็นไตรลักษณ์ จึงลุ่มหลงมัวเมายินดียินร้าย หวั่นไหวในโลกธรรม ต้องตกอยู่ในห้วงทุกข์ตลอดเวลา

ข้อเตือนใจ

ถ้าดีใจก็จงยิ้มเพียงมุมปากเดียว เมื่อถึงคราวเสียใจจะได้ไม่ถึงกับร้องไห้



http://board.agalico.com/showthread.php?t=25939