การที่เราตั้งจิตอธิฐาน

กระทู้: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    การที่เราตั้งจิตอธิฐาน

    ผมขอถามนิดนะครับว่าการที่เราตั้งจิตอธิฐานว่าให้ได้ไปสู่ยังภพภูมิที่สูงกว่าหรือการเข้าถึงนิพพานนั้นจัดว่าเป็นความโลภหรือไม่ครับถ้าเป็นไปได้กรุณายกตัวอย่างให้เห็นภาพได้หรือไม่ครับขอบคุณครับ


    มีคนฝากถามมาจารย์เดฟช่วยตอบให้ความกระจ่างด้วยครับสาธุ
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน


    อ่ะคับ เป็นคำถามที่พบกันบ่อย
    และดูเหมือนเป็นคำถามง่ายๆ
    แต่...มีประเด็นสำคัญอยู่ในคำถามนั้นเยอะเลยทีเดียวคับ

    ในเบื้องต้น ลองทำความเข้าใจทีละส่วนก่อนนะคับ

    สภาพของ โลภะ กับ ฉันทะ นั้นเป็นสภาพธรรมคนละอย่างกัน
    แต่ก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากเลยทีเดียวคับ

    โลภะเจตสิก เป็นสภาพที่เกิดกับ โลภมูลจิต ซึ่งเป็นอกุศลจิต
    มีลักษณะที่ ติดข้องพอใจ ใคร่ได้ ยึดไว้
    เช่น เวลาที่เพลิดเพลินไปในรูปสวยๆ เสียงไพเราะ รสอร่อยๆ ฯลฯ เป็นต้น
    ขณะนั้นมีสภาพที่ใคร่ได้ ยึดไว้ ในกามคุณทั้งหลาย
    มีความคาดหวัง อยากได้ในสิ่งต่างๆ หรือการกระทำต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตน
    และโลภะนี้ยังติดข้องได้แม้ในบุญ เช่น ทำบุญเพื่อหวังผลของบุญ ฯลฯ เป็นต้น

    ส่วน ฉันทเจตสิก เป็นสภาพที่เกิดได้ทั้งกับอกุศลจิต และ กุศลจิต
    มีลักษณะน้อมไปในอารมณ์นั้นด้วยความพึงใจที่จะกระทำ
    ซึ่งขณะใดที่เป็นโลภมูลจิต ย่อมมีทั้งโลภเจตสิก และ ฉันทเจตสิก ประกอบร่วมกัน
    จึงมีความชอบใจที่จะกระทำ และติดข้องยินดีเพลิดเพลินไปกับสิ่งนั้น

    หากแต่ขณะใดที่เป็นกุศลจิต จะไม่มีโลภเจตสิก
    จะมีแต่ฉันทเจตสิกที่น้อมไปด้วยความพึงใจกระทำ แต่ไม่ติดข้องยึดไว้เหมือนอย่างโลภะ
    เช่น ทำบุญสละทรัพย์หรือช่วยเหลือสิ่งต่างๆ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น
    เพราะเห็นถึงประโยชน์ที่ผู้นั้นจะได้รับ
    จึงมีจิตน้อมไปที่จะกระทำ ช่วยเหลือ ให้เค้าได้พ้นจากความทุกข์เดือดร้อน
    ไม่ใช่ทำด้วยความคาดหวังว่าตนจะได้บุญมากตั้งเท่านั้น...หรือน้อยเพียงเท่านี้

    ดังนั้น การทำบุญเพื่อหวังจะได้รับความสุขสบายในภพภูมิที่สูงกว่า
    ก็ย่อมเป็นไปด้วยโลภมูลจิตที่เกิดแทรกสลับกับกุศลจิต

    หรือแม้การร่ำร้องอยากจะนิพพาน
    บางครั้งก็ถึงกับคาดหวังว่าจะได้นิพพานในชาตินั้นชาตินี้เลยทีเดียว
    ก็ไม่พ้นไปจากโลภมูลจิต ที่ติดข้อง คาดหวัง

    สภาพธรรมที่เป็นจริงอย่างไร ก็ต้องเป็นจริงอย่างนั้นน่ะคับ
    โลภะ ย่อมเป็นโลภะ เกิดขึ้นครั้งใดก็ต้องเป็นโลภะ
    จะเลี่ยงไปเป็นอื่นไม่ได้เลยอ่ะคับ

    ดังนั้น จึงไม่ใช่การคิดสรุปเอาเพียงตามเรื่องราว
    ว่าหากปรารถนาในนิพพานแล้วละก็
    จะเป็นกุศลจิตไปเสียหมด...ซึ่งหาใช่เช่นนั้นเสมอไป
    หากแต่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง
    ว่าอาจเป็นได้ทั้งอกุศลจิต (โลภมูลจิต) ที่ติดข้อง คาดหวัง ใคร่ได้
    หรือขณะนั้นเป็นไปด้วยกุศลจิตที่ประกอบด้วยกุศลฉันทะ
    เนื่องด้วยเห็นโทษภัยในสังสารวัฏ และรู้ว่าผลทั้งหลายนั้นย่อมไหลมาแต่เหตุ
    จึงเกิดความพึงใจน้อมไปในการเจริญกุศลทั้งหลาย
    ลดละคลายอกุศล ขัดเกลากิเลสในใจตน
    ดำเนินไปบนเส้นทางมรรคด้วยความเพียร
    และเมื่อถึงกาลอันควรแก่เหตุที่ได้กระทำสั่งสมจนสมบูรณ์พร้อม...ผลย่อมปรากฏ

    ดังนั้น สภาพจิตขณะนั้นเป็นจริงอย่างไร
    เป็นโลภมูลจิต หรือ กุศลจิตที่ประกอบด้วยกุศลฉันทะ
    สติปัฏฐานต้องเกิดระลึกรู้ในขณะนั้นตรงตามสภาพจิตที่เป็นจริงน่ะคับ

    ทีนี้บางครั้ง...เราก็อาจจะอดสงสัยไม่ได้ใช่มั้ยคับว่า
    ก็ถ้าไม่มีความคาดหวัง ปราราถนา ใคร่ได้ ซะเลย
    แล้วจะเอาความเต็มอกเต็มใจที่ไหนไปทำบุญกันล่ะ
    จะทำบุญไปเพื่ออะไร หรือจะมุ่งหวังนิพพานกันทำไม
    ก็ต้องเอาความอยาก ความปราราถนาคาดหวังในผลนี้แหละเป็นตัวนำเสียก่อนสิ
    แล้วเดี๋ยวค่อยไปสละออกเอาทีหลังก็แล้วกัน

    ประการนี้...ก็เป็นไปได้อยู่เหมือนกันอ่ะนะคับ
    เพราะสำหรับผู้ที่ไม่รู้ ก็อาจจะใช้โลภะนำไปก่อน
    แต่อย่าลืมว่า โลภะนี้เหมือนนายช่างผู้สร้างเรือน คือต่อภพต่อชาติไปไม่สิ้นสุด
    กว่าจะกลับตัวสลัดออกจากโลภะในภายหลังได้นั้นก็ยากยิ่ง
    เสมือนหวังน้ำบ่อหน้า...จะสละได้หรือกลายเป็นยิ่งพอกทับทวีคูณขึ้นก็มิอาจรู้ได้

    แต่สำหรับผู้ที่รู้
    ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยโลภะนำหน้าเลย
    เพราะชื่อว่าอกุศลทั้งหลายแล้ว...ละได้ก็ควรละเสียทันที...ไม่รีรอว่าเมื่อนั่นเมื่อนี่ค่อยละ
    หากแต่เกิดฉันทะที่น้อมไปในการเจริญกุศลนั้นๆ
    ประพฤติปฏิบัติดำเนินไปด้วยความหมั่นเพียร
    โดยไม่ต้องอาศัยโลภะเป็นตัวนำอ่ะคับ




    เดฟ


    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน


    ทีนี้ มาที่คำว่า อธิษฐาน

    อธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจแน่วแน่
    ตั้งเจตนาอย่างมั่นคง ตั้งใจอย่างแรงกล้า ในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ
    ไม่ได้หมายถึงการวิงวอน ร้องขอ หรือบนบาน อย่างที่เราอาจจะเข้าใจผิดกันไปน่ะคับ

    อย่างเช่น อธิษฐานว่า ขอให้สอบได้
    ก็หมายถึง ตั้งใจขึ้นอย่างแน่วแน่ในการที่จะสอบให้ได้
    และมุ่งมั่นกระทำตามที่อธิษฐาน
    ลงมือกระทำเพื่อให้สอบได้ เช่น ดูหนังสือ ติวข้อสอบ เรียนพิเศษ ฯลฯ เป็นต้น

    การอธิษฐานที่จะเป็น อธิษฐานบารมี นั้นมีลักษณะคือ...
    โพธิสมฺภาเวสุ อธิฏฺฐานลกฺขณา อธิฏฺฐานปารมี
    อธิฏฐานบารมี ย่อมมีการตั้งใจอันแน่นอนเพื่อโพธิญาณ เป็นลักษณะ

    ดังนั้น อธิษฐานบารมี จึงเป็นไปเพื่อ...
    1. สัจจาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มั่นคงเพื่อการรู้แจ้งในสัจจธรรม คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    2. จาคาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มันคงที่จะสละคลายกิเลสออกจนหมดสิ้น
    3. อุปสมาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มั่นคงเพื่อให้บรรลุซึ่งพระนิพพาน
    4. ปัญญาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มั่นคงเพื่อให้แจ้ง
    หมายถึง พระสัพพัญญุตญาณ ที่รู้สิ้นแทงตลอดในสังขตธรรมและอสังขตธรรม

    (เฉพาะข้อ 4 นี้มีได้เฉพาะพระสัมมาสัมโพธิญาณ)
    (สำหรับข้อ 1-3 เป็นสาธารณะ ทั้งพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัจเจกโพธิญาณ พระสาวกโพธิญาณ)


    อีกทั้ง อธิษฐานบารมีนี้ จะไม่เกิดลำพังเดี่ยวๆ
    แต่จะต้องเกิดร่วมกับบารมีอื่นเสมอ
    เช่น เมื่ออธิษฐานว่าจะเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
    ก็ต้องมีการกระทำตามที่อธิษฐาน จึงต้องมีบารมีอื่นๆ เข้าร่วมด้วย
    หากมีแต่อธิษฐาน คือมีแต่ความตั้งใจ
    แต่ไม่มีการลงมือกระทำตามที่ตั้งใจ ก็ไม่เป็นอธิษฐานบารมี
    เป็นแต่เพียงการวิงวอน ร้องขอ บนบาน เท่านั้นเองน่ะคับ


    ดังนี้แล้ว เมื่อประกอบกันทั้งหมด
    คือการที่สติปัฏฐานระลึกรู้สภาพจิตที่เกิดขึ้น
    ว่าเป็นโลภมูลจิต หรือ กุศลจิตอันประกอบด้วยกุศลฉันทะ ดังที่กล่าวในตอนต้น
    จึงเห็นได้ว่า อธิษฐานบารมี อันเป็นไปเพื่อมรรคผล
    ก็เสมือนจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินไป (ด้วยกุศลฉันทะ ไม่ใช่ด้วยโลภะ)
    และต้องมีการกระทำ คือ เกิดกุศลจิตน้อมไปด้วยฉันทะ
    มีความพึงใจที่จะดำเนินไปให้ถึงตามที่อธิษฐานอย่างแน่วแน่มั่นคง
    ประพฤติปฏิบัติสั่งสมอบรมให้กุศลธรรมเจริญยิ่งๆ ขึ้นจนสมบูรณ์พร้อม...ดับกิเลสสิ้น (จะกี่ภพกี่ชาติก็ตาม)
    แต่ไม่ใช่ด้วยความติดข้อง คาดหวัง ใคร่ได้...ในผล
    โดยไม่มีการกระทำเหตุอันสมควรแก่ผล
    หรือกระทำไปด้วยโลภะอันต่อภพต่อชาติไปไม่รู้จบสิ้นน่ะคับ

    พระอริยสาวกท่านทั้งหลาย ก็ไม่มีท่านใดล่วงรู้ว่าท่านจะบรรลุมรรคผลเมื่อใด
    แต่ท่านมีจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่มั่นคง...มีฉันทะน้อมไป ไม่ท้อถอย ประกอบด้วยความเพียร
    ประพฤติปฏิบัติอบรมสั่งสมเหตุปัจจัยไปอย่างต่อเนื่องทุกภพทุกชาติ...จนท่านบรรลุมรรคผลน่ะคับ




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  4. *8q* said:

    Re: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน

    สาธุขอบคุนครับจารย์
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. were said:

    Re: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน

    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยไว้เหนือเศียรเกล้า

    หากการอธิฐานเป็นไปเพื่อการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น ขอให้เจริญและอุดมไปด้วยทาน ไทยธรรมทุกประการ

    ในการอุปถัมภ์พระศาสนา

    หรือ ขอให้ได้เกิดภายใต้บวรพุทธศาสนา เกิดในตระกูลที่มีสัมมาทิฏฐิ ล่ะครับ

    จะพอได้ไหมครับพี่เดฟ

    วี
     
  6. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน


    อนุโมทนาคับ

    ได้แน่นอนคับ
    การตั้งจิตน้อมไป เพื่อที่จะบำรุงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
    ดำรงตนบนสัมมาทิฏฐิ ภายใต้บวรพุทธศาสนา
    ก็ย่อมอยู่บนหนทางที่ทอดนำไปสู่มรรคผลได้ในที่สุดเบื้องปลาย
    เพราะมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะอย่างมั่นคง ไม่คลอนแคลน หรือตกไปบนหนทางอื่นอ่ะคับ




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  7. Admax said:

    Re: การที่เราตั้งจิตอธิฐาน

    สาธุแจ้งดีแท้ ขอบคุรพี่ 8q ที่ถามด้วยครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ