ความว่าง

กระทู้: ความว่าง

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:

    ความว่าง

    สวัสดีค่ะ อืม... บุษสงสัยเรื่องคำว่า "ความว่าง" นะคะ ว่าเป็นอย่างไร เห็นบางคนบอกว่า ก็ว่างจากความคิดความปรุงแต่ง
    (อิอิ.... อันนี้บุษคิดเล่น ๆ นะค่ะ ว่ามาถึงแบบนี้แล้วเจตสิกต่าง ๆ ไม่ทำงานหรือว่าแตกดับไปแล้วหรอนี่ อืม... หรืออย่างไงดีนะ)
    เช่นคิดว่า นั่นแก้วน้ำตั้งอยู่ เป็นต้น บางคนกะว่า เช่น มองเห็นแก้วน้ำ ก็ต้องเข้าใจว่า ไม่มีแก้วน้ำ มีแต่ว่าง ๆ แบบนี้อะค่ะ
    ซึ่งบุษก็มองว่า ตาที่เห็นอยู่นั่น ว่าเป็น สี ที่มาประชุมรวมกันเป็นแก้วน้ำ แล้วที่เรียกว่าแก้วน้ำ ก็เป็นสมมติบัญญัติทางโลกที่เรียกว่า แก้วน้ำนั่นเอง
    ซึ่งกะมีรูปพรรณสัณฐานที่ต่างกันออกไป แล้วจะไปว่างตรงไหน อืม... อีกอย่างนะค่ะ ตกลงแล้วความว่างนี้มีกี่แบบ
    กี่ระดับอะค่ะ แล้วสิ่งที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรอะค่ะ อ้อ... เราต้องปฏิบัติไปถึงขั้นไหนหรือระดับไหนหรอค่ะ
    ถึงได้เป็นแบบนี้อะค่ะ(แบบนี้คือว่า เห็นทุกอย่างว่าว่างไม่มีอะไรเลยทั้ง ๆ ที่มีทุกสิ่งทุกอย่างมากมายรอบ ๆ ตัวเราอะค่ะ) อิอิ .....

    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: ความว่าง


    อ่ะคับ โดยปกติทั่วไป เราก็มักจะใช้คำว่า ปรุงแต่ง
    ในความหมายว่าเป็นการนึกคิดไปต่างๆ นาๆ
    และคำว่า ความว่าง ก็มักจะใช้ในความหมายว่า ไม่นึกไม่คิดอะไร

    แต่หากกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว
    สภาพธรรมทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยปรุงแต่งแก่กันเสมอ
    ดังนั้น รูป จิต เจตสิก (หรือขันธ์ 5) จึงเรียกว่าเป็น สังขารธรรม
    คือธรรมอันมีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น
    และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ตั้งอยู่เที่ยง
    ย่อมแปรเปลี่ยนไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือจะไปสั่งบังคับบัญชาได้

    สำหรับคำว่า ว่าง
    หมายถึงว่างจากกิเลสทั้งหลาย
    ว่างจากการยึดมั่นในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนของเรา
    อันเป็นสมมุติบัญญัติที่ยึดถือไว้ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

    ธรรมชาติของจิต ย่อมรู้อารมณ์ที่ปรากฏ
    แล้วก็นึกคิดถึงสิ่งที่ปรากฏ
    ไม่ได้หมายถึงต้องนึกคิดเป็นเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเรื่องราวยาวๆ เท่านั้น
    จากตัวอย่างที่คุณบุษยกมา...แก้วน้ำตั้งอยู่
    ก็คือทันที่เห็น ก็นึกคิดถึงสิ่งที่เห็นแล้ว...จึงรู้ว่าเป็นแก้วน้ำ
    หากไม่นึกคิดถึงสิ่งที่เห็น จะไม่รู้เลยว่าเป็นอะไร

    แต่ก็ไม่ใช่ว่าให้มองแก้วแล้วไม่รู้ว่ามีแก้ว
    มองจานไม่มีจาน มองช้อนไม่มีช้อน...หรือมองคนก็ไม่รู้ว่าเป็นคน
    มองอะไรๆ ก็กลายเป็นเวิ้งว้างว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย

    เพราะถ้าว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
    แล้วที่เห็นปรากฏอยู่ตรงหน้าคืออะไร?
    หรือที่กำลังนั่งพิมพ์กันอยู่นี้คืออะไร?

    แสดงว่าต้องมีสิ่งที่มีอยู่จริง
    อันเป็นเพียงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้รู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    แต่ด้วยความไม่รู้ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง
    จึงยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นช้อน เป็นจาน เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนของเรา

    ต่อเมื่อปัญญาที่เจริญขึ้นนั้น รู้สภาพธรรมตามความเป็นจิงของสิ่งที่ปรากฏ
    ว่าเป็นเพียงรูปธาตุต่างๆ...นามธาตุต่างๆ
    อย่างเช่น ทางตาขณะที่เห็น...มีเพียงสีซึ่งเป็นรูปธาตุชนิดนึงกำลังปรากฏ
    ขณะนั้นมีเพียงสีเท่านั้น ไม่ใช่ช้อน จาน สัตว์ บุคคลใดๆ
    และรู้ว่าขณะที่กำลังรู้ว่าเป็นช้อน เป็นจาน เป็นคน เป็นสิ่งต่างๆ ฯลฯ
    คือการนึกคิดทรงจำตามสมมุติที่บัญญัติขึ้นเรียก
    เพื่อสื่อสารกันให้รู้ความหมาย รู้เป็นเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมา

    ดังนั้น ตามที่คุณบุษเข้าใจก็ถูกต้องแล้วนะคับ
    บุษก็มองว่า ตาที่เห็นอยู่นั่น ว่าเป็น สี ที่มาประชุมรวมกันเป็นแก้วน้ำ
    แล้วที่เรียกว่าแก้วน้ำ ก็เป็นสมมติบัญญัติทางโลกที่เรียกว่า แก้วน้ำนั่นเอง
    ซึ่งกะมีรูปพรรณสัณฐานที่ต่างกันออกไป


    การที่จะรู้ได้ในสภาพธรรมของจริงที่ปรากฏ
    อันเป็นเพียง รูปธาตุต่างๆ นามธาตุต่างๆ (รูป จิต เจตสิก)
    ซึ่งต่างกับการนึกคิดยึดถือตามสมมุติ
    ว่าเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ชื่อ ความหมาย เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ฯลฯ
    ก็ต้องเป็นวิปัสสนาญาณอันเป็นปัญญาที่เจริญขึ้นตามลำดับ
    จนประจักษ์แจ้งชัดในสภาพธรรมของจริงที่กำลังปรากฏ
    ไม่ใช่เพียงรู้โดยนึกคิดพิจารณาตามตัวหนังสือที่ได้อ่าน
    หรือเพียงพยายามนึกคิดเอาว่ามีแต่ความว่าง...อะไรๆ ว่างเปล่าไปหมด

    หากแต่ความรู้ ความเข้าใจ จากตัวหนังสือ จากเรื่องราวที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง
    จะเป็นปัญญาในเบื้องต้น ในขั้นอ่าน ฟัง ไตร่ตรอง พิจารณา (สุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา)
    เพื่อให้เกิดความเห็นถูก ไม่ให้เข้าใจผิด นึกคิดเอาเอง

    ปัญญาในขั้นอ่าน ฟัง ไตร่ตรอง พิจารณา
    จะเป็นพื้นฐานเกื้อกูลน้อมไปสู่การประพฤติปฏิบัติ
    จนประจักษ์แจ้งชัดในสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง (ภาวนามยปัญญา)
    เมื่อปัญญานั้นเจริญขึ้นจนสมบูรณ์พร้อมเป็นวิปัสสนาญาณตามลำดับขั้น
    จึงว่างจากการยึดถือสภาพธรรมทั้งหลาย
    ที่เคยทรงจำยึดถือไว้ตามสมมุติบัญญัติว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนของเรา





    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: ความว่าง


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    สุญญสูตร

    [๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่าๆ ดังนี้
    ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
    เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า
    อะไรเล่าว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน

    จักษุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    รูปว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    จักษุสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
    ก็ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    ฯลฯ

    ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    ธรรมารมณ์ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
    ก็ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน

    ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน
    ฉะนั้นจึงเรียกว่าโลกว่างเปล่า ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1282&Z=1297&pagebreak=0




    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  4. *8q* said:

    Re: ความว่าง

    สาธุครับ

    ว่างๆจะเข้ามาอ่านต่อครับ
    เชิญคุณบุษถามต่อได้มิใช่สิถามจารย์เดฟได้
    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  5. redrose said:

    Re: ความว่าง

    ถามได้ยาว ตอบได้ยาววววว ดีแท้ อนุโมทนาด้วยนะคะ
     
  6. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:

    Re: ความว่าง

    ขอบพระคุณค่ะ พี่เดฟ

    อืมมม........ ทีนี้บุษเข้าใจแล้วค่ะว่า "ความว่าง" ในที่นี้ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็คือ
    ความว่างจากการที่เราไม่เอาใจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งต่าง ๆ นี่เอง
    อิอิ.... แค่พิจารณาในการเจริญสติปัฏฐานสี่ ยังไม่ง่ายต่อการเข้าใจและทำให้ถูกต้องได้เลย
    แล้วนี่ให้ว่างจากการที่ไปยึดมั่นถือมั่นในหลายสิ่ง หลายอย่างนี้ได้ ก็คงยากยิ่งกว่ามากมาย
    แต่ก็คงค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปศึกษาสะสมไปเรื่อยดีกว่านะค่ะ
    เห่อ.......... ข้อธรรมแต่ละอย่างกว่าจะผ่านได้แต่ละข้อยากจิงๆ เลยนะค่ะ



    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา