สมถะวิปัสสนา

กระทู้: สมถะวิปัสสนา

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    สมถะวิปัสสนา

    ขอถามตามความเข้าใจนี้หน่อยครับ
    - ปรมัตถ์คือสภาพจริงที่มีอยู่จริง สัมผัสรู้สึกได้จริงทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครๆ ภาษาไหน ประเทศอะไรใช่มั้ยครับ ดังนั้นปรมัตถธรรม คือสภาพธรรมที่เป็นจริง มีอยู่จริง รับรู้ได้จริง โดยมีหลายระดับทั้งจากรู้สึกได้ รับรู้ได้ ไปจนถึง แยกเป็น รูป-นาม ไม่มีเขา ไม่มีเรา บุคคล สิ่งของ ใช่ไหมครับ
    - การที่เราปฏิบัติกรรมฐานแบบสมถะ ยกตัวอย่างง่ายๆจากการปฏิบัติของคนทั่วไปคือ หายใจเข้า พุทธ - หายใจออก โธ คือ ระลึกภาวนาพุทธานุสสติเป็นอารมณ์เราเรียกว่าสมถะใช่ไหมครับ
    - หากคนทั่วไปที่ยังไม่เคยพิจารณาในสติปัฏฐาน หรือแม้แต่คนที่เจริญในสติปัฏฐานก็จะมองว่า พุทธานุสสติ เป็นการระลึกทำสมาธิแบบสมถะทั่วไป มีบริกรรมภาวนาบัญญัติขึ้นเป็นอารมณ์
    - แต่ผมมองอย่างนี้อะครับว่า การกำหนดลมหายใจบริกรรม พุทธ-โธ มันก็เป็นวิปัสนาเช่นกัน เพราะว่าเมื่อหายใจเข้า..เราบัญญัติเรียกว่า "พุทธ" แทนคำว่า "หายใจเข้า" จิตเรานั้นมีสติระลึกรู้กายตนว่ากำลังหายใจเข้า เมื่อหายใจออก..เราบัญญัติเรียกว่า "โธ" แทนคำว่า "หายใจออก" เรามีสติรู้ว่ากำลังหายใจออก ซึ่งสภาพการหายใจเข้า-ออกนั้นก็มีอยู่จริง การบริกรรมภาวนาบัญญัติเป็นแค่ชื่อเรียกที่สมมติขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจตรงกันใช่มั้ยครับจะบัญญัติเป็นสมมติเอาสิ่งใดก็ได้
    อย่างนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ บางครั้งก้ออยากจะมองว่าเป็นสมถะเพราะให้บัญญัติมันแต่ทว่าเมื่อรู้สภาพจริงบัญญัติก็มาปุ๊บ ดังนั้นหากมีสติระลึกรู้เช่นนี้ก้อถือเป็นสติปัฏฐานด้วยเช่นกันใช่ไหมครับ ช่วยตอบทีเอาแบบกระจ่างใสเลยนะครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:

    Re: สมถะวิปัสสนา


    สวัสดีคับ คุณ Admax
    อนุโมทนานะคับ...ซ้าทุ


    - ปรมัตถ์คือสภาพจริงที่มีอยู่จริง สัมผัสรู้สึกได้จริงทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครๆ ภาษาไหน ประเทศอะไรใช่มั้ยครับ ดังนั้นปรมัตถธรรม คือสภาพธรรมที่เป็นจริง มีอยู่จริง รับรู้ได้จริง โดยมีหลายระดับทั้งจากรู้สึกได้ รับรู้ได้ ไปจนถึง แยกเป็น รูป-นาม ไม่มีเขา ไม่มีเรา บุคคล สิ่งของ ใช่ไหมครับ
    อ่ะคับ...ประมาณนั้น



    - การที่เราปฏิบัติกรรมฐานแบบสมถะ ยกตัวอย่างง่ายๆจากการปฏิบัติของคนทั่วไปคือ หายใจเข้า พุทธ - หายใจออก โธ คือ ระลึกภาวนาพุทธานุสสติเป็นอารมณ์เราเรียกว่าสมถะใช่ไหมครับ
    อ่ะคับ...สมถะ หมายถึง สงบจากกิเลส
    ขณะใดที่เป็นกุศลจิตสงบจากกิเลส...ก็ชื่อว่าสมถะ
    แต่กุศลจิตในชีวิตประจำวันก็ไม่ได้เกิดบ่อย
    อาจจะเกิดประเดี๋ยวประด๋าวแล้วอกุศลจิตก็เกิดต่อยาวๆ
    สมถะในชีวิตประจำวันจึงแสนสั้นและน้อยนิด

    ผู้ที่เห็นโทษของอกุศล...อบรมฝึกฝนให้กุศลจิตตั้งมั่นคงยิ่งขึ้น
    จึงเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา
    ภาวนา หมายถึงทำให้มีขึ้น เพิ่มขึ้น เจริญขึ้น
    ก็คือการทำให้สมถะ (ความสงบจากอกุศล) เจริญยิ่งๆ ขึ้นนั่นเองอ่ะคับ

    สำหรับคำบริกรรม
    ถ้าเอามาใช้เพื่อกำกับให้ตามรู้อยู่ที่ลมหายใจ
    ขณะนั้นจิตตั้งมั่นรู้อยู่ที่คำบริกรรม...รู้อยู่ที่ลมหายใจ
    แต่ไม่ได้ระลึกถึงพระคุณนานาประการของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ก็ยังไม่ใช่พุทธานุสติอ่ะนะคับ
    แต่เป็นอานาปานสมาธิโดยมีคำบริกรรมเข้ามาช่วยกำกับน่ะคับ

    ถ้าจะเป็นพุทธานุสติ
    หมายความว่าขณะนั้นจิตระลึกนึกถึงพระคุณ
    ซึ่งหาที่สุดมิได้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    (รายละเอียดยังไม่ขอกล่าวนะคับ)



    - แต่ผมมองอย่างนี้อะครับว่า การกำหนดลมหายใจบริกรรม พุทธ-โธ มันก็เป็นวิปัสนาเช่นกัน เพราะว่าเมื่อหายใจเข้า..เราบัญญัติเรียกว่า "พุทธ" แทนคำว่า "หายใจเข้า" จิตเรานั้นมีสติระลึกรู้กายตนว่ากำลังหายใจเข้า เมื่อหายใจออก..เราบัญญัติเรียกว่า "โธ" แทนคำว่า "หายใจออก" เรามีสติรู้ว่ากำลังหายใจออก ซึ่งสภาพการหายใจเข้า-ออกนั้นก็มีอยู่จริง การบริกรรมภาวนาบัญญัติเป็นแค่ชื่อเรียกที่สมมติขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจตรงกันใช่มั้ยครับจะบัญญัติเป็นสมมติเอาสิ่งใดก็ได้
    อ่ะคับ...ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม
    จะกำลังนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ+คำบริกรรม
    หรือกำลังนั่ง นอน ยืน เดิน นึกคิด กระทำภารกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
    สติปัฏฐานก็สามารถเกิดได้ หรืออาจเกิดแทรกสลับคั่น
    ระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ...แล้วแต่ว่าสติระลึกรู้ที่รูปใด-นามใด
    ซึ่งแรกๆ ก็ยังเหมือนกับว่าเป็นตัวเราที่หายใจ...ตัวเราที่เดิน...ตัวเราที่ระลึกรู้
    หรือตัวเราที่กำลังทำอะไรๆ อยู่ ฯลฯ

    แต่เมื่อสติปัฏฐานระลึกรู้บ่อยๆ เนืองๆ
    ชัดขึ้นๆ เรื่อยๆ ในรูปหรือนามที่ปรากฏ
    ก็ค่อยๆ ไถ่ถอนความเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล
    ชั่วขณะที่แสนสั้นและรวดเร็วนั้น...
    คลายความเป็นตัวตนที่ยึดไว้...ว่าเป็นตัวเราหายใจ
    คลายความเป็นตัวตนที่ยึดไว้...ว่าเป็นลมหายใจของเรา
    คลายความเป็นตัวตนที่ยึดไว้...ว่าเป็นตัวเราเดิน
    คลายความเป็นตัวตนที่ยึดไว้...ว่าเป็นตัวเราระลึกรู้
    ................ฯลฯ
    เหลือแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ
    รูปธาตุบ้าง...นามธาตุบ้าง ปรากฏสืบต่อกันไปทีละขณะๆ

    ที่เคยยึดถือไว้ว่าเป็นตัวเราหายใจ...ลมหายใจของเรา...หรือตัวเราเดิน...
    ก็รู้ชัดแตกย่อยออกปรากฏทีละส่วน
    ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่ เย็นร้อน (ธาตุไฟ)...
    อ่อนแข็ง (ธาตุดิน)...ตึงไหว (ธาตุลม)...
    ซึ่งเป็นเพียงรูปธาตุยิบย่อยที่ปรากฏทีละขณะๆ แล้วก็หมดไปๆ

    ที่เคยยึดไว้ว่าเป็นตัวเราระลึกรู้
    ก็กลับรู้ชัดว่าการระลึกรู้นั้นเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น
    ซึ่งเป็นเพียงนามธาตุชนิดนึง (สติ) เกิดขึ้นทำกิจระลึกรู้

    ทั้งนี้...สืบต่อสลับกันไปอย่างรวดเร็ว
    ก็มีคำเรียก มีคำบริกรรม มีเรื่องราว เป็นความหมายต่างๆ เกิดขึ้นสลับกันไป
    ซึ่งเป็นเพียงบัญญัติธรรมที่สมมุติขึ้นตามความนึกคิด
    สติปัฏฐานที่คมชัดว่องไวจึงเห็นความต่างกันว่า
    การคิด...กับ...เรื่องราวความหมายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการคิด...เป็นคนละส่วนกัน
    สภาพคิดก็ส่วนนึง...เรื่องราวความหมายที่เกิดขึ้นจากการคิดก็ส่วนนึง
    รู้ชัดว่าสภาพคิดเป็นนามธาตุชนิดนึง (จิต) ซึ่งเกิดขึ้นทำกิจนึกคิด
    ไม่ใช่ตัวตนของเราหรือของใครไปสั่งให้คิด
    สภาพจิตที่คิดนั้นดีหรือเสีย...ผ่องแผ้วหรือขุ่นมัวลุ่มหลง...ก็รู้ได้ตามกำลัง

    อาการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆ
    อาการหายใจเข้า-ออก ลมหายใจเข้า-ออก ฯลฯ
    อาการต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นให้รู้ได้
    ก็เพราะรูปนามประชุมรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนรูปทรงต่างๆ
    เกิดความทรงจำยึดถือกลุ่มก้อนนี้ไว้ว่าเป็นตัวตนของตน
    แล้วบัญญัติคำเรียกไปตามรูปทรงต่างๆ ว่าแบบนี้เรียกว่าคน
    แบบนี้เรียกว่าสัตว์ แบบนี้เรียกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้
    และเวลาที่กายทั้งกลุ่มก้อนไหวไปเพราะจิตเป็นปัจจัย
    ก็บัญญัติเรียกลักษณะอาการที่ไหวไปต่างๆ
    ว่าไหวไปแบบนี้เรียกว่าเดิน ไหวไปแบบนี้เรียกว่าวิ่ง คลาน ยืน นั่ง นอน
    ไหวไปแบบนี้เรียกว่าหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ
    แล้วทรงจำยึดถือไว้ว่าเป็นตัวเราเดิน ตัวเรายืน ฯลฯ
    ตัวเราหายใจเข้า ตัวเราหายใจออก ลมหายใจของเรา

    แต่เมื่อสติปัฏฐานเจริญขึ้นจนปัญญาคมชัด
    ก็สามารถรู้ถึงลักษณะแท้ๆ ของรูปธาตุต่างๆ นามธาตุต่างๆ
    ที่ปรากฏอย่างยิบย่อยทีละขณะๆ ไม่ระคนปะปนกัน
    ชั่วขณะนั้นสภาพความเป็นกลุ่มก้อนที่รวมกันอยู่
    ก็กระจายให้รู้ทีละลักษณะ...ทีละทาง
    กิริยาอาการต่างๆ ซึ่งเคยยึดถือไว้ว่าเป็นเรายืน เราเดิน เราหายใจ
    ก็ว่างเว้นไปในขณะนั้น เผยให้เห็นสภาพธรรมแท้ๆ
    ปรากฏให้รู้ลักษณะแท้ๆ ของรูปธาตุต่างๆ นามธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปๆ
    ไม่เหลือสาระอะไรให้ยึดถือไว้เป็นตัวตนของเราได้เลยน่ะคับ

    แต่ก็เป็นธรรมดาอยู่เอง
    หลังจากนั้น...เมื่อสติปัฏฐานไม่เกิด
    ทุกอย่างก็กลับสู่สภาพเดิม
    ความยึดถือว่าเป็นตัวตนของเราก็เข้าเกาะกุมเหมือนอย่างเคย
    กิเลสทั้งหลายที่หลบหน้าไปชั่วระยะเวลาสั้นๆ
    ก็กลับมาเฟื่องฟูอีกตามวิสัยปุถุชนผู้ยังข้ามไม่ถึงฝั่งน่ะคับ

    ขณะที่สติปัฏฐานเกิด...ก็ชื่อว่าสมถะที่สงบจากกิเลส
    แต่ไม่ได้สงบแช่นิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวเหมือนอย่างการเจริญสมถภาวนา
    แต่เป็นความสงบในแต่ละขณะจิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
    ซึ่งระลึกรู้ในอารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฏอ่ะคับ





    เดฟ


    ปล. ถ้ามีเวลาก็อาจจะลองดูกระทู้ตามลิงค์ที่ให้นี้ประกอบกันไปนะคับ

    นั่งแบบไหนเป็นสมถะ นั่งแบบไหนเป็นวิปัสสนา
    http://www.watkoh.com/board/index.php?topic=2121.0

    สรณะคือพระรัตนตรัย