พระบริจาคเลือดได้ไหม

กระทู้: พระบริจาคเลือดได้ไหม

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:

    Re: พระบริจาคเลือดได้ไหม

    ลา มะลิลา ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา อิอิ
    เอ..กระทู้ก็ชื่อ พระบริจาคเลือดได้มั้ย แต่ไหง๋ ท้ายๆกลายเป๋นพระฉันผลไม้มีเมล็ดอาบัติมั้ย?
    เดียวขอกลับไปดูก่อนว่า เรื่องราวเปลี่ยนตอนใหน อิอิ อ้อๆๆๆๆ มีคนเปลี่ยนหัวข้ออยู่กลางๆๆเรื่อง นี้ นี้ นี้เอง5555+
    อ่านกระทู้นี้แล้วได้กำไร ทูอินวัน ใหนๆก็ใหนๆแล้ว ตอบด้วยตัวเองไม่ได้ แต่พอดีอุบาสิกาฟังพระอาจารย์ประนอม
    แล้วท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่นิดหน่อย เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านที่อยากรู้เลยขอยกเสียงส่วนหนึ่งมาให้ฟังนะค่ะ..


    http://www.4shared.com/embed/1303042156/c440328f



    อุบาสิกา


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  2. รูปส่วนตัว noppakorn

    noppakorn said:

    Re: พระบริจาคเลือดได้ไหม

    สวัสดีครับ

    จากกระทู้พระบริจาคโลหิต กลายเป็นการถวายอาหารและผลไม้ไปได้ 555 ขอกล่าวถึงบทพระวินัยเกี่ยวกับเรื่องอาหารไว้โดยรวม เป็นสังเขป ดังนี้ครับ

    ในสิกขาบทที่ 3 กล่าวถึง ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง 4 คือ เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ทั้ง 4 อย่างนี้ สามารถเก็บได้ไว้ฉันเพียง 7 วัน พ้นจากนี้ต้องสละทิ้ง มิฉะนั้นจะต้อง "นิสสัคคิปาจิตีย์" บางคนบอกว่าถ้าอย่างงั้น พอครบ 7 วัน ก็ให้ญาติโยม หรือเณรไปเสีย แล้วให้นำมาถวายใหม่ พระผู้ใหญ่ท่านว่า ก็ไม่ได้ครับ เพราะเป็นการแสดงถึงความอยาก เห็นแก่ได้ สละแล้ว ก็คือทิ้งแล้วไม่ห่วงหาอาลัยอีก นี้เป็นเรื่องอาหารที่เป็นเภสัชครับ
    ส่วนในเรื่องอาหารอื่นๆมีกล่าวไว้ใน บทโภชนาวรรค สิกขาบที่ 8 (ปาจิตตีย์ วรรคที่ 4 ) ว่า " ภิกษุรับประเคนข้าวต้ม ปลา เนื้อ อาหารต่างที่เขาส่งมาทั้ง 4 ทิศ รับประเคนแล้ว ค้างคืน ล่วงคืนแล้ว หากนำมาฉันอีกในวันรุ่งขึ้น ของนั้นเป็น สันนิธิ ให้ปรับอาบัติ ปาจิตตีย์ ทุกคำกลืน
    ส่วนอาหารกิจ คืออาหารที่จะสำเร็จเป็นอาหารได้ ที่เขานำมาถวายนั้นแล้วพระภิกษุให้กล่าวถวายด้วยวาจาไม่ต้องยกประเคน แล้วให้ญาติโยมหรือลูกศิษย์ ยกไปวางเก็บไว้ ในโรงครัว ห้ามภิกษุแตะต้อง รุ่งเช้าจึงให้เขามาประเคน ภิกษุจึงฉันได้แต่เช้าถึงเที่ยงวัน เรียกว่า "ยาวกาลิก"
    ส่วนอีกชนิดของอาหารที่ถวายพระคือ ยาวชีวิก เป็นของที่สามารถเก็บได้ยาวนานเก็บฉันได้ตลอดหรือใช้ประกอบยา เช่น เกลือ หัวกระเทียม ขิง ข่า กลอย ตะไคร้ ผักหนอก(บัวบก) ผักอีเลิด(ชะพลู) ใบฝ้าย ใบส้มล้ม พริก สมอ มะขามป้อม และอื่นๆที่เก็บได้นาน "ถ้าของเหล่านั้นมีเมล็ดแก่ นำไปปลูกได้ หรือนำส่วนของลำต้นหรือรากที่ติดอยู่เอาไปปลูกได้ พระภิกษุต้องทำวินัยกรรมเสียก่อน คือให้ถามเณร หรือโยมว่า "กัปปิยัง กะโรหิ (สมควรแล้วหรือ)" เณรหรือโยม ต้องตอบว่า "กับปิยัง ภันเต (สมควรแล้วเจ้าข้า)" พร้อมกับเอาเล็บหรือมือเด็ดจิกขาดจากกัน แล้วจึงประเคนภิกษุ พระภิกษุก็เอามาฉันได้ ในที่นี้ยกเว้น พืชผลไม้ที่ยังอ่อน ทำพันธ์ต่อไม่ได้ ไม่ต้อง"กัปปิยะ" ครับ

    อาหารที่เป็น ยาวชีวิก เช่น เกลือพริก ที่กล่าวไว้ หากเช้าเขาถวาย เมื่อภิกษุรับประเคนไว้แล้ว ห้ามนำมากินฉันกับอาหาร เพราะจะกลายเป็น อาหารกิจ อาหารนั้นจะเป็น สันนิธิ ฉันแล้วต้องปาจิตตีย์ เพราะ ยาวชีวิก โยมถวายเป็นยา ไม่ได้เป็นอาหาร ห้ามนำมาฉันเป็นอาหารครับ

    ส่วนผลไม้ที่เราพูดถึงกันอยู่นั้น เราเรียกว่า "ยามกาลิก" คือเป็นของหรือน้ำผลไม้ที่คั้นถวายให้พระฉันได้เพียง วันหนึ่งคืนหนึ่งเท่านั้น ได้แก่ที่เราเรียกว่า น้ำอัฏฐบาน เช่น มะม่วง มะนาว ส้มโอ สัปปะรด เป็นต้น ต้องนำมาตากให้เหี่ยวเสียก่อน จึงมาคั้นน้ำถวายได้ แต่หากเป็นน้ำผลไม่หลายๆอย่าง มาคั้นรวมกัน จะต้องกรองถึง 8 ครั้งจึงถวายพระได้ อันนี้เรียกว่า น้ำอัฏฐ(แปด)บาน ครับ และห้ามภิกษุ นำหอม ขิง ข่า หรือใดๆ ทีเขาถวายเป็นยามาผสม หากกระทำไปก็ผิดวินัยครับ

    การถวายผลไม้ต่างๆ แก่พระภิกษุนั้น หากของนั้นสามารถแพร่พันธ์ใด ห้ามถวาย เพราะภิกษุรับประเคน และฉันเข้าไปจะต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ การถวายหากจะถวายหากเป็นเมล็ดอ่อน แพร่พันธ์ไม่ได้ ก็สามารถถวายได้ ครับ ส่วนอาหารหรือผลไม้ที่แก่จนเผยแพร่พันธ์นำไปปลูกต่อได้ ต้องทำกับปิยะ เสียก่อน คือทำให้สุข หรือเอาเมล็ดทิ้งก่อน แต่หากในสถานที่ใดๆ ที่ไม่สามารถกระทำ ก็ให้ภิกษุ นั้นถามเณรหรือโยมเสียก่อนว่า "กัปปิยัง กะโรหิ (สมควรแล้วหรือ)" เณรหรือโยม ต้องตอบว่า "กับปิยัง ภันเต (สมควรแล้วเจ้าข้า)" แล้วให้เณรหรือโยม นำเมล็ดออกเสีย หรือเด็ดทิ้งเสีย ภิกษุก็ฉันได้ครับ

    การตั้งชื่อและแปลชื่อโดยคุณอุบาสกนพกรณ์
    จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน
    - ของดตอบคำถามเป็นการส่วนตัว
    - ของดการแจ้งลบกระทู้ (โดยไม่มีเหตุอันควร) หลังจากที่ได้คำตอบแล้ว
    - กรุณาตั้งคำถามให้ตรงตามหมวดหมู่อักษร
    - ขอตอบวันละ 3 ชื่อ (กรุณารอคิวหากมีผู้ถามเข้ามามาก)


    ขอชื่อใหม่ต้อง...
    1. แจ้งชื่อนามสกุลหรือทักษาเลข
    2. วันเกิด(จ-อ)
    3. อาชีพ
    4. เหตุผล(เพื่อวิเคราะห์ชื่อมงคล)
     
  3. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:

    Re: พระบริจาคเลือดได้ไหม

    ขอบพระคุณค่ะ พี่นพฯ คุณอุบาสิกา
    ชัดเลยค่ะ ทีนี้กระจ่างแว้วววนะค่ะ

    555555กระทู้นี้ พอดีอ่านไปอ่านมา
    อารมณ์มันก็พาไปให้ยาวววววเลยทีนี้นะค่ะ อิอิ....



    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  4. chai_kmutnb said:

    Re: พระบริจาคเลือดได้ไหม

    อยากกินเงาะสอดใส้สัปปะรดในน้ำเชื่อมของ มาลี
     
  5. piangfan said:

    Re: พระบริจาคเลือดได้ไหม



    อนุโมทนาสาธุกับทุกๆท่านค่ะ
     
  6. chai_kmutnb said:

    Re: พระบริจาคเลือดได้ไหม

    หวานชื่นใจอร่อยมากครับ ขอบคุณครับคุณเพียงฝันอิอิ ไม่ต้องทำกัปปิยัง เพราะผ่านการเอาเมล็ดออกจากโรงงานแระ คริคริ