สารพันปัญหา คาใจ

กระทู้: สารพันปัญหา คาใจ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:

    สารพันปัญหา คาใจ

    บุษสงสัยว่า องค์มรรค 8 ทำมัยจึงยกสัมมาทิฏฏฐิ ซึ่งเป็นกองปัญญาขึ้นแสดงก่อน
    ส่วนการปฏิบัติของผู้ดำเนินทางมรรคต้องทำศีลไปก่อน แล้วจึงทำสมาธิและปัญญา
    ซึ่งเรียกว่าสิกขาทั้ง 3 อะค่ะ

    อายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 วิญญาณ 6 ผัสสะ 6 เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ 6
    ก็ไม่ใช่กิเลสประเภททุกข์ทั้งนั้นใช่ปะค่ะ แต่ทำมัยคนเราเมื่อเวลาตาเห็นรูป
    หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรสหรือถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายรู้รับ
    อารมณ์ด้วยใจ ก็ย่อมได้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งใช่ปะค่ะ หรือก็อายตนะและผัสสะ
    เวทนาก็ไม่ใช่กิเลส แต่ทำมัยคนเราจึงเกิดกิเลส และความอยากขึ้นได้อะค่ะ

    เวทนาเป็นขันธ์แท้เป็นทุกขสัจไม่ใช่กิเลส แต่ในปฏิจจสมุปบาท
    ทำมัยจึงมีเวทนาปจจยาตัณหาอะค่ะ เพราะเหตุอะไรอะค่ะ

    ในสังขารขันธ์ตามแบบอภิธัมมสังคหะ ท่านแจงไว้ว่า อกุศลเจตสิก 14
    โสภณเจตสิก 25 อัญญสมนา 13 รวมเป็นเจตสิก 52 ดวงนั้น ดูแล้วก็
    จะมีทั้งกุศลและอกุศลและไม่ใช่กุศลและอกุศลปนกัน ทั้งหมดนี้เป็นทุกขสัจ
    หรือว่าเป็นสมุทัยอะค่ะ แล้วเหตุใดถึงได้เป็นอย่างนั้นอะค่ะ

    อ้อ อีกนิดนะค่ะ สุดท้ายแระ อิอิ.... แล้วปิติที่เกิดขึ้นนี้จัดเป็นเวทนาด้วยหรือเปล่าอะค่ะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Butsaya : 06-20-2012 เมื่อ 07:57 AM

    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    บุษสงสัยว่า องค์มรรค 8 ทำมัยจึงยกสัมมาทิฏฏฐิ ซึ่งเป็นกองปัญญาขึ้นแสดงก่อน
    ส่วนการปฏิบัติของผู้ดำเนินทางมรรคต้องทำศีลไปก่อน แล้วจึงทำสมาธิและปัญญา
    ซึ่งเรียกว่าสิกขาทั้ง 3 อะค่ะ
    องค์มรรคทั้ง 8 ย่อมอาศัยกันและกัน
    ประกอบเข้าด้วยกัน เกี่ยวเนื่องกันคือ


    เมื่อมีปัญญา...ก็คิดชอบ
    เมื่อคิดชอบ...ก็พูดชอบ
    เมื่อพูดชอบ...ก็ทำชอบ
    เมื่อทำชอบ...ก็เลี้ยงชีพชอบ
    เมื่อเลี้ยงชีพชอบ...ก็เพียรชอบ
    เมื่อเพียรชอบ...ก็ระลึกชอบ
    เมื่อระลึกชอบ...ก็ตั้งมั่นชอบ

    ที่ตั้งมั่นชอบ...เพราะระลึกชอบ
    ที่ระลึกชอบ...เพราะเพียรชอบ
    ที่เพียรชอบ...เพราะเลี้ยงชีพชอบ
    ที่เลี้ยงชีพชอบ...เพราะทำชอบ
    ที่ทำชอบ...เพราะพูดชอบ
    ที่พูดชอบ...เพราะคิดชอบ
    ที่คิดชอบ...เพราะมีปัญญา


    ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ อันได้แก่ปัญญาเจตสิกเป็นองค์แรก
    เพราะเป็นองค์ที่มีอุปการะมากอย่างยิ่งเลยคับ
    เหมือนเป็นรากฐาน นำมาซึ่งความเห็นถูก
    เปรียบเหมือนแสงสว่างที่กำจัดความมืดมน
    เปรียบเหมือนศาสตราที่ฟาดฟันประหารกิเลส
    นำมาซึ่งมรรคผล


    ทรงแสดงสัมมาสังกัปปะ อันได้แก่วิตกเจตสิก
    เปรียบเสมือนนายช่างเงินผู้พลิกดูกหาปณะ
    เพื่อพิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง
    ซึ่งเมื่อมีปัญญาก็ย่อมรู้ว่ากหาปณะนี้แท้หรือเทียม
    เสมือนหนึ่งย่อมตรึกตรองแล้ว จึงกล่าววาจาชอบ กระทำชอบ ออกมาได้
    เมื่อมีวาจาชอบ กระทำชอบ ก็ย่อมเลี้ยงชีพด้วยสุจริต
    ผู้เลี้ยงชีพด้วยสุจริตมีความเป็นอยู่ชอบย่อมเว้นจากทุจริต
    มีความเพียรที่จะละเว้นให้ห่างไกลจากอกุศลทั้งปวง
    เจริญสติด้วยความไม่ประมาท
    ถึงขั้นสติปัฏฐานที่ประกอบด้วยปัญญาประจักษ์แจ้งในความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย
    และมีสมาธิตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมทั้งปวง


    มรรคมีองค์ 8 นี้ เมื่อกล่าวอีกนัยหนึ่ง
    ก็จำแนกได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา


    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ...สงเคราะห์ลงในศีล
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ...สงเคราะห์ลงในสมาธิ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ...สงเคราะห์ลงในปัญญา


    คนเราเมื่อตั้งอยู่ในศีล เป็นผู้มีศีลเป็นเครื่องอยู่เป็นปรกติ
    ทำมาหากินสุจริต ไม่หลอกลวงใคร ไม่กระทำทุจริตเบียดเบียนใคร
    ก็ย่อมอยู่เย็นเป็นสุข ไม่กระวนกระวาย ไม่เดือดร้อนกังวล
    จิตใจก็ย่อมสงบตั้งมั่นได้ดี มีความเพียร เกื้อกูลแก่สมาธิให้เจริญยิ่งขึ้น
    เมื่อมีสมาธิดี มีความตั้งมั่นดี ก็เกื้อกูลแก่การอบรมปัญญาให้เจริญขึ้น
    เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็เกื้อกูลต่อการเจริญกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป
    รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี เป็นผู้มีศีลมีธรรม
    มีความเพียรขัดเกลากิเลสในจิตใจยิ่งๆ ขึ้นไป


    เห็นมั้ยคับว่าจริงๆ แล้วก็ประกอบรวมกัน
    เกี่ยวพันเกื้อกูลกันไปหมดน่ะคับ

    จะสังเกตได้ว่า มรรคมีองค์ 8 นั้น
    แสดงโดยยกเอาองค์ธรรมที่มีอุปการะยิ่งขึ้นก่อน
    สิกขา 3 นั้นแสดงโดยยกเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน
    ซึ่งทุกคนสามารถประพฤติปฏิบัติได้ง่ายขึ้นก่อนน่ะคับ



    อายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 วิญญาณ 6 ผัสสะ 6 เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ 6
    ก็ไม่ใช่กิเลสประเภททุกข์ทั้งนั้นใช่ปะค่ะ แต่ทำมัยคนเราเมื่อเวลาตาเห็นรูป
    หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรสหรือถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายรู้รับ
    อารมณ์ด้วยใจ ก็ย่อมได้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งใช่ปะค่ะ หรือก็อายตนะและผัสสะ
    เวทนาก็ไม่ใช่กิเลส แต่ทำมัยคนเราจึงเกิดกิเลส และความอยากขึ้นได้อะค่ะ

    เวทนาเป็นขันธ์แท้เป็นทุกขสัจไม่ใช่กิเลส แต่ในปฏิจจสมุปบาท
    ทำมัยจึงมีเวทนาปจจยาตัณหาอะค่ะ เพราะเหตุอะไรอะค่ะ
    อันนี้อะไรคับเนี่ย อ่านแล้ว งง
    ทำไมพันกันยุ่งเหยิงขยุกขยุยไปหมด อิอิ

    พอจะจับประเด็นได้ว่า (ไม่รู้จับผิดจับถูก)
    ตัณหามันมาได้อย่างไร

    ทำไม เวทนา เป็นปัจจัยแก่ ตัณหา

    ทั้งนี้เพราะ เวทนา อันได้แก่นามธาตุชนิดหนึ่งที่เสวยอารมณ์
    คือความรู้สึกในอารมณ์ที่ได้รับ
    ได้แก่ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์


    เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ที่ดี...รู้สึกเป็นสุข
    ก็เป็นปัจจัยให้อนุสัยกิเลสอย่างหนึ่งซึ่งนอนเนื่องอยู่ในจิตใจแสดงตัวออกมา
    ก็คือตัณหานั่นเอง ซึ่งเป็นกามราคานุสัย
    ทำให้เกิดความติดข้องพอใจในความสุข ปรารถนาใคร่ได้ความสุขนั้นอีก


    ถ้าเวทนาเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี...รู้สึกเป็นทุกข์
    ก็ต้องการให้ความทุกข์นั้นหมดไป ปรารถนาใคร่ได้ความสุขมาแทนที่


    ถ้าเวทนาได้รับอารมณ์ธรรมดาๆ...รู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
    ก็เห็นว่าดีกว่าได้รับความทุกข์ อยากเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องทุกข์ร้อน
    หรือหากได้รับความสุขเพิ่มขึ้นก็ยิ่งดีใหญ่


    จะเห็นได้ว่า ตัณหาไม่ได้มาจากที่อื่นเลยน่ะคับ
    เวทนาไม่ได้เสกตัณหาขึ้นมาเอง
    ทว่า...ตัณหานั้นนอนเนื่องหลบซ่อนตัวอยู่ในจิตใจเราทุกคนอยู่แล้ว
    เมื่อเวทนาคือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ เกิดขึ้น
    จึงเป็นปัจจัยให้ตัณหาซึ่งหลบซ่อนเร้นลึกอยู่ในก้นบึ้งของจิตใจ
    แสดงตัวออกมาเป็นความติดข้องต้องการนั่นเองคับ



    ในสังขารขันธ์ตามแบบอภิธัมมสังคหะ ท่านแจงไว้ว่า อกุศลเจตสิก 14
    โสภณเจตสิก 25 อัญญสมนา 13 รวมเป็นเจตสิก 52 ดวงนั้น ดูแล้วก็
    จะมีทั้งกุศลและอกุศลและไม่ใช่กุศลและอกุศลปนกัน ทั้งหมดนี้เป็นทุกขสัจ
    หรือว่าเป็นสมุทัยอะค่ะ แล้วเหตุใดถึงได้เป็นอย่างนั้นอะค่ะ
    เอางี้คับ เข้าใจง่ายๆ อย่างนี้ละกันนะคับ

    สมุทัยสัจจ์ ได้แก่ โลภเจตสิก 1 ดวงเท่านั้น
    เพราะเป็นเหตุให้เกิด ทุกขสัจจ์


    ส่วนทุกขสัจจ์ ที่เกิดขึ้นโดยมีสมุทัยสัจจ์เป็นเหตุ
    ได้แก่ โลกียจิต 81 (เว้นโลกุตตรจิต ,
    เจตสิก 51 ที่เกิดกับโลกียจิต (เว้นโลภเจตสิก 1) และรูป 28


    - ที่เว้นโลกุตตรจิต 8 (และเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลกียจิต)
    ไม่เป็นทุกขสัจจ์เพราะเป็นจิตที่พ้นจากโลกียะ ไม่เกี่ยวข้องเป็นไปกับโลก


    - ที่เว้น โลภเจตสิก ไม่เป็นทุกขสัจจ์
    เพราะนี่คือตัวสมุทัยสัจจ์ ที่ทำให้เกิดทุกขสัจจ์




    อ้อ อีกนิดนะค่ะ สุดท้ายแระ อิอิ.... แล้วปิติที่เกิดขึ้นนี้จัดเป็นเวทนาด้วยหรือเปล่าอะค่ะ
    ปีติ ไม่ใช่ เวทนา คับ

    เวทนา คือ ความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
    ส่วนปีติ คือความปลาบปลื้ม อิ่มเอิบใจ
    เวลาที่เกิดความปีติ ก็เป็นสุขเวทนา
    แต่เวลาที่เป็นสุขเวทนา อาจไม่เกิดความปิติก็ได้คับ





    เดฟ

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:
    โอ้ววววว... ขอบอกว่าตอบได้แจ่ม เคลียชัดเจนดีจัง อิอิ.....
    ติดใจๆๆๆ แห๋มม บุษกะพยายามจะเรียบเรียงในการพยายาม
    จะอธิบายให้คนตอบเข้าใจคนถามได้มากขึ้น 5555555
    แต่คนตอบกะเก๊งงงเก่งงงจับทางถูก สรุปได้ตรงกะสิ่งที่อยากรู้
    หืมม มีแอบบ่นเล็ก ๆ ด้วย 5555555555555

    แบบนี้ตัณหานี้บ่มเพาะอยู่ในอนุสัยที่นอนเนื่องนี่เอง
    แบบนี้ต้องขยันๆๆ ขุดตัณหาตัวเองออกมาชำแระดู
    ซะแล้วเนาะ ว่ามันมีอะไรฝัง ๆ ไว้อยู่ม้างงงง
    แต่ท่าทางจะแงะเจอตัวหนึ่งแล้วมันคงไปชวนเพื่อน ๆ
    ที่ฝัง ๆ อีกหลายตัวชวนกานโผ่ลขึ้นมาเป็นแถวเป็นแนวกะได้เนาะ
    แต่ก็คงต้องใช้กำลังสู้กานหน้าดูกว่าจะทำให้ตัณหาที่ไม่ดีเชื่อง
    ลงได้ด้วยปัญญาจนกว่ามันจะดับตายไปในที่สุดเนาะ อิอิ...

    ขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตพีเดฟด้วยนะค่ะ
    ที่ตอบให้จากที่สงสัยคาใจนั้น เข้าใจชัดเจนมากขึ้น
    สุดยอดจิง ๆ ไว้จะขนมาถามอีกนะค่ะ อิอิ....


    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  4. รูปส่วนตัว Sri Visuthi Mongkol

    Sri Visuthi Mongkol said:
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
    จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
    เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้
    (ม.มู. ๑๒/๖๔)
     
  5. Admax said:
    สาธุ สาธุ สาธุ กระจ่างใจแท้ เพิ่งรู้ว่าพี่เดฟก็เขียนวิทยานิพนธฺแบบผมเป็นแล้ว อิอิอิ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:
    ถามต่อได้มะพอดีเห็นเรื่องปิติบุษถามมา

    - คำถามที่ 1 ถามว่า ปิติ เป็นอาการของจิตใช่มั้ยครับ เมื่อจิตรู้สภาพอารมณ์ความรู้สึกจากปิตินั้นจึงเกิดเวทนาใช่มั้ยครับ
    - ทีนี้เมื่อจิตมีสมาธิในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่จดจ่อมากพอควรแก่งาน ก็จะเกิดอาการปิติจิตขึ้น ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองนั้นมักเล่นกับจริตและความปรุงแต่งทั้งหมด (ที่จริงผมไม่ใช่คนคิดมากนะพี่เดฟ แต่เพราะชอบเล่นแบบนี้เพื่อให้รู้ทั้งหมดเลยคิดมากน่ะครับ อิอิ เวลาโพสท์กระทู้มันเลยรวมๆหลาบจริตเป้นวิทยานิพนธ์ไปครับ 555) คืออย่างที่ผมเข้าไปดูแบบกรรมฐานเวบมัชฌิมา เขาเน้นพระลักษณะ พระรัศมี เน้นปิติจิต ซึ่งเวลามีคนปฏิบัติมาจะติดข้องเรื่องปิติแล้วถามตอบกันมาก
    - ซึ่งสภาวะนั้นผมได้ผ่านมาแล้วโดยไม่ใส่ใจมันมากนักโดยผมระลึกรู้สภาพ เช่น อิ่มเอม โยกเยก ตัวลอย ขนลุกเป็นต้นนั้นแค่ว่าเป็นสภาพที่มีสมาธิจดจ่อมากขึ้นจากธรรมดา เป็นอาการพลังของสมาธิที่ครอบคลุมจิต ไม่ได้ให้ชื่อให้ความหมายมัน โดยระลึกแค่ว่าเมื่อจิตเรานิ่งเราก็จะไม่มีอาการนั้นๆ พอก้าวข้ามอาการนี้ไป(สภาพนี้ผมหลุดพ้นมาแล้วเกิดแก่ผมแล้วแต่อาจจะยังมีขนลุกซู่บ้างบางครั้ง) --> ก็จะเข้าสู่สภาวะนิ่ง มีปิติ อิ่มเอม สุข เมื่อพ้นปิติสุขก็เหมือนกับโลกทั้งโลกหยุดหมุนหรือหยุดเวลาลง เกิดความ ว่าง สงบ อบอุ่น เบาบาง ผ่องใส ในสภาพมีเหมือนมีตนดูตน มีจิตดูจิต(อธิบายไม่ถูก เอาเป็นว่ามันเป็น "ปัจจัตตัง") นี่คือสภาพที่เกิดกับผม
    - ซึ่งผมลองมานั่งสมาธิใหม่ลองพยายามทำดูเพ่งดูอย่างเขาเพื่อจะเข้าอาการนั้นๆ กลับทำให้ตนเองไม่มีสมาธิ แม้แต่ขณิกสมาธิยังเข้าไม่ได้เลย เพราะมันคอยคิด คอยพะว้าพะวง มันคิดเพ่งตั้งคอยดูอยู่อย่างนั้นไม่หยุด
    - คำถามที่ 2 ถามว่าทำไมเขาต้องเน้น พระลักษณะ พระลักษมี ปิติจิต มากกันจัง ผมคิดว่าเพราะเพ่งเอาใคร่ที่จะได้ตามนั้นจิตมันจึงฟุ้งซ่าน ทั้งๆที่ตามจริงแล้วมันคือความปรุงแต่งทั้งหลายของจิต
    - เมื่อผมมีสมาธิในระดับนึง จิตผมเพิ่งที่ลมหายใจอยู่ พอรู้ตนว่าอยู่สภาวะใด ด้วยใจที่ไปจดจ้องหมายเอาว่าเป็น ฌาณจิต มันจึงมีจิตหนึ่งคิดเกิดขึ้นอยู่ฝั่งสมองซีกซ้ายเยื้องไปด้านหลังว่า ถึงแล้วเข้าฌาณแล้ว ระยะแรกที่รู้มันเกิดขึ้น มันก็สภาพเส้นทางวิถีที่มันเกิดขึ้นทางทิศนั้นทิศนี้ พอใส่ใจสร้างปรุงแต่งเรื่องราวในความหมายมันไปปุ๊บ หลุดจากสมาธิทันที แล้วก็เข้าสมาธิไม่ได้อีก นี่ก็เพราะคิดอีกรอบทำสมาธิหลุด
    ผมจึงตั้งใหม่โดยจดจ่อที่ลมหายใจเมื่อมันคิดปรุงแต่งขึ้นมาเรื่องกามบ้าง เรื่องงานบ้างทั้งที่พอใจและไม่พอใจ ผมมีจิตรู้ว่าคิด แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญมันรู้แค่ว่ามันคิดมันปรุงแต่งของมันไปตามธรรมชาติของจิตซึ่งจิตตัวนี้มันบอกว่าติดข้องคล้อยตามมันไปก็ว้าวุ่นฟุ้งซ่านทุกข์ใจ ปล่อยมันปรุงอยู่อย่างนั้นไม่ต้องไปตามมัน อยู่กลางๆดีกว่า
    เมื่อได้ยินเสียง แต่ไม่ได้ให้ความหมายสำคัญปรุงแต่งเรื่องราวแก่มัน เช่น มีรถผ่านไปมา อู่ซ่อมรถอยู่ข้างๆทำเสียงดัง มีนกมากมายมาร้องเจี๊ยวจ๊าว ผมรู่แค่ว่าได้ยินรู้ว่าเสียงมี "เสียงดัง-เบา" เท่านั้น ไม่ได้ให้ความหมายมันสร้างเรื่องราวว่าเป็นคนนั้นคนนี้ นกนั่นนกนี่ เป็นต้น แล้วยกจิตขึ้นเหนือมันไม่ไปหยิบจับเอามาเป็นอารมณ์
    เมื่อคันตามขา ตามหน้าอกงี้ ผมนึกป๊าปเลยว่ายุงแน่นอนไม่ก็มดมากัด พอรู้ว่าส่งต่อเรื่องราวจากสภาพจริงที่เกิดแล้ว ผมก็ระลึกสภาพดูว่ามันเหมือนมีอะไรเคลื่อนผ่านกายทำให้เกิดผัสสะรู้โผฐฐัพพะนั้น ซึ่งเมื่อสมาธินิ่งขึ้นอยู่ๆก็ระลึกรู้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ที่จริงมันก็แค่การกระทบกันของสิ่งใดสิ่งหนึ่งภายนอกกับกายเรา กายมันไม่รู้ ไม่มีอะไรรู้ มีแต่จิตรู้ มีแต่จิตคิด เห็นก็ไม่เห็น ได้ยินก็ไม่ได้ยิน รู้ได้ไงว่าเป็นมด เป็นยุง ผมจึงเพ่งพิจารณารู้เฉพาะสภาพคันนั้นกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเช่น อัดอั้น ทะยาน อึดอัด คับแค้นบ้าง เฉยๆบาง จิตคิดเอามือไปเกาบ้าง แล้วก็รู้สึกเหมือน อาการคัน อากการอัดอั้น ระส่ำระส่าย อาการเฉยๆ มันเกิดสลับกันไปมา พอเอาจิตจดจ้องดูเฉพาะเฉยๆ มันก็ไม่คัน พอจับเอาอัดอั้น ระส่ำระส่ายมันก็คิดอยากจะเกา พอไม่ให้ความหมายมันว่ามันคืออะไรรู้แค่ว่ารู้สึกอย่างนี้ ไม่มีชื่อ ไม่มีความหมาย รู้แค่ว่ารู้สึกนี้ๆ อาการคันก็หายไป ไม่เกิดอารมณ์ปรุงแต่งใดๆ ความคิดหรือมโนภาพใดๆแก่จิตผม เข้าสู่สภาวะนิ่งสงบพิจารณาแต่สภาพจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีบัญญัติ
    - ถามที่ 3 ถามว่า สภาพที่แค่รู้สึก ไม่ให้ความหมาย สมมติเรื่องราว รู้แค่สภาพจริงที่ผมเป็นอยู่นี้ ใช่ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า รู้ก็สักแต่รู้ เห็นก็สักแต่เห็น ได้ยินก็สักแต่ได้ยิน หรือมั้ยครับ
    - ถามที่ 4 ถามว่า ในขณะที่เราคัน ระส่ำอยู่นั้น มันก็เกิด-ดับเช่นกัน ใช่ไหมครับ ที่สังเกตุดูนั้นเดี๋ยวคัน เดี๋ยวหาย เดี๋ยวเฉยๆ สลับกันไป

    รบกวนไขคดีนี้ให้ผมกระจ่างใจด้วยนะครับ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  7. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    - คำถามที่ 1 ถามว่า ปิติ เป็นอาการของจิตใช่มั้ยครับ เมื่อจิตรู้สภาพอารมณ์ความรู้สึกจากปิตินั้นจึงเกิดเวทนาใช่มั้ยครับ
    ปีติ เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต
    ทำให้เกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจในลักษณะต่างๆ กันไปน่ะคับ
    เช่น บางคนก็อาจจะปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจจนขนลุก
    น้ำตาไหล ซาบซ่าน โยกโคลง เบาลอย ฯลฯ เป็นต้น

    ในขณะที่กำลังเกิดความปิติ ก็มีโสมนัสเวทนาในขณะนั้นด้วยคับ
    อยู่ที่ว่าสติระลึกรู้สภาพธรรมใด

    ให้ทราบว่า เวทนาเจตสิกนั้นเกิดกับจิตทุกขณะไม่เว้นเลย
    เราทุกคนขณะนี้ ทางกายถ้าไม่เป็นทุกขเวทนา ก็เป็นสุขเวทนา
    ทางใจถ้าไม่เป็นโทมนัสเวทนา ก็เป็นโสมนัสเวทนา
    ถ้าไม่รู้สึกโทมนัสหรือโสมนัส แต่รู้สึกเฉยๆ ก็เป็นอุเบกขาเวทนา
    ไม่มีขณะใดเลยที่จะไม่มีเวทนา อยู่ที่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่
    สติระลึกที่สภาพเวทนาในขณะนั้นหรือไม่น่ะคับ

    ส่วนปีติเจตสิกนั้นไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวงเหมือนอย่างเวทนาเจตสิก
    บางครั้ง เราอาจจะรู้สึกสนุกเพลิดเพลินกับการดูหนังหรือดูบอล เป็นโสมนัสเวทนา
    แต่ไม่ได้ปีติปลาบปลื้มใจอะไรใช่มั้ยคับ

    ในขณะที่บางครั้ง
    ติ๊ต่างว่าไปทำบุญช่วยเหลือวัดหรือโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร
    เดินทางแสนเหนื่อย ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นทุกขเวทนาทางกาย
    แต่กลับเป็นสุขใจ ดีใจ เป็นโสมนัสเวทนา
    และเกิดความปีติ ปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น
    บางคนอิ่มเอมซาบซึ้งถึงกับกินอะไรไม่ลง
    ที่มักแซวกันว่า อิ่มบุญ ใช่มั้ยคับ

    สรุปก็คือ ใน 1 ขณะจิตนั้น
    ถ้าปีติขึ้นในใจแล้ว เวทนาในขณะนั้นย่อมเป็นโสมนัสเวทนา
    อยู่ที่ว่าเวลาที่สติปัฏฐานเกิด...ระลึกรู้ได้ที่สภาพธรรมใด
    ระลึกรู้สภาพของปีติ หรือสภาพของเวทนา
    เพราะรู้ได้ทีละ 1...แต่ว่ารู้สลับกันไปได้
    จนทำให้เหมือนว่ารู้ไปพร้อมๆ กันน่ะคับ

    ส่วนเวลาที่เจริญสมาธิภาวนา เมื่อจิตใจเริ่มตั้งมั่นดี ไม่ซัดส่าย
    จรดอยู่กับอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของสมาธิอย่างมั่นคง
    ชั่วขณะนั้นไม่มีการรับรู้อื่นใดมาแทรกคั่น จึงปิดกั้นนิวรณ์ไว้ได้
    จิตใจประกอบด้วยสภาพธรรมที่เกื้อกูลร่วมกันครบถ้วนเต็มกำลัง
    ทั้ง วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    และเมื่อยิ่งมั่นคงแนบแน่นกับอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของสมาธิยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
    ไม่ต้องมีวิตก วิจาร คอยประคับประคอง
    แม้ปีติ สุข ก็เห็นเป็นของหยาบอยู่...จึงวางคลาย
    กลายเป็นความรู้สึกที่เป็นกลาง ไม่หวั่นไหวยินดียินร้าย
    จิตใจขณะนั้นจึงสงบนิ่งยิ่งขึ้น ละเอียดประณีตขึ้น
    ตั้งอยู่ด้วย อุเบกขากับเอกัคคตา น่ะคับ

    (ขออธิบายเฉพาะที่เป็นคำถามละกันนะคับ ส่วนขยายด้านล่างเข้าใจว่าเป็นการบอกเล่า)




    คำถามที่ 2 ถามว่าทำไมเขาต้องเน้น พระลักษณะ พระลักษมี ปิติจิต มากกันจัง ผมคิดว่าเพราะเพ่งเอาใคร่ที่จะได้ตามนั้นจิตมันจึงฟุ้งซ่าน ทั้งๆที่ตามจริงแล้วมันคือความปรุงแต่งทั้งหลายของจิต
    (อันนี้ ทั้งส่วนคำถามและส่วนขยายด้านล่าง เข้าใจว่าเป็นการบอกเล่า...เล่าสู่กันฟัง อิอิ)




    ถามที่ 3 ถามว่า สภาพที่แค่รู้สึก ไม่ให้ความหมาย สมมติเรื่องราว รู้แค่สภาพจริงที่ผมเป็นอยู่นี้ ใช่ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า รู้ก็สักแต่รู้ เห็นก็สักแต่เห็น ได้ยินก็สักแต่ได้ยิน หรือมั้ยครับ
    ที่ทรงแสดงไว้ว่า เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน หรือ รู้สักว่ารู้
    ดังที่ปรากฏในพระสูตรหลายๆ แห่ง
    เพราะประจักษ์ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง
    ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนของใครใดๆ ทั้งสิ้น
    ปรากฏลักษณะของปรมัตถธรรมที่ถูกสมมติบัญญัติปิดบังไว้
    รู้ชัดว่าเป็นแต่เพียงรูปธาตุ นามธาตุ ที่ประชุมกันเท่านั้น
    ปัญญาเห็นแจ้งแทงตลอดในลักษณะของรูปธาตุ นามธาตุ
    จนไถ่ถอนความเห็นผิดที่ยึดมั่นสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็นตัวตนของตน
    หมดความหวั่นไหว โลภ โกรธ หลง ไปกับเรื่องราวอันเป็นสมมติบัญญัติ
    ปัญญาสมบูรณ์พร้อมมีกำลังประหารกิเลสสิ้นซากในที่สุดน่ะคับ

    เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน หรือ รู้สักว่ารู้
    จึงไม่ใช่การทำเป็นไม่ใส่ใจ เอาหูไปนา เอาตาไปไร่
    แบบนี้เป็นการสักว่าเห็น สักว่าได้ยิน สักว่ารู้ ด้วยโมหะ
    คือไม่รู้ความจริงอะไรเลยน่ะคับ




    - ถามที่ 4 ถามว่า ในขณะที่เราคัน ระส่ำอยู่นั้น มันก็เกิด-ดับเช่นกัน ใช่ไหมครับ ที่สังเกตุดูนั้นเดี๋ยวคัน เดี๋ยวหาย เดี๋ยวเฉยๆ สลับกันไป
    สภาพธรรมแท้ๆ ที่เป็นของจริงนั้น
    เกิดดับอย่างยิบย่อยอยู่ตลอดเวลาน่ะคับ
    แต่เพราะการสืบต่อกันอย่างเร็ว
    ทำให้อาการนั้นปรากฏต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา
    จนกว่าจะแปรเปลี่ยนเป็นอาการอื่น
    เราจึงพอจะอนุมานได้ว่า...อ้อ นี่คันดับไปแล้ว กลายเป็นไม่คันแล้ว
    อ้าว คันกลับมาอีกแล้ว คันเกิดแล้ว ไรอย่างนี้น่ะคับ


    จริงๆ แล้ว...ตลอดเวลาที่รู้สึกคันนั้น
    ไม่ใช่ว่า อาการคันเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่นานๆ เช่น คันอยู่ 2 นาที
    อ้อ คันมันเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ 2 นาที ค่อยดับไป หายคันแล้ว...ไม่ใช่อย่างนี้น่ะคับ

    ทว่า...ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการคันนั้น เกิดดับๆ ยิบย่อยมากนับไม่ถ้วน
    ซึ่งเราไม่อาจจะไปรู้ในแต่ละขณะที่ยิบย่อยนั้นได้เลย
    ที่เราพอจะรู้ได้คือ เมื่อมันปรากฏออกมาเป็นอาการให้รู้สึกได้ในช่วงเวลาหนึ่งนั่นเองอ่ะคับ




    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 06-26-2012 เมื่อ 02:18 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย