ฉันทะ กับ โลภะ

กระทู้: ฉันทะ กับ โลภะ

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:

    Cool ฉันทะ กับ โลภะ

    สวัสดีครับมิตรธรรมทุกท่าน


    วันนี้กลับมาถามคำถามหลังจากหายหน้าหายตาไป(ค่อนข้าง)นาน อิอิ

    คือ สงสัยว่า ฉันทะเจตสิก กับ โลภะเจตสิก เนี่ย มันคล้ายกันเหลือเกิน มันมีลักษณะ ยังไงบ้างอ่ะครับ ที่สามารถทำให้แยกขาดทั้งสองเจตสิกนี้ออกจากกันได้ เพราะ ไม่เคยแยกได้สักที ฉันทะก็ดันเกิดกับกุศลทุกดวงเสียด้วย แล้วก็เกิดกับโลภะทุกดวงอีก มันมีลักษณะอะไรเด่นๆบ้างครับ ที่จะทำให้แยกฉันทะ กับโลภะ ออกจากกันได้



    แล้ว อย่าง บางที โลภะอ่อนๆ ที่เพลิดเพลินไปกับการผ่อนคลาย อย่างการได้มองท้องฟ้าสวยๆ ได้เจอเรื่องดีๆ รีแลกซ์ๆ จิตขณะนั้น ไม่เห็นมีลักษณะของอุททัจจะเจตสิก ที่เกิดกับอกุศลทุกประเภทเลย ระลึกไม่เคยได้เลย ว่ามันฟุ้งตอนไหน อย่างเวลาโจ๋เล่นเกม มันยังเห็นชัด ว่าจิตมันฟุ้งนะ มันกระจายๆ ฟูๆฟ่องๆ(อธิบายมั่วๆ แต่ก็ลักษณะประมาณนี้มั้งครับ 555+) แต่เวลาผ่อนคลายรีแลกซ์ๆ ไม่เห็นมันฟุ้งเลย (หรือตอนโมหะเกิด ก็ไม่เห็นรู้สึกฟุ้งเหมือนกัน) เลยอยากทราบว่า ลักษณุอุททัจจะ จริงๆแล้ว มีลักษณะแบบไหน อย่างไร พอจะอธิบายละเอียดๆได้ไหมคับ


    สุดท้ายนี้ อยากเรียนถาม ว่าที่ตั้งของหทัยวัตถุ อยู่ที่ใดกันแน่ ที่หัวใจ หรือที่สมอง เพราะทางการแพทย์ปัจจุบัน เหมือนจะยอมรับชัดเจนว่า อยู่ที่สมองแน่ๆ เพราะถ้าสมองส่วนหนึ่งส่วนใดเสีย ก็จะมีอาการผิดปรกติของมโนทวารวิถีจิต ที่ในหลายๆวาระก็ไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น เช่น หลงลืม พูดเพ้อ ต่างๆนาๆ อ่ะครับ



    ขอบคุณครับ
     
  2. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    สวัสดีคับ น้องโจ๋
    หายไปนาน แฟนขับถามหาแน่ะคับ
    บ่นคิดถึงกันใหญ่เลย อิอิ


    คือ สงสัยว่า ฉันทะเจตสิก กับ โลภะเจตสิก เนี่ย มันคล้ายกันเหลือเกิน มันมีลักษณะ ยังไงบ้างอ่ะครับ ที่สามารถทำให้แยกขาดทั้งสองเจตสิกนี้ออกจากกันได้ เพราะ ไม่เคยแยกได้สักที ฉันทะก็ดันเกิดกับกุศลทุกดวงเสียด้วย แล้วก็เกิดกับโลภะทุกดวงอีก มันมีลักษณะอะไรเด่นๆบ้างครับ ที่จะทำให้แยกฉันทะ กับโลภะ ออกจากกันได้
    อ่ะคับ ฉันทเจตสิก กับ โลภเจตสิก เป็นสภาพที่ใกล้เคียงกันมาก
    จนบางครั้งก็แยกกันแทบไม่ออกเลยทีเดียว


    ฉันทเจตสิก เป็นสภาพที่พอใจ
    อย่างเวลาที่ทำสิ่งใด มีความพอใจที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ เป็นต้นน่ะคับ


    ส่วนโลภเจตสิก เป็นสภาพที่ยึดติดไว้ ใคร่ได้
    เป็นความติดข้องต้องการในสิ่งนั้นๆ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น


    เวลาที่ทำบุญสุนทาน เจริญกุศลประการต่างๆ
    หากเป็นไปด้วยกุศลจิต ซึ่งมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย
    ขณะนั้นเป็นความพอใจที่จะทำ มีการกระทำด้วยความเต็มใจ
    เพราะมีจิตคิดเกื้อกูล เห็นถึงคุณของกุศลที่ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้ว
    โดยปราศจากการยึดติดที่ร้อยรัดไว้ด้วยความต้องการผลตอบแทน ฯลฯ เป็นต้น


    แต่เวลาที่กระทำสิ่งใดๆ ก็ตามด้วยโลภมูลจิต
    ซึ่งก็มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วยเช่นกัน
    นอกจากจะมีความพอใจที่จะทำแล้ว
    ยังร้อยรัดไว้ด้วยความติดข้องต้องการอีกด้วยน่ะคับ
    อย่างเช่น เวลาที่รับประทานอาหารอร่อยๆ
    ก็มีฉันทะซึ่งพอใจในการรับประทานอาหารนั้น
    แล้วยังมีโลภะซึ่งติดในรส มีความติดใจใคร่ได้ในรสนั้นด้วย
    หรือถ้าขณะที่ทำบุญแล้วเกิดโลภมูลจิตขึ้น ก็ยึดติดในบุญนั้น
    เกิดความคาดหวังใคร่ได้ในผลตอบแทนส่วนตน ฯลฯ เป็นต้น



    แล้ว อย่าง บางที โลภะอ่อนๆ ที่เพลิดเพลินไปกับการผ่อนคลาย อย่างการได้มองท้องฟ้าสวยๆ ได้เจอเรื่องดีๆ รีแลกซ์ๆ จิตขณะนั้น ไม่เห็นมีลักษณะของอุททัจจะเจตสิก ที่เกิดกับอกุศลทุกประเภทเลย ระลึกไม่เคยได้เลย ว่ามันฟุ้งตอนไหน อย่างเวลาโจ๋เล่นเกม มันยังเห็นชัด ว่าจิตมันฟุ้งนะ มันกระจายๆ ฟูๆฟ่องๆ(อธิบายมั่วๆ แต่ก็ลักษณะประมาณนี้มั้งครับ 555+) แต่เวลาผ่อนคลายรีแลกซ์ๆ ไม่เห็นมันฟุ้งเลย (หรือตอนโมหะเกิด ก็ไม่เห็นรู้สึกฟุ้งเหมือนกัน) เลยอยากทราบว่า ลักษณุอุททัจจะ จริงๆแล้ว มีลักษณะแบบไหน อย่างไร
    อุทธัจจเจตสิก เป็นสภาพที่ไม่สงบ ซึ่งเกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกประเภท
    ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดขึ้น ขณะนั้นหวั่นไหวฟุ้งไปกับอารมณ์ต่างๆ ด้วยอกุศล
    แต่ในบางครั้งก็อาจจะไม่ปรากฏชัด ดังที่น้องโจ๋ยกตัวอย่างน่ะคับ
    เวลาที่มองท้องฟ้าสวยๆ แล้วรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลายดีจัง
    โดยทั่วไปก็มักรู้สึกว่าเป็นความสงบใช่มั้ยคับ
    แต่จริงๆ แล้วขณะนั้นกำลังฟุ้งไปด้วยความเพลิดเพลิน
    ซึ่งขณะนั้นลักษณะของโลภะอาจจะปรากฏให้รู้ได้ชัดกว่าน่ะคับ


    หริอขณะที่เป็นโมหมูลจิตซึ่งประกอบด้วยอุทธัจจะก็เช่นกัน
    คิดนั่นคิดนี่ไปเรื่อยเปื่อย ซัดส่ายไปเรื่องนั้นเรื่องนี้
    เลื่อนลอยไปอย่างไร้จุดมุ่งหมาย
    นี่ก็เป็นลักษณะของอุทธัจจะ...แต่ขณะนั้นไม่รู้
    เพราะกำลังฟุ้งไปกับความคิด
    จนกว่าเมื่อใดที่สติสัมปชัญญะเกิด ปัญญาที่สั่งสมมาจนเข้าใจดีแล้ว
    จึงจะค่อยๆ รู้ชัดถึงสภาพที่ฟุ้งซ่านไปน่ะคับ


    สภาพธรรมทั้งหลายนั้นละเอียดกว้างขวางและมีมากมายประกอบกัน
    เราอาจจะทำความเข้าใจโดยเรื่องราว
    เพื่อสั่งสมเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้สติปัฏฐานเกิด
    แต่ไม่ใช่การบังคับว่าต้องการจะระลึกรู้สภาพธรรมไหน...ก็ต้องรู้
    ยังไม่ต้องห่วงว่าทำไมไม่รู้สภาพนั้นสภาพนี้น่ะคับ
    แต่...ให้รู้ชัดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้รู้ได้
    เพราะนี่เป็นเรื่องของการอบรมสั่งสม
    จนกว่าสติปัฏฐานจะค่อยๆ เจริญขึ้น
    จนรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมต่างๆ อย่างทั่วถึง
    ตามแต่กำลังของสติสัมปชัญญะในขณะนั้นน่ะคับ



    สุดท้ายนี้ อยากเรียนถาม ว่าที่ตั้งของหทัยวัตถุ อยู่ที่ใดกันแน่ ที่หัวใจ หรือที่สมอง เพราะทางการแพทย์ปัจจุบัน เหมือนจะยอมรับชัดเจนว่า อยู่ที่สมองแน่ๆ เพราะถ้าสมองส่วนหนึ่งส่วนใดเสีย ก็จะมีอาการผิดปรกติของมโนทวารวิถีจิต ที่ในหลายๆวาระก็ไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น เช่น หลงลืม พูดเพ้อ ต่างๆนาๆ อ่ะครับ
    ตามที่มีแสดงเกี่ยวกับหทยวัตถุนั้น
    กล่าวไว้ว่า...(โดยคร่าวๆ ละกันนะคับ จะได้ไม่เยิ่นยาวเกินไป)


    - มังสหทยรูป ได้แก่รูปที่ประชุมกันเป็นกลุ่มก้อนมีรูปทรงสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมคว่ำลง


    - วัตถุหทยรูป ได้แก่รูปอันเกิดจากกรรมซึ่งตั้งอยู่ภายในมังสหทยรูป
    อยู่ในช่องคล้ายบ่อโตประมาณเท่าเมล็ดดอกบุนนาค มีน้ำเลี้ยงอยู่
    (น้ำเลี้ยงนี้มีหลายสีตามจริตของผู้นั้น...แต่ยังไม่กล่าวถึงละกันนะคับ)


    สำหรับในปัจจุบัน...หทยวัตถุคือหัวใจหรือสมอง
    ก็เป็นเรื่องที่พยายามจะพิสูจน์กันไป
    ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งก้อนหัวใจและก้อนสมองก็เป็นแต่เพียงรูปเท่านั้น
    ส่วนความรู้สึกนึกคิดนั้นคือจิตและเจตสิก

    ส่วนการที่สมองเสียหายหรือถูกทำลาย
    แล้วมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดนั้น
    ก็เป็นความผิดปรกติของรูปธาตุ ซึ่งเมื่อผิดปรกติไปมาก
    ก็มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดได้เช่นกัน

    ผู้ที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
    หรือถูกทำลายเสียหายจนไม่สามารถรับรู้ใดๆ ไม่รู้สึกตัวใดๆ
    อย่างที่เราบอกว่าสมองไม่ทำงาน...แต่ก็ยังไม่ตาย...ใช่มั้ยคับ
    แต่หากว่าเกิดความผิดปรกติเสียหายขึ้นกับหัวใจ
    อย่างถ้าบอกว่าหัวใจไม่ทำงาน...นี่คือตายทันทีอ่ะนะคับ





    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 11-23-2012 เมื่อ 08:26 AM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  3. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    ขอบคุณและขออนุโมทนาสาาาธุครับท่านเดฟ

    อยากจะถามเพิ่มเติมอีกหน่อยคับ คือ อย่าง เวลา เรา ยืนเหม่อๆ ลอยๆ ขณะนั้นก็คือโมหะ อุททัจจสัมปยุตต์ ใช่ป่ะคับ แต่ ขณะนั้น ไม่ได้ฟุ้ง ไม่ได้ซัดส่ายไปในอารมณ์ แต่ มีอาการ เหม่อๆ ไม่รู้เรื่องรู้ราว ซึ่งแสดงว่า ขณะนั้นโมหะเป็นปธาน ไม่ใช่อุททัจจะเป็นปธาน กล่าวอย่างนี้ได้ป่ะอ่ะคับ
     
  4. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ขณะที่เหม่อๆ ไม่รู้เรื่องรู้ราว เป็นโมหมูลจิต
    และประกอบด้วยอุทธัจจเจตสิกด้วย
    การที่เลื่อนลอยไปเรื่อยๆ นั่นล่ะคับ
    มีการฟุ้งไป ไม่สงบด้วยอกุศล

    ส่วนที่กล่าวว่า โมหเจตสิกเป็นประธาน ก็ถูกคับ
    ขณะนั้นเป็นโมหมูลจิต มีโมหเจตสิกเป็นใหญ่
    แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีอุทธัจจเจตสิก
    เพราะอุทธัจจเจตสิกนี้เกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกดวงอยู่แล้ว
    เพียงแต่จะรู้หรือไม่รู้เท่านั้นเองอ่ะคับ

    อย่างไรก็ตาม
    ในขณะที่เป็นอกุศลจิตอยู่...ย่อมไม่รู้
    อย่างขณะที่กำลังเป็นโมหมูลจิตสัมปยุตต์ด้วยอุทธัจจะ
    ก็ได้แต่เหม่อเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ ไม่รู้เนื้อรู้ตัวนั่นล่ะคับ
    จนกว่าสติปัฏฐานจะเกิดแทรกสลับ จึงพอจะระลึกรู้ได้บ้าง
    หรือถึงจะยังไม่รู้ชัดในอุทธัจจะตอนนี้ก็ไม่เป็นไรคับ
    เพราะอย่างที่เคยกล่าวเสมอๆ ไม่ใช่ว่าต้องรู้ชัดทุกครั้งที่ระลึก
    แต่สติสัมปชัญญะเกิดบ่อยๆ เนืองๆ นั้นเอง
    จึงจะค่อยๆ ระลึกรู้ชัดขึ้นตามกำลังน่ะคับ





    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 11-20-2012 เมื่อ 08:32 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  5. รูปส่วนตัว oubasika

    oubasika said:


    เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ ได้ประโยชน์ล้วนๆๆ สาธุๆค่ะ


    *กิจโฉ มนุสสปฏิลาโภ การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นแสนยากส์
    *


     
  6. รูปส่วนตัว chocobo

    chocobo said:
    กราบอนุโมทนา ส๊าา ธุ ครับ ><
     
  7. Admax said:
    สาธุกับคุณโจ๋และพี่เดฟกับคุณอุบาสิกากับกระทู้ที่มีประโยชน์นี้ครับ ผมว่าจะถามอยู่เหมือนกันในกระทู้นี้ไม่ตั้งกระทู้ใหม่ ไม่รู้ว่าจะขัดกับกระทู้ไหมแต่ผมดูแล้วมันก็เกี่ยวกับเจตสิกและความเป็นไปใน รัก โลภ โกรธ หลง เหมือนกันดังนี้ครับ

    กาลหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ทำสมาธิเล่นๆไป เพราะไม่ได้ทำมานานต้องกลับมาปฏิบัติก่อนเขียนวิทยานิพนธ์
    ซึ่งขณะทำอยู่นั้นความสงบไม่มีเลย ฟุ้งซ่านตลอดไม่เป็นสมาธิ
    แต่ซักพักเมื่อเอาจิตจับที่ลมหายใจ
    มันรู้สึกวูบเข้าในสภาพหนึ่งๆ หายใจเข้าจิตจดจ่อตามลมหายใจ
    ไปรู้ลมหายใจเข้าเห็นกายตนในอสุภะตามอาการทั้ง 32
    คือเห็นทะลุหนัง เนื้อและเส้นเอ็นเส้นเลือดน้อยใหญ่ กระดูก เป็นต้น (ซึ่งไม่ได้สร้างมโนภาพเอา แต่อาจจะเป้นสัญญาค้างจากการพิจารณาอสุภะก็เป็นได้)
    จนเห้นเหลือแต่ลมหายใจไหลผ่านโพรงจมูก ลงหลอดลม ลงคอ ไหลงมาที่ปอด ส่งต่อไปท้องน้อย
    เมื่อหายใจออก ลมจากท้องน้อยไหลย้อนกลับตามลำดับนั้น


    ส่วนนี้ผมรู้ว่าคงเป็นสัญญาค้างจำจากการพิจารณาอสุภะและจับเอาความรู้สึกที่ลมไหลเข้าออก.....................

    เมื่อผมทรงอารมณ์จิตในสภาพนั้นสักพักก็เห็นในจิตตานุสติปัฏฐาน
    ไม่ได้เห็นเป็นแสงหรือสีๆเหมือนเมื่อก่อนตอนมีสมาธิจิตจากความว่าง
    คือเป็นความรู้สึกรับรู้ถึงจิตตน(ไม่ได้เห็นเป็นมโนภาพ)
    เกิดความรู้สึก และ ความคิด เกิดดับสลับกันไปมาไม่หยุด
    การเกิดมันเหมือนพลุที่พุ่งขึ้นฟ้าแล้วแตกออกเป็นความตั้งอยู่
    พอพลุนั้นเริ่มที่จะมอดดับไปพลุอีกลูกก็คือจิตอีกดวงก็เกิดขึ้นมาแทนที่
    จิตเดิมดับจิตใหม่นี้แตกออกเป็นความรู้สึกนึกคิดสภาพจิตต่อๆมา
    ทำให้ผมเห็นว่า สภาพวิตกเจตสิกหรือความคิดมันเกิดสลับกับจิตแทบทุกดวงที่ให้ความรู้สึก
    เช่น เมื่อเราเกิดเสพย์เสวยความรู้สึกใดๆอยู่ ไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง สุข ทุกข์ เฉยๆ
    (โลภะเจตสิก โทสะเจตสิก โมหะเจตสิก และ เวทนาเจตสิก(รวมในสุข ทุกข์ เฉยๆ(ไม่ใช่ว่างในเอกัคตานะครับ)
    ตรงนี้ผมเอาความรู้สึกรวมไปก่อนนะยังไม่แยก ส่วนที่รู้แยกจะมีในคำถามข้อถัดไปครับ ยาวมากกกกกกกกกก อิอิอิอิ)
    เมื่อนั้นจะมีความคิด(วิตกเจตสิก)เกิดดับสลับกับจิตที่เข้าไปรู้สภาพความรู้สึกนั้นๆสลับกันไปมาเสมอๆ


    คำถามที่ 1 ความคิดมักเกิดตามความรู้สึกที่จิตเข้าไปรู้หรือเสวยอยู่ใช่หรือไม่ และ มันจะเกิดสลับกกันไปมาแทบทุกความรู้สึกเลยดังที่ผมรู้สึกไหม
    -------------------------------------------------------------------------------------------


    ทีนี้เมื่อผมไปพิจารณาดูในสภาพจริงคือปรมัตถธรรมว่า
    ในขณะที่จิตกำลังดำเนินไปใน รัก โลภ โกรธ หลง หรือ กุศลจิตใดๆอยู่นั้นความรู้สึกเป็นยังไง
    เมื่อรู้สภาพปรมัตถ์ความรู้สึกนั้นแล้ว ความคิดสมมติบัญญัติของสภาพนั้นก็เกิดทันที
    สลับไปมากับการรู้สภาพจริง
    ทีนี้จะไปรู้ในเวทนานุสติปัฏฐานสลับกับอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ กลับไปรู้ไม่ได้
    คือว่า เมื่อไปรู้เวทนา จิตมันจะพิจารณาได้เพียง สภาพความรู้สึกจริงๆของเวทนา เกิดดับสลับกันกับบัญญัติของสภาพจริงแห่งเวทนานั้นๆเท่านั้น ไปรู้อย่างอื่นไม่ได้
    เมื่อไปรู้ในรัก โลภ โกรธ หลง จิตมันก้จะพิจารณาได้เพียง สภาพความรู้สึกจริงๆของความปรงแต่งอารมณ์ความรู้สึก เกิดดับสลับกันกับบัญญัติของสภาพจริงแห่งจิตสังขารนั้นๆเท่านั้น ไปรู้อย่างอื่นไม่ได้

    คำถามที่ 2 ที่ผมรู้สึกได้นี้เป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงเช่นนั้น นี่คือคุณลักษณะของสังขารขันธ์และเวทนาขันธ์ใช่หรือไม่ และ ด้วยเหตุนี้หรือไม่ จึงชื่อว่าเป็นอินทรีย์ ด้วยนัยยะที่เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ



    ส่วนคำถามที่ 3 ลืมไว้นึกได้จะมาถามใหม่ครับ อิอิ
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  8. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    คำถามที่ 1 ความคิดมักเกิดตามความรู้สึกที่จิตเข้าไปรู้หรือเสวยอยู่ใช่หรือไม่ และ มันจะเกิดสลับกกันไปมาแทบทุกความรู้สึกเลยดังที่ผมรู้สึกไหม
    สภาพตรึกนึกคิด คือวิตกเจตสิก เกิดร่วมกับจิตมากมายเลยทีเดียวในชีวิตประจำวัน
    ความคิดจึงเกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลาเป็นธรรมดาน่ะคับ

    (เว้นจิตบางประเภทที่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย)
    (คือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ)
    (และตั้งแต่ทุติยฌานจิตไปจนถึงปัญจมฌานจิต)




    คำถามที่ 2 ที่ผมรู้สึกได้นี้เป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงเช่นนั้น นี่คือคุณลักษณะของสังขารขันธ์และเวทนาขันธ์ใช่หรือไม่ และ ด้วยเหตุนี้หรือไม่ จึงชื่อว่าเป็นอินทรีย์ ด้วยนัยยะที่เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ
    ความคิดเป็นเรื่องราว ชื่อเรียก ความหมายต่างๆ อันเป็นสมมติบัญญัติ
    สามารถเกิดแทรกสลับกับสติปัฏฐานซึ่งระลึกรู้สภาพปรมัตถธรรมได้น่ะคับ

    จิตเกิดดับทีละ 1 ขณะ
    จึงสามารถรับรู้ได้ทีละ 1 ขณะ
    แต่สามารถจะรู้สิ่งต่างๆ สลับกันไปได้อย่างไว
    จนเสมือนว่ารับรู้หลายสิ่งหลายอย่างพร้อมๆ กันไปได้

    ขณะที่รู้เวทนา คือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ โสมนัส โทมนัส หรือเฉยๆ
    ชั่วขณะจิตนั้นจะรู้อย่างอื่นไม่ได้ เพราะกำลังรับรู้เวทนาอยู่
    แต่ขณะต่อมา สืบต่อกันอย่างไว สามารถจะรู้อย่างอื่นได้น่ะคับ
    สามารถจะรู้ความโลภ ความโกรธ ฯลฯ หรือสภาพอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้
    และสามารถจะรู้สมมติบัญญัติ เป็นเรื่องราว ชื่อเรียก ความหมายต่างๆ สลับกันไปได้ด้วย

    เวทนา นี้ก็คือเวทนาขันธ์นั่นเอง
    ส่วนสภาพอื่นๆ ที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นไปต่างๆ
    เช่น ความโลภ ความโกรธ ฯลฯ ก็คือ สังขารขันธ์ น่ะคับ

    สำหรับ อินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจนั้น
    ขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วน เช่น...

    จักขุนทรีย์ คือจักขุปสาทเป็นใหญ่ในการรับสี
    โสตินทรีย์ คือโสตปสาทเป็นใหญ่ในการรับเสียง
    ฆานินทรีย์ คือฆานปสาทเป็นใหญ่ในการรับกลิ่น
    ชิวหินทรีย์ คือชิวหาปสาทเป็นใหญ่ในการรับรส
    กายินทรีย์ คือกายปสาทเป็นใหญ่ในการรับสัมผัสทางกาย
    มนินทรีย์ คือจิตที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ นั่นเอง
    สุขินทรีย์ คือความรู้เป็นสุข (ทางกาย)
    ทุกขินทรีย์ คือความรู้สึกเป็นทุกข์ (ทางกาย)
    โสมนัสสินทรีย์ คือความรู้สึกเป็นสุข (ทางใจ)
    โทมนัสสินทรีย์ คือความรู้สึกเป็นทุกข์ (ทางใจ)
    อุเปกขินทรีย์ คือความรู้สึกเฉยๆ (ทางใจ)
    ฯลฯ

    ดังนั้น ที่ถามว่าด้วยเหตุนี้หรือไม่ชื่อว่าเป็นอินทรย์
    หมายความว่าอย่างไรคับ ยังไม่เข้าใจคำถามอ่ะคับ

    (อินทรีย์ 22 http://www.84000.org/tipitaka/read/v...47&pagebreak=0)




    ปล. จิตตสังขาร โดยนัยยะหนึ่งหมายถึง สัญญาเจตสิก และเวทนาเจตสิก
    หรืออีกนัยยะหนึ่งหมายถึง เจตนาเจตสิก
    ดังนั้น จากที่คุณแอดฯ เล่ามาใช้คำว่า จิตสังขาร อันนี้จะหมายถึงอย่างไรอ่ะคับ





    เดฟ


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 11-23-2012 เมื่อ 03:55 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย
     
  9. รูปส่วนตัว Butsaya

    Butsaya said:
    อนุโมทนากับน้องโจ๋เจ้าของกระทู้นี้ด้วยนะค่ะ แล้วก็คุณแม๊ก ผู้ถามต่อทำให้คนอ่านต่อเกิดความสงสัย งง ๆ ด้วย อิอิ...
    แต่ก็อนุโมทนาด้วยนะค่ะ กับพี่เดฟและทุกๆ ท่านที่ได้มาสนทนากันและมาอ่านเก็บเกี่ยวความรู้นะค่ะ เช่นเดียวกับน้องอุบาสิกกา คิกๆๆๆ
    (ก็แห๋มมม เล่นยกรถเกี่ยวมาไว้ซะที่นี่เลยอ่าาาา แสดงว่าได้ปักหลักลงฐานรากแระใช่ม๊ายยยค่ะ อิอิ....55555)
    ในกระทู้นี้อะค่ะ อืมมม เรื่่องที่สนทนาธรรมในห้องเมื่อคืน รู้สึกว่าจิตใจยังไม่เลิกทบทวนพิจารณาเรื่องอินทรีย์ความเป็นใหญ่ต่อนะค่ะ
    เลยอยากขอนิดสักกะนิดนุงว่า ถ้าขณะนั้นเรามีความรู้สึกอิจฉา ขณะนั้นอะค่ะ มีอินทรีย์อะไรที่เป็นใหญ่ หรือว่าอินทรีย์ 22 นี้มี
    มีแต่ความเป็นใหญ่ในด้านกุศลเท่านั้น แล้วอกุศลจะไม่ได้อยู่ในอินทรีย์นี้ด้วยหรือเปล่าอะค่ะ ถ้ามีช่วยแนะนำ
    ต่อได้ปะค่ะ ว่ามีอะไร เป็นอย่างไง อะค่ะ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Butsaya : 11-23-2012 เมื่อ 08:27 AM

    ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า.......สำหรับผู้มีปัญญา
     
  10. รูปส่วนตัว D E V

    D E V said:
    .
    ถ้าขณะนั้นเรามีความรู้สึกอิจฉา ขณะนั้นอะค่ะ มีอินทรีย์อะไรที่เป็นใหญ่
    ขณะนั้นเป็นโทสมูลจิตที่ไม่พอใจ
    โดยความรู้สึกคือเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมไม่เป็นสุข...เป็นทุกข์ใจ
    เกิดโทมนัสเวทนาครอบงำเป็นใหญ่...ก็เป็นโทมนัสสินทรีย์
    หรือถ้าทนเห็นเค้าดีกว่าตนไม่ได้ ถึงกับเพียรพยายามหาข้อกล่าวหา
    พยายามพูดเพื่อดิสเครดิตต่างๆ นานา
    นี่ก็เพียรไปในอกุศลใช่มั้ยคับ...ก็เป็นวิริยินทรีย์
    ฯลฯ ดังตัวอย่างบางส่วนที่กล่าวนั้น เป็นต้น



    หรือว่าอินทรีย์ 22 นี้มี
    มีแต่ความเป็นใหญ่ในด้านกุศลเท่านั้น แล้วอกุศลจะไม่ได้อยู่ในอินทรีย์นี้ด้วยหรือเปล่าอะค่ะ ถ้ามีช่วยแนะนำ
    ต่อได้ปะค่ะ ว่ามีอะไร เป็นอย่างไง อะค่ะ
    จำได้ว่าในห้องสนทนาไม่ได้บอกว่าอินทรีย์ 22 นี้เป็นใหญ่แต่ในด้านกุศลเท่านั้น
    แต่บอกว่าเป็นไปในกุศลหรืออกุศลก็ได้ ตามแต่ประเภทนั้นๆ
    ยังมีคุยกันถึง วิริยินทรีย์ ที่เป็นไปในอกุศลด้วย...ไม่ใช่หรอคับ

    อินทรีย์ใดเกิดขึ้นเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากตธรรม
    ให้ดูที่องค์ธรรมของอินทรีย์นั้นคับ
    (ขอกล่าวอย่างย่อๆ พอสังเขปนะคับ)

    จักขุนทรีย์ คือ จักขุปสาท เป็นอัพยากตธรรม

    โสตินทรีย์ คือ โสตปสาท เป็นอัพยากตธรรม

    ฆานินทรีย์ คือ ฆานปสาท เป็นอัพยากตธรรม

    ชิวหินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท เป็นอัพยากตธรรม

    กายินทรีย์ คือ กายปสาท เป็นอัพยากตธรรม

    มนินทรีย์ คือ จิตทั้งหมด เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่ประเภทของจิต)

    อิตถินทรีย์ คือ อิตถีภาวรูป เป็นอัพยากตธรรม

    ปุริสินทรีย์ คือ ปุริสภาวรูป เป็นอัพยากตธรรม

    ชีวิตินทรีย์ มี 2 อย่าง คือ ชีวิตรูป เป็นอัพยากตธรรม
    และ ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    สุขินทรีย์ คือ เวทนาเจตสิกที่เกิดกับสุขกายวิญญาณ เป็นอัพยากตธรรม

    ทุกขินทรีย์ คือ เวทนาเจตสิกที่เกิดกับทุกขกายวิญญาณ เป็นอัพยากตธรรม

    โสมนัสสินทรีย์ คือ เวทนาเจตสิก เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    โทมนัสสินทรีย์ คือ เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับโทสมูลจิต เป็นอกุศลธรรม

    อุเปกขินทรีย์ คือ เวทนาเจตสิก เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    สัทธินทรีย์ คือ สัทธาเจตสิก เป็นกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    วิริยินทรีย์ คือ วิริยเจตสิก เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    สตินทรีย์ คือ สติเจตสิก เป็นกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    สมาธินทรีย์ คือ เอกัคคตาเจตสิก เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาเจตสิก เป็นกุศลธรรม อัพยากตธรรม (ตามแต่เกิดร่วมกับจิตใด)

    อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ คือ ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับโสตาปัตติมัคคจิต เป็นกุศลธรรม

    อัญญินทรีย์ คือ ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับสกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต อรหัตตมัคคจิต
    เป็นกุศลธรรม
    และปัญญาเจตสิกที่เกิดกับโสตาปัตติผลจิต สกทาคามิผลจิต อนาคามิผลจิต
    เป็นอัพยากตธรรม

    อัญญาตาวินทรีย์ คือ ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับอรหัตตผลจิต เป็นอัพยากตธรรม




    เดฟ
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย D E V : 11-23-2012 เมื่อ 02:24 PM

    สรณะคือพระรัตนตรัย